ข้อมูลสุดยอดครับท่าน FW190....................ขอบคุณมากครับ
ไม่น่าจะมีปัญหานะครับใช้กระสุน 5.56 เหมือนกันค่อยๆปรับไปเรื่อยๆครับเด่วก็ได้Tavor ทั้งกองทัพเอง
ถ้าจะตอบจริงๆ ก็คงต้องขอให้ส่ง Tavor มาให้ลองซักเดือน
แต่ถ้าไม่ได้จับปืนจริงๆผมจะเริ่มจากการถาม คนที่เล่นปืน BB
คนที่เคยใช้ปืน BB แบบ Bullpup ที่มีในตลาด Famas, AUG กับ L85
อีกทางก็จากข่าวในนิตยสารปืน/สงคราม ทั้งหลาย
ปืนBullpup เข้ามาให้ ทบ.ลองมานานพอสมควร
เคยเห็นรูปทหารสมัย ผาเมืองเผด็จศึก (การรบที่เขาค้อ)ใช้ Styer AUG
ตามข่าวเป็นปืนที่ทาง Styer ส่งมาให้ทดลองใช้
เคยถาม ทหารจิงโจ้ เขาบอกว่า ทบ.เรา เคยสนใจ Styer AUG
โดยจะนำมาใช้ในหน่วยทหารราบยานเกราะ
จากรายการ Future Weapons เขาบอกว่า Tavor
จะเหมาะกับการรบในเมืองมากกว่าปืนที่ยาวๆ
สำหรับตัวเองเคยจับ AUG กับ L85 และก็รวมทั้งของสิงค์โปรและของจีน
ที่มาแสดงในงาน Defence Show ก็ถนัดดีครับ(จับในงานไม่กี่นาที)
ในความคิดเห็นของผม ผมไม่ค่อยจะชอบ พวกปืนที่ใช้ลูก 5.56 ที่ใช้ลำกล้องสั้นๆ
เพราะจะทำให้ความเร็วของกระสุน ไม่ได้มาตรฐานเท่าพวกปืนที่ลำกล้องยาว 18นิ้ว
ผลของความเร็วกระสุนที่ยังไม่ได้ที่ คือยิงโดนตัวแล้วเป้าไม่ค่อยล้ม ต้องยิงที่หัวเท่านั้น
AK74U ที่ลำกล้องสั้นๆ ก็มีปัญหา อย่างเดียวกัน (ข้อมูลจากเจ้าหน้าที่รัสเซียในงาน Defence 08)
ดังนั้นเพื่อให้ได้ปืนที่มีขนาดสั้น แต่ลำกล้องยังยาวได้ขนาด เพื่อให้กระสุนหมุนให้ได้ครบรอบ
จนได้ความเร็วที่เพียงพอ การเลือกใช้ปืนแบบ Bullpup ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดี
สำหรับ ปืน M16A2 เท่าที่เป็นข่าวในสื่อของฝรั่ง
ตั้งแต่สมัยสงครามอ่าว (ครั้งแรก) มีการรายงานว่าปืนขัดลำค่อนข้างบ่อย (ขนาดรบไม่กี่วัน)
ในอิรัค ความที่สงครามไม่จบเร็ว ก็มีข่าวปืนขัดลำ จนปืนที่ได้รับการเลือกจากทหารที่นั่นว่าดีที่สุด กลายเป็น M14
ปืน M16ผู้ใช้ต้องหมั่น ดูแลรักษาความสะอาด มาก เหมือนรถไม่ห่างช่างหรืออู่
ทางแก้ก็โดยการใช้ชุดเสริม ซึ่งจะช่วยลดการขัดขัดข้องได้ถึง 75%
เข้าใจว่า Tavor น่าจะไม่มีปัญหาเท่า M16 แต่จะทนมือทน เท่า AK หรือไม่ยังสงสัย
ไทยเราเคยใช้ทั้ง ปลย.๑๓ (HK33) พร้อมๆกับ ปลย.เอ็ม ๑๖ มาแล้ว ซ้ำซ้อนหรือไม่?
แต่ ผมอยากเห็นการ ทำความเคารพ และการสวนสนามด้วยปืน Tavor จัง
จะเป็นแบบอังกฤษ หรือฝรั่งเศส?
เชิญร่วมวิจารณ์กันเยอะๆครับ
อันนี้เป็นบทความที่ผมลงในเว็บรุ่นผมครับ...ถ้าบางสำนวน บางคำมันแปลกๆจะได้ไม่งงครับ
เริ่มด้วยเจ้าตัวแรกคือ เจ้า ทาเวอร์ ครับ ทาเวอร์นั้นเป็นปืนที่ออกแบบมาในรูปแบบที่เราเรียกว่า ทรง บูลพัพ(Bull Pup) ซึ่งมันเป็นรูปทรงที่ออกแบบโดยการย้ายชุดห้องลูกเลื่อนไปอยู่ในส่วนของพานท้ายปืนครับ ในปืนรูปทรงปกติทั่วๆไป เช่น ปืนตระกูล เอ็ม 16 ที่เพื่อนๆคุ้นเคยนั้น ส่วนของห้องลูกเลื่อนจะอยู่ค่อนมาทางด้านหน้าชุดลั่นไก แต่ในปืนทรงบูลพัพ ชุดห้องลูกเลื่อนมันจะอยู่ไปทางด้านหลังชุดลั่นไก ทำให้ช่องรับซองกระสุนอยู่ด้านท้ายด้ามปืนครับ(ชุดสังเกตง่ายๆของปืนทรงบูลพัพ) ซึ่งปืนทั่วๆไปที่เราคุ้นเคย ช่องรับซองกระสุนมันจะอยู่ด้านหน้าด้ามปืนครับ
ที่นี้เราก็มาดูกันว่า ทำไมต้องออกแบบรูปทรงแบบนี้และมีข้อดี ข้อเสียต่างกันยังไงกับปืนรูปทรงทั่วๆไป ปืนทรง บูลพัพ เป็นการนำเอา2ส่วนเข้ามารวมเป็นส่วนเดียวกัน คือ พานท้ายและห้องลูกเลื่อน ทำให้ความยาวโดยส่วนรวมของตัวปืนสั้นลงโดยที่ลำกล้องยังยาวเท่าเดิม ทำให้ขนาดกระทัดรัด คล่องตัวขึ้น เหมาะกับการปฏิบัติหรือหน่วยที่ต้องการความคล่องตัวสูง เช่น การรบในพื้นที่ปิด หน่วยส่งทางอากาศ หน่วยที่ปฏิบัติงานร่วมกับยานเกราะ(ซึ่งต้องบรรทุกไปในยานเกราะ) ในขณะที่ความยาวลำกล้องยังเท่าเดิม(เมื่อเทียบกับการออกแบบในรูปทรงปกติ) ซึ่งทำให้ความเร็วต้นและระยะยิงคงเดิม............ในกรณีปืนรูปทรงปกตินั้นทางออกสำหรับความต้องการดังกล่าว(ความกะทัดรัดและคล่องตัว) คือ การตัดลำกล้องให้สั้นลง และทำพานท้ายให้ยืดหดได้ เช่น ปืน เอ็ม 4 คาร์ไบด์ ผลที่ตามมาก็คือ ความเร็วต้นและระยะยิงลดลง(เพราะตัดลำกล้องสั้นลง) หรือ การทำพานท้ายให้พับเก็บได้ ซึ่งจะทำให้ลำกล้องยาวเท่าเดิมแต่ความยาวส่วนรวมสั้นลง(เพราะพับพานท้ายได้) เวลาที่เรายังไม่ใช้ก็พับพานท้ายเก็บไว้ได้ เวลาจะใช้ก็กางออก แต่มันก็ยังเสียเวลาในการพับ-เก็บพานท้ายครับ เช่น ปืน FN FNC (ปืนตัวนี้ถ้าเพื่อนที่เคยไปดูงาน รร.นายร้อยอินโดด้วยกันน่าจะจำได้นะครับ หรือ เพื่อนที่อยู่ ร.21รอ. ครับ เพราะผมเคยเห็นครับ) .........หรือ ปืนตระกูล H&K G36 ครับ ซึ่งเรามีใช้งานอยู่จำนวนหนึ่งครับ ในทบ. เป็นรุ่นมาตรฐาน G36E(คือตัว ปลย.หรือไรเฟิล:Rifle) ซึ่งเคยเห็นตอนปฏิวัติ(ไม่แน่ใจว่า รพศ. หรือ ร.31รอ. เพราะเห็นแต่ เบเร่ต์แดง ไม่เห็นหน่วย)และภาพการปฏิบัติงานในภาคใต้ (น่าจะพัน จจ.) ซึ่งมีทั้งใช้ แม็กปกติ(30นัด) และใช้ แม็กพิเศษ(C-MAG) ซึ่งจุ 100 นัด..........ในส่วนของทร.นั้น หน่วยซีลใช้ G36K(ตัว ปลส. หรือ คาร์ไบด์:Carbine)ซึ่งลำกล้องจะสั้นกว่าตัวไรเฟิล(ปลย.) แต่เป็นG36Kที่ไม่ใช้ศูนย์เล็งมาตรฐานแบบกล้องเล็ง(G36E และG36Kตัวมาตรฐานจะใช้ศูนย์เล็งแบบกล้องเล็งติดมาในตัว) แต่เลือกติดราง พิคาทินนี่(Picatinny) แทน(รางพิคาทินนี่ เป็น อุปกรณ์มาตรฐานสำหรับเชื่อมต่อกับอุปกรณ์เสริมอื่นๆ เช่น กล้องอินฟาเรด ไฟฉาย ได้ ลักษณะจะเป็นร่องบาก) ซึ่งใช้ชื่อว่า G36KV ส่วน นย.(กองพันลาดตระเวนหรือที่เรารู้จักกันว่าReconนั่นแหละครับ)ใช้ G36C (ตัว คอมแพ็ค)ซึ่งลำกล้องจะสั้นกว่ารุ่น G36K และไม่สามารถติดเครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม.ตรงบริเวณใต้ประกับลำกล้องได้.............
ทีนี้มาดูในอีกด้านหนึ่งของปืน ทรง บูลพัพ ครับ ด้วยเนื่องจาก ความยาวโดยรวมที่สั้นลง ทำให้ถ้าติดศูนย์เล็ง แบบ ศูนย์เปิดแล้วระยะห่างระหว่างศูนย์หน้าและศูนย์หลังจะสั้นมาก ซึ่งมีผลต่อความแม่นยำในการเล็งประณีต ครับ ปืนที่ระยะห่างระหว่างศูนย์หน้าและศูนย์หลัง(ศูนย์เปิดนะครับ)มีมากกว่า การเล็งยิงประณีตจะทำได้ดีกว่าครับ ยกตัวอย่างคือ ระหว่างปืน เอ็ม 16 กับ เอเค 47(หรือที่เราเรียกกันทั่วๆไปว่า อาก้า นั่นแหละครับ) เอ็ม 16 มีระยะดังกล่าวมากกว่า เอเค47( แถม ศูนย์หลังของ เอเค 47 อยู่ห่างจากดวงตามากซะด้วย ยิ่งไปกันใหญ่) ทำให้การเล็งยิง เอ็ม 16 ประณีตกว่า เอเค 47 ครับ.........ด้วยข้อจำกัดเรื่องระยะดังกล่าวทำให้ปืนที่มีรูปทรงแบบ บูลพัพ เกือบทั้งหมดเลือกใช้ศูนย์เล็งแบบ กล้องเล็ง ครับ....................
ด้วยที่ว่าปืนทรงบูลพัพนั้นห้องลูกเลื่อนอยู่ด้านหลังทำให้น้ำหนักส่วนมากอยู่ทางด้านหลัง ศูนย์ถ่วง(CG)ของปืนจึงค่อนไปทางด้านท้ายปืนครับ ในขณะที่ปืนทรงทั่วๆไป CG จะค่อนมาทางด้านหน้า ดังนั้นการคุมปืน ทรง บูลพัพ ในการยิงเป็นชุด จึงทำได้ยากกว่า ปืนทรงปกติครับ....................
ต่อไปเรามาว่ากันที่ปืน ทาเวอร์ ที่เราซื้อมาครับ ปืนทาเวอร์ มีหลายแบบครับ ทั้ง ไรเฟิล คาร์ไบด์ คอมมานโด ไมโคร ชาพชูตเตอร์ ซึ่งไม่รู้ว่า เราจัดหารุ่นไหนมาบ้างครับ(ต้องถามไอ้เสริญ หรือ เพื่อน ร.31รอ. ครับ) แต่ให้เดา สำหรับ ร.31รอ. แล้วน่าจะเหมาะกับตัว ไรเฟิล ครับ เพราะสามารถติด เอ็ม 203 ได้ ครับ ในส่วนของ ร.21.รอ. แล้วถ้าเป็นกองพันปกติ ก็คงจะเช่นเดียวกับ ร.31รอ. แต่ในส่วนของ ชป.พิเศษต่างๆแล้ว ตัว คอมแพ็ค ไมโคร หรือ ชาร์พชูตเตอร์ ก็น่าสนไม่เบานะครับ..................
ทีนี้มาว่ากันที่ข้อวิจารณ์(ของผม) กันบ้างนะครับ สำหรับปืนทรงบูลพัพแล้ว โอเค ด้วยข้อที่ว่า ความคล่องตัวและความเล็กกะทัดรัดแล้ว เห็นด้วยครับ ที่ข้อที่น่าคิดคือ ศูนย์เล็งแบบกล้องเล็ง ครับ เพื่อนอย่าพึ่งเข้าใจผิดนะครับว่าปืนที่ติดกล้องเล็งแล้ว ทุกคนจะสามารถยิงแม่นเสมอไป มันไม่ใช่ครับ ตราบใดที่กระสุนปืนมันยังวิ่งลักษณะโค้ง(โปรเจ๊กไตด์) อยู่ตราบนั้นมันก็ยังต้องมีการปรับให้เส้นเล็งและวิถีกระสุนมันตรงกัน ที่เราเรียกว่าปรับศูนย์รบ อยู่ดี ดังนั้นศูนย์เล็งทุกอย่างทั้งศูนย์เปิด หรือ ศูนย์กล้อง มันก็ต้องมีการปรับศูนย์เหมือนกันหมด เพราะสายตาคนเราไม่เท่ากัน จะสั้น( เหมือนไอ้โน๊ต) จะยาว(เหมือนกรู ฮะฮะฮ่า) จะเอียงซ้ายแม่ยายรัก หรือ เอียงขวา พ่อตาชัง(พูดถึงเรื่องสายตานะครับ อย่าคิดมาก หุหุ) ก็ว่ากันไป ดังนั้นมันศูนย์กล้องมันจึงต้องปรับให้เข้ากับตาของแต่ละคนเหมือนกัน.......ทีนี้มาว่ากันที่ ความเชื่อถือได้ของศูนย์กล้อง ครับ ว่าถ้ามันต้องผ่านมือชายชาติทหารอย่างเราเป็นร้อยเป็นพัน หรือ ต้องตกระกำลำบาก เขาป่าชื้นขึ้นเขาลงห้วย เช่น ภูมิประเทศป่าภูเขาในแนวรบด้านตะวันตกของเรา ซึ่งเราก็รู้ๆกันอยู่ว่า นิสัย ของทหารไทยเราเป็นอย่างไร รับรองได้ว่ามันจะต้องกระทบนู้นกระทบนี่ กระแทกนั้นกระแทกนี่ อย่างแน่นอน ซึ่งความคลาดเคลื่อนของศูนย์ก็จะตามมา และที่ร้ายไปเลยก็คือ ชำรุด ด้วยเฉพาะตัวเลนส์ ถ้าเลนส์เป็นฝ้า รา หรือ แตกชำรุด ละก็ จบกัน ครับ ในสนามจะไปหาอะไหล่มาเปลี่ยนจากไหน(ขนาดในหน่วยปกติยังหายากเลย) ปืนขาดศูนย์เล็งไปก็ลำบากครับ ต้องพึ่งทักษะการยิงฉับพลันโดยไม่ใช้ศูนย์ของคนผู้นั้นแล้วละครับ........และอีกอย่างก็คือเมื่อเจ้าปืนที่ติดศูนย์กล้องต้องผ่านการปู้ยี้ปู้ยำในระบบของเรา ทั้งการนำมาฝึกทหารใหม่ การเก็บเข้าคลัง การเข้าเวรกองการณ์ สวนสนาม ด้วยแล้วละก็ ผมว่า ระบบศูนย์เล็งของมันต้องลากลับบ้านเก่าเร็วกว่ากำหนดแน่นอน และ ถ้าลงว่าชำรุดละก็ แม้คุณ เอ๊ย ก็อย่างที่ทราบกัน รับรองได้นอนคลังเป็นปีแน่นอน..............และอีกอย่างก็คือ ความเข้าใจ ของน้องๆทหารเราครับ เพื่อนๆที่เคยเป็นผู้ฝึกทหารใหม่น่าจะเข้าใจดี ขนาดศูนย์เปิด หมุนซ้าย-ขวา ง่ายๆ บางทีมันยังงงกันเลยครับ แต่ไม่เป็นไรของอย่างนี้มันฝึกกันได้แต่ต้องใช้เวลา.........แต่อะไรมันไม่สำคัญเท่า ระบบการเบิก-รับปืนของเราครับ ยิงปรับปืนก็เอากระบอกหนึ่งไป พอเบิกมาใช้งานจริงก็เอาอีกกระบอกหนึ่งมา แล้วที่ปรับไว้มันก็ไม่มีค่า ครับ..............
ศูนย์กล้องใน ปืนบูลพัพนั้น ส่วนมากตัวมาตรฐานจะเป็นแบบกำลังขยายต่ำ(ประมาณ 2-4 เท่า) เพื่อนๆคงสงสัยว่า ทำไมไม่ทำกำลังขยายสูงๆไปเลย จะได้เห็นเป้าชัดๆ ถูกครับ กำลังขยายสูงจะเห็นเป้าชัด แต่สิ่งที่ตามมาคือ มุมการตรวจการณ์ก็แคบลงไปด้วยครับ ดังนั้นศูนย์กล้องคอมแบ็ท จึงมีกำลังขยายต่ำ แต่ในภารกิจเจาะจงเช่น การซุ่มยิง แล้ว ปืนของบรรดาสไนเปอร์ จะติดกล้องเล็งแบบกำลังขยายสูงครับเพราะต้องการความแม่นยำแต่อย่างที่บอกคือมุมการตรวจการณ์จะแคบดังนั้นสไนเปอร์ทีม จึงต้องมี 2 คน คนหนึ่งจะคอยชี้เป้าและตรวจการณ์ด้วยกล้องที่มีมุมตรวจการณ์มากกว่า เพื่อเป็นไดเรกเตอร์ ให้กับ ผู้ที่ยิง ครับ.........โดยส่วนมากแล้วกล้องเล็งลักษณะดังกล่าวของปืนบูลพัพ จะมีศูนย์เปิดติดมาด้วยเพื่อการเล็งยิงฉับพลันระยะประชิด หรือ สำรองไว้.... ในกรณี ทาเวอร์ ในตัวมาตรฐานก็มีเหมือนกันเป็นแบบพับเก็บได้ แต่ไม่รู้ว่าของเราที่ได้มามีหรือเปล่า เพราะผมยังไม่ได้เห็นกับตาด้วยตัวเองครับ(ต้องถามเพื่อน)...............
อีกอย่าง เส้นเล็ง ในกล้องเล็ง ก็มีส่วนสำคัญครับ เส้นเล็งในกล้องเล็งมีหลายแบบครับ ผมไม่รู้ว่าใน ทาเวอร์ เป็นแบบไหน ที่เคยเห็น ปืนทรงบูลพัพ คือ ปืน สไตรเออร์ เอยูจี(Steyr AUG) ของ ออสเตรีย(ออสเตรีย นะครับ ไม่ใช่ ออสเตรเลีย หลายคนยังเข้าใจผิดอยู่) และ ปืน Sar 21 ของสิงคโปร์ ทั้งสองแบบ เส้นเล็งเป็นลักษณะ เส้น กากบาท แต่ แทนที่มันจะตัดกันเหมือนกากบาททั่วๆไปที่เราเห็นบ่อยๆในหนังเกี่ยวกับพลซุ่มยิง แต่อันนี้ ตรงกลางมันจะเป็นวงกลม ครับ คือ เส้น 2 เส้น บน-ล่าง และ ซ้าย-ขวา ลากเข้ามาตรงกลาง ตรงกลางแทนที่จะตัดกันมันจะเป็นวงกลมเล็กๆแทนครับ ข้อดีคือ จับเป้าง่ายในการยิงเร็งด่วนระยะประชิดครับ คือ วงกลมทับก็ยิงได้เลย แต่ถ้ายิงประณีตแล้ว สู้ เส้นเล็งแบบกากบาท ไม่ได้ครับ เพราะเพื่อนลองนึกดูครับที่ระยะ 100-200 เมตร เมื่อเรามองผ่านกล้องเล็งดังกล่าว วงกลมดังกล่าวมันใหญ่กว่าลูกฟุตบอลอีกครับ ซึ่งเราไม่รู้เลยว่าจะเอาตรงไหนเป็นหลักในการยิง กรณีนี้ ศูนย์เปิดใน เอ็ม 16 เอ 2 ยังปั้น เอ็กซ์ ได้ง่ายกว่าเลยครับ
ถ้าถามความเห็นส่วนตัวของผมว่าชอบปืนดังกล่าวไหมหรือปืนลักษณะถึงจะเหมาะ ผมขอตอบว่า(ความเห็นส่วนตัวผมนะครับ) ปืนอะไรก็ได้ที่ไว้ใจได้ ในสภาพภูมิประเทศและอากาศแบบบ้านเรา.......ผมขอยกตัวอย่างกรณีปืน G36KV ของซีลละกันครับ.......ถามว่าทำไม ซีล ถึงเลือกตัว KV ซึ่งเป็นรางพิคาทินนี่และใช้ศูนย์เปิดเป็นหลัก ทำไมไม่เลือกตัว Kมาตรฐาน ซึ่งติดศูนย์กล้องมาให้เลย และทำไมถึงไม่เลือกตัว E ซึ่งเป็น ไรเฟิล(ปลย.) แต่มาเลือกตัวคาร์ไบด์(ปลส.) ที่ลำกล้องสั้นกว่า และถามต่อว่า ในเมื่อต้องการลำกล้องสั้นและศูนย์มาตรฐานเป็นศูนย์เปิดแล้วทำไมไม่เลือกตัว G36C ซึ่งลำกล้องสั้นกว่า ตัว G36K เช่นเดียวกับ นย. .................. ในมุมมองของผมแล้วผมคิดว่า....ปืนของ H&Kมีความเชื่อถือได้สูงในเรื่องของการติดขัดในการใช้งานในภูมิประเทศ ลม ฟ้า อากาศแบบบ้านเราและ..
1.ในกรณี ทำไมถึงไม่เลือกตัว ไรเฟิล ทั้งๆที่ลำกล้องยาวกว่าทำให้ระยะยิงหวังผลและความเร็วต้นสูงกว่า...........อันนี้ต้องถามก่อนว่า ในภูมิประเทศและสภาพสนามรบที่เป็นไปได้ในปัจจุบันของเรานั้นเป็นเช่นไร.....ส่วนใหญ่ปัจจุบันคือ การรบในพื้นที่ปิด เช่น ในเมือง หรือ สิ่งปลูกสร้าง สวนยาง ป่าทึบ เช่นในภาคใต้ พื้นที่ ป่าภูเขา เช่น ป่าด้านตะวันตก ระยะที่อาจจะมีการยิงกันจริงๆจึงไม่น่าจะเกิน 200 เมตร ในป่าทึบเช่น ป่าภูเขา เพื่อนลองนึกถึงตอนฝึกจู่โจมดูครับ แล้วจะพอนึกภาพออก........ดังนั้น ไรเฟิล เช่น เอ็ม 16 เอ 2 ซึ่งมีระยะหวังผลเป็นพื้นที่ 800 เมตร เป็นจุด 550 เมตร นั้นก็แถบจะไม่ต่างอะไรกับปืนคาร์ไบด์ซึ่งมีระยะยิงต่ำกว่า และอีกอย่างลองนึกภาพดูครับ ในระยะเอาแค่ 300-400 เมตร เราก็แถบจะมองไม่เห็นเป้าแล้วละครับ.........ดังนั้น คาร์ไบด์ จึง เหมาะสมกว่า ไรเฟิล เพราะกระทัดรัดกว่า คล่องตัวกว่า ขึ้น-ลงยานพาหนะ เช่น ฮัมวี่ หรือ มอร์ไซด์ ไม่เกะกะ ผมว่ามันเหมาะกับสรีระทหารเราที่ตัวไม่ใหญ่เหมือนฝรั่งครับ ระยะ200 เมตรลงมานี่ คาร์ไบด์ยิงได้สบายครับ............ดังนั้นซีล จึง เลือก ตัวคาร์ไบด์ ไม่เลือก ไรเฟิล
2.กรณีที่ ทำไมถึงเลือกตัวที่ใช้ศูนย์เปิดบนรางพิคาทินนี่ เป็นหลัก ทั้งๆที่ตัวมาตรฐานเป็นศูนย์กล่องมาให้จากโรงงาน...............อันนี้ตามข้อพิจารณาข้างต้นที่ผมกล่าวไปแล้วคือ มันมีความอ่อนตัวกว่าครับ เราสามารถเลือกใช้งานได้หลายแบบ ในการสมบุกสมบันศูนย์เปิดเชื่อถือได้สูงกว่า แต่ด้วยรางพิคาทินนี่แล้ว มันก็สามารถติดศูนย์กล้อง หรืออุปกรณ์เสริมอื่นๆเช่น อินฟาเรด ไฟฉาย เข้าไปได้เช่นกัน ซึ่งเราเลือกได้ตามภารกิจครับ................ทีนี้ถ้ามามอง ทบ.เราบ้างครับ ถ้าเราเลือกเหมือน ซีล แล้ว จะมีข้อดีหลายอย่างครับ คือ เราสามารถแยกเก็บกล้องเล็งไว้ต่างหากในสภาพเหมาะสมได้ เราสามารถถอดกล้องเล็งออก(หรือแม้แต่ศูนย์เปิด)เก็บได้ในกรณีไม่ต้องการใช้ เช่น การสวนสนาม การฝึกที่ไม่มีการยิงจริงที่ต้องการความสมบุกสมบัน เช่น สถานีที่5 สนามอัสซัลคอร์ด ซึ่งด้วยรางพิคาทินนี่ซึ่งจะมีหมายเลขบอกตามร่องของมันแล้ว จะทำให้เราง่ายในการติดกล้องโดยที่ไม่ต้องปรับศูนย์ใหม่ครับ คือ กล้องเล็ง นั้นต้องประจำตัวทหาร ยิงปรับ เสร็จแล้วถอดเก็บไว้ โดยต้องจำหมายเลขร่องบากของรางพิคาทินนี่ไว้ พอจะใช้ก็นำมาใส่ตามร่องบากหมายเลขเดิมที่เคยใช้ตอนปรับศูนย์(กล้องตัวเดิมกับที่เคยปรับไว้นะครับ) ซึ่งจะทำให้กล้องไม่ช้ำมากครับ.........ในการออกภารกิจเราก็เลือกได้ครับ อุปกรณ์เสริม ในกองร้อยไม่จำเป็นต้องมีทุกคน เช่น กล้องเล็งจุดแดง(เรดดอท) กล้องอินฟาเรด ไฟฉาย เราก้จะมีจำนวนหนึ่งครับ เมื่อกองร้อยต้องเข้าภารกิจก็เลือกตามภารกิจครับ เช่น ในพื้นที่ สิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเราไม่ต้องเดินเท้านานๆ ไม่ต้องฝ่าภูมิประเทศลำบาก เราก็ติดกล้องเล็งที่ช่วยในการยิงฉับพลันเข้าไปเช่น กล้องเล็งจุดแดง เข้าไป หรือ ถ้าต้องไปในภูมิประเทศที่ลำบาก เช่น ป่าภูเขา เราก็ไม่จำเป็นต้องนำกล้องเล็งไปก็ได้ เพียงแค่ศูนย์เปิดก็พอเพียงแล้ว..........กรณีปืน บูลพัพ ส่วนใหญ่จะมีศูนย์เปิดเสริมอยู่ด้วยเหมือนกัน แต่ อย่างที่บอกครับ ระยะห่างมันน้อย ดังนั้นจึงใช้ได้ในระยะใกล้ๆครับ................ดังนั้นการเลือกแบบนี้จึงอ่อนตัวและเชื่อถือได้กว่าครับ
3.กรณีที่ ทำไมถึงไม่เลือก G36C ซึ่งลำกล้องสั้นกว่าและเป็นศูนย์เปิด รางพิคาทินนี่ อันนี้คำตอบน่าจะอยู่ที่ G36C ติด เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 40 มม. ไม่ได้ครับ และลำกล้องของ KV ก็สั้นกระทัดรัด เหมาะสม กับระยะยิงที่ต้องการครับ
สำหรับอีกตัวคือ ปลก. เนเกฟ ครับ ซึ่งมี 2 แบบ หลักๆ คือ ตัวมาตรฐาน และ ตัวคอมมานโด ซึ่งตัวหลังลำกล้องจะสั้นกว่าตัวแรก และพานท้ายพับได้(ไม่แน่ใจว่า ตัวมาตรฐานพับได้เหมือนกันหรือเปล่า) สำหรับเจ้า เนเกฟ มันก็จัดในคลาสเดียวกับ มินิมิ นั่นแหละครับ..........เนเกฟสามารถใช้ได้ทั้ง สายกระสุน(บรรจุในกล่องผ้า ไม่แน่ใจว่าสามารถใช้งานร่วมกับกล่อง 200 นัดของ มินิมิ ได้หรือเปล่า)และแม็กกาซีน เช่นเดียวกับ มินิมิ......ผมแน่ใจว่าเราจัดหาตัวไหนมาระหว่างตัวมาตรฐาน กับ คอมมานโด...............
สำหรับ มินิมิ นั้นตอนนี้ทบ.เรามีใช้งานอยู่ เท่าที่ผมเห็นมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบของ FN เบลเยี่ยม และ FN อเมริกา แต่ส่วนมากจะเห็นแบบตัวแรกข้อแตกต่างหลักๆคือ
1. ปลอกลดแสงครับ ตัวเบลเยี่ยม จะเป็นลักษณะรูปกรวยครับ ซึ่งจะเห็นเป็นส่วนมากครับ ส่วนตัวอเมริกันปลอกลดแสงจะเหมือนกับ เอ็ม 16 เอ 2 ครับ
2. หูหิ้ว ตัว เบลเยี่ยม จะเป็นแบบก้านตรงๆ ครับ ส่วนตัวไอ้กันเป็น แบบมีแหนบสปริง ครับ
3.ฝาปิดช่องคัดปลอกครับ ตัวเบลเยี่ยมจะมีขนาดใหญ่กว่าครับ
สำหรับการใช้งานอาวุธกลประจำหมู่นั้นมีข้อติงอยู่นิดครับว่า ปัจจุบัน เรามีจำนวนของกล่องกระสุนอย่างพิเพียงหรือไม่....จริงอยู่มันออกแบบให้ใช้ได้ทั้ง 2 แบบคือ กล่องกระสุนและแม็กกาซีน แต่ หลักๆแล้วควรจะใช้กล่องกระสุนครับ......เพราะด้วยหน้าที่ของมันแล้วที่ต้องทำการยิงสนับสนุนอัตโนมัติเป็นชุดๆให้กับหมู่แล้ว ดังนั้นความต่อเนื่องของการยิงจะต้องมีครับ ถ้ามินิมิ ใช้ แม็กกาซีน 30 นัด กดไม่กี่ชุดก็หมดแล้วครับ แถบไม่ต่างจากเอ็ม 16 เลย แถมหนักกว่าอีกต่างหาก.....กรณีแม็กกาซีน ผมมองว่าเค้าน่าจะให้ใช้เป็นตัวเลือกในกรณี กระสุนในอัตราหมดครับก็สามารถไปเกลี่ยนแม็กกาซีนจาก คนอื่นในหมู่มาใช้แทนก่อนครับ(ดีกว่ายิงไม่ได้) และก็กรณีที่ต้องการความคล่องตัวและไม่จำเป็นต้องใช้กระสุนมาก เช่น การกวาดล้างอาคาร ครับ..........ดังนั้นจึงน่าคิดว่าเรามีใช้งานอย่างเพียงพอหรือเปล่า ถ้าให้ใช้แม็กกาซีน เป็นหลักแล้วละก็ มันแถบจะไม่ต่างจาก เอ็ม 16 เท่าไหร่เลย
ถือว่าแนวคิดของ ทบ. ที่จัดหาปืนบูลพัพมาประจำการโดยกำหนดให้เป็น ปลย ในอัตราของหน่วยทหารเป็นเรื่องที่ฉีกแนวคิดเดิมออกไปมาก
ตามที่หมวด FW ได้กล่าวถึงข้อเสียของปืนชนิดนี้ในเรื่องระยะห่างระหว่างศูนย์หน้าและศูนย์ที่มีระยะห่างสั้นกว่าไรเฟิลจู่โจมทั่วไปทำให้มีจุดด้อยในเรื่องความแม่นยำในการเล็ง ส่วนศูนย์กล้องที่นำมาชดเชยจุดด้อยดังกล่าว อาจจะก่อให้เกิดปัญหาในการปรนนิบัติได้ และอย่างที่ทราบกำลังพลที่ได้มาจากการเกณฑ์ส่วนมากมักจะมีปัญหาในเรื่องการเรียนการสอนในเรื่องที่ทันสมัย ซึ่งจุดนี้อาจจะทำให้องค์บุคคลของ ทบ ไม่สามารถก้าวตาม องค์วัตถุที่จัดซื้อจัดหามาประจำการได้
ส่วน ปลก แบบ Negev นั้นในความเห็นส่วนตัวเป็นปืนที่น่าสนใจ เพราะ ทบ ขาดบรรจุปืนชนิดนี้ในอัตราพลยิงอาวุธกลในหมู่ ปล. มาก แต่ก่อนถึงกับต้องใช้ ปลย เอ็ม สิบหก ติดขาทรายมาทดแทน แต่อำนาจการยิงและจำนวนกระสุนน้อยกว่า ปลก แท้ๆ มาก จุดนี้อยู่ที่ว่า ทบ จะจัดการอย่างไร เพราะเคยทราบมาว่า มินามิ ที่ ทบ ใช้ในปัจจุบันนั้น ทบ จำหน่าย ซองกระสุนสามสิบนัด ให้ แทนกล่องกระสุนขนาดร้อยนัด ซึ่งทำให้ขอได้เปรียบของ ปลก หายไป โดยมีคุณค่าทางยุทธการได้ไม่เกิน ปลย ทั่วไปเท่านั้น
ส่วนที่มาที่ไปของโครงการนี้ไม่อยากจะวิจารณ์ว่าไปไปมามา มาโผล่ตัวนี้ได้อย่างไร แต่ก็หวังในใจลึกๆว่า การเปลี่ยนแบบ ปลย ของ ทบ ในครั้งนี้จะประสบผลสำเร็จในด้านองค์บุคล และ องค์วัตถุ เพื่อที่จะบูรณาการเข้ากับองค์ยุทธวิธีได้ต่อไปครับ
อีกเรื่องครับ กองทัพยิว สู้รบปรบมือกับ กกล ต่างๆ อยู่แทบตลอด แต่ผมไม่เคยเห็นทหารยิวแบก Tavor ออกไปซิ่งเลย ท่านใดมีภาพประกอบ ช่วยสนับสนุนหน่อยครับ ผมเห็นทีไรก็เห็นแต่ เอ็มสี่ เอหนึ่ง กับเอ็มสิบหกเอหนึ่งทั้งนั้น
ส่วนตัวชอบ Negev
ส่วนเจ้าTavor ก็ดีครับ
ผมเห็นนะครับตามข่าวที่ว่าทหารยิวใช้Tavor ยืนคุมรถถังนะครับ แต่ส่วนมากเห็นกาลิวมากกว่าอะครับ ของเขาดีจริงๆ
ใครมีภาพ ทหารอสราเอล ถือ ทาเวอร์ ในการปฏิบัติการจริง บ้างครับ......อยากชมนะครับ ผมเจอแต่ ปืนตระกูล เอ็ม 16 และ กาลิล.................
อื่มโดยส่วนตัว ผมว่า ตอนนี้ทัพบกอาจจะหาอะไรใหม่ๆให้ชีวิต อยู่ก็ได้นะครับ ชีวิตรักกับพี่กัน ชักจืดชืด พี่กันไม่มาสนใจดูแล เอาซะเลย เลยแอบๆ ซื้อของจากพี่ยิว ล็อตเล็กๆ ย้ำว่าเล็กจริงๆ ถ้าเทียบกับล็อตอื่นๆของพี่ยิวเค้า
แต่ทั้ง Negev และTavor ก้ไม่ได้ขี่เหร่ และราคาก็ไม่ได้ถูกอะไร จำไม่ได้แล้วว่าเสนอราคาเป็นอันดับที่เท่าไหร่ แต่ ไม่ใช่ถูกสุด และแพงกว่า m4 อยู่หลายบาทเหมือนกัน(m4 รู้สึกว่าจะส่งมาที่ 40k)
แต่ที่ตัดสินใจเลือกพี่ยิว เพราะว่า g36 มีปัญหาทั้งเรื่องราคา(จำไม่ผิด 80K)และปัญหาทางเทคนิค รวมทั้งความน่าเชื่อถือ ที่ทหารมีต่อปืนนะครับ(เพราะใช้พลาสติกมากเกินไป )
ไม่รู้เหมือนกันว่าเวลากองทัพซื้อของใหม่ มาไมต้องมีคนด่าด้วยนะไม่เข้าใจเหมือนกันทั้งๆที่ 2 รุ่นนี้เป็นปืนดีมากๆเลย TARVO มีเทคโนโลยี่ใกล้เคียง g36 แต่ราคาถูกกว่าเหมาะสมกับภาระกิจบางแบบมากกว่า ขณะที่ m-16a2-a4 นั้นเริ่มๆจะล้าสมัยไปซะแล้ว
สรุปเห็นด้วยในการจัดหาครั้งนี้
ตามที่ท่าน fw190 ได้ให้ข้อด้อยของ ปืนแบบบูลพัพ ทางการทหารแล้วจะขอบอกข้อด้วยทางเทคกะนิคบ้างดีกว่า เอาคราวๆละกันนะ
1. ข้อด้วยทางสรีระ ของสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน
-เปลี่ยนซองกระสุนได้ยากกว่า และเสียเวลามากกว่า เนื่องจากปืนแบบนี้ดันเอาซองกระสุนไปไว้ที่พานท้ายซะงั้น เลยทำให้การเปลี่ยนซองกระสุนจะทำได้ยากกว่า และทำให้เวลาเปลี่ยนซองกระสุนจำเป็นต้องก้มไปมอง ถึงจะเสียบถูก ซึ่งปืนบุลพัพสมัยใหม่ก็ได้พยายามจะลดข้อด้อยนี้อย่างเอาเป็นเอาตาย แต่ก็ยังลดไม่หมด เพราะข้อจำกัดท่งสมองมนุษย์นั่นเอง คือมนุษย์จะมีสมองส่วนที่ทำหน้าที่รับรู้ว่าร่างกายเราอยู่ในลักษณะไหน จึงเป็นสาเหตุให้เราหลับตาแล้วเอาของกินเข้าปากได้นั่นเอง ด้วยสมองส่วนนี้เองทำให้การบรรจุซองกระสุนในปืนปรกติทำได้ดีกว่าปืนแบบบูลพัพเพราะปืนปรกติจะมีจุดอ้างอิงคือ มือ ซึ่งถือเป้นจุดอ้างอิงหลักของรางกายเราเลยทีเดียว ทำให้การเปลี่ยนซองทำได้ง่ายกว่าเยอะที่เดียว รวมทั้ง พื้นที่ตรงพานท้ายปืนถือเป้นจุดอัพของมนุษย์ อยู่ไม่น้อยเลยทีเดียวทั้งด้านสรีระ และด้านการมองเห็น ดังนั้นเวลาจะเปลี่ยนซองกระสุนปืนสำหรับปืนบูลพัพคนเราส่วนใหญ่จึงมักจะยกปืนขึ้น แล้วก้มมอง ซึ่งปืนปรกติคนเราจะไม่ทำแบบนั้น
ซึ่งนี่ถือเป้นข้อด้อยที่สำคัญของปืนแบบนี้ แต่ก้ถูกแก้ไขไปเยอะแล้ว ในอนาคต น่าจะลดลงอีก
2. ข้อด้วยทางวิศวะกรรมศาสตร์
- การติดขัดของชิ้นส่วน ปืนบูลพัพจัดเป็นปืนที่ออกแบบใหม่เอา ของที่ควรอยู่ข้างหน้าไปไว้ข้างหลังแล้วยังไม่พอ ดันเอาของที่ควรอยู่คู่กันเอาไว้ข้างหน้าส่วนหนึ่ง เอาไว้ข้างหลังส่วนหนึ่ง นั่นก้คือ ชุดลูกเลื่อน และชุดลั้นไกและควบคุมการยิงนั่นเอง แน่นอนของมันคู่กันแต่ดันจับแยกกัน ชิ้นส่วนที่ต้องใช้ก็ต้องเยอะขึ้น ความผิดพลาดก้จะเยอะขึ้นตามมาด้วย การติดขัดก้จะตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้ และทำให้ปืนซับซ้อนยิ่งขึ้น
ไม่ได้เข้ามาอ่านเสียนาน พอดีอ่านเจอ เลยเอามาฝากเจ้าของกระทู้
ทหารยิวกับ negev และ tavor
จาก militaryphotos.net นะครับ
@
หมาน้อยน่ารักดี
สวัสดีครับพี่ ผม Makropolo ชกท.๕๔๑ ครับ พี่ครับในปัจจุบันทหารอเมริกันก็ไม่ฝึกประทับสะโพกยิงแล้วนะครับ แต่เน้นประทับบ่าเดินเข้ายิง
ไม่เชื่อพี่หา ข้อมูลในอิรัคจากเวป ต่างๆดู จะบลูพับ รึไม่ ผมว่าสำคัญที่ การฝึกครับ ที่ ร้อย.๖ มทบ.๑๑ มีปืนเมทเสน ของทร.ฝากตั้งแต่เมื่อไรไม่รู้ ที่รู้คือ พวก ชก.ต้องฝึกทั้ง HK ทั้ง M 16 ทั้ง เมทเสน รอบการฝึกยิงด้วยกระสุนจริงก็น้อย(งบมาแค่ไหน ยิงไปแค่นั้น) อย่าว่าบลูพับเลย ต่อให้ปืนดีที่สุดในโลก เราก็ยิงพลาด ศูนย์ขาดการปรับแต่ง มาไงยิงงั้นเลย ผมว่าน่านำเข้าประจำการ ด้วย Tarvor ทั้งกองทัพเลย รึไม่ก้อ HK บลูพับที่พี่นำภาพมาให้ชมเป็นขวัญตา(ครั้งแรกเห็น ชอบด้วยสิ) ไหนๆก้อจะส่งเสริมของในอยู่แล้ว สุดท้ายผม เสริมปืนบลูพับ อีกแบบ ของจีนครับ ขอบคุณครับ
Thank pantip.com
ภาพบนค่อนข้างแน่ใจว่าน่าจะใช้ Tavor รุ่น TAR-21 Rifle ครับ ส่วนกล้องเล็ง คิดว่าเป็นแบบ Mepro-21 Passive Reflex Sight ครับ
จาก Link ข้อมูลเครื่องแบบใหม่ทหารบกของกรมยุทธการทหารบกนี้มีลงไว้ว่าทหารอากาศและทหารเรือบางหน่วยจะมีการใช้เครื่องแบบสนามแบบใหม่ด้วยครับซึ่งในส่วนของกองทัพอากาศนั้นหลายๆท่านคงได้เห็น อากาศโยธินกรมปฏิบัติการพิเศษในชุดสนามแบบ Flecktran ที่นี้ก็คงต้องรอดูครับว่าทหารเรือจะมีเครื่องแบบสนามแบบใหม่ออกมาหรือไม่ (น่าจะชุดของ นสร.ไม่ก็ พัน.ลว.นย.ครับ)
ขอโทษนะครับ คือ ถ้าผมเดาถูก ที่คุณ มาโคโปโล เขียนว่า ประทับบ่า นี่คงหมายถึง ประทับไหล่(กระชับพานท้ายเข้าร่องไหล่)ใช่มั๊ยครับ.....เพราะถ้าประทับบ่า มันจะวางอยู่บนบ่ามันคือท่าการยิงของ คจตถ. ทั่วๆไปครับ.....ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้นได้เพราะการฝึกจนชำนาญครับ.........เดี๋ยวว่างๆผมจะนำกรณีน่าสนใจมาเล่ากันฟังครับ..............................สุดท้ายขอยกตัวอย่าง กรณี หนึ่งแบบสั้นๆ ซึ่งเกิดไม่นานมานี้ ซึ่งมีทั้งตายและบาดเจ็บ ข่าวลึกๆที่ได้มาทราบว่า วันนั้นบางนายมีซองกระสุนเพียงแค่ซองเดียวคือซองที่ติดปืนที่มีกระสุนอยู่จริงๆ ที่เหลือที่อยู่ในกระเป๋ากระสุนที่ติดอยู่ด้านหน้าเสื้อเกราะนั้นเป็นซองเปล่าที่ไม่มีกระสุน ทำให้ไม่มีกระสุนที่จะแก้ไขสถานการณ์................ซึ่งสาเหตุที่ไม่บรรจุกระสุนนั้น เพราะหนัก และ ประมาท สิ่งเหล่านี้มีสาเหตุ ซึ่งมันก็สืบเนื่องมาจากการฝึกนั่นเอง.........เดี๋ยวว่างๆ จะนำแบบเต็มๆ มาวิเคราะห์กันครับ
หมวด Bomb ครับ
ตามความเข้าใจของผม ก่อนออกปฏิบัติภารกิจ นั้นผู้บังคับหมู่ ต้องตรวจความเรียบร้อยของอุปกรณ์ทุกอย่างซึ่งรวมทั้ง อาวุธ และกระสุนในหมู่ตนเอง ก่อนออกปฏิบัติการด้วยไม่ไช่หรือครับ และที่ผมมองก็คือกรณีแบบนี้ประมาท+ขี้เกียจนะครับ ควรมีการสอบสวนและถ้าผิดจริงก็ควรลงโทษด้วย
ผมเห็นด้วยล้านเปอร์เซ็น เกี่ยวกับการฝึก โดยเฉพาะทหารที่จะส่งไปปฏิบัติหน้าที่ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ต้องฝึก ฝึก ฝึก ฝึก ฝึก แล้วก็ฝึก และต้องเป็นการฝึกสำหรับการปฏิบัติงานใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ด้วยนะครับ