ผมสังเกตุ radar AN/SPY-1 ของเรือรบAegis กับ APAR,EMPAR ของเรือ Sanchsen, Daring,De Zeven Provinciën,Horizon,FREMM (เรือรุ่นใหม่ๆของฝั่งยุโรปหลายๆลำ) ขนาดมันต่างกันมากครับเลย เลยอยากรู้ว่า
1.ทำไมทางยุโรปไม่ใช้ตามแบบอเมริกาครับ
2.radar ทั้ง 2 แบบแตกต่าง(เรื่องการทำงาน)อย่างไรครับ
3.ทำไมขนาดมันแตกต่างกันมากประสิทธิภาพต่างกันรึเปล่าครับ
4.อ่อ ทำไมเรืออย่างSanchsen ถึงต้องมี Radar อีกตัวทางด้านหลังครับทั้งที่มี APAR อยู่แล้ว ในขณะที่เรือรบ Aegis มีAN/SPY-1 ตัวเดียว
2.ถ้าเป็นAESA เหมือนกัน ก็การทำงานก็คล้ายๆกันครับ แต่ เรื่องประเภทผมไม่ค่อยแน่ใจ
เรดาร์APAR เป็นเรดาร์อเนกประสงค์ ( ค้นหา ติดตาม และควบคุมการยิง มิสไซล์ รวมถึง ควบคุมปืนได้ด้วย อีกทั้งยังเป็นเรดาร์ค้นหาพื้นน้ำได้อีก)
ในขณะที่ AN/SPY-1 เป็นเรดาร์ค้นหา 3มิติ และควบคุมการยิง โดยหน้าที่การทำงานแล้วค่อนข้างต่างกันครับ
3.น่าจะต่างกันอยู่ครับ โดยทั่วไปเรดาร์เฟสอาเรย์ ขนาดยิ่งใหญ่ ยิ่งประสิทธิภาพดีครับ
4.เรดาร์SMART-L ด้านหลัง มีไว้เป็นเรดาร์ค้นหาระยะไกลครับ ระยะตรวจจับราวๆ 400กม.
ส่วนเรือที่ติดระบบเอจิส ก็มีเรดาร์คอยเสริมหน้าที่ ทั้งเรดาร์ค้นหาพื้นน้ำAN/SPS-67(V)3 เรดาร์ควบคุมการยิง AN/SPG-62
ซึ่ง APAR จับมารวมไว้ในตัวเดียวแล้วครับ
2.
สิ่งที่ต่างกันระหว่างเรดาร์ PESA กับ AESA คือ การทำงานในเรื่องของการส่งคลื่นเรดาร์ออกไปจากจานเรดาร์ครับ สำหรับการรับคลื่นเรดาร์นั้นมีการทำงานเหมือนกัน
ในเรดาร์ PESA นั้น ตัวคลื่นเรดาร์จะสร้างมาจากตัวกำเนิดคลื่นที่อยู่ด้านหลังจานเรดาร์ (array) อีกที คลื่นจะผ่านตัวควบคุมแบบดิจิตอลเพื่อปรับทิศทางและรูปร่างของลำคลื่นที่จะส่งผ่านจานเรดาร์ออกไป ดังนั้นจานเรดาร์ไม่จำเป็นต้องเคลื่อนไหวเลย จึงเป็นที่มาของคำว่า electronically scanned/steared array (ESA) นั่นเอง สำหรับคำว่า passive ในคำว่า PESA นั้นมาจากลักษณะการทำงานของจานเรดาร์ที่ประกอบด้วยตัวรับคลื่นเรดาร์เท่านั้น เพราะ ตัวสร้างคลื่นเรดาร์จะแยกส่วนอยู่หลังจานเรดาร์ออกไปดังที่กล่าวไปแล้วในตอนต้น ตัวอย่างเรดาร์แบบนี้ส่วนมากมาจากรัสเซีย เช่น เรดาร์ SBI-16 Zaslon, Phazotron Zhuk Ph และ NIIP N-011M ส่วนทางตะวันตกนั้นในสหรัฐฯ เช่น เรดาร์ AN/APQ-164 บน บ. B-1B
เรดาร์ AESA นั้นทันสมัยกว่า PESA เนื่องจากชิ้นส่วนที่เรียกว่า Transmit Receive Module หรือ TR Module ซึ่งทำมาจาก Gallium Arsenide โดย TR Module นี้ในเรดาร์ AESA จะติดตั้งแทนที่ตัวรับคลื่นเรดาร์ของเรดาร์ PESA บนจานเรดาร์ (ซึ่งเป็นตัวรับคลื่นแบบเดิมๆ ที่ใช้อยู่กับเรดาร์ mechanically scanned/steared array จึงไม่ทันสมัยเท่ากับ TR Module ของเรดาร์ AESA) หน้าที่ของ TR Module นั้น ทำได้ทั้งการสร้างคลื่นและรับคลื่นเรดาร์ พร้อมทั้งควบคุมการส่งคลื่นเรดาร์ออกไปได้ ดังนั้นเรดาร์ AESA จึงไม่ต้องการตัวกำเนิดคลื่นเรดาร์ที่อยู่ด้านหลังจานเรดาร์เลย ตัวจานเรดาร์เองจึงทำหน้าที่ทั้งสร้างและรับคลื่น จึงเป็นที่มาของคำว่า active ในชื่อ AESA นั่นเอง ตัวอย่างเรดาร์ AESA เช่น เรดาร์ AN/APG-77 บน บ. F-22A, AN/APG-80 บน บ. F-16E/F block 60, AN/APG-79 บน บ. F/A-18E/F เป็นต้น
คร่าวๆ ก็ประมาณนี้ครับ สรุป คือ AESA ดีกว่า PESA ครับ ในแง่ระยะตรวจจับ, ความเชื่อถือได้, ความทนทานต่อความเสียหาย, การทำงานแบบ LPI (low probability of intercept), การควบคุมการทำงานด้วยระบบดิจิตอลทั้งหมด และค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง
โดยคุณ rinsc seaver
4. Radar ตัวที่ติดอยู่ที่ท้ายเรือของเรือชั้น Sanchsen นั้นคือ SMART-L ครับ เป็น Multibeam Search Radar หลักที่ค้นหาและตรวจจับได้ทั้งเป้าหมายในอากาศและผิวน้ำครับ http//www.thales-naval.nl/naval/pdf/smart-l.pdf
ในขณะที่ APAR นั้นจะใช้เป็นตัวควบคุมการยิงอาวุธครับเนื่องจากมีข้อจำกัดในด้านของมุมในการค้นหา http//www.thales-systems.ca/projects/apar/apar.pdf
ซึ่งระบบทั้งสองนั้นพัฒนาโดยบริษัทเดียวกันจึงสามารถทำงานเชื่อต่อกันได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ
เรดาร์ SMART-L หรือ AN/SPS-49 จะใช้เป็นตัว back up ให้กับเรดาร์ APAR หรือ AN/SPY-1 ครับ โดยเรดาร์ประเภทแรกทำหน้าที่เฝ้าตรวจเป้าหมายทางอากาศในระยะไกล และใช้ในการควบคุมอากาศยานได้ด้วย ส่วนเรดาร์ประเภทหลังจะใช้ในการควบคุมการยิงเป็นหลักครับ
อีกอย่าง คือ เรดาร์ AN/SPY-1 ในระบบ Aegis ยังคงเป็นแบบ PESA อยู่ครับ แต่ ทร.สหรัฐฯ มีแผนการสำหรับเรดาร์รุ่นใหม่ซึ่งเป็นแบบ AESA เอาไว้แล้ว พอดีจำชื่อไม่ได้ แต่จะเอาไว้ติดตั้งบนเรือรุ่นใหม่อย่าง DDG-1000 class ครับ