..................เนื่องจากผมไปพบข้อมูลจาก บทความกริเพนของแฟนพันธุ์แท้เครื่องบินรบ สรศักดิ์ สุบงกชจากเว็บไซด์ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=skyman&month=01-2008&date=05&group=1&gblog=68 ซึ่งบทความนี้ ท่านสรศักดิ์ สุบงกช แฟนพันธุ์แท้เครื่องบินรบ ลงเนื้อความว่า
พูดถึงตัวกริปเปน C และ D ทั้ง12 เครื่องพร้อมระบบอาวุธแล้ว ในแพคเกจจากสวีเดนนั้นเราจะได้อะไรบ้าง ที่ได้แน่ๆก็คือ
- สถานี Tactical Information Data-Link 3 สถานี
- ระบบควบคุมและแจ้งเตือนในอากาศ(Airborne Early Warning and Control System) ประกอบด้วยเครื่องบิน SAAB 340 ติดตั้งเรดาร์ Erieye 2 ลำ
- เครื่องบิน SAAB 340 เพื่อใช้ฝึกนักบิน พร้อมดัดแปลงเป็นเครื่องบินทำฝนเทียม 1 ลำ
- ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 เป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ เพื่อเพิ่มพิสัยบินของกริปเปน
- เชื่อมต่อระบบควบคุมและแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศ(RTADS)ของไทย
โดยเฉพาะระบบแจ้งเตือนในอากาศที่ใช้เครื่องบิน SAAB 340 นั้นถือว่าเป็นของที่อยากได้มานาน รอจัดซื้ออย่างเดียวก็ยังไม่เห็นอนาคต ได้มาพร้อมกับกริปเปนจึงถือว่าเป็นจังหวะที่ดีมากๆ สถานีแจ้งเตือนการป้องกันภัยทางอากาศอาจจะสนองความต้องการได้ในระดับหนึ่ง แต่การมีเครื่องบินแจ้งเตือนจะลดปัญหาได้มากโดยเฉพาะกรณีที่ฝ่ายตรงข้ามบินเกาะภูมิประเทศหลบเรดาร์ การกวาดจับจากเบื้องบนจะลลดโอกาสหลุดรอดสัญญาณภาคพื้นดินได้เกือบหมด นั้น
.............ผมขอรบกวนสอบถามเพื่อนๆในเว็บบอร์ดนี้หรือรวมทั้งท่านโต ท่านด้วยถึงข้อมูล แพคเกจ ขอแถมจาหสวีเดนที่ว่าจะมีการ ดัดแปลงเครื่องบินลำเลียง C-130 เป็นเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศ เพื่อเพิ่มพิสัยบินของกริปเปน ให้ไทยเราด้วยนั้น ข้อมูลนี้แน่นอนหรือไม่ มีเพจเกจนี้ด้วยหรือไม่ ถ้ามีจะทำบ.C-130 TANKER ให้ไทยเรากี่ลำ เพราะว่าที่ผ่านมาผมไม่เคยทราบข้อมูลส่วนนี้มาก่อน.....ครับ/สกายนาย
ภาพประกอยนำมาจาก http://www.sargentfletcher.com/co_info_page_images/c130_wsfi_products_.jpg
ปัจจุบันกองทัพอากาศมี C-130H ใช้งานอยู่จำนวน12ลำครับ ซึ่งใช้งานบ่อยมาก ถ้านำเครื่องที่มีอยู่ไปดัดแปลงเป็น บ.Tanker นั้นคงไม่เหมาะเท่าไรเพราะจะทำให้เครื่องที่ใช้ในภารกิจลำเลียงลดลงครับ ซึ่งล่าสุดเครื่องC-130ตอนนี้ก็กำลังอยู่ในการดำเนินการปรับปรุงให้ทันสมัยขึ้นครับ
แนวทางที่น่าจะเป็นไปได้มากกว่าสำหรับ บ.Tanker คือคงต้องจัดหา บ.ใหม่ซึ่งอาจจะเป็น C-130J หรือ บ.แบบอื่นสัก1-2ลำมาดัดแปลงเป็น บ.Tanker ครับ แต่ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและดัดแปลงคงจะค่อนข้างมากอยู่ครับ
เห็นคุยกันแต่ต้นปีใหม่ละเรื่องนี้ ปัญหาคือเครื่องบินจะเอาที่ไหนไปให้ดัดแปลง สละสักลำก็โอนะ ฮ่าๆๆ มุขไก่ทั้งวันละ จบ
เครื่องบินนะมีไม๊ เครื่องบินนะมีไม๊
เห็นด้วยกับคุณ AAG_th1 ครับเรื่องนี้ เพราะ C-130 เราก็ใช้มานาน (กี่ปีแล้วจำไม่ได้) ดัดแปลงไปก็ใช้ได้ไม่ค่อยคุ้มครับหาของใหม่เลยน่าจะดีกว่า
มีแล้วไม่ได้ใช้ ยังดีกว่าต้องใช้แล้วไม่มีครับ
เห็นด้วยกับหมวดบอมครับ เพราะถ้าดัดแปลง C-130 ให้เป็น KC-130 มันก็จะเกิดได้แต่ Gripen เติม F-16 ไม่ได้ แค่นี้ผมว่าหาชุด Kit มาก็ไม่คุ้มแล้วครับ กับการต้องเอา C-130 ออกไปจาก 601 อีก 2 ลำ หรือต้องเสียเงินอีกเกือบ 200 ล้านหา KC-130J มาใหม่อีก 2 ลำ ..... ซึ่งถ้าจะให้เติมได้ทั้งคู่ ก็ต้องหา Tanker ที่เป็นแบบ Boom มาใช้ เพระมันจะมีตัว converter ให้เป็นแบบ Probe ก็ได้ด้วย ...... ในตลาดตอนนี้ก็มี A330 MRTT ที่ขายอยู่ กับ KC767 ซึ่ง A330 พร้อม Boom นี่ ออสเตรเลียซื้อไป 5 ลำ รวม 1.5 พันล้านเหรียญ .. ลำละ 300 ล้านเหรียญเชี่ยวครับ ราคานี้ซื้อ Gripen ได้อีก 6 ลำ+ Erieye 1 ลำ ...... ทอ.สามารถจัดได้เต็มฝูง 18 ลำพร้อม Erieye 3 ลำเลยด้วยซ้ำ หรือแม้ว่า KC767 จะถูกกว่า แต่ราคาก็มากกว่า 200 ล้านต่อเครื่องแล้วครับ
ผมว่าเราไม่ไหวครับ
ที่ผ่านมาในการฝึกร่วมกับต่างประเทศเช่นสหรัฐฯหลายๆครั้งนั้น F-16 ของไทยก็มีโอกาสได้ทำการฝึกเติมน้ำมันกลางอากาศครับ ซึ่ง บ.ที่ใช้ฝึกก็เป็น บ.ระบบ BOOM เช่น KC-135 ของ USAF เป็นต้น
สำหรับ Gripen ก็คงจะเป็นไปแนวทางเช่นเดียวกันครับคือคงจะได้ฝึกร่วมกับกองทัพต่างประเทศที่มี บ.Tanker ระบบ Probe (เช่นกองทัพเรือสหรัฐฯซึ่งใช้ บ.Tanker ระบบ Probe) ครับ
เหมือนว่าผมจะเคยพูดเรื่อง การดัดแปลง C-130 เป็นเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงไปแล้ว....ก่อนปีใหม่....
วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑ ท่านผู้บัญชาการทหารอากาศ แถลงออกมาแล้วว่า สรุปว่าไม่มีการดัดแปลง C-130 ผมก็นึกว่าทุกท่านจะเข้าใจ..แต่ก็ยังอุตส่าห์ไปเอาเรื่องในอดีต (ก่อนรายละเอียดในสัญญาจะปรับแก้กันหลายตลบ โดยก่อนหน้านี้อาจจะมีรายละเอียดข้อนี้) อย่างที่เคยคุยไว้หลายครั้งว่า...เมื่อเวลาผ่านไปหลายเพลา...เมื่อมีการชี้แจงแถลงข่าวใหม่ๆออกมาแล้ว...ก็ควรจะยึดในคำแถลงอันใหม่ล่าสุด...
รายละเอียดที่ชี้แจงแถลงข่าวมีดังนี้ครับ...
...................สำหรับแผนการดำเนินงานที่สำคัญของโครงการ ได้แก่
- การผลิตและส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Gripen 39 C/D ใช้ระยะเวลาประมาณ ๓๖ เดือน ภายหลังจากลงนามในหนังสือข้อตกลงการซื้อขาย โดยจะส่งมอบเครื่องบิน ๓ เครื่องแรกในเดือนมกราคม ๒๕๕๔ และอีก ๓ เครื่องในเดือนมีนาคม ๒๕๕๔
- การปรับปรุงอาคารสถานที่ สาธารณูปโภค และติดตั้งระบบซ่อมบำรุง ณ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นไป
- การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการฝึกอบรมในประเทศสวีเดน จะเริ่มดำเนินการในปี ๒๕๕๑
- การฝึกอบรมนักบิน ครูการบินและนักบินลองเครื่อง ชุดแรกรวม ๔ คน จะดำเนินการฝึกกับกองทัพอากาศสีเดนใช้ระยะเวลาประมาณ ๑๒ เดือน ชุดที่สองรวม ๖ คน จะฝึกบินขั้นต้นในประเทศสวีเดนระยะเวลารวม ๕ เดือน จากนั้นจะกลับมาฝึกบินกับเครื่องบิน Gripen ของไทย ณ กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีก ๖ เดือน สำหรับการฝึกเจ้าหน้าที่เทคนิคของเครื่องบิน Gripen และเครื่องบิน Saab 340 ซึ่งจะเริ่มดำเนินการ ณ ประเทศสวีเดน ในปี ๒๕๕๓ นอกจากนี้จะมีครูการบินสวีเดน ๒ คน มาฝึกนักบินในประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคมาเป็นที่ปรึกษาและประสานงานด้านเทคนิค และการส่งกำลังบำรุงภายในประเทศไทยอีก ๒ ปี
- การส่งมอบเครื่องบิน Saab 340 ทั้ง ๒ เครื่อง จะส่งมอบประมาณปลายปี ๒๕๕๓
- การส่งมอบอะไหล่ และอุปกรณ์ รวมทั้งการเตรียมรับนั้น จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี ๒๕๕๓ ก่อนการส่งมอบเครื่องบิน
- ด้านการส่งกำลังบำรุงเครื่องบิน Gripen กองทัพอากาศได้จัดหาอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้การซ่อมบำรุง และอะไหล่ที่จำเป็น สำหรับการซ่อมบำรุงใน ๒ ปีแรก และจะเข้าสู่ระบบการส่งกำลังบำรุงแบบรวมการ หรือ Pooling system อย่างต่อเนื่องต่อไป
แผนงานที่สำคัญดังกล่าวนี้ จะทำให้เครื่องบิน Gripen 39 C/D ทั้ง ๖ เครื่อง มีความพร้อมปฏิบัติการได้ภายในเดือนกันยายน ๒๕๕๔ และสอดคล้องกับแผนการปลดประจำการของเครื่องบิน F-5 ที่กองบิน ๗ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พร้อมกันนี้ขีดความสามารถการแจ้งเตือนในอากาศ หรือ Early warning ระบบควบคุมและสั่งการ พร้อมระบบ Data link ซึ่งกองทัพอากาศได้รับมอบเพิ่มเติม จะช่วยเสริมขีดความสามารถของกองทัพอากาศในภาคใต้ ให้มีขีดความสามารถเท่าเทียมกับประเทศรอบบ้านตามยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศ สำหรับความร่วมมือในระดับรัฐบาลระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรสวีเดน จะมีความร่วมมือทวิภาคีด้านต่าง ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยีสำหรับกองทัพอากาศ และกองทัพไทย เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ประสบการณ์ให้สามารถรองรับเทคโนโลยี รวมทั้งต่อยอดในอนาคต ซึ่งจะกำหนดรายละเอียดและดำเนินการตั้งแต่ปี ๒๕๕๑ เป็นต้นไป ได้แก่
- ด้านทุนการศึกษาระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสวีเดน จำนวน ๙๒ ทุน ระหว่างปี ๒๕๕๒ - ๒๕๕๕ โดยทุนการศึกษาจำนวน ๘๐ ทุน กองทัพอากาศจะนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาจัดสรรให้แก่บุคคลพลเรือน ข้าราชการทั่วไป ตามพระราชประสงค์ และอีก ๑๒ ทุนจะเป็นทุนสำหรับข้าราชการของกองทัพอากาศ
- นอกจากนี้จะมีความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรม เกี่ยวกับวิชาการ การลงทุน การผลิตสินค้า และการบริการ ซึ่งจะมีส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมกำหนดรายละเอียดต่อไปภายหลังประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดซื้อตามโครงการในครั้งนี้ ได้แก่
- ได้รับเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ซึ่งมีสมรรถนะสูงและทันสมัย จำนวน ๖ เครื่อง พร้อมอุปกรณ์ อะไหล่ และระบบสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ F-5 ที่จะปลดประจำการในปี ๒๕๕๔
- เพิ่มขีดความสามารถในการตรวจจับอากาศยาน และเป้าหมายภาคพื้นดินและพื้นน้ำ รวมทั้งระบบบัญชาการและควบคุมในพื้นที่ภาคใต้
- การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในเทคโนโลยีใหม่ เพื่อให้สามารถนำมาพัฒนากองทัพอากาศให้ก้าวทันเทคโนโลยี
- ยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีที่ได้รับในการจัดซื้อตามโครงการนี้ จะเป็นแรงขับเคลื่อนกองทัพอากาศและกองทัพไทย ให้มีขีดความสามารถเพียงพอ และเท่าทันเทคโนโลยี เพื่อปกป้องอธิปไตย และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์และความมั่นคงของชาติ
รายละเอียดความคืบหน้าโครงการ Gripen 39 ของกองทัพอากาศไทย สามารถอ่านได้ที่ www.wingsofsiam.pantown.com