เห็นท่าน สกายนาย
โพสต์
สวีเดนแถมดัดแปลงบ.C-130 ไทยเป็นบ.เติมน้ำมัน บ.กริปเปน-39
เลยสงสัยว่าจำเป้นสำหรับประเทศไทยมากน้อยเพียงได วานผุ้รู้ช่วยแสดงความคิดความเห็นด้วยนะครับ
จักเป็นพระคุณอย่างยิ่ง
...............................เรียน.ท่านviper...........ผมขออนุญาตขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้ดังนี้ กล่าวคือ. เนื่องจากสาเหตุที่ประเทศไทยเรา ไม่ได้ฐานะทางเศรษฐกิจที่ร่ำรวยและยังมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหาเครื่องบินรบแยกประเภทไปตามภารกิจได้ เหมือนตัวอย่างดังเช่น สหรัฐที่มีเศรษฐกิจดี ซึ่งภารกิจขับไล่สกัดกั้นการครองอากาศ แต่เดิมภารกิจนี้ ทอ.สหรัฐใช้ บ.F-15 C ปฏิบัติภารกิจขับไล่สกัดกั้นการครองอากาศนี้เป็นหลัก และภารกิจโจมตีภารกิจนี้แต่เดิม ทอ.สหรัฐใช้ บ.B-1 , บ.F-117 และ บ.B-2 ปฏิบัติภารกิจโจมตีนี้เป็นหลัก ซึ่งบ.ดังกล่าวของสหรัฐล้วนมีการกำหนดลักษณะสมรรถนะเครื่องบินรบออกให้มาสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆนี้ออกมาชัดแจ้งตั้งแต่มีการวิจัยพัฒนาผลิตบ.ดังกล่าวขึ้นมา ...............แต่ทอ.ไทยเรานี้ เราแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหาเครื่องบินรบ แยกประเภทไปตามภารกิจได้ โดยวิธีที่ทอ.ไทยได้เลือกจัดหาบ.มาประจำการ เป็น บ.รบทวิภารกิจ(multi role aircraft) ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งภารกิจขับไล่สกัดกั้น และภารกิจโจมตีไปด้วยในตัว(แม้จะปฏิบัติภารกิจได้ดีไม่เทียบเท่ากับบ.ที่ผลิตมาเพื่อใช้ในภารกิจนั้นโดยตรงก็ตาม) ........ดังเช่นแต่เดิมทอ.ไทยเราการจัดหา บ.F-16 A/B มาประจำการในอดีต ซี่งในหลักนิยมหรือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณนี้ ในการจัดหาบ.มาประจำการทดแทน บ.F-5 ซึ่งกำลังจะปลดประจำการไปในอนาคตอันใกล้นี้ ทอ.ไทยเราจึงจัดหา บ.รบทวิภารกิจ(multi role aircraft) แบบ บ. กริปเปน -39 มาประจำการทดแทนบ.F-5 โดยที่ บ.กริปเปน -39 เป็นบ.ที่มีสมรรถนะสูงสามารถปฏิบัติภารกิจสามารถใช้อาวุธได้ทั้ง อาวุธจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศได้ทั้ง AIM-9 ไซไวเดอร์ , ไพธ่อน 4-5, MICA อาวุธจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางได้เช่น AIM-120 แอมราม, เมทริเออร์, อาวุธ๗ณซโนำวิถีอากาศสู่พื้น แบบ Maverick, DWS 39 และอาวุธ๗ณซโนำวิถี อากาศสู่พื้น เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำ แบบ RBS-15 และรวมถึงระเบิดแบบต่างๆที่แต่เดิมทอ.ไทยมีประจำการอยู่แล้วก็ตาม แต่ด้วยมีข้อจำกัดที่ บ.กริปเปน-39 เป็น บ.ขนาดเล็ก ทำให้มีพิสัยการบินที่ไม่สามารถจะบินได้ไกล เนื่องจากบรรทุกเชื้อเพลิงได้จำนวนจำกัด ทำให้ บ.กริปเปน-39 ไม่สามารถตอบสนองภารกิจของ ทอ.ไทยเราได้อย่างเต็มที่ หากว่าภารกิจที่ต้องปฏิบัตินั้นอยู่ไกลเกินกว่าพิสัยบินและรัศมีการบินจากฐานบินของตน แต่ในทางกลับกัน แต่ถ้าถ้าหากไทยเรามีการจัดหา บ.เติมน้ำมันกลางอากาศ(TANKER) เพื่อคอยส่งกำลังบำรุงเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศให้ ก็จะสามารถต่อระยะเพิ่มพิสัยการบินให้ บ.กริปเปน -39 ให้สามารถไปปฏิบัติภารกิจทั้งภารกิจขับไล่สกัดกั้น และภารกิจโจมตีให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น และในการบินขึ้นจากฐานบินของตน บ.กริปเปน-39ก็อาจสามารถบินได้ไกลไปปฏิบัติภารกิจต่างๆครอบคลุมไปได้ทั่วประเทศไทยเราได้ หรือในยามจำเป็นอาจนำไปใช้ในภารกิจโจมตีเชิงรุก ซึ่งอาจใช้ในการบินต่อระยะให้บ.กริปเปน-39 บินไปโจมตีประเทศที่เป็นปรปักษ์กันกับไทยเราได้.......................ครับ/สกายนาย
(ขอโทษครับ.....ที่โพสไปแล้วข้างบน ตัวหนังสือเล็กและมีพิมพ์ผิด ขออนุญาตโพสซ้ำใหม่)
...............................เรียน.ท่านviper...........ผมขออนุญาตขอแสดงความคิดเห็นส่วนตัวในเรื่องนี้ดังนี้ กล่าวคือ. เนื่องจากสาเหตุที่ประเทศไทยเรา ไม่ได้ฐานะทางเศรษฐกิจที่ร่ำรวยและยังมีงบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหาเครื่องบินรบแยกประเภทไปตามภารกิจได้ เหมือนตัวอย่างดังเช่น สหรัฐที่มีเศรษฐกิจดี ซึ่งภารกิจขับไล่สกัดกั้นการครองอากาศ แต่เดิมภารกิจนี้ ทอ.สหรัฐใช้ บ.F-15 C ปฏิบัติภารกิจขับไล่สกัดกั้นการครองอากาศนี้เป็นหลัก และภารกิจโจมตีภารกิจนี้แต่เดิม ทอ.สหรัฐใช้ บ.B-1 , บ.F-117 และ บ.B-2 ปฏิบัติภารกิจโจมตีนี้เป็นหลัก ซึ่งบ.ดังกล่าวของสหรัฐล้วนมีการกำหนดลักษณะสมรรถนะเครื่องบินรบออกให้มาสามารถปฏิบัติภารกิจต่างๆนี้ออกมาชัดแจ้งตั้งแต่มีการวิจัยพัฒนาผลิตบ.ดังกล่าวขึ้นมา ...............แต่ทอ.ไทยเรานี้ เราแก้ปัญหางบประมาณไม่เพียงพอที่จะจัดหาเครื่องบินรบ แยกประเภทไปตามภารกิจได้ โดยวิธีที่ทอ.ไทยได้เลือกจัดหาบ.มาประจำการ เป็น บ.รบทวิภารกิจ(multi role aircraft) ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจได้ทั้งภารกิจขับไล่สกัดกั้น และภารกิจโจมตีไปด้วยในตัว(แม้จะปฏิบัติภารกิจได้ดีไม่เทียบเท่ากับบ.ที่ผลิตมาเพื่อใช้ในภารกิจนั้นโดยตรงก็ตาม) ........ดังเช่นแต่เดิมทอ.ไทยเราการจัดหา บ.F-16 A/B มาประจำการในอดีต ซี่งในหลักนิยมหรือข้อจำกัดทางด้านงบประมาณนี้ ในการจัดหาบ.มาประจำการทดแทน บ.F-5 ซึ่งกำลังจะปลดประจำการไปในอนาคตอันใกล้นี้ ทอ.ไทยเราจึงจัดหา บ.รบทวิภารกิจ(multi role aircraft) แบบ บ. กริปเปน -39 มาประจำการทดแทนบ.F-5 โดยที่ บ.กริปเปน -39 เป็นบ.ที่มีสมรรถนะสูงสามารถปฏิบัติภารกิจสามารถใช้อาวุธได้ทั้ง อาวุธจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศได้ทั้ง AIM-9 ไซไวเดอร์ , ไพธ่อน 4-5, MICA อาวุธจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยกลางได้เช่น AIM-120 แอมราม, เมทริเออร์, อาวุธจรวดวิถีอากาศสู่พื้น แบบ Maverick, DWS 39 และอาวุธจรวดนำวิถี อากาศสู่พื้น เพื่อใช้โจมตีเรือผิวน้ำ แบบ RBS-15 และรวมถึงระเบิดแบบต่างๆที่แต่เดิมทอ.ไทยมีประจำการอยู่แล้วก็ตาม แต่ด้วยมีข้อจำกัดที่ บ.กริปเปน-39 เป็น บ.ขนาดเล็ก ทำให้มีพิสัยการบินที่ไม่สามารถจะบินได้ไกล เนื่องจากบรรทุกเชื้อเพลิงได้จำนวนจำกัด ทำให้ บ.กริปเปน-39 ไม่สามารถตอบสนองภารกิจของ ทอ.ไทยเราได้อย่างเต็มที่ หากว่าภารกิจที่ต้องปฏิบัตินั้นอยู่ไกลเกินกว่าพิสัยบินและรัศมีการบินจากฐานบินของตน แต่ในทางกลับกัน แต่ถ้าถ้าหากไทยเรามีการจัดหา บ.เติมน้ำมันกลางอากาศ(TANKER) เพื่อคอยส่งกำลังบำรุงเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศให้ ก็จะสามารถต่อระยะเพิ่มพิสัยการบินให้ บ.กริปเปน -39 ให้สามารถไปปฏิบัติภารกิจทั้งภารกิจขับไล่สกัดกั้น และภารกิจโจมตีให้ได้ไกลมากยิ่งขึ้น และในการบินขึ้นจากฐานบินของตน บ.กริปเปน-39 ก็อาจสามารถบินได้ไกลไปปฏิบัติภารกิจต่างๆครอบคลุมไปได้ทั่วประเทศไทยเราได้ หรือในยามจำเป็นอาจนำไปใช้ในภารกิจโจมตีเชิงรุก ซึ่งอาจใช้ในการบินต่อระยะให้บ.กริปเปน-39 บินไปโจมตีประเทศที่เป็นปรปักษ์กันกับไทยเราได้.......................ครับ/สกายนาย
Multirole Aircraft เคยมีผู้ให้คำแปลว่า บ.พหุบทบาท ครับ ซึ่งถ้าเฉพาะในส่วนของสหรัฐฯเองนั้นการออกแบบ บ.ขับไล่นับตั้งแต่ F-16 เป็นต้นมานี้ก็มีลักษณะเป็น บ.Multirole ในตัวแล้วครับซึ่ง บ.ขับไล่เบาในอนคตของสหรัฐฯคือ F-35 นั้นก็จะถูกนำมาแทน บ.ขับไล่ และ บ.โจมตี หลายแบบ เช่น F-16 และ A-10 เป็นต้นครับ ซึ่งในหลายๆความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคตนั้น บ.ขับไล่เบาจะถูกนำมาใช้ปฏิบัติการมากกว่า บ.ทิ้งระเบิดอย่าง B-52 และ B-2 ครับเนื่องจากมีความอ่อนตัวและมีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการน้อยกว่า(สหรัฐฯเองก็มี งป.จำกัดครับ)
บ.ขับไล่ที่ประจำการในไทยนั้นมี บ.F-16 ที่สามารถเติมน้ำมันกลางอากาศได้ครับแต่เป็นระบบ BOOM ของ USAF ในขณะที่ Gripen นั้นใช้ระบบ Probe มาตรฐาน NATO ซึ่งถ้าเราจะจัดหา บ.Tanker มานี้ก็คงต้องมีระบบเติมทั้ง Boom และ Probe ครับเพิ่อจะได้ใช้ได้ทั้ง F-16 และ Gripen (เช่นให้ Gripen คุ้มกัน F-16 ในภารกิจโจมตีทางลึกเป็นต้น)
ความเห็นส่วนตัว
จำเป็น แต่ไม่เร็วด่วนครับ ผมถือว่าความเร่งด่วนของมันต่ำมาก
1. บ.ข. 20+AEW: เพื่อดำรงอัตรากำลังรบ
2. ฮ. ทดแทน HU-1H: ทดแทนฮ. ที่กำลังหมดอายุ สำคัญสำหรับกิจการทหารและพลเรือน
3. MLU: เพื่อให้เท่าทันเทคโนโลยี ดำรงความสามารถในการป้องกันประเทศ
4. อาวุธ ระเบิด: ไม่มีสองสิ่งนี้ เครื่องบินรบก็ไร้ประโบชน์
5. เครื่องบินลำเลียงขนาดกลาง: เพราะ C-130 จะแย่แล้ว
6. ปรับปรุง บ. ฝึก: ฮ.ฝึกเราเริ่มเก่า อาจจะทำให้การเปลี่ยนแบบเกิดปัญหา จำต้อง upgrade
7. บ. tanker: ต่อระยะเครื่องบินรบของเรา
ซึ่งการต่อระยะ หรือการทำให้มันบินได้ไกลขึ้นนั้น แน่นอนดีจริงครับ แต่มันก็ไม่ได้สำคัญขนาดนั้น ถ้าเทียบกับสนามบินของเราที่มีทั่วประเทศ ยิ่งงบประมาณของทอ.จำกัดด้วยแล้ว ผมจัดให้มันเป็นความเร่งด่วนอันดับท้าย ๆ เลยครับ
ความเห็นส่วนตัวครับ
มีมันก็ดีแต่เครื่องบินเรามันไม่ได้บินไกลขนาดนั้นนะสิ เครื่องบินของเราที่ประจำการมีไว้ป้องกันไม่ได้มีไว้บินข้ามประเทศไปโจมตีประเทศใคร แต่ถ้ามีไว้ทหารอากาศก็จะได้ฝึก ยามจำเป็นจะได้ใช้เป็น
ทุกอย่างมันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ แต่มีไว้ก็ดีกว่าไม่มีอะไรเลย ถึงวันนี้ไม่ได้ใช้สักวันก็ต้องได้ใช้ ถึงไม่ได้ใช้ยังไงก็ได้ใช้ในการฝึก
ถ้าถามว่าจำเป็นไหมก็ตอบว่าจำเป็นครับ ถ้าไม่จำเป็นเขาจะเสนอดัดแปลงเครื่อง ซี-130 ให้เราทำไม สวีเดนเขารู้ดีว่าเครื่องบินของเขาเมื่อเทียบกับคู่แข่ง อย่าง ซู-30 และ เอฟ-15อี แล้ว นี่คือข้อด้อยของแจส39ครับ
ถามว่าประเทศเล็กๆอย่างไทยจะเอาเครื่องบินขนาดใหญ่บินได้ไกลๆนานๆมาทำไมก็ให้ลองดูอิสราเอลกับสิงคโปร์ครับ สองประเทศนี้เขาเล็กกว่าเราอีก เขายังมีเครื่องบินใหญ่ๆขนาดเอฟ-15อีไว้ใช้เลย (ทั้งๆที่สองประเทศนี้ก็มีเอฟ-16รวมกันหลายร้อยเครื่อง) ดังนั้นขนาดของประเทศมันไม่ได้บอกว่าเราควรจะมีเครื่องบินขนาดใหญ่หรือเล็กครับ
ในการรบยุทธวิธีหรือแผนการรบเป็นสิ่งสำคัญครับอย่างสงครามยอมคีปเปอร์อิสราเอลบินโจมตีอิยิปต์โดยอ้อมทะเลเข้ามานาครับไม่ได้โจมตีตรงๆในแนวหน้า เพื่อเลี่ยงระบบป้องกันภัยทางอากาศอันทันสมัยของอิยิปต์ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเครื่องที่มีขาดใหญ่บินได้ไกลๆนานๆย่อมมีประโยชน์ทางยุทธวิธีมากกว่าขนาดเล็กครับ