หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


หนังสือออกใหม่ครับ เกี่ยวการรบที่บ้านร่มเกล้า

โดยคุณ : vasin เมื่อวันที่ : 19/02/2008 14:52:51

เมื่อวานผมได้ไปเดินเลือกซื้อหนังสือที่ร้านหนังสือซีเอ็ตบุ๊คเซ็นเตอร์ที่ตึกสีลมคอมเพล็กซ์  ไปเจอหนังสือที่น่าสนใจ คือ  หนังสือเรื่อง “27วัน ควันปืนกับซากศพ สมรภูมิร่มเกล้า” ของสำนักพิมพ์ Animate Group  เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์จริงของ ทพ. ประภาส รวมรส   น่าสนใจมากๆ เลยครับ   เป็นหนังสือที่น่าเก็บไว้ในเป็นอย่างมากครับ 

 

แต่เรื่องที่ผมแปลกใจที่สุด  คือ  พนักงานขายถามผมว่า “ที่ไหนเหรอค่ะ ร่มเกล้า”  พอผมบอกว่าอยู่ที่พิษณุโลก  เค้าทำหน้าแปลกใจ พร้อมพูดว่า “หนูนึกว่า อยู่ในกรุงเทพฯ แถวๆ ลาดกระบัง”  แล้วหัวเราะร่วน   หลังจากนั้นก็ถามว่า “มันนานมาหรือยังค่ะ”  ผมก็ตอบไปว่า “ตั้งแต่ ปี 31”  สาวเจ้าตอบพร้อมหัวเราะอีกครั้งว่า “ตอนนั้น หนูเพิ่ง 2 ขวบ เองค่ะพี่”  ผมก็ได้แต่ยิ้ม แล้วรับถุงใส่หนังสือกลับออกมา

 

ผมลองถามเด็กๆ ในบริษัทฯ  เค้าก็ถามกลัยว่าอยู่ที่ไหนเหรอค่ะพี่บ้านร่มเกล้าเนี่ย  สรุปแล้วผมนี่คงจะบ้านะครับที่ไปจดจำเรื่องอะไรที่เค้าไม่จำกัน  ใครจำได้บ้างครับว่าเมื่อ 20 ปีก่อน ในเดือนเดียวกันนี้เราเสีย เอฟ-5 อี กับ โอวี-10 ซี  ไปอย่างละเครื่อง ในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า  มีทหารหาญพลีชีพไปในการรบเพื่อป้องกันผืนแผ่นดินในสมรภูมิแห่งนี้ถึง 147 นาย  ทุพพลภาพอีก 55 นาย  แต่คนไทยส่วนใหญ่ลืม  เด็กรุ่นหลังๆ ไม่รู้จัก สมรภูมิบ้านร่มเกล้า   และคงไม่ต้องถามต่อนะครับว่า สมรภูมิอื่นๆ  เช่น  ช่องโอบก  น้ำยืน  จะรู้จักหรือเปล่า   แต่พอถามว่า  วีรชนเดือนตุลาฯ  วีรชนเดือนพฤษภาฯ   จำได้ดีกันนัก   นักร้องเพื่อชีวิตวงโน่นวงนี้   นักวิชาการคนโน่นคนนี้   เค้าเก่งนะเค้าเคยเข้าป่ามาแล้ว    งง ครับ.....มันเป็นวีรกรรมอะไรกันหนักหนา    

 

การศึกษาประวัติศาสตร์ในการป้องกันประเทศชาติ   การศึกษาวีรกรรมของบรรพบุรุษ    มันเป็นละเอียดอ่อนมากนักเหรอครับ   กลัวเหลือเกินนะครับ  ว่าจะเป็นการกระทบกระเทือนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ   กลัวกระทบกระเทือนจิตใจคนบ้างคนที่เข้าร่วมพัฒนาชาติไทย     กระทรวงศึกษาธิการน่าจะเอาไปคิดบ้างนะครับ





ความคิดเห็นที่ 1


ความจริงวีรชนเดือนตุลากับพฤษภาทมิฬ ก็ควรถูกจดจำพอ ๆ กันครับผม .......... วีรกรรมที่เขาทำ ก็ไม่ได้ต่างไปจากวีรกรรมที่บ้านร่มเกล้าหรอกครับ มันเป็นเพียงแค่คนละบริบทในคนละภาคส่วนของสังคมเท่านั้น

บริบทั้งสองด้าน ก็ช่วยขับเคลื่อนประเทศไทยมาจนถึงทุกวันนี้ ฉไหนจึงไม่ควรจดจำล่ะครับผม

กลุ่มญาติวีรชนเขาพยายามอย่างหนักกว่าเขาจะได้พื้นที่ในสังคมแบบในปัจจุบัน วิ่งเต้นกันมาหลายสิบปี พยายามสื่อสารกับสังคมว่าญาติ ๆ เขาที่ตายไปทำอะไรบ้าง  วีรกรรมของญาติ ๆ เขาถึงเพิ่งถูกบรรจุในแบบเรียน ถึงเพิ่งมีอนุเสาวรีย์ ฯลฯ

แล้วกองทัพล่ะครับ? ถ้าอยากให้คนจดจำวีรกรรมของทหารไทย ก็ควรต้องทำแบบเดียวกันครับ คือพยายามใส่ข้อมูลพวกนี้เข้าไปบ้าง พยายามบอกให้คนรุ่นใหม่รู้ ไม่ใช่แนวโฆษณาชวนเชื่อหรือล้างสมอง แต่ควรเป็นการบอกให้รู้ว่า ทหารไทยเคยทำอะไรมา

อย่าโทษว่าวีรกรรมไหนควรหรือไม่ควรเป็นวีรกรรมเลยครับ

ด้วยความเคารพ

ปล. หนังสือดีมากครับ แนะนำเช่นกันครับผม

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 06/02/2008 22:54:14


ความคิดเห็นที่ 2


สมรภูมิบ้านร่มเกล้า ทหาร-ทหาร สู้กัน ในแถบชายแดน

พฤษภา /ตุลาทมิฬ ทหาร-ประชาชน สู้กัน ในเมืองหลวง

สิ่งไหนที่ประชาชนรู้สึกใกล้กว่ากันครับ 

สมัยร่มเกล้า คุณตา(ที่เสียไปแล้ว ) ท่านเล่าว่า เห็นรถบรรทุกทหาร (บ้านท่านอยู่สระบุรี) เป็นร้อยคันวิ่งบนถนน แต่ทางการกลับไม่ค่อยจะบอกอะไรเลย หนำซ้ำพอรบกัน ศพแทบล้นวัด แต่ทางการไม่เคยสดุดีผู้กล้าเหล่านั้น ปล่อยให้ถูกเผาไปอย่างเงียบๆ พร้อมกับการปิดข่าว ด้วยเหตุความมั่นคง มันยิ่งทำให้เหตุการณ์หลายๆเหตุการณ์ที่ทหารพลีชีพไม่ได้รับการจดจำ เนื่องจาก นโยบายของทหารขณะนั้นนั่นเองครับ

ต้องยอมรับว่า หากผมไม่ได้มารู้จักพวกพี่ๆ ผมคงไม่ได้รู้วีรกรรมเหล่านี้หรอกครับ

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 06/02/2008 23:25:57


ความคิดเห็นที่ 3


ด้วยความเครารพ….พี่น้องชาวไทยทุกท่าน ผมว่าป่วยการที่เราจะมานั่งเถียงกันว่าชีวิตใคร  ควรค่าแก่การจดจำมากกว่ากัน  ผมคิดว่ามันเป็นความงี่เง่าของชนชั้นปกครองที่พยายามที่จะปกปิด  ปิดบังความผิด   หรือความล้มเหลวของตัวเองและพวกพ้องที่ได้กระทำมามากกว่า   ยกตัวอย่างเช่น  เดือนตุลามหาวิปโยค หรือพฦษภาทมิฬ  ที่เราต่างคนต่างก็รู้ๆกันดีว่า  ใครเป็นคนสั่งยิงและคนกลุ่มใหนยิง   ในแง่มุมของวีรบุรุษทหารหาญทั้งหลายที่ได้หลั่งเลือดชโลมดิน   ก็คงไม่ได้ต่างกัน  ชีวิตที่เสียไปก็คงเป็นได้แค่เถ้าธุรี  ที่ชนชั้นปกครองไม่อย่ากที่จะกล่าวถึงความผิดพลาดมในบริการการจัดการงานบังคับบัญชา   จนเป็นเหตุให้กองพันทั้งกองพันต้องละลายด้วยแรงระเบิดจากฝ่ายเดียวกันเอง   ผมนิยมในแนวคิดของพี่Vasin มาก   ความรู้สึกที่พี่ได้ประสพมานั้นผมเข้าใจดี   เพราะผมก็เคยมาเช่นกัน   จะมีคนไทยสักกี่คนที่จะรู้ว่าเราเคยรบกับฝรั่งเศษ(ไอ้พวกเตี้ย เศษฝรั่ง)  และจะมีคนไทยสักกี่คนที่จะรู้ว่าเรือดีๆที่เราใช้สัประยุทธ์ต้องมาจมเพราะฝีมือการทิ้งระเบิดจากไทยด้วยกัน  ช่างเป็นวีรกรรมที่น่าจดจำ(ที่อยากลืมของใครบางคน)   ผมเป็นคนไทยอีกคนหนึ่งที่สักคำว่า รศ๑๑๒ ไว้ที่หน้าอกด้านซ้ายเพื่อให้ความทรงจำอันขมขื่นที่เราไม่เคยจดจำและไม่เคยสอนให้คนไทยได้จดจำได้ติดตัวของผมไปตราบเท่าที่ลมหายใจยังมี  คงหวังพึ่งใครไม่ได้ ต้องเริ่มจากตัวเราก่อนจงจำเหตุการณ์ทุกเหตุการณ์  จงถ่ายทอดมันออกไปให้ลูกให้หลานได้รับรู้และซาบซึ้งกับวีรกรรมที่ท่านทั้งหลายได้เสียสละ  อย่างน้อยๆวีรกรรมของหารกล้าทั้งหลายจะได้ไม่สูญหายไปกับกาลเวลา และอยู่ในใจเราตลอดไป 
โดยคุณ Oak_model เมื่อวันที่ 07/02/2008 08:29:07


ความคิดเห็นที่ 4


ยุทธนาวีเกาะช้างฮะ เขาบอกว่าตอนท้ายทหารอากาศทิ้งระเบิดผิดใส่ฝ่ายเดียวกันครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/02/2008 19:13:32


ความคิดเห็นที่ 5


ผมว่าไม่ใช่หรอกครับท่านโย....ที่ท่าน Oak_model พูดผมว่าน่าจะหมายถึง ร.ล. สุโขทัย(ชั้นเดียวกับ ร.ล. ธนบุรี) ถ้าผมจำไม่ผิดนะครับ  ที่จมลงในแม่น้ำเจ้าพระยา กรณี กบฏ(ไม่อยากใช้คำนี้เลย เสียงสันหลัง วูบๆ)แมนฮัตตัน มากกว่าครับ  ซึ่งจมจากการโจมตีของ บ.ทอ. ครับ.........................

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 07/02/2008 20:40:08


ความคิดเห็นที่ 6


อ๋อ OK ครับหมวด ....... อ้อ ลำนั้นเป็น ร.ล. ศรีอยุธยาครับ (เป็นเหตุการณ์ที่เซ็งเป็ดมาก ๆ)
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/02/2008 21:16:04


ความคิดเห็นที่ 7


ที่คุณ oak_model  กล่าวถึงนั่น  ผมเข้าใจว่าหมายถึง รล.ธนบุรี ครับ  เพราะในยุทธนาวีที่เกาะช้างในบันทึกเก่าหลายแหล่ง ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ที่ รล.ธนบุรี ถูกทิ้งระเบิดจากเครื่องบินรบไว้ตรงกัน  คือคาดว่าจะเป็นระเบิดจากเครื่องบินของฝ่ายไทยเอง  แต่ปัจจุบันไม่ใคร่มีใครกล้ายืนยัน ในความเห็นของผมแล้วไม่ใช่เรื่องแปลกที่มีการทิ้งระเบิดผิดเป้าหมาย  เพราะเหตุการณ์ของยุทธนาวีที่เกาะช้างเกิดขึ้นในวันที่ 17 มกราคม 2484 ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว  และยิ่งช่วงปะทะนั้นเป็นช่วงเช้า ที่อากาศแถบเกาะช้างช่วงนั้นจะมีหมอกลง  ทำให้นักบินอาจจะมองเห็นเป้าหมายได้ไม่ชัดเจน ปรกอบกับในขณะนั้นเครื่องบินแบบ คอร์แซร์ และ ฮอว์ค 3 ไม่มีวิทยุประจำเครื่อง  จึงไม่สามารถสื่อสารกับ รล. ธนบุรี ได้  แม้แต่การสื่อสารระหว่างเครื่องบินในหมู่เดียวกัน  ก็ต้องใช้สัญญาณมือเพียงอย่างเดียว   แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับ รล.ธนบุรี  เพราะการทิ้งระเบิดผิดในครั้งนั่นก็ไม่ได้ร้ายแรงจนเป็นเหตุให้เราสูญเสียเรือหลวงลำนี้แต่อย่างใด   รล.ธนบุรี  เสียหายจากการถูกยิงโดยปืนเรือข้าศึกที่หอบังคับการ จนต้องใช้เครื่องถือท้ายอะไหล่ที่ท้ายเรือซึ่งทำให้เรือขาดความคล่องตัว และทำให้โดนกระสุนปืนอีกหลายนัดจนได้รับความเสียหายเป็นอย่างมาก  ที่สำคัญเกิดไฟไหม้ขึ้นหลายแห่งขึ้นบนเรือ สายสูบน้ำดับเพลิงเสียหายจนไม่สามารถดับไฟได้เต็มที่  ทำให้มีความร้อนในยุ้งกระสุนสูงขึ้นจนต้องเปิดน้ำเข้ายุ้งกระสุนเพื่อลดความร้อนเพื่อไม่ให้กระสุนปืนที่เก็บไว้เกิดระเบิดขึ้น  เหตุที่เปิดน้ำเข้าเรือกับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากกระสุนปืนใหญ่ข้าศึกนี่แหละครับ  ทีทำให้ รล. ธนุบรี  มาพลิกคว่ำบริเวณแหลมงอบหลังจากที่ รล. ช้าง ทำการลากมาจากจดที่เกิดยุทธนาวี  ส่วนเรือที่จมที่ปากคลองตลาดตอนเกิดกบฎแมนฮัตตันนั้นเป็น รล.ศรีอยุธยา  ซึ่งก็เป็นเรือพี่เรือน้องกับ รล.ธนบุรี   เพราะโดนระเบิดจากเครื่องบินฝึกแบบ 8 หรือ T-6 เท็กซาน ของกองทัพอากาศไทยเอง 

 

ส่วน รล. สุโขทัย  เป็นเรือเก่าที่ต่อจากประเทศอังกฤษในยุคก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 มีเรือในชั้นเดียวกันคือ รล.รัตนโกสินทร์  เป็นเรือปืนป้องกันฝั่งขนาดเล็ก มีรูปร่างคล้ายกับ รล. ธนบุรี  แต่มีขนาดเล็กกว่า  ติดปืนเล็กกว่า ถ้าจำไม่ผิดน่าจะเป็นปืนขนาด 6 นิ้ว  ที่ป้อมหน้าและหลัง ป้อมละ 1 กระบอก  ซึ่งต่างกับ รล.ธนบุรี  ที่ติดตั้งปืนขนาด 8 นิ้ว ป้อมปืนละ 2 กระบอก จำนวน 2 ป้อม (ด้านหน้าและด้านท้ายเรือ)

 

ต้องขออภัยไว้ก่อนนะครับ ข้อความข้างบนนี้พิมพ์ขึ้นจากความทรงจำ  ไม่ได้ลอกบทความใดมา  อาจะไม่ถึงศัพท์ทางวิชาการมากนัก ก็ทนๆ อ่านกันหน่อย เพราะมันเป็นความเห็นของคนที่มีความคิดโบราณๆ หน่อยนะครับ  55555

โดยคุณ vasin เมื่อวันที่ 07/02/2008 23:38:01


ความคิดเห็นที่ 8


ซื้อมาอ่านเรียบร้อยแล้วครับ อ่านจบภายใน 4 ชม เพราะวางมันไม่ลง

   เท่าที่หาข้อมูลดู ตอนนี้การปักปันเขตแดนบริเวณบ้านร่มเกล้าและ 3 หมู่บ้านของอุตรดิตถ์ ก็ยังไม่แล้วเสร็จครับ เพราะต่างคนต่างอ้างหลักฐานที่ตนมี โดยการอ้างลำน้ำเหือง แต่จากข้อมูลรู้สึกว่าจะมีปียหาตรงที่ว่ามีลำน้ำที่ว่านี้อยู่ 2 เส้น แล้วเรากับลาวก็เรียกแต่ละเส้นแตกต่างกัน แต่ไม่พิสูจน์ได้แน่ชัดว่า พื้นที่ no man land ระยะ 3 กม จากจุดที่มีปัญหา ปัจจุบันมีราษฎรของเราหรือของลาวเข้าไปทำกินหรือไม่

   เคยมีข่าวเมื่อหลายปีมาแล้ว ว่าพื้นที่ต่อเนื่องจากบ้านร่มเกล้าคือบริเวณ 3 หมู่บ้านของอุตรดิตถ์ มีคนของลาวเข้าไปทำกินแล้วลาวต่อน้ำต่อไฟเข้าไปให้ใช้ แต่ทางการไทยก็ออกมาปฏิเสธเรื่องนี้

  ส่วนการปักปันเขตแดนของลาวและไทยส่วนใหญ่ก็แล้วเสร็จ จะมีก็แต่ปัญหาบริเวณนี้ และบริเวณแม่น้ำโขงเท่านั้น

โดยคุณ สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่ 07/02/2008 23:59:48


ความคิดเห็นที่ 9


จำได้ว่าสมัยเด็กนั่งดูข่าว ร่มเกล้าทุกวันเลย ตอนนั้นสนใจพอควรเพราะพ่อบอกว่าร่มเกล้าอยู่ห่างจากบ้านเราไม่กี่ร้อยกิโล (บ้านผมอยู่แถวจังหวัดเลยครับ) แต่ไม่ค่อยเข้าใจหรอกครับว่าเค้ายิงกันทำไม เพราะอะไร รู้แต่ว่ายิงกับลาว....

.......สมัยเรียนเคยคุยกับเพื่อนที่บ้านเค้าอยู่ อ.นาแห้ว... เค้าเล่าให้ฟังว่าเมื่อก่อนเมื่อก่อนตอนที่ทำศึกกัน ตอนกลางคืนเค้าจะออกมานั่งดูทหารไทยกับลาวยิงปืนใหญ่ใส่กันครับ เค้าบอกว่ามันสวยดี(ไม่รู้ว่าเพื่อนผมโม้หรือเปล่านะครับ โดยส่วนตัวไม่เคยเห็น) ...

.....สมัยเรียนมหาลัย (2542) ไปออกค่ายอนุรักษ์ ธรรมชาติที่ อุทยานแห่งชาตินาแห้ว(ตอนนี้รู้สึกจะเปลี่ยนชื่อเป็นอุทยานแห่งชาติ ภูสวนทราย ไปแล้วมั้งครับ)....เดินป่าศึกษาธรรมชาติ โดยมีอาจารย์และเจ้าหน้าที่อุทยานเป็นไกด์ ป่ายังคงความสมบูรณ์อยู่มากครับ ต้นไม่สูง ๆ 3 คนโอบมีให้เห็นอย่างละลานตา....ซึ่งอาจารณ์บอกว่าเป็นธรรมดาของ ป่าดิบเขา จากนั้นเดินขึ้นไปพักบนเนิน 1408 ตอนนั้นยังไม่มีใครไปกันครับ ทางยังไม่มีการบุกเบิก เดินขึ้นเขาต้องเดินตาม line ของเจ้าหน้าที่ ทางชันมาก ต้องลากกันขึ้นไป แต่ดีหน่อยทีมที่ไปมีเฉพาะผู้ชายก็เลยไปกันได้ เหนือยมากครับกว่าจะเดินถึงยอด แต่พอถึงยอด โอ้โหครับ ผมเข้าใจคำว่าหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้งเลยครับ บนจุดยอดสวยมากครับ....เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่า เมื่อก่อนจุดนี้เคยเป็นบริเวณตั้งปืนใหญ่ของไทยสมัยร่มเกล้า แถมยังมีคูเลท อยู่เพียบครับ.... ตอนนั้นเห็นแล้วขนลุกครับ เมื่อนึกถึงสมัยสงครามที่มี ทหารหารเป็นร้อยทำหน้าที่ป้องกันประเทศอยู่ที่นี่.......จากนั้น จากจุดนี้ เจ้าหน้าที่อุทยานยังชี้ให้พวกเราเห็นถึง ยอดที่ยังเตียนอย่างเห็นได้ชัดของ เนิน 1428 ...... เนินในตำนานที่วีรบุรุษ หลายท่านได้รบอย่างห้าวหาญที่บริเวณนั้น........พวกผมอยู่บนยอดเนิน 1408 จำนวน 2 คืนครับ ตอนกลางวันเดินสำรวจระบบนิเวท ของป่าดิบเขา ซึ่งระหว่าเดินก็สามารถพบเห็น คูเลท ได้เป็นช่วง ๆ ครับ.........นึกแล้วขนลุกทุกที

........ กลับจากอุทยานนาแห้ว ก็เลยเริ่มหาข้อมูลเกี่ยวกับสงครามร่มเกล้ามาอ่านเป็นกิจลักษณะซักกะที ...... เกี่ยวกับเรื่องข้อสรุปของสงครามไม่มีความเห็น(เนื่องจากระหว่างสงครามมีเรื่องการ discredit ทางการเมืองของผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองกันอยู่มาก) .....แต่โดยส่วนตัวคิดว่า สงครามครั้งนี้น่าศึกษาเป็นอย่างยิ่งครับ... ทั้งมิติของยุทธวิธี และมิติทางการฑูตระหว่างประเทศ.............ผมว่าสงครามร่มเกล้าควรน้ำมาทำเป็นแบบเรียนให้นักเรียนได้อ่านกันนะครับ... และเป็นสงครามที่ผมคิดว่าชาวไทยควรจะภูมิใจเป็นอย่างยิ่งครับ

 

โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 08/02/2008 03:33:50


ความคิดเห็นที่ 10


อ้ออ.... เพิ่งนึกขึ้นได้ ขอเพิ่มเติมนิดนึงครับ ... ตอนเดินขึ้น 1408 ผมเดินขึ้นทางเนิน 1225 ซึ่งชันมั๊ก ๆ แล้วก็ คืนแรกค้างที่ 1225 ครับ ที่ยอดเนิน ยังมี Box แล้วก็คูเลทอยู่เต็มไปหมด จำได้ว่ามี หอพระด้วย ครับ เจ้าหน้าที่อุทยาน บอกว่า ทหารเค้าสร้างไว้รำลึกถึงทหารที่พลีชีพในสงคราม ครับ....

ปล... ขออภัย เพิ่งนึกขึ้นได้ขอรับ

 

โดยคุณ sam7 เมื่อวันที่ 08/02/2008 03:54:31


ความคิดเห็นที่ 11


ดีใจจังที่ยังมีพี่น้องชาวไทยที่ยังไม่ลืม  วีรกรรมของบรรพบุรุษของเรา สุดท้ายนี้อยากจะฝากบันทึกของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์  เอาไว้เป็นเครื่องเตือนใจ

 

บันทึกของเสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์


เจอบันทึกนี้ให้เอาคำต่อไปนี้ของกูไปประกาศให้คนรู้ว่า

กูกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ผู้เป็นโอรสของพระปิยะมหาราช ขอประกาศให้พวกมึงรับรู้ไว้ว่า

แผ่นดินสยามนี้ บรรพบุรุษได้เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิตเข้าแลกไว้

ไอ้อี มันผู้ใด คิดบังอาจทำลายแผ่นดิน ทำลายชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

ฤๅ กระทำการทุจริตก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อส่วนรวม

จงหยุดการกระทำนั้นเสียโดยเร็ว ก่อนที่กูจะสั่งทหารผลาญสิ้นทั้งโคตร ให้หมดเสนียดของแผ่นดินสยามอันเป็นที่รักของกู

ตราบใดที่คำว่า อาภากร ยังยืนหยัดอยู่ในโลก กูจะรักษาผืนแผ่นดินสยามของกู

ลูกหลานทั้งหลาย แผ่นดินใดให้เรากำเนิดมา แผ่นดินใดให้ที่ซุกหัวนอน ให้ความร่มเย็นเป็นสุข มิให้อนาทรร้อนใจ จงซื่อสัตย์ต่อแผ่นดินนั้น.

โดยคุณ Oak_model เมื่อวันที่ 08/02/2008 10:33:44


ความคิดเห็นที่ 12


ผมได้ไปเที่ยวที่ดอยแม่สลองจ.เชียงรายมาไปที่อนุสรณ์สถานทหารของจีนที่มาอยู่บนดอยแม่สลอง  ไกซ์เค้าบอกว่าที่ไทยขับไล่คอมมิวนิสได้เพราะทหารของเค้า(ทหารจีนที่มาอยู่บนดอยแม่สลองประมาณ 4,000คน)อาสามาปราบให้รัฐบาลไทยเพื่อแลกกับที่อยู่อาศัยของเค้าและยังบอกอีกว่าทหารไทยรบ10ปีก็ยังไม่ชนะพอทหารของเค้ารบได้ไม่นานก็ชนะ  รวมถึงการรบที่ร่มเกล้าด้วย  เค้าบอกว่าทหารของเค้ารบแค่24วันก็ชนะแล้ว  สิ่งที่ไกซ์เล่ามาเป็นเรื่องจริงหรือ

 

แต่ถ้าเป็นเรื่องจริงมันสะท้อนถึงศักยภาพของทหารไทยในช่วงนั้นอย่างไร  แล้วทำไมเรื่องนี้ถึงไม่เผยแผ่  ใครมีความรู้ช่วยชี้แนะด้วย

โดยคุณ naca เมื่อวันที่ 08/02/2008 13:26:28


ความคิดเห็นที่ 13


แต่ล่ะเหตุการณ์แต่ละคนมีคุณค่าในตัวมันเองครับอยู่ที่มุมมองมากกว่า


ผมคนนึงล่ะครับจำไม่ลืมเหตุการณ์นี้
เพราะผมเสียพี่ชายคนโตไปกับการรบที่นี่แหละครับ

พี่ผมเพิ่งแต่งงานได้ 2 อาทิตย์เองครับ



โดยคุณ Banyat เมื่อวันที่ 08/02/2008 19:15:55


ความคิดเห็นที่ 14


ร่มเกล้าเป็นสงครามจริงครั้งสุดท้ายที่ลุงผมเขาร่วมรบครับ(นายทหารปืนใหญ่) ก่อนที่แกจะเกษียณยศพันเอก

เรื่องของบันทึกของสมเด็จในกรมฯ ที่มีการออกมาเผยแพร่กันเป็นเวลานานนั้น เคยอ่านบทสัมภาษณ์ของทายาทในราชสกุลอาภากรครับ เขากล่าวว่า จำไม่ได้จริงๆเลยว่าท่านเคยเขียนไว้จริงๆหรือเปล่า ซึ่งก็เป็นที่น่าสงสัยอยู่ครับว่าบันทึกนี้มีที่มาอย่างไรแน่

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 08/02/2008 21:33:49


ความคิดเห็นที่ 15


ทหารจีนฮ่อไม่เคยไปรบร่มเกล้าน่ะครับ รบแค่เขาค้อครับในสงครามปรามคอมมิวนิสต์ ปี 2514  เขาก็ได้สัญชาติไทยแล้วครับ

 

ร่มเกล้าเกิดจากนั้นอีกนานมาก พวกทหารจีนฮ่อคงเปลี่ยนไปคุ้มกันฝิ่นกับกัญชาหมดแล้ว

กองพลที่มารบคือ กองพล 93 ของนายพลต้วน เป็นทหารของเจียงไคเช็ค

เคยมีหนังนำมาสร้าง พี่หลิวเต๋อหัวเราเป็นนายพลต้วน

ลองอ่านประวัติกองพล 93 ที่นี่น่ะครับ

http://www.sae-dang.com/cgi-bin2/dangBoard/OpenMessage.php?no=12531

 

แปลว่าไทยกีบจีนไต้หวั่นเคยร่วมรบกันแล้ว

โดยคุณ Webmaster เมื่อวันที่ 08/02/2008 21:38:14


ความคิดเห็นที่ 16


สงครามร่มเกล้าตอนนั้นผมยังเรียน ม.3 เช้า ๆ ต้องเข้าไปอ่านหนังสือพิมพ์ทุกวัน อ่านไปก็สงสารทหารไป ที่ต้องมาตายฟรี จากนโยบาย ไม่ขยายเขตรบ เพราะสมัยนั้น เรากลัวเวียดนามและประเทศคอมมิวนิสต์ แทรกแซง

 

จนสุดท้ายเราเกือบจะแพ้ เราถึงส่งหน่วยปฎิบัติการพิเศษไปชี้เป้าฐานปืนใหญ่ และให้ F5 กับ OV-10 บินไปถล่ม

หลักฐาน คือรูปที่พี่ท้าวทองไหล เคยนำมา Post ตูดแหว่งไปข้างหนึ่ง

สมัยนั้นลาวย้ายปืนใหญ่เร็วมาก เขามี Mi-8 แล้ว

ผมพยามยามไม่อยากพูดการเมืองน่ะครับ นึกไปก็น่าเจ็บใจ

ปัจจุบันไทยลาวก็พี่น้องกันล่ะครับ แค่มีมือที่ 3 ที่ 4 เขามาแทรกแซง

ลองไปดูแถว จ.เลย สิครับ ใน รพ. มีแต่ชาวลาว เข้ามารักษา

 

 

โดยคุณ Webmaster เมื่อวันที่ 08/02/2008 21:50:07


ความคิดเห็นที่ 17


       เป็นบทเรียนจากการรบสำคัญของเราครับ.........และที่สำคัญก็คือบทเรียนของการยุทธ์ร่วมครับ......การยุทธ์ร่วมคือการรบของกำลังประเทศเดียวกันตั้งแต่ 2 เหล่าทัพขึ้นไป(Joint)  ส่วนถ้าเป็นกองกำลัง2ประเทศขึ้นไปจะเรียกว่า การยุทธ์ผสม(Combine) ครับ..........เป็นบทเรียนที่น่าสนใจ   แต่ละเหล่าทัพต่างมีจุดเด่นและจุดอ่อนของตนเอง  การยุทธ์ร่วมก็คือการนำจุดเด่นมาปิดจุดอ่อนของกันและกันเพื่อวัตถุประสงค์ของชัยชนะ...........ตัวอย่างแห่งการไม่ประสานกัน   ตัวอย่างแห่งการคาดการณ์ขีดความสามารถของข้าศึกที่ผิดผลาด   คิดว่าเพียงเหล่าทัพเดียวสามารถปฏิบัติโดยลำพังได้   และตัวอย่างของเกมส์การเมือง การกลัวที่จะขยายขอบเขตของสนามรบ  ไม่ยอมโอบด้านข้าง....สุดท้ายเมื่อทนยอดการสูญเสียไม่ไหว จึงต้องหันหน้าเข้าหากันระหว่างเหล่าทัพ(แปลกแต่จริง สำหรับเราแล้วไม่เข้าตาจนกันจริงๆละก็ไม่ยอมหันหน้าเข้าหากันจริงๆเลย)    สุดท้ายจึงต้องตีโอบ แต่ไม่ใช่โอบด้านข้าง  แต่เป็นการโอบจากด้านบนคือ จากท้องฟ้านั่นเอง    เริ่มปฏิบัติการทางลึกต่อหลังแนวข้าศึก ทั้งการปฏิบัติการของหน่วยรบพิเศษ(พี่ Dboy เคบนำมาลงครั้งบอร์ด วิง 21  รู้สึกจะชื่อว่า ยุทธการสีหราชเดโช ถ้าจำไม่ผิด) และการทำ AI ต่อหลังแนวข้าศึกของ ทอ.  .........สุดท้ายจึงสามารถบีบให้ฝ่ายตรงข้ามยอมเจรจาได้  แต่กว่าจะได้ก็ต้องแลกด้วยชีวิตของนักรบไปไม่รู้เท่าไหร่  ทั้งๆที่ถ้าทำตั้งแต่แรกแล้ว ยอดการสูญเสียน่าจะน้อยกว่านี้.......(มีต่อ)
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/02/2008 21:12:18


ความคิดเห็นที่ 18


        ถ้าลองดูประวัติศาสตร์การรบของไทยแล้ว  สำหรับ กองทัพอากาศนั้น   ส่วนใหญ่จะมีแต่ภารกิจ  Air-To-Ground  ภารกิจ Air-To-Air นั้นมีน้อยมาก   ยิ่งถ้านับตั้งแต่หลัง WW II มาด้วยแล้วยิ่งไม่มีเลย..........และในอนาคต ภารกิจที่น่าจะเกิดมากกว่าก็น่าจะยังคงเป็น Air-To-Ground...........สำหรับการยุทธ์ร่วมของกองทัพไทยในการรบจริงนั้นมีมาตั้งนานแล้ว  ตั้งแต่ครั้งสมัย สมเด็จพระบรมไตยโลกนาถ   สมเด็จพระนเรศวรมหาราช และ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่แบ่งแยกเป็นเหล่าทัพที่แน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะเดินทัพด้วยวิธีไหน  และยังคงมีเพียงแค่ 2 มิติ คือ กำลังทางบกและกำลังทางเรือ.......หลังจากมีมิติที่ 3 คือ กำลังทางอากาศแล้ว กองทัพไทยก็มีการยุทธ์ร่วมที่สำคัญๆอีก 2 ครั้งที่น่าจะเป็นบทเรียนได้อย่างดีคือ  ยุทธนาวีที่เกาะช้างและกรณีพิพาทอินโดจีน..........และหลังจากนั้นก็คือ การปราบ ผกค. และการรบตามแนวชายแดนอีกหลายครั้ง  สำหรับการยุทธ์ร่วมระหว่าง ทอ.และทบ. แล้ว  ภารกิจที่น่าจะต้องมีการทำความเข้าใจและฝึกร่วมกันเป็นอย่างมากก็คือภารกิจ สนับสนุนทางอากาศอย่างใกล้ชิด(CAS:Close Air Support) สิ่งสำคัญที่ทำให้ CAS ต่างจากการโจมตีภาคพื้นอื่นๆ เช่น ภารกิจ การขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ(BAI:Battlefield Air Interdiction) ก็คือการประสานกับหน่วยภาคพื้น  ในสมัยก่อนอีกปัจจัยหลักก็คือ ระยะห่างที่ใกล้หน่วยทหารฝ่ายเดียวกัน แต่ในปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีแล้วระยะห่างไม่ใช่สิ่งที่เป็นปัจจัยของCASอีกต่อไป สิ่งสำคัญคือ การประสานกับภาคพื้นที่อยู่ในพื้นที่  ถ้าภารกิจที่ต้องประสานกับหน่วยภาคพื้นในพื้นที่แล้วถือว่าเป็น CAS หมด........(มีต่อ)
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/02/2008 21:34:33


ความคิดเห็นที่ 19


สำหรับร่มเกล้าแล้ว มีอีกบทเรียนที่ควรจดจำนำไปแก้ไข(ไม่ใช่มาเถียงกันว่าใครผิด)นั่นก็คือกรณีที่เครื่องบิน ทอ. เข้าทำ Air Strike แล้วเกิดความผิดพลาดทำให้เกิดการสูญเสียของฝ่ายเดียวกัน.......ภารกิจครั้งนั้นไม่น่าจะถือว่าเป็น CAS เพราะเครื่องบินไม่มีการประสานกับหน่วยภาคพื้น ที่อยู่ในพื้นที่    นักบินจึงทำตามขั้นตอนและเวลาต่อเป้าหมายตามภารกิจที่ได้รับ    ซึ่งถ้ามีการประสานกับหน่วยภาคพื้นในพื้นที่ หรือมี GFAC(Ground Forward Air Controller) แล้วละก็  GFAC สามารถสั่งเครื่องเปลี่ยนเป้าหมายหรือสั่ง Abort ได้ในกรณีเป้าหมายเปลี่ยนแปลง หรือ เครื่องเข้ามาในทิศทางที่ผิดซึ่งอาจเสี่ยงต่อการโดนฝ่ายเดียวกัน      แต่ในครั้งนั้นไม่มี  จึงทำให้ GBU 10 ขนาด 2000 ปอนด์ ทั้ง 2 ลูกจึง HIT เป้าหมายตามเวลาและสถานที่ ตามแผนที่ได้ Blief ไว้ตั้งแต่ต้น...........................

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/02/2008 21:58:39


ความคิดเห็นที่ 20


ถ้าเอาตามสถานการณ์ในปัจจุบันแล้วก็คงไม่พ้นที่ต้องยกกรณีตัวอย่างที่ สถานการณ์ใน3จังหวัดภาคใต้.........ผมเชื่อว่าถ้าแต่ละเหล่าทัพแต่ละส่วนประสานกัน หรือ พูดง่ายๆก็คือ ทำการยุทธ์ร่วมกันมากกว่านี้ ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนแล้ว  คงลดการสูญเสียของฝ่ายเราได้มากกว่านี้อย่างแน่นอน.......สำหรับการใช้กำลังทางอากาศแล้ว  คงไม่ต้องถึงขั้น Urban CAS  หรือการทำ CAS ในที่ชุมชน อย่างเช่น ไอ้กันในอิรัค หรือ ยิวในเลบานอล หรอกครับ   ขอแค่เพียง Cover ธรรมดาๆ ก็พอ........อากาศยานประเภท ฮ. ของแต่ละส่วน   เช่น   ทบ. ทร.  ทอ.  ตร.(ไม่รู้มี Door Gunner หรือเปล่า) ถ้าเอามารวมกันแล้วคงมีจำนวนพอสมควร(ถึงแม้ว่าจากที่ได้ฟังมา เปอร์เซ็นต์การใช้งานได้จริงจะเป็นตัวเลขที่น่าตกใจหาย เป็นอย่างมาก แต่เชื่อว่าถ้าจะทำกันจริงๆแล้วคืองบฯลงมาเต็มๆจริงๆแล้วคงไม่ยาก)...........ผมคงไม่พูดทั้งหมดทุกด้านของการพยายามเอาชนะในพื้นที่ดังกล่าว ขอพูดในกิ่งของการสนับสนุนเพื่อลดการสูญเสียในภารกิจ รปภ. ก็พอ.............ภารกิจหลักๆที่ฟิกเวลาและสถานที่ นั้นก็คือ การ รปภ.ครู  ซึ่งมีห้วงเวลาและสถานที่ที่แถบจะชัดเจน    ถ้าเราประสานกันในการรบร่วมมากกว่านี้ รวมอำนาจกำลังทางอากาศ(ที่กล่าวข้างต้น) และวางแผนร่วมกันแล้ว รูปแบบน่าจะออกมาดีกว่านี้   คงไม่ต้องถึงขั้นบิน Cover ทุกขบวน แต่ขอเพียงบินให้ครอบคลุมพื้นที่ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ก็พอ     ซึ่งถ้าผมเป็นฝ่ายตรงข้ามที่รอจะทำลายเป้าหมายของเราแล้ว ถ้าผมได้ยินเสียง ฮ. อยู่ใกล้ๆ หรือ รู้ว่าจะมี ฮ. เข้ามายังพื้นที่ได้ในเวลาไม่กี่นาทีแล้ว ผมคงคิดหนักและต้องปรับเกมส์หรือลดขีดความสามารถลงไปมากทีเดียว..................สิ่งหนึ่งที่น่าใจหายเป็นอย่างมากก็คือ ภารกิจหลักของ ฮ. ในพื้นที่เป็นภารกิจที่น่าเป็นห่วง  เป็นภารกิจที่ วัวหายแล้วล้อมคอก(หรือไม่ล้อมเลย ปล่อยมันให้หายไปอีก) หนึ่งในภารกิจนั้นก็คือ  การส่งกลับสายการแพทย์(อันนี้เป็นภารกิจเร่งด่วนอันดับ 3 ด้วยมั้ง อันดับต้นๆ น่าจะนึกออกนะครับว่าเป็นภารกิจอะไร) เพื่อนอาจจะงงและเถียงผมก็ได้ว่า ก็มันถูกแล้วนี่ แต่กว่าจะเข้าไปถึงก็คงหลายเป็นการส่งกลับแบบไร้วิญญาณแล้วละครับ  เพราะฝ่ายตรงข้ามเมื่อปะทะแล้วไม่ติดพันเรานานและถ้าลงมือก็หมายความว่า เป้าหมายที่เค้าเลือก มีโอกาสที่เค้าจะทำลายได้เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์  ซึ่งถ้าเราอยู่ในฐานและรอบินออกไปเมื่อปะทะก็คงบินไปรับศพของนักรบเท่านั้นแหละครับ...................แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นถ้าจะทำแบบนี้ยังมีข้อจำกัดที่สำคัญอีกพอสมควร หลักๆ คือการติดต่อสื่อสาร  ฉะนั้นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก ถ้าคิดที่จะทำ(ไม่ใช่เรื่องนี้เรื่องเดียวแต่ทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง) ก็คือ การจัดตั้งศูนย์ฝึกสำหรับสถานการณ์ดังกล่าวโดยเฉพาะ เช่น ศูนย์ฝึกที่ ม่วงค่อม  ซึ่งจะต้องรวมการฝึกทุกหน่วยทุกเหล่าที่จะลงพื้นที่ เพื่อความเข้าใจในรูปแบบเดียวกัน และการแก้ไขปัญหาของกันและกัน    ซึ่งหน่วยที่จะลงไปสับเปลี่ยนกำลังจะต้องส่งมาฝึก เช่น อย่างน้อย 6 เดือน  จะได้เป็นการบังคับหน่วยไปในตัวไม่ให้สักแต่จัดๆลงไป โดยไม่มีการฝึก..............ฝันและพูดไปเรื่อยอีกแล้วครับผม

โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 10/02/2008 22:40:00


ความคิดเห็นที่ 21


จากที่ FW190 เล่ามาคิดถึงภาคใต้เราแล้ว เราทุ่มคนลงไปแต่ไม่ได้ป้องกันคนเหล่านั้นเท่าที่ควรเลย ชุดคุ้มกัน 1 ฮัมวี่ กับอีก 2 จักรยานยนต์

อ่อนแอเกินไปถ้าถูกซุ่มโจมตี เมื่อเข้าพื้นที่สังหารที่ถูกวางไว้อย่างดี

นึกถึงเวลาโดนยิง กว่าจะรู้ว่าจุดซุ่มยิงมาจากตรงไหนก็โดนเก็บเกือบหมดหมู่ และจุดซุ่มไม่น่าจะน้อยกว่า 2 จุด ถ้ารอดซักครึ่งหมู่กว่าจะโต้กลับ โจรก็เริ่มถอยแล้ว  แต่ถ้าเจ็บกันมากก็โดนประชิด นึกแล้วน่าใช้รถเกราะร่วมขบวนทุกขบวน น่าจะดีกว่านี้ ส่วนการยิงทางอากาศผมว่าไม่น่าจะช่วยอะไรได้มากนอกจากข่มขวัญให้ล่าถอย กว่าจะบอกตำแหน่งหน่วยพื้นกว่ายืนยันเป้ากว่า ฮ. จะมากว่าจะยิง ไม่รู้ gunner จะยิงถูกไม๊

โดยคุณ redshadow เมื่อวันที่ 13/02/2008 09:48:22


ความคิดเห็นที่ 22


ที่สงครามร่มเกล้าไทยแพ้นะครับ

- ประเทศลาวประกาศชัยชนะที่หลางพระบางโดยเอาอนุสรย์ของเครื่อง F-5 ไปแสดงไว้(ตอนหลังเอาออกเพื่อความสัมพันธ์อันดี)

- ไทยเป็นคนขอเจรจาก่อนโดยผ่านนายธานินท์ กรรวิเชียร

- ไทยไม่มีกระสุนปืนใหญ่ยิง ต้องขอซื้อสิงค์โปร สิงค์โปรบอกก็ได้แต่ต้องสด!! ......

- ไทยเลยต้องไปขอร้องจีนเจ้าเดิม โดยได้รับรับปืนใหญ่ขนาดใหม่ โดยเมื่อยิงออกไปแล้ว ท่าทีของลาวเลยอ่อนลง และยอมเจรจาด้วย

- ไทยทิ้งระเบิดโดนพวกเดียวกัน (โดนทหารม้า) เขาเล่าว่าพวกทัพฟ้ากลัวแซม(หลังโดนสอยไป 2) เลยทิ้งซะระดับเพดานบิน 20,000-30,000 ฟิตไม่ใช่ว่าไม่สามารถดูสถานการณ์แบบเรียวไทม์ไม่ได้

- ศพของข้าศึกส่วนหนึ่ง เป็น ทหารคิวบา บ้าง เวียดนามบ้าง รัสเซียก็มี

- ข้าศึกมีระบบเรดาห์ที่ ป้อมปืนใหญ่ยิงได้ 1-2 ลูก ก็โดนปืนใหญ่ของข้าศึกที่มีรัศมีการยิงที่ไกลกว่ายิงมาอย่างแม่นยำ โดยการชี้เป้าของดาวเทียมรัสเซีย

- หัวข้อเจรจา ข้อหนึ่งคือ ไทยกลัวว่าสงครามครั้งนี้จะไม่ใช่สงครามตัวแทน  คือ  ไม่เชื่อว่าไทยกับลาวอยากรบกันเองเพื่อ ล้ำเขตมา 10 กิโลเมตร

- บทสรุปสงครามคือไทยและลาวถอยจากที่พิพาทคนละ 10 กิโล

(แต่ลาวมันล้ำเข้ามา10โลแล้วนี่หว่า)

สุดท้าย ถ้าเอากันจริง ลาวบุกไทยถึงกรุงเทพได้  ขณะที่เวียดนามกะลังยืนยิ้มอยู่บนหอช้างเพื่อรอกะซวก

โดยคุณ seesaning เมื่อวันที่ 19/02/2008 03:52:52