หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ระบบ กองทัพเยอรมัน

โดยคุณ : intat45 เมื่อวันที่ : 17/11/2013 14:27:58

แพนเซอร์ มาร์ค 1

รถถังเบาสำหรับสนับสนุนทหารราบของกองทัพนาซีเยอรมัน ที่ได้สร้างหลังจากการถูกจับเซนต์สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมันได้ออกแบบในช่วงทศวรรษที่1930 และได้ทำการผลิตแบบจำนวนมากเมื่อปี1934 และเยอรมันยังได้ส่งแพนเซอร์ 1 ไปรบเพื่อเป็นการทดสอบประสิทธิภาพในสงครามกลางเมืองสเปน และ จีน ยังได้ซื้อไปใช้ในสงครามจีน-ญี่ปุ่นด้วย

หลังการประเมินผลในการรบในสเปน แพนเซอร์ 1 รบได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเมื่อสงครามโลกระเบิดขึ้น จึงได้เข้าร่วมสมรภูมิหลายแห่ง แต่ช่วงกลางสงคราม รถถังรุ่นใหม่ๆของกองเยอรมันมีอานุภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ แพนเซอร์ 1 จึงลดบทบาทลง และมีการนำตัวถังรถ มาติดตั้งปืนขนาด75มม. เพื่อเป็นปืนใหญ่อัตตาจรและรถพิฆาติรถถังด้วย

ข้อมูล

หนัก-5.4 ตัน

ยาว--4.02เมตร

สูง--2เมตร

พลประจำรถ--2คน

เกราะ--7-13มิลลิเมตร

อาวุธ---ปืนกลขนาด7.92มม. สองกระบอก หรือปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. บรีด้า(สเปน)

ความเร็ว--50กม./ชม. บนถนน 37กม./ชม. ในภูมิประเทศ พิสัยทำการบนนถนน200กม.ภูมิประเทศ 175กม.





ความคิดเห็นที่ 1


ไม่คนมาเม้นเลย อ่านแล้ว ขอบคุณด้วยหน่อยนะครับ

จะได้มีกำลังใจหา ข้อมูลมาเพิ่มอีกครับ ท่าน

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 07:36:28


ความคิดเห็นที่ 2


2

Pzkw IV แพนเซอร์ 4

เป็นรถถังที่เป็นกระดูกสันหลังแห่งกองทัพรถถังของเยอรมันอย่างแท้จริง มีความคล่องตัวสูง มีอานุภาพทำลายสูง

รถรุ่นนี้เริ่มออกแบบในปี1934 เมื่อนายพลเอก ไฮนซ์ กูเดเรียน เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบกเยอรมัน ต้องการรถถังหลักที่มีน้ำหนักไม่เกิน24ตัน ความเร็วไม่ต่ำกว่า35กม./ชม. เพื่อใช้ในภารกิจต่อต้านทหารราบและยานยนต์ และติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ซึ่งผลที่ได้ขั้นแรกคือ แพนเซอร์ 3 และแพนเซอร์ 4 ก็ปรากฏตัวออกมาในปี1937 ในรุ่นผลติจำนวนแรกๆ37คัน และก็มีการผลิตเป็นจำนวนมากตั้งแต่ปี1939

นอกจากจะใช้ระบบแหนบรองรับตัวถังแบบทอร์ชั่น บาร์ แบบแพนเซอร์ 3 แล้ว แพนเซอร์4 นั้น ได้ติดตั้งปืนที่มีขนาดใหญ่ขึ้น โดยช่วงแรกได้ติดปืนใหญ่ลำกล้องสั้นขนาด75มม. L24ซึ่งได้ใช้เป็นหัวหอกในการบุกฝรั่งเศสในปี1940 โดยแพนเซอร์ 4 มีอานุภาพสูงกว่ารถถังแบบเรอโนลและโซมัวของฝรั่งเศส และยังมีอำนาจการยิงที่สูงกว่ารถถังแบบ ชาร์ล BI ของฝรั่งเศสและรถถังแบบมาทิลด้าของอังกฤษด้วย แพนเซอร์ 4 รุ่นนี้ก็ยังได้ปฏิบัติการในแอฟริกาเหนือด้วย

ตั้งแต่ปี1941 แพนเซอร์ 4 ได้ติดตั้งปืนใหญ่75มม. L40 ที่มีลำกล้องยาวกว่าเดิมเพื่อเพิ่มระยะยิงและอำนาจการทำลาย แต่หลังจากการบุกรัสเซียในปี1941 เยอรมันได้เผชิญหน้ากับรถถังหนักแบบ เควี-1ซึ่งมีขนาดใหญ่และเกราะหนากว่าแพนเซอร์4 และรถถังกลางแบบ ที-34 ของโซเวียต ซึ่งมีอานุภาพสูงจนน่าตกใจ ฝ่ายเยอรมันจึงได้พัฒนาปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L48 มาใช้งานในแพนเซอร์ 4 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนของรถถังโซเวียต จนกระทั่งเวลาต่อมาเยอรมันได้ผลิตรถถังแบบ แพนเธอร์ มาทดแทนแพนเซอร์4

แพนเซอร์ 4 ถือว่าเป็นรถถังกำลังหลักของเยอรมันอย่างแท้จริง เพราะมีอานุภาพสูง ใช้งานง่าย เครื่องยนต์คงทน ประสิทธิภาพเทียบเท่ากับรถถังหลักของอเมริกาแบบ M-4 เชอร์แมน และรถถัง ที-34 ของรัสเซีย และถูกผลิตออกมาเรื่อยๆจนจบสงครามเป็นจำนวนกว่า9,000คัน และกองทัพบกซีเรีย ยังได้ใช้รถถังรุ่นนี้ในช่วงหลังสงครามต่อมาด้วย

ข้อมูล

หนัก--24-28ตัน

ยาว--5.89เมตร

กว้าง-- 2.88เมตร

สูง---2.66เมตร

พลประจำรถ--5นาย

เกราะหนา--10-80มม. สามารถเสริมเกราะกระโปรงป้องกันป้อมปืนและสายพานได้

อาวุธ --- หลัก - ปืนใหญ่75มม. ลำกล้องสั้น ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นปืน75มม. ลำกล้องยาว อาวุธรอง ปืนกล MG-34 ขนาด7.92มม. สองกระบอก

พิสัยทำการ--300กิโลเมตร

ความเร็ว --- บนถนน 40กม./ชม. ในภูมิประเทศ 20กม./ชม.


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:18:48


ความคิดเห็นที่ 3


Pzkw V Panther แพนเซอร์ 5 สมญานาม แพนเธอร์(เสือดำ)

หนึ่งในตำนานรถถังของนาซีเยอรมัน โดยการออกแบบเริ่มในปี1941 เมื่อเยอรมันบุกรัสเซีย และไปพบกับรถถังแบบ ที-34 ของรัสเซีย ที่มีความเร็วสูง ติดปืนที่ทรงอานุภาพ สายพานกว้างเกาะถนนได้ดี และลักษณะพิเศษคือ มีเกราะที่ลาดเอียง มีคุณสมบัติช่วยเพิ่มความหนาของเกราะโดยไม่ต้องเพิ่มขนาดเกราะ และยังช่วยลดการปะทะโดยตรงของกระสุนปืน ทำให้ฝ่ายเยอรมันตกใจในอานุภาพที่สูงส่งของที-34มาก เมื่อยึดรถถังรุ่นนี้ได้ในสนามรบ จึงได้นำมาศึกษา และต้องการผลิตรถถังแบบที-34 ให้ได้ แต่ทว่า การผลิตรถถังเลียนแบบที-34นั้น เป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ จึงต้องออกแบบรถถังใหม่โดยให้คุณลักษณะแบบที-34

และสิ่งที่ได้จากทดลองผลิตคือ รถถังแบบ แพนเซอร์ 5 หรือแพนเธอร์ ซึ่งมีคุณสมบัติเหมือนที-34 แต่สิ่งที่เหนือกว่าคือ ขนาดที่ใหญ่กว่าเล็กน้อย เกราะที่หนากว่า และติดตั้งปืนใหญ่75มม. L70 ลำกล้องยาว ซึ่งมีอานุภาพการทำลายล้างที่เหนือจินตนาการอย่างมาก สามารถยิงเจาะเกราะได้ลึกมาก และยิงต่อต้านรถถังได้ไกลกว่า2,000เมตรอย่างแม่นยำ ไกลกว่ารถถังทุกรุ่นของพันธมิตรและโซเวียต

แพนเธอร์เริ่มการผลิตในปี1943 แต่เนื่องจากต้องเร่งรีบผลิตออกสู่สมรภูมิ เพราะโซเวียตเริ่มการตีโต้กองทัพเยอรมัน และกำลังรบรถถังของโซเวียตที่มีจำนวนอันประมาณไม่ได้ ได้ถาโถมเข้าสู่แนวรบของเยอรมันอย่างหนัก เยอรมันจึงต้องรีบผลิตแพนเธอร์ออกสู่สนามรบโดยเร็ว ทำให้มีปัญหาด้านเครื่องยนต์ รถถังบางคันเครื่องยนต์เสียหายทันทีหลังออกสู่สมรภูมิไม่นาน และในการรบที่เมืองเคิร์ซ ปี1943 รถถังแพนเธอร์จำนวนมากเครื่องยนต์ขัดข้อง ทำให้แสดงความสามารถในการรบไม่ดีนัก แต่ปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ก็ถูกแก้ไขในภายหลัง

แต่ในแนวรบด้านตะวันตก แพนเธอร์ กลับมีประสิทธิภาพสูงมาก โดยรถถังหลักของพันธมิตรไม่อาจต้านทานได้เลย โดยในการรบที่นอร์มังดี้ ฝรั่งเศสในปี1944 รถถังแพนเธอร์ของเยอรมันได้สังหารรถถังเชอร์แมนของสหรัฐไปเป็นจำนวนมากไม่แพ้รถถังไทเกอร์เลยทีเดียว

แต่เนื่องจากรถถังเป็นรถถังที่ออกแบบดีมาก ทำให้ต้องการช่างเทคนิคที่มีความชำนาญสูง ทำให้ผลิตรถถังแพนเธอร์ได้ไม่มากนัก อีกทั้งช่วงปลายสงคราม กองทัพอากาศพันธมิตรยังได้ทิ้งระเบิดโจมตีโรงงานผลิตอาวุธของเยอรมันอย่างหนัก ทำให้ผลิตรถถังออกมาได้น้อย แต่เพราะการออกแบบอันยอดเยี่ยมนี่เอง ทำให้แพนเธอร์ เป็นต้นแบบการผลิตรถถังของโลกเสรีและโลกคอมมิวนิสต์ในเวลาต่อมา

ข้อมูล

หนัก--45ตัน

ยาว--6.87เมตร เมื่อรวมปืนยาว8.66เมตร

สูง-- 2.99เมตร

กว้าง--3.42เมตร

พลประจำรถ---5นาย

เกราะหนา--15-120มม.

อาวุธ--- หลัก- ปืนใหญ่ลำกล้องยาว 75มม. L70 อาวุธรอง ปืนกลMG-34 ขนาด7.92มม. 2กระบอก

ความเร็ว--46-55กม./ชม.

พิสัยทำการ-- 250กิโลเมตร


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:21:30


ความคิดเห็นที่ 4


Pzkw VI Tiger แพนเซอร์ 6 ไทเกอร์

สุดยอดแห่งตำนานรถถังของนาซีเยอรมันและของโลก ได้รับการกล่าวขวัญว่าเป็นรถถังที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในโลก ถ้าเทียบเรื่องจำนวนในการสังหารรถถังด้วยกัน

คำสั่งการออกแบบไทเกอร์ เริ่มในวันที่26พฤษภาคา ปี1941 1เดือนก่อนบุกรัสเซีย โดยมีบริษัทเอกชนสองบริษัทคือ ปอร์เช่ และเฮนเซล เข้าร่วมการแข่งขันออกแบบรถถังไทเกอร์ แต่ว่าป้อมปืนนั้น ถูกแยกไปผลิตและพัฒนาโดยบริษัทกรุ๊ปป์

เมื่อสงครามในรัสเซียอุบัติขึ้น เยอรมันต้องการรถถังหนัก ที่มีความแข็งแกร่งสูง ติดอาวุธทรงอานุภาพเพื่อรับมือกับรถถังรัสเซีย ไทเกอร์ จึงเป็นอาวุธที่มีความจำเป็นยิ่งยวด ทั้งสองบริษัทจึงรีบออกแบบเพื่อให้ชนะการแข่งขันโดยเร็ว

แต่การออกแบบของสองบริษัทก็ค่อนข้างต่างกัน เช่น รถของเฮนเซล(VK3601) จะออกแบบให้ปืนประจำรถสามารถใช้กระสุนเจาะเกราะทังสเตนได้ แต่ก็จะเลือกว่าจะติดตั้งปืนใดดีระหว่าง ปืน75มม. L70 แบบรถถังแพนเธอร์ และ 88มม. L56 ส่วนรถทดสอบของปอร์เช่(VK3001) จะใช้เครื่องยนต์เบนซิน และติดปืน88มม. L 56 เท่านั้น

และการทดสอบในปี1942 วันเกิดของฮิตเลอร์ รถทดสอบของเฮนเซลนั้น ประสบปัญหาเรื่องเครื่องยนต์ ทำความเร็วได้เพียง45กม./ชม. ช้ากว่าปอร์เช่ถึง5กม. แถมเครื่องยนต์ของเฮนเซลก็ยู่ในสภาพร้อนจัดแทบจะระเบิด แต่รถทดสอบของปอร์เช่นั้นก็มีปัญหาเรื่องช่วงล่าง ระบบเกียร์ และระบบบังคับเลี้ยว ถึงแม้จะเร็วกว่ารถของเฮนเซลถึง5กิโลเมตรก็ตามโชคยังเข้าข้างเฮนเซล ที่การทดสอบเน้นที่การขับเคลื่อนในทางวิบากผ่านภูมิประเทศ ซึ่งรถของเฮนเซลนั้นคล่องแคล่วกว่า รถของปอร์เช่วึ่งระบบเลี้ยวมีปัญหาจึงช้าเป็นเต่าคลาน ทำให้รถทดสอบVK3601ของเฮนเซลได้ชัยชนะ และนำไปสร้างเป็นรถถังรุ่นที่6 หรือ ไทเกอร์ ของเยอรมัน และเริ่มผลิตในปลายปี1942

การออกแบบไทเกอร์นั้น ช่วงล่างและตัวถังผลิตจากเหล็กกล้าแผ่นเรียบขนาดใหญ่ นำมาเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า และยังมีระบบสลักคล้องเหล็กแต่ละชิ้นทำให้มีความคงทนกว่าเดิม และเหล็กชิ้นใหญ่ ทำให้ไทเกอร์ทนต่อการยิงของปืนแทบทุกชนิด

ป้อมปืนนั้นออกแบบเป็นทรงเกือกม้า มีความแข็งแกร่งคงทนสูง ป้อมผ.บ.รถอยู่ทางซ้ายของตัวรถ แต่ป้อมผ.บ.แบบเก่าอยุ่ในวิถียิงของพลปืนรัสเซีย จึงปรับให้เตี้ยลง ตัวถังรถด้านหน้าเป็นที่นั่งของพลวิทยุ ติดปืนกลแบบ เอ็มจี34 ซึ่งเป็นที่หวาดกลัวของทหารพันธมิตรและโซเวียตมาก ปืน88มม. L56 มีระยะยิงต่อสู้รถถังไกลกว่า3,000เมตร โดยจะยิงแม่นยำ100%ที่ระยะ1,500เมตร แม่นยำ80%ที่ระยะ2,000เมตร และ50%(ยิง2นัดถูก1นัด)ที่ระยะ3,000เมตร และระบบกล้องเล็งวัดระยะแบบ3ตา ทำให้ไทเกอร์ได้เปรียบรถถังข้าศึกตรงจุดนี้ เพราะปืนของไทเกอร์ยิงได้เร็วและแม่นมาก และไทเกอร์ยังมีกระสุนเจาะเกราะแบบพิเศษ นอกเหนือจากกระสุนระเบิดต่อสู้รถถังและกระสุนเจาะเกราะธรรมดา นั่นคือกระสุนเจาะเกราะหัวรบทังสเตน แบบPzgr 40 ซึ่งไม่เป็นที่รู้จักมากนัก กระสุนรุ่นนี้ผลิตมาจากโลหะผสมทังสเตน มีความเร็วปากลำกล้องสูงและยิงได้ไกลมาก สามารถเจาะเกราะได้ทุกชนิด100% เน้นการใช้งานในการทำลายเป้าหมายที่มีเกราะหนัก เมื่อรวมกับปืน88มม.แล้ว ไทเกอร์จึงยิ่งทรงอานุภาพมากขึ้น แต่กระสุนรุ่นนี้ก็ผลิตออกมาน้อย เพราะช่วงสงครามเยอรมันขาดแคลนแร่ทังสเตนมาก จึงให้เบิกใช้ไม่มากนัก

ไทเกอร์ ได้ออกรบในสมรภูมิสำคัญทั้งด้านตะวันออกและด้านตะวันตก แอฟริกาเหนือ และอิตาลี โดยในแอฟริกาเหนือ กองทัพน้อยแอฟริกา ครอล์ฟ ของนายพลรอมเมล ได้ใช้รถถังไทเกอร์จำนวนน้อย เข้าต่อสู้กับกองทัพรถถังจำนวนมหาศาลของกองทัพพันธมิตรอังกฤษ-อเมริกา และทำลายรถถังพันธมิตรได้เป็นจำนวนมาก ในแนวรบด้านตะวันออก ไทเกอร์ก็ได้แสดงพลังฝังรถถังโซเวียตจมดินเป็นจำนวนมาก โดยที่รถถังหนักของโซเวียตแบบKV-1 และ KV-2 ไม่อาจต้านทานได้ แม้ช่วงปี1944 โซเวียตจะผลิตรถถังหนักรุ่นใหม่แบบ โจเซฟ สตาลิน-2 (JS-2) ติดปืนขนาด122มม. ซึ่งใหญ่กว่าไทเกอร์ได้ก็ตาม แต่ก็หาต้านทานไทเกอร์ได้ไม่ โดยข้อมูลการรบในวันที่2มกราคม 1945 กองพันรถถังหนักที่507ของเยอรมันที่มีรถถังไทเกอร์เป็นกำลังหลัก ได้ปะทะกับกองพลยานเกราะของโซเวียตที่มี JS-2 จำนวนมาก ผลคือ รถถังไทเกอร์1 คัน สามารถทำลายรถถังJS-2ได้ถึง22คัน ด้วยปืน88มม. ที่ยิงได้ไกล แม่นยำ และรวดเร็วกว่าโดยที่รถถังของโซเวียตไม่สามารถสร้างความเสียหายให้แก่รถถังไทเกอร์ได้เลย ทำให้กำลังพลโซเวียตต้องถอยกลับไปตั้งหลักใหม่

ในแนวรบตะวันตก นอร์มังดี ปี1944 ร้อยเอก มิคาเอล วิทมานน์ แห่งกองพลยานเกราะ เอส.เอส. ที่1 ลิปสแตนดาร์ต ได้นำรถถังไทเกอร์6คันเข้าทำการต่อสู้กับรถถังพันธมิตร และสามารถสังหารรถถังพันธมิตรได้มหาศาล

เนื่องจากประสิทธภาพของไทเกอร์เป็นที่หวาดหวั่นแก่ทหารพันธมิตร ทำให้เกิดอาการทางจิตในช่วงสงครามที่เรียกว่า ไทเกอร์ โฟเบีย หรืออาการหวาดกลัวรถถังไทเกอร์ นั่นคือเมื่อมีคนพูดถึงรถถังไทเกอร์ ผู้มีอาการดังกล่าวจะเกิดอาการสั่นกลัว และเมื่อได้ยินเสียงรถถังไทเกอร์หรือเห็นตัวรถถัง ก็แทบจะเป็นประสาทไปเลย

จุดอ่อนอันน่ากลัว ของไทเกอร์คือ เครื่องยนต์ที่มีปัญหา(เป็นความผิดพลาดในการออกแบบรถต้นแบบของเฮนเซล) ความเชื่องช้า เพราะน้ำหนักที่มาก โดยในการรบที่เมืองคาห์คอฟ และเคียฟ สภาพถนนเป็นโคลนตม รถถังไทเกอร์ที่มีน้ำหนักมาก ได้ติดหล่ม และเร่งเครื่องจนเครื่องยนต์พังเสียหาย จึงตกเป็นเป้าของปืนรถถังโซเวียต ทำให้เยอรมันต้องเสียไทเกอร์จำนวนมากในการรบครั้งนั้น

ไทเกอร์ ถูกผลิตตั้งแต่ปี 1942-1944 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,350คัน แม้จะมีน้อย แต่ก็สำแดงพลังการรบให้ทหารพันธมิตรเป็นที่ประจักษ์ จนได้รับการยกย่องจากนักการทหารในรุ่นหลังว่า มันคือสุดยอดเครื่องจักรสังหารอย่างแท้จริง

ข้อมูล

หนัก--57 ตัน (บางรุ่นหนักถึง62ตัน)

ยาว---8.45เมตร

กว้าง---3.8เมตร

สูง--- 3เมตร

พลประจำรถ--5นาย

เกราะหนา--25-120มิลลิเมตร

อาวุธ---ปืนใหญ่ 88มม. L56 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 2-3กระบอก เครื่องยิงระเบิดควัน90มม. 6ท่อยิง

ความเร็ว---38-45กม./ชม.

พิสัยทำการ---195ก.ม.


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:23:22


ความคิดเห็นที่ 5


คิงไทเกอร์ รุ่นติดป้อมปืนแบบปอร์เช่ ที่ยกเลิกการผลิตไป

Pzkw VI Ausf B Tiger 2 or KingTiger แพนเซอร์ 6 อาส์ฟ บี ไทเกอร์สอง หรือ คิงไทเกอร์

เป็นสุดยอดรถถังที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในยุคนั้น โดยมีย้ำหนักกว่า70ตัน ไทเกอร์2 หรือคิงไทเกอร์ รถถังรุ่นนี้ได้ทำการออกแบบและผลิตในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ปี1942 หลังจากที่ไทเกอร์1 ออกสู่สมรภูมิได้ไม่นาน เนื่องจากการคาดการณ์ของเสนาธิการฝ่ายเยอรมันว่า โซเวียตกำลังผลิตรถถังที่ทรงอานุภาพมากๆขึ้น รถถังรุ่นนี้ก็ถูกผลิตโดยสองบริษัท เฮนเซล และปอร์เช่ แต่ก็ต่างกันที่ป้อมปืนเท่านั้น ช่วงล่างรถใช้เหมือนกัน แต่ป้อมปืนแบบปอร์เช่ก็ถูกผลิตออกมาเพียง50ป้อมเท่านั้น เพราะว่าส่วนโค้งด้านหน้าป้อมของปอร์เช่นั้นมีความหนา110มิลลิเมตร บางกว่าป้อมของเฮนเซลถึง70มิลลิเมตร และป้อมผ.บ.รถของปอร์เช่ที่ยื่นออกมานั้นมีเกราะที่บางมาก ซึ่งอันตรายมากหากถูกยิง จึงยกเลิกการผลิตป้อมแบบปอร์เช่ไป ให้ผลิตแต่ป้อมแบบเฮนเซลมาแทน

นอกจากเกราะที่หนาแล้ว คิงไทเกอร์ ยังติดปืนขนาด88มม. L71 ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าปืนต่อสู้รถถังทุกชนิดในยุคนั้น แต่จุดอ่อนก็คือ เครื่องยนต์ที่คิงไทเกอร์ใช้เป็นเครื่องยนต์แบบเดียวกันกับไทเกอร์1 เครื่องรุ่นเดียวกัน แต่รับน้ำหนักมากกว่า จึงมีปัญหาการกินน้ำมันอย่างมาก( โดยกินน้ำมันถึง7ลิตรในการวิ่งระยะทาง1ลิโลเมตร ) และปัญหาการขัดข้องด้วย แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องยนต์รุ่นนี้ก็ถือว่าทรงอานุภาพที่สุด

ข้อมูลการรบเท่าที่มีการบันทึกไว้ คือข้อมูลของทหารสหรัฐในการรบที่ป่าอาร์เดนส์ ประเทศเบลเยี่ยม หรือที่เรียกว่าการรบแห่งบัลจ์ โดยคิงไทเกอร์ได้สร้างความตกตะลึงให้แก่ฝ่ายพันธมิตรอย่างมาก เพราะพวกเขาพบว่า ปืนใหญ่แทบทุกชนิดของฝ่ายพันธมิตร ไม่สามารถสร้างความเสียหายใดๆให้แก่คิงไทเกอร์ได้เลย แม้จะโจมตีด้วยเครื่องบินก็ตาม แต่ข้อมูลการรบของฝ่ายเยอรมันนั้นแทบจะไม่มีเลย นั่นก็เพราะมีข้อมูลที่เปิดเผยในช่วงหลังสงครามว่า ในช่วงปลายสงครามและเยอรมันใกล้จะแพ้ ศูนย์ยุทธการบกเยอรมันที่เมืองพอตส์ดัมส์ ได้เผาทำลายเอกสารข้อมูลและรูปถ่ายที่ได้มาระหว่างสงครามไปเกือบหมด รวมทั้งข้อมูลของคิงไทเกอร์ด้วย ซึ่งถ้าพิจารณาทฤษฏีนี้ ก็มีความเป็นไปได้สุงว่า ข้อมูลของคิงไทเกอร์นั้นได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว

ข้อมูล

หนัก--68-70ตัน(บางรุ่นอาจหนักถึง76ตัน)

ยาว--10.3เมตร

กว้าง---3.8-4.3เมตร

สูง--- 3.3เมตร

พลประจำรถ--5นาย

เกราะหนา--40-185มิลลิเมตร

อาวุธ----ปืนใหญ่ 88มม. L71 1กระบอก อาวุธรอง ปืนกล7.92มม. 3กระบอก(ปืนกลภาคพื้นMg-34จำนวน2กระบอก และปืนกลต่อสู้อากาศยานMG-42 จำนวน1กระบอก)

ความเร็ว---38-42กม./ชม.

พิสัยทำการ--- 170กิโลเมตร


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:24:22


ความคิดเห็นที่ 6


กองทัพเยอรมันน่อยู่แล้ว


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:30:41


ความคิดเห็นที่ 7


ผมเปง ชมาชิกผู้รัก นาซี หรือ นีโอนาซี  กระผมัวแทนของสมาคม  อยากไห้ทุกท่านได้ทราบถึงอาวุธ

ของ พรรคนาซี ของเยอรมัน

หวังว่าจะเปงประโยชน์แก่ทุกท่าน ไม่มากก็น้อย

 


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:33:58


ความคิดเห็นที่ 8


http://hun-yuri.exteen.com/ เว็บ ของ ท่าน ยูริ อเร็กซานเดอ
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:36:25


ความคิดเห็นที่ 9


2006/Aug/28

ไฮล์ ฮิตเลอร์! สวัสดีครับ ขอต้อนรับสู่บล็อก สงครามโลกครั้งที่สอง นาซีเยอรมัน และ การ์ตูนน่ารักๆ ครับ

ความคิดในการทำบล็อกคือ ต้องการเสนอเรื่องราวสงครามโลกครั้งที่สอง ในมุมของนาซีเยอรมันบ้างครับ ข้อมูลส่วนมากในบ้านเรา มักเสนอในแง่ของสัมพันธมิตรเสียส่วนใหญ่

อนึ่ง ข้อมูลต่างๆในบล็อกนี้ ไม่อาจยืนยันว่า เป็นข้อมูลที่ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะประวัติศาสตร์นั้นต่างคน ย่อมบันทึกต่างกัน ถ้าจะยืนใครว่าผู้ใดถูก ก็ต้องค้นคว้าข้อมูลมาหักล้างกันใหม่จนกว่าจะได้ข้อมูลที่สมบูรณ์ แต่ผมก็จะพยายามหาข้อมูลที่ถูกต้องมาอัพเสมอถ้าได้ข้อมูลที่ใหม่และถูกต้องกว่ามาครับ

และในบล็อกก็จะมีงานภาพลงสี ที่ผมได้นำไปเผยแพร่ในpocketonlneและMoeboard ให้ชมด้วยครับ( งานศิลปะรับใช้นาซี )

ขอฝากเนื้อ ฝากตัว ฝากบล็อกด้วยนะครับ ไฮล์ ฮิตเลอร์!

ป.ล. ข้อมูลในบล็อก ไม่อนุญาติให้นำไปใช้ในเชิงพานิชย์นะครับ!


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:38:41


ความคิดเห็นที่ 10


ฝ่ายสหรัฐ

1.ปืน M1 GARAND

เป็นปืนที่ฝ่ายสหรัฐใช้เป็นอาวุธประจำกายในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ถึงสงครามเวียดนามเป็นอาวุธที่มีความแม่นยำสูงมากแต่ก็มีจุดเด่นที่น่ากลัวคือเมื่อทำการยิงจนกระสุนหมดในการยิงนัดสุดท้ายปืนจะทำการดีดตลับกระสุนออกมาทำให้มีเสียงดังพิ้งซึ่งจะบอกตำแหน่งของผู้ยิงได้

ปืนนี้สามารถเสริมอุปกรณ์พิเศษได้อย่างดาบปลายปืนกล้องเล็งหรือลูกระเบิดแต่การยิงลูกระเบิดต้องอาศัยกระสุนเปล่า1นัดในการช่วยยิงด้วย

ข้อมูล

ประเภท Rifle

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ประจำการปี 1936-1957

ผู้ออกแบบ John C Garand

จำนวนผลิต ประมาณ 5,000,000 กระบอก

หนัก 4.2-4.6 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,100/610mm.

ขนาดกระสุน .30-06 cal.

บรรจุ 8 นัด Internal Magazine,Stripper Clip

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง 16-24 นัด/นาที

ระยะหวังผล 550 m.

2 ปืน M1A1 Carbine

 

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:42:38


ความคิดเห็นที่ 11


2007/Mar/15

ฝ่ายสหรัฐ

1.ปืน M1 GARAND

เป็นปืนที่ฝ่ายสหรัฐใช้เป็นอาวุธประจำกายในช่วงสงครามโลกครั้งที่2ถึงสงครามเวียดนามเป็นอาวุธที่มีความแม่นยำสูงมากแต่ก็มีจุดเด่นที่น่ากลัวคือเมื่อทำการยิงจนกระสุนหมดในการยิงนัดสุดท้ายปืนจะทำการดีดตลับกระสุนออกมาทำให้มีเสียงดังพิ้งซึ่งจะบอกตำแหน่งของผู้ยิงได้

ปืนนี้สามารถเสริมอุปกรณ์พิเศษได้อย่างดาบปลายปืนกล้องเล็งหรือลูกระเบิดแต่การยิงลูกระเบิดต้องอาศัยกระสุนเปล่า1นัดในการช่วยยิงด้วย

ข้อมูล

ประเภท Rifle

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ประจำการปี 1936-1957

ผู้ออกแบบ John C Garand

จำนวนผลิต ประมาณ 5,000,000 กระบอก

หนัก 4.2-4.6 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,100/610mm.

ขนาดกระสุน .30-06 cal.

บรรจุ 8 นัด Internal Magazine,Stripper Clip

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง 16-24 นัด/นาที

ระยะหวังผล 550 m.

2 ปืน M1A1 Carbine

ปืนนี้เป็นปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติและมีหลายรุ่นทั้งแบบพานท้ายพับได้มี นน.เบาเหมาะสำหรับเหล่าพลร่มมีความแม่นยำสูงแต่มีความรุนแรงต่ำกว่าปืนแบบอื่นแต่ก็ชดเชยด้วยความเล็ก นน.เบา ใช้ง่าย

ข้อมูล

ประเภท Carbine

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ประจำการปี 1942-1960

จำนวนผลิต ประมาณ6,000,000 กระบอก

หนัก 2.36 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว904/458mm.

ขนาดกระสุน .30-06 cal.

บรรจุ15-30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง850-900 นัด/นาที

ระยะหวังผล175-275 m

3 ปืน M1903 Springfield rifle

ปืนกระบอกถูกใช้แต่แต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นปืนที่มีความแม่นยำสูงมากๆแต่บรรจุกระสุนได้น้อยจึงไม่สามารถจัดการข้าศึกทีละมากๆได้และในสงครามโลกครั้งที่ 2 ปืนนี้จะใช้โดยพลแม่นปืนซะเป็นส่วนมาก

ข้อมูล

ประเภท Rifle

ประจำการปี 1903-ปัจจุบัน(ใช้เป็นอาวุธฝึก)

หนัก3.95 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,098/610mm.

ขนาดกระสุน .30-06 cal.

บรรจุ5 นัด

ระบบการทำงาน Bolt-action

อัตรายิง10 นัด/นาที

4 ปืน M1 Thompson

ปืนกลมือThompsonถูกผลิตมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดทำให้กองทัพในตอนนั้นไม่สนใจในการใช้ในช่วงแรกปืนนี้ถูกใช้ในกลุ่มมาเฟียแต่พอสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดขึ้นทางกองทัพจึงนำมันมาใช้มันเป็นปืนที่ นน. เบามีการยิงกระสุนได้เร็วแต่ความแม่นยำไม่มากและมีการส่ายของลำกล้องสูงมากเวลายิงเร็วๆ

ข้อมูล

ประเภท Submachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ประจำการปี 1938-1971 (ประจำการในกองทัพ)

ผู้ออกแบบ John T. Thompson

จำนวนผลิต ประมาณ 2,000,000 กระบอก

หนัก4.9 kg.(รุ่น M1928/A1) 4.9 kg. (รุ่นM1/A1)

ยาว852 mm.(รุ่น M1928/A1) 811mm.(รุ่นM1/A1)

ขนาดกระสุน .45 ACP.

บรรจุ

-20,30 นัดDetachable Box Magazine

-50,100 นัด Drum Magazine

ระบบการทำงาน Friction lock

อัตรายิง600-800นัด/นาที

5 ปืน M1918 Browning Automatic Rifle

ปืนชนิดนี้เป็นปืนสนับสนุนของเหล่าหมู่ปืนเป็นปืนที่มีผลิตมาใช้ในสงครามโลกครั้งที่1แต่ทางกองทัพให้ความเห็นว่ามันเป็นปืนที่มีความยอดเยี่ยมมากในสมัยนั้นจึงไม่สามารถให้มันตกไปอยู่ในมือของฝ่ายข้าศึกได้ปืนนี้จึงถูกเก็บไว้ก่อนจนสงครามโลกครั้งที่2ระเบิดขึ้นปืนนี้จึงถูกนำมาใช้มันมี นน.มากและบรรจุกระสุนได้น้อยและมีความเร็วในการยิงมากทำให้กระสุนหมดเร็วและปืนถูกยกเลิกไปหลังสงครามเกาหลี

ข้อมูล

ประเภท Automatic Rifle

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ผู้ออกแบบ John Browning

ประจำการปี 1907-1960

หนัก 7.2-8.8kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,214/610mm.

ขนาดกระสุน .30-06 cal.

บรรจุ20 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง300-650 นัด/นาที

ระยะหวังผล548 m

6 ปืน M3A1

ปืนกลมือที่ถูกใช้โดยหน่วยพลร่มและพลประจำรถถังและหน่วยรบพิเศษถูกใช้ช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่2ไปจนถึงสงครามเวียดนามและสงครามอ่าวปี 1991

ข้อมูล

ประเภท Submachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ประจำการปี 1942-1994

จำนวนผลิตประมาณ 2,000,000 กระบอก

หนัก 3.7 kg.

ยาว570 mm.stock retracted, 745 mm.stock extended

ลำกล้องยาว 203mm.

ขนาดกระสุน .45 ACP.

บรรจุ30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Blowback

อัตรายิง400-450 นัด/นาที

ระยะหวังผล~50 m

7 ปืน M1911A1

ปืนพกแบบมาตรฐานของกองทัพสหรัฐมีใช้กันเกือบจะทุกหน่วยเป็นอาวุธสำรองมีความแม่นยำในระยะใกล้และมีพลังในการทำลายสูกกว่าปืนพกแบบอื่นๆแต่บรรจุกระสุนได้น้อยมีใช้ตั้งแต่สงครามโลกจนถึงปัจจุบัน

ข้อมูล

ประเภท Pistol

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ผู้ออกแบบ John Browning

จำนวนผลิตมากกว่า 2,000,000 กระบอก

หนัก1,105 g.

ยาว210 mm.

ลำกล้องยาว 127 mm. Government model
108 mm.Commander model
89 mm. Officers ACP model

ขนาดกระสุน .45 ACP.

บรรจุ7 นัด Standard-Capacity Magazine

ระบบการทำงาน Recoil Operation

ระยะหวังผล62 m.

8 ปืน M1A1 Bazooka

ปืนต่อสู้รถถังที่ใช้มากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่2โดยใช้จรวดแบบHigh explosive anti-tankหรือ(HEAT) ในการทำลายรถถังหรือยานเกราะของข้าศึกและใช้ใจนถึงสงครามเกาหลี

ข้อมูล

ประเภท Recoilless Rocket Antitank Weapon

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ผู้ออกแบบ กองทัพบกสหรัฐ

ประจำการปี 1942-ปัจจุบัน (ในบางประเทศ)

หนัก 6.8 kg.

ยาว 137 cm.

ขนาดลำกล้อง 66 mm.

บรรจุ 1 นัด

ระยะหวังผล ไกลสุด 365 m. ใกล้สุด 135 m.

9 ปืน M1919

ปืนกลตั้งแท่นยิงที่ใช้กันมากในหมู่ปืนกลมีติดตั้งบนยานรบเกือบทุกแบบสามารถใช้สนับสนุนเหล่าทหารและสามารถยิงต่อสู้อากาศยานได้

ข้อมูล

ประเภท Machine Gun (MG)

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1919-1945

หนัก14kg. (รุ่น M1919A4)

ยาว1219 mm. (รุ่น M1919A4), 1346 mm. (รุ่น M1919A6)

ลำกล้องยาว 609mm.

ขนาดกระสุน .30 cal.

บรรจุ250 นัด Belt

ระบบการทำงาน Recoil Operation

อัตรายิง 400-600 นัด/นาที

ระยะหวังผล1,370 m.

10 ปืน M-2 Browning machine gun

ปืนกลชนิดนี้ถูกคิดขึ้นเพื่อมาแทนปืนกลแบบ Vickersในช่วงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งท1ปืนกลชนิดนี้จะติดอยู่กับยานพาหนะซะเป็นส่วนมากเนื่องจากมี นน. มากในการขนย้ายจึงทำได้ลำบากแต่มีพลังการทำลายสูงมาก

ข้อมูล

ประเภท Machine Gun (MG)

ผู้ใช้ สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1932-ปัจจุบัน

หนัก38kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,650/1,140mm.

ขนาดกระสุน .50BMG

ระบบการทำงาน Recoil Operation

อัตรายิง550 นัด/นาที

ระยะหวังผล1,800 m.

ฝ่ายอังกฤษ

1 ปืน Lee Enfield

ปืนไรเฟิลประจำกองทัพบกอังกฤษมีใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่1จนถึงปัจจุบันก็ยังใช้กันอยู่เป็นไรเฟิลลูกเลื่อนเหมือนของเยอรมันแต่บรรจุกระสุนได้มากกว่าคือ10นัดโดยตลับกระสุนจะแบ่งเป็น2ตลับๆละ5นัด

ข้อมูล

ประเภทService Rifle

ผู้ใช้ อังกฤษ

ประจำการปี 1907-ปัจจุบัน (ใช้ในการฝึก)

ผู้ออกแบบ James Paris Lee

จำนวนผลิต ประมาณ 7,500,000 กระบอก

หนัก3.9 kg.

ยาว 1,130 mm.

ขนาดกระสุน .303 cal.

บรรจุ 10 นัด Stripper Clip 2 Clip

ระบบการทำงาน Bolt-action

อัตรายิง20-30 นัด/นาที

ระยะหวังผล914 m. ไกลสุด 1828 m.

2 ปืน Sten Gun

ปืนกลมือที่กองทัพอังกฤษใตลอดสงครามโลกครั้งที่2ไปจนถึงสงครามเวียดนามด้วยที่มันมีลักษณะเล็ก นน. เบากระทัดรัดใช้ง่ายมันจึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว

ข้อมูล

ประเภทSubmachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ อังกฤษ

ประจำการปี 1941-1960

ผู้ออกแบบMajor Reginald V. Shepherd Harold J. Turpin

หนัก3.18 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว760/196mm.

ขนาดกระสุน9 mm. Luger Parabellum

บรรจุ 32 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Blowback

อัตรายิง~500นัด/นาที

ระยะหวังผล64 m.

3 ปืน Bren LMG

ปืนกลสนับสนุนชั้นยอดของกองทัพบกอังกฤษถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดใหญ่โตทำให้ความคล่องตัวน้อยลงแต่ในการนอนยิงมันจะมีความแม่นยำสูงมาก

ข้อมูล

ประเภทLight machine gun

ผู้ใช้ อังกฤษ

ประจำการปี 1938-1958

หนัก10.35kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,156/653mm.

ขนาดกระสุน.303 cal

บรรจุ

-30 นัด Detachable Box Magazine

-100 นัด Pan Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง500-520นัด/นาที

ระยะหวังผล550 m.

4 ปืน Webley Revolver MK 4

ปืนพกลูกโม่ประจำตัวของทหารอังกฤษมีใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1มี นน.ที่เบามากใช้ง่ายไม่ต้องใช้การฝึกอะไรมากเป็นที่นิยมมากและยังคงถูกใช้ในบางส่วนของโลกอยู่

ข้อมูล

ประเภทService Revolver

ผู้ใช้ อังกฤษ

ประจำการปี 1915-1947

ผู้ออกแบบWebley and Scott

หนัก1.1kg.

ยาว286 mm.

ขนาดกระสุน.455 Webley Mk II

บรรจุ 6 นัด Cylinder

ระบบการทำงาน Double Action Revolver

ระยะหวังผล50 หลา

5 ปืน PIAT (Projector Infantry, Anti-Tank)

ปืนต่อสู้รถถังของกองทัพบกอังกฤษไม่เป็นที่นิยมมากนักเนื่องจากมี นน. มากความแม่นยำต่ำระยะหว้งผลไม่ไกลมากนักและมีความยุ่งยากในการยิงทหารจึงนิยมใช้ปืนM1A1 Bazookaมากกว่า

ข้อมูล

ประเภท Recoilless Rocket Antitank Weapon

ผู้ใช้ อังกฤษ

ประจำการปี 1942-1950

ผู้ออกแบบ ICI Ltd., various others

หนัก14.4 kg.

ยาว990 mm.

ขนาดกระสุน Infantry Projector, AT, Mk 3/L

บรรจุ 1 นัด

ระยะหวังผล110 m. ไกลสุด 320 m.

ฝ่ายโซเวียต

1 Mosin Nagant

ปืนไรเฟิลของทหารกองทัพแดงมีความแม่นยำสูงมากในการยิงระยะไกลแต่มีอัตราการยิงต่อเนื่องต่ำทำให้ลำบากในการต่อสู้ระยะประชิดใช้ตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 ถึงปลายปี1998

ข้อมูล

ประเภทService Rifle

ผู้ใช้ โซเวียต

ประจำการปี 1891-1998

ผู้ออกแบบ Cap.Sergei Mosin

จำนวนผลิต ประมาณ 37,000,000 กระบอก

หนัก4.05 kg.

ยาว131.8 cm.

ขนาดกระสุน 7.62x54R.

บรรจุ5 นัด Stripper Clip

ระบบการทำงาน Bolt-action

อัตรายิง15นัด/นาที

ระยะหวังผล548.64 m. ไกลสุด 1828.8 m.

2 ปืน PPSH-41

ปืนกลมือของกองทัพบกโซเวียตมีอัตราการยิงต่อเนื่องสูกมากบรรจุกระสุนได้เยอะมากความแม่นยำต่ำไม่เหมาะกับการยิงระยะไกลแต่เหมาะกับการต่อสู้ระยะประชิดและใช้ในหลายประเทศเช่นเวียดนามเหนือหรือเกาหลีเหนือ

ข้อมูล

ประเภทSubmachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ โซเวียต

ประจำการปี 1941-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Georgii Shpagin

จำนวนผลิต ประมาณ 6,000,000 กระบอก

หนัก3.63 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว843/269mm.

ขนาดกระสุน 7.62x25 mm.

บรรจุ

-71นัด Drum Magazine

-35 นัด Box Magazine

ระบบการทำงาน Blowback

อัตรายิง900นัด/นาที

ระยะหวังผล~200 m.

3 ปืน Samozaryadnaya Vintovka Tokareva SVT-40

ปืนไรเฟิลชนิดนี้เป็นการอัพเกรดขนานใหญ่ของปืนไรเฟิลประจำกายของกองทัพแดงถึงแม้ว่าทหารจะไม่ได้รับการฝึกให้ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพแต่ทหารนาซีก็ยอมรับในฐานะอาวุธที่มีความแม่นยำและพลังการทำลายสูง

ข้อมูล

ประเภท Rifle

ผู้ใช้ โซเวียต

ประจำการปี 1941-1945

จำนวนผลิต ประมาณ1,600,000 กระบอก

หนัก3.85 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,226/610mm.

ขนาดกระสุน 7.62x54 mm.

บรรจุ10 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas operated

อัตรายิง840นัด/นาที

ระยะหวังผล500 m.

4 ปืน Ruchnoy Pulemyot Degtyaryova Pekhotnyi 28

ปืนกลรุ่นนี้ถือเป็นยอดในเรื่องความเรียบง่ายและง่ายต่อการบำรุงรักษาแต่ขาตั้งของมันจะหักได้ง่ายถ้าถืออย่างไม่ระมัดระวังแต่มันก็เป็นปืนที่มีประสิทธิภาพมากในความแม่นยำและมีพลังการยิงสูง

ข้อมูล

ประเภทLight Machine Gun

ผู้ใช้ โซเวียต

ประจำการปี 1928-1960

ผู้ออกแบบ Vasily Degtyarev

หนัก9.12 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,270/604.5mm.

ขนาดกระสุน 7.62x54R.

บรรจุ 49 นัด(47 in practice)

ระบบการทำงาน Gas-Operated

อัตรายิง500-600นัด/นาที

ระยะหวังผล~800 m.

5 ปืน Tokarev TT-33

ปืนพกประจำกายมาตรฐานของทหารกองทัพแดงปืนชนิดนี้ได้รับการพัฒนามาจากปืน M1911 ของสหรัฐโดยตัดแปลงทำให้มันใช้งานได้ดีขึ้นง่ายขึ้นและทนทานมากขึ้น

ข้อมูล

ประเภทSemi-automatic Pistol

ผู้ใช้ โซเวียต

ประจำการปี 1930-1951

จำนวนผลิต ประมาณ1,700,000 กระบอก

หนัก840 g.

ยาว/ลำกล้องยาว196/166 mm.

ขนาดกระสุน 7.62x54 mm.

บรรจุ8 นัด Box Magazine

ระบบการทำงาน Single action

ฝ่ายเยอรมัน (นาซี)

1 ปืน Mauser Model 98K Carbine (KAR-98)

ปืนไรเฟิลรุ่นนี้เป็นปืนประจำตัวของกองทัพบกเยอรมันมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่1เป็นปืนที่มีความแม่นยำสูงมากแต่มีอัตราการยิงต่อเนื่องต่ำทำให้การเข้าต่อสู้ในระยะประชิดทำได้ยากและยังสามารถติดเครื่องยิงลูกระเบิดเข้าได้และปืนนี้ก็อยู่ในแผนการลอบสังหารฮิตเลอร์โดยให้ทหารอังกฤษปลอมตัวเข้าไปแล้วแอบลอบสังหารจากระยะไกลแต่แผนนั้นก็ล่มเนื่องฝ่ายพันธมิตรคิดให้การครองอำนาจของฮิตเลอร์จะทำลายเยอรมันได้ดีกว่า

ข้อมูล

ประเภทService Rifle

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1935-ปัจจุบัน (ใช้ในการฝึก)

จำนวนผลิตมากกว่า 10,000,000 กระบอก

หนัก3.7-4.1 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,100/600mm.

ขนาดกระสุน 7.62x57 mm .

บรรจุ5 นัด Stripper Clip,Internal Magazine

ระบบการทำงาน Bolt-action

อัตรายิง15นัด/นาที

ระยะหวังผล500 m.

2 ปืน FG-42

ปืนไรเฟิลอเนกประสงค์เป็นปืนที่มีความแม่นยำสูงและมีพลังการทำลายสูงมากและยังสามารถยิงแบบอัตโนมัติได้และยังติดกล้องเล็งมาด้วย

ข้อมูล

ประเภทAutomatic Rifle

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1942-1945

ผู้ออกแบบ Louis Stange

จำนวนผลิต2,000 กระบอก(Model I), 4,397(Army)

หนัก4.5 kg.(รุ่น Model I), 4.9 kg. (รุ่น Model II)

ยาว937 mm..(รุ่น Model I), 1,060mm. (รุ่น Model II)

ลำกล้องยาว 502mm.

ขนาดกระสุน 7.62x57 mm .

บรรจุ10,20 นัดDetachable Box Magazine

อัตรายิง900นัด/นาที (รุ่น Model I)

600นัด/นาที (รุ่น Model II)

ระยะหวังผล~500 m.

3 ปืน MP-40

ปืนกลมือของฝ่ายนาซีนิยมใช้กันมากเนื่องจากใช้ง่ายมีน้ำนักเบามีประสิทธิภาพในการเคลียร์พื้นที่มีแรงสะท้อนน้อยทำให้สามารถยิงได้ต่อเนื่องและยังเป็นที่นิยมในหมู่ทหารพันธมิตรเช่นกัน

ข้อมูล

ประเภทSubmachine Gun (SMG)

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1939-1945

ผู้ออกแบบ Heinrich Vollmer

จำนวนผลิตมากกว่า 1,000,000 กระบอก

หนัก3.97 kg..

ยาว630 mm. Stock folded

833 mm. Stock extended

ลำกล้องยาว 251mm.

ขนาดกระสุน9 mm . Parabellum/Luger

บรรจุ32 นัด Box Magazine

ระบบการทำงาน Open Bolt Blowback

อัตรายิง500นัด/นาที

ระยะหวังผล~100 m.

4 ปืน Gewehr 43

ในช่วงต้นสงครามเยอรมันได้ผลิตปืน Gewehr 41 มา แต่ไม่ได้รับความนิยมเพราะมีความยุ่งยากในการบรรจุกระสุนและเชื่อถือไม่ค่อยได้หลังจากที่ได้ยึดปืน SVT-40 ของโซเวียตมาได้วิศวกรของเยอรมันได้สังเกตุการโหลดกระสุนด้วยแก๊สที่ดีเยี่ยมของ SVT-40 ทำให้พวกเขาได้นำระบบนั้นมาออกแบบ Gewehr 43 ทำให้มันโหลดกระสุนได้ง่ายและมีความแม่นยำสูงด้วย

ข้อมูล

ประเภทSemi-Automatic Rifle

ผู้ใช้ เยอรมัน

หนัก4.1 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,130/546mm.

ขนาดกระสุน7.92x57 mm. Mauser

บรรจุ10 นัดDetachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

ระยะหวังผล 400 m.

5 ปืน Machinegewehr 42 (MG-42)

ปืนกลชนิดนี้จะพบได้เกือบจะทุกหน่วยของเยอรมันเป็นปืนที่มีประสิทธิภาพสูงมีอัตราการยิงต่อเนื่องได้รวดเร็วแต่ก็มีปัญหาคือถ้ายิงเร็วมากจะทำให้ปืนสั่นอย่างมาแต่ปืนนี้ก็วางรากฐานให้ปืนกลในยุคบัจจุบันอย่าง MG-3

ข้อมูล

ประเภทMachine Gun

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1942-1959

จำนวนผลิตมากกว่า400,000 กระบอก

หนัก11.57 kg..

ยาว1,220 mm.

ขนาดกระสุน 7.92x57 mm. Mauser

บรรจุ 50-250 นัด Belt

ระบบการทำงาน Recoil Operation,Roller Locked Bolt

อัตรายิง1,100-1,200 นัด/นาที

ระยะหวังผล1,000 m.

6 ปืน Machinegewehr34 (MG-34)

แม้ว่าสนธิสัญญาแวร์ซายจะห้ามเยอรมันในการผลิตอาวุธที่มีการยิงแบบอัตโนมัติทุกชนิดแต่เยอรมันก็หาทางให้เงินสนับสนุนในการพัฒนาอาวุธชนิดนี้ในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ซึ่งเป็นอาวุธต่อต้านอากาศยานรุ่น Rheinmetall MG-15 อันเป็นต้นกำเนิดของ MG-34 ปืนกลชนิดนี้จัดเป็นปืนที่ออกแบบได้เยี่ยมที่สุดและอยู่ในแนวหน้าตลอดสงคราม

ข้อมูล

ประเภทGeneral Purpose Machine Gun

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1935-1945

ผู้ออกแบบ Mauser Werke (Heinrich Vollmer)

หนัก12.1 kg.

19.2 kg. (with tripod)

ยาว/ลำกล้องยาว1,219/627mm.

ขนาดกระสุน 7.92x57 mm. Mauser

บรรจุ

-50-200นัด Belt

-75 นัด Drum Magazine

ระบบการทำงาน Recoil Operation

อัตรายิง800-900 นัด/นาที

ระยะหวังผล 755m.

7 ปืน Panzerfaust

อาวุธทุกฝ่ายนาซีใช้ต่อต้นรถถังโดยการยิงลูกระเบิดใส่รถถังหรือยานหุ้มเกราะมีอำนาจในการทำลายสูงแต่ไม่เหมาะกับการยิงใส่บุคคลและสามารถยิงได้แค่ครั้งเดียวแต่ปืนนี้ก็เป็นต้นแบบให้ปืนต่อสู้รถถังแบบ RPG-2 หรือ RPG-7

ไม่มีข้อมูล

8 ปืน Raketenpanzerbuchse(Panzerchrek)

เมื่อเยอรมันสามารถยึดปืนบาซูก้าจากอเมริกาได้ในศึกที่ตูนีเซีย ในปี 1943 วิศวกรของเยอรมันก็วิเคราะห์และลอกแบบปืนบาซูก้า โดยทันที ในไม่ช้าเยอรมันก็มีปืนต่อสู้รถถังก็คือRaketenpanzerbuchse 43 มันมีชื่อเล่นๆว่าPanzerchrekโดยจะยิงจรวดขนาด3.46นิ้วและมีระยะหวังผลกว่า 160 หลา จากนั้นมันก็เป็นฝันร้ายของเหล่าผู้บังคับรถถังฝ่ายพันธมิตรจนต้องมีการเสริมเกราะเพื่อที่จะรับมือกับมัน

ไม่มีข้อมูล

9 ปืน Luger

ปืนพกประจำตัวของนายทหารของฝ่ายนาซีเป็นปืนพกขนาดเล็กพกพาสะดวกมันเป็นของขวัญอันลำค่าสำหรับทหารฝ่ายพันธมิตรและจะพบมากในการค้นตัวของทหารเยอรมัน

ข้อมูล

ประเภทService Pistol

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1904-1945

ผู้ออกแบบ Georg Luger

หนัก 1.92 lbs

ยาว8.75 in

ลำกล้องยาว 98 - 203 mm.

ขนาดกระสุน 9 mm. Parabellum,7.65 mm. Parabellum

บรรจุ 8นัด Detachable Box Magazine

10 ปืน Walther P38

โดยปกติปืนรี้จะพกโดยทหารเยอรมันมันมีขนาดเล็กและสะดวกในการใช้งานแต่มันไม่สามารถสู้ปืน M1911A1 ของสหรัฐได้แต่มันเล็กกว่าจึงสะดวกในการใช้งานมากกว่า

ข้อมูล

ประเภทSemi-Automatic Pistol

ผู้ใช้ เยอรมัน

จำนวนผลิต ประมาณ 1,200,00 กระบอก

หนัก 0.8 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว216/125mm.

ขนาดกระสุน 9 mm. Parabellum

บรรจุ 8นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Double Action

ระยะหวังผล ~50 m.

11 ปืน Sturmgewehr 44 (STG-44,MP-44)

ปืนไรเฟิลจู่โจมแบบแรกของนาซีและของโลกเป็นอาวุธปืนที่ยอดเยี่ยมที่สุดในสงครามโลกครั้งที่2มีลักษณะยิงได้เร็วเหมือนปืนกลและมีความแม่นยำเหมือนปืนไรเฟิลมันเป็นที่ชื่นชอบของเหล่าทหารทันทีแต่เมื่อฮิตเลอร์เห็นมันกลับส่งห้ามผลิตออกมาอีกแต่ทางวิศวกรก็แอบผลิตออกมาใช้มันแสดงให้เห็นถึงความยอดเยี่ยมเมื่อตอนที่กองทัพเยอรมันที่ตกอยู่ในวงล้องของกองทัพโซเวียตพวกเข้าได้ใช้ปืนนี้ในการช่วยตีฝ่าออกมาได้เมื่อข่าวไปถึงฮิตเลอร์ๆจึงส่งให้ผลิตได้แต่มันสายเกินกว่าที่จะเปลี่ยนผลของสงครามแล้วและปืนนี้ยังเป็นที่นิยมในหมู่ทหารพันธมิตรเช่นกันปืนนี้เป็นต้นแบบให้กับปืน Kalashnikov AK-47

ข้อมูล

ประเภทLight Automatic Rifle/Assault Rifle

ผู้ใช้ เยอรมัน

ประจำการปี 1944-1945

หนัก5.22 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว940/419mm.

ขนาดกระสุน 7.92x33 mm .

บรรจุ 30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Tilting Bolt

อัตรายิง500-600นัด/นาที

ระยะหวังผล300 m.

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 05:46:51


ความคิดเห็นที่ 12


ฮิตเลอร์ ปืนเขาดีจริง

โดยคุณ qoop เมื่อวันที่ 24/02/2008 10:26:16


ความคิดเห็นที่ 13


ผมชอบครับ

 

ขอบคุณมากนะครับ

โดยคุณ PREANG เมื่อวันที่ 24/02/2008 12:07:42


ความคิดเห็นที่ 14


โดยส่วนตัวก็ชอบเยอรมันครับ

ดีครับได้รู้ข้อมูลมากเลย ขอบคุณมากครับ

ดูข้อมูลของพวกอเมริกามามากจนเอียนแล้วคับแหะ ๆ ๆ

แต่พอจะมีข้อมูลสมัยใหม่บ้างรึเปล่าครับ

ถ้ามีก็ช่วยโพสหน่อยครับ ขอบคุณครับ

โดยคุณ easycompany เมื่อวันที่ 24/02/2008 12:25:26


ความคิดเห็นที่ 15


ผมจะหามาแบ้วกันนะครับ

อาวุธสมัยใหม่ ของเยอรมัน หรือครับ

ok เดียวโพสไห้ชม


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:30:23


ความคิดเห็นที่ 16


นาซี มีเป้าหมายให้พวกที่ไม่ใช่ชาวอารยันหมดไปจากโลก

นีโอนาซีเอง ก็เป็นกลุ่มหัวรุนแรง (โดยเฉพาะในรัสเซีย พวกนี้ ก่ออาชญากรรมกับคนเอเชียที่นั่นไว้มาก)

ไม่ทราบว่า คนไทยเราเป็นชาวอารยัน ตรงไหนหว่า ? ถึงได้ไปสนับสนุนนาซี หรือ นีโอนาซี

เซ็งจิต

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:41:28


ความคิดเห็นที่ 17


อ๋อ

พวกผมรักในนาซี พวกเรา ไม่ได้ชอบนาซี

แต่รักในนาซี นีโอนาซีแห่ง  พวกเกลียด ยิว 

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:47:49


ความคิดเห็นที่ 18


ไม่จำเปงจะต้องเปง ชาวอรายัน  ใน หน่วยเอสเอส ก็ยังมี อาสาสมัคร

ต่างชาติ เลย  คุณเคยอ่านเรื่อง คนไทยในกอง ทัพเยอรมัน ป่าว

ไม่รู้จิงไม่ต้องมาพูด

 

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:50:58


ความคิดเห็นที่ 19


การ แนว ตะวันออก ( สู้กับรัสเซีย)

การรบที่เป็นจุดพลิกผันของสงคราม
1 สตาลินกราด เยอรมันตัดสินใจโจมตีสตาลินกราดเพื่อเป็นฐานที่มั่นในการโจมตีเข้ายึดแหล่งน้ำมันที่บากู หลังจากที่เยอรมันล่อพวกรัสเซียมาป้องกันมอสโควแล้วก็ได้ส่งกองกำลังหลักของตนเข้าโจมตีรัสเซียตอนใต้ ซึ่งพวกรัสเซียมีทหารป้องกันเพียง10%เท่านั้นหลังจากที่สถานะการเริ่มย่ำแย่ สตาลินได้ส่งนายพลซึ่งเขาไว้วางใจที่สุด จีโอจี้ ซูคอฟมาพร้อมกับทหารจำนวนมาก ซูคอฟเข้ามาตั้งฐานบัญชาการในสตาลินกราด แทนที่จะอยู่อีกฟากของแม่น้ำ และเขากล่าวว่า ถ้าป้องกันสตาลินกราดไม่ได้ก็จะยอมตายที่นี่ การตัดสินใจปักหลักต่อสู้ของซูคอฟเพิ่มขวัญกำลังใจไห้ทหาร ฝ่ายเยอรมันนำโดยพอลลัส ไช้รูปแบบสงครามเบ็ดเสร็จบลิซคลีกโดยโจมตีด้วยปืนไหญ่และทิ้งระเบิดจากเครื่องบินอย่างหนักหน่วง ในตอนกลางวัน และส่งทัพรถถังเข้ายึดพื้นที่

ฝ่ายซูคอฟ ไช้รูปแบบสงครามจรยุทธปักหลักป้องกันตอนกลางวัน พอตอนกลางคืนไช้การเครื่อนตัวผ่านท่อระบายน้ำเข้าโจมตีจุดที่ป้องกันอ่อน เข้ายึดพื้นที่คืนบางส่วน ผลก็คือฝ่ายเยอรมันค่อยๆยึดพื้นที่อย่างช้าๆ และเป็นฝ่ายที่ล้มตายน้อยกว่า ส่วนพวกรัสเซียถึงจะส่งความเสียหายไห้เยอรมันได้บ้างแต่ก็ทำได้แค่ถ่วงเวลารอฤดูหนาว

2 สตาลินการ์ดปฏิบัติการยูเรนัส ในที่สุดหลังจากการรบ8เดือนฤดูหนาวก็มาถึง พวกเยอรมันยึดพื้นที่ได้ถึง9/10ส่วนได้รับข่าวการตีโต้ของพวกรัสเซีย มีการสร้างสะพานและยกพลเตรียมตัวบุก เข้ายึกสตาลินกราด พวกเยอรมันจึงส่งกองกำลังเข้าเสริมการป้องกันในสตาลินกราด แต่การโจมตีก็ไม่ได้เกิดขึ้น การโจมตีหลักที่แท้จริงเกิดขึ้นทางเหนือและใต้สตาลินกราด ห่างออกไป100ไมล์ นำโดยซูคอฟและวาซิลาฟสกี้เข้าทำการโอบล้อมแบบเหนือความคาดคิด กองทัพที่ปักหลักอยู่ในสตาลินกราดห่างเกินไปที่จะทำการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที กองทัพโรมาเนียที่ป้องกันทางปีกถูกทำลายอย่างรวดเร็วที่จริงทัพแพนเซอร์ที่6มีโอกาศหนีได้ทันแต่ต้องทิ้งหน่วยรบที่เครื่อนที่ได้ช้าทั้งหมด รวมทั้งทหารราบและรถถังจำนวนมากไห้กับรัสเซีย และที่สำคัญต้องเสียเขตแดนในสตาลินกราดที่ยึดมาได้อย่างยากลำบากคืนไห้กับพวกรัสเซียทั้งหมด ฮิตเลอร์จึงสั่งไห้ยืนหยัดต่อสู้ โดยสัญญาว่าจะส่งสิ่งจำเป็นด้วยทางอากาศและจะส่งทัพไปช่วยเหลือ ในที่สุดทัพเหนือใต้ได้บรรจบกันและการปิดล้อมก็สมบูรณ์และนี่คือการโอบล้อมระยะไกลที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทัพแพนเซอร์ที่6ถูกตัดออกจากการส่งกำลังบำรุงทำไห้ขาดแคลนทั้งอาหารเชื้อเพลิงและกระสุน ฮิตเลอร์ได้ส่งทัพแพนเซอร์ที่4 เข้าไปช่วยแต่ก็ติดกับดักของซูคอฟ โดยซูคอฟได้โจมตีทหารโรมาเนียและอิตาลีซึ่งเป็นจุดอ่อนทางด้านข้าง หลังจากทหารด้านข้างแตกทัพที่4ก็เสียขวัญต้องถอยทัพไปไกล กองทัพแพนเซอร์ที่6จึงหวังว่าจะรักษาการตั้งรับไว้จนฤดูหนาวผ่านพ้นแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะการส่งเสบียงและเครื่องกระสุนทางอากาศไม่เพียงพอ เนื่องจากภูมิอากาศในฤดูหนาว และประกอบกับการต้านทานจากทัพฟ้ารัสเซียที่เริ่มแข็งแกร่งขึ้น และแผนอันแยบยลของรัสเซีย ที่จะส่งสัญญาณควันหลอก ไห้เหมือนกับสัญญาณควันของพวกเยอรมันที่บอกตำแหน่งของพวกตน และส่งผลไห้เสบียงและสิ่งอุปกรณ์จำนวนมากถูกส่งไปยังเขตของพวกรัสเซีย ในที่สุดก็ไม่มีกระสุนและอาหารเพียงพอที่จะยืนหยัดต่อต้านต่อไปได้และต้องยอมแพ้

ผลของการรบ ทั้งสองฝ่ายล้มตายอย่างหนักทั้งคู่ แต่ที่ฝ่ายรัสเซียเสียเป็นทหารไหม่ที่ทดแทนได้ง่าย แต่ฝ่ายเยอรมันเสียทหารที่เชี่ยวชาญและไม่สามารถทดแทนได้ และฝ่ายรัสเซียซึ่งคุมสนามรบไว้ได้ ยึดเอาอุปกรณ์ทางการทหารเป็นจำนวนมาก อุปกรณ์ที่เสียหายจำนวนมากสามารถนำมาซ่อมและไช้ไหม่ได้ บางส่วนที่เสียหายหนักแต่เหลือพาร์ที่ปลอดภัยก็นำไปเป็นวัสดุในการสร้างอาวุธขึ้นมาไหม่และเป็นอะไหล่ โดยเฉพาะปืนไหญ่ โดยที่ฝ่ายแพ้ไม่สามารถขนปืนไหญ่หนีได้ทันต้องทิ้งปืนไหญ่จำนวนมากไห้ฝ่ายที่ชนะ

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:53:36


ความคิดเห็นที่ 20


3 เคิร์ก จุดพลิกผันที่สำคัญอีกจุดหลังจากสตาลินการ์ดก็คือ เคิร์ก หลังจากที่เยอรมันพ่ายแพ้ที่สตาลินการ์ด ฮิตเลอร์ไม่ยอมล้มเลิกความพยายามที่จะชิงแหล่งน้ำมันของรัสเซียกลับคืน เพราะความอยู่รอดของกองกำลังนาซีขึ้นกับน้ำมัน และเยอรมันเหลือน้ำมันไว้ไช้ได้อีกไม่กี่ปี

การรบครั้งนี้เป็นการเผชิญหน้าของสองแม่ทัพผู้ซึ่งเก่งกาจที่สุดในโลกอย่างแท้จริงแต่กลับไม่ค่อยมีคนรู้จัก คนนึงคือ อิริค วอน แมนสเตน อีกคนคือ จีโอจี้ ซูคอฟ บางคนอาจจะเถียงว่า แม่ทัพที่เก่งที่สุดของเยอรมันคือรอมเมล และแม่ทัพที่เก่งที่สุดของพันธมิตรคือแพทตัน แต่ถ้านับตามผลงานแล้ว แมนสเตนผู้ซึ่งรับผิดชอบการยึดฝรั่งเศส โปร์แลนด์ ท่าเรือเซบาสโตโพลนั้นถือว่ามีความสำเร็จมากกว่ารอมเมลหลายเท่า ส่วนซูคอฟซึ่งรับผิดชอบการป้องกันสตาลินการ์ด ยุทธการยูเรนัส และการรบที่เคิร์กนั้น ถือว่าประสบความสำเร็จมากกว่าแพทตันมากนัก แต่เนื่องจากสงครามเย็น เราจึงรู้แต่ความสำเร็จของพันธมิตรในแนวรบตะวันตก และดีเดย์คือจุดพลิกผันของสงครามโลกครั้งที่สอง

การรบนี้เริ่มต้นด้วยความผิดพลาดของฮิตเลอร์ ซึ่งถ่วงการรบไว้หลายเดือน เพื่อรอรถถังแพนเซอร์รุ่นไหม่และไทเกอร์ แต่ในทุกๆเดือนที่เยอรมันรอ ฝ่ายรัสเซียผลิตt34ในอัตราที่มากกว่า และปรับปรุงแนวป้องกันที่เคิร์กไห้เป็นแนวป้องกันที่แข้งแกร่งที่สุดในโลก มีทั้งทุ่นระเบิด และปืนไหญ่จำนวนมาก และในจุดหนึ่งก็ไม่เกี่ยวแล้วว่ากองทัพเยอรมันจะแข็งแกร่งแค่ไหนและนำโดยแม่ทัพคนใด ไม่มีกองทัพใดและแม่ทัพคนใดในโลกในเวลานั้นที่จะตีเคิร์กแตกได้ ฝ่ายเยอรมันมีทัพแปดแสนกว่า ฝ่ายรัสเซียมีถึงล้านสาม แต่ฝ่ายเยอรมันมีอาวุธที่มีคุณภาพเหนือกว่ามาก

การรบเริ่มขึ้นภายใต้ชื่อปฏิบัติการซิทาเดล โดยแมนสเตน สั่งรวมกำลังหมายโจมตีสร้างความประหลาดใจและโอบล้อมเคิร์ก แต่ฝ่ายเยอรมันกลับได้รับความประหลาดใจซะเอง โดยฝ่ายรัสเซียเปิดฉากโจมตีก่อน โดยไช้ทัพฟ้าเข้าโจมตีฐานทัพอากาศของฝ่ายเยอรมัน และไช้ปืนไหญ่ยิงถล่มจุดรวมกำลังของฝ่ายเยอรมัน แมนสเตนสั่งโจมตีโดยไช้ทัพไหญ่สามทัพ ทางเหนือ กลางและใต้ เมื่อเจอกับทุ่นระเบิด พวกเยอรมันไช้รถบังคับวิทยุโกลไลแอทในการทำลายทุ่น ท่ามกลางการยิงถล่ม เมื่อต้องเจอกับการป้องกันซึ่งลึกและยืดหยุ่นของรัสเซีย ซึ่งมีทั้งทุ่นระเบิดเพื่อถ่วงเวลา การยิงปืน ไหญ่เพื่อทำลายทัพ และที่สำคัญยังมีการซ่อนรถถังและกำลังพลไว้ใต้ดิน ซึ่งทำไห้พวกเยอรมันไม่รู้ว่ากำลังป้องกันจุดไหนมีเท่าไร และหลายครั้งที่โจมตีเข้าไปในกับดักวงล้อมของรัสเซีย หลังจากโจมตีไปได้ซักพัก ความก้าวหน้าก็ยุติลง ทั้งสามทัพไม่สามารถเจาะผ่านแนวป้องกันไปได้ และฝ่ายรัสเซียรวมกำลังเพื่อโต้กลับภายใต้ชื่อปฏิบัติการโพคาโวลก้า ทางเหนือและใต้ โดยจู่โจมอย่างรวดเร็ว แต่ฝ่ายแมนสเตนซึ่งเหลือกำลังรถถังสำรองไว้ ได้โจมตีสกัดกองรถถังของรัสเซียอย่างได้ผล ทำไห้ซูคอฟต้องชะลอการโจมตี โดยไห้รถถังและทหารราบจำนวนมาก เครื่อนพลไปพร้อมกัน ส่งผลไห้แมนสเตนสามารถถอนทหารบางส่วนได้ทันการ

ผลการรบคราวนี้ ฝ่ายรัสเซียเสียหายมากกว่าซะอีก แต่ว่า ทางฝ่ายเยอรมันไม่สามารถชดเชยกำลังทหารที่เชี่ยวชาญและอาวุธซึ่งมีราคาแพงและผลิตได้ยากได้ทัน ส่วนฝ่ายรัสเซีย สามารถสร้างทหารได้อย่างรวดเร็ว และ ได้ประโยชน์จากการยึดอุปกรณ์สงครามจำนวนมากในสนามรบ และ เหมือนกับยุทธการยูเรนัส อุปกรณ์หลายอย่างสามารถซ่อมแซมและนำมาไช้ไหม่ได้ ซึ่งเป็นผลไห้การรบคราวนี้เป็นจุดพลิกผันอีกจุด ที่เป็นประโยชน์แก่รัสเซีย และหลังจากการรบครั้งนี้ การรบแทบทุกครั้ง ฝ่ายรัสเซียจะมีกำลังทหารและอาวุธมากกว่า และมีอำนาจการรบเหนือกว่าฝ่ายเยอรมัน
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:54:26


ความคิดเห็นที่ 21


เสริมเคิร์กอีกนิด พวกพันธมิตรตะวันตก อ้างว่าพวกเยอรมันถอยจากเคิร์กเพราะการยึดเกาะซิซิลีของ ทัพผสมอเมริกาและอังกฤษนั้นไม่เป็นความจริง เพราะหลังจากยึดเกาะได้แล้ว พวกเยอรมันยังบุกต่อไปอีกระยะจนไม่เหลือกำลังพอจึงยุติการบุก

4 d-day หลังจากการพ่ายแพ้ที่เคิร์ก พวกเยอรมันหมดหวังในการยึดแหล่งน้ำมันของรัสเซีย และได้ทำการยืนหยัดป้องกันอย่างสิ้นหวังรอวันที่น้ำมันหมด แต่ภายในเดือนมิถุนายน ก็มีข่าวร้ายเกิดขึ้น พวกพันธมิตรกำลังยกพลขึ้นบก และมีการโจมตีขึ้นสองจุด คือนอมังดี และพาเดอคาเล่ โดยฝ่ายเยอรมันเชื่อว่าการโจมตีหลักจะเกิดขึ้นที่พาเดอคาเล่ เพราะกองทัพลวงและแม่ทัพแพทตันอยู่ที่นั่น ส่วนทางนอมังดีนั้นไม่มีท่าเรือที่สามารถไช้ยกอาวุธหนักขึ้นบกได้ แต่ความจริง การโจมตีหลักเกิดขึ้นที่นอมังดี โดยไช้แผ่นอลูมิเนียมเล็กๆ หลอกจอเรย์ดาร์ ว่ามีการโจมตีทางอากาศขึ้นที่พาเดอร์คาร์เลย์ และมีการใช้วิทยุสื่อสารลวง เพื่อไห้สมจริง ส่วนทางนอร์มังดี ถึงขนาดมีการขนส่งท่าเรือลอยน้ำมาจากอังกฤษ กว่าจะรู้ตัวก็สายเกินไปแล้ว ทหารพันธมิตรตะวันตก ถึงสองล้านคนจะบุกเยอรมันผ่านทางนอมังดี
ฝ่ายเยอรมันมีทหารป้องกันแนวรบตะวันตกแค่สี่แสนคนเท่านั้น ทหารราว85-90%ไช้ป้องกันทางแนวรบตะวันออก ส่วนที่บอกว่าพวกเยอรมันกลัวแพทตันที่สุด และไช้กองกำลังส่วนไหญ่ป้องกันการโจมตีของกองทัพลวงของแพทตันนั้น ไม่เป็นความจริง แมทัพที่พวกเยอรมันกลัวที่สุดคือซูคอฟ และพวกเยอรมันมักไช้กำลังป้องกันส่วนไหญ่ของตนในการสกัดซูคอฟ แต่ด้วยความเก่งกาจของทหารและแม่ทัพเยอรมัน แนวรบตะวันตกได้มีความก้าวหน้าไปอย่างเชื่องช้า

5 ยุทธการบาเกรชั่น ภายในเดือนมิถุนายน เดือนเดียวกับที่เยอรมันโดนโจมตีที่นอมังดี ได้มีข่าวร้ายอีกข่าว ที่อาจจะสาหัสมากกว่านอมังดีซะอีก นั่นคือ 2 สัปดาห์หลังd-dayรัสเซียได้ตัดสินใจโจมตีศูนย์บัญชาการของเยอรมันทางตะวันออก ภายใต้ชื่อปฎิบัติการบาเกรชั่น โดยซูคอฟรับผิดชอบการรบวงกว้างทุกแนวได้ทำการโจมตีหลักหลายแนว แล้วโยกการโจมตีหลักออกจากทางทิศไต้ไปยังตรงกลาง ทำไห้ฝ่ายเยอรมันไม่รู้ว่าการโจมตีหลักจะเกิดขึ้นที่จุดไหน และโดนหลอกไห้ไช้กองกำลังรถถังส่วนไหญ่ป้องกันทางทิศไต้ ทำไห้การโจมตีหลักที่จะทะลวงตรงกลางนั้น ฝ่ายรัสเซียมีความได้เปรียบในด้านรถถังถึง เจ็ดเท่า และมีอัตราส่วนเครื่องบินมากกว่าถึงสิบเท่า ทัพหลักคราวนี้นำโดยแม่ทัพ โรคอสสกี้ โดยก่อนการรบโรโคสกี้ได้เสนอแผนซึ่งสร้างความประหลาดใจไห้กับสตาลิน ซึ่งตามแผนจะต้องทะลวงแนวป้องกันของเยอรมันถึงสองจุด ซึ่งเสี่ยงมาก เพราะตามปกติมักนิยมไช้การล้อมเป็นวงกว้าง หรือถ้าฝ่ายตรงข้ามยืดแนวป้องกัน เพื่อป้องกันการล้อมก็จะไช้การเจาะจุดเดียวแล้วเข้าล้อมฝ่ายตรงข้ามจากข้างหลัง แต่แผนเจาะสองจุด เท่ากันต้องกระจายกำลังหลักออกไป ซึ่งถ้าไม่สำเร็จ แทนที่จะชนะกลับกลายเป็นแพ้แทน สตาลินจึงขอไห้โรคอสสกี้กลับไปคิดอีกรอบ และโรคอฟสกี้ก็ได้กลับไปคิด และกลีบมาพร้อมกลับเสนอแผนเดิม สตาลินก็ขอไห้ กลับไปคิดอีก โรคอฟสกี้ก็ได้กลับมาพร้อมกับยืนยันตามแผนเดิม และในครั้งที่สามนี้ สตาลินได้เอามือไปแตะยังไหล่ของแม่ทัพ และบอกว่า สหายได้ยืนยันหนักแน่นมาก และข้าก็เชื่อมั่นในตัวของสหาย และไห้โรคอฟสกี้ปฎิบัติการตามแผน ผลก็คือ จากการเจาะสองจุด ทำไห้การปิดล้อมเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมากและฝ่ายเยอรมันไม่สามารถถอยทัพได้ทัน ส่งผลไห้ต้องเสียทหารไปถึง670,000นายทั้งตายและเจ็บ และเป็นการปราชัยที่ย่อยยับที่สุดนับจากสตาลินกราด และศึกนี้ ฝ่ายเยอรมันเสียหายหนักยิ่งกว่าเคิร์กซะอีก ฝ่ายรัสเซีย ตาย 60,000 เจ็บ 110,000 คนเจ็บฝ่ายรัสเซียมีโอกาศรักษาได้ดีกว่าเพราะเป็นฝ่ายครองสนามรบ และได้ยึดอาวุธ ที่ฝ่ายเยอรมันทิ้งไว้รวมทั้งสามารถซ่อมอาวุธที่เสียหายเพื่อนำมาไช้ไหม่ได้

ภายหลังปฎิบัตรการบาเกรชั่น ก็ไม่เคยมีศึกไหญ่ขนาดนี้เกิดขึ้นอีก การยุทธแห่งบัลค์ ก็ตายแค่ฝ่ายละแสน และการปิดล้อมหลังจากนี้อย่างมากก็ล้อมทหารเยอรมันได้ สองแสนหรือสามแสนนายเท่านั้น ดีสุดก็ยุทธการยึดโรมาเนีย ซึ่งจัดการกับพวกเยอรมันได้ถึง 400,000 นาย ส่วนฝ่ายรัสเซียตายเจ็บน้อยกว่าถึงเจ็ดเท่า

ผมจึงขอฟันธงว่า สาเหตุที่เยอรมันแพ้แม้จะมีหลายสาเหตุ แต่หลักๆก็คือการตัดสินใจ บุกรัสเซีย ซึ่งทำไห้สูญเสียทหาร และยุทโธปกรณ์ ไปประมาณ75-80%
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:55:17


ความคิดเห็นที่ 22


ได้กล่าวถึงยุทธวิธีการรบไปแล้วคราวนี้มาพูดถึงยุทธศาสตร์โดยรวมบ้าง ว่าเหตุใดรัสเซียจึงชนะ
1 ฤดูหนาวสุดหฤโหด ไม่เหมือนกับทัพของนโปเลียน ทัพเยอรมันเตรียมตัวมาดีกว่า แต่ก็ยังดีไม่พอ กองทัพรัสเซียที่เชี่ยวชาญการรบฤดูหนาวมากกว่าเป็นฝ่ายได้เปรียบ สังเกตุ การตีโต้เลนินกราด การตีโต้ที่มอสโคว การตีโต้ที่สตาลินกราดปฎิบัติการยูเรนัส ล้วนไช้ฤดูหนาวช่วยทั้งสิ้น แต่ความหนาวไม่ได้ฆ่าพวกเยอรมันโดยตรง แต่ทำไห้อ่อนกำลังลงมาก

2 การส่งกำลังบำรุง ฝ่ายเยอรมันมีระยะทางยาวไกลมาก และประกอบกับการสงครามจรยุทธของพวกรัสเซีย ทำไห้ต้องแบ่งกำลังทัพจำนวนมากมาป้องกันการส่งยุทธปัจจัย

3 การผลิต ฝ่ายรัสเซียได้ไช้ความเป็นชาตินิยม เร่งกำลังผลิตอย่างเอาเป็นเอาตาย ส่งผลไห้กำลังผลิตของรัสเซียสูงกว่าพวกเยอรมันซะอีก และยังได้รับการสนับสนุนจากอเมริกาและอังกฤษ (แต่เป็นส่วนรอง รัสเซียพึ่งการผลิตของตนเป็นหลัก และการบันทึกอาวุธและผลการรบของทั้งสองฝ่าย ได้กล่าวถึงรถถัง t34 และเครื่องบินรบ il2 ของรัสเซียอย่างมาก แต่ไม่ได้กล่าวถึงอาวุธของอเมริกาเท่าไร เพราะถูกไช้เป็นจำนวนที่น้อยกว่า แต่อย่างไรก็ตามการสนับสนุนของชาติพันธมิตรถือว่าสำคัญมาก เพราะ รถบรรทุกและรองเท้าที่ส่งมาจากอเมริกา ได้ช่วยแบ่งเบาภาระของโรงงานรัสเซียไห้มุ่งผลิตอาวุธเป็นหลัก) รวมทั้งอาวุธของรัสเซียออกแบบอย่างชาญฉลาด ไห้ผลิตได้ง่ายในระดับ แมส ฝึกพลขับได้ง่ายกว่า ราคาถูกดูแลง่าย มีอานุภาพที่ดี ส่วนฝ่ายเยอรมัน ผลิตโดยต้องมีคุณภาพยอดเยี่ยมตามแบบเยอรมันเท่านั้น จึง แพง ผลิตได้ในจำนวนที่น้อยกว่า ดูแลยาก ค่าเมนเทนแนนแพง ฝึกผู้ไช้ก็ยาก แต่คุณภาพนั้นดีเยี่ยม

4 ทหาร ทหารฝ่ายเยอรมันนั้น ฝึกมาดีกว่ามาก ไช้อาวุธที่ดีกว่า ส่วนทหารฝ่ายรัสเซียนั้น มีจำนวนมากก็จริง แต่มีการฝึกน้อย และอาวุธสู้ไม่ได้อาสัยแต่ความกล้าเข้าสู้เท่านั้น ในศึกสตาลินกราดและเลนินกราด ถึงแม้จะโดนล้อมทำลาย โดนทิ้งระเบิด โดนตัดสเบียงไห้อดตาย พวกรัสเซียก็ไม่ยอมแพ้ง่ายๆ และได้ไช้สงครามจรยุทธในการป้องกัน ส่งความเสียหายไห้เยอรมันได้พอสมควร
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:56:31


ความคิดเห็นที่ 23


พวกผมรักในนาซี พวกเรา ไม่ได้ชอบนาซี --------------->งงครับ

 

คือ ผมจะเปรียบเทียบให้เห็นภาพชัดไปอีก

พวกคุณ เหมือนชาวโปล ที่ชื่นชม นาซี

หมายถึง  ไอ้พวกนาซีเนี่ย มันจะล้างเผ่าพันธุ์พวกเอ็งอยู่รอมร่อแล้ว ยังไปชื่นชมมันอีก นั่นแหละครับ

 

ถ้าให้เลือกระหว่างยิว กับ นาซี

ผมชอบยิวมากกว่าอ่ะ

อย่างน้อย ยิวมันทำทุกอย่างเพื่อความอยู่รอด

 แต่นาซี ทำทุกอย่างเพื่อบรรลุผลแห่งแนวคิดแบบ Racism ของตัวเอง

 

แต่ถ้าเป็นเรื่องอาวุธ ต้องให้เครดิตแนวคิดที่ล้ำเลิศของชาวเยอรมัน ไม่ใช่ตัวนาซีเองครับ

นาซีเป็นแค่ระบอบหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเยอรมัน เหมือนระบอบทักกี้ ในประเทศสารขัณฑ์นั่นเองครับ (เปรียบเทียบเฉยๆนะ )

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/02/2008 22:57:16


ความคิดเห็นที่ 24


ก็ดีครับเอามาให้อ่านกันแบบนี้ ทวนความรู้กันหน่อย คนใหม่่อ่านได้คนเก่าอ่านดีครับ พูดถึงเยอรมนีนี่พี่ท่่านก็สุดยอดไม่ใช่น้อยครับในสมัยนั้น ทั้งเครื่องบิน รถถัง เรือ แล้วหลังจากนั้นอเมริกากับรัสเซียก็ดูดเอาไปหมดเลย ลองไปดู Operation Paperclip ดูได้ครับว่าโดนเอาอะไรไปบ้าง ของรัสเซียนี่เห็นๆ คือเรือชั้น Romeo ครับ ถึงจะต่างกันนิดหน่อยแต่เห็นๆ ครับว่าดูดเขามา

ขอเสริมอีักนิดหน่อย

- ที่สเปน Panzer I สู้ T-26 ไม่ไหวครับ มีแค่ MG34 2 กระบอกเจอปืน 45 มิล (มิลลิเมตรนะครับไม่ใช่นิ้ว เห็นสับสนมาหลายราย) ก็ราบครับ ดีที่มีกระสุนเจาะเกราะให้ใช้เลยพอจะเข้าไปยิงได้ในระยะประชิด ก็เลยมีการจัดหาป้อมปืนขนาด 20 มิลลิเมตรมาใส่เพิ่ม ผมมีความเห็นว่ารถถังแบบนี้เป็นแบบแรกที่เยอรมันออกแบบก็คงทำออกมาหาประสบการณ์เตรียมล้างแค้นอังกฤษฝรั่งเศสเท่านั้นเอง

- Tiger II หนัก 70 ตัน (สมัยนี้ก็ M1A2 Abrams แต่ไทเกอร์เล็กกว่าหน่อยหนึ่ง) แต่ขนาดนั้นก็ยังวิ่งได้เร็วกว่ารถถังส่วนใหญ่เลย แม้แต่ StuG IV ที่วิ่งได้เร็วยังตามเกือบไม่ทัน และยังเกือบเท่า Panther ด้วย (StuG 38 กม./ชม. Tiger II 40 กม./ชม. Panther 45 กม./ชม.) ทั้งนี้มาจากระบบช่วงล่่างที่ดีเยี่ยมครับ

- MG34 ราคาแพงอาเจียนเป็นโลหิตเพราะออกแบบในสวิส (ทำปืนแบบทำนาฬิกา) แถมขัดลำง่ายเวลาเจอฝุ่นทราย แต่ดีที่ว่ามันใส่กระสุนได้ทั้งสองด้านของปืนเลยนิยมใส่กันในรถถัง

- MG42 ยิงเร็ว 1,800 นัด/นาที  พลปืนกลัวลำกล้องมันร้อนจนพังมากกว่าแรงถีบครับ (แต่เปลี่ยนลำกล้องง่ายมาก เปิดฝาข้างลำกล้องแล้วดึงออกมาก็ใช้ได้ แต่ต้องสวมถุงมือด้วย)

- กระสุนขนาด 7.92x33 มม. ของ StG44 มีลักษณะำพิเศษคือออกจะบีบเป็นรูปกรวยเล็กน้อยเพราะเยอรมนีไม่มีทองเหลืองมาทำปลอกกระสุน เลยต้องใช้เหล็กกล้่ามาทำแทน ซึ่งไม่มีค่าการขยายตัวมากเท่าทองเหลือง

- ทุกวันนี้ก็มีการใช้ StG44 กันอยู่ในแอฟริกาู่โดยมีโรงงานในเซอร์เบียชื่อ Prvi Partizan ผลิตกระสุนให้

- Panzerfaust มีหลายแบบบอกตามระยะยิง (เมตร) คือ 30, 60, 100 และเชื่อว่ามีแบบ 180 ด้วย ใช้งานง่าย สามารถทำลายรถถังพันธมิตรได้ทุกคัน

- RPG-1 = Panzerfaust  รัสเซียเอาไปใช้ดื้อๆ เลย แล้วจากนั้นก็ค่อยพัฒนาเรื่อยไปครับ

อยากดูโปรเจคเครื่องบิน ก็ www.luft46.com ครับ ถึงจะเป็นต้นแบบไม่เคยมีการผลิตแต่ก็อยากให้ไปดูว่าเยอรมนีเขาคิดอะไรออกมาบ้าง
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:08:56


ความคิดเห็นที่ 25


ทหารอาสาในกองทัพเยอรมัน

เห่อๆๆๆ

อย่างทหารอาสาชาวฟินนิช  Finnish Volunteer Battalion of the Waffen-SS

เข้ามาเพราะอยากสู้กับสหภาพโซเวียต

แต่ผมไม่ยักกะเคยเห็น ทหารอาสาชาวโปลเลย ทหารอาสาชาวยิว ก็ไม่เคยเห็น

ส่วนทหารไทยในเยอรมันนั้น สเกลมันเล็กไปครับ

ทหารญี่ปุ่นนั้น ไปรับแบบเครื่องบินME-262 ถึงเยอรมัน

ถามว่า ทำไมถึงมีคนไทยในเยอรมัน  ก็เพราะไทยเป็นพันธมิตรกับจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งเป็นพันธมิตรกับเยอรมัน

ถ้าจะให้เป็นภาพไปอีก ก่อนWWII ทหารญี่ปุ่นไปเรียนถึงเวสป้อยท์ ก็มี

เรื่องอย่างนี้ มันเป็นเรื่องของการเมืองครับ

ถามว่า ถ้านาซีชนะสงครามฝั่งยุโรปขึ้นมา  แล้วญี่ปุ่นชนะทางแปซิฟิก ถามว่า2ขั้วนี้ มันจะยังจับมือกันมั๊ย

ผมไม่แน่ใจครับ  มันเป็นเรื่องของคำว่า What....If ....

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:09:53


ความคิดเห็นที่ 26


พี่ ขอเมลล์คุยกันที่ หน่อย ดิ ข้องใจมากมาก อยากปรึกษานะเนี่ย

เมลล์ผม intat2007@hotmail.com

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:26:07


ความคิดเห็นที่ 27


อยากคุยด้วยอย่างสูง
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:34:12


ความคิดเห็นที่ 28


เรื่อง

ยุทธภูมิสตาลินกราด คือการรบระหว่างฝ่ายมหาอำนาจอักษะ ซึ่งนำโดยเยอรมนี สู้กับสหภาพโซเวียต ณ เมืองสตาลินกราด (เมืองโวลโกกราด, สหพันธรัฐรัสเซียในปัจจุบัน) โดยการรบเริ่มขึ้นในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2485 (1942) และสิ้นสุดลงในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 (1943) โดยการรบครั้งนี้ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 และว่ากันว่าเป็นหนึ่งในการรบที่นองเลือดที่สุด ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ซึ่งความสูญเสียของสองฝ่าย ทั้งผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวมกันแล้วถึง 1.5 ล้านคน การรบเริ่มจากการปิดล้อมเมืองสตาลินกราด ที่อยู่ทางใต้ของรัสเซีย โดยกองทัพเยอรมัน ตามมาด้วยการบุกเข้าไปในเมือง ซึ่งฝ่ายโซเวียตสามารถต้านทานการบุกยึดและทำการโจมตีตอบโต้และโอบล้อมกองทัพที่หกของเยอรมนีและกองกำลังอักษะอื่นๆ ได้ ส่งผลให้กองกำลังทั้งหมดนี้ถูกทำลาย

หลังจากการรบ ฝ่ายอักษะเสียกำลังไปถึง 850,000 นาย ซึ่งถือว่าสูญเสียไปถึงหนึ่งในสี่ส่วนของกำลังที่มีอยู่ในแนวรบตะวันออกทั้งหมด รวมไปถึง เสบียงและยุทโธปกรณ์เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กองกำลังฝ่ายอักษะเสียหายอย่างไม่สามารถฟื้นฟูให้กลับมาเป็นดังเดิมได้ ทำให้กองทัพอักษะถูกบีบให้ล่าถอยและถอนกำลังมาจากยุโรปตะวันออก หลังจากแพ้การรบครั้งสำคัญระหว่าง พ.ศ. 2486 (1943) ถึง พ.ศ. 2487 (1944) มาหลายครั้งติดต่อกัน ส่วนฝ่ายโซเวียตที่เป็นผู้กรำชัยในศึกครั้งนี้ แม้ว่าจะเสียกำลังไปเป็นจำนวนมากก็ตาม แต่ชัยชนะที่สตาลินกราด ก็ทำให้โซเวียตได้เปรียบมากพอ ที่จะเริ่มทำการบุกสวนกลับและทำการปลดปล่อยดินแดนโซเวียตที่ถูกเยอรมนียึดครองมาได้ และนำไปชัยชนะเหนือนาซีเยอรมนีได้ในที่สุด ในปี พ.ศ. 2488 (1945)

การรบในครั้งนี้นอกจากจะเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามแล้ว ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงระเบียบวินัยและความมุ่งมั่นของทั้งสองฝ่าย แม้ว่าจะเป็นวินัยที่ได้มาจากสายบัญชาการที่เข้มงวดและโหดเหี้ยมอยู่บ่อยครั้ง โดยในช่วงแรกของการรบนั้น โซเวียตเป็นฝ่ายตั้งรับการล่าสังหารอย่างโหดเหี้ยมของทหารเยอรมัน โดยเป็นฝ่ายตั้งมั่นอยู่ในเมืองสตาลินกราด ช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วงที่โซเวียตเสียทหารไปมากที่สุด ถึงขนาดที่ทหารที่เกณฑ์เข้ามาใหม่ทั้งหมด เฉลี่ยแล้วมีชีวิตอยู่ไม่ถึงหนึ่งวัน กระนั้นฝ่ายโซเวียตก็ยังสามารถที่จะคงวินัยในหมู่ทหารไว้ได้ โดยทหารโซเวียตจำนวนมากยอมที่จะสละชีวิตแทนที่จะถอยหรือยอมให้ถูกจับเป็นเชลย มีตัวอย่างอยู่กรณีหนึ่ง เป็นที่จดจำว่าทหารโซเวียตผู้หนึ่ง ที่อยู่ภายใต้บัญชาการของนายพลโรดิมสเตฟ ก่อนตายได้ขีดเขียนบนกำแพงที่สถานีรถไฟสายหลักของเมือง ซึ่งมีการชิงบุกชิงยึด เปลี่ยนผู้ครอบครองถึง 15 หน โดยเขาได้เขียนไว้ว่า...

“ทหารของโรดิมสเตฟได้สู้และตายที่นี่ เพื่อมาตุภูมิของตน”

ในขณะเดียวกัน กองทัพเยอรมันก็สามารถแสดงถึงวินัยที่สามารถคงไว้ได้อย่างน่าทึ่ง แม้ว่าจะถูกกองทัพโซเวียตโอบล้อมให้ติดอยู่ในเมืองก็ตาม ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ฝ่ายเยอรมันต้องประสบกับสถานการณ์ที่เสียเปรียบเช่นนี้ โดยการถูกตัดขาดจากกำลังสนับสนุนทำให้เสบียงร่อยหลอลงไปเรื่อยๆ ทั้งยังขาดแคลนเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากรัสเซียตั้งอยู่ในภูมิประเทศที่มีอากาศหนาวมากในฤดูหนาว ซึ่งทำให้ทหารเยอรมันอดอาหารและหนาวตายเป็นจำนวนมากในช่วงหลังๆ ของการปิดล้อมเมือง อย่างไรก็ตาม ทหารก็ยังปฏิบัติตามระเบียบวินัยและเชื่อฟังคำสั่งของนายทหารที่มียศสูงกว่า จนกระทั่ง เมื่อจอมพลฟรีดริช พอลลุส แห่งกองทัพเยอรมันเห็นว่าไร้ประโยชน์ที่จะสู้ศึกที่กำลังจะแพ้ เขาจึงฝ่าฝืนคำสั่งโดยตรงของผู้นำนาซีเยอรมนี อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (ที่ว่าให้สู้จนตัวตายและสั่งห้ามยอมจำนนต่อกองกำลังโซเวียต) และยอมจำนนต่อกองทัพโซเวียตในที่สุด

เมืองสตาลินกราด ถูกขนานนามว่าเป็น armored city หรือ เมืองหุ้มเกราะ และเป็นยุทธภูมิที่มีทหารเสียชีวิตมากที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 การที่รัสเซียสามารถรักษาเมืองนี้ไว้ได้ เพราะความรักชาติของคนรัสเซีย และ อีกอย่างคือ คำสั่งของสตาลิน ที่ว่า เมื่อถึงเวลาไม่ว่าตั้งรับหรือรุกรบ ให้ทหารรัสเซียทุกคนสู้ตาย ไม่มีการถอยหลังกลับแม้แต่ก้าวเดียว หากใครจะยอมแพ้ หรือแม้แต่ถอยกลับ จะถูก kommissar หรือ ผู้ตรวจการ ยิงทันที

มีเรื่องเล่าว่า รัสเซียมีอาวุธไม่พอกับจำนวนทหาร ทหารกลุ่มที่ข้ามแม่น้ำโวลก้ามายังสตาลินกราด เมื่อลงจากรถบรรทุกทหาร ได้รับแจกอาวุธ คนหนึ่งได้รับปืนที่ไม่มีประสุน อีกคนจะได้รับกระสุนห้านัดแต่ไม่ได้ปืน เมื่อคนปืนถูกยิงตาย คนกระสุนจะเก็บปืนมาใช้ เมื่อคนกระสุนตาย คนปืนก็เก็บกระสุนมาใช้ บางครั้งยังได้รับคำสั่งให้วิ่งไปเรื่อยๆ ทั้งๆที่รถถังขวางทางคอยยิงอยู่ก็ตามภาพ:Streetfight

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:40:39


ความคิดเห็นที่ 29


ส่วนตัวไม่ได้ชื่นชอบลัทธินี้เท่าไหร่เพราะเ่น้นเรื่องการกวาดล้างชาวยิวให้สิ้นซาก (บางคนก็สมควรโดน แต่มาตีรวนหมดทั้งชาติไม่ได้) คิดดูก็แล้วกันครับว่าันักวิทยาศาสตร์ที่โลกรู้จักเป็นยิวเสียมาก หากว่าพวกเขาได้รับอนุญาตให้ทำงานในเยอรมนีจะเกิดอะไรขึ้น

แ่ต่ที่่ผมชอบก็คือกองทัพเยอรมันครับซึ่งยอดเยี่ยมมากที่สุดในสมัยนั้น ถ้าเทียบกันคนต่อคนแล้วเยอรมนีเก่งสุดแบบไม่ต้องสงสัย (เรียนให้ทราบว่าทหารส่วนใหญ่มิใช่นาซี บางคนออกจะต่อต้านเสียด้วยซ้ำ)

ความผิดพลาดในยุทธวิธีของเยอรมันตามความคิดของผมสามารถแจงได้เป็นข้อๆ เลยครับ

- รีบร้อนเกินไป
กองทัพเยอรมันในปี 1939 ไม่ได้มีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ดีเหมือนระหว่างสงคราม ทหารส่วนใหญ่ยังต้องเดินเท้าไปยังสนามรบ มีเพียง 30-40% เท่านั้นที่เป็นกองพลทหารยานเกราะตามแผนสายฟ้าแลบของเยอรมัน

- เปลี่ยนเป้าหมายกะทันหันระหว่างการบุกอังกฤษ
แทนที่เกอริงจะจัดการกับ RAF ซึ่งก็ง่อยเปลี้ยเสียขามากแล้วจากการโจมตีของเยอรมัน (โจมตีต่อไปอีกเพียงสองสามเดือน RAF จะหมดสภาพทันที) ให้สิ้นซากก่อนพวกกลับเปลี่ยนเป้าหมายไปทิ้งระเบิดเมืองหมายให้ชาวเมืองยอมแพ้ซึ่งไม่เวิร์กเอาเสียเลย

- เปิดศึกสองด้าน จากความผิดพลาดครั้งก่อนจึงมีการบุกรัสเซียเกิดขึ้นซึ่งการเปิดศึกสองด้านมันแพ้กันเห็นๆ

- ผู้นำทางการเืมืองยุ่งกับการทหารมากเกินไป
ผู้บัญชาการกองทัพเยอรมันในรัสเซียเดิมคือนายพลอิริค ฟอน แมนสไตน์ที่เชี่ยวชาญการรบมากและสามารถตีรัสเซียแตกได้หลายครั้ง แต่ฮิตเลอร์เห็นว่าเร็วไม่ทันใจเลยเข้าคุมเองไปเสียฉิบ

- ทีมเวิร์คไม่ดีพอ
อิตาลีง่อยเปลี้ยเสียขาแพ้ตั้งแต่ในมุ้งแล้วครับ แต่พวกทะเยอทะยานอย่างแรงรบมั่วทำให้เยอรมนีพี่ใหญ่ต้องแบ่งกำลังมาบุกกรีซและแอฟริกาเหนือ ส่วนญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้ช่วยสอดคล้องกับแผนการของเยอรมนี ตอนบุกรัสเซียคิดดูว่าหากญี่ปุ่นแบ่งกำลังในจีนที่มีถึง 7 ล้านคนมาสัก 5 แสนบุกรัสเซีย ผมว่ารัสเซียต้องคิดหนักแน่

- ไม่สามารถทำลายฐานการผลิตของฝ่ายตรงข้ามได้
เยอรมนีเน้นเครื่องบินระยะสั้นที่ให้การสนับสนุนกองทัพบกได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งก็น่ากลัวสุดๆ  แต่ว่าไม่มีป้อมบินระยะไกลออกมาเป็นงานเป็นการ เมื่อรัสเซียย้ายโรงงานหนีไปหลังเทือกเขายูราลเยอรมนีเลยไม่มีปัญญาไปทิ้งระเบิดถล่มสายการผลิตครับ

- รบในบ้านเขา
นโปเลียนแพ้หน้าหนาวรัสเซียมาแล้วเยอรมันจะทำพลาดซ้ำอย่างเดิมอีก เป็นผมจะปล่อยให้รัสเซียเข้ามามากกว่าแล้วเราก็กองโจรผสมเต็มรูปแบบอัดเข้าไป  ไม่มีหน้าหนาวก็บ่มีไก๊ครับสำหรับรัสเซียตอนนั้น (รัสเซียไม่เคยรบชนะใครนอกบ้านมานานแล้ว ก่อนหน้านั้นก็แพ้ญี่ปุ่นที่ซูชิมาปี 1903 ครับ และก็โดนเยอรมันตีแตกพ่ายในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ถึงว่าจะเ็ป็นในสมัยพระเจ้าซาร์ก็เถอะนะ)

หน่วยเอสเอสเปิดใ้ห้คนอื่นเข้ามาร่วมได้ตามต้่องการโดยต้องฟอร์มยูนิตของตัวเอง ไม่ได้ปะปนกับชาวเยอรมันครับ แต่แน่นอนว่ามีข้อยกเว้นเสมอ

พูดถึงรัสเซียเกอริงเคยให้การกับศาลที่นูเรมเบิร์กว่า วันนี้เป็นวันตายของนาซี วันหน้าจะเป็นวันตายของพวกบอลเชวิคบ้าง เหลือเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงเพราะโซเวียตแตกปี 1991
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:41:37


ความคิดเห็นที่ 30


อ๋อ คนหนึ่งถือปืน คนหนึ่งถือกระสุนนี่่เคยเห็นในหนังเรื่อง Enemy at the Gates นะครับเนี่ย
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:42:32


ความคิดเห็นที่ 31


อ๋อ คนหนึ่งถือปืน คนหนึ่งถือกระสุนนี่่เคยเห็นในหนังเรื่อง Enemy at the Gates นะครับเนี่ย
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:45:14


ความคิดเห็นที่ 32


ใช่ครับ ผมถึงบอกว่า เวลาให้เครดิตจำพวก แพนเซอร์ สตูก้า V-1 V-2 อย่าไปให้เครดิตนาซีครับ ต้องบอกว่า ชาวเยอรมันเป็นผู้คิดค้น นาซีคือลัทธิ/ระบอบ หนึ่งเท่านั้นเอง แต่ความล้ำเลิศทางภูมิปัญญา ต้องยกให้ชาวเยอรมันครับ

(เห็นด้วยกับท่านPraetorians มากครับ ถ้านาซีไม่คลั่งเชื้อชาติมากไป ได้นักวิทยาศาสตร์ยิวมาร่วมด้วย  นิวเคลียร์นาซี เกิดก่อนนิวเคลียร์ไอ้กันชัวร์ )

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:51:35


ความคิดเห็นที่ 33


เมลล์นายหละ ขอด้วย
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:52:32


ความคิดเห็นที่ 34


ส่วนสงครามนั้น ไม่ช้าก็เร็วเยอรมันต้องไปบุกโซเวียตอยู่ดีครับ เพราะ

1. ซัพพลายน้ำมันขนาดใหญ่นั้น อยู่แถบคอเคซัส

2.  ความคิดเห็นที่ขัดแย้งกัน (ฟาสซิสม์ อยู่ร่วมโลกกับคอมมิวนิสต์ไม่ได้กระมัง แต่ช่วงต้นสงครามรัสเซียยังเฉยๆกับการบุกยุโรปของเยอรมันด้วยซ้ำ)

3.เค้าว่ากันว่า ฮิตเลอร์อยากเอาชนะนโปเลียนให้ได้ (บ้าหรือเปล่าฟระ)

 

สมมติว่า เยอรมันชนะศึกที่สตาลินกราด สงครามภาคพื้นยุโรปคงยืดเยื้อแน่ๆเลยครับ

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/02/2008 23:58:20


ความคิดเห็นที่ 35


....ความจริงแล้ว กางเขนไข้ว เป็นเครื่องหมายของ ฟินแลนด์ มาก่อน

....เยอรมันมั่นใจ ในอาวุธตนเองมากเกินไป  โดยไม่มองปัญหา เช่นเครื่องยนต์ เบนซิลที่เขาว่าดี แบกน้ำหนัก มากกว่า แพนเธอร์ถึง22 ตัน เมื่อนำมาใช้ในไทเกอร์2    บ.ทิ้งระเบิด จู-88 กับ เอชอี-111 คือปัญหา เยอรมันวางใจในป้อมปืน ในบริเวณเดียวมากเกินไป (อัดรวมที่บริเวณส่วนหัว ) ปืนเบากกว่า บี-17 และน้อยกว่ามาก  ทำให้การยิงไม่ทั่วถึงป้องกันไม่ได้  บีเอฟ-109 เองประสทิธิภาพดีมากแต่ระยะการบินมันสั้นเกินไป เมื่อมารู้ที่หลังว่าออกไปบวกใน เกาะอังกฤษ 

.... คนออกแบบ อาวุธของเยอรมันเก่งมาก ในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแต่ก็มีปัญหา ภายหลังเสมอๆ เช่น เอลิเฟนต์ ปืนแรงและแม่นสุด  แต่ป้อมหันไม่ได้แถม ระบบขับเคลื่อนแสนย่ำแย่ พังล้อเดียววิ่งไม่ได้

....ทหารเยอรมันเก่ง เด็ดขาด แต่แนวรบมากเกินไป ตีรัสเซียที่มีฐานลึกเข้าไปมากมายและโรงงานในดินแดนอีกเพียบไม่ได้ ทำให้เจอกับคลื่นที-34 อิล-2 แถมบุกอังกฤษยังไม่สนิทดี ไปเปิดศึกกับอเมริกาอีกด้วย แถมอิตาลี รบก็แพ้เรื่อยไปจนเยอรมันต้องโยกทหารไปช่วยเสมอๆ เหมือนญี่ปุ่น ตีจีนยังไม่แตก แต่บุกพม่าและเปิดศึกกับอเมริกา และอาวุธ ที่ทำให้ญี่ปุ่นเสีย นักบินดีๆไปในมิดเวย์ เมื่อ ซีโร่ เจอ คอร์แซร์กับ ไวด์แคท เจอปืนจำนวน 8กระบอก ซีโร่ร่วงเป็นแถว

...ฮิตเลอร์ มั่นใจ ในกองทัพเยอรมันมากเกินไปจนเร่งสร้าง อาวุธและใช้ผิดๆ และทุ่มกำลังที่น่าจะใช้ป้องกัน เอาไปลุยซะนี่

....สรุปเยอรมันแพ้เพราะผู้นำบ้าสงคราม ที่เปิดศึกไปทั่ว และเข้ามาสั่งการเอง

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 25/02/2008 00:42:02


ความคิดเห็นที่ 36


ผมไม่ได้คลั่งไคล้นาซีครับ

ผมชอบเทคโนโลยีของเยอรมันสมัยนาซีครับ ทันสมัยมาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ ในสมัยนั้น ไม่ว่าจะเป็น ยุทธวิธีในการรบ หรือ ยุทโธปกรณ์ เหนือกว่าพันธมิตรหลายขุม

แต่น่าเสียดายมีผู้นำไม่ดี เปิดศึกหลายด้าน แทรกแซงการวางแผนของเหล่าขุนพลแม่ทัพระดับหัวกะทิอย่าง รอมเมิล

 

สรุปแล้ว เยอรมันแพ้เพราะ ฮิตเลอร์ ครับ (ทั้งหมดเป็นความเห็นส่วนตัวนะครับ)

โดยคุณ PREANG เมื่อวันที่ 25/02/2008 01:20:35


ความคิดเห็นที่ 37


เรื่อง ต่อ ไป ขอเสนอ เครื่องแบบการแต่งกายของ เราทหารนาซี

เครื่องแต่งกายของทหาร กองทัพบกเยอรมัน ในการรบในโปแลนด์และฝรั่งเศส ปี 1940 ดังที่ปรากฎในภาพนี้ เป็นนายทหารประทวน (ต่ำกว่าสัญญาบัตร) สวมหมวกเหล็กสีเทา ด้านซ้ายของหมวก มีสัญญลักษณ์นกอินทรีกางปีกครึ่งเดียว (ปกติจะเหยียดตรง)  เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ ติดอยู่ อีกด้านหนึ่งจะเป็นธงชาติเยอรมัน เสื้อเป็นเสื้อสีเทาเขียว กระดุมห้าเม็ด คอปกตั้งขึ้น โดยมีแถบโลหะติด เครื่องหมายบอกเหล่า (แถบขาวสองแถบ ตรงกลางเป็นสีเขียว - ทหารราบ) คอปกเสื้อเป็นสีเทาเข้ม  แถบที่ไหล่ เป็นสีน้ำเงินเข้ม มีแถบรอบเป็นสีเงิน ติดด้วยกระดุมสีเงิน เครื่องหมายยศที่แขนเสื้อ บ่งบอกว่าเป็นนายทหารยศนายสิบ เข้ารับราชการไม่เกินหกปี ชั้นยศ Obergefreiter หรือ Coporal ในระบบอเมริกัน เทียบเท่าสิบตรีของไทย กระเป๋าที่คาดติดอยู่ที่หน้าอก เป็นกระเป๋าหนังสำหรับใส่แผนที่ ที่เข็มขัดมีกระเป๋าหนังแข็งใส่กระสุน (ที่แขนบังอยู่) ด้านละ 3 กระเป๋า เป็นกระสุนขนาด 7.92 มม.ของปืนเล็กยาว แบบ Karabiner Mauser K98 K ซึ่งเป็นอาวุธประจำกาย ของทหารราบเยอรมัน ตลอดสงครามโลกครั้งที่สอง ส่วนสัมภาระด้านหลัง ที่คาดติดกับเข็มขัด และที่สะพายเฉียงไหล่มี กล่องยาวกลม ซึ่งเป็นกล่องใส่หน้ากากป้องกันแก๊สพิษ ตามระเบียบการแต่งกาย ของเครื่องแบบเยอรมันนั้น ทหารทุกคนต้องมีหน้ากาก ป้องกันแก๊สพิษทุกคน นอกจากนี้ยังมีดาบปลายปืน และพลั่วสนาม  กางเกงเป็นกางเกงสีเทา มีกระเป๋าสองข้าง ขากางเกงใส่เข้าไปในรองเท้าบู๊ทหนังสีดำ ที่สูงครึ่งขา  

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 01:38:00


ความคิดเห็นที่ 38


ภาพนี้แสดงให้เห็นถึงเครื่องแบบของทหารเยอรมันในสนาม หรือในแนวหน้าได้อย่างชัดเจน หมวกเหล็ก ซึ่งออกแบบใหม่ในปี 1942 ต่างจากแบบในสงครามโลกครั้งหนึ่งเล็กน้อย แต่ก็ป้องกันส่วนหูได้เป็นอย่างดี ด้านข้างของหมวกเหล็ก จะเห็นสัญญลักษณ์ นกอินทรีกางปีกครึ่งเดียวเกาะบนตราสวัสดิกะ ส่วนที่หน้าอกเสื้อเครื่องแบบด้านซ้ายของทหาร มีตราสัญญลักษณ์ นกอินทรีกางปีกเหยียดตรง เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะที่เห็นกลมๆด้านล่าง เสื้อเครื่องแบบมีกระดุมสีเงิน 5 เม็ด ทั้งหมดปลดกระดุมคอบน เนื่องมาจากอากาศที่อบอ้าว หรือเนื่องจากความเหน็ดเหนื่อยจากการเดินทาง ปืนกลหนักที่ทหารสองคนแบกบนไหล่คือ ปืนกลเอ็ม จี 42 (MG 42) หรือที่เรียกกันว่า ปืนกลสแปนเดา (Spandau) ที่มีชื่อของนาซีเยอรมัน พร้อมสายกระสุนขนาด 7.92 มม. สายละ 50 นัด ซึ่งเป็นกระสุนขนาดเดียวกับปืนเล็กยาวประจำตัวทหารราบแบบ Karabiner Mauser K98 K ปืนกลชนิดนี้มีอัตราการยิงที่สูงถึง 1,200 นัดต่อนาที ระยะยิงไกลกว่า 1,000 เมตร

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 01:39:40


ความคิดเห็นที่ 39


 (ภาพบน) การแต่งกายของทหารพลร่ม ที่สังกัดหน่วยแอฟริกา คอร์ (Afrika Korps) ซึ่งทำการรบในแอฟริกา สีหมวก สีเสื้อ กางเกง เป็นสีกากี แม้ภายหลังจากที่พ่ายแพ้ในแอฟริกาแล้ว ทหารพลร่มส่วนหนึ่งของกองพลพลร่มที่ 1 (1st Parachute Division - 1st Fallschirmjager Division) ซึ่งถูกส่งเข้าทำการรบที่มองเต คาสิโน ประเทศอิตาลี ในปี 1944 ก็ยังคงใส่เครื่องแบบสีกากีแบบที่เห็นอยู่นี้  ที่พวกเขาได้รับการแจกจ่าย เมื่อครั้งทำการรบในแอฟริกา เครื่องแบบของเหล่าทหารพลร่ม ในการรบที่คาสิโน จึงปะปนกันอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

    ภาพนี้แสดงให้เห็นถึง เครื่องแบบของทหารพลร่มเยอรมัน โดยปกติเมื่อออกสู่สนามรบ ทหารเหล่านี้จะใส่เสื้อคลุมสีเขียว หรือสีพราง ทับเครื่องแบบสีเทานี้ ซึ่งเป็นเครื่องแบบของกองทัพอากาศเยอรมัน อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องปกติ ที่ทหารพลร่มเยอรมันจะทำการรบในชุดปกติ สีเทาที่เห็นอยู่ข้างบน โดยไม่สวมเสื้อคลุมทับแต่อย่างใด

       หมวกเหล็กสีเทาดำนี้ เป็นหมวกเหล็กที่ถูกออกแบบมาในปี 1938 เพื่อทหารพลร่มโดยเฉพาะ เหรียญกางเขนเหล็ก (Tron Cross) ที่ติดอยู่ที่หน้าอก เป็นเหรียญกางเขนเหล็กชั้นที่ 1 ใต้เหรียญกางเขนเหล็กลงมา เป็นเหรียญแสดงความสามารถในการกระโดดร่ม (the parachute qualification badge) เป็นรูปนกอินทรี เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ กำลังพุ่งโฉบลงหาเหยื่อเบื้องล่าง ล้อมรอบด้วยช่อใบโอ็ค ซึ่งผู้ที่จะได้รับเครื่องหมายนี้ จะต้องผ่านการกระโดดร่มมาไม่น้อบกว่า 6 ครั้ง ตัวนกอินทรีทำด้วยทองแดงผสมนิเกล อัลลอย  ส่วนเครื่องหมายที่ประดับอยู่ที่หน้าอกอีกด้าน เป็นเครื่องหมายของกองทัพอากาศเยอรมัน (German Air Force Eagle) เช่นเดียวกับที่ติดอยู่ข้างหมวก 

       เครื่องหมายยศที่คอปกเสื้อ ซึ่งมีแถบสีเหลือง และรูปนกกางปีกสีเงิน 4 ปีก เป็นสัญญลักษณ์ ของนายทหารประทวน ชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร (NCO - Non commission officer) โดยปีกนกสีเงิน 1 ปีก แสดงถึงชั้นยศพลทหาร (private)

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 01:42:09


ความคิดเห็นที่ 40


ซ้ายมือ คือเครื่องแบบนายทหารยศร้อยเอก (Untersturmfuhrer) ของกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 5 ไวกิ้ง (5th SS. Panzergrenadier Division Wiking) โดยสังเกตุได้จากบริเวณแขนเสื้อซ้าย ตรงข้อมือ จะมีแถบบอกนามหน่วยว่า ไวกิ้ง (Wiking) อยู่เหนือชายแขนเสื้อ 14.5 ซม. ตอนบนของแขนเสื้อข้างเดียวกัน เป็นสัญญลักษณ์นกอินทรีแห่งอาณาจักรไรซ์ (Imperial Eagle) เหยียดปีกตรง เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ ปักด้วยไหมสีเทา บนพื้นสีดำ เครื่องหมายนี้เป็นเครื่องหมายที่ ทหารหน่วย เอส เอส ทุกคนจะต้องติดบนแขนเสื้อด้านซ้าย ตัวเสื้อตัดเย็บด้วยผ้า Doskin สีเทาเขียว มีสี่กระเป๋า กระดุมโลหะ 5 เม็ดสีเงิน ปกคอเสื้อด้านขวา เป็นเครื่องหมาย เอส เอส ปักด้วยไหมสีขาวบนพื้นผ้าสีดำ ย่อมาจาก Schutzstaffel ปกเสื้อด้านซ้าย มีดุมเงินปักด้วยไหม บนพื้นผ้าสีดำ จำนวนสามดุม แสดงยศร้อยเอก หัวเข็มขัดทำจากสังกะสีผสมอัลลอยสีเงิน เรียกว่าซาแมค (Zamac) ข้างในเป็นรูปนกอินทรีเกาะบนสวัสดิกะ พร้อมคำขวัญของ เอส เอส คือ Meine Ehre heist Treue แปลว่า เกียรติยศของข้า คือความจงรักภักดี

สำหรับหมวกหม้อตาลที่สวมอยู่นั้น หากเป็นของนายทหารชั้นร้อยตรีขึ้นไป จะมีดิ้นสีเงินตีขอบบนสุดของหมวก เช่นเดียวกับขนาบทั้งข้างบนและข้างล่าง ของแถบสีดำที่พันรอบหมวก รวมทั้งมีดิ้นพันสีเงินคาดอยู่เหนือกระบังหมวก สัญญลักษณ์อินทรีสวัสดิกะ ที่หน้าหมวก และสัญญลักลักษณ์กระโหลกไขว้ เป็นอลูมิเนียมปั้มรูปนูน ในกรณีที่เป็นหมวกของทหารชั้นต่ำกว่าสัญญาบัตร หรือต่ำกว่าร้อยตรี จะไม่มีดิ้นเงินเดินขอบ และดิ้นพันสีเงินเหนือกระบัง จะเป็นแถบหนังสีดำแทน
เครื่องแบบนายทหารยศร้อยเอก ของกองพล อาสาสมัครภูเขา เอส เอส ที่ 7 ปริ้นซ์ อูเกน (7th SS. Volunteer Mountain Division Prince Eugen) สังเกตุได้จากแถบบอกนามหน่วย ที่แขนเสื้อด้านซ้าย ของเครื่องแบบ (ด้านขวาของภาพ) ปกติชุดนี้ เสื้อเชิ้ตตัวใน จะผูกเนคไท ส่วนหมวกแก็ป ปกติหมวกแก็ปของหน่วยเอส เอส จะมีกระดุมเพียงเม็ดเดียว เนื่องจากสัญญลักษณ์ โทเทนคอฟ (Totenkof - Death head) หรือหัวกระโหลกไขว้ จะมีขนาดใหญ่ แต่ในภาพหมวกมีกระดุมสองเม็ด เหมือนหมวกทหารหน่วยปกติของเยอรมัน และสัญญลักษณ์ ถูกย่อขนาดให้เล็กลง โดยปกติถ้าทหารเอส เอส ใช้หมวกแก๊ปสองกระดุม ตามแบบหมวกปี 1943 แล้ว สัญญลักษณ์กระโหลกไขว้จะขยายใหญ่ แล้วเลื่อนสัญญลักษณ์อินทรีสวัสดิกะมาติดข้างหมวกด้านซ้ายแทน

ที่รังดุมบนสุดของเสื้อ มีแพรริบบิ้น ของเหรียญกางเขนเหล็ก สอดออกมา ส่วนตัวเหรียญ กล้าหาญกางเขนเหล็ก ไม่ได้ติดไว้ที่กึ่งกลางกระเป๋า กองพล ภูเขา เอส เอส ที่ 7 นี้ต่อสู้จนถึงช่วงสุดท้ายของสงคราม โดยในเดือนพฤษภาคม 1945 ได้เข้ากวาดล้าง กองกำลังใต้ดินกู้ชาติ ของนายพลตีโต้ แห่งยูโกสลาเวีย บริเวณเทือกเขาแอลป์ ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ของซาราเจโว กำลังของกองพลนี้เป็นอาสาสมัครจาก ฮังการี รูมาเนีย โครเอเชีย และเซอร์เบีย
เครื่องแบบนายทหาร ผู้ควบคุมรถปืนใหญ่อัตตาจร หรือ สตรุมเกอชุลซ์ (Sturmgeschutz - Assault Gun) ชั้นยศร้อยเอก ของกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 2 ดาส ไรซ์ (2nd SS. Panzer Division Das Reich) ตามปกติแล้วพลประจำรถถังของ หน่วยแพนเซอร์ ทั้งของกองทัพบกเยอรมัน และหน่วยเอส เอส จะแต่งกายด้วยเครื่องแบบสีดำ เพื่อปกปิดรอยเปื้อนของคราบน้ำมันต่างๆ ยกเว้นในกรณีที่เป็นพลประจำรถถังติดปืนใหญ่อัตตาจร (Assault Gun) หรือรถถังล่ารถถัง (tank hunter) จะแต่งกายด้วยเสื้อเอวสั้นสีเทาเขียว 7 กระดุมนี้ นอกจากนี้ในการรบที่นอร์มังดี ทหารแพนเซอร์ ประจำรถถังบางส่วน ก็แต่งกายด้วยเสื้อสีเขียว แทนสีดำ โดยใส่ทับเสื้อชุดดำ เนื่องจากในการปฏิบัติงานจริงนั้น ชุดสีดำ จะถูกสังเกตุเห็นได้ชัดเจนจากฝ่ายข้าศึก โดยเฉพาะทหารประจำรถปืนใหญ่ ที่ต้องปฏิบัติงานอยู่นอกตัวรถ ไม่เหมือนทหารประจำรถถังที่ส่วนใหญ่อยู่ภายในตัวรถ

ในภาพนี้จะเห็นหมวกแก็ปกระดุมเดียว ซึ่งเป็นหมวกแก็ปตามแบบของทหาร เอส เอส แบบ Model 1943 ใช้เข็มขัดหนังสีน้ำตาล แทนเข็มขัดสีดำ ที่มีหัวเข็มขัดสีเงิน รูปนกอินทรีเกาะบนเครื่องหมายสวัสดิกะ ที่หน้าอกติดเหรียญกล้าหาญกางเขนเหล็ก (Iron Cross) และเหรียญการเข้าทำการรบทั่วไป (General assault Badge) ซึ่งเป็นเหรียญรูปวงรีของใบโอ็ค มีนกอินทรีกางปีกครึ่งเดียว เกาะบนตราสวัสดิกะ ที่ตอนล่างของสวัสดิกะมีดาบปลายปืน ไขว้กับระเบิดมือแบบมีด้าม เหรียญนี้แต่แรก มีวัตถุประสงค์ที่จัดทำขึ้น เพื่อเหล่าทหารช่าง แต่ในเดือน มิ.ย. 1940 ได้มีการปรับให้กำลังพลเหล่าอื่น มีสิทธิได้รับเหรียญนี้  

 

ขอขอบคุณเว็บไซ http://www.geocities.com

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 01:45:34


ความคิดเห็นที่ 41


สปันเดาคือปืนกล MG08 ที่เยอรมนีเอามาจากปืนกลแมกซิมครับ (เพราะผลิตที่เมืองนั้นถึงเรียกว่าสปันเดา) ใช้กันในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ลองหารูปใน Google ดูนะครับ
โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 25/02/2008 02:26:29


ความคิดเห็นที่ 42


ผมคนนึงละ ที่ชอบนาซี  กระทู้นี้ โดนผมมาก
และผมก็ไม่ชอบยิวด้วย ยิวมันเกือบจะยึดครองเยอรมันอยู่แล้ว
ถ้าคนเยอรมันไม่ทำอะไร สักอย่าง ประเทศเยอรมันคงเป็นของยิวไปแล้ว





โดยคุณ PARK007_NAZI เมื่อวันที่ 25/02/2008 06:03:46


ความคิดเห็นที่ 43


เรียนเจ้าของกระทู้ครับ

 ผมยอมรับนะครับว่ากระทู้นี้มีประโยชน์ แต่การใช้คำพูดของคุณกับท่านสมาชิกน่ะควรจะสุภาพกว่านี้ เพราะเราถือว่าผู้ที่เข้ามาในเว็บฯนี้เป็นผู้ใหญ่กันแล้วหรือไม่ต้องเป็นผู้ใหญ่ก็ได้แต่ต้องเคารพความคิดเห็นซึ่งกันและกัน หากเห็นใครตอบไม่ถูกใจตัวเอง ก็อย่าโพสด่าหรือท้าทาย ควรถกกันด้วยเหตุและผลครับ และการจะโพสอะไรน่ะควรคิดให้ดีก่อนครับ


คงสังเกตเห็นแล้วว่าข้อความอันไม่สมควรของคุณถูกลบออกไปแล้ว การที่คุณจะเกลียดชนชาติใดหรือใครก็เป็นสิทธิ์ของคุณ แต่ก็ไม่ควรที่จะโพสส่งๆแบบนี้ เพราะในโลกอินเตอร์เน็ตนี้ไม่ใช่มีคุณเพียงคนเดียวนะครับที่เห็นข้อความของคุณ แต่เป็นคนทั่วโลกเลยนะครับ หากคุณท่องเว็บแล้วมีคนโพสว่าเกลียดชนชาติของคุณ อยากจะฆ่าชนชาติของคุณให้หมดคุณจะรู้สึกอย่างไรครับ?

ปล.ตรวจสอบการใช้ภาษาและความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาด้วยนะครับ อ่านแล้วอย่าพึ่งด่าผมนะเพราะจะเข้ากับที่ผมโพสไป

ขอบคุณครับ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 25/02/2008 08:16:17


ความคิดเห็นที่ 44


พี่ แทน ครับทำไมพูดว่าผมหรือป่าว เนี่ย กำจริงๆๆ

ก็คนมักนาซีครับ  

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 21:42:08


ความคิดเห็นที่ 45


ทำไงดีผมชอบทั้งยิวและเยอรมันเลย
โดยคุณ G-11 เมื่อวันที่ 25/02/2008 21:46:01


ความคิดเห็นที่ 46


นี่คือ ภาพคนไทยในกองทัพเยอรมันนะ

 

 

เอามาให้ดูกันแล้ว ไม่ต้อง ลิงคืให้เสียเวลา

 

ตามรูปนี้มานานแล้วครับ ขอบคุณ ตอนเด็กๆผมจำได้ว่าเขาเขียนหนังสือเอาไว้เล่มนึงด้วยชื่อคนไทยในกองทัพนาซี ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้จะหาหนังสือเล่มนี้ได้ที่ไหน? ใครบอกหน่อย

เป็นหนังสือขนาด pocket book หนาประมาณ 300 หน้า สภาพของหนังสือตอนนั้นแย่มากๆ เพราะไม่ใช่ตำราเรียน จึงไม่มีใครสนใจ ผมอ่านไปได้แค่ 1/4 เล่ม แล้วกะว่าจะมาอ่านต่อก็หายไปไหนแล้วก็ไม่รุ้ เสียดายมากที่ไม่ได้ copy ไว้

 


 
 

 
.

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 21:49:06


ความคิดเห็นที่ 47


นาซีเป็นชื่อพรรคของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ผู้นำเผด็จการที่ทำให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 (Nazi Party) หรือเรียกชื่อเต็มๆว่า พรรคแรงงานสังคมนิยมแห่งชาติเยอรมัน National Socialist German Party ก่อตั้งในปีค.ศ.1919 และมาเรืองอำนาจในปี 1933 เมื่อฮิตเลอร์ขึ้นเป็นผู้นำเยอรมนี นโยบายของพรรคนาซีคือการต่อต้านและกำจัดชนชาติยิว ซึ่งถือว่าช่วงนั้นเข้ามาแย่งงานคนเยอรมัน นอกจากนี้ยังนิยมวิธีเผด็จการซึ่งเชื่อว่าจะบริหารงานได้เด็ดขาดรวดเร็ว ปัจจุบันนี้ยังมีกลุ่มนีโอนาซี ซึ่งสวนใหญ่สมาชิกยังเป็นคนหัวรุนแรงและเหยียดผิว


โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 21:52:55


ความคิดเห็นที่ 48


แสนยานุภาพของ PANZER

รถถัง Panzer IV หรือ four รุ่น J ติดตั้งปืนใหญ่ 75 ม.ม.  นายพลกูเดเรียน บิดาแห่งยานเกราะเยอรมัน ได้ยกย่องรถถังรุ่นนี้ ว่าเป็น หัวหอกของหน่วย Panzer อย่างแท้จริง รถถัง Panzer IV หรือ four รุ่น J ติดตั้งปืนใหญ่ 75 ม.ม.  นายพลกูเดเรียน บิดาแห่งยานเกราะเยอรมัน ได้ยกย่องรถถังรุ่นนี้ ว่าเป็น หัวหอกของหน่วย Panzer อย่างแท้จริง รถถัง Panzer IV หรือ four รุ่น J ติดตั้งปืนใหญ่ 75 ม.ม.  นายพลกูเดเรียน บิดาแห่งยานเกราะเยอรมัน ได้ยกย่องรถถังรุ่นนี้ ว่าเป็น หัวหอกของหน่วย Panzer อย่างแท้จริง

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:04:22


ความคิดเห็นที่ 49


ชัยชนะที่น่าชื่นชมของหน่วย Panzer ที่มีในฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี 1940 ทำให้หน่วย Panzer มีการประเมินการความสำเร็จของพวกเขาผิดพลาด ชัยชนะในครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความเร็ว ความแข็งแกร่ง และการวางแผนที่ดีก็จริง แต่กำลังของฝ่ายต่อต้านในฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย นั้น ด้อยกว่าเยอรมันอย่างมาก อีกประการหนึ่งก็คือ เยอรมันมิได้ประเมินตนเองว่า ตนมีศักยภาพในการรบระยะยาวไม่ได้มากนัก นั่นเป็นเหตุผลหนึ่งที่ นาซีเยอรมัน พยายามเอาชนะข้าศึกให้ได้อย่างรวดเร็ว

    การบุกเข้าโจมตีรัสเซียในยุทธการบาร์บารอสซ่า (Barbarossa) ได้แสดงให้เห็นผลของการประเมินที่ผิดพลาดของฝ่ายเสนาธิการเยอรมัน รัสเซียนั้นมีกำลังที่ล้าสมัยก็จริง แต่ด้วยกำลังพลที่มีมากมายมหาศาลไม่รู้จักหมดสิ้น ตลอดจน ศักยภาพด้านอุตสาหกรรม แหล่งทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากมาย บวกกับดินแดนที่กว้างใหญ่ไพศาล  และฤดูหนาวที่หนาวเย็น เป็นสิ่งที่เยอรมัน และอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มองข้าม ดังจะเห็นได้จาก ฮิตเลอร์ประเมินไว้ว่า การยึดรัสเซียจะใช้เวลาไม่เกิน 4 เดือน นับเป็นการประมาท และประเมินรัสเซียต่ำเกินไปอย่างมาก

    แม้ว่าหน่วยยานเกราะ Panzer จะได้มีการขยายอัตรากำลังเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว เพื่อเตรียมการบุกรัสเซีย รถถังแบบ Panzer III และ Panzer IV มีการเพิ่มอัตราการผลิตเพื่อให้เป็นรถถังหลัก  กองพล Panzer 17 กองพล รวมรถถังทั้งสิ้น 3,332 คัน รุกเข้าสู่รัสเซีย แต่ในจำนวนนี้มีรถถัง Panzer I และ
Panzer II ที่ล้าสมัยอยู่ด้วยกว่า 1,156 คัน
   รถถัง Panzer III และ Panzer IV ที่มีประสิทธิภาพ มีเพียง 1,404 คัน ที่เหลือเป็น Panzer 38 (t) ที่ยึดมาจากเชคโกสโลวะเกีย ในขณะที่รัสเซียมียานเกราะที่ล้าสมัย กว่า 24,000 คัน และมีรถถัง T 34 และ KV 1 ที่ทรงอานุภาพ ติดตั้งปืนใหญ่ 76 ม.ม. และเหนือกว่า Panzer III และ IV ในทุกๆด้าน กว่า 1,400 คัน

    ในวันที่ 21 มิ.ย. 1941 เยอรมันโจมตีรัสเซียอย่างรวดเร็ว  จนถึงวันที่ 3 ก.ค. 1941 เฉพาะกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมัน (Army Group Centre) สามารถทำลายหรือยึดรถถังรัสเซียทั้งที่ Bryansk และ Minsk ได้ไม่น้อยกว่า 2,585 คัน

    ในวันที่ 10 ก.ค. กลุ่มกองทัพยานเกราะของนายพลกูเดเรียน สามารถยึดยานเกราะรัสเซียได้ถึง 2,000 คันในย่าน Smolensk

    หน่วย Panzer ของเยอรมันประสบชัยชนะอย่างงดงาม ในช่วงแรกของ
ยุทธการบาร์บารอสซ่า (Barbarossa) จนถึงยุทธการไต้ฝุ่น (Typhoon) ซึ่งเป็น ยุทธการยึดเมืองมอสโคว์ (Moscow) เมืองหลวงของรัสเซีย ความผิดพลาดก็เกิดขึ้น เมื่อ ฮิตเลอร์สั่งการให้กองพล Panzer สองหน่วยจากกองทัพกลุ่มกลางไปช่วยกองทัพกลุ่มเหนือ และใต้ เพื่อยึดเลนินกราด และยูเครนซึ่งอยู่ทางตอนเหนือและใต้ตามลำดับ ทำให้กองทัพกลุ่มกลางขาดความเข้มแข็ง จะเห็นได้ว่า หน่วย Panzer เป็นหน่วยที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในแต่ละกองทัพ เมื่อขาด หรือลดกำลังหน่วย Panzer ลงไปจากหน่วยหลัก จะทำให้ ความหนักแน่น เด็ดขาดของหน่วยนั้นๆ ลดลงด้วยทันที
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:05:25


ความคิดเห็นที่ 50


PANZER
หน่วยยานเกราะเยอรมัน
   หน่วยยานเกราะของเยอรมัน เป็นแนวความคิดของนายพล ไฮน์ กูเดเรียน (Heinz Guderian) ของเยอรมันที่ค้นคว้าว่า กำลังรถถังและยานเกราะควรจะใช้เป็นหัวหอก (Spearhead) ของ การรุกแบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) โดยรถถังและยานเกราะ จะทำการรุกเข้าไปในพื้นที่ของข้าศึก โดยมีเครื่องบิน และปืนใหญ่ยิงนำทาง กำลังยานเกราะ ที่เจาะแนวข้าศึกเข้าไปได้ จะกระจายกันออก โอบล้อมกำลังข้าศึก เพื่อป้องกันการเสริมกำลัง จากนั้นก็ใช้กำลังทหารราบเข้าทำลาย ส่วนของข้าศึกที่ถูกโอบล้อมอยู่
    ความสำเร็จของสงครามสายฟ้าแลบในช่วงแรกๆ เป็นผลมาจากการใช้หน่วยยานเกราะหรือ Panzer เข้าเป็นหน่วยหลักในการรุก  แต่เมื่อสงครามดำเนินไปนานขึ้น เยอรมันเริ่มกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ ในทุกแนวรบ Panzer ก็ปรับบทบาทในการตั้งรับได้โดยใช้รถถังรุ่นเก่า มาปรับปรุงเป็นรถถังล่ารถถัง (tank hunter) และผลิตรถถังรุ่นใหม่ออกมา จนกลายเป็นตำนานของยานเกราะสมัยใหม่หลายรุ่น เช่น
Panther, Tiger, Tiger 2 เป็นต้น
รถถัง Panzer V - Panther ติดตั้งปืนใหญ่ 75 มม. ถูกสร้างขึ้นเพื่อสกัดกั้น รถถัง T 34 ของรัสเซียซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 76 มม.  รถถังรุ่นนี้กลายเป็นแผนแบบ ของรถถังสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 
รถถัง Panzer III ทั้งรุ่นติดปืนใหญ่ลำลกล้องยาว ขนาด 50 มม. ใช้เป็นรถถังหลัก ส่วนรุ่นที่ติดลำกล้องสั้นที่ห็นอยู่ด้านหลัง ใช้เป็นรถถังสนับสนุนทหารราบ ทั้งสองคันนี้ เป็นภาพรถถังที่นอรเวย์นำไปใช้ในกองทัพของตน ในระหว่างที่ถูกเยอรมันยึดครอง
ในช่วงแรกๆของสงคราม กองทัพนาซีเยอรมันใช้รถถัง Panzer III เป็นกำลังหลัก รถรุ่นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 50 มม. ซึ่งในขณะนั้น สามารถทำลายรถถังทุกชนิด ของพันธมิตรได้ โดยเฉพาะการรบในยุโรป ปี 1939-1941 แต่ใน ยุทธการบาร์บารอสซ่า (Barbarossa) ที่เยอรมันรุกเข้าไปในรัสเซียในปี 1940 Panzer III ต้องพบกับรถถัง T 34 ของรัสเซีย ทำให้ต้องมีการปรับปรุงรถถังรุ่นนี้ใหม่ บางส่วนถูกถอดป้อมปืนออก ติดตั้งปืนขนาด 155 มม. ในชื่อ Hummel
ในขณะที่การรบดำเนินไป รถถัง Panzer IV ได้ถูกพัฒนาขึ้นมา พร้อมปืนใหญ่ประจำรถขนาด 75 มม. ที่เห็นในภาพซ้ายมือนี้ เป็นหน่วยยานเกราะ PANZER ของหน่วย GrossDeustland ซึ่งทำการรบในรัสเซีย รถถังรุ่นนี้ด้อยกว่ารถถัง T 34 ของรัสเซีย ในด้านความคล่องตัว เนื่องจากสายพานที่เล็ก แต่ก็ยังดีกว่ารถถัง Panzer III ที่ติดปืนเพียง 50 มม. Panzer IV ถูกใช้เป็นรถถังหลักของเยอรมัน ในแนวหน้ามาตลอด ทั้งนี้เพราะพลประจำรถของเยอรมัน มีความคุ้นเคยกับมัน เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีรถถัง Panzer V - Panther และ Panzer VI -Tiger ออกมาใหม่  ช่วงปลายของสงคราม รถถังรุ่นนี้ถูกปรับปรุงโดยติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 88 มม. ในชื่อใหม่ว่า นาชอร์น (Nashorn)
ในการรบในรัสเซีย รถถังของรัสเซีย มักใช้ความเร็วเข้าประชิดรถถัง ของเยอรมัน เพื่อลดความได้เปรียบเกี่ยวกับความหนาของเกราะ โดยเฉพาะรถถัง Panzer VI หรือ Tiger ที่มีเกราะหนามาก ยากที่จะทำลายได้จากการยิงด้านหน้า  ซึ่งรถถังรัสเซีย ต้องเข้ายิงจากด้านหลัง จึงจะสามารถทำลายรถถังเยอรมันได้  ดังเช่นในภาพทางขวามือ เป็นภาพทหารรัสเซียกำลังสำรวจ ซากของรถถัง Panzer V - Panther ที่ถูกยิงจนป้อมปืนหลุดออกจากตัวถัง มีการประเมินกันว่า พลประจำรถกว่า 90 เปอร์เซนต์ของทั้งสองฝ่าย เสียชีวิตไปพร้อมๆกับรถถัง 
ถึงแม้ว่ารถถังรุ่นใหม่ๆของ PANZER จะถูกผลิตออกมา แต่รถถัง PANZER III ก็ดูเหมือนจะเป็นรถถังแกนหลัก ของกองทัพเยอรมันตลอดช่วงสงคราม ในภาพซ้ายมือนี้จะเห็นรถถัง PANZER III ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 50 มม. ลำกล้องยาว พร้อมทหารราบเยอรมัน กำลังรุกผ่านทุ่งหญ้าของรัสเซีย ในช่วงแรกของยุทธการ บาร์บารอสซ่า ซึ่งเป็นการรุกเข้าสู่รัสเซียครั้งแรก
หน่วยยานเกราะ หรือ PANZER เป็นหน่วยหลักของนาซีเยอรมันนับตั้งแต่เริ่มสงครามจนสิ้นสุดอาณาจักรไรซ์ที่สาม ฮิตเลอร์ได้ใช้หน่วย PANZER ของเขาในการรุก รับและร่นถอย หากแต่เพราะการผลิตรถถังของเยอรมันถูกทำลายลงอย่างมากในช่วงปลายสงคราม PANZER จึงขาดแคลนทั้งอะไหล่ เชื้อเพลิง และรถถังรุ่นใหม่ อันนำไปสู่ความหายนะของอาณาจักรไรซ์ในที่สุด
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:06:16


ความคิดเห็นที่ 51


รถถังแบบ Panzer IV ติดตั้งปืนใหญ่ 75 ม.ม. ในภาพนี้เป็นรถถังของกองพลยานเกราะที่ 2 (2nd Panzer Division) ของกองทัพบกเยอรมัน (Heer) โดยจะเห็นสัญญลักษณ์ของหน่วยอยู่ตรงช่องพลขับทางด้านขวามือของภาพ ซึ่งต่างจากกองพลยานเกราะ เอส เอส ที่ 2 (2nd SS. Panzer Division) ซึ่งเป็นของหน่วยเอส เอส (Waffen SS) รถถังรุ่นนี้เป็นแกนหลักของหน่วย Panzer ตั้งแต่ในระยะแรกๆ ของการรบของกองทัพเยอรมัน จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง  แต่เนื่องจากการพัฒนารถถังรุ่นใหม่ๆ ของรัสเซียและพันธมิตร ทำให้เยอรมันต้องพัฒนารถถังแบบใหม่ๆ ขึ้นมาเสริม อย่างไรก็ตาม Panzer IV ก็ยังคงมีบทบาทในกองทัพยานเกราะนาซีเยอรมันจนถึงปลายสงคราม
   ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เยอรมันถูกจำกัดอาวุธจากสนธิสัญญาแวร์ซายน์ ทำให้เยอรมันต้องพัฒนารถถังขึ้นมาภายใต้ชื่อโครงการรถแทรกเตอร์เพื่อการเกษตร แม้ว่าการใช้รถถังจะถูกคิดขึ้นมาจากนักคิดชาวอังกฤษ แต่นายพล กูเดเรียน (Guderian) ของเยอรมันเป็นผู้คิดที่จะนำเอารถถังมาใช้ในการรบแบบ สายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) ซึ่งมีหลักคือใช้ เครื่องบิน ปืนใหญ่ยิงถล่มข้าศึก ณ จุดใดจุดหนึ่งจนข้าศึกเริ่มอ่อนแรง จากนั้นจะใช้หน่วยรถถัง หรือ Panzer รุกเข้าหาด้วยความเร็วพร้อมกับทหารราบ ตรงจุดนี้ ความเร็วในการรุกเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ข้าศึกที่กำลังขวัญตกต่ำจากการถูกโจมตีทางอากาศและจากปืนใหญ่จะถูกหน่วยรถถังบดขยี้ โดยมีทหารราบเป็นกำลังเสริม

    จากนั้นหน่วยยานเกราะจะทำการโอบล้อมหน่วยของข้าศึก ปิดเส้นทางการส่งกำลังของข้าศึก และทำลายหน่วยของข้าศึกที่ถูกล้อมทีละหน่วย
การรบแบบสายฟ้าแลบ หรือ Blitzkrieg นี้ประสบความสำเร็จอย่างมากในช่วงแรกของสงคราม ไม่ว่าจะเป็นการบุกโปแลนด์ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และรัสเซีย หน่วย Panzer ได้แสดงให้เห็นถึงความมีประสิทธิภาพ และกลายเป็นต้นแบบของการใช้รถถังในการรุกมาจนถึงปัจจุบัน

    ในระยะแรกนั้น หน่วย Panzer ได้ใช้รถถังแบบ
Panzer II และ Panzer III เป็นรถถังหลัก โดยเฉพาะรถถังแบบ Panzer III ซึ่งในระยะแรกติดตั้งปืนใหญ่ขนาด 37 ม.ม. แต่เมื่อเผชิญกับ รถถังมาทิลด้า (Matilda) ของอังกฤษ ที่แม้จะมีสมรรถนะด้อยกว่า แต่มีเกราะที่หนากว่า ทำให้เยอรมันต้องทำการปรับปรุงรถถังรุ่นนี้ใหม่
   การปรับปรุงรถถังแบบ Panzer III ทำขึ้นด้วยการเปลี่ยนขนาดปืนใหญ่จาก 37 ม.ม. เป็น 50 ม.ม. ซึ่งในระยะแรกนั้น เหนือกว่ารถถังของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก และได้กลายเป็นกำลังหลักของหน่วย Panzer ประกอบกับรถถังรุ่นนี้มีความเชื่อถือได้ในเรื่องเครื่องยนต์

    ในช่วงที่เยอรมันรุกสู่สมรภูมิแอฟริกา ภายใต้การนำของนายพล
เออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) แห่งกองทัพแอฟริกา หรือ แอฟริกา คอร์ (Afrika Korps ในภาษาเยอรมัน หรือ Africa Corps ในภาษาอังกฤษ) ทำให้เยอรมันมีความได้เปรียบกว่ากำลังของอังกฤษในแอฟริกา รอมเมลได้ใช้หน่วยที่ขึ้นชื่อในการรบที่นามว่า กองพล Panzer ที่ 21 (the 21st Panzer Division) ซึ่งในขณะนั้นใช้ชื่อหน่วยว่า กองพลเบาที่ 5 (the 5th Light Division) และหน่วย Panzer คือกองพล Panzer ที่ 15 และกองพลเบาที่ 50 โจมตี เอลอากลีล่า (El Agheila) แม้ว่าทหารเยอรมัน จะติดอยู่ในสนามทุ่นระเบิดของฝ่ายอังกฤษ แต่ด้วยความตกใจ ฝ่ายอังกฤษไม่ได้ทำการโต้ตอบ และกลับเป็นฝ่ายถูกทหารหน่วย Afrika Korps โจมตี และยึดที่หมายได้

    ต่อมารอมเมลก็เข้าตีเบงกาซี (Benghazi) และโทบรุก (Tobruk)  หน่วย Panzer (กองพลยานเกราะที่ 21 และ กองพลยานเกราะที่ 15) ได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับฝ่ายอังกฤษ ถึงความสามารถของหน่วยยานเกราะเยอรมันในแอฟริกา แม้ว่าในภายหลัง Afrika Korps จะประสบกับความพ่ายแพ้ เนื่องจากขาดการส่งกำลังบำรุงที่เพียง เนื่องจากขบวนเรือขนส่งของอิตาลี ถูกโจมตีจากอังกฤษ แต่ชื่อเสียงของ Panzer ก็เป็นที่จดจำไปอีกนาน
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:07:08


ความคิดเห็นที่ 52


PANZER
       หน่วยยานเกราะเยอรมัน
รถถัง T 34 ของรัสเซีย คู่ปรับตัวฉกาจของหน่วยยานเกราะของเยอรมัน รถถังรุ่นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดความกว้างปากลำกล้อง 76 มม. ที่สามารถทำลายรถถังเยอรมันได้ทุกชนิด แม้กระทั่งรถถัง Panzer V - Panther จะมีก็แต่รถถัง Tiger และ Tiger II เท่านั้น ที่พอจะต้านทานมันได้ T 34 ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย ด้วยจำนวนที่มหาศาลนี่เอง ที่ทำให้รถถังที่ทรงประสิทธิภาพของเยอรมัน ไม่สามารถต้านทานการรุกของรัสเซียได้
   การสั่งการเพื่อให้หน่วย Panzer ไปจากกองทัพกลุ่มกลาง ทำให้กองทัพเยอรมันเคลื่อนที่ได้ล่าช้า และทำให้ฤดูหนาวมาถึง ก่อนการยึดกรุงมอสโคว์ และทำให้โอกาสที่จะยึดเมืองหลวงต้องหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย ทหารหน่วย Panzer ต้องประสบกับความยากลำบากเมื่อฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ถึง ลบ สามสิบองศา เครื่องยนต์ของรถถังไม่สามารถติดเครื่องได้ น้ำมันจับตัวเป็นน้ำแข็ง มีบ่อยครั้งที่รถถังต้องติดเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เครื่องอุ่นอยู่ ทำให้เปลืองเชื้อเพลิง เมื่อไม่สามารถติดเครื่องรถถังได้ พลประจำรถต้องใช้กองไฟจุดไว้ใต้รถถัง เพื่อให้เกิดความร้อน ฤดูหนาวแรกในรัสเซียในปี 1941 สร้างความเสียหายให้กับเยอรมัน และสร้างโอกาสให้กับรัสเซียอย่างมาก ในการมีเวลาฟื้นตัว

    วันที่ 6 ธันวาคม 1941รัสเซียเปิดฉากการตีโต้ และทำให้เยอรมันต้องปรับแนวรบที่เป็นฝ่ายรุก มาเป็นการตั้งรับ การเข้าตีของรัสเซียครั้งนี้ สร้างความตกตะลึงให้กับทหารเยอรมัน ยานเกราะจำนวนมากถูกทำลาย รัสเซียโจมตีอย่างหนักรอบๆมอสโคว์ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1942 โดยหวังที่จะทำลายกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมันให้สิ้นซาก แต่ความแข็งแกร่งของทหารรัสเซียยังมีไม่เพียงพอ ประกอบกับทหารเยอรมันสู้อย่างยิบตา ทำให้วัตถุประสงค์ของรัสเซียในครั้งนี้ ไม่ประสบความสำเร็จ

    ในปี 1942 ช่วงเดือนเมษายน มีการประมาณกันว่า เยอรมันสูญเสียยานเกราะไปถึง 79 เปอร์เซนต์นับจากเปิดยุทธการบาร์บารอสซ่าเข้าไปในรัสเซีย การสูญเสียยานเกราะจำนวนมากนี้ ทำให้เยอรมันสูญเสียศักยภาพในการเคลื่อนที่ ในขณะเดียวกำลังเสริมใหม่ก็ยังมาไม่ถึง ทำให้หน่วย Panzer ต้องใช้อาวุธและยานเกราะทุกชนิดที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำอาวุธและยานเกราะของรัสเซียที่ยึดมาได้มาใช้ด้วย
   สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้หน่วย Panzer ต้องประสบกับความสูญเสียในรัสเซีย ก็เนื่องมาจาก การประเมินหน่วยรถถังของรัสเซียผิดพลาด นั่นก็คือ รถถังแบบ T 34 ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ 76 ม.ม. เหนือกว่าปืนใหญ่ของ Panzer III มีเกราะหนากว่าทั้ง Panzer III และ IV มีสายพานที่กว้างทำให้เคลื่อนที่ในพื้นที่ที่เป็นเลน โคลนได้ดีกว่ารถถัง Panzer ของเยอรมัน

    เยอรมันได้พบกับ
รถถัง T 34 ของรัสเซียครั้งแรกในเดือน ต.ค. 1941 กองพล Panzer ที่ 4 ของเยอรมันได้รับความเสียหายอย่างมาก หน่วย Panzer ไม่สามารถหยุดยั้งรถถัง T 34 ของรัสเซียได้ด้วยปืนใหญ่ต่อสู้รถถังขนาด 37 ม.ม. ของ Panzer III  รถถัง T 34 ของรัสเซียบางคันถูกยิงอย่างจังหลายนัด แต่ก็ไม่เป็นไร วิธีเดียวที่หน่วยรถถัง Panzer จะหยุด T 34 ได้ก็คือ ต้องเข้าไปให้ใกล้ที่สุด และจะยิ่งเป็นการดีถ้าเป็นด้านหลัง เพราะเกราะด้านหลังของรถถังจะบางมาก การกระทำเช่นนี้ เสี่ยงต่อการถูกยิงก่อนจากรัสเซีย และเสี่ยงต่อการถูกทหารราบที่ติดตามรถถัง T 34 ทำลายด้วยกับระเบิดรถถัง รถถัง Panzer III บางคันต้องเข้าไปทำลาย T 34 ในระยะ 5 เมตร ทางด้านหลัง โชคยังเข้าข้างเยอรมัน ที่พลประจำรถของรัสเซีย ด้อยประสบการณ์กว่า และรถถัง T 34 ก็ไม่มีวิทยุประจำรถเสียเป็นส่วนมาก การติดต่อสื่อสารระหว่างรถถังแต่ละคัน จึงทำได้ลำบาก
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:07:48


ความคิดเห็นที่ 53


PANZER
       หน่วยยานเกราะเยอรมัน
รถถัง T 34 ของรัสเซีย คู่ปรับตัวฉกาจของหน่วยยานเกราะของเยอรมัน รถถังรุ่นนี้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาดความกว้างปากลำกล้อง 76 มม. ที่สามารถทำลายรถถังเยอรมันได้ทุกชนิด แม้กระทั่งรถถัง Panzer V - Panther จะมีก็แต่รถถัง Tiger และ Tiger II เท่านั้น ที่พอจะต้านทานมันได้ T 34 ถูกผลิตออกมาอย่างมากมาย ด้วยจำนวนที่มหาศาลนี่เอง ที่ทำให้รถถังที่ทรงประสิทธิภาพของเยอรมัน ไม่สามารถต้านทานการรุกของรัสเซียได้
   การสั่งการเพื่อให้หน่วย Panzer ไปจากกองทัพกลุ่มกลาง ทำให้กองทัพเยอรมันเคลื่อนที่ได้ล่าช้า และทำให้ฤดูหนาวมาถึง ก่อนการยึดกรุงมอสโคว์ และทำให้โอกาสที่จะยึดเมืองหลวงต้องหลุดลอยไปอย่างน่าเสียดาย ทหารหน่วย Panzer ต้องประสบกับความยากลำบากเมื่อฤดูหนาวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่าศูนย์ถึง ลบ สามสิบองศา เครื่องยนต์ของรถถังไม่สามารถติดเครื่องได้ น้ำมันจับตัวเป็นน้ำแข็ง มีบ่อยครั้งที่รถถังต้องติดเครื่องอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เครื่องอุ่นอยู่ ทำให้เปลืองเชื้อเพลิง เมื่อไม่สามารถติดเครื่องรถถังได้ พลประจำรถต้องใช้กองไฟจุดไว้ใต้รถถัง เพื่อให้เกิดความร้อน ฤดูหนาวแรกในรัสเซียในปี 1941 สร้างความเสียหายให้กับเยอรมัน และสร้างโอกาสให้กับรัสเซียอย่างมาก ในการมีเวลาฟื้นตัว

    วันที่ 6 ธันวาคม 1941รัสเซียเปิดฉากการตีโต้ และทำให้เยอรมันต้องปรับแนวรบที่เป็นฝ่ายรุก มาเป็นการตั้งรับ การเข้าตีของรัสเซียครั้งนี้ สร้างความตกตะลึงให้กับทหารเยอรมัน ยานเกราะจำนวนมากถูกทำลาย รัสเซียโจมตีอย่างหนักรอบๆมอสโคว์ ในช่วงตั้งแต่วันที่ 5 มกราคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1942 โดยหวังที่จะทำลายกองทัพกลุ่มกลางของเยอรมันให้สิ้นซาก แต่ความแข็งแกร่งของทหารรัสเซียยังมีไม่เพียงพอ ประกอบกับทหารเยอรมันสู้อย่างยิบตา ทำให้วัตถุประสงค์ของรัสเซียในครั้งนี้ ไม่ประสบความสำเร็จ

    ในปี 1942 ช่วงเดือนเมษายน มีการประมาณกันว่า เยอรมันสูญเสียยานเกราะไปถึง 79 เปอร์เซนต์นับจากเปิดยุทธการบาร์บารอสซ่าเข้าไปในรัสเซีย การสูญเสียยานเกราะจำนวนมากนี้ ทำให้เยอรมันสูญเสียศักยภาพในการเคลื่อนที่ ในขณะเดียวกำลังเสริมใหม่ก็ยังมาไม่ถึง ทำให้หน่วย Panzer ต้องใช้อาวุธและยานเกราะทุกชนิดที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า รวมถึงการนำอาวุธและยานเกราะของรัสเซียที่ยึดมาได้มาใช้ด้วย
   สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้หน่วย Panzer ต้องประสบกับความสูญเสียในรัสเซีย ก็เนื่องมาจาก การประเมินหน่วยรถถังของรัสเซียผิดพลาด นั่นก็คือ รถถังแบบ T 34 ซึ่งติดตั้งปืนใหญ่ 76 ม.ม. เหนือกว่าปืนใหญ่ของ Panzer III มีเกราะหนากว่าทั้ง Panzer III และ IV มีสายพานที่กว้างทำให้เคลื่อนที่ในพื้นที่ที่เป็นเลน โคลนได้ดีกว่ารถถัง Panzer ของเยอรมัน

    เยอรมันได้พบกับ
รถถัง T 34 ของรัสเซียครั้งแรกในเดือน ต.ค. 1941 กองพล Panzer ที่ 4 ของเยอรมันได้รับความเสียหายอย่างมาก หน่วย Panzer ไม่สามารถหยุดยั้งรถถัง T 34 ของรัสเซียได้ด้วยปืนใหญ่ต่อสู้รถถังขนาด 37 ม.ม. ของ Panzer III  รถถัง T 34 ของรัสเซียบางคันถูกยิงอย่างจังหลายนัด แต่ก็ไม่เป็นไร วิธีเดียวที่หน่วยรถถัง Panzer จะหยุด T 34 ได้ก็คือ ต้องเข้าไปให้ใกล้ที่สุด และจะยิ่งเป็นการดีถ้าเป็นด้านหลัง เพราะเกราะด้านหลังของรถถังจะบางมาก การกระทำเช่นนี้ เสี่ยงต่อการถูกยิงก่อนจากรัสเซีย และเสี่ยงต่อการถูกทหารราบที่ติดตามรถถัง T 34 ทำลายด้วยกับระเบิดรถถัง รถถัง Panzer III บางคันต้องเข้าไปทำลาย T 34 ในระยะ 5 เมตร ทางด้านหลัง โชคยังเข้าข้างเยอรมัน ที่พลประจำรถของรัสเซีย ด้อยประสบการณ์กว่า และรถถัง T 34 ก็ไม่มีวิทยุประจำรถเสียเป็นส่วนมาก การติดต่อสื่อสารระหว่างรถถังแต่ละคัน จึงทำได้ลำบาก
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:13:03


ความคิดเห็นที่ 54


PANZER
(ซ้าย) รถถัง Panzer V - Panther ของนาซีเยอรมัน ซึ่งนำเอาข้อดีของรถถัง T 34 ของรัสเซีย มาเป็นต้นแบบ ในการออกแบบ ปรับปรุง และผลิตมาเพื่อต่อสู้กับรถถัง T 34 ของรัสเซีย ในแนวรบด้านตะวันออก เปรียบเทียบกับ T 34 ในภาพข้างล่าง จะเห็นว่าสายพาน และช่วงล่างของ Panther มีความคล้ายคลึงกับ T 34 มาก รถถังรุ่นนี้ออกจากโรงงานผลิต และเข้าสู่สมรภูมิครั้งแรก ที่สมรภูมิ Kursk ในรัสเซีย ในปี 1943
รถถัง T 34 ของรัสเซีย ติดตั้งปืนใหญ่ 76 ม.ม. มีความลาดเอียง (slope) ดีมาก ทำให้มีโอกาส กระทบกับกระสุนตรงๆได้น้อย มีสายพานที่กว้าง ปีนป่ายได้ดีเยี่ยม เหมาะกับภูมิประเทศในรัสเซีย รถถังรุ่นนี้ มีการปรับปรุงให้ติดตั้งปืนใหญ่ ขนาดความกว้าง ปากลำกล้อง 85 มม. ในชื่อ T34/85 และใช้ในกองทัพรัสเซีย จนสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง และใช้ต่อมาในกองทัพประเทศโลกที่ 3 อีกอย่างน้อยเกือบ 40 ปี  เช่นในกองทัพเวียดนามเหนือ
   ในปี 1942 ยุทธการ Blue ของฝ่ายนาซีเยอรมัน ถูกกำหนดขึ้นเพื่อยึดเมืองสตาลินกราด (Stalingrad) กำลังยานเกราะของเยอรมัน ลดลงไปอย่างมาก มีรถถัง Panzer IV ที่ทรงอานุภาพที่สุดในขณะนั้นเพียง 133 คัน รถถังชนิดนี้ติดตั้งปืนใหญ่ 75 ม.ม. และสามารถเอาชนะรถถัง T 34 ของรัสเซียได้ ที่เหลือเป็น Panzer III ที่มีปืนใหญ่ขนาดเพียง 37 ม.ม. และ 50 ม.ม.  แต่การรุกก็ยังคงเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
28 มิ.ย. 1942 ยุทธการ Blue เปิดฉากขึ้น และเป็นอีกครั้งหนึ่ง ที่เยอรมันประสบความสำเร็จอย่างมากในการรุก เพียงวันเดียวเยอรมัน สามารถรุกเข้าไปในแนวของรัสเซียได้ถึง 64 ก.ม. ถึงแม่น้ำดอน (Don)

    ในวันที่ 2 พ.ย. กองทัพ Panzer ที่ 1 ก็รุกไปถึง Ordzhonikidze ซึ่งถือเป็นจุดที่ไกลที่สุด ที่เยอรมันรุกเข้าในรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 2 รวมเป็นระยะทางที่บุกเข้าไปในรัสเซียถึง 965 ก.ม.  แม้ว่าจะรุกเข้าได้มากถึงขนาดนี้ แต่ความสำเร็จเมื่อเทียบกันแล้วถือว่าน้อยมมาก เมืองต่างๆ ที่ถูกยึดได้ ถูกทหารรัสเซียเผาเหลือแต่ซาก ไม่มีน้ำ ไม่มีอาหาร ไม่มีที่พัก แหล่งน้ำถูกโรยด้วยยาพิษ ทุกย่างก้าวของทหารเยอรมัน เต็มไปด้วยกับดัก กับระเบิด และยิ่งรุกไกลเท่าใด การส่งกำลังบำรุงของเยอรมันก็ยิ่งยากลำบากมากขึ้นเท่านั้น ประกอบกับการก่อตั้งขบวนการใต้ดินของรัสเซีย เพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  แนวหลังของเยอรมันไม่เคยปลอดภัย การซุ่มโจมตีมีอยู่ทุกหนแห่ง ความขาดแคลนอาวุธ กระสุน น้ำมันก็กำลังจะมาเยือนกองทัพเยอรมันในไม่ช้า เนื่องจากสายการส่งกำลังบำรุง ที่ยืดยาวจนสุดสายป่าน
   กองทัพที่ 6 ของเยอรมันร่วมด้วย กองทัพยานเกราะ Panzer ที่ 4 รุกเข้าสู่ สตาลินกราด (Stalingrad) จริงๆแล้ว เยอรมันควรจะยึดสตาลินกราดได้ตั้งแต่เดือน ก.ค. เพราะขณะนั้นสตาลินกราดมีกำลังต้านทานเพียงน้อยนิด แต่ฮิตเลอร์ได้สั่งให้ กองทัพ Panzer ที่ 4 แยกออกไป เพื่อช่วยกองทัพกลุ่มใต้ ทำให้กองทัพที่ 6 รุกได้อย่างเชื่องช้า และทำให้รัสเซียมีเวลาเตรียมการในการตั้งรับ โอกาสที่จะยึดสตาลินกราด จึงสูญเสียไปอย่างน่าเสียดาย กองทัพที่ 6 ของเยอรมัน รุกเข้าสู่เมืองสตาลินกราด เครื่องบินทิ้งระเบิดและปืนใหญ่ของเยอรมัน ระดมยิงเมือง เพื่อหวังทำลายให้สิ้นซาก ตึกรามบ้านช่อง กลายเป็นซากปรักหักพัง ที่ทหารรัสเซียสามารถ ใช้เป็นที่ซ่อนตัวได้เป็นอย่างดี ทหารเยอรมันรุกเข้าสู่ย่านอุตสาหกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงงานผลิตรถแทรกเตอร์ ทหารรัสเซียต่อสู้อย่างทรหด

    ในวันที่ 19 พ.ย. 1942  รัสเซียเปิดฉากการตีโต้ครั้งใหญ่ ทั้งทางด้านเหนือและใต้ของสตาลินกราด กองทหารรูเมเนีย และอิตาลี พันธมิตรของเยอรมันที่รักษาที่มั่นรอบเขตเมืองสตาลินกราด ถูกตีแตกกระเจิง ส่งผลให้รัสเซีย สามารถโอบล้อมกองทัพที่ 6 ของเยอรมันได้ทั้งกองทัพไว้ในสตาลินกราด สนามบินของกองทัพอากาศเยอรมันที่อยู่ในสตาลินกราด แหล่งสุดท้ายที่สามารถติดต่อกับโลกภายนอก ถูกรัสเซียยึดได้ การส่งกำลังบำรุงทำไม่ได้อีกต่อไป

    ฮิตเลอร์สั่งการให้หน่วย Panzer XLVIII แหวกวงล้อมเข้าไปช่วยกองทัพที่ 6 ภายใต้แผน Winter Storm แต่ก็ไม่สำเร็จทั้งที่อยู่ห่างจากกองทัพที่ 6 ที่ติดอยู่ในสตาลินกราดเพียง 56 ก.ม.

    ในที่สุดกองทัพที่ 6 ก็ยอมแพ้ เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ของเยอรมัน กองพล Panzer ไม่น้อยกว่า 6 กองพล สูญเสียไปในการพ่ายแพ้ที่สตาลินกราด จนถึงวันแห่งความพ่ายแพ้ที่สตาลินกราดนี้  Panzer สูญเสียรถถังไปมากว่า 7,800 คัน ในแนวรบด้านตะวันออกนี้  มีเพียงรถถัง 495 คันที่สามารถปฏิบัติการได้ทั่วทั้งแนวรบด้านตะวันออก ด้านรัสเซียนี้
มีต่องับ
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:14:12


ความคิดเห็นที่ 55


หน่วยทหารพลร่มของกองทัพนาซีเยอรมัน หรือ ฟอลชริมเจเกอร์   (FALLSCHIRMJAGER)
ภาพแสดงการแต่งกายของทหารพลร่มเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2  สังเกตุได้ว่าหมวกเหล็กของพลร่มเยอรมัน จะแตกต่างจากหมวกเหล็กของทหารหน่วยอื่นๆ ตรงที่ส่วนขอบของหมวก ไม่ยื่นลงมาป้องกันบริเวณใบหูและศรีษะด้านหลัง เหมือนกับหมวกทหารนาซีเยอรมันทั่วไป หมวกเหล็กของพลร่มเยอรมันนี้ รู้จักกันในนามของหมวกแบบ M1938
    หน่วยพลร่มของเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นั้น ถือว่าเป็นหน่วยรบ ที่มีประสิทธิภาพสูงมากที่สุด หน่วยหนึ่งของ กองทัพนาซีเยอรมัน ผู้นำนาซีเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มีความชื่นชม ในความสามารถของทหารหน่วยพลร่ม เป็นอย่างมาก อาจจะเรียกได้ว่า ชื่นชมไม่ด้อยไปกว่า ทหารหน่วย เอส เอส (waffen ss) ซึ่งเป็นหน่วยรบพิเศษ ประจำตัวของฮิตเลอร์เอง

     คำว่า ฟอลชริมเจเกอร์ (fallschirmjager) นั้นในภาษาเยอรมันแปลว่า นักล่าจากจากท้องฟ้า (hunters from the sky) (fallschirm - แปลว่า พลร่มหรือ parachute ในภาษาอังกฤษ และ jager แปลว่า นักล่าหรือ hunter - ranger ในภาษาอังกฤษ) หน่วยพลร่มนี้ขึ้นตรงกับ กองทัพอากาศนาซีเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ (luftwaffe) ซึ่งต่างจากกองทัพสหรัฐอเมริกา และอังกฤษ ที่หน่วยพลร่มจะขึ้นตรงกับกองทัพบกมากกว่า ที่จะขึ้นตรงต่อกองทัพอากาศ โดยหน่วยพลร่มหน่วยแรกของเยอรมันถูกก่อตั้งขึ้นในปี 1938 เริ่มต้นจากการรวบรวมกองพันทหารพลร่ม มาเป็นกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 (7th Flieger Division หรือ 7th Air Division  ในภาษาอังกฤษ) ซึ่งประกอบด้วยกรมทหารพลร่ม จำนวน 3 กรม

     ความชื่นชมที่ฮิตเลอร์มีต่อหน่วยทหารพลร่มนี้ เกิดขึ้นมาจากความสามารถอันโดดเด่นของทหารพลร่ม ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะการกระโดดร่มเข้าโจมตีประเทศต่างๆ เช่น เดนมาร์ก นอรเวย์ เนเธอร์แลนด์ ในปี 1940  โดยเฉพาะที่เดนมาร์กนั้น ถือเป็นการปฏิบัติการรบครั้งแรกของหน่วยพลร่มเยอรมัน  ซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 9 เมษายน 1940 ที่ทหารพลร่มเยอรมันจู่โจมเข้ายึดสนามบิน Aarhus นอกจากนี้ยังเข้าทำลายแนวต้านทานของเบลเยี่ยม ที่ป้อม อีเบน อีเมล (Eben Emael) ได้อย่างรวดเร็ว จนเป็นที่กล่าวขานกันไปทั่วว่า หน่วยฟอลชริมเจเกอร์ หรือ หน่วยทหารพลร่ม (หรือที่ทางสหรัฐอเมริกาใช้คำว่า หน่วยส่งทางอากาศ - Airborne) เป็นหน่วยทหาร ที่ยอดเยี่ยมที่สุดในโลกหน่วยหนึ่ง ของนาซีเยอรมันในขณะนั้น  
  ทหารพลร่มเยอรมัน กำลังพักผ่อน ภายหลังจากการเข้ายึดป้อม อีเบล อีเมล (Eben Emael) ของเบลเยี่ยมได้อย่างรวดเร็ว ในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 ชัยชนะครั้งนี้ มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้นาซีเยอรมันรุกเข้ายุโรปได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากทำให้ฝรั่งเศสและอังกฤษ ไม่สามารถเตรียมการตั้งรับได้ทันท่วงที
    (ภาพบน) ทหารพลร่มของเยอรมัน ขณะทำการฝึก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โปรดสังเกตุเสื้อเครื่องแบบ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทหารพลร่มเยอรมัน ในช่วงต้นของสงคราม

      ขณะที่แสนยานุภาพทางอากาศของนาซีเยอรมัน ยังคงเกรียงไกรเหนือน่านฟ้ายุโรป ทหารหน่วยนี้จะทำการรบโดยการส่งทางอากาศ หรือกระโดดร่มลงเข้ายึดพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งใช้เครื่องร่อน (glider) เป็นพาหนะ ร่อนลงเหนือเป้าหมาย ดังเช่น การเข้ายึดป้อม อีเบน อีเมล ของเบลเยี่ยม ซึ่งทหารพลร่มเยอรมันจำนวน 85 นาย ลำเลียงโดยเครื่องร่อน 11 ลำ ร่อนลงเหนือป้อม แล้วใช้ระเบิดแรงสูงทำลายป้อมต่างๆ ทีละป้อม จนทหารภายในป้อมยอมแพ้อย่างรวดเร็ว   

      ในภาพนี้คาดว่าจะเป็นกำลังพลของกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1938 สองปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น ต่อมากองพลนี้ได้รับการปรับเป็น กองพลพลร่มที่ 1 (1st Parachute Division) โดยมีผู้บัญชาการกองพลคนแรกคือ พลตรี เคิร์ท สตูเด้นท์ (Kurt Student) ซึ่งเป็นหนึ่งขุนพลที่จอมพล แฮร์มาน เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน ไว้วางใจเป็นอย่างยิ่ง
     
     ในช่วงปลายของสงคราม เมื่อกองทัพอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถครองอากาศได้ ประกอบกับยุทธวิธีของนาซีเยอรมัน เปลี่ยนจากการรุก เป็นการตั้งรับในทุกแนวรบ พลร่มเยอรมันแทบจะหมดโอกาสในการกระโดดร่มลงยึดที่หมายอย่างฉับพลัน ตามหลักการรบแบบสายฟ้าแลบของนาซีเยอรมัน  ทหารหน่วยนี้ก็ต้องทำการรบแบบทหารราบทั่วไป แต่ประสิทธิภาพในการรบ ก็ยังคงเป็นที่น่าเกรงขาม สำหรับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่เช่นเดิม ดังเช่นการรบที่แอนซิโอ และมองเตคาสิโน ในประเทศอิตาลี ในปี 1944 ที่กำลังพลของหน่วยพลร่มเยอรมัน ได้สร้างความเสียหายให้กับทหารอังกฤษ และอเมริกาเป็นอย่างมาก

       กองพลพลร่มที่ 9 (9th Fallschirmjager Division) คือหน่วยพลร่มหน่วยสุดท้ายของนาซีเยอรมัน ที่ถูกตั้งขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ในการรบป้องกันกรุงเบอร์ลิน ในเดือนเมษายน 1945
     (ภาพบน) ภาพแสดงหมวกเหล็กของทหารพลร่มเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นสัญญลักษณ์ของกองทัพอากาศนาซีเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ (Luftwaffe) ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของหมวก เป็นรูปนกอินทรีกางปีก เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ อันเป็นเครื่องหมายของพรรคนาซี ส่วนอีกด้านของหมวกจะเป็นแถบสีธงชาติเยอรมัน ดำ ขาว แดง ส่วนสายรัดคางนั้น จะเพิ่มเป็นสองจุด เพื่อทำให้เกิดความกระชับ เมื่อกำลังพล ต้องกระโดดออกมาจากเครื่องบิน ท่ามกลางสายลมที่พัดแรง และต้องรับแรงกระแทกเพื่อลงสู่พื้นดิน
    (ภาพบน) ทหารพลร่มของเยอรมัน ขณะทำการฝึก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โปรดสังเกตุเสื้อเครื่องแบบ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทหารพลร่มเยอรมัน ในช่วงต้นของสงคราม

      ขณะที่แสนยานุภาพทางอากาศของนาซีเยอรมัน ยังคงเกรียงไกรเหนือน่านฟ้ายุโรป ทหารหน่วยนี้จะทำการรบโดยการส่งทางอากาศ หรือกระโดดร่มลงเข้ายึดพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งใช้เครื่องร่อน (glider) เป็นพาหนะ ร่อนลงเหนือเป้าหมาย ดังเช่น การเข้ายึดป้อม อีเบน อีเมล ของเบลเยี่ยม ซึ่งทหารพลร่มเยอรมันจำนวน 85 นาย ลำเลียงโดยเครื่องร่อน 11 ลำ ร่อนลงเหนือป้อม แล้วใช้ระเบิดแรงสูงทำลายป้อมต่างๆ ทีละป้อม จนทหารภายในป้อมยอมแพ้อย่างรวดเร็ว   

      ในภาพนี้คาดว่าจะเป็นกำลังพลของกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1938 สองปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น ต่อมากองพลนี้ได้รับการปรับเป็น กองพลพลร่มที่ 1 (1st Parachute Division) โดยมีผู้บัญชาการกองพลคนแรกคือ พลตรี เคิร์ท สตูเด้นท์ (Kurt Student) ซึ่งเป็นหนึ่งขุนพลที่จอมพล แฮร์มาน เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน ไว้วางใจเป็นอย่างยิ่ง
     
     ในช่วงปลายของสงคราม เมื่อกองทัพอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถครองอากาศได้ ประกอบกับยุทธวิธีของนาซีเยอรมัน เปลี่ยนจากการรุก เป็นการตั้งรับในทุกแนวรบ พลร่มเยอรมันแทบจะหมดโอกาสในการกระโดดร่มลงยึดที่หมายอย่างฉับพลัน ตามหลักการรบแบบสายฟ้าแลบของนาซีเยอรมัน  ทหารหน่วยนี้ก็ต้องทำการรบแบบทหารราบทั่วไป แต่ประสิทธิภาพในการรบ ก็ยังคงเป็นที่น่าเกรงขาม สำหรับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่เช่นเดิม ดังเช่นการรบที่แอนซิโอ และมองเตคาสิโน ในประเทศอิตาลี ในปี 1944 ที่กำลังพลของหน่วยพลร่มเยอรมัน ได้สร้างความเสียหายให้กับทหารอังกฤษ และอเมริกาเป็นอย่างมาก

       กองพลพลร่มที่ 9 (9th Fallschirmjager Division) คือหน่วยพลร่มหน่วยสุดท้ายของนาซีเยอรมัน ที่ถูกตั้งขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ในการรบป้องกันกรุงเบอร์ลิน ในเดือนเมษายน 1945
     (ภาพบน) ภาพแสดงหมวกเหล็กของทหารพลร่มเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นสัญญลักษณ์ของกองทัพอากาศนาซีเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ (Luftwaffe) ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของหมวก เป็นรูปนกอินทรีกางปีก เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ อันเป็นเครื่องหมายของพรรคนาซี ส่วนอีกด้านของหมวกจะเป็นแถบสีธงชาติเยอรมัน ดำ ขาว แดง ส่วนสายรัดคางนั้น จะเพิ่มเป็นสองจุด เพื่อทำให้เกิดความกระชับ เมื่อกำลังพล ต้องกระโดดออกมาจากเครื่องบิน ท่ามกลางสายลมที่พัดแรง และต้องรับแรงกระแทกเพื่อลงสู่พื้นดิน
    (ภาพบน) ทหารพลร่มของเยอรมัน ขณะทำการฝึก ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โปรดสังเกตุเสื้อเครื่องแบบ ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทหารพลร่มเยอรมัน ในช่วงต้นของสงคราม

      ขณะที่แสนยานุภาพทางอากาศของนาซีเยอรมัน ยังคงเกรียงไกรเหนือน่านฟ้ายุโรป ทหารหน่วยนี้จะทำการรบโดยการส่งทางอากาศ หรือกระโดดร่มลงเข้ายึดพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้งใช้เครื่องร่อน (glider) เป็นพาหนะ ร่อนลงเหนือเป้าหมาย ดังเช่น การเข้ายึดป้อม อีเบน อีเมล ของเบลเยี่ยม ซึ่งทหารพลร่มเยอรมันจำนวน 85 นาย ลำเลียงโดยเครื่องร่อน 11 ลำ ร่อนลงเหนือป้อม แล้วใช้ระเบิดแรงสูงทำลายป้อมต่างๆ ทีละป้อม จนทหารภายในป้อมยอมแพ้อย่างรวดเร็ว   

      ในภาพนี้คาดว่าจะเป็นกำลังพลของกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1938 สองปีก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะอุบัติขึ้น ต่อมากองพลนี้ได้รับการปรับเป็น กองพลพลร่มที่ 1 (1st Parachute Division) โดยมีผู้บัญชาการกองพลคนแรกคือ พลตรี เคิร์ท สตูเด้นท์ (Kurt Student) ซึ่งเป็นหนึ่งขุนพลที่จอมพล แฮร์มาน เกอริง ผู้บัญชาการกองทัพอากาศเยอรมัน ไว้วางใจเป็นอย่างยิ่ง
     
     ในช่วงปลายของสงคราม เมื่อกองทัพอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตร สามารถครองอากาศได้ ประกอบกับยุทธวิธีของนาซีเยอรมัน เปลี่ยนจากการรุก เป็นการตั้งรับในทุกแนวรบ พลร่มเยอรมันแทบจะหมดโอกาสในการกระโดดร่มลงยึดที่หมายอย่างฉับพลัน ตามหลักการรบแบบสายฟ้าแลบของนาซีเยอรมัน  ทหารหน่วยนี้ก็ต้องทำการรบแบบทหารราบทั่วไป แต่ประสิทธิภาพในการรบ ก็ยังคงเป็นที่น่าเกรงขาม สำหรับทหารฝ่ายสัมพันธมิตรอยู่เช่นเดิม ดังเช่นการรบที่แอนซิโอ และมองเตคาสิโน ในประเทศอิตาลี ในปี 1944 ที่กำลังพลของหน่วยพลร่มเยอรมัน ได้สร้างความเสียหายให้กับทหารอังกฤษ และอเมริกาเป็นอย่างมาก

       กองพลพลร่มที่ 9 (9th Fallschirmjager Division) คือหน่วยพลร่มหน่วยสุดท้ายของนาซีเยอรมัน ที่ถูกตั้งขึ้นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อนที่จะถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ในการรบป้องกันกรุงเบอร์ลิน ในเดือนเมษายน 1945
     (ภาพบน) ภาพแสดงหมวกเหล็กของทหารพลร่มเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง จะเห็นสัญญลักษณ์ของกองทัพอากาศนาซีเยอรมัน หรือ ลุฟวาฟ (Luftwaffe) ปรากฏอยู่ด้านซ้ายของหมวก เป็นรูปนกอินทรีกางปีก เกาะอยู่บนเครื่องหมายสวัสดิกะ อันเป็นเครื่องหมายของพรรคนาซี ส่วนอีกด้านของหมวกจะเป็นแถบสีธงชาติเยอรมัน ดำ ขาว แดง ส่วนสายรัดคางนั้น จะเพิ่มเป็นสองจุด เพื่อทำให้เกิดความกระชับ เมื่อกำลังพล ต้องกระโดดออกมาจากเครื่องบิน ท่ามกลางสายลมที่พัดแรง และต้องรับแรงกระแทกเพื่อลงสู่พื้นดิน
หน่วยทหารพลร่มของกองทัพนาซีเยอรมัน หรือ ฟอลชริมเจเกอร์
(FALLSCHIRMJAGER - PARATROOPER)
      (ภาพบน) การส่งสัมภาระทางอากาศของหน่วยพลร่มเยอรมัน ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินในภาพคือ เครื่องบินแบบ จุงเกอร์ เจ ยู 52 (Junker Ju 52) ซึ่งเป็นเครื่องบินลำเลียงหลัก ของกองทัพอากาศเยอรมัน จุงเกอร์ เจ ยู 52 (ภาพล่าง) เป็นเครื่องบินแบบ สามเครื่องยนต์ สองเครื่องยนต์ที่ปีก และหนึ่งเครื่องยนต์ที่หัวเครื่องบิน รูปร่างของเครื่องแบบนี้ ได้รับการกล่าวขานว่า เทอะทะ ไม่มีความสวยงาม แต่แท้จริงแล้ว เครื่องจุงเกอร์ เจ ยู  52 เป็นเครื่องบินที่มีเครื่องยนต์สภาพเยี่ยม และไว้วางใจได้ ทำให้กองทัพอากาศเยอรมัน บรรจุเครื่องบินแบบนี้ เข้าประจำการเป็นเครื่องบินลำเลียงหลักของกองทัพ และใช้งานตลอดสงคราม

       เครื่องบินจุงเกอร์ เจ ยู 52 เป็นเครื่องบินหลัก ที่ใช้ในการลำเลียงทหารพลร่ม ของกองทัพอากาศเยอรมัน เข้าสู่ที่หมาย นับตั้งแต่การรุกเข้าสู่ยุโรปในช่วงต้นของสงคราม ทั้งการรุกเข้าสู่ เนเธอร์แลนด์  นอรเวย์ และสงครามในการยึดเกาะครีต (Crete) 
      (ภาพล่าง) การรุกสู่เกาะครีต (Crete) ของทหารพลร่มเยอรมัน ภาพนี้ถ่ายบริเวณเมือง Heraklion หรือในภาษาอังกฤษว่า Iraq lion ในวันที่ 20 พ.ค. 1941 จะเห็นเครื่องบินแบบ จุงเกอร์ เจ ยู 52 ถูกยิงไฟลุกท่วม และกำลังตกลงสู่พื้น ในขณะที่ท้องฟ้า เต็มไปด้วยพลร่มเยอรมัน ที่โดดลงเพื่อยึดที่หมาย เยอรมันใช้เครื่องบินลำเลียง ซึ่งรวมทั้งจุงเกอร์ เจ ยู 52 จำนวน 493 ลำ เครื่องร่อน 72 ลำ นำพลร่มเข้าสู่ที่หมายในครีต นอกจากเครื่องบินลำเลียงแล้ว ยังมีเครื่องทิ้งระเบิด 228 ลำ เครื่องดำดิ่งทิ้งระเบิด 245 ลำ และเครื่องบินขับไล่ 233 ลำ และเครื่องบินตรวจการณ์อีก 50 ลำ รวมทั้งสิ้นกว่า 700 ลำ เข้าร่วมในการรุกครั้งนี้ด้วย

       การยึดเกาะครีต เป็นการรุกที่ใช้กำลังพลร่มเป็นหัวหอก โดยใช้กำลังพลจาก กองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 (7th Flieger Division) เป็นกำลังหลัก สนับสนุนโดยทหารราบอีก 3 กรมทหารราบ นับว่าเป็นการปฏิบัติการ โดยการใช้กำลังทหารพลร่มครั้งใหญ่ที่สุดของกองทัพเยอรมัน และต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก  โดยพลร่มเยอรมันเสียชีวิตถึงกว่า 4,000 นาย บาดเจ็บ สูญหายอีกกว่า 2,500 นาย กำลังพลเหล่านี้ บางส่วนเสียชีวิตก่อนจะลงถึงพื้นดินเสียอีก เนื่องจากถูกทหารสัมพันธมิตร ระดมยิงขณะอยู่ในท้องฟ้า กำลังพลที่สูญเสียไปเหล่านี้ ล้วนเป็นทหารชั้นยอด ที่ผ่านการฝึกมาอย่างดี และไม่สามารถทดแทนได้ในระยะเวลาอันจำกัด ความสูญเสียอันยิ่งใหญ่นี้ ทำให้เยอรมันไม่เคยใช้หน่วยพลร่ม เป็นหัวหอกในการรุกครั้งใหญ่อีกเลย 
หน่วยทหารพลร่มของกองทัพนาซีเยอรมัน หรือ ฟอลชริมเจเกอร์
(FALLSCHIRMJAGER - PARATROOPER)
      (ภาพบน)  วันที่ 20 พ.ค. 1941 พลร่มของกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 (7th Flieger Division - 7th Air Division ในภาษาอังกฤษ) โรยตัวลงสู่พื้นดินบนเกาะครีต ในเวลานั้น เกาะครีตมีกำลังทหารสัมพันธมิตร มากกว่าทหารเยอรมันถึงสองเท่า คือมีจำนวนถึง 42,500 คน ประกอบด้วยทหารออสเตรเลีย 6,450 คน ทหารนิวซีแลนด์ 7,700 คน ที่เพิ่งถอยทัพมาจากประเทศกรีซ ภายหลังจากเยอรมันเข้ายึดครอง ทหารกรีกอีกกว่าหมื่นคน และทหารอังกฤษอีกจำนวนหนึ่ง ทหารนิวซีแลนด์คนหนึ่งกล่าวว่า ท้องฟ้าเต็มไปด้วยเครื่องบินเยอรมัน บินลำต่อลำ เป็นแนวยาวจากขอบฟ้าหนึ่ง ไปยังอีกขอบฟ้าหนึ่ง เหมือนฝูงนกที่กำลังอพยพไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

       ทหารเยอรมันจำนวนมาก กระโดดร่มออกจากเครื่อง ได้ถูกทหารสัมพันธมิตรสังหารขณะที่ไม่มีทางต่อสู้ หรือไม่มีทางป้องกันตัวเอง โดยเฉพาะขณะที่กำลังลอยอยู่กลางท้องฟ้าภายใต้ร่มชูชีพสีขาว  พลตรี Meindl ผู้บังคับหน่วยคนหนึ่งของพลร่มเยอรมัน ก็ได้รับบาดเจ็บสาหัสก่อนลงถึงพื้น จนไม่สามารถบัญชาการรบได้

       ทหารเยอรมันลงสู่พื้นทุกหนทุกแห่ง บางแห่งพวกเขาก็เริ่มทำการรบกับทหารสัมพันธมิตร โดยปราศจากผู้นำ เนื่องจากผู้บังคับหน่วยเสียชีวิต บาดเจ็บ หรือพลัดหลงจากหน่วยของตน สนามบินที่ Maleme ถูกพลร่มเยอรมันเข้ายึดอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จากความกล้าหาญของนักบินประจำเครื่องบินจุงเกอร์ เจ ยู 52 จำนวนหนึ่ง ที่นำเครื่องบินฝ่ากระสุนปืนนานาชนิด ร่อนลงจอดฉุกเฉินบริเวณสนามบิน ก่อนที่พลร่มที่อยู่ในเครื่องแต่ละลำ จะกระจายกำลังกันเข้ายึดสนามบินได้ ในช่วงแรกของการรบ เยอรมันไม่สามารถควบคุมพื้นที่ได้มากนัก จนกระทั่งกำลังสนับสนุนมาถึง นำโดยกองพลภูเขาที่ 5 การรบจึงเปลี่ยนมาเป็นฝ่ายเยอรมันได้เปรียบ และสามารถยึดเกาะครีตได้ในที่สุด 
     ทหารพลร่มเยอรมัน ขณะกำลังปีนขึ้นเครื่องบินลำเลียง เพื่อทำการฝึกซ้อมการกระโดดร่ม แนวความคิดในการใช้ทหารพลร่มในการรบของเยอรมัน ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นับว่าเป็นแนวความคิดใหม่ แต่เป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับการรบแบบสายฟ้าแลบ ที่เยอรมันนำมาใช้ โดยพลตรี เคริท์ สตูเด้นท์ (Kurt Student) ผู้บัญชาการกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 ซึ่งภายหลังได้รับการปรับเป็นกองพลพลร่มที่ 1 เคิร์ทเป็นอดีตเสืออากาศเยอรมันในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นผู้ที่ฮิตเลอร์นิยมชมชอบเป็นส่วนตัว ได้ริเริ่มแนวความคิดการใช้หน่วยพลร่มในการรบขึ้น รวมทั้งเขายังเป็นผู้ริเริ่มแผนการบุกเกาะครีต โดยการใช้ทหารพลร่มเป็นกำลังหลัก แม้ว่าฮิตเลอร์จะไม่มั่นใจในความสำเร็จ แต่สตูเด้นท์ก็โน้มน้าวให้ผู้นำเยอรมัน ตกลงใจ ใช้ทหารพลร่มบุกเกาะครีต และประสบความสำเร็จในที่สุด แต่ก็นำมาซึ่งความสูญเสียอย่างหนัก

      
      (ภาพบน)  แผนที่เกาะครีต ที่หน่วยพลร่มเยอรมัน กองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 บุกเข้าโจมตีในวันที่ 20 พ.ค. 1941 จากมุมซ้ายของแผนที่ จะเห็นสนามบิน Maleme ซึ่งถูกฝูงบินทิ้งระเบิด และฝูงบินขับไล่เยอรมัน โจมตีในช่วงรุ่งอรุณ สร้างความเสียหายให้กับหน่วยปืนต่อสู้อากาศยานรอบสนามบินเป็นอย่างมาก ก่อนที่เครื่องบินลำเลียงแบบ จุงเกอร์ เจ ยู 52 ลำเลียงพลร่มของกรมจู่โจมที่ 1 กองพลพลร่มที่ 7 จะร่อนลงฉุกเฉิน ในบริเวณสนามบิน เหล่าพลร่มกรูกันออกจากเครื่อง เข้ายึดพื้นที่รอบสนามบินอย่างรวดเร็ว ในขณะที่พลร่มจากกรมทหารพลร่มที่ 3 ของกองพลพลร่มที่ 7 จะโรยตัวลงสู่พื้นดินบนเกาะครีต บริเวณ Khania กรมทหารพลร่มที่ 2 เข้าโจมตี Rethimnon และกรมทหารพลร่มที่ 1 เข้ายึด Heraklion

        นับจากวันที่ 20 พ.ค. การรบจะดำเนินไปอย่างนองเลือด จนกระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งอยู่ใต้การบังคับบัญชาของพลตรี Freyberg ผู้ซึ่งเดินทางมาถึงครีต เพียงสามสัปดาห์ก่อนการบุกของเยอรมัน จะยอมแพ้อย่างเด็ดขาดในวันที่ 30 พ.ค. ท่ามกลางความสูญเสียอย่างหนักของทั้งสองฝ่าย โดยทหารสัมพันธมิตรเสียชีวิต 1,800 คน ถูกจับเป็นเชลย 12,000 คน ทหารเรืออังกฤษเสียชีวิต 1,828 คน บาดเจ็บ 183 คน ถอยไปได้อย่างปลอดภัย 18,000 คน ในขณะที่เยอรมัน เสียทหารไปถึง 4,000 คน บาดเจ็บ 2,500 คน 

        ตามข้อเท็จจริงแล้ว สัมพันธมิตรทรบล่วงหน้าถึงแผนการบุกของฝ่ายเยอรมัน ก่อนหน้านี้แล้ว อันเป็นผลมาจาก การถอดรหัสอีนิกม่า (Enigma) ของฝ่ายเยอรมันได้ แต่ทหารสัมพันธมิตรก็อยู่ในสภาพที่ขาดแคลน อาวุธ ยุทโธปกรณ์ ยานยนต์ อย่างมากมาย เนื่องจากถอยร่นมาจากกรีก ในสภาพที่แตกกระสานซ่านเซ็น ทำให้ทหารสัมพันธมิตรที่จำนวนมากกว่า เยอรมันผู้รุกรานถึงสองเท่า ไม่สามารถต้านทานได้ 

       ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ได้มีการวิเคราะห์ถึงการสูญเสียอย่างมากของทหารพลร่มเยอรมัน ในการรบที่เกาะครีต การวิเคราะห์พบว่า การใช้พลร่มเป็นกำลังหลักในการรุกนั้น จำเป็นจะต้องกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉับพลัน โดยที่ข้าศึกไม่รู้ตัวมาก่อน เนื่องจากการส่งทางอากาศขนาดใหญ่ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสูงมากหากข้าศึกทราบล่วงหน้า แต่การรบที่เกาะครีตนั้น ฝ่ายสัมพันธมิตรทราบล่วงหน้าถึงแผนการบุก จึงตอบโต้ได้อย่างรุนแรง เหตุการณ์เดียวกันนี้ ก็เกิดขึ้นกับฝ่ายสัมพันธมิตร ในการส่งทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ครั้งหนึ่ง ในยุทธการมาร์เก็ต การ์เดน (Operations Market - Garden) ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี 1944 ซึ่งก็จบลงด้วยความสูญเสียขนาดใหญ่ของฝ่ายสัมพันธมิตรเช่นเดียวกัน

       สำหรับการรบที่มองเต คาสิโน (Monte Casino) ในประเทศอิตาลีนั้น กองพลพลร่มที่ 1 (1st Fallschirmjager Division) ซึ่งเดิมคือกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 นั่นเอง ได้ทำการรบแบบทหารราบ โดยดัดแปลงที่มั่นที่ถูกฝ่ายสัมพันธมิตรโจมตีทั้งทางอากาศ และอาวุธหนัก เป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง พวกเขาสามารถต้านทานการรุกของสัมพันธมิตรได้นานนับเดือน และเนื่องจากทหารเหล่านี้สวมใส่ชุดคลุมสีเขียว จึงได้รับการตั้งฉายาจากทหารของสัมพันธมิตรว่า ปีศาจสีเขียว (Green Devils) 

        
      (ภาพบน)  การแต่งกายของทหารพลร่มเยอรมัน ในการโจมตีเกาะครีต ในปี 1941 จะเห็นเสื้อคลุมสีเขียว  (smock) ที่สวมทับเสื้อเครื่องแบบสีเทาของกองทัพอากาศเยอรมัน ตัวเสื้อตัดเย็บจากผ้าฝ้ายคุณภาพดี มีกระดุมพลาสติคสีน้ำเงิน 3 เม็ด และกระดุมแบบกดอีก 2 เม็ด ในภาพจะเห็นแนวกระเป๋าที่หัวไหล่ ทั้งสองข้าง เป็นกระเป๋าแบบปิดเปิดด้วยซิปยาว ตัวซิปมีแถบหนังสีน้ำตาล เพื่อใช้จับได้สะดวกในการรูดซิปขึ้น ลง เสื้อคลุมสีเขียวจะคลุมยาวถึงเป้ากางเกง และติดกระดุมแบบกด 2 เม็ด บริเวณเป้ากางเกง ชุดเครื่องแบบจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ตามห้วงของสงคราม และตามภูมิประเทศ เช่นการรบในตูนิเซีย และในแอฟริกา สีเสื้อเครื่องแบบ และหมวก ก็จะเปลี่ยนเป็นสีกากี เพื่อใช้ในการรบในพื้นที่แถบทะเลทราย

      

       

        

         ทหารพลร่มเยอรมัน หรือ ฟอลชริมเจเกอร์ ที่ได้รับเหรียญกางเขนเหล็ก จากความกล้าหาญในการโจมตีป้อมอีเบน อีเมล (Eben Emael) ของเบลเยี่ยม ในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ถ่ายภาพร่วมกับผู้นำนาซีเยอรมัน อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ พลร่มเหล่านี้ยังต้องเผชิญกับสงครามที่หนักหน่วง ตลอดช่วงสี่ปีข้างหน้าของสงคราม โอกาสแห่งการรอดพ้นจากความสูญเสียดูมีไม่มากนัก สำหรับนักรบผู้กล้าแห่งกองทัพอากาศเยอรมันเหล่านี้

          การบุกโจมตีป้อมอีเบน อีเมล เปิดฉากขึ้นในรุ่งอรุณของวันที่ 11 พฤษภาคม 1940 ภายหลังจากที่มีการเตรียมความพร้อม และการซักซ้อมการบุกทำลายป้อมแห่งนี้มาตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 1939 โดยหน่วยที่ร่วมทำการบุก จะถูกแยกออกจากโลกภายนอก ทั้งหน่วยพลร่ม และหน่วยทหารช่าง เพื่อทำการฝึกฝนจนเกิดความชำนาญ  โดยพลร่มที่เข้าโจมตีป้อมเป็นกำลังพลจากกองพันที่ 1 กรมพลร่มที่ 1 (1st Battalion, 1st Parachute Regiment) และทหารช่างที่จะข้ามเครื่องกีดขวางเข้าไปสมทบกับทหารพลร่ม จัดจาก กองร้อยทหารช่าง กองพันที่ 2 กรมพลร่มที่ 1 (Pioneer company, 2nd Battalion, 1st Parachute Regiment)

    (ภาพบน) หน่วยพลร่มของเยอรมัน ควบคุมตัวเชลยศึกสัมพันธมิตร ภายหลังจากเข้ายึดเกาะครีตได้แล้ว การรบบนเกาะครีตดำเนินไปถึง 10 วัน จนกว่าทหารสัมพันธมิตรจะยอมแพ้ และล่าถอยจากเกาะครีตไปทั้งหมด อังกฤษพยายามอย่างมากในการสกัดกำลังหนุนของเยอรมัน ซึ่งเป็นทหารราบจากกรมทหารราบอีก 3 กรม เพื่อโดดเดี่ยวทหารพลร่มบนเกาะ แต่กองทัพอากาศเยอรมันก็ทำลายกองเรือของอังกฤษ ที่วางกำลังสกัดกั้นเรือลำเลียงที่จะลำเลียงทหารราบเยอรมัน จนได้รับความเสียหายอย่างหนัก โดยเยอรมันสามารถจมเรือประจัญบานและเรือขนาดใหญ่ของอังกฤษได้ 6 ลำ อีก 2 ลำได้รับความเสียหายอย่างหนัก ส่วนทหารราบเยอรมันที่เป็นกำลังหนุน ก็สามารถยกพลขึ้นบกที่เกาะครีตได้ และเข้าร่วมกับทหารพลร่มเยอรมัน ทำการกวาดล้างทหารสัมพันธมิตรที่หลงเหลืออยู่ จนยอมแพ้ในที่สุด 
    (ภาพบน) ทหารพลร่มเยอรมัน จากกองพลพลร่มที่ 1 (1st Parachute Division) ซึ่งเดิมคือกองพลพลร่มที่ 7 ที่ทำหน้าที่บุกยึดเกาะครีต กำลังรอการบุกเข้ามาของทหารสัมพันธมิตร ในสมรภูมิที่มองเต คาสิโน (Monte Cassino) ในประเทศอิตาลี ในปี 1944 ปืนใหญ่ที่เห็น คือปืนใหญ่ของรถถังแบบ Stug III ซึ่งเป็นรถถังสนับสนุนทหารราบ โปรดสังเกตุระเบิดขว้างที่วางเรียงอยู่ที่ผนังเหนือศรีษะของทหารที่นั่งอยู่กับพื้น

       จากปี 1940 จนถึงปี 1944 ทหารพลร่มเยอรมัน ทำการรบในสมรภูมิต่างๆทุกสมรภูมิ ด้วยความกล้าหาญ เคียงข้างกับทหารราบ และทหารหน่วยอื่นๆของกองทัพเยอรมัน เป็นการรบที่สร้างชื่อเสียงให้กับเหล่าฟอลชริมเจเกอร์ หรือทหารพลร่มเยอรมัน จนได้รับการจัดอันดับให้เป็นหน่วยรบชั้นยอด (Elite Force) ของสงครามโลกครั้งที่ 2 หน่วยหนึ่ง

       การรบที่มองเต คาสิโนนี้ ทหารพลร่มเยอรมันต้องพบกับ พลตรี Freyberg ผู้บัญชาการทหารสัมพันธมิตรที่ต้องพ่ายแพ้ต่อเยอรมันในเกาะครีต ที่กลับมาบัญชาการทหารสัมพันธมิตร ในการบุกเข้าอิตาลี แต่ต้องพบกับการต้านทานอย่างเด็ดเดี่ยวที่มองเต คาสิโน ฝูงบินสัมพันธมิตรทิ้งระเบิดถล่มศาสนสถานและเมืองจนกลายเป็นซากปรักหักพัง แต่ทหารพลร่มเยอรมันก็อาศัยซากปรักหักพังเหล่านี้ เป็นป้อมปราการในการป้องกันที่มั่นของตน สมรภูมิที่คาสิโนสร้างความเสียหายให้กับทหารสัมพันธมิตรเป็นอย่างมาก ทหารสหรัฐอเมริกาต้องเสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหายไปกว่า 22,000 คน ซึ่งเท่าๆกับยอดผู้สูญเสียฝ่ายอังกฤษ ในขณะที่ทหารเยอรมันกลับสูญเสียเพียงเล็กน้อย และสามารถล่าถอยไปได้ ก่อนที่กองกำลังฝรั่งเศสเข้ายึด Monte Majo ได้ในวันที่ 13 พ.ค. 1944 และกองกำลังโปแลนด์ยึด Monte Cassino ได้ในวันที่ 17 พ.ค. 1944

       ทหารพลร่มเยอรมันในการรบที่ตูนีเซีย (Tunisia) ในปี 1943 ทหารคนที่อยู่หน้าสุด มีปืนกลมือแบบ MP 40 ขนาด 9 มม. เป็นอาวุธประจำกาย อาวุธชนิดนี้ เหมาะสำหรับทหารพลร่มเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีขนาดกะทัดรัด ไม่ยาวเกะกะ หรือสร้างปัญหาให้กับทหาร เมื่อต้องกระโดดออกจากเครื่องบิน และลงสู่พื้น แต่การรบที่ตูนีเซีย ทหารพลร่มเหล่านี้ ไม่ได้กระโดดลงมาจากฟากฟ้าเหมือนในช่วงต้นของสงครามอีกต่อไปแล้ว พวกเขาทำการรบแบบทหารราบ เคลื่อนพลด้วยยานพาหนะทางบก แต่ประสิทธิภาพ และความสามารถ ของทหารพลร่มเหล่านี้ ก็ไม่ได้ลดลงแต่อย่างใด

         หน่วยพลร่มเยอรมันที่ทำการรบในตูนีเซีย เป็นหน่วยที่ทำการรบในแอฟริกา ในนามของหน่วยแอฟริกา คอร์ (Afrika Korps) ซึ่งอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ จอมพลเออร์วิน รอมเมล (Erwin Rommel) ซึ่งหลังจากความพ่ายแพ้ในแอฟริกาที่ เอล อลาเมน (El Alamain) แล้ว หน่วยแอฟริกา คอร์ ก็ย้ายมาทำการรบที่ตูนีเซีย ก่อนจะพบจุดจบทั้งหน่วย ด้วยการพ่ายแพ้ต่อสัมพันธมิตร เป็นการปิดตำนานความกล้าหาญของหน่วยแอฟริกา คอร์ โดยเฉพาะกองพลยานเกราะที่ 21 (21st Panzer Division) อันลือชื่อ และหน่วยพลร่มที่ร่วมอยู่ในแอฟริกา คอร์นี้ด้วย  
       (ภาพบน) ภาพแสดงหมวกของทหารพลร่มเยอรมันด้านขวา ที่ติดแถบธงชาติเยอรมัน สี ดำ ขาว แคง ไว้ ในขณะที่อีกด้านเป็นสัญญลักษณ์ของกองทัพอากาศเยอรมัน (Luftwaffe) ในภาพจะเห็นสายรัดคาง ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี เพื่อความกระชับ ในขณะสวมใส่ 

         (ภาพล่าง) ภาพหมวกของทหารพลร่ม ที่ปฏิบัติการรบในแอฟริกา ในนามหน่วยแอฟริกา คอร์ (Afrika Korps) สีหมวกถูกเปลี่ยนเป็นสีกากี เพื่อพรางให้เข้ากับภูมิประเทศที่เป็นทะเลทราย

     (ภาพบน) ทหารพลร่มเยอรมันกองพลพลร่มที่ 1 ในการรบที่ มองเต คาสิโน (Monte Cassino) ประเทศ อิตาลี ในปี 1944 เครื่องแบบของทหารพลร่ม ในสมรภูมิแห่งนี้ ผสมปนเปกันทุกแบบ มีทั้งทหารพลร่ม ที่ใช้ชุดที่ใช้ในทะเลทราย คือ สีกากี ตลอดจนบางคนก็ใช้ชุดเครื่องแบบทหารอากาศธรรมดาสีเทา ในขณะที่บางส่วนใส่ชุดพรางสีเขียว น้ำตาล ที่ใช้ในป่าดังที่เห็นในภาพ

      

      (ภาพบน) ทหารพลร่มเยอรมัน ขณะรุกเข้าสู่ป่าอาร์เดนส์ (Ardennes) ในประเทศเบลเยี่ยม ในปลายปี 1944 โดยนั่งอยู่บนรถถังแบบ King Tiger ที่ทรงอานุภาพ หน่วยพลร่มที่เข้าร่วมในการรบในสมรภูมิแห่งนี้ ประกอบไปด้วย กำลังพลจากกรมพลร่มที่ 9 (9th Parachute Regiment) ของกองพลพลร่มที่ 3 ซึ่งขึ้นการบังคับบัญชากับกองทัพที่ 15 รุกไปทางเหนือ กองพลพลร่มที่ 5 เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 7 ซึ่งกองพลนี้สามารถประเดิมชัยชนะให้เยอรมันในการรุกครั้งนี้ โดยสามารถจับเชลยอเมริกันได้กว่า 1,000 คน รถถัง M 4 เชอร์แมนอีก 25 คัน  แม้ว่าการรบครั้งนี้ จะเป็นการรบแบบทหารราบของทหารพลร่มเยอรมัน แต่ก็ถือว่าเป็นการรบของหน่วยพลร่มครั้งสุดท้าย ภายใต้ชื่อรหัส สตอสเซอร์ (Stosser) เพื่อสนับสนุนการรุกของทหารเยอรมันหน่วยอื่นๆ

        ฮิตเลอร์ทุ่มเททุกอย่างที่มี ในการรุกเข้าสู่ทหารสัมพันธมิตร ในสมรภูมินี้ ทั้งอาวุธชั้นเยี่ยม และทหารชั้นยอด ไม่ว่าจะเป็นหน่วย เอส เอส และหน่วยทหารพลร่ม ภายใต้ชื่อยุทธการ Watch on the Rhine เพื่อตัดกองทัพน้อยที่ 8 ของสหรัฐอเมริกาออกเป็นช่องว่าง แล้วรุกเข้าสู่แม่น้ำเมิร์ส (Meuse) ก่อนที่จะเข้ายึดอานท์เวอร์ป (Antwerp) เป็นที่หมายสุดท้าย กำลังพลของเยอรมันมีกำลังพลสูงถึง 200,000 คน ภายใต้การนำของจอมพล เกิร์ด ฟอน รุดสเท็ดท์ (Gerd von Rundstedt) แต่ในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะใช้ทหารที่เยี่ยมยอด หรืออาวุธอันทรงอานุภาพเพียวใด ทหารเยอรมันก็ต้องพ่ายแพ้ เพราะไม่สามารถยึดเมืองบาสตอง (Bastogne) และถูกตีถอยร่นกลับไปในประเทศเยอรมันอีกครั้ง

        การรบในครั้งนี้ ทหารพลร่มเยอรมัน ที่ทำการรบแบบทหารราบ ต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนัก เช่นเดียวกับทหารเยอรมันหน่วยอื่นๆ ที่เข้าสู่สมรภูมิที่ป่าอาร์เดนส์แห่งนี้ กระแสน้ำแห่งความชัยชนะของเยอรมัน เมื่อครั้งเริ่มสงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่มีวันไหลกลับมาสู่อาณาจักรไรซ์ที่ 3 อันเกรียงไกรของนาซีเยอรมันอีกต่อไปแล้ว

    (ภาพบน) ทหารหน่วยพลร่มของเยอรมัน กำลังหลบกระสุนปืนใหญ่ของยานเกราะอังกฤษ ในการรบที่ตูนีเซีย ณ เมือง Tebouba-Djedeida ในวันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน 1942

      ทหารพลร่มเหล่านี้ เพิ่งเดินทางมาจากประเทศอิตาลี เพื่อสกัดกั้นการรุกเข้ามาของฝ่ายสัมพันธมิตร ฝ่ายเยอรมันมีกำลังพลกว่าหกหมื่นคน ประกอบด้วย ทหารเยอรมัน 47,000 คน ทหารอิตาลี 18,000 คน จัดกำลังเป็นกองทัพยานเกราะที่ 5 (5th Panzerarmee) ภายใต้การนำของพลเอก ฮันส์ เจอร์เก้น ฟอน อาร์นิม (Hans Jurgen von Arnim) กำลังเหล่านี้จะสมทบกับกำลังของหน่วยแอฟริกา คอร์ (Afrika Korps) ของจอมพลเออร์วิน รอมเมล ที่ถอยมาจากแอฟริกา

      ในขณะที่กำลังฝ่ายสัมพันธมิตร มีกำลังประมาณ 110,000 คน ส่วนใหญ่เป็นทหารสหรัฐอเมริกา ภายใต้ชื่อแผนยุทธการในการบุกครั้งนี้ว่า Torch ซึ่งการรุกของสัมพันธมิตรในครั้งนี้ ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม และชื่อของนายพล จอร์จ เอส แพทตัน (George S. Patton) ก็ปรากฏขึ้นบนหน้าประวัติศาสตร์นับจากนั้นมา เนื่องจากแพทตัน เป็นผู้บัญชาการกองพลน้อยที่ 2 ที่ยกพลขึ้นที่ซิซิลี (Sicily) และได้สร้างผลงานในการบัญชาการรบที่นี่ไว้อย่างยิ่งใหญ่ โปรดสังเกตทหารพลร่มคนขวาสุดของภาพ เป็นพลประจำเครื่องพ่นไฟ โดยจะเห็นถังเชื้อเพลิงอยู่ที่หลัง   
    (ภาพบน) ทหารพลร่มเยอรมัน ในการรบที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน ปี 1944 หน่วยพลร่มที่ทำการรบที่นอร์มังดีประกอบด้วย กองทัพน้อยพลร่มที่ 1 กองทัพน้อยพลร่มที่ 2 กองพลพลร่มที่ 2 กองพลพลร่มที่ 3 และกองพลพลร่มที่ 5 รวมทั้งกรมพลร่มที่ 6 ที่ทำการรบที่คาเรนแทน (Carentan) ซึ่งปรากฏในภาพยนตร์เรื่อง Band of Brother กำลังพลของหน่วยพลร่มเหล่านี้ ส่วนใหญ่มีอายุอยู่ที่เฉลี่ย 17 ปี เท่านั้น พวกเขาถูกนำมาฝึกทดแทนกำลังพลที่สูญเสียไป

      ทหารเหล่านี้ปฏิบัติการรบอย่างกล้าหาญ ในการต้านทานการบุกขึ้นฝั่งของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่เนื่องจากขาดแคลนการสนับสนุนในทุกๆด้าน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธหนัก ยานเกราะ ซึ่งล้วนตกเป็นเหยื่อของเครื่องบินสัมพันธมิตร ทหารพลร่มของเยอรมันจำนวนมาก เสียชีวิตในการรบที่นอร์มังดีแห่งนี้

    (ภาพบน) ทหารหน่วยพลร่มของเยอรมัน 3 คน สังกัดกรมพลร่มที่ 6 (6th Fallschirmjager Regiment) เสียชีวิตในการรบที่ Sainteny คาเรนแทน (Carentan) ประเทศฝรั่งเศส ในห้วงการรบในวันดี เดย์ ด้านหลังจะเห็นรถ Schiwmmwagen VW 166 ถูกทำลาย โดยมีทหารอเมริกัน 2 คน ซึ่งสังกัดกองพลทหารราบที่ 4 (4th Infantry Division) กำลังตรวจสอบอยู่ ทหารอเมริกันคนหนึ่งมีตราสัญญลักษณ์กาชาด ติดอยู่ที่ปลอกแขน 
    (ภาพบน) ทหารพลร่มเยอรมัน ในการรบที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ในเดือนมิถุนายน ปี 1944 พวกเขากำลังตั้งรับ รอการบุกของกองทัพน้อยที่ 19 ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งการโจมตีมีขึ้นในวันที่ 3 กรกฎาคม 1944 ท่ามกลางฝนที่ตกลงมาอย่างหนัก โปรดสังเกตุระเบิดขว้างที่วางอยู่ แสดงให้เห็นว่า การรบแบบประชิดตัวกำลังจะมีขึ้น

      กำลังพลของเยอรมันส่วนนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกองทัพที่ 7 ที่สูญเสียอย่างหนัก และร้องขอกำลังสนับสนุนจากจอมพล กุนเธอร์ ฟอน คลุก (Field Marchal Gunther von Kluge) แต่ความหวังของพวกเขาที่จะได้รับในสิ่งที่ร้องขอ ดูเลือนลางเต็มที อันเนื่องมาจากการครองอากาศของเครื่องบินสัมพันธมิตร บวกกับความขาดแคลนของกองทัพเยอรมันเอง 
    (ภาพบน) ชุดเครื่องยิงลูกระเบิด หรือ ปืน ค. ของกองพลพลร่มที่ 3 ในการรบที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส ในปี 1944 ภาพนี้ถ่ายเมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 1944 ในเวลานั้น กองพลพลร่มที่ 3 ประกอบกำลังด้วย 3 กรมพลร่ม แต่ละกรมประกอบด้วย 3 กองพันทหารพลร่ม และ 1กองร้อยเครื่องยิงลูกระเบิด 1 กองร้อยทหารช่าง และ 1 กองร้อยต่อสู้รถถัง กรมพลร่มบางกรมใช้เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มม.  บางกรมใช้ขนาด 100 มม. บางกรมใช้เครื่องยิงแบบ 6 ลำกล้องที่เรียกว่า Nebelwerfer กองพลพลร่มที่ 3 ในปี 1944 ก่อนวัน ดี เดย์ มีกำลังพลทั้งสิ้น 17,420 คน 
    (ภาพบน) พลเอก เคริทซ์ สตูเดนท์ (Kurt Student) คือผู้ให้กำเนิดหน่วยทหารพลร่มของกองทัพนาซีเยอรมัน เป็นผู้ผลักดันให้มีการใช้ทหารพลร่มในการรุก ในแนวคิดการรบแบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg) ของนาซีเยอรมัน เขาเกิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 1890 ที่เมือง Birkholz ในแคว้นปรัสเซีย ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศโปแลนด์ ในสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเป็นนักบินขับไล่ของกองทัพอากาศเยอรมัน ครั้นเมื่อนาซีเรืองอำนาจในเยอรมัน เขาได้เข้าร่วมกองทัพอากาศเยอรมัน และก่อตั้งหน่วยทหารพลร่มขึ้น

     เมื่อเขาเข้ามารับผิดชอบเป็นผู้บัญชาการกองพลปฏิบัติการทางอากาศที่ 7 เคริทซ์ สตูเดนท์ เป็นผู้วางแผนยุทธการเมอร์คิวรี่ ซึ่งเป็นการใช้กำลังทหารพลร่ม เข้ายึดเกาะครีต ในปี 1941 และในช่วงท้ายของสงคราม โดยเฉพาะในช่วงวัน ดี เดย์ ที่สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดี ประเทศฝรั่งเศส สตูเดนท์ มีส่วนร่วมในการวางแผนใช้หน่วยทหารพลร่มของเขา ต้านทานการบุกของสัมพันธมิตร  

      สตูเดนท์ถูกทหารอังกฤษจับกุมตัวในเดือน เมษายน 1945 ก่อนที่เยอรมันจะยอมแห้ และถูกคุมขังอยู่จนถึงปี 1948 จึงถูกปล่อยตัว และเสียชีวิตอย่างสงบในวันที่ 1 กรกฎาคม 1978
     พลเอก เคริทซ์ สตูเดนท์ กำลังตรวจแถวทหารพลร่มของเขา ในฝรั่งเศส เมื่อกลางปี 1944 ในระหว่างปี 1943 - 1944 หน่วยพลร่มได้มีการจัดหน่วยใหม่ และขยายหน่วยออกไปหลายหน่วย ในฤดูร้อน ปี 1944 สตูเดนท์ มีทหารพลร่มอยู่ประมาณ 30,000 คน หลายหน่วยมีการปรับหน่วย เนื่องมาจากประสบกับความสูญเสียอย่างหนักในการรบในรัสเซีย และในอิตาลี เช่น กองพลพลร่มที่ 2 ตั้งขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1943 โดยการรวมกรมพลร่มที่ 2 เข้ากับกองพันของกรมพลร่มปืนใหญ่ที่ 1 ในขณะที่กองพลพลร่มที่ 3 ก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในช่วงปลายปี 1943 เป็นต้น

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:25:33


ความคิดเห็นที่ 56


สุดยอดเลยครับ ขอข้อมูลกองทัพอากาศและกองทัพเรือด้วย
ขอบคุณครับ
โดยคุณ G-11 เมื่อวันที่ 25/02/2008 22:59:19


ความคิดเห็นที่ 57


 
src=http://www.ww2incolor.com/gallery/albums/german-navy/admiral_hipper_ww2c_new.sized.jpg
 

เรือลาดตระเวณหนัก ชั้น แอดมิรัล ฮิปเปอร์

เนื่องจากสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ได้ห้ามเยอรมันสร้างเรือที่มีขนาดเกิน10,000ตัน แอดมิรัล ฮิปเปอร์ จึงออกแบบให้มีระวางขับน้ำ12,500ตัน แต่จริงๆแล้วมีน้ำหนักมากสุดถึง18,600ตันทีเดียว โดยฮิปเปอร์นั้น ได้ต่อโดยกรรมวิธีเชื่อมประสานโดยไฟฟ้า ซึ่งทำให้เรือมีความคงทนกว่าการต่อแบบย้ำหมุดแบบเก่า

เรือชั้นฮิปเปอร์ ต้องการที่จะสร้างให้มีสมรรถภาพทัดเทียมกับเรือลาดตระเวณหนักชั้น อัลจีเรีย ของฝรั่งเศส และชั้น คันทรี ของอังกฤษ โดตติดตั้งอาวุธหลักคือปืน8นิ้ว และต้องการออกแบบเรือรุ่นนี้ให้มีระยะทำการ5,000ไมล์ทะเลที่ความเร็ว15นอต แตในการทดสอบ เรือชั้นฮิปเปอร์มีพิสัยทำการถึง6,500ไมล์ทะเลที่ความเร็ว17นอต

เรือฮิปเปอร์นั้นนับว่าเป็นเรือที่มีเทคโนโลยีสูงสุดในยุคนั้น ติดระบบนำร่องเรือที่ทันสมัย และนับว่าเป็นเรือที่มีความงดงามที่สุดลำหนึ่งของกองทัพเรือเยอรมันทีเดียว โดยเรือชั้นฮิปเปอร์ถูกใช้ในภารกิจคุ้มครองเส้นทางเดินเรือและรังควาญเส้นทางเดินเรือของข้าศึก

เรือชั้นนี้มีโครงการต่อมา5ลำ แต่สร้างเสร็จเพียง3ลำคือ แอดมิรัล ฮิปเปอร์ , บลูเชอร์ และ ปรินซ์ ออยเกน อีกสองลำ คือ เซย์ดลิทซ์ ได้ยกเลิกการก่อสร้าง และอีกลำคือ ตซาว์ ได้ขายให้กองทัพเรือโซเวียตเมือปี1941 และเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น เปรโตรปาฟลอฟต์

เรือทั้งสามลำได้ปฏิบัติการในสงครามทางทะเลในหลายสมรภูมิ โดยเรือบลูเชอร์ ถูกป้อมปืนกันฝั่งของนอร์เวย์ยิงจมที่อ่าวออสโล ในระหว่างการบุกนอร์เวยปี1940 แอดมิรัล ฮิปเปอร์ ถูกพันธมิตรยึดที่เมืองท่าคีล ในวันที่2เมษายน ปี1945 ส่วนปรินซ์ ออยเกน หลังเยอรมันยอมแพ้ อเมริกัน ได้ยึดเรือกลับไป และจมในภารกิจทดสอบระเบิดปรมาณูของอเมริกาที่หมู่เกาะบิกินี

ข้อมูล

ระวางขับน้ำ---14,050ตัน-18,600ตัน

ยาว--210เมตร

สูง--21.8เมตร

กินน้ำลึก--7เมตร

เครื่องยนต์----เครื่องจักรไอน้ำกำลัง1แสนแรงม้า

ความเร็ว--32.5นอต

อาวุธ---- ปืน8นิ้ว 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน40มม. 6กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 12กระบอก ปืน20มม. 8กระบอก ตอร์ปิโด21นิ้ว12นัด ทุ่นระเบิด 160ลูก

เกราะหนา--80-160มม.

พิสัยทำการ---8,000ไมล์ทะเลที่ความเร็ว20นอต

เครื่องบิน---อราโด 196 จำนวน 2-3ลำ

เรือในชั้น---5ลำ แอดมิรัล ฮิปเปอร์ บลูเชอร์ ปรินซ์ ออยเกน เซย์ดลิทซ์(ยกเลิกการสร้าง) ลุตซาว(ขายให้โซเวียตในปี1941)

src=http://www.schlachtschiffe.de/grafspee.jpg

เรือลาดตระเวนหุ้มเกราะชั้น ดอยช์ลันช์

แนวคิดการต่อเรือลำนี้เกิดขึ้นในปี1928 เยอรมัน ต้องการที่จะต่อเรือที่มีพร้อมทั้งประสิทธิภาพ ความสง่างาม และความเร็ว เพื่อชดเชยกำลังเรือรบที่สูญเสียไปในสงครามโลกครั้งที่1 แต่ติดที่ว่า เยอรมัน ได้เซนต์สนธิสัญญาแวร์ซาย์ ที่ห้ามเยอรมันต่อเรือที่มีขนาดระวางขับน้ำเกิน10,000ตัน ซึ่งเป็นอุปสรรคในการต่อเรือรบขนาดใหญ่ของเยอรมันอย่างมาก เยอรมัน จึงต้องออกแบบเรือรบตามหลักนิยมที่ว่า ต้องเร็วกว่าเรือที่ใหญ่กว่า(เรือประจัญบาน)และต้องทรงอานุภาพกว่าเรือที่เล็กกว่า(เรือลาดตระเวน เรือพิฆาต)

โครงการต่อเรือหุ้มเกราะชั้นดอยช์ลันช์จึงได้เริ่มต้นขึ้น ตัวเรือต่อด้วยกรรมวิธีแบบเชื่อมประสานด้วยไฟฟ้า ทำให้ตัวเรือมีความคงทนกว่าเรือที่ต่อแบบย้ำหมุด เพื่อเป็นการเพิ่มความเร็วให้กับเรือ จึงได้ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสองเพลาใบจักร ทำความเร็วได้ถึง28.5น็อต การติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลนี้เองทำให้เป็นต้นแบบในการสร้างเรือติดเครื่องจักรดีเซลในยุคต่อมา เรือยังติดระบบวิทยุสื่อสาร ระบบเรดาห์ และเครื่องมีถอดรหัสประมวลผลที่ทันสมัย ระบบอาวุธ เรือชั้นนี้ได้ติดตั้งปืนใหญ่ขนาด11นิ้ว 6กระบอก(2ป้อม ป้อมละ3กระบอก หน้าและหลัง) มีหอควบคุมการยิงแบบเรือรบขนาดเล็ก ทำให้ได้เรือที่ตรงตามหลัก เร็วกว่าเรือประจัญบานแต่ทรงอานุภาพกว่าเรือลาดตระเวนหรือเรือพิฆาต

เรือที่ออกแบบช่วงแรกนั้น มีขนาดระวาง10,200ตัน เพื่อไม่ให้ละเมิดสนธิสัญญา แต่ต่อมากลับมีการเพิ่มน้ำหนักเรือเป็น12,100ตัน ถึง16,400ตันเลยทีเดียว

เรือชั้นดอยช์ลันช์เข้าประจำการในกองทัพเรือเยอรมันในทศวรรษที่1930 จำนวน3ลำ ได้แก่ ดอยช์ลันช์,แอดมิรัล เชียร์ และแอดมิรัล กราฟสปีมันได้รับการยอมรับจากนาวีทั่วโลกว่า มันเป็นเรือที่ทรงอานุภาพแท้จริง และยังเป็นเรือที่เยอรมันภาคภูมิใจด้วย โดยได้เข้าร่วมการสวนสนามทางเรือทุกครั้ง การอวดธงยังน่านน้ำต่างประเทศ และในโอกาสงานต่างๆ

หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่สองเริ่มต้นในปี1939 เรือในชั้นทั้งสามลำ ได้เข้าร่วมปฏิบัติการรบทางทะเลทุกครั้ง โดยเน้นที่การโจมตีเส้นทางขนส่งทางทะเลของกองทัพพันธมิตร โดยเรือลำแรกที่จมคือ เรือ แอดมิรัล กราฟ สปี จมในวันที่17ธันวาคม ปี1939 ในการรบที่แม่น้ำพลาเต ประเทศอาเจนติน่า หลังได้ปฏิบัติการสร้างความเสียหายอย่างมหาศาลในการต่อตีเส้นทางเดินเรือของพันธมิตรในแอตแลนติก เรือลำต่อมาที่จมคือ เรือแอดมิรัล เชียร์ ที่ได้ปฏิบัติภารกิจต่อตีเส้นทางเดินเรือตั้งแต่แอตแลนติกถึงมหาสมุทรอินเดีย และถูกกองทัพอากาศอังกฤษทิ้งระเบิดจมที่เมืองท่าคีล ในปี1945 ส่วนเรือลำแรกของชั้น คือ ดอยช์ลันช์ ซึ่งต่อมาหลังการจมของเรือกราฟ สปี ก็ได้เปลี่ยนชื่อเรือ จาก ดอยช์ลันช์ เป็น ลึทโซ่ว์ ( ดอยช์ลั้นช์ แปลว่า ประเทศเยอรมัน เหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะว่า ถ้าเรือที่ชื่อเหมือนประเทศเยอรมันจมลงแล้ว ประเทศเยอรมันอาจล่มจมไปด้วย ) ลึทโซ่ว์อยู่รอดจนจบสงคราม และถูกโซเวียตยึดไปเป็นเรือเป้าซ้อมยิง และถูกนำไปจมที่ทะเลบอลติกในปี1949

เรือชั้นนี้ แม้จะมีประสิทธิภาพสูง แต่ก็มีจุดอ่อนที่น่ากลัว นั่นคือเกราะป้องกันข้างลำตัวเรือที่บางมาก โดยหนาเพียง3นิ้วเท่านั้น เนื่องจากข้อกำหนดในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มขนาดเกราะให้มากกว่านี้ได้ ถึงแม้จะเป็นสะเก็ดกระสุนปืนใหญ่ก็ตาม ก็สามารถสร้างความเสียหายอย่างหนักให้กับด้านข้างเรือที่เกราะบางที่สุดได้ จากการรบที่แม่น้ำพลาเตของเรือ กราฟ สปี ตัวเรือถูกสะเก็ดกระสุนจากเรือรบอังกฤษจนเสียหายอย่างหนัก ก่อนที่จะจมตัวเองลง และระบบความคุมการยิงของเรือ แม้จะมีปืนที่ทรงอานุภาพเทียบเท่าเรือประจัญบาน แต่ระบบควมคุมการยิงกลับไม่สามารถจับเป้าหมายพร้อมกันหลายเป้าได้ จำเป็นต้องมุ่งมั่นต่อเป้าเดียวเมื่อทำการรบ ด้วยจุดอ่อนดังกล่าวทำให้ในปี1940 เรือที่เหลืออยู่สองลำคือลุตโซว์(ดอยช์ลันช์) และแอดมิรัล เชียร์ จึงได้ถูกลดชั้นมาเป็นเรือลาดตระเวนหนัก ซึ่งเรือชั้นนี้จะสามารถรับภารกิจของเรือประเภทนี้ได้ดีกว่า

ข้อมูล

ระวางขับน้ำ--12,100 -16,400ตัน

ยาว--186เมตร

สูง-- 21.6เมตร

กินน้ำลึก---7.4เมตร

เครื่องยนต์---เครื่องยนต์ดีเซลแบบMANจำนวน8เครื่อง ใบจักรสองเพลา ให้กำลัง52,050แรงม้า

ความเร็ว--28.5น็อต

อาวุธ--ปืนใหญ่11นิ้ว(280มม.) 6กระบอก ปืนรอง 150มม. 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 6กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 8กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน 20มม. 10กระบอก ตอร์ปิโด21นิ้ว( 533มม.) 8นัด

เกราะ-- ดาดฟ้า 40มม. ข้างลำเรือ 80มม. ป้อมปืน 160มม.

ระยะทำการ---8,900ไมล์ทะเลที่ความเร็ว20น็อต

เครื่องบินทะเล---อราโด-196 จำนวน2ลำ

ลูกเรือ --- 1,150นาย

เรือในชั้น--3ลำ ได้แก่ ดอยช์ลันช์ หรือลึตโซว์ , แอดมิรัล เชียร์ และ แอดมิรัล กราฟ สปี

src=http://www.freedom.hu/IIvh/Fegyverek/Nemet/Flotta/Boats/scharnhorst.jpg

เรือชาร์นฮอร์สต์ ก่อนการปรับปรุง

src=http://imansolas.freeservers.com/Angelos/scharnhorst1.jpg

เรือชาร์นฮอร์สต์ หลังการปรับปรุง

เรือลาดตะเวณประจัญบาน ชั้น ชาร์นฮอร์สต์

เป็นเรือรบขนาดใหญ่ชั้นแรกที่เยอรมันต่อหลังแพ้สงครามโลกครั้งที่1 และถูกจับเซนสนธิสัญญาแวร์ซายส์ ที่ห้ามเยอรมันสร้างเรือขนาดใหญ่กว่า10,000ตัน แต่หลังการขึ้นสู่อำนาจของฮิตเลอร์ ที่ประกาศสร้างกองทัพขึ้นมา และการลงนามในสนธิสัญญาจำกัดกำลังทางเรือ อังกฤษ-เยอรมัน ที่สามารถให้เยอรมันสร้างเรือรบขนาดไม่เกิน35,000ตันได้ ทำให้ทางเยอรมัน จึงได้ออกแบบเรือชั้นกไนส์เนาส์ขึ้นมา

เรือลำแลกมีคำสั่งสร้างในปี1934 ภายใต้โครงการก่อสร้างเรือประจัญบานแบบD ติดปืน11นิ้ว 9 กระบอกแต่การก่อสร้างก็มีปัญหาขลุกขลักบ้าง ทำให้ต้องแก้แบบแปลนหลายครั้ง จนต้องวางกระดูกงูใหม่ในปี1939 และเรือลำแรกก็ได้เข้าประจำการในปี1938 คือเรือ ไกน์เนาส์ ตั้งชื่อมาจาก เรือลาดตระเวณหุ้มเกราะในสงครามโลกครั้งที่1เรืออีกลำในชั้นคือเรือ ชาร์นฮอร์ส ตั้งชื่อตามเรือในสงครามโลกครั้งที่1เช่นกันประจำการในปี1939 ซึ่งเรือทั้งสองลำเป็นเรือที่สวยงามที่สุดลำหนึ่งในยุคนั้น

หลังการทดสอบเรือ ได้พบว่า เรือมีปัญหาน้ำทะเลซัดสาดขึ้นมาหัวเรือ จึงออกแบบหัวเรือให้มีลักษณะเรียวยาวและเป็นทรงป้านเพื่อป้องกันน้ำทะเล มีการปรับปรุงหม้อน้ำ และสร้างโรงเก็บเครื่องบินทะเล

หลังสงครามเริ่มต้น เรือกไนส์เนาส์และชาร์นฮอร์ส ก็ถูกโจมตีชิมลางจากกองทัพอากาศอังกฤษในวันที่4กันยายน 1939 แต่เครื่องบินอังกฤษถูกยิงสกัดกั้นเสียก่อน หลังการทดสอบในทะเลบอลติก เรือง ชาร์นฮอร์ส และกไนเนาส์ ก็ปฏิบัติการรบครั้งแรกที่ชายฝั่งไอซ์แลน และได้ยิงจมเรือลำเลียงติดอาวุธของอังกฤษ ชื่อ ราวันพินดี ในวันที่21พฤศจิกายน 1939 ระหว่างวันที่7-12เมษายน 1940 ได้เข้าร่วมยุทธการ เวเซอร์บุง ในภารกิจบุกนอร์เวย ในวันที่8มิถุนายน เรือทั้งสองลำได้เข้าสนธิกำลังเป็นกองเรือเฉพาะกิจในยุทธการจูโน และสามารถจมเรือบรรทุกเครื่องบิน กลอเรียส เรือพิฆาติ อาร์เดนส์ และ อากัสตา ของอังกฤษได้

หลังจากนั้นเรือทั้งสองลำก็ทำหน้าที่โจมตีกองเรือลำเลียงของพันธมิตรในแอตแลนติกเหนือในปฏิบัติการ เบอร์ลินและกลับเข้าสู่ท่าเรือที่เมืองท่าเบรสต์ ในเขตยึดครองเยอรมันในฝรั่งเศส

ในปี1942 วันที่11-13 กุมภาพันธ์ กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์ส ก็ได้เข้าร่วมปฏิบัติภารกิจที่อันตรายที่สุดคือ ยุทธการเคลเบรรุส แม้ปฏิบัติการนี้จะเป็นการเคลื่อนกำลังจากเมืองท่าในฝรั่งเศสไปยังเมืองท่าวิลเฮล์มชาเฟนในเยอรมัน แต่ก็เป็นการเดินเรือผ่านเส้นทางเดินเรือที่อันตรายที่สุดในโลกคือ ช่องแคบอังกฤษ ที่เต็มไปด้วยทุ่นระเบิด เรือดำน้ำ เรือรบเรือตอร์ปิโด และเครื่องบินรบของฝ่ายอังกฤษที่ดักซุ่มอยู่ เรือกำลังหลักในยุทธการคือ ชาร์นฮอร์ส(เรือธง) กไนส์เนาส์ และเรือลาดตะเวณหนัก ปริ๊นซ์ ออยเกน คุ้มกันโดยเรือพิฆาติ6ลำ และเรือตอร์ปิโด24ลำ และเคลื่อนพลมาถึงเมืองท่าวิลเฮล์มชาดฟนได้ แต่ชาร์นฮอร์ส ถูกทุ่นระเบิดเสียหายอย่างหนัก ทำให้ต้องซ่อมแซมไปจนถึงสิ้นปี1942

เรือชาร์นฮอร์ส จมในวันที่26ธันวาคม 1943 ในยุทธการ ออสต์ฟรอนต์ โจมตีเส้นทางลำเลียงของพันธมิตรที่จะส่งไปยังรัสเซีย โดยชาร์นฮอร์สต์ ถูกเรือประจัญบาน ดยุก ออฟ ยอร์ค ของอังกฤษและเรือลำอื่นๆของอังกฤษยิงจม ลูกเรือกว่า1968คน เสียชีวิตเกือบทั้งหมด

หลังการจมของชาร์นฮอร์สทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำปืนใหญ่15นิ้ว 6กระบอก ไปติดตั้นบนเรือลำเดียวที่เหลือคือ กไนส์เนาส์ แต่ความคิดนี้ก็ถูกยกเลิก และป้อมปืน15นิ้วเหล่านั้นก็ถูกนำไปสร้างป้อมปืนรักษาฝั่งแทน

เรือ กไนส์เนาส์ ถูกยุบเป็นเศษเหล็กที่เมืองท่านโกเธนฮาเฟน(ปัจจุบันคือเมืองกดีเนีย ของโปแลนด์) ในวันที่23มีนาคม ปี1945

ข้อมูล

ระวางขับน้ำ--31,500-38,900ตัน

ยาว---2.5.4เมตร

สูง--30เมตร

กินน้ำลึก--9เมตร

เครื่องยนต์---เครื่องจักรไอน้ำ 3เครื่องยนต์ เครื่องจักรดีเซล 3เครื่องยนต์ กำลัง164,164แรงม้า ความเร็ว33น็อต

อาวุธ

กไนส์เนาส์

ปืนหลัก 11นิ้ว(280มม.) 9กระบอก ปืนรอง 150มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 14กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม.16กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. 10-16กระบอก ตอร์ปิโด 21 นิ้ว 6ท่อยิง

ชาร์นฮอร์ส

ปืนหลัก 11.1นิ้ว(283มม.) 9กระบอก ปืนรอง 150มม. ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 14กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 16กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน20มม. 10กระบอก (ต่อมาเพิ่มเป็น38กระบอก) ตอร์ปิโด 21นิ้ว 6ท่อ

เกราะ --- ข้างลำตัว 350มม.ป้อมปืน 360มม.ดาดฟ้า 95มม.

ระยะทำการ--- กไนส์เนาส์ 8,400ไมล์ทะเลที่ความเร็ว19น็อต ชาร์นฮอร์ส 10,100ไมล์ทะเลที่ความเร็ว19น็อต

เครื่องบินทะเล--3-4ลำ

กำลังพล --- 1,968นาย

เรือในชั้น--2ลำ กไนส์เนาส์ และ ชาร์นฮอร์ส

src=http://www.chuckhawks.com/bismark.jpg

เรือประจัญบานชั้น บิสมาร์ค

นี่คือเรือประจัญบาญเต็มรูปแบบชั้นแรกและชั้นเดียวของกองทัพเรือนาซีเยอรมัน และยังได้รับการกล่าวขวัญว่า เป็นเรือประจัญบานที่แข็งแกร่งที่สุดในโลกยุคนั้น

หลังการต่อเรือประจัญบานชั้นชาร์นฮอร์สต์ กองทัพเรือเยอรมันก็เริ่มวางแผนต่อเรือประจัญบานที่ใหญ่กว่าขึ้นมา เรือบิสมาร์ค(ตั้งชื่อตามรัฐบุรุษแห่งจักรวรรดิเยอรมัน) วางกระดูกงูในวันที่1มิถุนายน ปี1936 ที่อู่เรือบริษัทโบล์มแอนโฟท เมืองฮัมบูร์กและทำการปล่อยลงน้ำในวันที่14กุมภาพันธ์ ปี1939 โดยมี โดโรธี ฟอน โลเวนเฟล หลานของออตโต ฟอน บิสมาร์ค มาเป็นสุภาพสตรีในพิธีปล่อย และมีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ มาเป็นประธานพิธี

เรือน้องของบิสมาร์ค คือ ทีร์ปีตส์ ตั้งชื่อตามจอมพลเรือ อัลเฟรด ฟอน ทีร์ปีตส์ บิดาแห่งกองทัพเรือเยอรมัน วางกระดูกงูเมื่อวันที่2พฤศจิกายน 1936 ปล่อยลงน้ำวันที่1เมษายน 1939 ขึ้นระวางประจำการ ในวันที่25กุมภาพันธ์ ปี1941

เรือชั้นบิสมาร์คนั้น นับว่าใช้วิธีการต่อเรือที่แตกต่างจากวิธีการต่อของทุกชาติในขณะนั้น โดยใช้วิธีการต่อเรือแบบเชื่อมประสานโลหะโดยไฟฟ้า ทำให้แข็งแกร่งคงทนกว่าเรือที่ต่อแบบย้ำหมุดแบบเก่า และยังสามารถต่อเรือให้ขนาดใหญ่มากโดยที่น้ำหนักไม่มากได้ นอกจากเกราะที่หนาแล้ว เรือชั้นบิสมาร์คยังมีการออกแบบเรือให้มีระบบป้องกันความเสียหายในเรือด้วยการสร้างห้องเล็กๆแบ่งซอยมีผนังเหล็กกั้น ทำให้เวลาน้ำเข้าเรือ ลูกเรือสามารถผนึกกั้นน้ำในห้องเล็กๆเหล่านั้นได้ ทำให้เรือสามารถลอยลำได้นานแม้ถูกโจมตีอย่างหนัก

ภารกิจการรบครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของเรือบิสมาร์คเริ่มในวันที่16พฤภาคม ปี1941 ในรหัสยุทธการไรน์บุง เรือบิสมาร์คและเรือลาดตะเวณหนัก ปรินซ์ ออยเกน ภายใต้การบรรชาการของพลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ออกปฏิบัติการโจมตีกองเรือลำเลียงของอังกฤษจากแอตแลนติกเหนือลงมาถึงแถบแอตแลนติกตอนกลาง(แถบเส้นศูนย์สูตร) และได้แสดงการรบอย่างยอดเยี่ยม ในวันที่24พฤษภาคม กองเรือบิสมาร์ค ได้ปะทะกับเรือลาดตระเวณประจัญบาน ฮู้ด ซึ่งถือว่าเป็นเรือที่ทรงอานุภาพที่สุดในโลกของอังกฤษ และเรือประจัญบาน ปรินซ์ ออฟ เวลส์ เรือประจัญบานรุ่นใหม่ของอังกฤษ ที่ช่องแคบเดนมาร์ก(ระหว่างไอซ์แลนด์กับกรีนด์แลนด์) นักการทหารเรียกการรบครั้งนั้นว่ายุทธนาวีที่ช่องแคบเดนมาร์ก ผลการรบคือ บิสมาร์ค สำแดงพลังจมเรือฮู้ดได้ในการยิงกระสุนตับที่5 โดยเรือฮูเดระเบิดเป็นสองท่อนและจมอย่างรวดเร็ว และบิสมาร์คยังสามารถสร้างความเสียหายอย่างหนักให้แก่ ปรินซ์ ออฟ เวลส์ ได้อีก

หลังการรบ บิสมารื ได้แยกกับ ปรินซ์ ออยเกิน เพื่อหลบหนีอังกฤษ ฝ่ายอังกฤษจึงส่งกองบินทิ้งตอร์ปีโดจากเรือบรรทุกเครื่องบินเข้าโจมตีบิสมาร์ค ทำให้หางเสือบิสมาร์คเสียหาย ไม่สามารถปรับให้แล่นตรงได้ จึงต้องแล่นวนจนกองเรืออังกฤษตามมาทัน กองเรืออังกฤษ นำโดยเรือประจัญบาน รอดนี่ย์และ คิง จอร์จ ที่5 ได้ระดมยิงเรือบิสมาร์คอย่างหนัก จนทหารเรือเยอรมันบนบิสมาร์ค ต้องเปิดน้ำจมเรือตัวเอง เพื่อรักษาเกียรติของทหารเรือเยอรมันเอาไว้ ลูกเลือบิสมาร์ค2,200นาย รอดชีวิต 230นาย โดนผู้บรรชาการเรือ นาวาเอกเอิร์นส์ ลินเดอร์มานน์ และแม่ทัพเรือ พลเรือเอกกึนเธอร์ ลึทเจนต์ ได้พลีชีพโดยการจมไปพร้อมกับเรืออย่างกล้าหาญ

แต่การรบของบิสมาร์คนั้น ถือว่าเป็นยุทธนาวีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สอง เพราะเป็นการสู้อย่างสมศักดิ์ศรีของเรือรบที่เรียกได้ว่า แข็งแกร่งที่สุดในโลก (บิสมาร์คและฮู้ด) ไม่มีการรบทางทะเลใดๆในภายหลังจะเทียบเท่าการรบครั้งนี้ และยุทธการไรน์บุงยังเป็นชัยชนะทั้งทางยุทธวิธีและยุทธศาสตร์ของเยอรมัน ทางยุทธวิธีคือ สามารถจมเรือฮู้ด ที่ทรงพลังได้ ในทางยุทธศาสตร์คือ กองทัพเรือเยอรมันสามารถดึงกองทัพเรืออังกฤษทั้งหมดให้ขึ้นสู่แอตแลนติกเหนือเพื่อไล่ล่าบิสมาร์ค ทำให้เส้นทางลำเลียงทางทะเลของอังกฤษไม่ได้รับการคุ้มกัน เยอรมันจึงสามารถโจมตีกองเรือลำเลียงโดยง่าย

แต่หลังการจมของบิสมาร์ค ฮิตเลอร์ สั่งให้ลดการปฏิบัติการของกองเรือผิวน้ำขนาดใหญ่ลง เรือทีร์ปีตส์ที่เป็นเรือน้อง ก็ได้รับคำสั่งให้ไปประจำการในอัลตาฟยอต ในนอร์เวย์ เพื่อโจมตีกองเรือลำเลียงของพันธมิตรที่ส่งกำลังไปช่วยรัสเซีย แต่ทีร์ปีตส์ ก็แทบไม่ได้ออกจากท่าเลย โดยทีร์ปีตส์ ได้ยิงปืนใหญ่หลักแค่ครั้งเดียวคือ ยุทธการซิซิเลียน เรือทีร์ปีตส์ร่วมกับเรือชาร์นฮอร์สต์ คุ้มกันโดยเรือพิฆาติ9ลำ ไประดมยิงคลังอาวุธของอังกฤษบนเกาะสปริทซ์เบอร์เกนต์ ในวันที่23กันยายน ปี1943

ช่วงปี1943-1944 อังกฤษ ระดมโจมตีทีร์ปีตส์ทางอากาศอย่างหนัก ทีร์ปีตส์ ถูกเรือบินทิ้งระเบิดแบบแลงคาสเตอร์นะดมโจมตีจนเสียหายจอดที่ท่าในวันที่12พฤจิกายน 1944 ทีร์ปีตส์เสียหายหนัก จนไม่อาจซ่อมแซมและใช้งานได้อีก

ช่วงปี1948-1957 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการแยกชิ้นส่วนซากเรือทีร์ปีตส์ ที่จอดร้างในนอร์เวย์

ข้อมูลเรือ

ระวางขับน้ำ-ปกติ41,000ตัน สูงสุด 50,900ตัน(ทีร์ปีตส์ สูงสุด 52,600ตัน)

ยาว-- บิสมาร์ค 251เมตร ทีร์ปีตส์ 253เมตร

สูง--- 36เมตร

กินน้ำลึก--- 10.52เมตร (ทีร์ปีตส์10.61เมตร)

เครื่องจักร--- บิสมาร์ค - เครื่องจักรไอน้ำวากเนอร์ 12เครื่อง เพลาใบจักรของโบล์ม แอนด์ โฟสต์ 3เพลา กำลัง150,170แรงม้า

ทีร์ปีตส์ - เครื่องจักรไอน้ำวากเนอร์12เครื่อง เพลาใบจักรของบราว โบเวรี่ 3เพลา ให้กำลัง163,026แรงม้า

ความเร็ว--สูงสุด 30น็อต มัธยัธ 16น็อต

อาวุธ--- ปืนใหญ่หลักแบบSKC 34 ขนาด15นิ้ว(380มม.)4ป้อม รวม8กระบอก ปืนรอง 150มม. 12กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยาน105มม. 16กระบอก ปืน20มม. 18กระบอก(ในทีร์ปีตส์มีการติดตั้งเป็น78กระบอกในปี1944) ปืนต่อสู้อากาศยาน37มม. 16กระบอก ตอร์ปิโด 21 นิ้ว 8ท่อยิง(เฉพาะทีร์ปีตส์)

พิสัยทำการ-- 9,280ไมล์ทะเลที่ความเร็วมัธยัธ (16น็อต)

เกราะ --- ป้อมปืน 360มม. กราบเรือ 320มม. เกราะหอบังคับการ 350มม.

เครื่องบิน--- อราโด 196 จำนวน4ลำ

ลูกเรือ--- บิสมาร์ค 2,200นาย ทีร์ปีตส์ 2,608นาย

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 26/02/2008 00:59:38


ความคิดเห็นที่ 58


src=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/5/58/Ju_87D-1.jpg

Junkers (JU) 87 Stuka ยุงเกิร์ส 87 ชตูก้า

ชตูก้า ย่อมาจาก ชตูล์ซคามพ์ฟลูซอยก์ (Sturzkampfflugzeug) ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Drive Bomber หรือเครื่องบินดำทิ้งระเบิด มันคือเครื่องบินรบที่มีบทบาทสำคัญในการรบสายฟ้าแลบของเยอรมัน

โครงการผลิตชตูก้าเริ่มขึ้นเมื่อ เอิร์นส์ อูเด็ต จเรทหารอากาศเยอรมันได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาช่วงก่อนสงครามโลก และได้ชมการแสดงการดำทิ้งระเบิดของเครื่องบินแบบ เฮลไดรฟ์เวอร์ ของบริษัทเคอร์ติส และเกิดความประทับใจ จึงได้สั่งซื้อเครื่องบินจากเคอร์ติส2ลำเพื่อเป็นต้นแบบในการสร้างชตูก้า

ชตูก้า เริ่มผลิตในปี1936 เพื่อใช้ในภารกิจดำดิ่งทิ้งระเบิดด้วยความเร็วสูงเพื่อทำลายที่มั่นทางทหาร และสนับสนุนหน่วยรบภาคพื้นดิน มันได้ติดไซเรนไว้ มีชื่อเรียกว่า แตรแห่งเจลลิโคเพื่อในการทำสงครามจิตวิทยาเพื่อทำลายขวัญของข้าศึก ไซเรนจะดังเมื่อทำการดำทิ้งระเบิดข้าศึกจะเสียขวัญเมื่อได้ยินเสียงไซเรน แต่ต่อมาก็มีการถอดไซเรนนี้ออก เพราะจะเป็นการเปิดเผยเครื่องบินและทำให้ข้าศึกมีเวลาต่อต้านได้

ชตูก้าเป็นปัจจัยสำคัญในชัยชนะของกองทัพเยอรมันในการรบช่วงต้นสงคราม โดยในการรบที่โปแลนด์ ชตูก้าเป็นอาวุธสำคัญในการโจมตีที่มั่นทางทหารและจุดยุทธศาสตร์ แม้กระทั่งโจมตีหน่วยทหารโปแลนด์ที่กำลังทำการรบ แม้กระทั่งการสู้รบกับเครื่องบินขับไล่โปแลนด์ โดยนักบินชตูก้า ก็ได้สอยเครื่องบินรบโปแลนด์ตกได้

ในการรบครั้งสำคัญต่อมาคือ ยุทธนาการเหนือน่านฟ้าอังกฤษ โดยชตูก้าได้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดโจมตีภาคพื้นดินต่อเป้าหมายในอังกฤษ และก็ได้ปฏิบัติการในแนวรบตะวันออกระหว่างที่เยอรมันบุกรัสเซีย ต่อมาเยอรมันใช้เป็นกำลังหลักในการโจมตีเกาะครีตและเกาะมอลต้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และใช้รบในแอฟริกาเหนือ

ต่อมาได้มีการดัดแปลชตูก้าให้เป็นเครื่องบินต่อสู้รถถัง แนวคิดนี้เริ่มขึ้นระหว่างการรบในรัสเซีย กองทัพรถถังของรัสเซียจำนวนมหาศาลได้ถาโถมเข้ามาสู้แนวเยอรมัน จึงมีการทดลองนำปืนต่อสู้รถถังยิงเร็วขนาด37มม.2กระบอก ติดกระสุนเจาะเกราะทังสเตน ใช้ในการโจมตีรถถังโซเวียต ซึ่งก็ปฏิบัติการอย่างได้ผล และได้สร้างตำนานเสืออากาศแห่งเยอรมันนามว่า ฮานส์ อูลริค รูเดล ซึ่งทำลายรถถังด้วยชตูก้ารุ่นต่อสุ้รถถังไปเป็นจำนวนกว่า500คัน

ชตูก้า จะโจมตีด้วยการบินขึ้นที่ระดับความสูงระดับ4,600เมตร แล้จะดิ่งลงสู่เป้าหมายทำมุม60-90องศากับพื้นด้วยความเร็วสูงกว่า650กิโลเมตรต่อชั่วโมง ลูกระเบิดจะพุ่งลงมาด้วยความเร็วเท่ากับเครื่องบินและได้รับการส่งด้วยแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้เป้าหมายเบื้องล่างยากจะหหลบหลีก แต่การดำทิ้งระเบิดนี้ นักบินต้องเผชิญกับแรงจี(G)จากการดำดิ่งด้วย

ตั้งแต่ปี1936ถึง1944 มีชตูก้าถูกผลิตออกมามากว่า6,000เครื่อง ถึงแม้ว่าช่วงกลางสงครามเยอรมัน จะสามารถสร้างเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด ซึ่งใช้งานได้หลากหลายและประสิทธิภาพสูงกว่าชตูก้ามาใช้งานได้ แต่เยอรมัน ก็ได้ใช้งานชตูก้าในภารกิจโจมตีภาคพื้นดิน จนจบสงคราม

ข้อมูล

ยาว--10-11เมตร

กว้างรวมปีก--13เมตร

น้ำหนักบรรทุก--5,720กิโลกรัม

ความเร็ว--- 408กม/ชม ความเร็วเมื่อดำทิ้งระเบิด 650กม/ชม.

อาวุธ---ปืนกล 7.92มม. 4กระบอก ระเบิด1,800กิโลกรัม หรือปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง37มม. 2กระบอก

นักบิน--2นาย

พิสัยทำการ---1,000กิโลเมตร

จำนวนที่ผลิต---6,000เครื่อง

800px-Messerschmitt_Bf_109G-21.jpg

Messerschmitt Bf 109 เมสเซอร์ชมิตต์ บีเอฟ 109

เครื่องบินขับไล่ที่เป็นตำนานการสู้รบแห่งท้องฟ้าของกองทัพอากาศเยอรมัน มันเป็นเครื่องบินขับไล่รุ่นผลิตจำนวนมากของกองทัพอากาศเยอรมัน มีความเร็วและคล่องตัวสูง ติดอาวุธได้หลากหลาย และใช้งานตั้งแต่ต้นสงครามจนจบสงคราม

เครื่องบินรุ่นนี้ออกแบบโดย วิลลี เมสเซอร์ชมิตต์ แห่งสำนักออกแบบเครื่องบินเยอรมัน ที่นครบาเยิร์น โดยเริ่มออกแบบในปี1933 ร่วมกับบริษัทอื่นๆ ที่มาออกแบบเครื่องบินขับไล่ด้วยกัน รหัสในตอนแรกที่เรียกเครื่องบินรุ่นนี้คือ ME 109 โดยได้การออกแบบจากเครื่องบินแบบME 108 เครื่องบินลำเลียงของสายการบินลุฟฮันซา เครื่องทดสอบนั้นทำความเร็วได้400กิโลเมตรต่อชั่วโมง ต่อมาจึงมีการติดตั้งเครื่องยนต์แบบJumo 210 ของบริษัทยุงเกิร์ส มีกำลัง700แรงม้า ติดตั้งอาวุธปืนกล7.92มม หรือปืน 20มม. และเมื่อเครื่องต้นแบบออกแบบทดสอบเสร็จสิ้นในปี1935 จึงเริ่มได้มีการผลิตออกมาจำนวนมาก และเรียกชื่อเป็น BF 109

เยอรมันได้ผลิตเครื่องบินรุ่นนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ก่อนช่วงสงคราม และถือเป็นองคาพยพสำคัญของกองทัพอากาศเยอรมัน และเมื่อสงครามระเบิดขึ้น บีเอฟ109 ก็ได้เข้าปฏิบัติการรบทางอากาศทุกครั้ง โดยในการรบที่เกาะอังกฤษ ได้สร้างตำนานเสืออากาศขึ้นมามากมาย เช่น เอริค ฮาร์ตมาน ใช้บีเอฟ 109 สอยเครื่องบินอังกฤษแบบสปิร์ตไฟร์และเฮอร์ณิเคนตกเป็นจำนวนถึง352ลำ เกอร์ฮาร์ต บาร์กฮอร์นสอยได้301ลำ กึนเธอร์ ราลล์275เครื่อง เอริค ฮาร์ตมาน นับว่าเป็นสุดยอดเสืออากาศที่มีสถิติสอยเครื่องบินข้าศึกสูงที่สุดในโลก ไม่มีใครมาลบล้างได้และในแอฟริกาเหนือ ก็ได้มีตำนานของ ดาวแห่งแอฟริกา นั่นคือ ฮานส์ โยอาชิม มาซิลเลอร์ โดยได้ยิงเครื่องบินพันธมิตรตก158เครื่อง ในแนวรบตะวันออก บีเอฟ109 ได้ยิงเครื่องบินโซเวียตตกมากกว่า10,000ลำ

บีเอฟ 109 ได้มีการพัฒนาต่อยอดมากมายหลายรุ่น ทั้งรุ่นโจมตีทิ้งระเบิด รุ่นโจมตีเรือรบ รุ่นปฏิบัติการทางทะเล รุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน(แต่เรือบรรทุกเครื่องบินต่อไม่เสร็จ จึงยกเลิกการสร้าง) และยังติดอาวุธได้หลากหลาย

ตั้งแต่ช่วงกลางสงคราม ได้มีเครื่องบินขับไล่รุ่นใหม่ๆ ปรากฏตัวออกมาช่วงชิงสมรรถนะของบีเอฟ 109 และช่วงปลายสงคราม เยอรมันยังเน้นพัฒนาเครื่องบินไอพ่น ที่มีความเร็วสูงกว่า แต่บีเอฟ109 ก็ได้ถูกผลิตและใช้งานเรื่อยในภารกิจปกป้องน่านฟ้าเยอรมันจากการโจมตีทางอากาศของกองทัพพันธมิตรจนจบสงคราม และกองทัพอากาศหลายชาติก็ได้ใช้ในช่วงหลังสงคราม

ข้อมูล

ยาว--8.95เมตร

ปีกกว้าง---9.95เมตร

สูง--2.60เมตร

น้ำหนักบรรทุก---3,400กิโลกรัม

ความเร็ว--590กม./ชม.-640กม.-ชม.

อาวุธ---ปืนกล 7.92มม.หรือ13มม. 2กระบอก ปืนใหญ่อากาศ20มม. 2-4กระบอก สามารถเลือกติดตั้งอาวุธเพิ่ม ได้แก่ ปืนใหญ่อากาศ30มม. 2กระบอกใต้ปีก หรือจรวด2นัดใต้ปีก หรือ ระเบิด50กิโลกรัม4ลูกใต้ท้องสามารถบรรทุกถังน้ำมัน300ลิตรหรือระเบิด550ปอนด์ได้

นักบิน--1นาย

พิสัยทำการ---850กิโลเมตร เมื่อบรรทุกถังน้ำมันสามารถบินไกล1,000กิโลเมตร

จำนวนที่ผลิต--35,000เครื่อง

src=http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/98/Heinkel_HE111K.jpg

Heinkel He 111 ไฮน์เกล เอชอี 111

เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลางที่โด่งดังที่สุดรุ่นหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมันได้ใช้ในการรบทางอากาศครั้งสำคัญๆมากมาย

ไฮน์เกล 111 ในรุ่นแรกนั้น ออกแบบและโดยบริษัทไฮน์เกลโดย เอิร์นส์ ไฮนเกล ประธานบริษัทไฮน์เกล และ สองพี่น้องกึนเธอร์ ได้แก่ ซี๊กฟรี๊ด กึนเธอร์ กับ วอลเธอร์ กึนเธอร์ ในปี1934 เริ่มทำการผลิตในปี1935 และเครื่องบินรุ่นนี้ก็ได้ใช้งานในสายการบิน ลุฟฮันซา ของเยอรมัน

เครื่องรุ่นต่อมาที่จะใช้ประจำการในกองทัพอากาศเยอรมันนั้น ได้มีการติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่เป็นแบบ เดมเลอร์-เบ๊นซ์ DB 600 กำลัง950แรงม้า เพื่อเพิ่มความเร็ว ซึ่งต่อมาก็ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์เป็น DB 601 ที่ให้กำลังสูงกว่า ดัดแปลงตัวเครื่องให้บรรทุกระเบิดได้หนัก4,400ปอนด์ โดยเยอรมันได้นำเครื่องบินรุ่นนี้ประจำการเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดกลาง

ไฮน์เกล 111 ได้เข้ารบในหลายสมรภูมิ ตั้งแต่การบุกโปแลนด์ การบุกฝรั่งเศส และการบุกเกาะอังกฤษ ซึ่งในการรบเหนือเกาะอังกฤษนี่เองอัตราการสูญเสียของไฮน์เกล 111 มีมากขึ้นอย่างน่าตกใจ เพราะการขาดเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน ในการรบเหนือเกาะอังกฤษ เยอรมันได้พัฒนาเครื่องบินทิ้งระเบิด ยุงเกอร์ส์ 88 ที่บรรทุกได้มากกว่าและมีความเร็วสูงกว่าได้ แต่ก็มีจำนวนน้อย จึงต้องใช้ไฮนเกล 111 ที่ปรับให้บรรทุกระเบิดได้5,000ปอนด์ปฏิบัติการไปก่อน

และการรบในรัสเซีย ถึงแม้ไฮนเกล111 จะถล่มเมืองในรัสเซียพินาศไปจำนวนมากมาย แต่มันกลับไม่สามารถบินไปไกลถึงเทือกเขาอูราล แหล่งอุตสาหกรรมหลักของรัสเซียได้

ช่วงปลายสงคราม บทบาทของไฮนเกล 111 ยิ่งลดลง เพราะเยอรมันถุกบุกจากมางอากาศทุกด้าน ภารกิจทิ้งระเบิดจึงลดความสำคัญ และยังได้มีการผลิตรุ่น Zwieling หรือเครื่องบินคู่ สำหรับลากเครื่องร่อนขนาดยักษ์ แบบ ME 321 ด้วย

ข้อมูล

ยาว----16.4เมตร

กว้างรวมปีก--86.5เมตร

สูง-- 3.9เมตร

นักบิน--5นาย

น้ำหนักบรรทุกพร้อมบิน----14,075กิโลกรัม

อาวุธ

- ปืนกล 7.92มม. 7กระบอก

- ปืนใหญ่อากาศ 20มม. 1กระบอก

-ปืนกล 13มม. 1กระบอก

-ระเบิด 4,400ปอนด์ - 5,000ปอนด์

ความเร็ว--- 400กม/ชม

พิสัยบิน--2,800กิโลเมตร

BF-110s.jpg

Messerschmitt Bf 110 เมสเซอร์ชมิต บีเอฟ 110

บีเอฟ 110 เป็นเครื่องบินขับไล่/โจมตีขนาดหนักของเยอรมัน โดยได้ออกแบบตามความต้องการชองกองทัพอากาศเยอรมันที่ต้องการเครื่องบินขับไล่2เครื่องยนต์ที่สามารถบินได้ไกล เพื่อไปโจมตีดินแดนข้าศึกหรือคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด

บีเอฟ-110 บินครั้งแรกในวันที่12เมษายน ปี1936 และเริ่มผลิตจำนวนมากในปี1937 และได้ทำการรบครั้งแรกในสงครามกลางเมืองสเปน เมื่อสงครามโลกครั้งที่2เริ่มในปี1939 บีเอฟ 110 ได้แสดงบทบาทอย่างมากในการโจมตีโปแลนด์ ทั้งทางบกและทางอากาศ และต่อมายังได้แสดงบทบาทการรบอย่างยอดเยี่ยมในการบุกสแกนดิเนเวีย และการบุกฝรั่งเศสและกลุ่มประเทศต่ำในปี1940อีกด้วย

แต่ในการรบทางอากาศเหนือเกาะอังกฤษ นับว่าเป็นวันแห่งความหายนะของบีเอฟ-110 ถึงแม้ว่ามันจะเป็นเครื่องบินขับไล่ชนิดเดียวที่สามารถบินคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิดเข้าไปถึงเกาะอังกฤษได้ แต่ด้วยความอุ้ยอ้ายของมัน จึงไม่สามารถต่อสู้กับเครื่องบินขับไล่อังกฤษได้ ทำให้เยอรมันสูญเสียบีเอฟ110ไปมาก

เครื่องบินรุ่นนี้ยังได้เข้าร่วมการรบในคาบสมุทรบอลข่าน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และรัสเซียด้วย

กองทัพอากาศเยอรมันได้พัฒนาเครื่องบินรุ่นนี้หลายรุ่น ทั้งรุ่นโจมตีภาคพื้นดิน และรุ่นเครื่องบินขับไล่กลางคืน ซึ่งในช่วงท้ายสงคราม เครื่องบินรุ่นขับไล่กลางคืนนี้มีบทบาทอย่างมากในการป้องกันน่านฟ้าเยอรมันจากการโจมตีของฝ่ายสัมพันธมิตร

ข้อมูล

ยาว-12.3เมตร

กว้างรวมปีก-16.3เมตร

สูง-3.3เมตร

น้ำหนักบรรทุกสูงสุด--6,700กิโลกรัม

ความเร็วสูงสุด-590กม./ชม.

พิสัยทำการ- 2,410ถึง2,800กิโลเมตร

เครื่องยนต์- เดมเลอร์-เบนซ์ DB610 2เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ1,100แรงม้า

อาวุธ- ปืนใหญ่อากาศ20มม. 2กระบอก ปืนกล7.92มม. 5กระบอก

จำนวนที่ผลิต-- ประมาณ15,000ลำ

นักบิน-2นาย และ3นายในรุ่นขับไล่กลางคืน

Junkers_88_1.jpg

Junkers Ju-88 ยุงเคอร์ เจยู88

นี่เป็นเครื่องบินที่เรียกได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังของกองทัพอากาศเยอรมันเลยทีเดียว เพราะมันเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดที่ใช้งานได้มากมาย ทั้งทิ้งระเบิด ตรวจการณ์ ขับไล่ทั้งกลางวันและกลางคืน โจมตีภาคพื้นดิน ลำเลียงพล ลาดตระเวณและเป็นเครื่องบินทิ้งตอร์ปิโดด้วย

การออกแบบเริ่มขึ้นโดยสำนักงานออกแบบเครื่องบินแห่งเยอรมัน โดยกองทัพอากาศต้องการเครื่องบินทิ้งระเบิดความเร็วสูงที่มีพิสัยบิน2,000กิโลเมตร บรรทุกระเบิดหนัก800-1,000กิโลกรัม และยุงเคอร์ส88 เครื่องต้นแบบ3ลำได้ทดลองบินในวันที่21ธันวาคม ปี1936 ก่อนจะถูกผลิตจำนวนมากในปี1939 และระหว่างการบุกโปแลนด์ เจยู88จำนวน12เครื่องได้ไปทดสอบการรบในโปแลนด์ด้วย

เมื่อรสงครามระเบิดขึ้น เจยู88 ได้เป็นเครื่องบินหลักในการเข้าโจมตีอังกฤษ โดยในวันที่16ตุลาคมปี1939 ได้โจมตีฐานทัพเรืออังกฤษที่โรซิธ สร้างความเสียหายให้กับเรือ3ลำ และต่อมายังได้โจมตีฐานทัพเรือที่สปาการ์ โฟลว์ อีกด้วย ในการบุกฝรั่งเศสและประเทศต่ำ เจยู88 ได้เข้าร่วมการรบอีกเช่นกัน

ในการรบเหนือเกาะอังกฤษ เจยู88 เป็นหนึ่งในเครื่องบินทิ้งระเบิดที่เข้าโจมตีอังกฤษและสามารถทำลายเมืองในอังกฤษได้มากมาย แต่อัตราการสูญเสียก็มากเช่นเดียวกันเพราะขาดเครื่องบินขับไล่คุ้มกัน

เจยู88 ใช้งานได้หลากหลาย เมื่อแนวรบเยอรมันชยายยาวออกไปและการโจมตีทางอากาศต่อเยอรมันรุนแรงขึ้น เครื่อบบินรุ่นนี้ก็ได้ถูกปรับปรุงใช้งานหลายรูปแบบ ทั้งขับไล่กลางคืน โจมตีภาคพื้นดิน และรบรับใช้กองทัพเยอรมันจนสิ้นสุดสงคราม

ข้อมูล

ยาว-14.2เมตร

กว้างรวมปีก- 18เมตร

สูง-14เมตร

น้ำหนักบรรทุก-7,700กิโลกรัม

เครื่องยนต์--ยุงเคอร์ส จูโม211 จำนวน2เครื่องยนต์ ให้กำลังเครื่องละ1,200แรงม้า

ความเร็ว--510กม/ชม.

พิสัยทำการ--2,108กิโลเมตร

อาวุธ-- ปืนกล 7.92มม. 7กระบอก ระเบิด5,511ปอนด์ และ/หรือ ตอร์ปิโด และอาวุธอื่น(แล้วแต่ภารกิจ

นักบิน--4นาย

จำนวนที่ผลิต--15,000เครื่อง

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 26/02/2008 01:02:32


ความคิดเห็นที่ 59


ขออภัย รูป ไม่ขึ้น โทดที
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 26/02/2008 01:05:22


ความคิดเห็นที่ 60


1. M-14

ปืน M-14 ถึงคิดขึ้นเมื่อปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อทหารต้องการปืนที่ยิงได้เร็วและมีความแม่นยำปืน M-14 จึงได้ถือกำเนิดขึ้นและเป็นปืนที่มีความแม่นยำสูงแต่ M-14 ก็มีปัญหาของตัวองคือเมื่อทำการยิงแบบยิงแบบอัตโนมัติแล้วปืนจะส่ายอย่างรุนแรงและมีหลายรุ่นอย่าง M14E1,M14E2/M14A1,M14K,M21,XM25

ข้อมูล

ประเภทService rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1957-ปัจจุบัน

จำนวนผลิต ประมาณ1,380,000 กระบอก

รุ่นอื่นๆ M14E1,M14E2/M14A1,M14K,M21,XM25

หนัก 4.5 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,118/599mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 20 นัดBox Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง700-750 นัด/นาที

ระยะหวังผล800+ m.

2 M-16

ปืนไรเฟิลที่โด่งดังไปทั่วโลกออกแบบมาจากการดัดแปลงปืน M-14 ถูกใช้ในสงครามเวียดนาวตอนแรกๆทหารไม่ค่อยเชื่อในว่ากระสุนแบบ 5.56 มันจะมีพลังในการทำลายล้างแต่เมื่อมันได้ออกรบและสามารถสังหารข้าศึกได้ด้วยความแม่นยำแต่มันก็มีปัญหาคือถ้าปืนไม่ได้รับการทำความสะอาดบ่อยๆปืนจะขัดลำง่ายและมีหลายรุ่นอย่าง M4A1,XM117,CAR15,SR25 ฯลฯ

ข้อมูล

ประเภทService rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1960-ปัจจุบัน

จำนวนผลิต ประมาณ8,000,000 กระบอก

รุ่นอื่นๆ M16A1,M16A2,XM16E1,M16A3,M16A4,XM-117,AR-15,SR-15

หนัก - kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,006/508mm.

ขนาดกระสุน5.56 mm.

บรรจุ 20,30นัดDetachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง750-900 นัด/นาที

ระยะหวังผล55 m.

3M4A1

ปืนที่ได้รับการดัดแปลงจาก M16A2 ให้มีขนาดเล็กลงเหมาะสำหรับหน่วยรบพิเศษที่ต้องการความคล่องตัวในการรบสามารถติดอุปกรณ์เสริมได้หลายแบบจึงเป็นที่นิยมไปทั่วโลก

ข้อมูล

ประเภทAssault rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1994-ปัจจุบัน

หนัก 2.52 kg.

ยาว757 mm.(stock retracted)

838 mm.(stock extended)

ลำกล้องยาว 368.3mm.

ขนาดกระสุน5.56 mm.

บรรจุ 20,30นัดDetachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง750-900 นัด/นาที

4 Colt AR-15

ปืนที่ได้ออกแบบมาก่อน M-16 แต่ได้ผลตมาใช้หลัง M-16 โดยทำเป็นแบบSemi-automatic ทำให้สามารยิงต่อเนื่องได้มีขนาดเล็กกว่า M-16 จึงเหมาะกับหน่วยรบพิเศษ

ข้อมูล

ประเภทAutomatic rifle/Semi-automatic rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1963-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Eugene Stoner

หนัก 2.27 kg - 3.9 kg

ยาว/ลำกล้องยาว508/254mm.

ขนาดกระสุน .223 Remington(5.56 mm.)

บรรจุ

-10,20,30,40นัดDetachable Box Magazine

-50,90,100 นัด Drum Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง800 นัด/นาที

ระยะหวังผล550 m.

5 SR-25

ปืนที่ได้รับการดัดแปลงจาก M-16 ให้เป็นไรเฟิลซุ่มยิงที่สามารถยิงได้อย่างต่อเนื่องและมีความแม่นยำสูงมากส่วนมากแล้วจะใช้โดยหน่วย SEAL ของสหรัฐ

ข้อมูล

ประเภทSniper rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

หนัก Match Rifle 4.88kg, LwMatch 4.31kg, Carbine 3.52kg, Sporter 3.97kg.

ยาว 1,118 mm.

ลำกล้องยาว Match Rifle 24(610mm.)

(also LwMatch & Sporter 20 (508mm), Carbine 16 (406mm))

ขนาดกระสุน7.62 mm.

บรรจุ 5,20นัดDetachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt,Semi-auto

6 M-60

ปืนกลที่สหรัฐใช้สนับสนุนทหารในช่วงสงครามเวียดนามเป็นอาวุธที่ได้รับความนิยมสูงเนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปกับเหล่าทหารราบได้แลยังสามารถติดตั้งบนรถถังหรือฮ.ก็ได้แต่ในรุ่นแรกมันมีความยาวมากไม่เหมาะกับหน่วยรบพิเศษแต่ในรุ่นใหม่ๆอย่าง M60E4มันมีลำกล้องที่สั้นลงมากเพื่อให้เหมาะกับหน่วยรบพิเศษ

ข้อมูล

ประเภทMachine gun

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1957-ปัจจุบัน

รุ่นอื่น M60E1,M60E2,M60E3,M60E4,M60B,M60C,M60D

หนัก 10.5 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว1,077/560mm.

ขนาดกระสุน7.62 mm.

ระบบการทำงาน Gas-operated,Open bolt

อัตรายิง~550 นัด/นาที

ระยะหลังผล ใกล้สุด 1,100 m.

ไกลสุด 3,725 m.

7 M-249 Squad Automatic Weapon (SAW)

หรือในอีกชื่อคือMinimi ปืนกลระดับหมู่ปืนเล็กของกองทัพบกเบลเยียมมีกระสุนขนาดเล็กกว่า M-60 ถูกใช้เพื่อสนับสนุนทหารราบมีนน.ที่เบาจึงเคลื่อนย้านได้ง่ายและมีความแม่นยำสูงและผลิตออกมาหลายรุ่น

ข้อมูล

ประเภท Lightmachine gun

ผู้ผลิต เบลเยี่ยม

รุ่นอื่นๆ M15A2 BFA,XM249,XM249E1,XM249E2/M249,M249E3

หนัก 6.9kg.

ยาวSAW 1,038 mm (41 in) PARA: 914mm (stock extended), 766mm (stock compressed)

ลำกล้องยาว 465mm.

ขนาดกระสุน5.56 mm.

บรรจุ

-200 นัด M27 disintegrating belts

-100,200 นัด reusable soft packs

-100 นัด Beta C-Mag

-30 นัด STANAG (M16) magazines

ระบบการทำงาน Gas-operated,Open bolt

อัตรายิง750 นัด/นาที with linked

1,000 นัด/นาที with M-16 Magazine

ระยะหลังผล 1,000 m.

8 M-240

ปืนกลM-240ชื่อเดิมคือFN MAGมันเป็นปืนกลขนาดกลางที่เข้าประจำการแทนM-60และยังประจำการอยู่จนถึงในปัจจุบันทั้งสหรัฐและอีกหลายๆประเทศ กองทัพบกสหรัฐใช้M-240มาตั้งแต่ปี1970ใช้อย่างกว้างขวางโดยใช้ทั้งในหมู่ทหารหรือติดตั้งบนยานพาหนะหรืออากาศยานมันไม่ใช้ปืนกลเบาที่สุดในปืนกลขนาดกลางแต่มันได้รับการยอมรับอย่างสูงและมีหลายรุ่นเช่นM-240E4/M-240B,M-240C

ข้อมูลทั่วไป

ประเภท Machine gun

ผู้ผลิต สหรัฐ

ปีประจำการ 1977-ปัจจุบัน

รุ่นอืนๆ M-240E4/M-240B,M-240C,M-240G,NMCB-74

หนัก 12.5kg.

ยาว/ลำกล้อง 1,245/627mm.

ขนาดกระสุน 7.62mm.

บรรจุ 100-200 นัด Disintegrating Belt

ระบบการทำงาน Gas-operated reloading,Open bolt

อัตรายิง 650-950 นัดต่อนาที

ระยะหลังผล/ระยะไกลสุด 1,800/3,725m.

9 M-24

ปืนไรเฟิลแบบM-24เป็นปืนที่พลซุ่มยิงของกองทัพสหร้ฐใช้มาช้านานแล้วมีความแม่นยำสูงมากและเป็นไรเฟิลลูกเลื่อนที่นิยมอย่างรวดเร็ว

ข้อมูลทั่วไป

ประเภท Sniper rifle

ผู้ผลิต สหรัฐ

ปีประจำการ 1988-ปัจจุบัน

หนัก 5.5kg.

ยาว/ลำกล้อง 1,092/610mm.

ขนาดกระสุน 7.62mm.NATO,.300 Winchester Magnum

บรรจุ 5 นัด Internal Magazine

ระบบการทำงาน Bolt-action

อัตรายิง -

ระยะหลังผล 800m.

10 M-21

ปืนไรเฟิลซุ่มยิงแบบM-21ไม่ใช่ปืนที่ใหม่อะไรมันเป็นปืนที่ดัดแปลงมาจากM-14โดยรวมๆแล้วแทบจะไม่มีข้อแตกต่างกันเลย

ข้อมูล

ประเภทSniper rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1969-1988

ผู้ออกแบบ Army Weapons Command

หนัก5.27 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,118/560mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 5,10,20 นัด DetachableBox Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

ระยะหวังผล690 m.

11 M82A1 Barrett

ปืนM82A1เป็นปืนไรเฟิลที่มีอำนาจการทำลายล้างสูงที่สุดสามารถยับยั้งยานเกราะได้ด้วยการยิงเพียงนัดเดียว(พลยิงต้องมีความแม่นยำสู้นะ)สามารถเจาะเกราะกันกระสุนได้ทุกชนิดเป็นอาวุธที่มีน้ำหนักมากพอควร

ข้อมูล

ประเภทSniper rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1989-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Army Weapons Command

หนัก33lb.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,129หรือ1,148/737mm.

ขนาดกระสุน12.7 mm.(.50cal)

บรรจุ 10 นัดBox Magazine

ระบบการทำงาน Recoil operation,Rotating bolt

ระยะหวังผล1000 m.

12 M-40 rifle

ปืนไรเฟิลM-40เป็นไรเฟิลลูกเลื่อนเหมือนM-24เป็นไรเฟิลที่ใช้โดยหน่วยนาวิกโยธินสหรัฐโดยผลิตออกมา3รุ่นคือM-40,M40A1,M40A3โดยรุ่นแรกผลิตมาในปี1966รุ่นที่2ในปี1970และรุ่นสุดท้ายในปี2000

ข้อมูล

ประเภทSniper rifle

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1966-ปัจจุบัน

หนัก

-M40A1 6.51kg.

-M40A3 7.5kg.

ยาว/ลำกล้องยาว

-M40A1 1,117/610mm.

-M40A3 1,124/610mm.

ขนาดกระสุน7.62 mm.

บรรจุ5 นัดDetachableBox Magazine

ระบบการทำงาน Bolt-action

ระยะหวังผล1500 yards

13 M-79

ปืนM-79เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดที่ใช้ในสงครามเวียดนามมีอำนาจการทำลายสูงเป็นที่นิยมกันมากแต่พลยิงจะมีปืนพกไว้ป้องกันตัวเท่านั้นและในปัจจุบันทหารจะนิยมปืนM-203มากกว่า

ข้อมูล

ประเภทGrenade launcher

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

ปีประจำการ 1961-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Springfield Armory

ออกแบบเมื่อ 1953-1960

โรงงานผลิต Colt

จำนวนผลิต มากกว่า 350,000(เฉพาะกองทัพสหรัฐ)

หนัก

-2.93 kg. เมื่อบรรจุกระสุน

-2.7 kg.เมื่อไม่บรรจุกระสุน

ยาว/ลำกล้องยาว 73.1/35.7cm.

ขนาดกระสุน40mm.

บรรจุ1 นัด

ระบบการทำงาน Break open

อัตรายิง 6นัด/นาที

ระยะหวังผล350m.

14 M-203

ปืนM-203ถูกสร้างขึนเพื่อมาแทนM-79โดยการใช้งานเหมือนกันเพียงแต่M-203สามารถติดอยู่ใต้ปืนไรเฟิลได้ทำให้พลยิงมีอาวุธป้องกันตัวและยังมีเครื่องยิงลูกระเบิดด้วยสามารถติดกับปืนได้หลายแบบเช่นM-16,TAR-21,Steyr AUG,FAMSA,XM-8 ฯลฯ

ข้อมูล

ประเภทGrenade launcher

ผู้ผลิต สหรัฐฯ

หนัก1.3kg.เมื่อไม่บรรจุกระสุน

ลำกล้องยาว 305 mm.

ขนาดกระสุน40mm.

บรรจุ1 นัด

ระบบการทำงาน Single shot

อัตรายิง 5-7นัด/นาที

ระยะหวังผล150m.

15 AG-36

ปืนAG-36ใช้เหมือนM-203เพียงแต่เวลาบรรจุจะบรรจุทางด้านข้างเท่านั้นและยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมถ้าเทียบกับM-203

ข้อมูล

ประเภทGrenade launcher

ผู้ผลิต เยอรมัน

โรงงานผลิต HK

หนัก1.49kg.เมื่อไม่บรรจุกระสุน

ยาว/ลำกล้องยาว 279/89 mm.

ขนาดกระสุน40mm.

บรรจุ1 นัด

16 GP-30

ปืนGP-30เป็นเครื่องยิงลูกระเบิดของฝ่ายรัสเซียมีรูปร่างที่เล็กกว่าM-203ของสหรัฐการใช้งานเหมือนๆกันใช้ติดกับปืนAKและมีหลายรุ่น

ข้อมูล

ประเภทGrenade launcher

ผู้ผลิต รัสเซีย

รุ่นอื่นๆ BG-15,GP-25

หนัก1.3kg.

ยาว 276 mm.

ขนาดกระสุน40mm.

บรรจุ1 นัด

อัตรายิง 4-5 นัด/นาที

ระยะหวังผล 400m.

17 Milkor MGL

ปืนMGLเป็นเครื่องยิงลูกระเบิดแบบต่อเนื่องสามารถยิงได้ถึง6นัดและสามารถหยุดรถถังได้ถ้ายิงรัวๆใส่จุดเดียวกันมีใช้กันในหลายๆประเทศและหน่วยปราบจราจล

ประเภท Grenade launcher

ผู้ผลิต แอฟริกาใต้

ผู้ออกแบบ Armscor

ปีประจำการ 1983-ปัจจุบัน

หนัก 5.9kg.

ยาว

-812mm.stock extended

-711mm.stock collapsed

ลำกล้องยาว 310mm.

ขนาดกระสุน 40mm.

บรรจุ 6 นัด non-removable cylinder

ระบบการทำงาน Double Action

อัตรายิง

-2 นัด/วินาที Semi-auto

-18 นัด/นาที Sustained

ระยะหวังผล 375m.

18 HK G-36

ปืนไรเฟิลจู่โจมของกองทัพบกเยอรมันที่เป็นที่นิยมมากในหลายประเทศมีหลายรุ่นทั้งแบบไรเฟิลจู่โจมหรือแบบปืนกลสนับสนุนใช้ในหน่วยรบพิเศษต่างๆหรือแม้แต่หน่วยSWATก็ใช้และยังมีใช้หน่วยTHAI SEALด้วยนะรุ่นที่หลายคนรู้จักก็มีG-36C,G-36E,G-36K,MG-36

ข้อมูล

ประเภทAssault rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน

ปีประจำการ 1995-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Heckler & Koch (H&K)

รุ่นอื่นๆ G-36C,G-36E,G-36K,MG-36,SL 8-1

หนัก

-G-36Standard 4.0kg.

-G-36K Kurz (Short) 3.7kg.

-G-36CCompact/Commando 3.2kg.

-MG-36 Light Machine Gun 4.0kg.

-G-36E Export 3.7kg.

-G-36KE Kurz Export 3.4

-MG-36E Light Machine Gun Export 3.7kg.

-SL 8-1 Civilian 4.4kg.

ยาว/ลำกล้องยาว

-G-36Standard 758/480mm.

-G-36K Kurz (Short) 615/318mm.

-G-36CCompact/Commando 500/228mm.

-MG-36 Light Machine Gun 758/480mm.

-G-36E Export 758/480mm.

-G-36KE Kurz Export 615/318mm.

-MG-36E Light Machine Gun Export 758/480mm.

-SL 8-1 Civilian -/510mm.

ขนาดกระสุน5.56 mm.

บรรจุ

-10,30นัด Detachable Box Magazine

-100 นัด C-Mag Drum Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง750 นัด/นาที

ระยะหวังผล200-800 m.

19 HK PSG-1

ปืนไรเฟิลซุ่มยิงPSG-1(Präzisions-Scharfschützen-Gewehr)ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดในโลกถูกใช้ทั้งในกองทัพและหน่วยSWATมีความแม่นยำสูงมากและเป็นแบบSemi auto Sniper rifle

ข้อมูล

ประเภทSniper rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน

ปีประจำการ 1970-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Heckler & Koch (H&K)

หนัก 8.10kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,200/650mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 5,20 นัด DetachableBox Magazine

ระบบการทำงาน Roller-delayed blowback

ระยะหวังผล1,000 m.

20 MG-3

ปืนกลที่ได้รับการดัดแปลงจากปืนกลMG-42ในสมัยสงครามโลกครั้งที่2โดยรวมๆแล้วก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรมากนักโดยเปลี่ยนขนาดกระสุน

ข้อมูล

ประเภทGeneral Purpose Machine Gun

ผู้ผลิต เยอรมัน

ปีประจำการ 1968-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Rheinmetall

หนัก

-10.5kg.

-11.5kg.with bipod

ยาว 1,225mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ

-50 นัด Non-Dsintegrating Belts (can be combined in drum)

-120 นัด Disintregrating Delt (in plastic box).

ระบบการทำงาน Recoil operation

อัตรายิง 1,150 นัด/นาที

ระยะหวังผล

-800 m. (bipod)

-1,500 m. (mounted)

21 MG-4

ปืนกลMG-4ที่ออกแบบโดยHKในขื่อinfantryman of the futureสำหรับกองทัพบกเยอรมันโดยการดัดแปลงมาจากMG-3และอีกหลายปืนเช่นM-240,M-249

ข้อมูล

ประเภทLight Machine Gun

ผู้ผลิต เยอรมัน

ผู้ออกแบบ Heckler & Koch (H&K)

หนัก 7.9kg.

ยาว 1,225mm.

ขนาดกระสุน5.56 mm.

ระบบการทำงาน Gas-operated, rotating bolt

ระยะหวังผล1,000m.

22 HK MP-5

ปืนกลมือที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกโดยพัฒนาจากปืนกลMP-54ใช้โดยหน่วยตำรวจและหน่วยทหารเกือบทุกประเทศและยังมีอีกหลายรุ่นให้เลือกใช้งานด้วยและสามารถติดอุปกรณ์เสริมได้อีกด้วย

ข้อมูล

ประเภท Submachine gun

ผู้ผลิต เยอรมัน

ปีประจำการ 1966-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Tilo Möller, Manfred Guhring,Georg Seidl, Helmut Baureuter

โรงงานผลิต Heckler & Koch (H&K)

รุ่นอื่นๆ MP5K, MP5K-PDW, MP5SD, MP5N, MP5/F, MP5/10, MP5/40, HK94

หนัก

-2.54 kg. (MP5A2)

-2.88 kg. (MP5A3)

ยาว

Fixed stock

-680 mm.

Retractable stock

-490 mm. retracted

-660 mm. extended

ลำกล้องยาว 225 mm.

ขนาดกระสุน 9 mm. Luger Parabellum

บรรจุ 15,30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Roller-delayed blowback,Closed bolt

อัตรายิง 800 นัด/นาที

ระยะหวังผล 200 m.

23 HK UMP

ปืนกลเบาUMPถูกออกแบบมาใช้แทนปืนMP-5เนื่องจากปืนกลมือMP-5มีข้อเสียเหมือนกันตรงที่สามารถใช้ได้แต่กระสุนแบบ9mm.เท่านั้นแต่UMPสามารถใช้ได้ถึง3ขนาดใช้โดยหน่วยSWATหรือหน่วยรบพิเศษอื่น(SEAL THAIก็ได้ใช้น้า)แต่ยังไม่ได้ความนิยมเท่าMP-5แต่คาดว่าในอนาคตน่าจะสามารถแซงหน้าMP-5ได้เลยและมีหลายรุ่นให้เลือก

ข้อมูล

ประเภท Submachine gun

ผู้ผลิต เยอรมัน

โรงงานผลิต Heckler & Koch (H&K)

รุ่นอื่นๆUMP-40,UMP-45,UMP-9

หนัก

-2.3 kg.loaded(UMP-45)

-2.1 kg. loaded (UMP-40, UMP-9)

ยาว

Stock folded

-450 mm.

Stock extended

-690 mm.

ลำกล้องยาว 200 mm.

ขนาดกระสุน

- .45 ACP (UMP-45)

- .40 S&W (UMP-40)

- 9 mm.Luger Parabellum (UMP-9)

บรรจุ

- 25นัด (UMP-45)Detachable Box Magazine

- 30 นัด (UMP-40,UMP-9)Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Blowback,Closed bolt

อัตรายิง600 นัด/นาที

ระยะหวังผล 100 m.

24 HK-416

ปืนHK-416เป็นอีกรุ่นหนึ่งของM4A1ที่ผลิตโดยHKได้ผลิตในชื่อ project HKM4ได้รวมของปืนแล้วได้ดัดแปลงมาจากM4และAR-15ปืนนี้ใช้ระบบGas-Operatedคล้ายๆกับปืนตระกลูG-36ถูกใช้ในหลายๆหน่วยรบพิเศษเช่น Delta Force,Taiwan Coast Guard ฯลฯ

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน

ผู้ออกแบบ Heckler & Koch (H&K)

โรงงานผลิตHeckler & Koch (H&K)

รุ่นอื่นๆ D10RS,D145RS,D165RS,D20RS

หนัก

- 3.31 kg. (ลำกล้องยาว 10 นิ้ว)

- 3.5 kg.(ลกล้องยาว 14.5 นิ้ว)

ยาว

- 686/785 mm. (10 barrel, stock collapsed/extended)

- 788/886 mm.(14.5 barrel, stock collapsed/extended)

ลำกล้องยาว

- 267 mm.

- 386 mm.

- 419 mm.

- 508 mm.

ขนาดกระสุน 5.56 mm.

บรรจุ 30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt,selective fire (semi-auto, full-auto)

อัตรายิง 700-900 นัด/นาที

25 HK-417

ปืนHK-417ได้รับการดัดแปลงมาจากรุ่น416โดยให้ใช้ขนาดกระสุนที่ใหญ่ขึ้นและใช้สำหรับซุ่มยิง

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน

โรงงานผลิต Heckler & Koch (H&K)

รุ่นอื่นๆ Assaulter,Recce,Sniper

หนัก

- 3.87 kg. (ลำกล้องยาว 12 นิ้ว)

- 4.05 kg. (ลำกล้องยาว16 นิ้ว)

- 4.23 kg. (ลำกล้องยาว20 นิ้ว)

ยาว

- 815/875 mm. (12 barrel, stock collapsed/extended)

- 917/997 mm. (16 barrel, stock collapsed/extended)

- 1019/1178 mm. (20 barrel, stock collapsed/extended)

ลำกล้องยาว

- 305 mm.

- 406 mm.

- 508 mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 10,20 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

26 FN-FAL

ปืนไรเฟิลFN-FALเป็นปืนที่มีขนาดใหญ่มากได้สร้างชื่อเสียงในการรบระหว่างกองทัพอักกฤษและอาเจนติน่าในสงครามหมู่เกาะFalklandทั้ง2ฝ่ายได้ใช้ปืนแบบเดียวกันเข้าต่อสู้กันมันควบคุมได้ยากมากเนื่องจากเวลายิงต่อเนื่องลำกล้องปืนจะส่ายอย่างรุนแรง

ข้อมูล

ประเภท Battle rifle

ผู้ผลิต เบลเยี่ยม

ปีประจำการ 1953-ปัจจุบัน

โรงงานผลิต Fabrique Nationale

หนัก 4.0-4.45 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,090/533 mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 20,30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Tilting block

อัตรายิง 650 นัด/นาที

ระยะหวัผล 600 m.

27 STEYR AUG

STEYR AUG คือปืนไรเฟิลจู่โจมที่ใช้ระบบ Bull-Pup ผลิตโดยบริษัท Austria Steyr , AUG จุดเด่นของปืนชนิดนี้อยู่ที่ระบบ Bull-Pup ซึ่งนำเอาซองกระสุนและเครื่องป้อนกระสุนมาไว้ทางก้านหลังของพานท้ายปืนเเละตัวปืนทำจากพลาสติกช่วยให้มีน้ำหนักเบาขึ้นปรับเป็นการยิงเเบบกึ่งอัตโนมัติโดยใช้ไกปืนเเม็กกาซีนโปร่งใสทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบลูกกระสุนที่ยังคงเหลือค้างอยู่ที่จับด้านหน้าสามารถพับเก็บได้มีกล้องติดมากับปืนสามารถเปลี่ยนลำกล้องจาก5.56เป็น7.62หรือ9mm.ก็ได้และสามารถติดเครื่องยิงลูกระเบิดก็ได้

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต ออสเตรีย

ปีประจำการ 1978-ปัจจุบัน

โรงงานผลิต Steyr Mannlicher

หนัก 3.8 kg.

ยาว 690-790 mm.

ลำกล้องยาว 407,508 mm.

ขนาดกระสุน

- 5.56 mm.

- 7.62 mm.

- 9 mm. AUG SMG

บรรจุ 30,42 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง 680-800 นัด/นาที

ระยะหวังผล 450-600 m.

28 STEYR ACR

ปืนACRหรือAdvanced Combat Rifleเป็นปืนที่ได้รับการดัดแปลงมาจากSTEYR AUG โดยใช้ระบบBull-Pup เหมือนกันกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนา

ข้อมูล

ประเภท Advanced Combat Rifle

หนัก 3.23 kg.

ยาว 770 mm.

ระบบการยิง Single or 3 round burst

ขนาดกระสุน 5.56 mm.

บรรจุ 24 นัด Box Magazine

29 SA-80

ปืนไรเฟิลแบบSA-80เป็นแบบBull-Pup ที่ประจำการอยู่ที่กองทัพบกอังกฤษใช้เป็นอาวุธประจำกายมีน้ำหนักเบาและสามารถติดอุปกรณ์พิเศษได้หลายแบบ

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต อังกฤษ

ปีประจำการ 1985-ปัจจุบัน

โรงงานผลิต Royal Small Arms Factory

รุ่นอื่นๆ

-L85 IW (Individual Weapon)

-L86 LSW (Light Support Weapon)

-L22A1 Carbine

-L98A1 CGP (Cadet General Purpose)

หนัก

- 4.98 kg.(loaded)

- 6.47 kg. (with grenade launcher)

- 6.58 kg. (LSW, loaded)

ยาว

- 785 mm.

- 900 mm. (LSW)

ลำกล้องยาว

- 518 mm.

- 646 mm. (LSW)

ขนาดกระสุน 5.56 mm.

บรรจุ 30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง 650 นัด/นาที

ระยะยิง

- 400 m. (L85)

- 800 m. (LSW)

30 L96A1

ปืนไรเฟิลที่หลายคนน่าจะรู้จักในเกมCSเป็นปืนที่แรงที่สุดในเกมมีประจำการในกองทัพบกอังกฤษใชโดยหน่วยของตำรวจและทหาร

ข้อมูล

ประเภท Sniper rifle

ผู้ผลิต อังกฤษ

ปีประจำการ 1982(L96A1),1988(AW)

โรงงานผลิต Accuracy International

หนัก 6.5 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1180/660 mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 10 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Bolt-action

ระยะหวังผล 800 m.

31 AW-50

ปืนไรเฟิลต่อต้านยานเกราะของกองทัพบกอังกฤษเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในปืนขนาด.50calนอกจากM82A1ของสหรัฐ(SEAL THAIก็มีใช้)

ข้อมูล

ประเภท Anti-materiel rifle

ผู้ผลิต อังกฤษ

ผู้ออกแบบและโรงงานผลิต Accuracy International

หนัก 15 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,420/690 mm.

ขนาดกระสุน .50 BMG

บรรจุ 5 นัด Box magazine

ระบบการทำงาน Bolt-action

ระยะหวังผล 2,000 m.

32 FA-MAS

ปืนไรเฟิลFA-MAS(Fusil dAssaut de la Manufacture dArmes de St-Étienne: St-Étienne arms factory assault rifle)เป็นอาวุธประจำกายของกองทัพบกฝรั่งเศษเป็นปืนแบบBull-Pupมีน้ำหนักที่เบาเคลื่อนย้ายง่ายและเหมาะกับหน่วยรบพิเศษและสามารถติดอปุกรณ์ได้หลายอย่าง

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle/Service rifle

ผู้ผลิต ฝรั่งเศษ

ผู้ออกแบบ Paul Tellie

โรงงานผลิต GIAT Industries

ปีประจำการ 1975-ปัจจุบัน

หนัก 3.8 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 757/488 mm.

ขนาดกระสุน 5.56 mm.

บรรจุ 25,30 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Lever-Delayed Blowback

ระยะหวังผล 300-450 m.

อัตรายิง

- 950 นัด/นาที (G1)

- 1,100 นัด/นาที (G2)

33 FN P-90

ปืน P-90 เป็นปืนกลที่ใช้กระสุนขนาด5.7mm.ที่มีประสิทธิภาพพอๆกับปืนไรเฟิลมีรูปร่างที่แปลกจนถือเป็นเอกลักษณ์ของปืนกระบอกนี้มีน้ำหนักเบาและมีความรุ่นแรงสูงสามารถเจาะเกราะได้และมีขนาดที่เล็กพกพาสะดวก

ข้อมูล

ประเภท Submachine gun

ผู้ผลิต เบลเยี่ยม

ประจำการ 1994-ปัจจุบัน

โรงงานผลิต Fabrique Nationale de Herstal

หนัก(ตัวเปล่า/พร้อมกระสุน) 2.54/3.0 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 500/263 mm.

ขนาดกระสุน 5.7 mm.

บรรจุ 50 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Straigth Blowback,Closed bolt

อัตรายิง 900 นัด/นาที

ระยะหวังผล 200 m.

34 HK G-11

ปืนG-11เป็นปืนแบบBull-Pupที่ถูกพัตนามาตลอดในช่วงปี1970-1980โดยGesellschaft für Hülsenlose Gewehrsysteme (GSHG)โดยเป็นการร่วมทุนของและบริษัทโดยที่1 Heckler & Koch ทำในเรื่องmechanical engineering and weapon design 2 Dynamit Nobelทำในเรื่องpropellant composition and projectile design 3 Hensoldt Wetzlar ทำในเรื่องtarget identification and optic systemsโดยปืนกระบอกนี้ทางสหรัฐได้ให้ความสนใจในโครงการU.S. Advanced Combat Rifle program

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน

หนัก 3.6 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 750/540 mm.

ขนาดกระสุน 4.7 mm. Caseless ammunition

บรรจุ 40,50 นัด Detachable Box Magazine

อัตรายิง

- ~470 นัด/นาที cyclic

- 2000 นัด/นาที (3rd bursts)

ระยะหวังผล 450 m.

36 HK XM-8

ปืนXM-8เกิดขึ้นเพราะว่ากองทัพบกสหรัฐต้องการปืนไรเฟิลเบาเพื่อมาประจำการแทนM-16ที่เป็นอาวุธประจำการเนื่องจากM-16มีปัญหาต้องการที่ปืนจะขัดลำง่ายถาไม่ทำความสะอาดบ่อยๆปืนXM-8จึงเกิดขึ้นมันเป็นปืนที่ทนมากแต่มันมีปัญหาคือการที่มีน้ำหนักเบาเวลายิงความร้อนจะพุ่งขึ้นสูงทำให้ยิงต่อเนื่องไม่ได้และมันก็ถูกยกเลิกไป

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle,Service rifle

ผู้ผลิต เยอรมัน,สหรัฐ

ปีประจำการ ยกเลิก

โรงงานผลิต Heckler & Koch

หนัก 2.9 kg.

ยาวของลำกล้อง

-Assault 318มม.

-Sharpshooter 508มม.

-Compact 241มม.

-Automatic Rifle 508มม.

ขนาดกระสุน 5.56มม.

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง 750นัด/นาที

ระยะหวังผล 200-800ม.

บรรจุ

-30นัด Detachable Box Magazine

-100นัด C-Mag Drum Magazine

37 XM-109

ปืนXM-109ได้พัฒนาจากM82A1โดยปืนM82A1ที่ใช้ในปี2002ใช้ฐานปืนที่เป็นการทดสอบในชื่อOSW (Objective Sniper Weapon) ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นXM-109อย่างที่ได้เห็น

ข้อมูล

หนัก 15 kg.

ยาว 1,168 mm.

ขนาดกระสุน 25 mm.

บรรจุ 5 นัด Detachable Box Magazine

ระบบการทำงาน Short recoil operation, semi-automatic

ระยะหวังผล 3,000 m.

38 Kalashnikova AK-47

ปืนAK-47(Автомат Калашникова образца 1947 года, Avtomat Kalashnikova 1947 : Kalashnikovs assault rifle, model of the year 1947) เป็นปืนที่มีต้นแบบมาจากSTG-44ของนาซีในสงครามโลกครั้งที่2โซเวียตได้นำมาลอกแบบแล้วครั้งขึ้นมาใหม่มันเป็นที่นิยมไปทั่วโลกเนื่องจากใช้ง่ายฝึกเพียงไม่นานก็ใช้เป็นแล้วมความทนทานสูงและมีอำนาจการยิงที่รุนแรงด้วยแต่เรื่องความแม่นยำอาจเทียบM-16ไม่ได้แต่มันก็ชดเชยตรงที่ใช้ง่ายทนทาน

ข้อมูล

ประเภท Assault rifle

ผู้ผลิต โซเวียต

ปีประจำการ 1949-ปัจจุบัน

ผู้ออกแบบ Mikhail Kalashnikov

รุ่นอื่น AK-47, AKS, AKM, AKMS,RPK,AK-74,AK-101,AK-102,AK-103,

AK-107,AK-108,AK-74SU,SVD

หนัก(ตัวเปล่า/พร้อมบรรจุ) 3.8/4.3 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 870/410 mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ

- 30 นัด Detachable Box Magazine

- 75 นัด Drum Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated,Rotating bolt

อัตรายิง 600 นัด/นาที

ระยะหวังผล 300 m.

39 RPD

ปืนกลRPD (Ручной Пулемет Дегтярева,Ruchnoy Pulemyot Degtyareva) เป็นปืนกลเบาที่ได้รับการผลิตในจีนโดยโรงงานของโซเวียตถูกใช้ในช่วงสงครามเวียตนาม

ข้อมูล

ประเภท Light machine gun

ผู้ผลิต โซเวียต

ปีประจำการ 1945-ปัจจุบัน

หนัก(ตัวเปล่า/พร้อมกระสุน) 7.5/8.9 kg.

ยาว/ลำกล้องยาว 1,037/521 mm.

ขนาดกระสุน 7.62 mm.

บรรจุ 100 นัด Drum Magazine

ระบบการทำงาน Gas-operated

อัตรายิง 650 นัด/นาที

โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 26/02/2008 01:09:45


ความคิดเห็นที่ 61


ที่มา http://allied.exteen.com/
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 26/02/2008 01:12:56


ความคิดเห็นที่ 62


แถมให้อีกนิด

- เคยมีคนถามเกี่ยวกับสถิติถล่มทลายของเอริช ฮาร์ตแมนน์ เขาตอบว่าเขาเองไม่ได้เป็นนักบินดีอะไรเลย ฮานส์-โจคิม มาร์เซลล์เก่งมากกว่าเขาเยอะเพราะทางนั้นได้ยิงเครื่องบินของอังกฤษและอเมริกันตก ในขณะที่ข้าศึกชาวรัสเซียไม่มีอุปกรณ์รบที่ทันสมัยและฝีมือด้อยกว่ากันมาก

- พลร่มเยอรมันเลือกร่มได้ห่วยที่สุดเพราะใช้ดีไซน์ร่มจากอิตาลีซึ่งเป็นสายผูกร่มเส้นเดียวติดกับกระเป๋าหลังแทนที่จะเป็นสองสายคล้องไหล่เหมือนของสัมพันธมิตร ทหารพลร่มเยอรมันเลยต้องลงพื้นแบบปลาดาวไม่ได้ใช้สองขาแตะ

- จากความผิดพลาดเรื่องร่มทำให้ทหารเยอรมันไม่สามารถแบกของติดตัวไปได้มากเท่าทหารอเมริกัน ทหารแต่ละคนเวลาโดดจะมีแค่สัมภาระส่วนตัว ปืนพกกระบอกเดียวและซองกระสุนปืนหลักนิดหน่อย ส่วนอาวุธหลักจะใส่ไว้ในกล่องทาสีแยกทิ้งต่างหาก ที่เกาะครีตทหารพลร่มตายเยอะเพราะบางส่วนพยายามเข้าไปเอากล่องอาวุธครับ ที่เหลือตายเพราะไม่มีอาวุธ

- เรือบรรทุกเครื่องบินกราฟ เซปเปอลินของเยอรมันสร้างไม่เสร็จเพราะจอมพลอากาศเฮอร์มานน์ เกอริงไม่อยากเห็นทัพเรือมีเครื่องบินรบใช้เลยหาเรื่องเตะถ่วงทุกวิถีทาง โดยเฉพาะการบอกฮิตเลอร์ว่าเครื่องบิน BF109T ที่จะใช้บนเรือจะไม่พร้อมจนกว่าปี 1944 น่าเตะจริงๆ ครับครั้งนี้

มาสมัยใหม่บ้าง

- L96A1 ใช้กระสุนขนาดแค่ 7.62x51mm NATO (.308) ธรรมดาครับ แต่ของใน CS จะเป็นแบบ AWM (ก็จับกระบอกแรกมาขยาย) ใช้ลูก .338 Magnum Lapua ซึ่งออกแบบมาเพื่อรวมข้อดีของกระสุนขนาด 7.62 และ .50 นิ้วเข้าไว้ด้วยกันครับ ถึงได้ยิงแรงสะเด็ดในเกม

- กระสุนขนาด .50 จะสูญเสียพลังงานอย่างรวดเร็วเมื่อวิ่งไปได้สักพักหนึ่ง (จอห์น บราวนิงไม่ได้คิดจะออกแบบกระสุนชนิดนี้สำหรับซุ่มยิง) เลยมีการคิดค้นกระสุนใหม่ .408 CheyTac ใช้กับ M-200 Intervention แบบในภาพยนตร์เรื่อง Shooter

- M16 บอกได้คำเดียวครับว่าต้องขัดทำความสะอาดกันสามเวลาหลังอาหารแถมรอบสองยาม (ไม่เคยขัดจริง แต่มีคนบ่นให้ฟัง) ไม่งั้นยิงไม่ออก ทหารในเวียดนามโอดครวญกันมากครับเรื่องนี้

เสียดาย XM8 มากพอสมควรครับถ้าพูดถึงของสมัยใหม่ เพราะมีความทนทานเทียบได้กับปืนตระกูล HK แถมในการทดสอบหลายๆ ครั้ง XM8 ก็ทำสถิติขัดลำน้อยที่สุด ตอนที่ทบ. สหรัฐบอกยกเลิกโครงการนั้นผมบอกคำเดียวว่า เซ็ง ครับผม

 

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 26/02/2008 02:00:13


ความคิดเห็นที่ 63


ขอเสริมหน่อย..

เยอรมันไม่ได้เก่งทางวิศวกรรม อยู่ชาติเดียวครับ สมัยนั้น ทั้ง อังกฤษ ฝรั่งเศส รัสเซีย และ สหรัฐ ถือว่าเป็นผู้นำ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ ของโลก ครับ บางอย่าง อังกฤษ ก็ เหนือ กว่าเยอรมันครับ เช่น เรด้าห์ หรือ การออกแบบเครื่องบินรบ ซึ่ง เครื่องบินสปิตไฟร์ ของอังกฤษ เคยบินชนะ เครื่อง บีเอฟ-109 ของเยอรมันมาแล้วในการบินแข่งขันด้านการบินโลก (จัดขึ้นก่อนเกิดสงครามโลกไม่กี่ปี) ยิ่ง ตอนเกิดสงครามแล้ว อังกฤษมี น้ำมันเครื่องบินสูตร อ็อคเทนพิเศษขึ้นอีก เครื่องสปิตไฟร์เลยกลายเป็น เสือติดปีกที่แท้จริง  (ในตอนต้นๆสงคราม)ครับ  ว่ากันว่าทั้งเรดาห์ และ สปิตไฟร์ คือ ผู้รักษาเอกราชให้ อังกฤษตัวจริงครับ

เยอรมันนั้นเด่นทางด้านเครื่องยนต์ ครับโดยเฉพาะเครื่องยนต์ เมยเบร์ ที่ใช้งาน ใน รถถังหมายเลข 5-6-7 เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้วิศวกรรมการหล่อโลหะที่ก้าวหน้าที่สุดของโลก ในเวลานั้นที่ชาติอื่นทำไม่ได้ครับ  สหรัฐเคยนำเอาไปวิเคราะห์ หลังสงคราม แล้วก็งงครับว่าเยอรมันหล่อผนังห้องเครื่องได้บางขนาดนั้นได้อย่างไรถึงได้เครื่องยนต์ออกมามีน้ำหนักเบามาก ซึ่งถ้าสหรัฐทำบ้างจะมีนน. มากว่ากันถึง2เท่าครับ

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 26/02/2008 23:46:36


ความคิดเห็นที่ 64


ข้อมูลมาก แต่ขอติหน่อยนะครับ

 

จะหาข้อมูลมาจากไหนน่ะไม่ว่ากัน แต่หามาแล้ว ก็น่าจะปรับเนื้อหาของข้อมูลแล้วเรียบเรียงใหม่ให้เป็นภาษาของตนเองหน่อยนะ ไม่ใช่ ไปก๊อบเขามาทั้งดุ้น แล้วเอามาโพสกระทู้แบบนี้ (ตกใจที่เห็นเนื้อหาบล็อกตัวเองถูกลากมาทั้งดุ้นแบบนี้ แถมบล็อกคนอื่นอีก)

ส่วนจะชื่นชอบอะไรก็ไม่ว่านะครับ แต่ควรจะมีขอบเขตและให้เกียรติ รับฟังความคิดผู้อื่นด้วย

โดยคุณ Yuri Alexandrovish Orlov เมื่อวันที่ 27/02/2008 05:05:10


ความคิดเห็นที่ 65


ครับท่านผมตอนนี่ผมกำลังหาข้อมูล  อืน โดย ไม่ไปก็อปของคนอืนมา นะครับท่าน ยูริอเล็กซานโดวิท
โดยคุณ intat45 เมื่อวันที่ 27/02/2008 05:30:03


ความคิดเห็นที่ 66


อ่านกระทู้นี้เเล้วชอบมากเลยครับ   ความรู้เต็มเหนี่ยวจริงๆครับ ^ ^

 

....เเต่เเม้ท่านเจ้าของกระทู้จะกล่าวถึงอาวุธยุทธโธปกรณ์ชั้นยอดของเยอรมันมามากมายเกือบหมดเเล้วทั้งทัพบก อากาศ น้ำ........ เเต่ท่านลืมกล่าวถึงสุดยอดอาวุธของเยอรมันไปอย่างนึงรึเปล่าครับ ?....(ให้เวลาคิด 3 วินาที อิอิ...)

 

 

 

 

 

...เฉลย  กองเรือใต้น้ำไงครับ  หรือที่รู้จักกันคือ เรืออู (U-Boat) ของเยอรมันนั่นเอง    ไม่กล่าวถึงไม่ได้นะครับ เพราะเรืออูเยอรมันเองก็ได้ต่อสู้อย่างดุเดือดห้าวหาญมาตั้งเเต่จุดเริ่มต้นจนถึงวันสุดท้ายของสงครามไม่เเพ้รถถัง Panzer หรือเครื่องบิน Luftwaffe เลยเช่นกัน   ขอข้อมูลเรืออูด้วยนะครับ ^v^


โดยคุณ tiger1 เมื่อวันที่ 27/02/2008 09:07:42


ความคิดเห็นที่ 67


ชื่นชอบเทคโนโลยี ความสามารถทางการรบ การวางแผน ของเขาก็เรื่องนึง แต่กับนโยบายการบริหารประเทศ การมองโลกของระบอบนาซีมันก็อีกเรื่องนึง ก็แยกๆกันให้ออกนะครับ

ผมเองก็ชอบ แล้วก็ยอมรับว่าเทคโนโลยีของเยอรมันหลายๆเรื่องก็มีคุณภาพดี ทำออกมาดีกว่าชาติอื่นๆในยุคนั้น แต่สำหรับเรื่องการมองโลกของนาซี ผมว่ามันอนาถมาก และก็เป็นโชคดีของมนุษยชาติแล้วละที่นาซีพ่ายแพ้ภัย (จากการหาเรื่องชาวบ้าน) ของตัวเองไปในสงครามครั้งนั้น

ถ้าคุณได้มาอยู่ที่เยอรมัน มาใช้ชีวิตอยู่ที่นี่เป้นปีๆ ได้มารับรู้ถึงความรู้สึก ความคิดเห็นของเยอรมันสมัยใหม่ที่เขามองพวกนีโอนาซิสที่นี่  ได้มาเข้าชมอนุสรณ์สถาน ค่ายกักกันชาวยิว ชาวโปล ค่ายใช้แรงงานทาสที่มีคนตายในค่ายวันละเป็นพันๆคน ทุกวัน ห้องทรมาน ห้องรมแก๊ส ที่ออกมาแบบมาให้ฆ่าคนได้ครั้งละเป็นร้อย วันละเป็นพัน แล้วส่งต่อไปเตาเผาติดๆกันที่เดินเครื่องทั้งวันทั้งคืน ฯลฯ ผมเชื่อว่าคุณคงเปลี่ยนใจ คนปกติทั่วๆไปที่มีสติ ความรู้ผิดรู้ชั่วก็ต้องฉุกคิดได้บ้างละว่า นี่มันเป็นเรื่องที่ justify แล้วหรือ กับการทำอะไรที่ทารุณโหดร้ายกับคนชนชาติหนึ่งๆเป้นล้านๆขนาดนี้?

ผมไม่เชื่อว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธ์คนชนชาติอื่นเป้นล้านๆแบบนั้นมันเป็นเรื่องที่ตอบโจทย์ แก้ปัญหาใดๆในสังคมโลกได้ ไม่ว่าฝ่ายที่ถูกกระทำเขาจะเคยทำอะไรมาเลวร้ายสักเพียงไร ( ซึ่งในกรณีนี้ ก็แค่ความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจเท่านั้นเอง ที่คนยิวมักจะขยัน ทำงานหนัก จนได้งาน เก็บเงินอะไรได้เป็นกอบเป็นกำเท่านั้น ซึ่งมันจะผิดอะไรในเมื่อเขาก็หามาได้ด้วยลำแข้ง และความหมั่นเพียรของพวกเขาเอง ? )

แค่อยากเตือนว่า อะไรที่มันสุดโต่งเกินไป มันก็แย่นะครับ ทุกอย่างมีทั้งด้านที่ดี น่าชื่นชม และด้านที่ร้าย น่าลืมเลือนทั้งนั้น ก็ฝากไปคิดๆดู
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่ 28/02/2008 18:44:02


ความคิดเห็นที่ 68


เยอรมันนีประเทศแห่งวิศวกรรม..
โดยคุณ PaLmMee เมื่อวันที่ 03/07/2008 21:35:47


ความคิดเห็นที่ 69


     มุมมองของผู้ชนะ ย่อมใส่ความนาซีไว้แยะ หากแต่โดยเนื้อแท้ ทหารทุกชาติโหดร้าย ป่าเถื่อนมาทุกประเทศครับ เช่น ทำไมรัสเซียทารุณพวกลิทัวเนีย ลัตเวีย อะไรพวกนั้น เพราะโบราณประเทศเล่านี้เคยรุกรานรัสเซีย รัสเซียเลยจำประวัติศาสตร์แล้วแก้แค้นกลับอย่างสาสม แต่ก่อนหน้านั้นรัสเซียรุกรานเขา จนไม่รู้ใครก่อเรื่องกันแน่ ทหารรัสเซีย ตอนช่วยเยอรมันยึดโปลแลน แบ่งประเทศโปล รัสเซียขนเชลยที่เป็นนายทหารยิงทิ้งหมด เหลือแค่ทหารเกณฑ์  ประชาชนโปลเองโดนรัสเซียทำร้าย ข่มขืน สตาลินฆ่าล้างขั๊วการเมืองอย่างโหดร้ายทารุณ ข่มขืน แล้วถามหน่อย จะมานั่งด่าแต่นาซีทำไม อ่านประว้ติศาสตร์ อย่าอ่านเล่มเดียวแล้ววิจารณ์ ทุกอย่าง มีที่มา ยิวน่ะ ก่อนฮิตเลอร์เกิด ทรยศพระเยซูคริตจนพระเยซูตายบนไม้กางเขน ทำให้คนที่แค้น ตั้งลัทธิลำลายยิว เพียงแต่เขาไม่มีกำลังทหารมากพอ แต่พยายามเผยแพร่ลักธินี้มาทุกกาลสมัย

    เราเห็นประวัติศาสตร์เจงกิสขาล เท่มาก แต่รู้ไหม เขายึดเมืองไหน โดยเตือนครั้งเดียว ถ้ายอม ก็รอด ถ้าใครรบ เขาขะฆ่าหมดทั้งเมืองไม่เหลือแม้แต่ ผู้หญิงและเด็ก เป็นเช่นนี้หลายๆๆเมือง เซนต์ปีเตอร์เบิกของรัสเซียไม่ยอม ผลคือกลายเป็นหมดร้าง ประชาชนตายราบ ไม่ตายดีๆตายทรมาณด้วย คุณเคยรู้ป่าว แต่คนไทยชอบเจงกิสขาล แต่รัสเซียอ่านแล้วทรมาณใจ เพราะเขาคือเหยื่อ เหมือนเราอ่านเสียกรุงศรีอย่างเจ็บปวด แต่นาซีแยกแยะเอาคนแบบที่เขาต้องการ ต่อให้เป็นคนละเชื้อชาติ นอกแผนฆ่าให้หมด จิงๆชั่วพอๆๆกัน เราคนเอเชียชอบเจงกิสขาล พวกลิทัวเนีย ๆลๆ ภูมิใจที่เข้ากลับนาซี ถ้าอ่านจิงๆ ลึกๆ ขนาดอินเดีย ยังมีอาสาสมัครมาร่วม  ถึงขนาด มีเชลยอังกฤษอาสาช่วยนาซีสู้รัสเซีย เขาร่วมนาซีทำไม เพราะเขาเกลียดลัทธิคอมมูนิสมากกว่า เกลียดเยอรมัน ทั้งที่ไม่ได้เกิดในเยอรมันพูดภาษายังไม่ได้เลยด้วยซ้ำ คนจะชอบ มีสิทธิด้วยกันหมด อย่าตีความว่านาซีฆ่ายิว เพราะคนที่รักพระเยซูหลายๆส่วนกลับชอบในหลายๆประเทศ

     ซึ่งอันที่จิงเรามองเห็นอะไรมากกว่าต่างหากล่ะ ในการเลือกที่จะชอบ ทุกฝ่ายมีข้อเสียที่เราจะแกล้งไม่มอง ผมชอบนาซ๊ครั้งแรก เพราะชุดเท่โครต แต่พอเหงภาพยิวโดนฆ่า งงเลย ยิวทำอะไรผิด พอไปอ่าน มันก็ลำบากใจ ว่าทำไมชาวเยอรมันเกลียดยิว มันอยู่ในส่วนลึกๆๆของชาวคริส บางพวกก็เห็นใจ บางพวกก็ส่ะใจ เชียร์ให้ยิวตายให้หมดโลก คนทรยศพระเยซูไม่ควรมีชีวิตอยู่ นั่นเลยง่ายที่ฮิตเลอร์ จะอ้างว่า เยอรมันแพ้สงครามโลกครั้งที่1 เพราะยิวทรยศเยอรมัน เหมือนที่ยิวทรยศพระเยซู

     มีบันทึกการสนทนาของโจเชฟ ไพร์เพอรนายพันSS.กับเชลยร้อยเอกอเมริกัน นายทหารอเมริกัน งงว่าSS.ถึงให้การดูแลอเมริกันดีกว่ารัสเซีย "ไพร์เพอรบอกฮิตเลอรบอกชนชาติอเมริกันเป็ยชนชาติที่ดี มีอารยธรรม ที่เยอรมันควรคบหา" นายร้อยเอกอเมริกันถึงกลับงง เพราะเขาเป็นผู้ที่เข้าใจมาตลอดจากข่าวสารว่า SS.ไม่ต้องการเชลยไม่ว่าชาติไหน ทหารGI.ที่โดนยิงตายหมู่ แต่ในบันทึกอเมริกันหลายๆๆหน่วย GI.เองชอบยิงเชลยทิ้งเพราะคิดว่ามันสมควรตาย เพราะโหดร้าย แต่ไม่ได้แค้นทหารเด็กๆๆ ในช่วงที่จะแพ้สงคราม อเมริกันยิงทิ้งไปมากมาย เพราะต้องการแต้ม(ฆ่าทหารเยอรมัน)ให้ครบจะได้กลับบ้าน เลยไม่รับการยอมแพ้จากทหารเด็กนาซี

     เพราะแบบนี้จะว่าใครชั่วร้ายขนาดไหน มันก็เหมือนๆกันหมด แล้วแต่เราอยากชอบอะไร เพราะยังไง มันมีความชั่วร้ายแฝงอยู่ตลอดทุกฝ่าย


โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 23/05/2009 16:37:10


ความคิดเห็นที่ 70


  ลืมบอกนี้ภาพทหารอังกฤษอาสา สังเกตที่แขนเสื้อจะเห็ยเปงรูปธงอังกฤษ พอซูมภาพยิ่งชัดเลย


โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 23/05/2009 16:40:53


ความคิดเห็นที่ 71


  อ่านจากคนมากมายมาวิเคราะห์ ผมมีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ผมเลยเสริม  เอาเป็นการรบกับรัสเซีย

   เยอรมันเริ่มสงคราม ทั้งที่อาวุธมิได้ทันสมัยอย่างที่เราเข้าใจ แต่เยอรมัยเหนือกว่าในเรื่องยุทธศาสตร์ และการใช้สิ่งที่มีอย่างคุ้มค่า จะเห็นได้ว่า อเมริกันเฝ้าดูและเลียนแบบให้สมบูรณ์แล้วเอามาตอกลิ่มกลับเยอรมัน เยอรมันใช้รทำสงครามแก้ไขไปเรื่อยๆ จนกล่าวได้อีกว่าเยอรัมันเปิดศึกกับรัสเซียโดยตัวเองไม่พร้อมอีก ฮิตเลอรทำไมต้องเลือกแผนสายฟ้าแลบกับรัสเซีย เพราะรัสเซียกว้างใหญ่ ฤดูหนาวยาวนาน ต้องจบให้ไว โดยมองเงื่อนไขที่การภายในรัสเซียมีจุดอ่อนตรงไหน

   1.แน่นอนประชากรรัสเซียมีมหาศาล แต่ประชาชนลำบากกับการปกครองเผด็จการของสตาลิน ที่โหดร้ายไม่แพ้นาซี รัสเซียประกอบด้วยอดีดประเทศต่างๆๆที่โดนยึด เช่นลัทเวีย ลิทัวเนีย ยูเครน ๆลๆ ต่างก็โดนทารุณไม่แพ้เยอรมันที่ยึดครองประเทศต่างๆๆ ทำให้ทหารเกรณ์จากประเทศพวกนั้นกลับข้างได้อย่างง่ายดาย แล้วก็เป็นความคิดที่ถูกต้อง 

      ---แต่ฮิตเลอร์กลับไม่ได้รวมประชาชนรัสเซียให้รับเป็นพวกด้วย แถมให้ฆ่าทิ้งให้หมดนั่นกลายเป็นจุดพลาด นักประวัติศาสตร์ศึกษามาว่าประชาชนรัสเซียหลายๆๆส่วนเห็นแนวการบริหารประเทศจากผู้แพ้มาเป็นประเทศร่ำรวย ประชาชนอิ่มทั่วหน้า เลยอยากเข้าร่วม แต่นาซีไม่เอาตามคำสั่งของฮิตเลอรกลับเข่นฆ่าทารุณ ประชาชนรัสเซีย ชาวรัสเซียเลยพร้อมกันต่อสู้นาซี ดีกว่า 

    2.นาซีมียุทธศาสตร์ที่ดีเยี่ยม ทำลายกำลังรัสเซียหมดรูป ภายในเวลาเพียงเล็กน้อยกับพื้นที่ที่กว้างใหญ่ ทั้งที่กองทัพไม่พร้อมก็จิง  แต่ละเมืองพ่ายอย่างหมดรูปในภายในเวลาไม่ถึงปี ทุกอย่างไปไปตามแผนที่ฮิตเลอรวางไว้ก่อนทำสงคราม กองทัพภาดเหนือยึดเลนินกราด กองทัพภาคกลางยึดมอสโค กองทัพภาคใต้ยึดสตาลินกราด เห็นไหมทั้งสามกองทัพเข้าถึงตัวเมืองทั้งสามในเวลาปีเดียว เกือบจะยึดได้

     ---แต่ฮิตเลอรเปลี่ยนแผนเสียเองหยุดทัพเพื่อแบ่งกำลังทำลายเมืองเคียฟ กับมิ้นส์ ทำให้เสียเวลาอันมีค่าอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะฤดูหนาวกำลังมาเยือนแล้ว ถ้าม่เสียเวลาตรงนั้นเยอรมันจะได้เผิงไฟที่มอสโคไปแล้ว ยุทธศาสตร์ที่รวดเร็ว เยี่ยมยอด ชัยชนะขึ้นอยุ่กับเวลาแต่กลับทำลายทิ้งส่ะเอง เป็นผลให้นายพลกุเดอรืเลี่ยนไม่พอใจ จนโดนบีบให้ออกจากหน้าที่ แมนสไตน์เองก็ไม่เหงด้วย ตำนิฮิตเลอรื จนตัวเองโดนบีบให้ออกจากหน้าที่อีกคน

    3.กองทัพเยอรมันถึงไม่พร้อม แต่กรำศึกจนมีประสิทธฺภาพสูงเกินคุณภาพอาวุธเช่นรถถังPZ35(t)ผลิตปี1935 ร่วมรบกับPZ38(t) จากยุด1938 ยังรับภาระเป็นปีกให้ดูแลแม่น้ำดอนตอนเหนือของสตาลินการให้กับนายพลฟอนเพลารุส เพื่อฟอนเพลารุสจะทุ่มกำลังยึดสตาลินกราดในปี1942ทั้งที่มันเห็นผลแล้วว่าล้าสมัยในสงครามฝรั่งเศสเป็นต้น จะเหงได้เลยทหารเยอรมันใช้อาวุธที่เกินคุณภาพ รถถังล้าสมัยของโรมาเนีย ฮังการี่ หรือรถถังยึดจากฝรั่งเศลก็มีใช้ในการยึดรัสเซียแม้จะปรากฏT-34ที่ทันสมัยกว่า แต่PZ35 กลับยังได้ร่วมต่อกรกับT-34เฉย แต่จิงๆๆใช้จิตใจทหารสุดยอดเช่นคลานเอาระเบิดทำลายรถถังในระยะเผาขน สกูลก้าๆลๆ ขนาดเกินฝนตกหนักเกิดโคลนจนเป็นปัญหาร้ายแรง แต่ทหารเยอรมันกลับฝ่าฟันไปถึงเมืองสตาลินกราดได้

   ---เพราะการเสียเวลาอันมีค่าไปฤดูหนาวเข้ามา หิมะตกทับกันจนหนาเป็นเมตรยังมีเรียกว่ารถถังจอดเฉยๆโดนหิมะตกกลบจมกลายเป็นจมลงไปในพื้นหิมะเฉย ทหารสุ้คนด้วยกันได้ แต่สู้ธรรมชาติที่ทารุณไม่ได้ รถถังหมดสภาพ เพราะน้ำมันเครื่องจับตัวเป็นน้ำแข็ง เครื่องบินขึ้นไม่ได้ ทหารยังอยู่ในชุดฤดุร้อน รถถังT-34ที่วิ่งบนหิมะได้ดีกว่า เลยแผลงฤษธิ์อย่างสบายใจ เพียงวันเดียวในยุทธการสตาลินการด ทหารโรมาเนียสองแสนคนแตกสลาย ละลายไปสองกองพลในเวลาไม่ถึงวันทำให้สูญเสียทหารจำนวนมหาศาลอย่างไม่น่าจะเกิด 

  

โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 23/05/2009 18:56:17


ความคิดเห็นที่ 72


   รถถังPanzer 38(t) ยังคงรบในสมรภูมิรัสเซีย แต่หายไปในสงครามทันทีที่รัสเซียเปิดฉากตอบโต้ในฤดูหนาว ถ้ายังเห็นรถถังรุ่นนี้วิ่งอยู่แสดงว่าเป็นภาพการุกของกองทัพเยอรมันในตอนต้นสงคราม ซึ่งจริงๆๆแล้ว มันควรถูกถอนออกจากสงครามเข้าโรงงานเพื่อดัดแปลงเป็นรุ่นอื่น เช่นติด ปตอ.หรือปืนใหญ่ หรือใช้ในสมรภูมิประเทศต่ำๆมากกว่าจะเอามายิงสู้รถถังรัสเซีย แต่เพราะความจำเป็นเร่งด่วน ทำให้จำต้องใช้รถถังรุ่นต่อไปในรัสเซียที่กว้างใหญ่ รถถังทุกคนทุกประเภท หรือแม้แต่ยึดของรถถังของรัสเซียมาใช้

    คิดดูตัวรัสเซียเองยังขอให้อังกฤษกับอเมริกาส่งรถถังมาช่วยอย่าบ้าคลั่ง สตาลินเห็นรถถังถึงกลับบ่น รถถังอังกฤษห่วยสิ้นดี แต่ก็รีบเอามาใช้ ทั้งที่ผลิตT-34ที่ได้เปรียบรถถังเยอรมันหลายขุม แต่กลับสูญเสียอย่างน่าใจหาย มีการวิเคราะห์กันว่า ถ้าดูตัวรถถังT-34แล้ว จะเห็นการประกอบที่ไม่สมบูรณ์ ลอยเชื่อมต่อของรถน่าเกลียดมาก เรียกได้ว่าขับได้ ยิงได้พอแล้ว ส่งเข้าสนามรบด่วน

     ผมได้ฟังสารคดีทางTure Historyบอกว่า อัตราความสูญเสียรถถังกับจำนวนการผลิต เยอรมันสูญเสียรถถังในการรบ3เท่าของที่ผลิตมา(เช่น เสียแสนคัน แต่เยอรมันผลิตมาสามหมื่นกว่าคันเอง)รถถังเซียเสียเท่ากับที่ผลิด อังกฤษเสีย1ในสอง อเมริกาเสีย1ใน3

     แต่ตลอดสงครามเยอรมันรบอย่างทรหดมากๆ ต่อสู้ทุกอย่างที่มีอย่างน่าทึ่ง


โดยคุณ panzer เมื่อวันที่ 28/05/2009 05:42:05


ความคิดเห็นที่ 73


บอกได้เลยว่าอาวุธของกองทัพเยอรมัน ของเค้าแน่จริงครับ เคยเล่นในเกมส์ COMPANY OF HEROES กว่าจะเอาชนะเยอรมันได้ใช้เวลานานมาก และเสียทหารไปเยอะ เมื่อเทียบกับตอนเล่นเป็นเยอรมันแปบเดียวก็ยึดฐานอเมริกันกับอังกฤษได้แล้ว เยอรมันอาวุธแรงกว่ายิงได้ไกลกว่า

แต่อย่างว่าในสงครามจริง น้ำน้อยย่อมต้องแพ้ไฟที่มากกว่า ซ้ายอังกฤษ+อเมริกา+แคนดา  ขวากระนาบด้วยโซเวียตซึ้งถ้าเป็นไปตามหลักยุทธพิชัยสงครามในตำราสามก๊ก กฎข้อห้ามที่สำคัญสุดเลยคือห้ามรับศึกสงครามสองด้านเป็นอันขาด

เพราะการตัดสินใจของฮิตเลอร์ที่เปิดฉากโจมตีโซเวียตทางฝั่งขวาโดยที่ยังเผด็จฝึกยึดเกาะอังกฤษทางฝั่งซ้ายไม่ได้

คือเป็นจุดเปลี่ยนของสงครามอย่างแท้จริงอีกทั้งโซเวียตเป็นประเทศที่กว้างใหญ่มากถ้าจะยึดประเทศโซเวียตต้องร้องไปทางญี่ปุ่นให้ช่วยเปิดศึกกับโซเวียตทางฝั่งไซบีเรียด้วยเพื่อให้ สตาลิน พะวงซ้ายพะวงขวา

เท่าที่เช็คดูตอนช่วงสงครามยุทธภูมิรบที่ สตาลินกราด โซเวียตก็เกือบจะแพ้อยู่แล้ว ดีที่ฤดูหนาวอันหฤโหดของรัสเซียช่วยปกป้องประเทศเอาไว้แท้ๆ

โดยคุณ ObeOne เมื่อวันที่ 26/03/2013 22:04:26


ความคิดเห็นที่ 74


ููความรู้ทั้งนั้นเลย

โดยคุณ mashi เมื่อวันที่ 17/11/2013 14:27:58