สงครามโลกครั้งที่ 1
เป็นสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตร(Allied Powers) กับมหาอำนาจกลาง(Central Powers) เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 4 ส.ค. 1914 และสิ้นสุดลงเมื่อมีการลงนามในสนธิสัญญาแวร์ซายส์ (Treaty of Versailles) ที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 สงครามไม่ได้จำกัดขอบเขตเฉพาะในทวีปยุโรปเท่านั้น แต่ยังขยายตัวไปยังดินแดนส่วนอื่น ๆ ของโลกและมีประเทศที่เข้าร่วมกว่า 30 ประเทศ สงครามได้สร้างความหายนะและความพินาศแก่คู่สงครามอย่างไม่เคยปรากฏในสงครามครั้งใดมาก่อน ทั้งเป็นสงครามที่นองเลือดและยืดเยื้ออยู่ถึง 4 ปี สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้ชื่อว่าเป็นการเริ่มต้นของยุคการทำสงครามเบ็ดเสร็จ Total War) เพราะในการต่อสู้ในสงครามประเทศต่าง ๆ ได้ใช้ทรัพยากรและอาวุธที่มีอยู่ทุกอย่างโดยไม่มีข้อจำกัดเพื่อทำลายล้างฝ่ายตรงกันข้าม อำนาจการทำลายของอาวุธประเภทต่าง ๆ และขอบเขตของพื้นที่ทำสงครามที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ทำให้สงครามที่เกิดขึ้นเป็นมหาสงคราม ( Great War)
1.สาเหตุของสงคราม ชนวนระเบิดของสงครามโลกครั้งที่ 1เกิดขึ้นเมื่ออาร์ชดุ๊ก ฟรานซิส เฟอร์ดินานด์ (Archduke Francis Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีและพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ขณะเสด็จเยือนกรุงซาราเจโวในโดยชาวเซอร์เบีย
การแบ่งเป็นค่ายมหาอำนาจก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1
1. Triple Enténe มีฝรั่งเศส อังกฤษ รัสเซีย ต่อมารัสเซียถอนตัวออกจากสงครามในปี 1917 เพราะเกิดการปฏิวัติภายในประเทศ อังกฤษจึงมาเจรจาให้อิตาลีย้ายค่ายโดยสัญญาว่าจะยกดินแดน 5 รัฐริมฝั่งทะเลเอเดรียติกให้คือ สโลเวเนีย โครเอเชีย บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ยูโกสลาเวีย และ อัลบาเนียให้แก่อิตาลีเนื่องจากอิตาลีต้องการมีอิทธิพลในทะเลอาเดรียติก และต่อมาสหรัฐอเมริกาเข้าสู่สงครามโดยอ้างว่าเรือดำน้ำของเยอรมนีทำให้ชาวอเมริกันซึ่งโดยสารในเรือสินค้าของอังกฤษแล่นอยู่ในน่านน้ำเสรีตาย ส่วนญี่ปุ่นเข้าข้างอังกฤษเพราะเคยเซ็นสัญญาเป็นพันธมิตรทางนาวีกับอังกฤษใน ค.ศ. 1902
2. ค่าย Triple Alliance มีเยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และอิตาลี ต่อมาตุรกีเข้าร่วมเป็นพันธมิตรด้วย
ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 รัสเซียต้องการหาทางออกทะเลน้ำอุ่นและพันธมิตรในคาบสมุทรบอลขานจึงมาเซ็นสัญญากับประเทศในคาบสมุทรบอลขาน โดยอ้างว่ารัสเซียเป็นชนเผ่าสลาฟด้วยกัน เรียกสนธิสัญญานี้ว่า PAN SLAVISM ซึ่งสัญญานี้กระทบกับอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเพราะส่วนมากประเทศในคาบสมุทรบอลขานอยู่ในอิทธิพลของออสเตรียฮังการี Triple Entén = F,
Triple
(Sarajevo)นครหลวงของแคว้นบอสเนียเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน
1914 รัฐบาลออสเตรียฮังการีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบียเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1914 รัสเซียซึ่งสนับสนุนเซอร์เบียเพราะ เซอร์เบียเป็นสมาชิกขององค์กร (Pan- Slavism) จึงระดมกำลังทหารขณะที่เยอรมนีซึ่งเป็นพันธมิตรกับออสเตรีย-ฮังการรีได้เรียกร้องให้รัสเซียหยุดระดมกำลังทหาร แต่รัสเซียปฏิเสธ เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 และต่อฝรั่งเศสซึ่งสนับสนุนรัสเซียในวันที่ 3 สิงหาคม 1914
ในวันที่ 4 สิงหาคม เยอรมนีก็บุกเบลเยียมซึ่งได้ได้รับการประกันความเป็นกลางมาตั้งแต่ ค.ศ. 1839 การบุกเบลเยียมทำให้อังกฤษประกาศสงครามต่อเยอรมนี เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 1914 ความขัดแย้งระดับภูมิภาคระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียจึงกลายเป็นสงครามระหว่างนานาประเทศ ต่อมาก็มีประเทศต่างเข้าร่วมสนับสนุนกลุ่มสัมพันธมิตรของตน การรบได้ขยายตัวไปยังดินแดนส่วนต่าง ๆ จนกลายเป็นสงครามโลกในที่สุด
2. ปัจจัยที่นำไปสู่สงครามโลก ที่สำคัญมีดังนี้
2.1 ลัทธิชาตินิยม แนวความคิดชาตินิยมที่เกิดขึ้นในฝรั่งเศสและเยอรมนีทำให้สัมพันธมิตรระหว่างประเทศทั้งสองตึงเครียดเพราะฝรั่งเศสซึ่งเคยพ่ายแพ้ เยอรมนีในสงคราม 1870-1874 ต้องการแก้แค้นและแย่งชิงแคว้นอัลซาซ-ลอแรน ซึ่งเป็นแหล่งอุตสาหกรรมสำคัญที่เยอรมนียึดไปกลับคืน เซอร์เบียพยายามรวบรวมชนเผ่าสลาฟในคาบสมุทรบอลข่านให้เป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกัน รัสเซียซึ่งต้องการความช่วยเหลือพวกสลาฟในคาบสมุทรบอลขานจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายอำนาจและอิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลขาน ลัทธิชาตินิยมของพวกสลาฟจึงมีผลกระทบต่อความมั่นคงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
2.2 ลัทธิจักรวรรดินิยม การขยายอำนาจและแย่งชิงดินแดนของประเทศมหาอำนาจเพื่อเข้าควบคุมคาบสมุทรบอลขานและตะวันออกกลาง รวมทั้งแอฟริกาเหนือ ทำให้เกิดข้อพิพาทระหว่างประเทศที่ตึงเครียดดังกล่าวจึงพัฒนานำไปสู่การเกิดสงคราม
2.3 ลัทธินิยมทหาร ประเทศต่าง ๆ ในยุโรปแข่งขันกันสะสมอาวุธและสร้างแสนยานุภาพทางทหารด้วยการเพิ่ม
งบประมาณป้องกันประเทศและขยายเวลารับราชการทหารให้นานขึ้น การแข่งขันเสริมสร้างกองทัพบกระหว่างเยอรมนีกับฝรั่งเศสและการแข่งขันกันสะสมอาวุธทางทะเลระหว่างอังกฤษกับเยอรมนี ทำให้อังกฤษซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจทางทะเลไม่พอใจ บรรยากาศของความหวาดระแวงและไม่ไว้ใจกันจึงเริ่มก่อตัวขึ้น
2.4 ระบบพันธมิตรในยุโรป การที่ยุโรปแบ่งออกเป็น 2 ค่าย คือกลุ่ม Triple
จึงยากที่จะเกิดขึ้นเพราะแต่ละกลุ่มปฏิเสธที่จะยอมโอนอ่อนให้กับฝ่ายตรงกันข้ามเนื่องจากเกรงว่าจะเป็นการเสียศักดิ์ศรี
( ที่เหลืออ่านได้ที่ http://thaimilitary.multiply.com/journal/item/20 ครับ ไม่อยากเปลืองที่เปล่าเพราะมันเยอะมากกกกกกคราบบ และยังจะมี ครั้งที่ 2 และ สงครามเย็นตามมาอีก 2 ชุดครับผม )
3. การรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 การรบในสงครามโลกครั้งที่ 1 มีทั้งการรบทางอากาศ ทางบกในสนามเพลาะและทางเรือทั้งบนผิวน้ำและใต้ดิน ปรากฏการณ์ที่สำคัญ คือกองทัพบก กองทัพเรือและกองทัพอากาศประสานการรบอย่างเป็นเอกภาพเป็นครั้งแรก นอกจากนี้ประเทศคู่สงครามต่างแข่งกันประดิษฐ์และผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ มากมายหลายประเภทที่มีอำนาจทำลายล้างสูง รวมทั้งหาวิธีป้องกันพรมแดนของตน เบลเยียมและฝรั่งเศสได้สร้างป้อมคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อสกัดกั้นการบุกรุกของศัตรู แต่เยอรมนีก็แก้ปัญหาโดยการใช้ปืนใหญ่ที่สามารถยิงได้ไกลถึง 120 กิโลเมตรด้วย รวมทั้งปืนโฮวิทเซอร์ (Howitzer) ที่มีอำนาจในการทำลายล้างสูง
นอกจากนี้ก็มีการประดิษฐ์รถถัง เครื่องบินต่อสู้อากาศยาน ปืนกล ระเบิดมือ และระเบิดรวมทั้งแก๊สพิษ ในการรบทางเรือก็มีการประดิษฐ์เรือดำน้ำเพื่อใช้โจมตีเส้นทางลำเลียงของข้าศึกและเยอรมนีก็เป็นผู้นำในการใช้เรือดำน้ำโจมตี แต่ประดิษฐ์กรรมที่สำคัญคือเครื่องบิน เพราะเครื่องบินทำให้เกิดสงครามทางอากาศขึ้นเป็นครั้งแรกและการต่อสู้ทางอากาศก็ชี้ให้เห็นว่าแนวหลังของแต่ละฝ่ายไม่สามารถรอดพ้นจากการโจมตีของข้าศึกได้อีกต่อไป อาวุธและประดิษฐ์กรรมใหม่ ๆ เหล่านี้ทำให้สงครามโลกนองเลือด และมีผู้บาดเจ็ดล้มตายเป็นจำนวนมหาศาล สงครามที่กระทำกันครบทั้ง 3 มิติ คือ ทางบก ทางเรือและทางอากาศทำให้สงครามครั้งนี้แตกต่างจากสงครามในอดีตอย่างมาก ทั้งเป็นสงครามที่ชี้ให้เห็นว่าพัฒนาการของเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมทหารก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการแพ้ชนะอีกด้วย สงครามโลกครั้งที่ 1 จึงอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปะทะกันด้านกำลังของสังคมอุตสาหกรรมของแต่ละฝ่าย และสะท้อนลักษณะของสงครามในศตวรรษใหม่
4. ความหายนะของสงคราม สงครามโลกครั้งที่ 1 ได้สร้างความพินาศและหายนะอันใหญ่หลวงแก่ประเทศคู่สงครามทั้ง 2 ฝ่าย ประมาณว่าในปลาย ค.ศ 1919 ผู้คนทั่วโลกกว่า 65 ล้านคนเข้ามามีส่วนร่วมในสงคราม เมื่อสงครามสิ้นสุดลงจำนวนทหารที่เสียชีวิตประมาณ 13 ล้านคน บาดเจ็บกว่า 20 ล้านคน และกว่า 7 ล้านคนต้องทุพพลภาพ พลเรือนที่เสียชีวิตมีประมาณ 9 ล้านคน และอีก 9 ล้านคนเสียชีวิตโดยตรงในสงคราม ประมาณว่ามูลค่าทรัพย์สินที่เสียหายจากสงครามคิดเป็นมูลค่า 186,000 ล้านเหรียญสหรัฐและระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆอยู่ในสภาวะ พังพินาศและสงครามยังทำให้จักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่ของยุโรปทั้ง 4 จักรวรรดิอันได้แก่ จักรวรรดิรัสเซีย จักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รวมทั้งจักรวรรดิออตโตมันต้องล่มสลายลง นอกจากนี้ การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในรัสเซียใน 1917 ยังทำให้รัสเซียเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์และทำให้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์เป็นพลังทางการเมืองที่มีอิทธิพลสำคัญในคริสต์ศตวรรษที่ 20
5. ผลสำคัญของสงครามโลกครั้งที่ 1 ผลที่สำคัญประการหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 1 คือการตั้งองค์การสันนิบาติชาติ (The League of Nations) ขึ้น ซึ่งเปิดประชุมเป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1920 เพื่อให้เป็นองค์การระหว่างประเทศที่จะทำหน้าที่ประสานประโยชน์และแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างประเทศ ตลอดจนสร้างสันติภาพและความช่วยเหลือระหว่างชาติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดสงครามโลกขึ้นอีก นอกจากนี้ยังมีประเทศใหม่ในยุโรปตะวันออกเกิดขึ้นอีกหลายประเทศ เช่นเชโกสโลวะเกีย โปแลนด์ ฮังการีเป็นต้น ประเทศเหล่านี้ต่างพยายามสร้างระบบการเมืองการปกครองให้มั่นคง แต่ก็ประสบความสำเร็จไม่มากนัก
เพิ่มให้อีกคราบบผมมมมมมมแต่ยังไงที่เหลือก็ตามอ่านที่ link นะครับ
เออคือว่า เรื่องนี้ใครเขียนเหรอครับ? ผมสงสัยตรงที่บอกว่าสงครามโลกครั้งที่1สิ้นสุดลงในปี 1919????
ถ้าจำไม่ผิดมันเป็นปี 1918ไม่ใช่เหรอครับ ในวิกิพีเดียก็บอกว่าสงครามสิ้นสุดในวันที่11 เดือนพฤศจิกายน ปี1918 (ซึ่งมีท่านหนึ่งบอกว่าทั่วโลกจึงถือเอาวันนี้เป็นวันทหารผ่านศึก) แต่เรื่องสนธิสัญญานี่น่าจะทำกันในปี 1919 มั้งครับไม่แน่ใจ