อันนี้มาจากประเด็นที่ทางมาเลเซียกำลังจะปรับปรุงเรือชั้น Lekiu เป็นรุ่น Batch 2 ให้มีประสิทธิภาพในการรบโดยเฉพาะการป้องกันภัยทางอากาศมากขึ้นครับ
http://www.malaysiandefence.com/wp-content/uploads/2008/01/img_0055.JPG
ภาพนี้ค่อนข้างจะเห็นตัว Model การติดตั้งอาวุธบนเรือชั้นนี้ชัดเจนครับ(เช่น Mk.56 12ท่อยิง และ Radar SMART-S)
http://www.youtube.com/watch?v=u8P6HXrt1g8
ว่าไปการปรับปรุงเรือชั้น Lekiu Batch 2 นี้ก็ไม่น่าจะเรียกว่าเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศเต็มตัวนักครับ เพราะระบบหลักอย่าง Radar SMART-S และ Saab Ceros 200 Trackers รวมถึงระบบอาวุธอย่าง
ESSM ,ปืน 30มม. และ ปืน76มม. นั้นก็มีอำนาจในการต่อต้านภัยคุกคามทางอากาศที่ค่อนข้างจำกัดอยู่ครับ ทั้งรัศมีการตรวจจับ พิสัยการยิง และจำนวนเป้าหมายที่ต่อตีได้(ขึ้นกับระบบอำนวยการรบด้วย)
การปรับปรุงเรือชั้นนี้น่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพในการป้องกันตัวเชิงรุกมากกว่า แต่ก็เพียงพอสำหรับภัยคุกคามในภูมิภาคขณะนี้ครับ
(ซึ่งถ้ามาเลเซียสนใจจะจัดหาเรือป้องกันภัยทางอากาศ แบบเต็มตัวจริงๆนี้อาจจะมองไปทางระบบของยุโรปอย่าง APAR ครับ)
ประเด็นที่น่าสนใจจุดหนึ่งคือการเปลี่ยนปืนใหญ่หลักของเรือจาก Bofors 57mm เป็น OTO Melara 76mm ครับ ซึ่งเรือฟริเกตที่เป็นเรือป้องกันกันภัยทางอากาศแท้ๆที่ต่อในช่วงหลังปี2000ก็เลือกติดปืนแบบนี้ เช่น เรือชั้น Sachsen ของเยอรมนี
และเรือชั้น Fridtjof Nansen ของนอร์เวย์
ซึ่งการเปลี่ยนปืนใหญ่เรือให้มีขนาดใหญ่ขึ้นนั้นก็เป็นการเพิ่มระยะในการยิงปืนใหญ่เรือต่อเป้าหมายทางอากาศ อย่างไรก็ตามอัตราการยิงของปืนขนาด76มม.ก็น้อยกว่าปืนขนาด57มม.ครับ
แต่ถ้าจะกล่าวตามตรงแล้วในสงครามทางเรือยุคปัจจุบันนั้นปืนใหญ่หลักของเรือไม่ใช้อาวุธที่ออกแบบมาสำหรับการยิงต่อต้านอากาศยานโดยตรงนักครับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรือป้องกันภัยทางอากาศหลายแบบนั้นเลือกที่จะติดปืนใหญ่เรือที่มีขนาดใหญ่กว่าอย่าง
เรือชั้น De Zeven Provincien ของเนเธอร์แลนด์ที่ติดปืนใหญ่ OTO Melara 127mm/54cal
หรือเรือชั้น King Sejong the Great ของเกาหลีใต้ที่ติดปืนใหญ่ Mk 45 Mod 4 127mm/62cal
ในการต่อเรือป้องกันภัยทางอากาศสำหรับกองทัพเรือในภูมิภาค ASEAN นั้นคงไม่มีกองทัพเรือประเทศไหนต้องการจะมีอาวุธปล่อยโจมตีเป้าหมายภาคพื้นดินระยะไกลอย่างขีปนาวุธร่อน Tomahawk ครับ
เพราะฉนั้นการติดปืนใหญ่เรือขนาดใหญ่ย่อมมีข้อได้เปรียบในเรื่องการใช้ยิงสนับสนุนชายฝั่งได้ในระยะไกล ซึ่งปืนแบบ Mk.45 Mod.4 นั้นสามารถใช้กระสุนนำวิถีความแม่นยำสูงได้ด้วย
แต่ปืนขนาดนี้ย่อมจะมีอัตราการยิงที่ช้าไปสำหรับการใช้เป็นระบบต่อต้านอากาศยานโดยตรงครับ(ทั้งนี้ก็ขึ้นกับระบบอำนวยการรบและระบบควบคุมการยิงเช่นกัน)
ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งสำหรับเรือป้องกันภัยทางอากาศหลายๆชั้นที่ต่อในช่วงหลังๆมานี้โดยเฉพาะของฝั่งยุโรปตะวันตกนี้จะเห็นว่าหลายแบบไม่มีการติดตั้งระบบ CIWS ที่เป็นระบบปืนใหญ่กลยิงเร็วไม่ว่าจะเป็น Phalanx หรือ Goalkeeper เลยครับ เช่นเรื่องชั้น Type 45 Daring ของอังกฤษนั้นดูเหมือนจะยังไม่ติด Phalanx ตามที่ออกแบบไว้ในตอนแรกครับ
หรือเรือฟริเกตชั้น Horizon ที่เป็นโครงการร่วมของฝรั่งเศสและอิตาลีนั้นก็ไม่มีการติดตั้งระบบ CIWS ครับ แต่เรือของฝรั่งเศสคือชั้น Forbin นั้นติด Sadral ครับ
เหตุผลก็น่าจะมาจากระบบอาวุธปล่อยต่อต้านเรือผิวน้ำในปัจจุบันนั้นมีความก้าวหน้ามากขึ้นเกินกว่าที่ระบบที่เป็นปืนใหญ่กลยิงเร็วที่มีระยะยิงสั้นจะสกัดได้ทันครับการใช้ระบบที่เป็นขีปนาวุธนำวิถีพิสัยสั้นมากที่แม่นยำและยิงได้ไกลว่าจะดูแน่นนอนกว่า
สำหรับเรือรบของกองทัพเรือไทยนั้นปืนใหญ่เรือหลักก็เป็นปืนแบบ OTO Melara 3(76mm/62cal) ครับ และก็มีปืนขนาด 5/54 ทั้งแบบMk 42 ที่ติดบนเรือชั้น ร.ล.พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและแบบ Mk 45 Compact ที่ติดบนเรือชั้น ร.ล.นเรศวรด้วย (ไม่นับปืน 100มม.บนเรือชั้น ร.ล.เจ้าพระยา และ ร.ล.กระบุรี และ 4.5 บนเรือมกุฏราชกุมารอีก)
คำถามที่น่าสนใจสุดท้ายคือ ปืนใหญ่เรือขนาดเท่าไรถึงจะเหมาะกับโครงเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศในอนาคตของไทยละ?
ถ้าเรือเน้นไปที่การป้องกันทางอากาศเป็นหลักอย่างเดียวนั้น ปืนOTO Super Rapid 3 ก็น่าจะเพียงพอครับ
แต่ถ้าเรือต้องการคุณสมบัติรองรับภารกิจได้อย่างอเนกประสงค์แล้วส่วนตัวคิดว่าเลือกปืนใหญ่หลักขนาด 5 ก็น่าจะดีกว่าครับ
อีกข้อคือเรือรบต่างๆที่ไทยมีประจำการอยู่ในปัจจุบันหรือกำลังจะต่อในอนาคตนั้นควรจะติด CIWS ที่เป็นแบบปืนใหญ่กลยิงเร็วอย่าง Phalanx หรือขีปนาวุธพิสัยสั้นอย่าง Sadral และ RAM หรือจะติดตั้งทั้งสองแบบละ?
ส่วนตัวคิดว่าถ้าเรือมีขนาดใหญ่และมีพื้นที่พอนี้ติดทั้งระบบอย่าง Phalanx กับ RAM พร้อมกันก็แน่นอนดีครับ แต่ถ้าเรือมีขนาดไม่ใหญ่มากหรือมีเนื้อที่จำกัดแล้ว ติดระบบอย่าง Sadral หรือ RAM เสริมกับปืนใหญ่รองขนาด20mm/30mm ก็น่าจะพอครับ
ปืนเรือ ๓ นิ้ว ซุเปอร์ราปิด ของออโตเมลลาร่านั้น อัตราเร็วการยิงถือว่าจัจ้านมากครับ.................................... อยู่ที่เกือบๆ ร้อยยี่สิบนัดต่อนาที เมื่อเทียบแล้ว สูงกว่าปืน๕๗ แถมอัตรายิงยังเป็นครึ่งนึงของ ปตอ.แท้ๆ แบบ ๔๐ มม.ด้วย.................... เมือผสมผสานระหว่างหน้าตัดและปริมาตรบรรจุหัวกระสุนที่มีมาก ประกอบกับอัตรายิงจัดจ้าน ซุเปอร์ราปิดจึงถูกนำมาใช้เป็นระบบ ซีไอดับบลิวเอส ของเรือพิฆาตของอิตาลี่ ...................
ระบบกระสุนที่ใช้หยุดยั้งอาวุธปล่อยนั้น มีทั้งแบบหัวนำวิถีและหัวลูกปลาย............................ มองในแง่การเอาตัวรอด เมื่อพิจรณาระยะยิงของปืน ๒๐ มม. ระบบฟาแลงซ์ ซึ่งมีระยะหวังผลสูงสุดราว ๒ กม. ด้วยอัตราเร็วร่อนขฮงอาวุธปล่อยระญธไฟนั่ลแอพโพรชซึ่งอยู่ที่ราว ๙๐๐ กม/ชม หรือ ๑กม/๔วินาที ระบบมีเวลาจำกัดเพียง ๘ วินาทีก่อนจรวดจะทะลวงร่าง................. ปืน ๓นิ้ว ระยะยิงหวังผลทางราบจะมากกว่า ก็เพิ่มเวลาให้บรรจงจัดการได้อย่างสุขุม...................... ซุเปอร์ราปิดจึงเป็นปืน ไตรประสงค์ ยิงพื้นน้ำ ระดมฝั่ง และป้องกันตัว.............................................ครับ
.....คิดเช่นเดียวกับ ท่านกบครับ ปืนออโตเมราล่า ซุปเปอร์ฯ 76 ม.ม. เหมาะสุดแล้วล่ะ อัตตรายิงเทียบเท่า ปตอ.ในด้านการยิงไม่ว่าจะทางราบหรือทางอากาศ ถ้ารวมกับระบบควบคุมการยิงและกระสุนที่ใช้ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพในการใช้เชิงรุกและป้องกันน่ะครับ โดยถ้าเป็น 127 ม.ม. ก็จะมีแค่ ความรุนแรงกับระยะยิง แต่อัตตรายิงจะช้ากว่า ถึงกระสุนจะรุนแรงกว่าก็ตาม
.....แต่หากใช้ซัลโวใส่เป้าที่พุ่งมาหาหาก ระบบควบคุมการยิงไม่ดี คงยากที่จะโดนนัดเดียวจอดน่ะครับ ฉะนั้น เลือกแบบอัตตราการยิง กำลังดี ความแม่นยำและระยะยิงพอดีๆ แบบ76 ม.ม.ซุปเปอร์นี่ล่ะ
จริงครับ เพื่อนผมที่เป็นทร.เขาก็บอกว่า พวก CIWS นี่ แม้จะทำลาย SSM ที่เข้ามาได้ แต่พวกเศษ ๆ ที่เหลือจากการระเบิด ก็สร้างความเสียหายให้เรือได้ครับ ถ้าพลาดเข้าจุดสำคัญก็เจ๊งได้เหมือนกัน
ยกมือสนับสนุน Super Rapid ด้วยคนครับ
ปล. แต่พวกทร.เยอรมันเขาก็มีข้อติงอยู่ว่า ปืน 76/62 นั่นเอาเข้าจริงมันเล็กเกินไปแฮะ เขาอยากได้ 127 มม.มากกว่า ........ ซึ่งผมก็ลืมถามเพื่อนไปว่าพวกเยอรมันเขามีภารกิจอะไร ......... แต่โดยส่วนตัวแล้ว 76/62 ดูจะเหมาะสมกับราชนาวีไทยที่สุดครับ
ท่าน AAG_th1 ครับ ที่ปรากฎข้อความในหนังสือ Warships ปืนของ Lekiu Batch 2 จะเป็น Bofos ขนาด 75 มม. MK-2 เหมือนตามโมเดลจำลอง ครับ...ซึ่งผมก็ยังหาข้อมูล ขนาด 75 มม. ไม่เจอเหมือนกัน...
และผมลอง Serch ดู...สงสัย จะเป็นเรือต่อใหม่ จำนวน 2 ลำ อาจจะไม่ใช่การปรับปรุงเรือเดิม...แต่ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน...เนื่องจากมันเป็นข่าวต่อเนื่องจากปี 2006 ที่ มาเลเซีย เคยให้ข่าวว่า จะจัดซื้อเรือใหม่จาก อังกฤษ จำนวน 2 ลำ แต่ยังไม่ระบุชั้นเรือ...
ซึ่งถ้าเป็นการต่อเรือ ชั้น Lekiu ใหม่ จำนวน 2 ลำ เรือใหม่ 2 ลำ นี้ น่าจะเป็นแบบ เอนกประสงค์ทั้ง 3 มิติ ต่อต้านทางอากาศ ต่อต้านเรือผิวน้ำ และต่อต้านเรือดำน้ำ (ระบบตรวจจับเรือดำน้ำ ลักษณะเหมือนชุด ร.ล.พุทธฯ แต่สมัยใหม่กว่ามาก)
ของ ทร.ไทย ในส่วนของปืนใหญ่หลัก ถ้าเป็นเรือที่เราจัดชั้นเป็นเรือป้องกันภัยทางอากาศ และมีการติดตั้งระบบอาวุธต่อต้านระยะไกล พวก ESSM และระยะใกล้ แบบ ซาดรัล หรือ CIWS แล้ว ผมว่า ปืนใหญ่หลัก ก็น่าจะเป็นปืนที่สนับสนุนการยิงฝั่ง หรือ ยิงได้ในระยะไกล พวก 127 ม.ม. น่าจะครอบคลุมภาระกิจกว่าสำหรับเรือลำนั้น...
และในเรือสมัยใหม่ เดี๋ยวนี้ ผมไม่ค่อยเห็นจะมีการติดตั้ง CIWS แล้ว ถ้าเรือลำนั้น ติดมิสซายส์ ต่อต้านทางอากาศระยะใกล้ หรือระยะไกลแล้ว แต่จะติดตั้งปืนกลขนาด 30 ม.ม. แทน....
ปัจจุบัน ทร. มี ออโตเมร่า 76 ม.ม. ประมาณ 20 กระบอก
และแบบรุ่น 3 นิ้ว 76 ม.ม. เปิดประทุนสมัยสงครามโลกอีก 7 กระบอก (ซึ่งผมว่า อนาคต คงถูกทดแทนด้วย ออโตเมร่า 76 ม.ม. จำนวน 3 กระบอก สำหรับชุด ร.ล.หัวหิน)
ปืนใหญ่หลักขนาด 127 ม.ม. 4 กระบอก และขนาด 122 ม.ม. 2 กระบอก
ยังไง ๆ ผมว่า ออโตเมล่า น่าจะเป็นปืนใหญ่หลักของ ทร. ไม่น่าจะมีใครมาแย่งตลาดไปได้....
เรือตรวจการณ์ปืนของไทยหลายชั้นที่ติดตั้งปืนใหญ่ 76mm/50cal รุ่นเก่า เช่น ชุด ร.ล.สัตหีบ 3ลำในชุดหลัง (ร.ล.กันตัง, ร.ล.เทพา, ร.ล.ท้ายเหมือง) และ ชุด ร.ล.หัวหิน เข้าใจว่าส่วนหนึ่งเป็นปืนที่ถอดมาจากเรือเก่าที่ปรับปรุงแล้วอย่าง ร.ล.ตาปี ร.ล.คีรีรัฐ และจัดหาจากสหรัฐฯเพิ่มครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าในอนาคตไม่แน่ใจว่าจะมีการนำปืนอัตโนมัติแบบ OTO 76mm/62Cal หรือไม่นะครับ เพราะเรือในชุดสัตหีบ 3ลำแรกเองก็ติดปืน OTO 76mm ซึ่งมีการวิเคราะห์ว่าสิ้นเปลืองไปสำหรับเรือตรวจการปืนทั่วไป และสำหรับ ร.ล.หัวหินนั้นก็ไม่แน่ใจว่าจะติดได้หรือไม่ครับในแง่โครงสร้างเรือและการจ่ายพลังงาน บางทีกองทัพเรืออาจจะใช้ปืน 76mm/50Cal นี้ไปอีกนานตราบที่ยังมีกระสุนให้ใช้ครับ(ซึ่งเข้าใจว่าเราน่าจะผลิตเองได้ครับ)
แต่ข้อมูลของเรือชั้น Lekiu Batch2นี้คือจะใช้ปืนใหญ่หลักของ Bofors ขนาด 75mm เข้าใจว่าน่าจะเป็นปืนรุ่นใหม่ครับ
สำหรับเรือเยอรมันนี้เคยมีการทดสอบเอาป้อมปืนใหญ่อัตราจร 155mm PzH 2000 บนเรือชั้น Sachsen เพื่อทดสอบการยิงสำหรับสนับสนุนกำลังภาคพื้นระยะไกลครับ(แต่ดูเหมือนไม่ค่อยประสบความสำเร็จ) นั้นคงเป็นเหตุที่เยอรมันสนใจปืนขนาด 127mm ครับ
ปืนใหญ่หลักเรือรบของกองทัพเรือไทยนี้ก็คือ OTO 76mm อยู่แล้วครับ แต่ก็ตามที่กล่าวไว้ข้างต้นครับว่าอย่างไงปืนใหญ่หลักเรือก็ไม่ใช้ระบบต่อสู้อากาศยานหลักอยู่ดี ถ้าเราจะต่อเรือฟริเกตอเนกประสงค์ขนาดใหญ่นี้ส่วนตัวสนับสนุนปืนขนาด 5 สนับยิงสนับสนุนกำลังภาคพื้นระยะไกลครับ
ผมขอพูดอะไรนึนึงนะครับ เรื่องปืนเรือเนี่ยตัวผมเองก็รู้กิตติศัพท์ของปืน 76 ของ ottomaliala นะครับ ว่าเป็นปืนเรือ 3 นิ้วที่ถือว่าดีที่สุดเลยก็ว่าได้ และทร.ไทยเราก็ได้ใช้งานในเรือรบหลายๆลำด้วยครับ แต่ผมก็อยากเสริมว่าในเมื่อเป็นเรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งน่าจะเป็นเรือที่จะทันสมัยที่สุดในกองเรือแล้ว อาวุธปืนหลังของเรือนั้นน่าจะเป็นปืนแบบ 5 นิ้วมากกว่าเพราะจะมีอำนาจการยิงทำลายได้มากกว่าปืนเรือ 3 นิ้วครับ และอีกอย่างหนึ่ง ผู้การเรือตากสินได่เคยเล่าให้ผมฟังว่าตอนฝึกร่วมกับกองทัพเรือสหรัฐนั้น มีการใช้เป้าบิน บินล่อเป้าให้ปืนเรือ 5 นิ้วแบบ Mk 45 ยิงครับ ผลการยิงนั้นถ้าบอกแล้วอาจจะไม่มีคนเชื่อนะครับ แต่ว่าความแม่นยำของระบบควบคุมการยิงปืนบนเรือชั้น ตากสิน นเรศวรนั้น มีความแม่นยำมากๆๆๆๆๆครับ เพราะว่าขนาดเส้นลวดที่ใช้ลากเป้าที่บินอยู่นั้น โดนปืนเรือยิงขาดมาแล้วครับ และตอนยิง ผู้การเรือเป็นคนยิงด้วยตนเองหรือยิงด้วยระบบ manule แต่ให้คอมพิวเตอร์ควบตุมการยิงวัดระยะให้นะครับ แต่กดปุ่มยิงด้วยตนเองครับ อีกอย่างนะครับรู้สึกหลังฝึกจบ ทร. ไอ้กันแบบอึ้งอะครับว่า ขนาดเรือมันยังยิงไม่ได้แล้วไมเราถึงยิงโดนอะครับ ด้วยเหตุนี้ผมจึงอยากจะเสนอปืนเรือแบบนี้มากกว่าปืนแบบ 76 ครับผม
ถ้าต้องการยิงทางอากาศ76 มม.เหมาะที่สุดครับ
ส่วนถ้าสนับสนุนคงต้องพึ่ง 5นิ้ว มาร์ค54
ตัดสินใจลำบากครับ
40/70 ทวิน แบบเดียวกับบนเรือชั้นสุโขทัย
ง่ะโพสๆม่ติด 40/70 อีกที
76 SR
เอาอีกที 76 SR
5นิ้ว มาร์ค54
เปลืองที่เค้ามั๊ยเนี่ย 5นิ้ว
76SR ยิงได้สะใจจริงๆครับ
แต่ว่า ควันขโมงเชียว แล้วก็พอดูวิดีโอนี้ ก็ได้รู้ว่า ลำกล้องของ76มม.ระบายความร้อนด้วยน้ำ
ตบท้ายด้วย100มม. โหมดยิงเร็ว
เฮ้อ...............อุตสาห์พิมพ์มากว่า 30 นาที พอส่งเข้ามาหายหมด...การเชื่อมต่อหลุด...............หมดกำลังใจในการแสดงความคิดเห็นเลย
เอาสั้นๆ เพราะเดี๋ยวหลุดอีกครับ
เคยดู ESSM สอยเป้าบินที่สมมุติเป็น SSM พุ่งเข้าเรือ ทร.ออสเตเรีย ยอมรับว่าแม่นยำมากและสอยได้ตั้งแต่ระยะไกล 55 กม. ดังนั้นต่อให้บรามอสยิงไกล 300 กม ความเร็วกว่า 2.8 มัค ก็คงถูกเก็บตั้งแต่ไก่โห่ 2-3ลูกหรือกว่านั้นครับ เพราะเรือที่ใช้ระบบอำนวยการรบสมัยใหม่และระบบเรด้าร์สมัยใหม่นั้น สามารถยิงและควบคุม ESSM ได้ทีละหลายๆลูกเพื่อปะทะเป้าหมายเพียง 2- 3 ลูก
ระยะใกล้เข้ามาช่วง 2- 10 กม. RAM และ 76 มม. ซูปเปอร์ราปิดเหมาะมากครับ โดยเฉพาะลูกปรายจาก 76 มม. ที่ยิงได้ 120 นัดต่อนาทีนั้นน่าจะสามารถสร้างลูกปรายของชาร์ปได้กว่า 10,000 ลูกสบายๆ ดังนั้นต่อให้เร็ว 3 มัคก็รอดยาก
ระยะสุดท้ายต่ำกว่า 2 กม. อาจจะต้องรอเก้อว่าไม่มีใครเหลือให้ยิง เรือป้องกันภัยทางอากาศรุ่นใหม่ก็เลยตัดออกไปซะเลย เพราะไว้ใจยาก
ในใจขณะนี้นั้นผมว่าทร.ไทยเรากำลังลำบากเรื่องงบจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นผมเสนอว่านำเรือชั้นนเรศวรมาปรับปรุงใหม่ซะเลยครับคือ
ติดตั้งระบบอำนวยการรบใหม่ ไม่ต้องหรูครับ ขอแค่รุ่นที่ใช้กับเรือชั้นปัตตานีก็ใช้ได้แล้วครับ และเพิ่มเรด้าร์ควบคุมการยิงสเตียร์อีก 1 ดอกข้างหลัง (ถ้าได้รุ่นหรูๆกว่านี้ก็ดีครับ) ถ้ากลัวว่าเรด้าร์อำนวยการรบอ่อนไป ก็อาจถอดออกแล้วติดตั้งด้วย smart-s mk2 ก็ดีนะครับ
ติดตั้ง Mk-48/56 VLS โดยใช้ ESSM จะเป็นรุ่น mod 3 ที่ติด ESSM ได้ 12 ลูกแบบทร.มาเลย์ (มาเลย์ใช้ mod3 dual pack 2 ชุดนะครับ ดังนั้นจึงติดตั้ง ESSM ได้ 24 ลูก) หรือ mod ที่สามารถติดตั้งได้ 32 ลูกก็ได้ครับ (ขออภัยที่จำไม่ได้ว่า mod ไหนครับ)
ถอด 37 มม. ข้างโรงเก็บฮ.ออกไป ติดตั้ง RAM รุ่นแท่นยิง 21 นัด และแทนที่เรด้าร์ควบคุมการยิงปืน 37 มม. ด้วยเรด้าร์ควบคุมการยิง RAM แทน
ผมว่าใช้งบประมาณ 2000-2500 ล้านต่อเรือ 1 ลำ คุ้มกว่าต่อใหม่เยอะครับ เท่านี้ก็หรูพอๆกับ Lekiu batch 2 แล้วล่ะครับ 2 ลำใช้งบประมาณ 5000 ล้านบาทเท่านั้น ถูกกว่าเรือตรวจการไกลฝั่งที่ต่อจากต่างประเทศ 1 ลำอีกนะครับ
ในใจขณะนี้นั้นผมว่าทร.ไทยเรากำลังลำบากเรื่องงบจัดหาเรือฟรีเกตป้องกันภัยทางอากาศในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นผมเสนอว่านำเรือชั้นนเรศวรมาปรับปรุงใหม่ซะเลยครับคือ
ติดตั้งระบบอำนวยการรบใหม่ ไม่ต้องหรูครับ ขอแค่รุ่นที่ใช้กับเรือชั้นปัตตานีก็ใช้ได้แล้วครับ และเพิ่มเรด้าร์ควบคุมการยิงสเตียร์อีก 1 ดอกข้างหลัง (ถ้าได้รุ่นหรูๆกว่านี้ก็ดีครับ) ถ้ากลัวว่าเรด้าร์อำนวยการรบอ่อนไป ก็อาจถอดออกแล้วติดตั้งด้วย smart-s mk2 ก็ดีนะครับ
ติดตั้ง Mk-48/56 VLS โดยใช้ ESSM จะเป็นรุ่น mod 3 ที่ติด ESSM ได้ 12 ลูกแบบทร.มาเลย์ (มาเลย์ใช้ mod3 dual pack 2 ชุดนะครับ ดังนั้นจึงติดตั้ง ESSM ได้ 24 ลูก) หรือ mod ที่สามารถติดตั้งได้ 32 ลูกก็ได้ครับ (ขออภัยที่จำไม่ได้ว่า mod ไหนครับ)
ถอด 37 มม. ข้างโรงเก็บฮ.ออกไป ติดตั้ง RAM รุ่นแท่นยิง 21 นัด และแทนที่เรด้าร์ควบคุมการยิงปืน 37 มม. ด้วยเรด้าร์ควบคุมการยิง RAM แทน
ผมว่าใช้งบประมาณ 2000-2500 ล้านต่อเรือ 1 ลำ คุ้มกว่าต่อใหม่เยอะครับ เท่านี้ก็หรูพอๆกับ Lekiu batch 2 แล้วล่ะครับ 2 ลำใช้งบประมาณ 5000 ล้านบาทเท่านั้น ถูกกว่าเรือตรวจการไกลฝั่งที่ต่อจากต่างประเทศ 1 ลำอีกนะครับ
แท่นยิง Mk-48 Mod 3 นั้นเป็นรุ่นที่ติดตั้งบนเรือที่มีระวางขับน้ำขนาดเล็กราวต่ำกว่า 1,000ตันลงไปได้ครับซึ่งใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ส่วนรุ่นที่มีขนาดใหญ่กว่าคือ
MOD 0 ติดบนดาดฟ้าเรือ(On-Deck) เช่นในเรือชั้นMurasame ของญี่ปุน
MOD 1 ติดในส่วน Bulkhead (น่าจะแปลว่าผนังกันส่วนตัวเรือ) เช่นเรือชั้น Karl Doorman ของเนเธอร์แลนด์
และ MOD 2 รุ่น Compact ติดในส่วน SuperStructure เช่นเรือชั้น KDX-I ของเกาหลีใต้
ทั้งหมดใช้ท่อยิง16ท่อรองรับ ESSM ได้ 32นัด ซึ่งถ้าจะออกแบบเรือโดยปรับปรุงจากเรือชั้นนเรศวรนี้ ใช้ MK-48 MOD 2 แบบเดียวกับชั้น KDX-I ก็น่าจะดีครับ แต่ถ้าดูจากแบบพื้นที่ว่างบนเรือชั้นนเรศวรเดิมแล่วนี้ไม่ทราบว่าทั้ง ร.ล.นเรศวรและ เรือฟริเกตป้องกันภัยทางอากาศแบบใหม่ที่จะต่อนี้น่าจะมีพื้นที่ว่างสำหรับติด MK-48 ได้2ชุดครับซึ่งนั้นหมายความว่าจะมี ESSM ยิงได้ถึง 64นัดเลยทีเดียวครับ (แต่ไม่ทราบว่าโครงสร้างเรือจะรับได้หรือไม่)
มารู้จัก ๗๖/๖๒ กันอีกครั้ง...........................
ผลิตโดย บ.ออโต้เบรด้า และ ออโต้เมลาร่า อิตาลี่ (รายแรกเจ้าเดียวกะ ๔๐ ทวิน คอมแพค)
นน.ระบบไม่รวมกระสุน ๗.๕ ตัน (เบากว่าปืน๕นิ้ว ซึ่งอาจถึง ๒๐ ตัน)
มุมกระดก -๑๕ ถึง ๘๕ องศา
ความเร็วกระดก ๓๕ องศา ต่อ วินาที
อัตราเร่งการกระดก ๗๒ องศา ต่อ สแควร์วินาที(วินาทีกะลังสอง)
(อัตราเร่งการกระดกคือ ค่าความต่างสัมพัธของความเร็วต้น(คือ ๐) กับความเร็วปลายการกระดก)
อัตราเร็วการยิง ๘๕ นัดต่อนาที รุ่นคอมแพค (ทุกลำของไทย ยกเว้น ชุดโอพีวี)
๑๒๐ นัด ต่อนาที ซุเปอร์ราปิด
ระยะยิงหวังผล ๘ โล
ระยะยิงไกลสุด ๑๘.๔ โล กระสุนระเบิดแรงสูง ยิงที่มุมไกลสุดโปรเจ็คไตล์
(๔๕ องศา (สำหรับปืนกระสุนวิถีราบข้าศึกยินดีแหกตู..ให้ยิง))
ระบบป้อนกระสุน แมกกาซีน ๘๐ นัด นน.กระสุนครบนัด ๑๒.๓๔ โล
พลังงานไฟฟ้า ๓ เฟส ๔๔๐ โวลท์ ๖๐ เฮิร์ซ สำหรับวงจรไฟหลัก
เฟสเดียว ๑๑๕ โวลท์ ๔๐๐ เฮิร์ซ (อู้ฮู เหมือนเรือบิน สำหรับ
มอรเตอร์ขับเคลื่อน)
๗๖ ออโต้ เห็นชินตา ป้อมกลมๆตั้งๆ เหมือนนมสาว ๑๘ ................เคยมีการนำไปใช้เป็น ปตอ.อัตาจร ติดกับถ.ลีโอปาร์ด ................. เดี๋ยวนี้พัฒนาเป็นรุ่นสเต้วท์ เหลี่ยมๆลบมุมเรด้าร์ แต่ข้างในเหมือนเดิม.....................................
ถ้าเป็นปืนใหญ่เรือขนาด 5(127mm) แล้วนั้นสำหรับเรือที่จะต่อใหม่ ปืนแบบ Mk 45 Mod 4 ขนาด 5/62cal เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดตามความเห็นส่วนตัวครับ ประการแรกคือปืนรุ่นนี้สามารถติดตั้งบนเรือที่ใช้ปืนรุ่น Mk 45 รุ่นก่อนหน้านี้แทบจะได้เลยและสามารถใช้งานร่วมกับระบบควบคุมการยิงเดิมเกือบทั้งหมด อีกประการคือกระสุนขนาด 5/62cal นั้นตัวหัวกระสุนนั้นเป็นแบบเดียวที่ใช้กับปืน 5/54cal ครับ เพียงแต่มีส่วนปลอกดินขับใหม่ที่ยาวขึ้นเท่านั้น
น้ำหนักระบบ: 22.8ตัน
มุมกระดก: -15 / +65 องศา
ความเร็วกระดก: 20 องศาต่อวินาที
มุมหมุน: -170 / +170 องศา
ความเร็วหมุน: 30 องศาต่อวินาที
อัตราเร็วในการยิง: 16-20นัดต่อนาที
ระยะยิงกระสุน ส่วนขับแบบ Mark 67: 23.6 กิโลเมตร
ระยะยิงไกลสุด กระสุน EX-175 36.6-38.4 กิโลเมตร, ERGM 115 กม., BTERM 98กม.
กระสุนครบนัดหนัก 30กก.
แต่ถ้าถ้ากองทัพเรือยังเลือกใช้ปืนขนาด 5/54cal แล้ว ปืนของ OTO Melara ขนาด 127mm/54cal รุ่นLW (Light Weight) ก็น่าสนใจครับ
น้ำหนักปืน 25ตัน อัตราการยิง 35-40นัดต่อนาที (ค่อนข้างสูงทีเดียว)
ภาพการยิง OTO-Melara 127/54 Compact ของกองทัพเรือประเทศต่างๆ