เมื่อใกล้ถึงกำหนดรุกใหญ่ในเทศกาลเต็ตกองทัพเวียดนามเหนือ
ก็เริ่มเคลื่อนพลลงมาตามเส้นทางสายโฮจิมินห์
ในปี 1967 ทรานได้กำหนด ยุทธศาสตร์ที่พรมแดน( border strategy=บอร์เดอร์ สแททริจิก) เพื่อรับมือการปฏิบัติการของฝ่ายสหรัฐฯที่เริ่มรุกเข้ามาใกล้พรมแดนเวียดนามเหนือมากขึ้น โดยสหรัฐฯได้ส่งกองกำลังเข้าไปปฏิบัติการในพื้นที่ป่าซึ่งเป็นที่ตั้งของฐานทัพ และพื้นที่อิทธิพลของกองทัพเวียดนามเหนือในเวียดนามใต้ แต่ก่อนกองทัพเวียดนามใต้ไม่เคยมายุ่มย่ามบริเวณนี้เลย (สู้ไม่ได้) อเมริกาเองก็รู้ว่าตามป่าเขาเป็นที่มั่นของฝ่ายศัตรู จึงเริ่มลงมือออกกวาดล้างป่าแบบล้างบาง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งรวมพลไว้ทำการบุกใหญ่ในอนาคต แล้วก็ปล่อยให้ทหารเวียดนามใต้เฝ้าอยู่ตามเมืองหรือให้อยู่เบื้องหลังนั้นเอง เนื่องจากป่าเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญการรบจึงเป็นไปอย่างรุนแรง เพราะฝ่ายสหรัฐทุ่มทั้งกำลังพลและกำลังเงิน(พวกอาวุธยุทโธปกรณ์ ตั้งแต่กระสุนปืนเล็กไปจนถึงกระสุนปืนใหญ่,จรวด,ระเบิดนาปาล์มจากเครื่องบินแบบไม่อั้น คือให้ทหารใช้แบบยิงๆทิ้งๆมั่วๆใส่ป่าเขา โดนก็ช่างไม่โดนก็ช่าง Iรวยซะอย่าง เรียกว่าทำลายจนป่าราบไม่ต้องให้มันมีที่ซุ่มซะเลย) ทำให้ฝ่ายเวียดนามเหนือต้องสูญเสียกำลังพลไปจำนวนมาก จากความเหนือกว่าของฝ่ายสหรัฐฯในด้านยานยนต์,อำนาจการยิงจากปืนใหญ่และความครองเป็นจ้าวอากาศ เช่นการรบที่ ดาก โท (Dak To) ในปี 1967 และการโจมตีครั้งแรกต่อฐานทัพสหรัฐฯที่เค ซาน (Khe Sanh)
ภาพวาดแสดงการรบที่ เค ซาน
ผู้ควบคุมกองกำลังเวียดนามเหนือในฮานอย ซึ่งชาวเวียดนามใต้รู้จักกันดีคือ เล เดือน เขาได้ส่งกำลังพลชาวเวียดนามเหนือและยุทโธปกรณ์จำนวนมากเข้าร่วมในการรบ ทำให้บทบาทของชาวเวียดนามใต้(เวียดกง)ในสงครามได้ลดลงไป(สูญเสียไปเยอะ) กองกำลังเวียดกงที่เหลืออยู่ได้เข้าร่วมกับกองกำลังเวียดนามเหนือ ทำการสู้รบกับสหรัฐฯฯและเวียดนามใต้ไปจนสิ้นสุดสงคราม
การรุกใหญ่ในช่วงเทศกาลตรุษญวน (The Tet Offensive)
เต็ตคือความพ่ายแพ้ของเวียดกง (Tet as a VC defeat)
ทหารสหรัฐฯหมอบลงในหลุมแพลาะอย่างกลัวสุดขีด
เมื่อเวียดนามเหนือเริ่มทำการยิงปืนใหญ่และจรวด
ใส่ที่มั่นใน เค ซานอย่างหนักหน่วง
เมื่อใกล้จะสิ้นปี 1967 ทางฮานอยได้เตรียมการที่จะรุกจนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาดในเวลาอันรวดเร็ว ด้วยการริเริ่มแผนที่เรียกว่า ตรอง กง คิน(Tong Cong kich) และ ตรอง ไค ไน(Tong Khai Nghia) หรือที่เรียกว่า การจลาจลทั่วไป (General Uprising=เจเนรั่ล อัฟไรซิ่ง) ต่อชาวเวียดนามใต้จำนวนมาก ซึ่งในทางโลกตะวันตกรู้จักกันดีในชื่อว่า การรุกใหญ่ในเทศกาลตรุษญวน( Tet Offensive=เท็ท ออฟเพนซีฟ) ซึ่งแบ่งออกเป็นสามระยะดังนี้
(a) เป็นการโจมตีอย่างรุนแรงที่พรมแดน ต่อฝ่ายสหรัฐฯบริเวณรอบนอกของเวียดนามใต้ (เช่น ที่ เค ซาน )
(b) โจมตีภายในเมืองของเวียดนามใต้ด้วยเวียดกงที่แทรกซึมไว้ ทำให้มวลชนหันมาสนับสนุนคอมมิวนิสต์ และทหารเวียดนามใต้ละทิ้งหน้าที่ และเป็นการโฆษณาชวนเชื่อให้เห็นว่ารัฐบาลในไซง่อนถูกโค่นล้มลงแล้ว
(c) ทำการโจมตีอย่างกว้างขวางต่อที่มั่นของสหรัฐฯ,เวียดนามใต้ และพันธมิตรของเวียดนามใต้ หรือจักรวรรดินิยมอเมริกา เป็นการผลักดันให้ต้องถอยออกไปสู่ทะเล
ทหารเวียดนามใต้เข้าหลบตามที่กำบัง
เมื่อถูกเวียดกงซุ่มยิงจากตามตึกรามบ้านช่อง
เต็ตเป็นการเปลี่ยนแปลงยุทธวิธีหลักของวีซีไปอย่างมาก ในระยะแรกเมื่อสหรัฐฯมาถึงเวียดนาม พวกเขาใช้ยานยนต์จำนวนน้อยและการรบแบบกองโจร แต่ในช่วงเต็ตพวกเขาก็เข้าต่อตีข้าศึกตามแบบทหารธรรมดา ในระยะแรกๆของการบุกประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี เพราะฝ่ายเวียดนามใต้และสหรัฐฯยังไม่ทันตั้งตัว (โดนเล่นทีเผลอ) แต่พอเวียดนามใต้และสหรัฐฯรวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่นแล้ว การบุกของเวียดกงก็เริ่มถูกหยุดไว้และล้าลงไป และต้องกลายเป็นฝ่ายล่าถอยแทน และต้องประสบกับความสูญเสียอย่างหนักทั้งด้านกำลังพลและอาวุธ โดนเฉพาะการเข้าตีฐานที่มั่นที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯที่ เค ซาน ที่ฝ่ายเวียดนามเหนือ/เวียดกงต้องการจะให้เป็น เดียนเบียนฟูครั้งที่สอง
เครื่อง บี-52 ขณะทิ้งระเบิดเหนือลาว
แต่ผลก็คือต้องประสบความล้มเหลว ถึงแม้จะสามารถล้อมฝ่ายสหรัฐได้เป็นเวลาหลายเดือน แต่ฝ่ายสหรัฐก็ไม่ได้รับความอดอยากหรือขาดแคลนกระสุนแบบเดียนเบียนฟูของฝรั่งเศส เพราะได้รับการสนับสนุนจากทางอากาศอยู่ตลอดเวลา (ตอนแรกเครื่องบินลงจอดที่สนามบินในเค ซานส่งเสบียงและกระสุนให้ แต่พอสนามบินถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่และปืนค.ของเวียดนามเหนือจนรันเวย์เป็นหลุมเป็นบ่อพรุนไปหมดเหมือนโลกพระจันทร์ เครื่องบินจึงต้องเปลี่ยนวิธีบินลงต่ำใกล้พื้นสนามบิน โดยที่ล้อไม่แตะพื้น แล้วปล่อยสัมภาระติดร่มออกทางช่องท้ายเครื่อง แล้วก็บินขึ้นไปอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้โดนปตอ.สอยร่วง แล้วก็กลับไปรับเสบียงมาอีก วนไปอย่างนี้เรื่อยๆ) อเมริกายอมจ่ายให้กับชัยชนะครั้งนี้ด้วยราคาแสนแพง คือจ่ายค่าเสบียง,กระสุน,เชื้อเพลิงและลูกระเบิดของเครื่องบินลำเลียงและเครื่องบินรบจำนวนมาก ที่แห่กันมาส่งเสบียงให้เค ซาน และทิ้งระเบิดใส่ฝ่ายเวียดนามเหนือที่ล้อมรอบ เค ซานอยู่ ไล่ไปตั้งแต่เครื่องบินรบเอฟ-4 แฟนทอม ไปจนถึงเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดใหญ่ยักษ์ที่สุดในโลกแบบ บี-52
เครื่อง ซี-130 กำลังลุกไหม้บนสนามบินที่ เค ซาน หลังจากถูกยิงด้วยปืนครก
คราวนี้ไม่เหมือนคราวก่อนที่เดียนเบียนฟู เพราะปตอ.ของเวียดนามเหนือไม่สามารถสกัดเครื่องบินไอพ่นสหรัฐฯ ที่มีจำนวนมากกว่าฝรั่งเศสหลายเท่า ยังไม่นับรวมปืนใหญ่ของสหรัฐที่มีมากกว่าที่เดียนเบียนฟู ถึงปืนบางส่วนจะถูกทำลายไปมากที่ฐานใน เค ซาน แต่รอบนอก เค ซาน สหรัฐก็สามารถหามาตั้งยิงได้อย่างรวดเร็ว (ใช้ ฮ. ขนมา)แถมยังมีปืนใหญ่แบบอัตราจรที่วิ่งมาเองได้อีก อีกทั้งสหรัฐฯยังได้ส่งกองกำลังมาช่วย เค ซาน ที่ตกอยู่ในวงล้อมด้วย (แบบเดียวกับที่เยอรมันพยายามช่วยกองกำลังที่ถูกล้อมในสตาลินกราดเลย)
ส่วนนี่คือวิธีส่งเสบียงที่ปลอดภัยครับ
สุดท้ายแล้วฝ่ายคอมมิวนิสต์ก็ต้องล่าถอยไป และหน่วยช่วยเหลือก็เข้าไปถึงเค ซานได้ในที่สุด อเมริกาประกาศอย่างภาคภูมิใจว่าตนเป็นผู้ชนะในการศึกครั้งนี้ โดยที่สามารถทำลายฝ่ายข้าศึกได้อย่างย่อยยับ (ตัวเองก็ย่อยยับเหมือนกันนั้นแหละแต่ไม่อยากเอย) เวียดกงเองก็ตายไปจนแทบจะสูญสิ้นกองกำลังที่เคยมีไปเกือบหมด และไม่ค่อยมีบทบาทอะไรเลยไปจนสิ้นสุดสงคราม ส่วนกองทัพเวียดนามเหนือก็สูญเสียกำลังพลไปมากมายจนไม่สามารถทำการรุกใหญ่ได้อีก นับว่าเป็นชัยชนะของอเมริกา และความพ่ายแพ้ของเวียดนามเหนือ/วีซี ในทางทหารจริงๆ
ฐานที่มั่นเค ซาน กำลังถูกโจมตี
เต็ตคือยุทธศาสตร์ของวีซี ที่ได้รับชัยชนะในด้านจิตวิทยาและทางการเมือง (Tet as a strategic VC political and psychological victory)
ภาพอันโด่งดังวินาทีก่อนที่อธิบดีกรมตำรวจเวียดนามใต้จะลั่นไกสังหารเวียดกง
ผู้ฆ่าล้างครัวชาวเวียดนามใต้ นับว่าเป็นภาพที่ทำให้เกิดความต่อต้านสงคราม
ของชาวสหรัฐฯได้เป็นอย่างมาก
ภายหลังจากสงครามสิ้นสุดลง ได้มีเอกสารจำนวนหนึ่งของฝ่ายเวียดนาม ซึ่งกล่าวถึง จุดมุ่งหมายที่สอง ของการรุกใหญ่ในเทศกาลเต็ต รองจากการรบให้ได้ชัยชนะทางการทหาร เขียนโดยนายพลเวียดนามชื่อ ทราน ดุ๊ง (Tran Do) โดยในตอนหนึ่งของเอกสารได้กล่าวไว้ว่า
ในจุดประสงค์ทั้งหมดนั้น จุดประสงค์หลักของพวกเราก็คือการทำให้เกิดความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงที่สุดต่อฝ่ายสหรัฐฯ ที่ถือว่าเป็นยักษ์ใหญ่สุดในสงครามครั้งนี้ จนทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่ชนชาวอเมริกัน หากเป็นไปตามที่พวกเราหวังไว้ สหรัฐฯก็ต้องถอนตัวออกจากสงครามในที่สุด
การเลือกที่จะโจมตีหรือคุกคามสหรัฐฯนั้นไม่ใช่สิ่งสำคัญที่สุดในการรุกเต็ต แต่เป้าหมายที่แท้จริงคือการล้มล้างการปกครองของรัฐบาลสาธารณรัฐเวียดนาม และทำให้กองทัพเวียดนามใต้เกิดความชลมุนจากการก่อจลาจลทั่วไป
เวียดกงเสียชีวิตบนสนามหญ้าของสถานทูตสหรัฐในไซง่อน
ทำให้เกิดคำถามในใจชาวอเมริกันว่า ในเมื่อเวสมอร์แลนด์พูด
ว่าเราจะชนะสงคราม แต่ทำไมยังมีข้าศึกอยู่ในไซง่อนได้?
ในงานเขียนของ สตานลี่ คานาว(Stanley Karnow) ได้กล่าวว่าสหรัฐฯเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในการรุกเต็ต เพราะหลังจากเหตุการณ์นี้รัฐบาลสหรัฐก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอเมริกาในการทำสงครามเวียดนามอีก ทั้งที่เมื่อเวียดนามเหนือเริ่มทำการรุกเต็ต ชาวอเมริกันได้สนับสนุนรัฐบาลเต็มที่ในการต่อสู้ตอบโต้คอมมิวนิสต์ แต่หลังจากการรบในช่วงเต็ตสิ้นสุดลงรัฐบาลสหรัฐฯก็ไม่ได้รับการสนับสนุนในการทำสงครามจากชาวอเมริกันอีกเลย คานาวยังกล่าวนี้การรุกเต็ตได้ส่งผลให้การตัดสินใจในการทำสงครามของประธานาธิบดี จอนท์สันของสหรัฐฯต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอย่างมาก
ทหารเวียดนามเหนือกำลังสู้รบในเมืองอย่างดุเดือด
นอกจากนี้ยังมีงานเขียนอื่นๆ ของ นายพลเวสมอร์แลนด์(Westmoreland) และนักข่าวชื่อ ปีเตอร์ บราสทูน(Peter Braestrup) ซึ่งได้โต้เถียงกล่าวโทษว่ารายงานข่าวต่างๆของสำนักข่าวและสื่อต่างๆของสหรัฐฯ ทำให้เกิดลัทธิยอมแพ้และความสิ้นหวังขึ้นในหมู่ชาวอเมริกัน รวมทั้งยังบอกว่าทหารสหรัฐฯได้รับชัยชนะเหนือเวียดกง และยังพูดอีกว่าเต็ตเป็นเพียงแผนการของคอมมิวนิสต์ในด้านการเมืองและด้านจิตวิทยาเท่านั้น (จะบอกว่าถ้ารบกันจริงๆทางทหาร เวียดกงสู้ไม่ได้ว่างั้น)
ความชลมุนเมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าปะทะกับกลุ่มนักศึกษาในสหรัฐอเมริกา
อะไรคือวิธีที่สหรัฐฯจะนำมากวาดล้างคอมมิวนิสต์ในเวียดนาม? ก็ยังเป็นที่สงสัยกันอยู่ แต่หลังจากปี 1968 อเมริกาก็ได้เปลี่ยนท่าทีและนโยบายที่มีต่อเวียดนามเสียใหม่ โดยเฉพาะเมื่อนายริดชาร์ด นิกสัน ได้เป็นประธานาธิบดี เขาได้เปลี่ยนนโยบายที่ก้าวร้าวของสหรัฐฯไปเป็นนโยบายที่ต้องการสันติภาพ เขากล่าวว่าจะไม่มีการส่งทหารอเมริกันเข้าไปเพิ่มในเวียดนามอีก แต่จะเริ่มทำการถอนทหารออกจากเวียดนามแทน(ซึ่งโดนใจคนอเมริกันมาก) และยังเป็นการลดกระแสความรุนแรงการประท้วงต่อต้านสงครามของนักศึกษาและประชาชนในสหรัฐ (ที่ว่ารุนแรงนี้คือเจ้าหน้าที่รัฐเป็นฝ่ายกระทำต่อผู้ประท้วงเช่นยิง นักศึกษาตายหรือทุบตีจับกุมคุมขังผู้ประท้วง ที่ไม่ได้ใช้ความรุนแรงใดๆต่อตำรวจหรือทหารเลย แต่เป็นเพียงการชุมนุม,ประกาศ,เดินขบวนและแจกใบปลิว ให้ชาวสหรัฐไม่สนับสนุนการทำสงครามในเวียดนาม ซึ่งถือเป็นการต่อต้านรัฐบาลก็เลยโดนกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ซะ)
ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน ผู้พลิกบทบาท
ของอเมริกาที่มีต่อเวียดนาม
หลังจากเต็ตกลับมาใช้ยุทธวิธีกองโจรและสุดท้ายก็กลับมาใช้การรบตามแบบ (Post-Tet shift back to guerrilla tactics and final shift to conventional warfare)
โปรดติดตามชมต่อไปครับ