ในขณะที่เรากำลังปรับปรุง FAC ปราบปรปักษ์ ให้เป็นเรือปืน
แต่นี่เค้าต่อเองครับ (ดอกที่ 1)
เรามัวแต่คิดว่าจะต่อ OPV ที่ไหนดีน้อ....
เค้าล่อไอ้นี่แล้วครับ คอร์เวต
ฮิ้ววววว....(ดอกที่ 2)
ขอโทษครับ ภาพข้างบน เรือฟริเกตครับ เค้าต่อเอง
ส่วน คอร์เวต ไม่มีภาพครับ
ส่วนกองทัพเรือไทย ยังอยู่ในถ้ำครับ ยังไม่คิดจะออกจากถ้ำ.....เจริญๆนะครับ
สงสารแต่คนในภาพเหล่านี้ครับ เฮ้อ.....
อ้อ...เผื่อบางคนไม่ทราบ ร.ล.ธนบุรี ครับ
อ้างอิง.....
ถ้าคิดว่าข้อมูลไม่ถูกต้องเข้าไปแก้ไขได้นะครับ
เฮ้อออ....เราอยู่ในถ้ำไหนครับ กองทัพเรือเราพัฒนาไปไกลกว่าพม่าเยอะแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเรือฟริเกตติดอาวุธนำวิธี คอร์เวตติดอาวุธนำวิธี เครื่องบินต่างๆ ..... ที่เห็นฟริเกตพม่าก็มีแค่นั้นนะครับ ส่วนเรือเร็วอาวุธนำวิธีเขาก้มีไม่กี่ลำ กองทัพเรือเราพัฒนาไปเป็นกองทัพเรือออกสู่ทะเลเปิดครับ เรือเล็กๆเขามีไว้ป้องกันแค่น่านน้ำชายฝั่ง ( ปล.ขอยืมรูปจากเพื่อนสมาชิกท่านนึง)
เรื่องของเรือรบที่พม่าต่อเองนั้นที่เคยนำเอาข้อมูลมาลงใน TFC ก่อนหน้านี้แล้วครับ(จำไม่ผิดปีที่แล้ว) เรือCorvette หมายเลข771ในภาพเป็นชั้น 77เมตร ชื่อเรือ UMS Anawratha ส่วนอีก2ลำในชั้นคือ UMS Bayint Naung หมายเลข772 และ UMS Alaung Phaya หมายเลข773 ระวางขับน้ำน่าจะอยู่ที่ไม่เกิน 1,000ตันครับ ดูๆไปติดตั้งอาวุธคล้ายกับชั้น ร.ล.ราชฤทธิแต่ขนาดใหญ่พอๆกับ ร.ล.รัตนโกสินทร์ครับ ติดปืน76มม.หัวท้ายไม่มีลานจอด ฮ
เรือเร็วโจมตีชั้น Myammar ขนาด 45เมตร นั้นมีอยู่สองแบบคือรุ่นที่เป็นเรือเร็วโจมตีปืนกับรุ่นที่เป็นเรือเร็วโจมตีติดขีปนาวุธนำวิถี C-802 ในภาพครับ คล้ายๆเรือเร็วโจมตีปืนชุดสัตหีบ หรือเรือเร็วโจมตีอาวุธนำวิถีชั้น ร.ล.ปราบปรปักษ์ แต่อาวุธปืนเบากว่า
Technology การออกแบบเรือ และระบบอาวุธบนเรือรบพม่านั้นได้รับการสนับสนุนจากจีนเป็นหลักครับ
ซึ่งโครงการต่อเรือล่าสุดของพม่าคือเรือFrigate ขนาด108เมตร ซึ่งใกล้เคียงกับชั้น Leander นั้นไม่ทราบว่าไปถึงไหนแล้ว แต่มีข้อมูลว่านอกจากจีนแล้ว อินเดียยังเริ่มเข้ามาสนับสนุนพม่าในการพัฒนากองเรือด้วยครับ(ซึ่งน่าจะเป็นการคานอำนาจกับจีน)
คือเราต้องคิดที่จะทำเองเป็นหลักครับ หน่วยวิจัยทางทหารเรามีทุกเหล่าทัพ ความรู้ภาคเอกชนก็มีมากมายและพร้อมที่ช่วยคิดช่วยทำ อย่าลืมครับเราต้องทำเองให้ได้ไม่ใช่ช๊อปปิ้งอย่างเดียว
คิดที่จะทำครับ
แล้วก็เคยทำมาแล้ว
รวมทั้งกำลังจะทำต่อไปด้วย
รับรองว่าไม่ได้คอยแต่จะช๊อปอย่างเดียวแน่
คนไทยเคยต่อ ร.ล.สุรินทร์ ระวางขับน้ำเกือบ ๔,๕๐๐ ตัน
ที่อู่กรุงเทพ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๘๘ แล้วครับ
ก่อนที่หลายๆ คนในเวปนี้จะเกิดเสียอีก
ปีนี้ก็กำลังจะต่อ OPV เองโดยกรมอู่ทหารเรือเองด้วย
การที่ ทร.จะต่อหรือไม่ต่อเรือเอง ไม่ได้อยู่แค่ว่ามีฝีมือ
หรือไม่มีฝีมือที่จะต่อเท่านั้น
แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆ อีกมากมาย
ถามกลับว่า เคยทราบหรือไม่ว่ากรมอู่ทหารเรือมีกำลังพลกี่คน
ปัจจุบันมีงานอะไรที่กำลังพลเหล่านี้ต้องทำบ้าง
คราวที่ต่อเรือชุดเรือ ต.๙๙๑ ทำไมกรมอู่ถึงต่อแค่ ต.๙๙๑ ลำเดียว
ไม่ต่อเองทั้ง ๓ ลำ
แต่ไปจ้างอู่มาร์ซันต่ออีก ๒ ลำ คือ ต.๙๙๒ และ ต.๙๙๓
เหตุผลที่ว่าเพื่อพัฒนาฝีมือการต่อเรือของอู่เอกชนไทย
ก็เป็นเพียงเหตุผลเหตุผลหนึ่ง
แต่จริงๆ แล้ว ก็คือ ถ้า ทร.ต่อเองทั้ง ๓ ลำ
ก็จะทำให้ไม่มีคนที่จะไปทำงานในหน้าที่อื่นๆ ที่รับผิดชอบ เช่น
การซ่อมเรืออื่นๆ ที่ชำรุด
หรือซ่อมบำรุงและปรับปรุงเรือต่างๆ ตามวงรอบการใช้งาน
เรือก็จะจอดเสียกันเป็นแพ
ทำให้ไม่มีความพร้อมทางยุทธการ
ดังนั้นการที่ใคร จะสร้างอะไรก่อนใคร
แล้วจะเอามาวัดว่ามีความสามารถมากกว่ากัน
น่าจะเป็นคนละเรื่องกันครับ
ด้วยความเคารพ
การสร้างเองในที่นี้ไม่ได้จำเป็นว่ากองทัพต้องทำเองทุกอย่าง แต่ขอให้คนไทยเป็นคนทำ Made in Thailand น่ะครับเคยได้ยินมั้ย ผมว่าคนไทยมีคุณภาพนะครับ จริงอยู่ว่าเราก็มีอะไรหลายๆอย่างที่สร้างเองแต่ลองเทียบเป็นเปอร์เซ็นและมองการที่ได้นำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ซิครับ มันยังน้อยไป!!! ถ้าเราไม่เริ่ม!! มัวแต่คิดว่าเราทำไม่ได้เพราะอย่างโน้นเพราะอย่างนี้...จบครับ!! เหมือนกับที่เราภูมิใจกับคำว่าเราเคยทำ...เราเคยมี... แต่เราไม่เดินหน้าต่อไป ถ้าเราหยุดเดินก็เหมือนกับเราถอยหลังครับ ลองนับดูครับกี่ปีกว่าเราจะได้ต่อเรือ ๙๙๑ หลังจากชุดเรือเก้า ถ้าในหลวงไม่มีพระราชดำรัสเราก็คงไม่ทำ ขอยกพระราชดำรัสอีกตอนหนึ่งของในหลวงมาครับ เราสร้างเรือ เราสร้างเรือให้พอเพียงเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง นั่นน่ะไม่พอเพียง มันเล็กเกินไป ยังเล็กเกินไป ก็อาจจะ ควรจะ ใหญ่กว่าหน่อย แต่ถ้า ใหญ่เกินไปไม่พอเพียง ถ้าเล็กเกินไปก็ไม่พอเพียง ปัญหาหนึ่งเลยผมคิดว่าเป็นเพราะรัฐบาลไทยไม่มีศักยภาพพอครับทั้งด้านความรู้และคุณธรรม การคอรัปชั่นกลายเป็นเรื่องธรรมดาในระบบการเมือง เราต้องเห็นประโยชน์ของชาติเป็นหลักซิครับ ไม่ได้ให้มองแค่ในภาพของหน่วยทหารนะครับ ภาคประชาชนเป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้กันเพราะภัยคุมคามในปัจจุบัน มันเปลี่ยนไปมาก มันแทรกซึมเข้ามาในสังคมเราแล้วครับ การมอมเมาประชาชน การทำลายวัฒนธรรม การทำให้ประชาชนตกอยู่ในความกลัว สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติทั้งนั้นครับ การที่เราเดินไปไหนแล้วรู้สึกไม่ปลอดภัยนั่นแหละครับเรารู้สึกไม่มีความมั่นคงแล้ว ซึ่งประเทศเรากำลังเผชิญอยู่ครับหรือใครจะเถียงครับว่าเดินไปไหนแล้วรู้สึกสบายใจไม่กลัวระเบิด ซึ่งหน้าที่หลักในการดูแลความมั่นคงคือทหารครับ เมื่อไหร่ที่ประชาชนเริ่มรู้สึกไม่มั่นคง ภาระกิจของทหารก็ล้มเหลวแล้วครับ ผมอยากให้ภาคทหารร่วมมือกับภาคเอกชนเยอะกว่านี้ครับยกตัวอย่างเหมือนที่ สพช.ทร. วิจัยร่วมกับมหาลัยลาดกระบัง อะไรอย่างเนี้ยอ่ะครับ ผมว่าดีมากๆเลยครับ เครื่องมือต่างๆทางมหาวิทยาลัยหรือเอกชนเค้าทันสมัยน่ะครับ เราจะไปซื้อเองทำไม จริงอยู่ว่าทำแรกๆคุณภาพคงไม่ดีเท่าไหร่แต่คงเป็นไปไม่ได้ที่จะรอทำครั้งเดียวให้ดี100%เลย คงจะดีไม่ใช่เหรอครับถ้าเรามีของที่เราเรียกว่า Made in Thailand ไว้ใช้เยอะๆน่ะครับ ถ้าจะวัดที่ความสามารถอย่างน้อยถ้าเราทำได้เราก็มีความสามารถในการสร้างเอง ด้วยความเคารพ
ด้วยความเคารพเช่นกันครับ
คนไทยเคยต่อ ร.ล.สุรินทร์ ระวางขับน้ำเกือบ ๔,๕๐๐ ตัน
ที่อู่กรุงเทพ มาตั้งแต่ปี ค.ศ.๑๙๘๘ แล้ว
20 ปีผ่านไป ต่อเรือที่ใหญ่กว่าอย่าง LPD ได้แล้วยังครับ หลงไหลได้ปลื้มกันมา 20 ปีแล้ว ยอมรับความจริงเถอะครับ มันไม่ได้ไปไหนจริงๆ
สิ่งที่เราเรียกว่า องค์ความรู้ ผ่านมา 20 ปีแล้ว ถามจริงๆมันยังกระโดดไปไม่ถึง 10,000 ตันเหรอครับ หรือแม้การต่อเรือรบที่มีความซับซ้อนมากกว่าเรือลำเลียง ขนาดเกิน 1000 ตัน ยังไม่เคยเห็น แม้แต่เรือเล็ก(500 ตันลงมา) เองก็เถอะ ออกแบบมาให้ติดตั้งพร้อมอาวุธนำวิถี แค่นี้ก็ยังไม่เคยเห็นเลย
เพื่อพัฒนาฝีมือการต่อเรือของอู่เอกชนไทย เห็นด้วยครับ แต่ที่ผมนำเสนอคือ การออกแบบเรือต้นแบบ เพื่อนำออกมาใช้งานจริง แล้วไปขยายผลให้เอกชนรับจ้างต่อ
เหมือนกับที่เราภูมิใจกับคำว่าเราเคยทำ...เราเคยมี... แต่เราไม่เดินหน้าต่อไป ถ้าเราหยุดเดินก็เหมือนกับเราถอยหลังครับ (ผมชอบนะครับประโยคนี้)
ผมว่ากระทู้นี้ดีออก ไม่เห็นต้องลบเลย
การแสดงความคิดเห็นอย่างน้อยก็ทำให้เราได้คิด
และถกเถียงกันว่าเราคิดอย่างไร ไม่มีถูกไม่มีผิด
แต่มันเป็นความคิดเรา ๑๐๐ % จริงๆ
ไม่ต้องกังวลถึงผลกระทบจากความคิดนั้นซึ่ง
ต้องยอมรับว่าในชีวิตการทำงานจริงๆ ถ้าท่านคิดไม่
เหมือนนายมันก็จะมีผลต่อการทำงานของท่าน
ในสังคมเราส่วนใหญ่ยังไม่สามารถยอมรับฟัง
ความคิดเห็นคนอื่นได้มากนัก โดยเฉพาะความคิดจาก
ผู้ที่มีคุณวุฒิน้อยกว่า ยังมีกรอบหนาๆที่ทำให้หลายคน
ไม่กล้าเสนอความคิด ซึ่งบางทีมันอาจจะมีความคิด
ดีๆออกมาก็ได้ ซูนวูบอกว่าหลักแห่งการทำศึกอย่างแรก
ต้องประเมินสถานการณ์ก่อนครับ เถียงกันอย่างนี้ดีออก
แต่ก็ขอให้เสนออย่างสร้างสรรค์นะครับ
แล้วจะเกิดประโยชน์
ส่วนตัวผมคิดว่าการอวดก็มีประโยชน์นะครับ
เพราะเราคงไม่อยากเอามันออกมาใช้จริงๆหรอก
การเอาอาวุธมาใช้สู้รบจับศึกควรเป็นสิ่งสุดท้าย
จริงมั้ยครับ ยกตัวอย่างเหมือนเรามีกล้องวงจรปิด
ไว้กันขโมย เราคงไม่อยากมาเปิดกล้องดูว่าใคร
ขโมย แต่เราอยากจะป้องกันไม่ให้มีการขโมย
เกิดจขึ้นมากกว่า ไม่งั้นบางที่ติดกล้องวงจรปิด
ทำไมต้องมีป้ายบอกว่ามีกล้องวงจรปิด
แต่ผมเห็นด้วยกลับการมีไว้แก้ทางกัน
ผมชอบดูบอลนัดที่ทีมใหญ่ๆแพ้ทีมเล็กๆ
เพราะแพ้ทางน่ะครับ
(มีสิบเท่าให้ล้อม มีห้าเท่าให้รุก มีสองเท่าให้แยกกำลัง มีเท่ากันให้ดึงดูดความสนใจ มีน้อยกว่าให้ใช้อุบาย)
เอ....ถ้าหากเค้าสร้างได้ ก้ไม่เห้นต้องตกใจอะไรเลยนี่ครับ นั่นก้เพราะเขาคิดว่า สร้างเองดีกว่าซื้อ แต่ของเราไม่ใช่อย่างนั้น เพราะบางที เราก็ต้องซื้อบ้าง ใช่ว่ามีอะไรก้ต้องจะสร้างเองอย่างเดียว
อีกอย่าง ดุจากรูปที่เอามาแล้ว หากเราจะสร้าง ผมคิดว่า ทร.ทำได้อยุ่แล้วล่ะครับ แต่หากสร้างแล้วไม่มีคุณภาพ หรือคุณภาพไม่ดีเท่าซื้อ ทั้งอายุการใช้งาน เพราะที่เราทำได้ก็มีแต่โครงสร้าง แต่ระบบอาวุธ(ที่ซับซ้อนขึ้น) ยังไงก้ต้องต่างชาติอยู่ดี เป็นแบบก็ต้องยอมซื้อล่ะครับ เพราะทางเลือกเรามันน้อย....
1. เรือ OPV ใหม่สรุปรายระเอียด สำคัญแล้ว และเริ่มงานบางส่วนไปแล้วครับ คร่าวๆ คือ ยาว 79 m. มีลาน ฮอ. แต่ไม่มีโรงเก็บครับ ( รายระเอียดอย่างอื่น ไว้ที่หลังนะครับ ) ต่อที่อู่ มหิดลฯ ท่าเรือจุกเสม็ด โดยกรมอู่ ทร. ครับ
2. เรือชุด นเรศวร จะถูกปรับปรุงลาน ฮอ. ให้เป็นแบบ ชุดปัตตานี เพื่อรองรับ Super Lynx ( Harpoon Grid )
3. ชุดเรือเจ้าพระยา จะถูกเปลี่ยนระบบ อวป. เป็น C-802 และ เปลี่ยนระบบ Electronic ที่ สำคัญๆ อีกหลายอย่างครับ
4. ชุดเรือ OPV ( ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส ) จะได้รับการปรับปรุงเพื่อให้มีขีดความสามารถ การปราบเรือดำน้ำ ในไม่ช้านี้ครับ ( Stringray Torpedo for Super Lynx by operation with OPV )
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นใหม่ที่กรมอู่ทหารเรือจะต่อเองนั้นก็มีคุณสมบัติตามที่คาดไว้แต่แรกครับ ส่วนตัวคิดว่ารูปแบบเรือน่าจะคล้ายๆกับชั้น ร.ล.ปัตตานีครับแต่มี โดยใช้เครื่องยนตร์เรือและระบบอาวุธในแบบแผนเดียวกับขนาดเล็กกว่าและไม่มีโรงเก็บ ฮ.
ในส่วนการปรับปรุง ฮ. Super Lynx โดยจัดหา Torpedo Stingray เพื่อให้สามารถปฏิบัติการปราบเรือดำน้ำได้นั้น เป็นการอุดช่องว่างของเรือชั้นปัตตานีที่ขาดอุปกรณ์และอาวุธปราบเรือดำน้ำในตัวเรือลงครับ และการปรับปรุงโรงเก็บและดาดฟ้าของเรือชั้น ร.ล.นเรศวรให้รองรับ ฮ.Super Lynx นั้นก็จะเป็นการเพิ่มระยะในการปราบเรือดำน้ำของเรือชั้นนี้ด้วย(ในอนาคตคงจะมีการจัดหา ฮ.Super Lynx เพิ่มครับหวังว่า)
ว่าแต่เรื่องการจัดหาระบบ Sadral เพิ่มเติมนี้มีความคืบหน้าหรือข้อมูลอะไรเพิ่มเติมหรือไม่ครับ
ผมว่าที่เราขาดไปก็คงจะเป็นงบประมาณสนับสนุนครับ เห็นที่คห.ต้นๆ บอก พม่าเค้าก็มีทั้งอินเดีย ทั้งจีน สนับสนุนนิ่ครับ แล้วอย่างนี้ไม่ให้ได้ ได้ไงล่ะครับ แล้วผมก็คิดว่าที่หันมาพัฒนาทัพฟ้ามากกว่าทัพเรือ ก็คงเป็นการรบสมัยใหม่ ใครได้ครองน่านฟ้าได้มากกว่าก็มีสิทธิมีชัยเหนือคู่ต่อสู้มากกว่านะครับ ทิ้งบอมบ์กันอย่างเดียวเลยแต่ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะครับว่าเรือกะเครื่องบิน ใครจะแน่กว่ากัน แหะๆ
คุณ zedth ผมไม่แน่ใจว่าคุณได้อ่านกระทู้ทุกกระทู้ ที่ได้ทำการสนทนากันแล้วหมดแล้วหรือยัง
คุณไม่เข้าใจหรือสงสัยตรงไหนรึเปล่าครับ
รบกวนกลับไปอ่านให้เข้าใจก่อนนะครับแล้วค่อยโพสก็ได้
ส่วนที่คุณสงสัยผมตอบให้ข้อนึงแล้วกัน
ถามหน่อยนะครับ ถ้ากองทัพเรือ หรือเอกชนก็ตาม จะต่อเรือรบ ต้องได้รับความเห็นชอบ หรือได้รับอนุญาติจากใคร
โดยผ่านความเห็นชอบจาก ครม. เป็นการเสนอจากกระทรวงกลาโหมครับ ซึ่งกองทัพเรือเป็นหน่วยงานทีชงเรื่องขึ้นไป (ไม่รู้จริงๆเหรอ)