นำมาจากเอกสาร เรื่อง นโยบายผู้บัญชาการทหารอากาศ พ.ศ.2550
การประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อม
ปัจจุบันสถานการณ์ปัญหาการก่อความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาการก่อ
การร้ายสากล ปัญหากระทบกระทั่งกันตามแนวชายแดนซึ่งเกิดจากเรื่องเล็ก ๆ แต่มีความไม่แน่นอนสูง และมีโอกาสที่จะลุกลามเป็นเรื่องใหญ่ได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น การปราบปรามชนกลุ่มน้อย ปัญหาประมง ปัญหาเขตแดนบางแห่ง และการยึดหรือทำลายทรัพย์สินของไทยในต่างประเทศยังคงเป็นปัญหาที่มีโอกาสเกิดขึ้น ในขณะเดียวกันกระแสโลกาภิวัตน์ส่งผลต่อความสมดุลในด้านการพัฒนาประเทศซึ่งสะท้อนให้เห็นปัญหาในสังคมไทยที่ยังคงเป็นปัญหาเรื้อรัง ได้แก่ ปัญหาความยากจนและปัญหายาเสพติด เป็นต้น อีกทั้งผลจากความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศ ส่งผลให้เกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรงเพิ่มสูงขึ้นจากการประเมินสถานการณ์และสภาพแวดล้อมข้างต้น สามารถพยากรณ์ได้ว่าโอกาสและความเป็นไปได้ที่รัฐจะใช้กำลังทางอากาศ เพื่อแก้ปัญหายังคงมีอยู่ทั้งด้านการรบและมิใช่การรบ โดยความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดอย่างต่อเนื่อง การต่อต้านการก่อการร้ายจะเป็นเหตุการณ์ที่มีโอกาสเกิดมากที่สุดดังที่เป็นอยู่ปัจจุบัน ติดตามมาด้วยการใช้กำลังทางอากาศในภารกิจที่มิใช่การรบ การสู้รบยังคงมีโอกาสเกิดขึ้นในลักษณะจำกัดห้วงเวลาสั้น ๆ
(ไม่เกิน ๑๐วัน) และจะเกิดขึ้นโดยฉับพลัน มีสิ่งบอกเหตุในระยะเวลากระชั้นชิด จึงทำให้มีเวลาเตรียมการน้อยหรืออีกนัยหนึ่ง คือ การใช้กำลังทางอากาศในอนาคตจะเป็นลักษณะที่มีสิ่งบอกเหตุในระยะเวลาอันสั้น และต้องการการตอบสนองอย่างรวดเร็ว (Short Notice/Rapid Reaction) การพิจารณาใช้กำลังทางอากาศจึงต้องเพิ่มความละเอียดรอบคอบมากขึ้นเหตุการณ์ที่มีโอกาสใช้กำลังทางอากาศมากที่สุด มีดังนี้
๑
. การใช้กำลังทางอากาศต่อต้านการก่อการร้าย ได้แก่ ภารกิจประเภท ISR (Intelligence Surveillance Reconnaissance) การลำเลียง การปฏิบัติการจิตวิทยา และการใช้อาวุธขนาดเบาเป็นต้น และจะเป็นภารกิจที่ต้องปฏิบัติประจำอย่างต่อเนื่อง๒
. การใช้กำลังทางอากาศในภารกิจที่มิใช่การรบ ได้แก่ การปฏิบัติกิจเฉพาะพิเศษต่าง ๆ เช่น การปฏิบัติเพื่อสนองโครงการตามพระราชดำริเพื่อพัฒนาประเทศ การบรรเทาสาธารณภัย การสนับสนุนการแก้ไขปัญหาสังคม การลำเลียง และการสนับสนุนประชาคมโลกตามนโยบายของรัฐบาล๓
. การปะทะขนาดย่อมตามแนวชายแดน หรือทะเลอาณาเขต โดยมีกำลังทางอากาศร่วมด้วย ในภารกิจ ISR, CAS (Close Air Support) และการลำเลียง เหตุการณ์ลักษณะนี้เคยเกิดแล้วบ่อยครั้ง และยังมีโอกาสเกิดขึ้นต่อไป๔
. สงครามจำกัดเขตขนาดย่อยที่ฝ่ายเราใช้กำลังทางอากาศฝ่ายเดียว เช่น การรบบริเวณชายแดนบ้านร่มเกล้า ฝ่ายเราต้องเผชิญกับอาวุธต่อสู้อากาศยานที่มีสมรรถนะไม่สูงแต่มีปริมาณมาก เพราะเรายังไม่มีอาวุธ Stand Off ที่ใช้ได้ในระยะเกิน ๑๐ ไมล์จากเป้าหมาย๕
. สงครามจำกัดเขตขนาดย่อยที่ใช้กำลังทางอากาศทั้ง ๒ ฝ่าย กองทัพอากาศยังไม่มีประสบการณ์ แต่เป็น Worst Case Scenario ที่ต้องเตรียมการไว้เข้าสู่ mode การ comment ครับ
พิจารณาจากเหตุการณ์ที่มีโอกาสที่ ทอ. จะต้องใช้กำลังทางอากาศ เริ่มจากข้อ 1 ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่แล้วในขณะนี้ นั่นคือ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ และอาจหมายถึงในพื้นที่อื่นๆ ถ้ามีเหตุก่อการร้ายลุกลามออกไป อากาศยานที่อยู่ในข่ายที่ ทอ. จะนำมาใช้งานจะเป็น บ.ลำเลียง และ บ.ธุรการ/ตรวจการณ์ รวมทั้ง ฮ.ลำเลียง ด้วย เช่น C-130, G-222, BT-67 ในภารกิจลำเลียง, Nomad และ AU-23 ในภารกิจลำเลียงขนาดเบา ปฏิบัติการจิตวิทยา และตรวจการณ์ถ่ายภาพ และ AU-23 ในภารกิจยังสนับสนุนทางอากาศ และ ฮ. Bell-412, UH-1H ในภารกิจลำเลียง และอาจรวมถึงการแทรกซึม/รับกลับหน่วยต่อต้านการก่อการร้าย (ถ้าจำเป็นต้องใช้)
ทอ. ขาดอะไรในการใช้กำลังในข้อนี้บ้าง 1) UAV สำหรับเฝ้าตรวจ ปฏิบัติการได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ที่เพดานบินปานกลางถึงต่ำ บินได้นานระดับหลัก 10 ชม. ขึ้นไป มี data-link ส่งภาพและ VDO ได้แบบ real-time 2) อุปกรณ์ปฏิบัติการในเวลากลางคืนสำหรับ บ.ลำเลียง แบบต่างๆ เช่น FLIR, NVG 3) ฮ.ลำเลียงที่ปฏิบัติการได้ทุกสภาพอากาศ 4) กล้องถ่ายภาพแบบ digital พร้อม data-link ติดตั้งกับ บ.ตรวจการณ์ถ่ายภาพ
ในข้อ 3 อาจเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ เช่น บริเวณชายแดนไทย-พม่า เป็นต้น อากาศยานที่คาดว่า ทอ. จะนำมาใช้ประกอบด้วย บ.ลำเลียงทางยุทธวิธี, บ.ตรวจการณ์ถ่ายภาพ, บ.โจมตี, บ.ขับไล่โจมตี และ ฮ.กู้ภัย (เผื่อเอาไว้) เช่น C-130, G-222, BT-67, Nomad ในภารกิจลำเลียงทางยุทธวิธี AU-23, Nomad ในภารกิจตรวจการณ์ถ่ายภาพ L-39 และ AlphaJet ในภารกิจ CAS และ ฮ.UH-1H สำหรับกู้ภัย
ทอ. ขาดอะไรบ้าง ที่เหมือนกับการปฏิบัติการในข้อ 1 (ต่อต้านการก่อการร้าย) คือ 1) UAV 2) อุปกรณ์ FLIR, NVG สำหรับ บ.ลำเลียง 3) กล้องถ่ายภาพสำหรับ บ.ตรวจการณ์ สำหรับสิ่งที่เพิ่มเติมขึ้นมา คือ 1) ฮ.กู้ภัยใหม่ทดแทน UH-1H 2) ขีดความสามารถในการใช้ อาวุธอากาศ-สู่-พื้นที่มีความแม่นยำสูง และอุปกรณ์สำหรับปฏิบัติการได้ทุกสภาพอากาศของ บ.โจมตี/ขับไล่โจมตี เช่น อุปกรณ์ FLIR, NVG เป็นต้น
การปฏิบัติการในข้อ 4 นั้น หลักสำคัญยังคงเน้นไปที่ภารกิจอากาศ-สู่-พื้น เช่น การสนับสนุนกำลังทางบกในภารกิจ CAS และ BAI, การขัดขวางทางอากาศ (AI) แต่จะมีการต่อต้านจากภาคพื้นด้วยอาวุธประเภทปืนทุกขนาดไล่ตั้งแต่อาวุธประจำกายไปจนถึง ปตอ. แต่จะเป็น ปตอ. ที่ไม่มีระบบควบคุมการยิงซับซ้อนหรือไม่มีเลย และจากอาวุธนำวิถีพื้น-สู่-อากาศประทับบ่ายิง หรือบนแท่นยิงทั้งแบบตั้งพื้นและติดตั้งกับยานพาหนะ แต่มีระยะยิงใกล้ และนำวิถีด้วยอินฟราเรดเป็นหลัก อากาศยานที่จะต้องนำมาใช้งานจะครอบคลุมทั้ง บ.ขับไล่ทางยุทธวิธี (F-16 และ F-5), บ.ขับไล่โจมตี (L-39), บ.โจมตี (AlphaJet), บ.ลาดตระเวน (Learjet และ Arava), บ.ลำเลียงทางยุทธวิธี (C-130, G-222, BT-67, Nomad), ฮ.กู้ภัยในพื้นที่การรบ และ ฮ.ลำเลียง (UH-1H และ Bell-412)
สิ่งที่ ทอ. ขาดนั้น นอกจากเหมือนกับข้อข้างบนทั้งหมดแล้ว ทอ.ยังต้องการ 1) อาวุธอากาศ-สู่-พื้น แบบต่างๆ ที่มีคุณลักษณะเหล่านี้ คือ stand-off range (ระยะยิงเกินกว่า 10 ไมล์ จากความสูง 10,000 ฟุต ขึ้นไป), all-weather (ใช้งานได้ทุกสภาพอากาศและเวลา), precision (มีความแม่นยำสูง), fire-and-forget (ยิงแล้วลืม) และ penetration (มีหัวรบที่มีอำนาจทะลุทะลวง) สำหรับใช้งานต่อเป้าหมายไม่เคลื่อนที่ (fixed target) 2) อุปกรณ์ลาดตระเวนทำงานด้วยระบบ digital และมี data-link เช่น กล้อง LOROP และอุปกรณ์ SIGINT 3) บ.ลาดตระเวนติดตั้งเรดาร์เฝ้าตรวจภาคพื้นดินที่มี mode SAR และ GMTI 4) กระเปาะตรวจจับและชี้เป้าสำหรับ บ.ขับไล่ ที่ปฏิบัติการที่เพดานบินปานกลาง และมี data-link 5) กระเปาะลาดตระเวนทางอากาศ ติดตั้งกับ บ.ขับไล่ พร้อม data-link 6) ฮ.กู้ภัยในพื้นที่การรบ (CSAR) ขนาดกลาง 7) อุปกรณ์ป้องกันตัวเองจากการถูกยิงด้วยอาวุธนำวิถีแบบอินฟราเรด สำหรับ บ. และ ฮ.ลำเลียง
สำหรับในข้อ 5 ซึ่งเป็น worst case scenario นั้น จะมีสิ่งที่เพิ่มเติมมาจากข้อ 4 คือ การปฏิบัติการจะต้องมีรบแบบอากาศ-สู่-อากาศ ด้วย ในภารกิจตอบโต้ทางอากาศทั้งเชิงรุกและเชิงรับ (OCA และ DCA) เช่น การครองอากาศในพื้นที่การรบ, การลาดตระเวนรบทางอากาศ (CAP) หรือการบินสกัดกั้น ส่วนการรบอากาศ-สู่-พื้น อาจต้องทำการโจมตีสนามบิน รวมทั้งการกดดัน/ทำลายระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึกด้วย อากาศยานที่จะใช้งานจะเหมือนในข้อ 4 แต่ที่เพิ่มเติมมาจะเป็นส่วนของ บ.ขับไล่สกัดกั้น/ครองอากาศ (F-16 และ F-5)
สิ่งที่ ทอ. ยังขาดอยู่ นั่นคือ 1) จำนวน บ.ขับไล่ ที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธ BVR พร้อมระบบ data-link, IFF และเรดาร์ที่ทันสมัย 2) อาวุธนำวิถี WVR ประเภท HOBS และหมวก HMD 3) บ. AWACS 4) ระบบป้องกันตัวเองจากการถูกยิงด้วยอาวุธนำวิถีด้วยเรดาร์ของ บ.ขับไล่ 5) อุปกรณ์สงครามอิเล็กทรอนิกส์ชนิดต่างๆ 6) อาวุธประเภท anti-radiation และ runway destruction/denial 7) บ. tanker
รวมทั้งในข้อ 5 นี้ จะมีส่วนที่ไม่ใช่การปฏิบัติการทางอากาศด้วย ที่สำคัญ คือ การป้องกันภัยทางอากาศต่อสนามบินที่อยู่ใกล้พื้นที่การรบ ซึ่งอาจถูกโจมตีได้
รูปแบบการปะทะที่ต้องใช้กำลังทางอากาศในระดับข้อ ๓-๕ ในสถานการณ์ปัจจุบันดูเหมือนจะมีความเป็นไปได้ที่เกิดขึ้นด้านเดียวคือ แนวรบตะวันตก ครับ
กุญแจสำคัญในการคงศักยภาพทางอากาศให้เหนือกว่าฝ่ายตรงข้ามนั้น เราจำเป็นต้องมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีความทันสมัยกว่า ซึ่งถ้านับจากข่าวในข้างต้นมานี้ทางกองทัพอากาศเองก็เริ่มมีโครงการจัดหาตามที่คุณ rinsc seaver วิเคราะห์มาในชข้างต้นแล้วครับเช่น บ.ขับไล่สมรรถนะสูงที่ใช้อาวุธปล่อย BVR และ Precision Stand-off Weapon , ฮ.กู้ภัย, บ.AEW&C รวมถึงการปรับปรุงอากาศยานที่มีอยู่เดิมให้มีขีดความสามารถในการบินกลางคืนและเอาตัวรอดในสนามรบมากขึ้นด้วย
แต่โครงการจัดอื่นๆเท่าที่ทราบยังคงไม่ชัดเจนครับเช่น บ.UAV ตรวจการณ์, ขีปนาวุธต่อต้านการแพร่คลื่น Radar และ อาวุธปล่อย Stand-off เป็นต้น ครับ
ภายในปีนี้รัฐบาลกลางพม่าจะจัดให้มีการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการเลือกตั้งอีกราว2ปีข้างหน้าครับ อย่างไรก็ตามยังเป็นที่น่าสงสัยอยู่ว่ารัฐบาลทหารพม่าคิดจะทำอะไรกันแน่ เช่นเนื้อหาในรัฐธรรมนูญข้อหนึ่งนั้นกำหนดให้ผู้สมัครเลือกตั้งหามีภรรยาหรือสามีเป็นชาวต่างชาติซึ่งมีผลต่อนาง อองซาน ซูจี โดยตรง(ถ้าจำไม่ผิดเธอมีสามีเป็นชาวอังกฤษ) แน่นอนว่าพรรคฝ่ายค้านที่เคยชนะการเลือกตั้งในปี 1990 แต่ถูกรัฐบาลทหารไม่ยอมรับผลก็ไม่น่าจะมีส่วนในการเลือกตั้งนี้ได้
ทางกองกำลังต่อต้านชนกลุ่มน้อยเองก็ได้มีการประชุมกันเพื่อร่วมมือในการไม่ยอมรับแผนการดังกล่าวของรัฐบาลกลางครับ โดยแกนนำก็เช่น กกล.ไตใหญ่SSA ของเจ้ายอดศึก และ กระเหรี่ยงคริสต์ KNU เป็นต้นรวมถึงกลุ่มต่อต้านชาวพม่าด้วย ซึ่งได้ร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลของกลุ่มขึ้นมาด้วยครับ