สงครามเย็น (1945-1991)
สงครามเย็น คือลักษณะความสัมพันธ์ระหว่างประเทศช่วง ค.ศ. 1945-1991 ที่กลุ่มประเทศโลกเสรีและกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์ต่างพยายามต่อสู้กันโดยวิธีต่าง ๆ ยกเว้นการทำสงครามกันโดยเปิดเผยเพื่อขัดขวางการขยายอำนาจของกันและกัน สงครามเย็นมีผลสืบเนื่องมาจากสภาพที่บอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทั้งประเทศผู้ชนะและประเทศผู้แพ้สงครามได้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน ทวีปยุโรปซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางทางการเมืองและเศรษฐกิจโลกอยู่ ในสภาพทรุดโทรมอย่างยิ่ง ต้องสูญเสียอำนาจและอิทธิพลในสังคมโลกให้แก่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตซึ่งเป็นสองประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจมั่นคงจนเป็นหลักในการฟื้นฟูประเทศอื่นๆสหรัฐอเมริกาก้าวเข้าสู่ความเป็นผู้นำโลกเสรีประชาธิปไตย ในขณะเดียวกันที่สหภาพโซเวียตมีอำนาจและอิทธิพลเนื่องจากความสำเร็จในการขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกอยู่ในฐานะประเทศผู้นำของโลกคอมมิวนิสต์ คำว่าอภิมหาอำนาจ จึงมักหมายถึงความเป็นผู้นำโลกของประเทศทั้งสอง ซึ่งการแข่งขันกันขยายอิทธิพลจนทำให้ความสัมพันธ์ที่มีต่อกันเกิดความตึงเครียดสูง
ภายหลัง การประชุมที่ยัลตา ( Yalta Conference ) เพื่อจราจากันเกี่ยวกับการจัดการกับประทศในยุโรปที่ตกอยู่ภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ นายกรัฐมนตรีเชอร์ชิลของอังกฤษได้เตือนประธานาธิบดีรูสเวลส์ให้เข้าไปปลดอาวุธทหารเยอรมนีในประเทศยุโรปก่อนสหภาพโซเวียต มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาติดตามมาภายหลังสงครามยุติลง แต่ประธานาธิบดีรูสเวลส์มีความเห็นว่าสหภาพโซเวียตรับภาระหนักในการสู้รบกับเยอรมนีหลังจากปี ค.ศ. 1941-1945 ฉะนั้นถ้าสตาลินต้องการอะไรจึงควรเปิดโอกาสให้สตาลินได้ในสิ่งที่ต้องการ สตาลินขอประเทศในเขตยุโรปตะวันออกตั้งแต่ชายฝั่งทะเลบอลติกจนถึงชายฝั่งทะเลเอเจียน ยกเว้นยูโกสลาเวียซึ่งผู้นำคือนายพลตีโต้สามารถปลดอาวุธทหารเยอรมนีด้วยตนเองจึงไม่ยินยอมอยู่ใต้อิทธิพลของสหภาพโวเวียตกับประเทศอัลบาเรียซึ่งเป็นประเทศสังคมนิยมที่ได้รับความช่วยเหลือจากสาธารณรัฐประชาชนจีนจึงเป็นอีกประเทศในเขตยุโรปตะวันออกที่ไม่ได้เป็นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียต ฉะนั้นรัฐบริวารของสหภาพโซเวียตในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกมีประเทศโปแลนด์ เยอรมนีตะวันออก เชโกสโลวะเกีย ฮังการี โรมาเนีย และบัลแกเรียรวมทั้งหมด 6 ประเทศ
หลังจากการที่สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง (1945) ประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรแบ่งกันครอบครองทั้งเยอรมนีและกรุงเบอร์ลิน ต่อมาใน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกาได้เจรจาให้ประเทศทั้ง4 ปกครองเยอรมนีใถอนตัวออกแล้วให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเยอรมนี พรรคใดได้เสียงข้างมากก็จะได้จัดตั้งรัฐบาล อังกฤษ,ฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกามีความเห็นอย่างเดียวกัน ยกเว้นสหภาพโซเวียตไม่เห็นด้วย ฉะนั้นสหรัฐอเมริกาจึงจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในเขตเยอรมนีตะวันตกและได้จัดตั้งรัฐบาลขึ้นปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตย แต่สหภาพโซเวียตได้แต่งตั้งรัฐบาลให้ปกครองเยอรมนีตะวันออกตามลัทธิคอมมิวนิสต์ ต่อมาประชาชนในเขตการปกครองของสหภาพโซเวียตในกรุงเบอร์ลินหลบหนีเข้ามาในเขตเบอร์ลินตะวันตกเพราะมีเสรีภาพและมาตรฐานค่าครองชีพดีกว่าทำให้สหภาพโซเวียตปิดการติดต่อระหว่างเขตเยอรมนีตะวันตกกับเบอร์ลินตะวันตกทำให้สหรัฐอเมริกาต้องใช้เครื่องบินขนส่งเครื่องอุปโภคและบริโภคไปให้เบอร์ลินตะวันตกเป็นระยะเวลาหนึ่งปี เมื่อสหภาพโซเวียตเห็นว่าวิธีที่ใช้อยู่ไม่ประสบความสำเร็จจึงเปลี่ยนเป็นสร้างกำแพงปิดกั้นระหว่างเบอร์ลินระหว่างตกกับเบอร์ลินตะวันออกเหตุการ์ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นในปี 1949 เมื่อสหรัฐอเมริกาเห็นว่าไม่สามารถช่วยชาวเบอร์ลินตะวันออกได้จึงได้จัดตั้งองค์การ NATO ขึ้นเพื่อหาพันธมิตรช่วยเหลือกลุ่มประเทศสมาชิกถ้าถูกสหภาพโซเวียตและรัฐบริวารรุกราน
สาเหตุของสงครามเย็นเกิดจากการแข่งขันกันของประเทศอภิมหาอำนาจ จากประสบการณ์ที่ผ่านมาในสงครามโลกทั้งสองครั้ง ทำให้สหรัฐอเมริกาซึ่งเสียหายน้อยกว่าประเทศคู่สงครามในยุโรป ทั้งยังเป็นประเทศที่ก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีสูง ประกอบกับเป็นประเทศแรกที่สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความรู้สึกว่าตนเป็นตำรวจโลกเพื่อพิทักษ์ไว้ซึ่งวิถีทางประชาธิปไตยและเสรีภาพ ส่วนสหภาพโซเวียตฟื้นตัวจากสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างรวดเร็วเพราะมีพื้นที่กว้างใหญ่ มีทรัพยากรธรรมชาติมาก สามารถผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้สำเร็จเป็นประเทศต่อมา สหภาพโซเวียตต้องการเป็นผู้นำในการปฏิวัติโลกเพื่อสถาปนาระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ตามแนวความคิดของมาร์กซ์ขึ้น ดังนั้นทั้งสองอภิมหาอำนาจจึงใช้ความช่วยเหลือที่ให้แก่ประเทศต่าง ๆ เป็นเครื่องมือในการขยายอิทธิพล อำนาจและอุดมการณ์ของตน เพื่อหาประเทศที่อุดมการณ์คล้ายคลึงกันมาเป็นเครื่องถ่วงดุลอำนาจกับฝ่ายตรงกันข้าม
การแข่งขันเพื่อความเป็นใหญ่ในยุคสงครามเย็นนั้นมีหลายรูปแบบ ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นความสำเร็จของอุดมการณ์ทางการเมืองของฝ่ายตน ฝ่ายเสรีประชาธิปไตยเน้นสิทธิเสรีภาพของประชาชน ในขณะที่ฝ่ายคอมมิวนิสต์ชี้ความเสมอภาคของประชาชน เครื่องมือโฆษณาชวนเชื่อของแต่ละฝ่าย คือสำนักงานข่าวสาร สำนักงานวัฒนธรรม โครงการแลกเปลี่ยนทางการศึกษา บางครั้งใช้วิธีการทางการเมืองและการทูตเพื่อแสวงหาพันธมิตรในทางการเมืองระดับประเทศ หรือบ่อยครั้งใช้วิธีการเศรษฐกิจแก่ประเทศพันธมิตรในรูปขิงเงินกู้ระยะยาว เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในทางตรงกันข้าม อาจใช้มาตรการทางเศรษฐกิจตอบโต้ฝ่ายตรงกันข้าม เช่นการงดความสัมพันธ์ทางการค้า(sanction) กับบางประเทศ นอกจากนั้นวิธีการทางการทหารนับเป็นวิธีการที่ใช้มากที่สุด มีการสะสมกำลัง การให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศพันธมิตรด้านกำลังทหาร กำลังอาวุธ การจัดส่งเจ้าหน้าที่หรือผู้เชี่ยวชาญทางทหาร ตลอดจนการส่งกองกำลังของตนเข้าไปตั้งมั่นในประเทศพันธมิตร จนในที่สุดก็ได้จัดตั้งองค์การป้องกันร่วมกันในภูมิภาคต่าง ๆ เช่น องค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) องค์การสนธิสัญญาเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (SEATO) และกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (WARSAW PACT) เป็นต้น วิธีการเผยแพร่อิทธิพลวิธีสุดท้ายคือ
วิธีการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้แก่ ความพยายามแสดงออกถึงความสำเร็จทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง เช่นการค้นคิดอาวุธ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ รวมทั้งโครงการสำรวจอวกาศเพื่อสร้างความศรัทธาแก่ประเทศพันธมิตรและสร้างความยำเกรงแก่ประเทศฝ่ายตรงกันข้าม
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดการเผชิญหน้ากันระหว่างสองอภิมหาอำนาจในภูมิภาคต่าง ๆ เริ่มต้นจากปัญหาความมั่นคงในยุโรป สหภาพโซเวียตขยายอิทธิพลเข้าไปในยุโรปในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และชัดเจนยิ่งขึ้นเมื่อโซเวียตไม่ปฏิบัติตาม
สนธิสัญญายัลตา (Yalta Conference) ซึ่งกำหนดให้มีการเลือกตั้งอย่างเสรีและเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกที่เป็นเขตยึดครองของสหภาพโซเวียตแต่โซเวียตประสบความสำเร็จในการบริหารและยึดครองตามและอุดมการณ์ทางการเมืองของตน ทัศนคติ จนประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออกกลายเป็นกลุ่มประเทศคอมมิวนิสต์
สหรัฐอเมริกาดำเนินนโยบายสกัดกั้นลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการประกาศหลักการทรูแมน ( Truman s Doctrine)ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1947 ซึ่งมีสาระสำคัญว่าสหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศต่าง ๆ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกราชและอธิปไตยให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งภายนอกและภายในประเทศ รัฐสภาอเมริกันอนุมัติเงินให้ความช่วยเหลือกรีกและตุรกีทันที หลักการทรูแมนมิได้เพียงแต่ช่วยให้กรีกและตุรกีให้รอดพ้นจากเงื้อมมือลัทธิคอมมิวนิสต์เท่านั้นยังแสดงให้เห็นว่า สหรัฐจะตอบโต้การรุกรานใด ๆ ก็ตามที่มีต่อประเทศโลกเสรี ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน สหภาพโซเวียตได้จัดตั้งสำนักข่าวสารคอมมิวนิสต์ (Cominform)ขึ้นที่กรุงเบลเกรดทำหน้าที่เผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์และเป็นเครื่องมือของสหภาพโซเวียต เพื่อป้องกันมิให้โลกเสรีเข้าแทรกแซงยุโรปตะวันออกเป็นการตอบโต้ลัทธิทรูแมน การประกาศหลักการทรูแมนของสหรัฐอเมริกาถือเป็นการเริ่มต้นอย่างแท้จริงของสงครามเย็นระหว่างสองอภิมหาอำนาจ
สหรัฐพยายามกอบกู้และฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปเป็นเป้าหมายต่อไปโดยการเสนอให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ทุกประเทศในยุโรปเมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1947 ตามแผนการมาร์แชล แผนการนี้มีระยะ 4 ปี ด้วยงบประมาณ 13ม500 เหรียญดอลลาร์สหรัฐอเมริกาในรูปของเงินทุน วัตถุดิบ อาหารและเครื่องจักรกล โดยมีข้อแม้ว่าประเทศต่าง ๆในยุโรปจะต้องร่วมมือกันและประสานความช่วยเหลือซึ่งกันและกันด้านเศรษฐกิจ ประเทศในยุโรปตะวันออกถูกสหภาพโซเวียต กดดันให้ปฏิเสธข้อเสนอของสหรัฐอเมริกา ด้วยเหตุผลนี้ การฟื้นฟูเศรษฐกิจของยุโรปจึงแยกเป็น 2 แนวทางโดยเด็ดขาดตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ประเทศยุโรปตะวันตก 16 ประเทศจึงได้ร่วมมือกันจัดตั้งโครงการบูรณฟื้นฟูยุโรป (Europe Recovery Programme) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป(Organization for European European EconomicCooperation) ขึ้นเพื่อสนองตอบแผนการมาร์แชล ในเวลาเดียวกัน กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกซึ่งรับระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมของสหภาพโซเวียตได้ขอรับความช่วยเหลือทางด้านเศรษฐกิจจากสหภาพโซเวียต ในเดือนมกราคม 1949 กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกและสหภาพโซเวียตได้ร่วมมือกันจัดตั้งสภาความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางเศรษฐกิจCouncil for Mutual Economics Assistance:COMECON) เพื่อฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจของกลุ่มตนให้ทัดเทียมกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก
นอกจากนี้สหรัฐอเมริกายังสนับสนุนอย่างเต็มที่ด้านการเมืองการทหารแก่กลุ่มประเทศยุโรปตะวันตก ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาและแคนาดาร่วมกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกอีก 10 ประเทศจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)ขึ้น ด้วย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกทั้งด้านการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม อันถือว่าเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยระบบการป้องกันร่วมกันในระดับภูมิภาคที่สอดคล้องกับกฎบัตรสหประชาชาติ การจัดตั้งองค์การนาโตถือว่าเป็นจุดสำคัญของนโยบายต่างประเทศสหรัฐอเมริกาในการต่อต้านอิทธิพลของสหภาพโซเวียต โดยใช้ความร่วมมือกับทางการทหารของกลุ่มประเทศโลกเสรี กฎบัตรขององค์การ NATO กำหนดไว้ว่า หากยุโรปตะวันตกถูกรุกรานสหรัฐอเมริกาจะเข้าร่วมสงครามโดยทันทีตามหลักการป้องกันตนเอง
ก่อน ค.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตยังไม่เห็นความจำเป็นในการก่อตั้งองค์การป้องกันร่วมกันทางทหารกับกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกในรูปแบบขององค์การนาโต เพราะตนมีกองทัพอยู่ในประเทศฮังการีและประเทศโรมาเนียตามสนธิสัญญาสันติภาพ ค.ศ. 1947 กับประเทศทั้งสอง นอกจากนั้น รัฐบาลของสหภาพโซเวียตยังสามารถควบคุมรัฐบาลของกลุ่มประเทศของประเทศยุโรปตะวันออกไว้ได้อย่างเต็มที่ เท่ากับสหภาพโซเวียตสามารถควบคุมกำลังทหารของประเทศเหล่านั้นด้วย ครั้นถึง พ.ศ. 1955 สหภาพโซเวียตต้องถอนทหารออกจากประเทศฮังการีและโรมาเนียตามสนธิสัญญาสันติภาพกับออสเตรเลีย สหภาพโซเวียตจึงต้องถอนทหารออกจากประเทศฮังการีและโรมาเนียตามสนธิสัญญาสันติภาพกับออสเตรเลีย สหภาพโซเวียตจึงจำเป็นต้องมีกองทหารไว้ควบคุมเขตอิทธิพลของตนในรูปแบบใหม่ มีการประชุมเพื่อดำเนินการจัดตั้งระบบพันธมิตรทางทหารของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออกขึ้นที่กรุงวอร์ซอประเทศโปแลนด์ ก่อให้เกิดกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ(Warsaw Pact) ขึ้นอันเป็นช่องทางให้สหภาพโซเวียตสามารถมีกองกำลังของตนไว้ในประเทศสมาชิกได้ การกำหนดนโยบายขององค์การสนธิสัญญาวอร์ซอเป็นสิทธิของสหภาพโซเวียต เพียงประเทศเดียว
นอกจากทวีปยุโรปแล้ว สองอภิมหาอำนาจยังแข่งขันกันในภูมิภาคต่าง ๆ ส่งผลให้สงครามเย็นเพิ่มความตึงเครียด ทวีป
เอเชียเป็นอีกเวที หนึ่งของสงครามเย็นในแถบตะวันออกไกล จีนเป็นดินแดนที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จมากที่สุด เมื่อจีนคอมมิวนิสต์นำโดยประธานเหมา เจ๋อ ตงเป็นฝ่ายที่มีชัยชนะในสงครามกลางเมือง ยึดครองแผ่นดินใหญ่ของจีนได้เมื่อ ค.ศ. 1949 รัฐบาลจีนคณะชาติซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีและได้รับความสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสหรัฐอเมริกาต้องหนีไปตั้งรัฐบาลที่เกาะฟอร์โมซา ชัยชนะของจีนคอมมิวนิสต์มีผลกระทบต่อดุลอำนาจการเมืองระหว่างประเทศ ถือเป็นการพ่ายแพ้ที่สำคัญของสหรัฐอเมริกาและเป็นการสียดุลอำนาจครั้งสำคัญของโลกเสรี สหภาพโซเวียตและจีนเป็นสองประเทศคอมมิวนิสต์ที่มีอาณาเขตกว้างใหญ่ มีทรัพยากรมาก และมีจำนวนประชากรมหาศาล ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเ มิกาและจีนจึงตึงเครียดมานับตั้งแต่นั้น
ประเทศเกาหลีอยู่ในสภาพเดียวกับประเทศเยอรมนีที่กลายเป็นเวทีความขัดแย้งในสงครามเย็นจนถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเทศที่มีอุดมการณ์ตรงกันข้ามกันในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1950กองทัพเกาหลีเหนือซึ่งปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ได้ยกกำลังเข้ามารุกรานเกาหลีใต้อย่างฉับพลัน สหประชาชาติจึงจึงมีมติให้สหรัฐอเมริกาและกองกำลังทหารของสหประชาชาติจาก 18 ประเทศสมาชิกช่วยเกาหลีใต้ต่อต้านการรุกรานครั้งนี้ จีนส่งกองกำลังช่วยเกาหลีเหนือ ก่อให้เกิดการเผชิญหน้ากันจนกระทั่ง ค.ศ.1953 จึงมีการทำสนธิสัญญาสงบศึก สงครามเกาหลีก่อให้เกิดก่อให้เกิดความตืนตัวต่อการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชีย สหรัฐอเมริกาเห็นความจำเป็นในการต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ในเอเชียอย่งจริงจัง สำหรับประเทศญี่ปุ่นลัทธิคอมมิวนิสต์ประสบความสำเร็จในวงแคบเสถียรภาพทางการเมือง ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ มาตรฐานทางสังคมในระดับสูงอันเป็นผลงานของสหรัฐอเมริกา(ทั้งนี้เนื่องมาจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐอเมริกาเข้าไปปกครองญี่ปุ่นโดยนายพลมาร์แชล ได้พยายามให้ญี่ปุ่นยกเลิกการเป็นประเทศเผด็จการทหาร ยกเลิกกระทรวงทางทหาร มีเพีบง กรมตำรวจ รวมทั้งงบประมาณทางด้านการป้องกันประกันให้มีเพียง 0. 9 ของ GDP สหรัฐเซ็นสัญญาทำหน้าที่ป้องกันประเทศให้ญี่ปุ่นโดยยังคงทหารสหรัฐอเมริกาไว้ในญี่ปุ่นและฐานทัพของสหรัฐอเมิรกาไว้ในแปซิฟิก ฉนั้นญี่ปุ่นจึงพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ ส่วนทางด้านการปกครองสหรัฐอเมริกาได้ให้ญี่ปุ่นปกครองในระบอบรัฐสภาฉนั้นเมื่อสหรัฐถอนตัวออกจากญี่ปุ่นในปี 1952 ญี่ปุ่นจึงสามารถพัฒนาประเทศให้มีเสถียรภาพทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างเต็มที่)ทำให้ญี่ปุ่นเป็นกำลังสำคัญของโลกเสรีในทวีปเอเชีย การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ ในภูมภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากอินโดจีน คือ เวียดนาม ลาว เขมร ซึ่งเมื่อได้รับเอกราชการฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาสันติภาพปารีส ปี 1954 เวียดนามถูกแล่งเป็น 2ส่วน โดยใช้เส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ เวียดนามเหนืออยู่ภายใต้การปกครองลัทธิคอมมิวนิสต์ โดยมีโฮจิมินห์เป็นผู้นำ เวียดนามใต้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีโงดินห์เดียมเป็นผู้นำ โดยจะให้มีการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 1 โดยจะให้มีการเลือกตั้งภายในระยะเวลา 1 ปีเพื่อรวมเวียดนามเป็นประเทสเดียวกัน การขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์เข้าไปในอินโดจีน ทำให้สหรัฐอเมริกานำนโยบายการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนา ( Containment Policy) มาใช้ในเอเชียด้วย นายจอห์นฟอสเตอร์ ดัลเลส (John Foster Dulles) รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาขณะนั้นประกาศว่าจะไม่ยอมให้ลัทธิคอมมิวนิสต์ขยายตัวต่อไป โดยเชื่อมั่นในทฤษฎีโดมิโนว่าถ้าประเทศใดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์แล้วประเทศใกล้เคียงอื่น ๆ ก็จะพลอยเป็นคอมมิวนิสต์ไปด้วย เมื่อวันที่ 8 กันยายน 1954 ได้มีการทำสนธิสัญญาที่กรุงมะนิลาเพื่อจัดตั้งองค์การสนธิสัญญาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(South East Asia Treaty Organization=SEATO) ขึ้นประกอบด้วยประเทศสมาชิก 8 ประเทศ ได้แก่ ไทย ฟิลิปปินส์ปากีสถาน สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ด้วยวัตถุประสงค์ทำนองเดียวกับ NATO
ที่เหลือติดตามอ่านต่อได้ที่ http://thaimilitary.multiply.com/journal/item/22/Mega_Project_continue_to_Cold_WAR_Part_I ครับเพราะว่าเหลืออีกเยอะครับ ไม่อยากเปลืองที่ในนี้ ยังไงก็ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่านและติดตามต่อนะคราบบบบบบ