Singapore Exercises Option for Additional F-15SGs |
Email Article Print Article |
Posted: 22 Oct 2007, 1400 hours (Time is GMT +8 hours) |
In December 2005 the Ministry of Defence announced the purchase of an initial 12 Boeing F-15SG fighter aircraft to replace the Republic of Singapore Airforce (RSAF)'s A-4 Skyhawk fighters. The Ministry of Defence has, on 22nd October 2007, exercised the option to purchase eight more F-15SG fighters which was part of the original contract signed in December 2005. Along with this buy, an additional order for four F-15SGs was made. |
http://www.mindef.gov.sg/imindef/news_and_events/nr/2007/oct/22oct07_nr.html
ซื้อกันใหญ่เลย นี่เขาก็กำลังดูเครื่องที่จะมาแทน F-5 ด้วยนะครับ.......ส่วนฟิลิปินส์เห็นอาเซียนซื้อกันโครม ๆ จนทนไม่ไห เขาก็บอกว่าจะซื้อ Fighter ใหม่มั้งในปี 2012 (ตอนนี้เขาถอย SF260 มือ1 18 ลำ กับ T-41 มือสองโครตถูกอีก 36 ลำ เขาบอกว่าต้องรีบซื้อเครื่องฝึก ป้องกันนักบินลาออกไปมากกว่านี้เพราะไม่มีเครื่องจะบิน)
รอดูว่าพม่ากับเวียดนามจะหาอะไรมาเพิ่มอีก เหอ ๆ
การจัดหา F-15SG เพิ่มเติมของสิงคโปร์นั้นก็จะเป็นการลดแบบเครื่องบินรบหลักของกองทัพที่จะประจำการในอนาคตเหลือเพียงสองแบบหลักครับคือ F-16C/D และ F-15SG นั้นก็หมายความว่าอาจจะเป็นการปิดโอกาสของ บ..แบบอื่นในอนาคตสำหรับสิงค์โปร์ด้วยไม่ว่าจะเป็น Rafale หรือ Typhoon ซึ่ง บ.ทั้งสองแบบนี้ก็ต้องมาแข่งกับ F-15K ต่อสำหรับโครงการจัดหา บ.ขับไล่สมรรถนะสูงชุดใหม่ของเกาหลีใต้ครับ(ซึ่งแนวโน้มที่ F-15K จะได้รับเลือกยังสูงมากอยู่ดี)
สำหรับเวียตนามนั้นข้อมูลที่เคยออกมาก่อนหน้านี้คือการจัดหา บ.ตระกูล Flanker เพิ่มเติมอีกราว 50ลำเพื่อทดแทนฝูงบิน MiG-21 และ Su-22 ที่ประจำการมานานตั้งแต่สมัยสงครามเวียตนามครับ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีความคืบหน้าเพิ่มเติมว่าไปถึงไหนแล้ว
ส่วนพม่านั้นน่าจะไม่มีการจัดหา บ.ขับไล่ใหม่เพิ่มเติมในช่วงนี้ครับ(เนื่องจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ) แต่ดูเหมือนว่าพม่าาสนใจที่จะจัดหา บ.MiG-29 เพิ่มเติมอีกครับหรือไม่ก็ บ.ขับไล่สมรรถนะที่สูงกว่า F-7 ที่มีอยู่ครับ
ปัจจุบัน บ.Falcrum รุ่นใหม่ๆนั้นยังได้รับการสั่งซื้อจากหลายๆประเทศอยู่ครับเช่น แอลจีเรีย ไนจีเรีย เป็นต้น อีกทั้งยังเป็นตัวเก็งอีกแบบในโครงการจัดหา บ.ขับไล่ใหม่ MRCA ของอินเดียด้วย(ไม่นับการจัดหา MiG-29K ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินอินเดียก่อนหน้านี้) อย่างไรก็ตาม บ.Flanker นั้นมีกองทัพหลายๆประเทศให้ความสนใจมากอยู่ครับ
ในส่วนของ บ.Flanker นั้น อินเดียได้ทำการแลก บ.Su-30K รุ่นเก่ากับรัสเซียเพื่อจัดหา บ.Su-30MKI รุ่นใหม่แทนซึ่งก็เป็นไปได้ว่าจะมีหลายประเทศให้ความสนใจที่จะจัดหา บ.มือสองจากอินเดียไปใช้งานเช่น เอริเทรีย และ ซีเรีย เป็นต้น แต่ในส่วนของพม่านั้นยังไม่มีข้อมูลออกมาครับว่าถ้าพม่าจะจัดหา บ.Flanker จริงจะเป็น บ.มือสองหรือ บ.ใหม่จากโรงงาน
มิก-29 SMT ยังได้รับการสั่งจากทอ.เอริเทรียด้วยครับ สำหรับพม่า ผมว่าเค้ายังไม่พร้อมกับซู-27/30 ครับ เป็นไปได้ที่จะสั่งเซอร์พลัสเพิ่มโดยปรับปรุงเป็นมาตรฐานSMT ครับ
ส่วนเวียดนาม กระแสข่าวซู-30 มานานแล้วครับ แถม ซู-27เก่าเค้ายังจะได้รับปรับปรุงเป็นซู-30K ไม่ก็SU-27SMK ครับ แถมสั่งS-300 อีก 3ชุดยิง (น่าจะมีแท่นยิงไม่ต่ำกว่า 9 แท่นยิง คำนวณจากระบบ1ชุด ประกอบด้วยเรดาร์3แบบ รถควบคุมอีก1 แท่นยิงอีกไม่ต่ำกว่า3ชุด )
ฟิลิปปินส์ ไม่มึความเห็นครับ
ที่มาน้อยๆแต่มาต่อเนื่องคงเป็นอินโดนีเซียที่นำซู-30K/MK มาประจำการเรื่อยๆ ปีละ2-3ลำ
อาเซียน ภูมิภาคเล็กๆแต่ซื้ออาวุธน่ากลัวจังครับ ทั้งๆที่Conflictในแถบนี้ มีแค่พวกก่อการร้าย ไม่ได้มีปัญหาในแบบประเทศต่อประเทศแบบภูมิภาคอื่น เช่น เอเชียใต้ เอเชียกลาง
ยังสงสัยว่า ซื้ออาวุธกันขนาดนี้ แต่ทำไมรายได้ต่อหัวในภูมิภาคนี้ ยังไม่เพิ่มขึ้นมาก
จนไม่จริงหรือเปล่า?
ฝากีอกข่าวนึงครับ จะได้ไม่เปลืองกระทู้......
Iran has signed a deal with China to buy two squadrons of J-10 fighter planes that are based on Israeli technology, the Russian news agency Novosti reported Tuesday.
The 24 aircraft are based on technology and components provided to China by Israel following the cancellation of the Lavi project in the mid-1980s. The engines of the J-10 are Russian-made.
The total cost of the planes is estimated at $1 billion, and deliveries are expected between 2008 and 2010.
The estimated operational range of the aircraft, with external fuel tanks, is 3,000 kilometers, which means Israel falls within their radius of operation.
During the 1980s, Israel Aircraft Industries, along with U.S. firms, developed a multi-role aircraft that was considered the most advanced of its type at the time.
Following the development of a prototype, the Reagan administration stopped funding for the project, bringing about the cancellation of the joint project.
Israel then began selling some of the systems it had developed to various countries, including China.
Experts point out that even with these aircraft, Iran's air force is no match for Israel's or even Saudi Arabia's.
Some analysts expressed criticism at what they called Israel's "short sighted" and lax export policies.
This is not the first time Israeli components were part of weapons systems aimed at Israel. Some reports claimed that China sold Saudi Arabia long-range missiles containing Israeli know-how.
อิสราเอลเริ่มไม่ค่อยพอใจจีนตั้งแต่กรณีที่เรือชั้น Saar 5 ถูกยิงด้วยขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำจากฐานยิงบนฝั่งโจมตีซึ่งเป็นไปได้จะเป็นจรวดที่ผลิตในอิหร่านโดยได้รับการสนับสนุนด้าน Technology จากจีนครับ กรณีการขาย J-10 ให้อิหร่าน 2ฝูงนี้อาจจะทำให้ความสัมพันธ์ด้านการทหารของสองประเทศนี้ดูแย่ลงครับ
ตอนแรกนี้ก็มีข่าวว่าอิหร่านสนใจจะจัดหา Su-30MK จากรัสเซียครับ แต่การที่อิหร่านจะจัดหาJ-10 จากจีนนั้นก็เป็นประเทศที่สองต่อจากปากีสถานที่จัดหา บ.รุ่นนี้ไปใช้งานครับ ซึ่งแน่นอนว่าจีนคงจะหวังให้มีลูกค้าอีกหลายประเทศเพิ่มเติมในอนาคตแน่นอน
.....มิก 29 เอสเอ็มที หรือ มิก ตัวใหม่ๆอย่าง 35 เองก็กำลังพัฒนาต่อไปเรื่อยๆน่ะครับ แต่มิก 29 เองยังได้รับการจัดซื้อเข้าประจำการในกองทัพอากาศของ ทวีปแอฟริกาเป็นส่วนใหญ่ เช่น แอลจีเรีย ซูดาน เป็นต้น ในขณะที่ ซู 30 ถูกนำเข้าประจำการมากขึ้นเรื่อยๆ อันนี้ก็ด้วย ราคากับประสิทธิภาพ ส่วนอะไหล่ไม่ต้องห่วงเลยล่ะครับ คงจะมีใช้ไปอีกนาน
...นับวันอาวุธจาก รัสเซียและจีน และประเทศในสหภาพยุโรปจะรุกตลาดในเอเชียมากกว่า อเมริกาครับ ในขณะที่ ญี่ปุ่นเองก็ให้ความสนใจ ไทฟุ่น จากยุโรปเข้าประจำการเช่นกัน(อเมริกา ยึกยักจะขาย เอฟ22 )
...ส่วนด้าน อิสราเอล นั้นนับเป็นแหล่งขายอาวุธให้กับจีนแหล่งใหญ่ เลยล่ะครับ ไหนจะเรื่องเทคโนโลยีในการผลิตอาวุธอีก ซึ่งจีนได้ อิสราเอลมาช่วยพัฒนาไปเยอะ เช่น ระบบเรดาห์ ขีปนาวุธ ไม่ว่าจะก๊อปหรือผลิตขึ้นเอง
พม่าซื้อเครื่องบินไปก็ไม่มีนักบิน ปล่อยให้พม่าซื้อเครื่องบินมาเยอะจะได้ถ่วงเศรษฐกิจพม่า รายได้หลักพม่าคือ ก๊าซที่ขายให้ไทย(แต่ในอนาคตจีน กับอินเดียจะเป็นลูกค้าก๊าซรายใหญ่ของพม่าแซงไทย ถ้าถึงวันนั้นเกิดกรณีพิพาทกับพม่า พม่าก็สามารถตัดการจ่ายก๊าซแก่ไทยได้โดยกระทบเศรษฐกิจไม่มากแต่โรงไฟฟ้าราชบุรีก็ต้องหยุดผลิดไฟฟ้าภาคกลางคงไฟฟ้าดับหลายจังหวัดตกเป็นเบี้ยล่างพม่าครับ) เพราะมหาวิทยาลัยปิดมา 20 กว่าปีแล้ว นายทหารพม่าก็ย้อนยุคเหลือเกิน บุคลิกดีมากสุภาพบุรุษอังกฤษคล้ายๆ นายทหารประเทศเพื่อนบ้านยุค ก่อนสงครามโลกครับ
โฮ่ๆ เอฟ-15 มาแว้วๆ....
น้อง Su ร่างสวยของเรามีคู่แข่งจนได้...