แบบ boom มีอัตราการจ่ายเชื้อเพลิงสูงกว่าครับ แต่ความอ่อนตัวต่ำเนื่องจากเป็นระบบขนาดใหญ่ ติดตั้งได้แต่เฉพาะ บ.ขนาดใหญ่เท่านั้น (หมายถึงตัว บ.แทงเกอร์) ส่วนระบบ probe นั้นสามารถทำเป็นแบบ buddy ได้ คือ ใช้ บ.ขับไล่ เป็นแทงเกอร์ได้ครับ ถ้าจำไม่ผิดที่มามันต่างกันครับ ระบบ boom เริ่มต้นจาก ทอ. ซึ่งมีแทงเกอร์ขนาดใหญ่ ส่วนระบบ probe เริ่มจาก ทร. ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่อง บ.แทงเกอร์ที่ต้องขึ้นลงเรือบรรทุก บ.ได้ด้วย
ขอบคุณคำตอบของทั้งสองท่านครับ
คือ...ยอมรับเลยครับว่าไม่รู้ว่าอะไรมันดีกว่ากันระหว่าง แบบรอเค้ามาเสย (Probe) กับ แบบรอจ้องจะเสียบเค้า (Boom)
ได้ข้อมูลแบบนี้ กระจ่างเลยครับ
จำได้ว่ามีการสูญเสีย บี-52 ไปในสงครามเวียดนามด้วย จากกรณีแท็งเกอร์แทง Boom พลาดช่องรับน้ำมันบริเวณด้านบนหลังคอกพิท�เครื่องระเบิดลุกเป็นไฟ
อย่างนี้เป็นผม ผมขอแหย่เอง (Probe) ดีกว่าครับ...อิอิ
มีอะไรขึ้นมาก็ตัวเราเองนั่นแหละ ไม่ต้องไปโทษใคร...
�
�
เอาสั้นๆนาครับเคยอ่านผ่านตามานานแล้วถ้าผิดก็ขออภัย
แบบบูม เป็นแบบเก่าครับเครื่องบินแท็งเกอร์บินอยู่เฉยๆปล่อยสายเติมน้ำมันลอยนิ่งๆอยู่ข้างบน แล้วเครื่องบินลูก ก็วิ่งมาเติมน้ำมันโดยเอาหัวเติมน้ำมันที่อยู่ปลายจมูกมาบินเสียบเข้าไป วิธีนี้มีอันตรายคือละอองน้ำมันจะพ่นออกมาตลอดเวลาที่เติมถ้าเครื่องบินทั้งสองบินไม่นิ่งพอ
อีกแบบคือแบบโพรบเป็นแบบใหม่คือให้เครื่องบินลูกบินนิ่งๆแล้วให้เครื่องบินแท้งเกอร์บินด้านบนใช้เลเซอร์ส่องให้รูเติมน้ำมันลูกกับสายจ่ายตรงกันแล้วเครื่องแท้งเกอร์จะค่อยๆแหย่ท่อโพรบเข้าเครื่องบินลูกครับ วิธีนี้เขาว่าอันตรายพอๆกับวิธีข้างบนถ้าเด็กปั้มบนเครื่องแท้งเกอร์เล็งรูผิดก็บรรลัยทั้งสองเครื่องครับ
ทั้งสองวิธีถือว่าอันตรายพอๆกันดังนั้นถ้าไม่จำเป็นเขาไม่เติมน้ำมันกันกลางอากาศครับสู้ใช้วิธีอื่นดีกว่า เช่น ขนถังน้ำมันอะไหล่ ใต้บีก หรือติดถัง ซีเอฟที แนบลำตัวครับ
ในส่วนของ บ.ทางตะวันตกนั้นระบบเติมน้ำมันกลางอากาศแบบ Probe เป็นระบบมาตรฐานหลักของทางกองทัพ NATO ครับซึ่ง บ.ขับไล่/โจมตีที่ประจำการใน อังกฤษ ฝรั่งเศส หรือประเทศนอก NATO เช่น สวีเดนนั้นก็ใช้ระบบ Probe ครับ ในขณะที่ บ.ที่ใช้ระบบ BOOM หลักๆก็มีกองทัพอากาศสหรัฐฯและบางประเทศเช่นอิสราเอลครับ
ส่วนของรัสเซียเองก็ใช้ระบบ Probe ครับเช่น IL-78 รุ่น Tanker ซึ่งเป็น บ.ขนาดใหญ่เท่าๆกับ KC-135 ที่ใช้ระบบ Boom โดย IL-78 รุ่น Tanker นี้ก็มีประจำการในหลายๆประเทศครับเช่น จีน และ อินเดียเป็นต้น