หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


JAS-39 Gripen: กริเพน กับ Datalink

โดยคุณ : Skyman เมื่อวันที่ : 01/02/2008 19:31:42

JAS-39 Gripen: กริเพน กับ Datalink

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=27-01-2008&group=1&gblog=70

Datalink ........ คำนี้ ได้ยินบ่อยครับ ความจริงมันเป็นเรื่องที่กองทัพชั้นนำของโลกทั้งหลาย ปรับปรุง และพัฒนากันมานานแล้ว แต่ภูมิภาคเรา (โดยเฉพาะประเทศเรา) เพิ่งเริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ในกองทัพแต่ละชาติ

ฉะนั้น คร่าว ๆ ครับ ........ บทความนี้จะเกี่ยวกับ ระบบ Datalink และประโยชน์ของมันครับ

เชิญชมครับ




 

Datalink คืออะไร



หลักการของ Datalink นั้นมันคือไอเดียของสงครามเครือข่าย (Network Centric Warfare) ที่เน้นการเชื่อมโยงการปฏิบัติการของแต่ละหน่วยเข้าด้วยกันเพื่อลดความผิดพลาดในการโจมตีกันเอง (Blue On Blue: Friendy Fire) และเพิ่มประสิทธิภาพในการรบด้วยการใช้ข้อมูลล่าสุดที่ได้จากหลาย ๆ หน่วยมาช่วยในการตัดสินใจหรือการดำเนินกลยุทธ์ครับ โดยข้อมูลที่ได้รับ จะเป็นข้อมูลในเวลาจริง (Real Time)

ระบบ Datalink ไม่ได้มีเพียงแต่อากาศยานเท่านั้น แต่ยังสามารถติดตั้งในเรือรบ รถถัง ไปจนถึงพลทหาร โดยใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมกับแต่ละหน่วย เพื่อส่งข้อมูลให้กับผู้บังคับบัญชา ทำการตัดสินใจต่อไป

ความสำเร็จของการใช้ Datalink ในหลักการของ Network Centric Warfare ถูกพิสูจน์ประสิทธิภาพ ในสงครามอ่าวครั้งแรก (Operation Dessert Strom) ซึ่งกองทัพพันธมิตร เชื่อมต่อแต่ละหน่วยเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินกลยุทธและการวางยุทธวิธีเป็นอย่างมาก นำมาซึ่งการสูญเสียที่น้อยลง

ระบบป้องกันภัยทางอากาศไทย



ระบบป้องกันภัยทางอากาศไทย หรือ RTADS (Royal Thai Air Defense System) เป็นเครือข่ายการป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งกองทัพอากาศ กำลังทำการติดตั้งอยู่ โดยเมื่อเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะครอบคลุมพื้นที่ของประเทศไทยทั้งหมด งานส่วนมาก จะเป็นการแทนที่ระบบเรด้าร์ ที่เก่า และล้าสมัย ด้วยระบบเรด้าร์ที่ใหม่กว่า รวมถึงมีการจัดสร้างสถานีเรด้าร์ใหม่ในบางจุด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจจับ

โครงการ RTADS เริ่มขึ้นในปี 2542 และแบ่งเป็น 3 Phase ดังนี้

- Phase 1: ครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่าง และภาคตะวันออก
- Phase 2: ครอบคลุมพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสานตอนบน และภาคตะวันตก
- Phase 3: ครอบคลุมพื้นที่ภาคใต้ทั้งหมด

...
...
...


รายละเอียดของ RTADS มีดังนี้

ระบบ RTADS ประกอบด้วย

1. ศูนย์ยุทธการทางอากาศ (AOC) หรือ ศยอ. 1 ศูนย์ ตั้งอยู่ที่กรมควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ กองบัญชาการยุทธทางอากาศ (คปอ.บยอ.) ดอนเมือง กรุงเทพฯ

2. RTADS เฟสที่ 1

2.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ (SOC) 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.กรุงเทพฯ (ดอนเมือง)

2.2 สถานีรายงาน (RP) 4 สถานี คือ สร.เขาเขียว (นครนายก), สร.บ้านเพ (ระยอง), สร.เขาพนมรุ้ง (บุรีรัมย์) และ สร.อุบลฯ

2.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล (data-link) แบบ TADIL-A (Tactical Digital Information Link-A) หรือ Link-11A ตั้งอยู่ที่ ศคปอ.กรุงเทพฯ

3. RTADS เฟสที่ 2

3.1 ศูนย์ควบคุมและรายงาน (CRC) 1 ศูนย์ คือ ศคร.ดอยอินทนนท์ (เชียงใหม่)

3.2 สถานีรายงาน 5 สถานี คือ สร.เขาใหญ่ (กาญจนบุรี), สร.พิษณุโลก, สร.ภูหมันขาว (เลย), สร.อุดรฯ และ สร.ภูเขียว (สกลนคร)

4. RTADS เฟสที่ 3

4.1 ศูนย์ควบคุมการปฏิบัติการทางอากาศ 1 ศูนย์ คือ ศคปอ.สุราษฎร์ธานี

4.2 สถานีรายงาน 3 สถานี คือ สร.สมุย (สุราษฎร์ธานี), สร.ภูเก็ต และ สร.หาดใหญ่ (เขาวังชิง สงขลา)

4.3 สถานีภาคพื้นของระบบเชื่อมโยงข้อมูล แบบ TADIL-A ตั้งอยู่ที่ สร.สมุย และ สร.ภูเก็ต

(ข้อมูล ขอขอบคุณคุณ rinsc_seaver ครับ .... รูปนี้ เป็นการคาดคะเนระยะตรวจจับของเรด้าร์คร่าว ๆ ไม่แนะนำให้เอาไปอ้างอิงครับ)



 




แล้วสองอย่างนี้มันเกี่ยวกันยังไง?

...
...
...

เกี่ยวสิครับ เพราะมันคุยกันด้วย Datalink





ความคิดเห็นที่ 1


Gripen และ ERIEYE กับ Datalink


Gripen มีระบบ CDL39 (Communication and Data Link 39) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการสื่อสารทั้งหมดของ Gripen โดยจะส่งข้อมูลผ่าน TIDLS (Tactical Information Datalink System) ซึ่งจะจ่ายข้อมูลให้กับหมู่บินของ Gripen อื่น ๆ ทำให้เครื่องบินแต่ละลำ สามารถทราบสถานะ รวมไปถึงการชี้เป้าหมาย ให้เครื่องบินในหมู่บิน จำนวน 4 ลำ ซึ่งจะสร้างโครงข่ายของเครื่องบินในหมู่บิน หมายความว่า เครื่องบินเพียงเครื่องเดียว ทำการเปิดเรด้าร์จับเป้าหมาย แต่อีก 3 เครื่องสามารถปิดระบบเรด้าร์ได้ โดยจะเป็นกลยุทธในการพรางทางอิเล็กทรอนิค (Electronically Stealth) หมายความว่า เครื่องบินจะไม่ปล่อยสัญญาณเรด้าร์ หรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกมา ซึ่งก็เป็นผลให้ระบบ RWR (Radar Warning Reciever) ของเครื่องบินข้าศึก ไม่สามารถตรวบพบได้ (แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า เรด้าร์ของข้าศึก จะจับไม่ได้นะครับ อันนั้นเป็นอีกประเด็นที่ต้องคุยกัน ซึ่งเกียวกับภาคตัดขวางเรด้าร์ และประสิทธิภาพของเรด้าร์แต่ละตัว)

เมื่อเข้าสู่ระยะยิงเกือบไกลสุด ของอาวุธปล่อยนำวิถีระยะไกล ทั้ง 4 เครื่อง ก็สามารถเปิดเรด้าร์พร้อมกัน และยิงอาวุธปล่อยเข้าหาเป้าหมาย จากนั้น ก็อาจจะทำการเลี้ยวกลับ เพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเครื่องบินข้าศึก เป็นการลดความเสี่ยงในการถูกโจมตี

ในการฝึก Spring Flag 2007 ของกองกำลัง NATO ณ ฐานทัพอากาศ Decimomannu air base ประเทศอิตาลี ระหว่างวันที่ 7 - 25 พฤษภาคม 2550 ...... JAS-39 Gripen จำนวน 4 ลำ ของกองทัพอากาศฮังการี เข้าร่วมการฝึกกับ Typhoon, Tornado, AV-8B, F-16C, และ E-3 ของอิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส ตุรกี และกองกำลังนาโต้ โดยมีเครื่องบินเติมน้ำมันกลางอากาศจากอิตาลี สหราชอาณาจักร และสหรัฐเข้าร่วม

Gripen ของกองทัพอากาศฮังการี ประกอบไปด้วย JAS-39C ที่นั่งเดี่ยวจำนวน 2 ลำ และ JAS-39D สองที่นั่ง จำนวน 2 ลำ

รายงานหลังการฝึก ระบุว่า Gripen ของกองทัพอากาศฮังการี สามารถยิงเครื่องบินข้าศึก ซึ่งเป็น Typhoon และ F-16C ตกทั้งหมด 8 - 10 ครั้ง ซึ่งส่วนหนึ่ง เป็นผลมาจากการใช้ประโยชน์จากระบบ Datalink ครับ

ในสถานการณ์สงคราม มีความเป็นไปได้สูงที่เครื่องบินของฝ่ายเราอาจจะถูกรบกวนการปฏิบัติการ ด้วยระบบสงครามอิเล็กทรอนิคของข้าศึก ทั้งการก่อกวนสัญญาณ (Jamming) และมาตราการต่อต้านสงครามอิเล็กทรอนิคส์ (Electronic Counter Measure: ECM) ....... Gripen ของกองทัพอากาศฮังการี ใช้ระบบ Datalink ในการหลบเลี่ยง หรือลดโอกาสที่ระบบเรด้าร์ของฝ่ายตน จะถูกก่อกวนด้วยระบบสงครามอิเล็กทรอนิคของข้าศึก ..... ซึ่งแม้ว่าข้าศึกจะมีระบบก่อกวนสัญญาณต่อเครื่องบินฝ่ายเรา แต่ก็มีความเป็นไปได้ ที่เครื่องบินลำอื่นในหมู่บิน จะไม่ถูกก่อกวน หรือถูกก่อกวนในระดับที่ต่างกัน ......... กองทัพอากาศฮังการีใช้ระบบ Datalink แลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งขาดหายไปจากการถูกก่อกวนระหว่างกัน โดยลำใดที่มีข้อมูลที่เครื่องบินลำอื่นไม่มี ลำนั้นก็จะส่งข้อมูลไปให้ ซึ่งทำให้เครื่องบินในหมู่บิน มีข้อมูลครบถ้วนตลอดเวลา การก่อกวนสัญญาณของข้าศึก จึงลดประสิทธิภาพลง

ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่า Gripen จะเป็นอมตะ ไม่ถูกยิงตกนะครับ เพราะ เครื่องบินลำอื่น ก็สามารถยิง Gripen ตกได้เช่นกัน ....... ทั้งนี้ ไม่ได้ยิงตกกันจริง ๆ ครับ เป็นเพียงการฝึกครับ ทุกคนปลอดภัย

มี RTADS แล้ว ทำไมต้องมี ERIEYE


ในแผนการปรับลดกำลังรบของกองทัพอากาศ หลังภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 มีการระบุถึงการปิดจุดอ่อนของ RTADS ด้วยเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน (AEW&C) เนื่องจากว่า แม้ระบบ RTADS จะเป็นระบบที่สามารถตรวจจับได้ครอบคลุมทั้งประเทศ แต่เนื่องจากภูมิประเทศในบางพื้นที่ อาจจะมีภูเขาหรือสิ่งกีดขวางตามธรรมชาติบางอย่าง ที่อาจจะบังการตรวจจับของเรด้าร์ ทำให้เกิดจุดบอดตามที่ต่าง ๆ บางจุด ที่ระบบเรด้าร์เข้าไปไม่ถึง การปิดจุดบอดเหล่านั้น อาจจะทำได้โดย การตั้งสถานีเรด้าร์เพิ่มในจุดบอดทุกจุด หรือการจัดหาเครื่องบิน AEW&C ครับ ......... แต่การใช้เครื่องบิน AEW&C มีความได้เปรียบกว่าตรงที่ เราไม่ต้องตั้งสถานีเรด้าร์เพิ่มจำนวนมาก และมีความคล่องตัวสูง เนื่องจากเครื่องบิน AEW&C สามารถเดินทางไปได้ทั่วประเทศตามภารกิจ และการส่งคลื่นเรด้าร์ลงมาจากฟ้า ก็จะมีประสิทธิภาพมากกว่าการส่งจากพื้นดินในแง่ของการปิดจุดบอด ที่เรด้าร์ภาคพื้นดินไปไม่ถึง แต่ว่าเรด้าร์ของเครื่องบิน AEW&C ก็มักจะมีระยะตรวจจับที่น้อยกว่าเรด้าร์ภาคพื้นดิน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบิน มากกว่าระบบเรด้าร์ภาคพื้น ฉะนั้น การใช้ทั้งสองระบบควบคู่กันไปตามแต่สถานการณ์ จะมีประสิทธิภาพมากกว่าครับ

แผนของทอ.

http://www.rtaf.mi.th/news/a00/rtafnextstep/rtafnextstep.html

การสื่อสารระหว่าง Gripen กับ F-16



Gripen มีระบบ CDL39 (Communication and Data Link 39) ซึ่งเป็นระบบที่ควบคุมการสื่อสารทั้งหมดของ Gripen โดยจะส่งข้อมูลผ่าน TIDLS (Tactical Information Datalink System) ซึ่งจะจ่ายข้อมูลให้กับหมู่บินของ Gripen อื่น ๆ

F-16 สามารถติดตั้งระบบ JTIDS (Joint Tactical Information Distribution System) ได้ ซึ่งจะทำหน้าที่ส่งข้อมูลให้กับเครือข่ายของ บ. ได้ โดยอาจจะติดตั้งระบบ Link16 ซึ่งเป็นระบบ Datalink ให้กับตัว บ. ได้ และมันก็จะสื่อสารกันได้ด้วยตัวของมันเอง

และสองระบบนี้ จะคุยกันโดยใช้ TIDLS และ JTIDS ซึ่งเป็นระบบมาตราฐานนาโต้
ฉะนั้น ประเด็นตอนนี้ ไม่ได้อยู่ที่ว่า Gripen ได้อะไรมาครับ เพราะ CDL39 กับ TIDLS มีอยู่แล้วใน Gripen แต่ขึ้นอยู่กับว่า การทำ MLU ของ F-16 จะมีระบบอะไรติดมาด้วยครับ

ซึ่งอาจจะอีกสักพักใหญ่ ๆ (ใหญ่จริง ๆ ) กว่าเราจะทราบสถานภาพของโครงการ MLU ที่จะทำกับ F-16 ครับ เนื่องจากเงินยังไม่ค่อยมี

ทั้งนี้ การทำ MLU (Mid-Life Upgrade) เป็นการปรับปรุง F-16 ให้มีความทันสมัยขึ้น และยืดอายุการใช้งานเครื่องบินออกไปครับ




หวังว่าทุก ๆ ท่านคงจะได้รับความรู้เกี่ยวกับ Datalink ไปไม่มากก็น้อย สำหรับวันนี้ จลบเพียงเท่านี้ สวัสดีครับ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=27-01-2008&group=1&gblog=70

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 01/02/2008 23:57:21


ความคิดเห็นที่ 2


ผมเห็นมีบางประเด็นน่าสนใจ แต่อาจจะเกี่ยวกับความคิดเห็นของคุณ x ....... ซึ่งผมขอวิงวินว่า เพื่อนี้กระทู้นี้มีคุณค่า อย่าด่ากันเลยนะคร๊าบบบบบบ


datalink ในมาตรฐานนาโต้มันมีมานานแล้ว พวก MIL STD ทั้งหลาย เครื่องมะกันก็มีติดตั้ง แต่เห็นเป็นเรื่องเล็กน้อยเลยไม่เอามาเป็นจุดขาย ขณะที่เครื่องบินสวีเดนเนื่องจากมีขนาดเล็กเบา ขาดทั้งขีดความสามารถในการบรรทุกและเข้าปะทะโดยตรง จึงขุดของเล็กน้อยขึ้นมาเป็นจุดขาย ซึ่งเว็บเรื่องอาวุธของฝรั่งก็ไม่ได้ให้เครดิต นอกจากเรื่องประหยัดน้ำมันและค่าซ่อมบำรุง(เหมือนรถซิตี้คาร์ขนาดเล็กอะไรพวกนั้น) เนื่องจากการปิดกั้นการโดนตรวจจับทางอิเลคทรอนิคจริงๆ นั่นหมายถึงการที่เราไม่ส่งคลื่นวิทยุหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆออกไปจากจุดของเรา(คือตัวเครื่องบิน) ดังนั้นการโจมตีแบบสเตลท์จริงๆของมะกัน เลยไม่มีแม้แต่การพูดคุยทางวิทยุสื่อสาร หรือแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าใดๆออกจากเครื่องบิน ดังนั้นการใช้ดาตาลิ้งค์เพื่อให้สถานีเรด้าห์อื่นรีเลย์ข้อมูลมาให้โดยการปิดเรด้าห์ของเรา ก็หนีไม่พ้นการแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าออกจากตัวเครื่องบินอยู่ดี เหตุผลด้านนี้จึงเหมือนเป็นการคุยจุด(ที่ยกขึ้นมา)ขายอยู่คนเดียวของสวีเดนที่ไม่มีบ.ผลิตอาวุธชาติไหนช่วยยืนยันหรือสนับสนุน

จากคุณ : x - [ 28 ม.ค. 51 00:41:56 A:210.246.64.80 X: TicketID:052378 ]

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 31/01/2008 04:51:44


ความคิดเห็นที่ 3


ความคิดเห็นที่ 27  

ผมสงสัยว่า ปิดเรดาร์ ข้าศึกจับเรดาร์ไม่ได้ ก็หันไปจับสัญญาณ datalink ที่ทุกลำและทุกสถานีต้องส่งออกมาคุยกันไม่ได้หรือครับ มันก็เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหมือนกัน อย่างที่ คห21 ว่าไว้

จากคุณ : เถื่อนตามดวง  - [ 28 ม.ค. 51 09:40:13 ]


ความคิดเห็นที่ 28  

ถ้าF-16 เรา MLU เมื่อไหร่ ฝากรบกวนผลักดันให้เราได้ของดีๆมาติดด้วยแล้วกันครับ ^ ^

#27 ขอเดาว่า เปิดระบบเป็น Passive อย่างเดียวได้ป่ะ ?
รับข้อมูลอย่างจากภาคพื้น, เครื่องลำอื่น เช่น อิรี่อายในแนวที่ลึกกว่าอย่างเดียว
IFF ฯลฯ อะไรก็ปิดไว้
แก้ไขเมื่อ 28 ม.ค. 51 10:27:23

จากคุณ : ด้วยคนจิ   - [ 28 ม.ค. 51 10:24:15 ]


ความคิดเห็นที่ 31  

มาแล้วค๊าบ


ทำอย่างคุณด้วยคนจิ #28 ว่าก็ได้ครับ ....... ให้ Gripen ลำที่เปิดเรด้าร์ ส่งข้อมูลอย่างเดียว อีก 3 ลำก็ซุ่ม ๆ รับข้อมูลอย่างเดียว แค่นี้ก็ไม่มีใครรู้แล้วครับว่าความจริงมีกันตั้ง 4 ลำ

อีกอย่าง สัญญาณของ Datalink มันน่าจะเป็นคนละความถี่กับเรด้าร์ครับ เพราะระบบ RWR (Radar Warning Reciever) ซึ่งเป็นเซนเซอร์ภาครับ (Passive) ที่ใช้ตรวจจับในกรณีนี้ ก็จะตรวจจับเฉพาะสัญญาณเรด้าร์ที่ปล่อยออกมาครับ ถ้าสัญญาณไหน ไม่มีเคลื่อนความถี่ที่เรด้าร์ใช้ มันก็ไม่จับครับ

ไม่งั้น ก็รับได้ทั้งวิทยุ รับทีวี ไปจนถึงรับข่าวจากสถานีอวกาศล่ะครับ 

จากคุณ : Skyman (Analayo)   - [ 28 ม.ค. 51 12:33:55 ]

 

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 31/01/2008 04:53:21


ความคิดเห็นที่ 4


 ความคิดเห็นที่ 33 

ผิดครับ ในขั้นตอนการสื่อสารข้อมูล จะต้องมีทั้งการรับและส่ง อย่างน้อยก็ต้องขึ้นต้นด้วยสัญญาณแฮนด์เชค รวมทั้งการซิ้งค์ระบบฐานเวลา ไม่งั้นก็มั่ว
ไม่ได้เกี่ยวข้องกับความเป็นเรด้าห์รึไม่ เพราะคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ส่งออกมาจากซอร์สที่ผิดไปจากสภาพแวดล้อม ล้วนเป็นต้นกำเนิดของสัญญาณที่ถูกตรวจพบได้ง่ายๆ โดยเฉพาะภาครับแบบไวด์แบนด์ ยกตัวอย่างเช่นเครื่องมือตรวจจับสัญญาณใดๆที่ผิดปกติของโครงการ SETI นาซ่า ก็ตรวจรับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในข่ายที่จะสื่อสารได้แทบทุกความถี่ นาซ่าคิดมาได้เป็นสิบปี จนไม่ใช้เลยยกให้โครงการไม่แสวงหากำไรของเอกชนไปเล่นต่อ ดังนั้นการปิดภาคการส่งเรด้าห์แต่ดันแอบอ้างการส่งสัญญาณสื่อสารออกไปแทน ก็แทบไม่มีประโยชน์อันใด นี่จึงเป็นเหตุให้ระบบการโจมตีสเตลท์ของอเมริกันจริงๆ จะไม่มีการส่งสัญญาณหรือแพร่คลื่นแม่เหล็กออกไปแม้แต่การคุยกับเครื่องอีกลำ เราจึงมักจะเห็นการโจมตีสเตลท์แบบบินเดี่ยว ดังนั้นไม่ว่าคุณจะแพร่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ผิดธรรมชาติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะไปใช้ความถี่ใดจึงมีโอกาสจะโดนตรวจจับแทนที่จะบินเปล่าๆ ส่วนการเข้ารหัสข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ข้าศึกตรวจจับสัญญาณเราได้เต็มๆ แต่ไม่รู้ว่าเป็นการส่งสัญญาณติดต่อเรื่องอะไรแค่นั้น แต่ถ้าให้ข้าศึกบอกว่าต้นกำเนิดสัญญาณอยู่ที่ไหน ระบบตรวจจับมันบอกได้แน่นอน เนื่องจากมีต้นกำเนิดสัญญาณ

จากคุณ : x - [ 28 ม.ค. 51 20:46:55 A:210.246.64.75 X: TicketID:052378 ]


ความคิดเห็นที่ 34  

สัญญาณแต่ละ Band มันก็ตรวจจับใน Band นั้นเท่านั้นครับ เพราะมิเช่นนั้น ระบบ Electronic Warfare ต่าง ๆ ต้องทำการรบกวนทุกคลื่น ตั้งแต่ช่วงคลื่นยาวไปจนถึงสั้น แต่ระบบเหล่านี้เขาจะทำงานกับ Band เฉพาะไป ระบบเรด้าร์ ก็มี Band ของเขา จะ G Band, I Band ก็แล้วแต่ครับ ไม่มีใครทำระบบ RWR ที่จับได้แบบครอบจักรวาลแบบนั้นแน่นอนครับ

คนละประเด็นกับของ SETI ครับ

จากคุณ : Skyman (Analayo)   - [ 28 ม.ค. 51 21:36:56 ]


#33 การส่งสัญญาณแบบ unidirectional มีเยาะแยะไป
clock ก็แกะจากสัญญาณที่รับมาก็ lockได้แล้ว
หรือจะส่งแบบ async ก็ไม่ต้องมี clock
อีกอย่างถึงมันจะมีการคุยกัน แต่ระหว่างเครื่องในหมู่บินด้วยกันไม่ส่งแรงขนาดให้เครื่องที่อยู่ห่างไป 100 กิโลรับสัญญาณได้หรอกเปลืองพลังงานปล่าวๆ

จากคุณ : ลาบราดอร์สีดำ  - [ 28 ม.ค. 51 22:53:34 ]

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 31/01/2008 04:54:13


ความคิดเห็นที่ 5


 ความคิดเห็นที่ 36  

แต่ก็ขอสงสัยนิดนึงครับคุณโย แล้วทำไมเครื่อง F 117 ที่ตกในโคโซโวจำได้ว่าเกิดจากนักบินลืมปิด IFF เลยโดนแซมตรวจจับได้  เลยโดนยิงซะ IFF ก็น่าจะคนละแบนด์กับเรดาห์น่าจะเหมือนคลื่นวิทยุมากกว่า แล้วไอ้สัญญาณดาตาร์ลิ้งค์นี่ก็อาจจะน่าโดนตรวจจับได้เหมือนกันนะ

จากคุณ : nengpat (nengpat)  - [ 29 ม.ค. 51 00:02:52 ]


ความคิดเห็นที่ 37 

ถูกแล้วครับ ในทางอิเลคทรอนิค ไม่จำกัดว่าคลื่นวิทยุต้องมาจากแบนด์ของเรด้าห์ RWR ที่ว่ามันใช้ประโยชน์กรณีสำคัญ คือสัญญาณส่งมาที่คุณเป็นลักษณะ threat ทั้งการโดนดีเทคหรือล๊อคออน ไม่ได้เกี่ยวกับการตรวจจับคลื่นวิทยุแปลกปลอมในแบนด์อื่นๆแต่ประการใด ดังนั้นเป็นที่รู้ๆกันในกลุ่มผู้ผลิตอาวุธชั้นนำทั้งหลายว่า เทคนิคโชว์จุดเด่นที่ว่า ความจริงมันไม่เวอร์คตั้งแต่ต้น

จากคุณ : x - [ 29 ม.ค. 51 00:53:45 A:210.246.64.75 X: TicketID:052378 ]


 ความคิดเห็นที่ 38  

ขอแย้งคุณX(1)
MIL-STD --------------> ไม่ใช่ระบบดาต้าลิงค์ เป็นมาตรฐานระบบจัดการระบบทั้งหมดของทางทหารซึ่งครอบคลุมถึง ดาต้าลิงค์ในบ. แต่มันไม่ใช่ดาต้าลิงค์

MIL-STD-105, Sampling Procedures and Tables for Inspection by Attributes
MIL-STD-188, a series related to telecommunications
MIL-STD-202, quality standards for electronic parts.
MIL-STD-498, on software development and documentation
MIL-STD 461, Requirements for the control of electromagnetic interference characteristics of subsystems and equipment
MIL-STD-810, test methods for determining the environmental effects on equipment
MIL-STD-882, standard practice for system safety
MIL-STD-883, test method standard for microcircuits [3]
MIL-STD-1234, sampling, inspection, and testing of pyrotechnics
MIL-STD-1246C, particle and molecular contamination levels for space hardware (has been replaced with IEST-STD-1246).
MIL-STD-1474, a sound measurement for small arms standard
MIL-STD-1553, a digital communications bus
MIL-STD-1589, JOVIAL programming language
MIL-STD-1750A, an instruction set architecture (ISA) for airborne computers
MIL-STD-1760, smart-weapons interface
MIL-STD-1815, Ada programming language
MIL-STD-1913, Picatinny rail, a mounting bracket on firearms
MIL-STD-2196, pertains to optical fiber communications
จะสังเกตได้ว่า ไม่ได้ระบุถึงความเป็นดาต้าลิงค์โดยตรงครับ

ส่วนRWR นั้น
มีหน้าที่ในการตรวจจับการแพร่คลื่นเรดาร์ครับ แม้ว่าเรดาร์นั้นจะไม่ได้ล็อดคที่ตัวบ. โดยตรงครับ 
RWR มีหลักการตรวจจับ โดยการตรวจสอบSidelobes ของคลื่นเรดาร์ ซึ่งเป็นสัญญาณส่วนเกินของเรดาร์ และยังสามารถตรวจพบได้ง่าย เนื่องจากแพร่กระจายไปได้ไกล ตัวอวป.ต่อต้านเรดาร์ก็ใช้Sidelobes ของเรดาร์ในการนำวิถีครับ
หาอ่านเรื่องSidelobes ของเรดาร์ได้ จากGoogle ครับ
ส่วนRWR
ตย.จากเว็บไซต์ผู้ผลิตครับ
http://www.raytheon.com/products/alr67/

หรือเว็บดังอย่าง
http://en.wikipedia.org/wiki/Radar_warning_receiver

ส่วนคลื่นวิทยุสื่อสารนั้น การintercept ทำได้ไม่ยากเช่นกันครับ
Edit
ยาสใช้ MIL-STD 1553 B ครับ
แก้ไขเมื่อ 29 ม.ค. 51 03:00:23

จากคุณ : icy_CMU   - [ 29 ม.ค. 51 02:38:35 ]

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 31/01/2008 04:55:09


ความคิดเห็นที่ 6


 ความคิดเห็นที่ 39  

ส่วนเรื่องDATALINK นั้น สัญญาณที่แพร่ออกไปในอากาศ เป็นคลื่นที่อ่อนมาก เมื่อเทียบกับเรดาร์  เพราะฉะนั้น การintercept  หาSource นั้น ยากครับ และอีกอย่าง ไม่จำเป็นจะต้องทำให้คลื่นดาต้าลิงค์แรง เนื่องจาก กรณีการใช้DATALINK นั้น เครื่องบินไม่ได้บินอยู่ห่างกัน เป็น 100 กม.ครับ 
หรือ การใช้AEW&C อย่างอีรี่อายส์ในการ ส่งข้อมูลดาต้าลิงค์  ถึงแม้intercept ที่มาของสัญญาณได้ แล้วคุณจะจัดการอย่างไร ในเมื่อ เค้าเห็นคุณตั้งแต่ยังไม่บินขึ้นด้วยซ้ำ  ?

ตอบแบบสาระบ้าง
แต่ก็ขอสงสัยนิดนึงครับคุณโย แล้วทำไมเครื่อง F 117 ที่ตกในโคโซโวจำได้ว่าเกิดจากนักบินลืมปิด IFF เลยโดนแซมตรวจจับได้  เลยโดนยิงซะ IFF ก็น่าจะคนละแบนด์กับเรดาห์น่าจะเหมือนคลื่นวิทยุมากกว่า แล้วไอ้สัญญาณดาตาร์ลิ้งค์นี่ก็อาจจะน่าโดนตรวจจับได้เหมือนกันนะ

จากคุณ : nengpat (nengpat)  - [ 29 ม.ค. 51 00:02:52 ] 
 
 IFF เป็นระบบที่ใช้คลื่นวิทยุที่เข้ารหัสโต้ตอบกันครับ  เป็นคลื่นวิทยุ ที่จะส่งออกมาเมื่อเรดาร์ของฝ่ายเดียวกันตรวจพบบ. แล้วก็จะส่งสัญญาณที่เป็นรหัสเฉพาะ ซึ่งระบุตัวว่าเป็นฝ่ายเดียวกัน
ในกรณีF-117 ในโคโซโว มีหลายข่าวครับ
ทั้ง นักบินลืมปิดระบบIFF เมื่อเรดาร์นั้นกวาดไปที่บ.เข้า ระบบอัตโนมัติในบ.จึงทำการส่งสัญญาณระบุฝ่ายออกไป ทำให้ตรวจจับได้ และโดนSA-3 (ส่วนทางการสหรัฐบอกว่าSA-6)   
หรืออีกกรณีคือ พวกเซิร์บ มีเรดาร์แบบความยาวคลื่นยาว ซึ่งมีคุณสมบัติในการตรวจจับ บ.แบบล่องหน ยุคแรกๆได้ดี   พอมาร์คตำแหน่งคร่าวๆได้ พวกเซิร์บก็ซัดSAMไปแบบไม่ยั้ง ซึ่งฟิวส์แบบเฉียดระเบิดของแซมบางลูกได้ทำงาน ทำให้บ.ตก

แนะนำให้หา ในGoogle Keywords : F-117 Crash  หรือ F-117 Serbia ครับ

จากคุณ : icy_CMU   - [ 29 ม.ค. 51 02:56:43 ]


 ความคิดเห็นที่ 40  

อ่า ท่าน skyman ครับ สห.ทอ. จะมาเคาะบ้านกระผมไหมครับเนี่ย (ล้อเล่นนะครับ)

สัญญาณ datalink จริงๆ ไม่ว่าระบบใดๆ สามารถตรวจพบได้ด้วยระบบตรวจจับแบบ passive (ระบบ RWR บน บ.ขับไล่ที่มี band ในการทำงานแคบไม่น่าจะตรวจพบได้ แต่ถ้าเป็นระบบ ESM หรือ SIGINT แบบ wideband ที่ออกแบบมาเพื่อการหาข่าวกรองทางสัญญาณ เช่น ระบบที่ Serb อ้างว่าตรวจพบสัญญาณ IFF ของ F-117 เป็นต้น จะสามารถตรวจพบได้แน่นอน) สังเกตได้จากสัญญาณที่ส่งถึงกันภายในระบบ datalink นอกจากจะต้องเข้ารหัสแล้ว ยังต้องมีมาตรการป้องกันการถูก jam ด้วย เช่น การใช้วิธี frequency hopping ในระบบ link-16 JTIDS การหาตำแหน่งของแหล่งที่มาของสัญญาณก็ทำได้ไม่ยากด้วยเทคนิค triangulation โดยตำแหน่งจะแม่นยำแค่ไหนก็ขึ้นกับ sensitivity หรือความไวของระบบตรวจจับเป็นสำคัญ

ทีนี้มันขึ้นกับ tactic อย่างเดียวครับ ว่าจะใช้งานระบบ datalink อย่างไรถึงจะได้ผลและไม่เป็นการเปิดเผยตัวเองมากเกินไปครับ

จากคุณ : Warfighter  - [ 29 ม.ค. 51 16:18:20 ]


 ความคิดเห็นที่ 41  

โดยทั่วไป บ.ขับไล่ มักจะใช้งาน datalink ในแบบ passive คือ รับ (recieve) ข้อมูลอย่างเดียว เช่น ในการบินสกัดกั้นจะรับข้อมูลจาก บ.AWACS เป็นต้น ไม่จำเป็นต้องมีการส่ง (transmit) ข้อมูลใดๆ ถ้าต้องการส่งข้อมูลก็จะทำกันในหมู่บิน ซึ่งอยู่กันใกล้ๆ โอกาสที่จะตรวจจับสัญญาณได้จึงน่าจะยาก ถึงแม้ตรวจพบได้แต่การระบุตำแหน่งก็ยิ่งยากกว่า สำหรับกรณีที่ บ.ขับไล่ต้องการทำ timing synchronization ระหว่าง terminal หรือส่งข้อมูล เช่น BDA/recon data กลับไปยังสถานีภาคพื้น ก็คงไม่ทำในพื้นที่ที่มีฝ่ายตรงข้ามอยู่หรอกครับ สรุปแล้วขึ้นกับ tactic เหมือนเดิมครับ

อย่างไรก็ดีการมี datalink ก็ดีกว่าไม่มีครับ เพียงแต่ใช้ให้เหมาะสมเท่านั้น เพราะ digital datalink ถือว่าเป็นส่วนสำคัญใน network centric warfare ครับ

สำหรับการทำ MLU F-16A/B นั้น ที่น่าสนใจ คือ ทอ. จะมีการติดตั้ง Link-16 MIDS-LVT terminal หรือไม่ (terminal ตัวนึง พร้อม software ให้ใช้งานได้ ราคาประมาณ 2-3 ล้านบาท) ซึ่งเมื่อติดตั้งแล้ว F-16 MLU จะสามารถรับข้อมูลจากเรดาร์ Erieye ได้ โดย Erieye ส่งข้อมูลไปยังสถานีภาคพื้น จากนั้นส่งต่อไปยังระบบ RTADS และส่งเข้าสถานีภาคพื้นของระบบ Link-16 TADIL-J (ซึ่งต้องซื้อมาติดตั้งเพิ่มเติม) เพื่อถ่ายทอดต่อไปยัง F-16 MLU ที่บินอยู่อีกทอดหนึ่ง หรืออาจส่งข้อมูลโดยตรงเลยก็ได้เช่นกัน

จากคุณ : Warfighter  - [ 29 ม.ค. 51 16:46:49 ]


จบครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 31/01/2008 04:56:20


ความคิดเห็นที่ 7



ให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ในพันทิปยังไงยังงั้น
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
โดยคุณ Tasurahings เมื่อวันที่ 31/01/2008 06:38:58


ความคิดเห็นที่ 8


มาอีกแล้วความรู้ ชอบมากคร้าบ...

โดยคุณ ทอแสง เมื่อวันที่ 31/01/2008 08:23:06


ความคิดเห็นที่ 9


สงสารประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของทุกคนจริงๆครับ jas 39 / 12 ลำ ต้องปกป้องอธิปไตยของทั้งประเทศ  ซึ่งดูน้อยนิดมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ        ขอฝากถึงพวกที่จัดหาอาวุธของประเทศให้รู้จักการจัดซื้อที่มันดูดีกว่านี้ในคราวต่อไป  ความรู้สึกผม ที่ไทยยังรักษาอธิปไตยอยู่ได้เพราะเรามีมิตรประเทศไม่ว่า จีน usa และอื่นๆ   เป็นแบคอยู่ด้านหลังไม่งั้นก็หนาวๆกับประเทศพม่า(ยังปกครองด้วยทหาร) และ มาเลเซีย (แถวๆ3จังหวัดชายแดนภาคใต้)ที่คิดจะหุบดินแดนของไทย ทุกวันๆ แต่ยังไม่สำเร็จเท่านั้นเอง

โดยคุณ lichen007 เมื่อวันที่ 31/01/2008 12:10:35


ความคิดเห็นที่ 10


มาเขียนเล่นในนี้ดีกว่า ไปใน pantip แล้วจะโดนเกรียนกัดเอา

commnet ของผม ผมเห็นด้วยกับ ท่านลาบาดอร์ กับ ท่าน Warfighter  สัญญาณ Data Link ตรวจจับได้แน่นอนครับจากอุปกรณ์ ESM ซึ่งเหมือนเป็นอุปกรณ์เฝ้าตรวจความถี่ต่างๆ ที่ฟุ้งในอากาศ ประเด็นก็คือว่า ตรวจพบแล้วฟังแล้วรู้หรือเปล่าว่า เค้าส่งอะไรกันอยู่ ( คือต้องรู้ Pattern หรือ Protocal ของการสื่อสาร ยกตัวอย่างเล่นๆ ให้ ปริญญาเอกภาษาฝรั่งเศสไปแอบฟังสาวพม่ายี่ซิ ข้างห้องเข้าเล่นจ้ำจี้กันนั้นก็ทำได้ คือรู้ว่าเค้าพูดกันแต่ไม่รู้ว่าพูดอะไร ) อีกเรื่องหนึ่งคือทิศทางของต้นกำเนิดสัญญาณว่ามาจากไหน ESM ส่วนมากไม่จะจับทางไม่ทันครับ คือรู้ว่าเค้าส่งกันแต่ส่งมาจากไหนล่ะ อาจจะรู้คร่าวๆ แต่ไม่แม่นพอที่จะป้อนเป็นข้อมูลให้ระบบต่อต้านได้ ยกเว้นจะเปิดระบบเฝ้าตรวจอื่นๆ เช่น Radar

 

อย่างกรณี F-117 เหยี่ยวราตรีปีกหักมุดดินเพราะโดนบั้งไฟ Serb นั้นผมคิดว่าทาง Serb น่าจะ Detect IFF ได้จาก ESM แต่เวลายิง คงต้องล่อด้วยเรดาร์เหมือนเดิม

 

ส่วนเรื่องที่ X พูดมาว่าเครื่องบินไอ้กันมีหมด อันนี้เห็นด้วยครับ แต่มีแบบเป็น Option เสริม คือถ้าจ่ายตังค์มา แล้วคนขายพอใจจะขายมันก็ติดให้

ถ้ามีมากับตัวแล้วทำไม F-16 เราต้องรอ MLU ก่อนถึงจะมี Datalink ระดับ Network

ดังนั้นเครื่องบินจากสวีเดนเค้าติดมาให้หมดทั้ง อวทม ABS/Airbag เบาะหนัง พร้อมค่านายหน้าประชาสัมพันธ์สองหมื่นล้านแล้ว ผมก็ไม่แปลกใจเลยครับที่ กองทัพอากาศไทยจะเลือกเครื่องบิน JAS มาใช้งาน

 

 

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 31/01/2008 22:05:31


ความคิดเห็นที่ 11


  ป๋าปืน ครับ  ผมได้เข้าไปชมภายใน SOC มาแล้วนะครับ   ห้องเย็นดีครับ เหมาะแก่การพากิ๊กหลบมาแอบกุ๊กกิ๊ก  หรือ ตาไอร์ซี่จะพาคู่ขา(Y)มาแอบดูดดื่ม(ห้ามลืมอ่านตัวหลัง) กันก็ได้ครับ  แต่ที่แน่ๆ  งานนี้ห้ามตาดิ่งฯพาน้องหมวยเข้าเด็ดขาด เพราะจากการประเมินผลแล้ว ปัจจุบันคาดว่าเปอร์เซ็นต์ที่ตาดิ่งฯของเราจะแปรพักไปเข้ากับฝ่ายตรงข้ามและเป็นสายข่าวมีสูง จึงไม่อนุญาตให้เข้าโดยเด็ดขาด หุหุ.......แต่เพื่อน ทอ. ที่เรียนด้วยกันและบินอยู่ฝูงใกล้ๆแถวนั้นคอมเมนท์มาว่า หลังคา(มองจากบนอากาศ)มันพรางได้เนียนมากๆ สีเขียวสวยดี  แต่ลืมไปหรือเปล่าว่าไอ้ตึกแถวๆนั้นมันสีขาวหรือสีสดใสกันทั้งนั้น............และก็คิดกันเล่นๆอีกเรื่องครับว่า นับตั้งแต่ประเทศเรามีอากาศยานใช้งานในทางทหารมานั้น เราเคยรบจริงในภารกิจ Air-To-Air หรือ Air-To-Ground มากกว่ากัน และปัจจุบันและอนาคตเรามีโอกาสใช้งานจริงในภารกิจไหนมากกว่ากัน.....แล้วผมจะนำความคิดของผมมาเล่าให้ฟังกันเล่นๆครับ...
โดยคุณ FW190 เมื่อวันที่ 01/02/2008 01:14:42


ความคิดเห็นที่ 12


พร้อมค่านายหน้าประชาสัมพันธ์สองหมื่นล้านแล้ว

...
...
...

เหตุผลข้อนี้สำคัญที่สุดครับ เอิ๊ก ๆ ๆ ๆ

รวยจริงเรา เฮ้อ เครียด ไม่รู้จะเอาไปใช้อะไร


โดยคุณ analayo เมื่อวันที่ 01/02/2008 03:23:19


ความคิดเห็นที่ 13


จะบอกว่า 2 comments สุดท้ายนั้นของข้าพเจ้าเองครับ (พอดีตอนสมัคร pantip ดันใช้ชื่ออื่นซะงั้น) เดี๋ยวอ่านแล้วจะงงกันครับ

อ้อ ความแรงของสัญญาณ data-link นั้นประมาณ 10-100 Watts เท่านั้นครับ ถือว่าน้อยมาก เพียงแต่ลักษณะการส่งสัญญาณเป็นแบบไม่บังคับทิศทาง (ซึ่งต่างจากเรดาร์) ทำให้ตรวจพบได้ง่ายกว่าแต่ต้องในระยะที่ใกล้กว่าเมื่อเทียบกับสัญญาณเรดาร์

ตกลง ตาไอซี่นี่ Y จริงๆ เหรอ

โดยคุณ rinsc seaver เมื่อวันที่ 01/02/2008 01:57:38


ความคิดเห็นที่ 14


ง่ะ ผมไม่Y ค้าบบบบบบบบบบบ

ไม่ไหวๆ ตาข้างบนต่างหาก Y   Skyaranaika 555

 

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 01/02/2008 04:40:51


ความคิดเห็นที่ 15


คุณ skyman ครับในกรณีที่หมู่บิน Gripen จำนวน 4 ลำ โดยมีเพียงเครื่องเดียว ทำการเปิดเรด้าร์จับเป้าหมาย และอีก 3 เครื่องปิดระบบเรด้าร์โดยใช้Data Linkจ่ายข้อมูลนั้น 3 เครื่องที่ปิดระบบเรด้าร์ สามารถยิงอาวุธปล่อยเข้าหาเป้าหมายได้โดยไม่จำเป็นต้องเปิดเรด้าร์ เพราะเครื่องที่เปิดเรด้าร์จับเป้าหมาย Lock On และส่งข้อมูลเป้าหมายที่จำเป็นสำหรับอาวุธนำวิถีในการพุ่งเข้าหาเป้าหมายให้เครื่องที่ปิดระบบเรด้าร์ ทำให้เครื่องที่ปิดระบบเรด้าร์ไม่จำเป็นต้องเปิดเรด้าร์แต่ก็ปล่อยอาวุธนำวิถีได้  ( ขีดความสามารถนี้  Link 16 ก็สามารถทำได้เช่นกัน)

แต่ขีดความสามารถนี้  เป็นเพียงส่วนเล็กล่วนน้อยของขีดความสามารถของระบบCDL39 เท่านั้น

 

ส่วนในการฝึก Spring Flag 2007 คุณ skymanเขียนผิดอย่างไม่น่าให้อภัยเลย ลองอ่านบทความที่ลงในweb site Gripenอีกทีดีๆครับ

 

http://www.gripen.com/en/MediaRelations/SuccessStories/070918_hungary.htm

 

The Gripens flew as part of the hostile ‘Red Force’, largely conducting beyond visual range air battles with the ‘Blue Force’. Colonel Kilian recalls, “We flew 24 sorties over the two-week exercise, and we launched every day with our two planned Gripen Ds. We were the only participants to have a 100% operational record with the scheduled aircraft.”

“In
Hungary we just don’t have large numbers of aircraft to train with, but in Spring Flag we faced COMAO (combined air operations) packages of 20, 25 or 30 aircraft. The training value for us was to work with that many aircraft on our radar – and even with our limited experience we could see that the Gripen radar is fantastic. We would see the others at long ranges, we could discriminate all the individual aircraft even in tight formations and using extended modes. The jamming had almost no effect on us – and that surprised a lot of people.”

“Other aircraft couldn’t see us – not on radar, not visually – and we had no jammers of our own with us. We got one Fox 2 kill on a F-16 who turned in between our two jets but never saw the second guy and it was a perfect shot.”

“Our weapons and tactics were limited by Red Force rules, and in an exercise like this the Red Force is always supposed to die, but
even without our AMRAAMs and data links we got eight or 10 kills, including a Typhoon. Often we had no AWACS or radar support of any kind, just our regular onboard sensors – but flying like that, ‘free hunting’, we got three kills in one afternoon. It was a pretty good experience for our first time out.”

 

 

รายงานหลังการฝึกสามารถสรุปได้ว่า

 

Gripen ของกองทัพอากาศฮังการี สามารถยิงเครื่องบินข้าศึก ซึ่งเป็น Typhoon และ F-16C ตกทั้งหมด 8 - 10 ครั้ง โดยไม่ใช้ระบบ Datalink และ AMRAAM (ใช้แต่ปืนใหญ่อากาศ จำลองและ Sidewinder) และไม่ได้รับการสนับสนุนจาก AWACS หรือ เรด้าร์ภาคพื้นดินเลย 

 

ระบบเรด้าร์ของ Gripen สามารถจับตรวจเครื่องบินข้าศึกใด้อย่างละเอียดแม้แต่ระยะไกล และ ระบบ jamming ที่ใช้ในการฝึก Spring Flag 2007 แทบจะทำอะไรระบบเรด้าร์ของ Gripen ไม่ได้เลย

 

เครื่องบินรบแบบอื่นประสพปัญหาในการจับตรวจ Gripen ทั้งทางระบบเรด้าร์ (โดยไม่มีการใช้ระบบ jammers) และทางสายตา

 

อัตตราความพร้อมรบ ของ Gripen ในใช้ในการฝึก พร้อมรบ 100% ในขณะที่เครื่องบินรบแบบอื่นไม่สามารถทำได้

 

ผลสรุปบอกได้ว่า Gripen ไม่ได้มีดีแค่ Datalink   อย่างเดียว

 

คุณ skymanกรุณาเขียนข้อมูลให้มันถูกต้องหน่อยครับ

 

เข้าใจครับที่คุณskyman พยายามเขียนจุดแข็งของ Gripen  แต่หากเขียนผิด อาจทำให้ตนอ่านเข้าใจขีดความสามารถของ Gripenผิดก็ใด้ครับ

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 01/02/2008 08:31:31