หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


มีสิทธิ์ กินแห้ว (JAS 39)

โดยคุณ : p_prachuab เมื่อวันที่ : 24/10/2007 17:36:12

http://www.pantip.com/cafe/rajdumnern/topic/P5936880/P5936880.html

 

จะเหมือน กับรถหุ้มเกราะล้อยางหรือเปล่าว





ความคิดเห็นที่ 1


http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=7810&catid=1

เอ็นจีโอ-สื่อสวีเดนโวยรัฐบาลขายเครื่องขับไล่'กริฟเฟน' รัฐบาลไทยซึ่งเป็นเผด็ ขณะที่ชอบอ้างว่าวางตัวเป้นกลาง เว็บไซต์สารานุกรมดังระบุราคาแค่ลำละ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รวม12 ลำ มูลค่า 20,000 ล้าน แต่ไทยซื้อมูลค่ากว่า 34,000 ล้าน ทอ.แจงไม่มีค่านายหน้า

ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 19 ตุลาคมว่า หนังสือพิมพ์'ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน'รายงานเมื่อวันที่ 18 ตุลาคมว่า กรณีที่ทางกาสวีเดนเตรียมขายเครื่องบินรบเอนกประสงค์ กริฟเฟน ให้กับกองทัพอากาศไทยกำลังกลายเป็นเรื่องอื้อฉาวในสวีเดน เพราะมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้าน หลังจากที่มีการประกาศความตกลงที่จะซื้อขายดังกล่าวกันในสวีเดนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา โดยส่วนใหญ่เสียงคัดค้านเป็นเพราะเห็นว่ารัฐบาลไทยในเวลานี้เป็นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง

ทั้งนี้นายโอลา แมตต์สัน เลขาธิการสมาคมสันติและการรอมชอมแห่งสวีเดน (เอสพีเอเอส) ระบุว่า รัฐบาลสวีเดนไม่ควรขายอาวุธให้กับประเทศไทยที่เป็นประเทศเผด็จการทหาร  ในขณะที่นายแจน โอเอล แอนเดอร์สสัน ผู้อำนวยการโครงการสถาบันกิจการระหว่างประเทศ ที่เป็นสถาบันทางวิชาการอิสระของสวีเดน ชี้ว่าการที่สวีเดน ซึ่งเป็นประเทศเป็นกลาง ยึดถือแนวทางเป็นกลางมายาวนาน กลับมาผลักดันกิจการขายอาวุธระหว่างประเทศ นอกจากจะทำให้การดำรงความเป็นกลางยุ่งยากขึ้นแล้วยังทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศที่ส่งเสริมเสรีภาพ สันติภาพไม่ได้รับการเชื่อถืออีกต่อไป

 ผู้สื่อข่าวระบุด้วยว่าจากการตรวจสอบข้อมูลในเว็บไซต์วิกิพีเดีย ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า กริฟเฟน หรือ กริฟฟิน เป็นเครื่องบินรบแบบอเนกประสงค์ สามารถปฏิบัติภารกิจได้หลายภารกิจ ทั้งประจันบาน, โจมตี (ด้วยจรวดจากอากาศสู่อากาศ) และ เครื่องบินตรวจการณ์ ขณะนี้มีประจำการอยู่ในกองทัพอากาศของ 4 ประเทศ ประกอบด้วย สวีเดน, แอฟริกาใต้, ฮังการี และสาธารณรัฐเชค โดยจนถึงเดือนกันยายนปี 2549 ที่ผ่านมามีการสร้างเสร็จและส่งมอบแล้วรวม 184 ลำ ยังมีคำสั่งซื้อคงค้างอยู่อีก 232

 วิกิพีเดีย ระบุว่าราคาขายต่อลำไว้ว่า อยู่ที่ 25 ล้านดอลลาร์ในปี 2541 และ 45-50 ล้านดอลลาร์ในปี 2549 ซึ่งหากเป็นไปตามนั้น มูลค่าของเครื่องบินดังกล่าวที่ทางการไทยจัดซื้อรวม 12 ลำจะเท่ากับเพียง 600 ล้านดอลลาร์ หรือราว 20,400 ล้านบาท (ที่อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่กองทัพอากาศของไทยระบุจะซื้อเครื่องดังกล่าวตากสวีเดนสูงถึง 34,500 ล้านบาท 

 อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตุว่า เครื่องบินกริฟเฟน มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 รุ่น คือ เจเอเอส 39เอ, เจเอเอส 39บี, เจเอเอส39ซี, เจเอเอส 39ดี และ เจเอเอส 39อี/เอฟ และวิกิพีเดียไม่ได้ระบุแต่อย่างใดว่า ราคาต่อหน่วยดังกล่าวเป็นราคาของรุ่นใด ในขณะที่ทางกองทัพอากาศไทยระบุว่าจะจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนรุ่น เจเอเอส 39ซี/ดี (เครื่องบินรบในสมรรถนะเดียวกับเครื่องบินรบของนาโต้ ที่มีที่นั่งเดี่ยวและ 2 ที่นั่ง)

น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองเจ้ากรมกิจการพลเรือน และรองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทนเอฟ 5 อีเอฟ ซึ่งกองทัพอากาศมีข้อสรุปที่จะซื้อเครื่องบินกริฟเฟนของสวีเดน ว่า ขณะนี้ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ ยังไม่มีการลงนามเซ็นสัญญาอะไรกับทางสวีเดน เพราะการจัดซื้อครั้งนี้ดำเนินการด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปกองทัพอากาศจะเสนอโครงการไปยังกระทรวงกลาโหมเพื่อพิจารณาเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่ออนุมัติให้กองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนเข้าประจำการ ส่วนขั้นตอนการลงนามอยู่ที่รัฐบาลจะมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้ลงนามหรือจะให้กองทัพอากาศลงนามสัญญาก็ได้ ซึ่งเป็นขั้นตอนต่อไปตามระเบียบ

รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า สำหรับการจัดซื้อของกองทัพอากาศครั้งนี้เป็นการของบประมาณประจำปี 2551 ตามปกติที่กองทัพอากาศจะได้รับการพิจารณา ไม่ใช่เป็นงบพิเศษเพื่ออนุมัติจัดซื้อ แต่เป็นการเกลี่ยงบประมาณในโครงการต่างๆของกองทัพอากาศ ซึ่งเราได็ดำเนินการคัดเลือกโครงการที่มีความเร่งด่วนและระงับโครงการบางอย่างที่จะเสนอของบประมาณในปี 2552 ออกไป เพราะกองทัพอากาศมีความจำเป็นที่จะต้องจัดซื้อเครื่องบินขับไล่มาทดแทนเครื่องบินเอฟ 5 ที่จะปลดประจำการไป ทั้งนี้ การจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนนี้ เราดำเนินการด้วยเงินงบประมาณไม่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า หรือบาร์เตอร์เทรดตามนโยบายเดิมของรัฐบาลที่ผ่านมา รวมทั้งไม่มีค่าขายหน้าหรือค่าคอมมิสชั่นใด เพราะเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีแบบรัฐต่อรัฐ

"เหตุผลสำคัญที่กองทัพอากาศเลือกที่จะซื้อเครื่องบินกริฟเฟน เพราะกองทัพอากาศพิจารณาอย่างรอบด้าน และสวีเดนมีข้อเสนอให้กับเราแบบเต็มออฟชั่น สิ่งสำคัญที่สุดคือสวีเดนมอบซอล์ทโครตเดต้า ซึ่งเป็นรหัสข้อมูลเครื่องให้กับเราไว้เพื่อพัฒนาระบบได้เองในอนาคต ซึ่งไม่มีประเทศใดมอบรหัสตัวนี้ให้กับไทย บ่งบอกถึงความจริงใจ รวมถึงการสนับสุนนหลังการขายสวีเดนที่ดีมาก ซึ่งกองทัพอากาศแทบไม่จำเป็นที่จะต้องซื้ออะไรเพิ่มเติม"รองโฆษกกองทัพอากาศกล่าว

น.อ.มณฑล กล่าวว่า ส่วนที่มีเสียงวิจารณ์ว่ากองทัพอากาศใช้เหตุผลที่ซื้อเครื่องบินกริฟเฟน เพราะอ้างข้อกฎหมายที่สหรัฐไม่ขายอาวุธให้กับประเทศรัฐประหารนั้น ซึ่งวันที่แถลงข่าวมีสื่อมวลชนถามประเด็นนี้ ผู้บัญชาการทหารทหารอากาศไม่ได้ระบุว่าเหตุผลที่ซื้อเครื่องบินกริฟเฟนด้วยเหตุผลข้างต้น ท่านชี้แจงชัดเจนว่าการซื้อเครื่องบินเป็นเรื่องละเอียดอ่อน บางทีเรามีเงินที่จะซื้อ แต่ประเทศผู้ขายเขาไม่ยอมขายให้ก็ได้ โดยเฉพาะระบบอาวุธ ซึ่งหากเราซื้อเครื่องบินรบ แต่ติดปัญหาที่ไม่ได้อาวุธตามต้องการ ก็เป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก เพราะเราจะไม่ได้สิ่งที่ดีที่สุด และผู้บัญชาการทหารอากาศก็ยืนยันชัดเจนว่า เครื่องบินกริฟเฟนสมรรถะการรบไม่ได้ด้อยกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นที่พิจารณาเลย และเหมาะสมกับสภาพภูมิศาสตร์ของเรามากที่สุด ซึ่งเราส่งนายทหารระดับสูงของกองทัพไปทดลองขับเครื่องบินทั้ง 3 รุ่น คือ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดี เครื่องบินซู 30 และเครื่องบินกริฟเฟน ซึ่งสมรรถะของเครื่องบินกริฟเฟนไม่ได้ด้อยกว่าเครื่องบินรุ่นอื่นเลย

'เครื่องบินทุกรุ่นเป็นเครื่องบินที่ดี แต่อะไรคือสิ่งที่ดีและเหมาะสมที่สุด เครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐก็ดี แต่ติดปัญหาบางอย่างที่กล่าวมา ยกตัวอย่างมีประเทศหนึ่งที่เล็กขอซื้อเครื่องบินเอฟ 16 แต่เขาไม่แถมระบบอาวุธที่ดีและทันสมัยให้ ด้วยเหตุผลประเทศนี้คงไม่มีความจำเป็นต้องใช้อาวุธที่หนักและทันสมัย แต่เมื่อมีประเทศหนึ่งที่ใหญ่กว่ากลับให้อาวุธที่ดีและทันสมัย มากกว่าประเทศที่เล็ก อย่างนี้กถือว่าไม่แฟร์กลับประเทศผู้ซื้อ ขณะที่เครื่องบินซู 30 ก็เป็นเครื่องที่ดี แต่มีปัญหาที่เครื่องบินชนิดนี้ลำใหญ่ใช้น้ำมันจำนวนมาก ดังนั้น ในอนาคตเราจะรับปัญหาตรงนี้ได้หรือไม่ หากไม่มีเงินเติมน้ำมันก็เท่ากับเสียเปล่า ซึ่งเครื่องบินกริฟเฟนเป็นเครื่องที่เล็ก และทันสมัยมีความคล่องตัวสูง ด้วยราคาขนาดนี้ถือว่าดีที่สุด และเหมาะสมที่สุดกับกองทัพไทย ที่สำคัญคือออฟชั่นที่เขาเสนอให้เรา ซึ่งดีกว่าข้อเสนอของประเทศอื่น'รองโฆษกกองทัพอากาศกล่าว

อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบของ'มติชน ออนไลน์'พบว่า เครื่องบินกริฟเฟ็น เป็นเครื่องบินรบผลิตโดยบริษัท'Saab'โดยบริษัทนี้ทำหน้าที่เป็นผู้ทำสัญญาและรับผิดชอบด้านการ,การตลาด และคอยโฆษณาสนับสนุนเครื่องบินรุ่นนี้ทั่วโลกด้วย มีการผลิต'ตั้งแต่เมื่อปี 1996 และโดยถูกใช้ในสวีเดนและขายให้แก่บางประเทศ เช่น  แอฟริกาใต้,ฮังการี และสาธารณรัฐเชก

เครื่องบิน'กริฟเฟ็น'เป็นเครื่องบินประเภทนักบินคู่ มีสมรรถภาพถูกออกแบบให้เป็นเครื่องบินที่มีความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพ และความคล่องตัวในการบิน และสวีเดนได้เลือกที่จะพัฒนาเครื่องบินกริฟเฟ็น แทนการซื้อเครื่องบินเอฟ 16 จากประเทศดังๆ โดยสมรรถภาพหนึ่งที่น่าสนใจของเครื่องบินสวีเดนรุ่นนี้ก็คือ สามารถลงจอดบนทางหลวง(ตามยุทธศาสตร์ด้านกลาโหมของสวีเดน)และสามารถเติมน้ำมัน หรือติดอาวุธใหม่ได้ภายใน 10 นาที ซึ่งใช้เจ้าหน้าที่ทหารจำนวนไม่มากนัก ที่สามารถใช้รถบรรทุกเข้าทำการเติมน้ำมันหรือติดอาวุธดังกล่าวให้แก่เครื่องบินลำนี้

โดยคุณ p_prachuab เมื่อวันที่ 20/10/2007 20:21:18


ความคิดเห็นที่ 2


ซื้อเครื่องบินไม่ได้ซื้อแค่เครื่องเปล่าๆ

ไหนจะค่าอะไหล่ ค่าฝึกลูกเรือนักบิน ค่าระบบอาวุธ ระบบซ่อมบำรุง เฮ้อออออออ

 

โดยคุณ semakutek เมื่อวันที่ 20/10/2007 21:24:00


ความคิดเห็นที่ 3


งานนี้ชองทอ.ถือว่าเป็นงาน หมุนกุญแจ(เทิร์นคีย์(เริ่มนับจากศูนย์))..............มาเลย์ เทิร์นคีย์โปรเจค มิก-๒๙ ฟาดไป ๖๐๐ ล้นเหรียญ หลายปีต่อมาตามด้วย ซู-๓๐ ๑๒ลำ นี่ก็เทิร์นีย์ รู้สึกเหมือนจะได้ยินว่า ราว ๙๐๐ล้านเหรียญ......................... ยังไม่ทราบตัวเลขที่สิงคโปร์แห่เจ้า เอฟ-๑๕ เทิร์นคีย์เหมียนกัล ไม่รู้กี่มากน้อย ................................. เมื่อราว ๔ ปีที่แล้ว สิง ถอย บล็อค ๕๐/๕๒ ..........................มีต่อ
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/10/2007 22:38:34


ความคิดเห็นที่ 4


 ฝูงแรก ราว ๒๐ ตัวงบเท่าไหร่ไม่รู้ ตามด้วยฝูงที่สอง อันนี้เป็น รูทีน ฟาดไป ๖๐๐ บวกลบ.............................จะเห็นว่า การสร้าง ฝูงบิน ในโปรเจคเทิร์นคีย์นี่ มันจะแพงกว่าแบบรูทีนอยู่โข................................แต่..........................พี่น้อง แต่.......................แต่ๆๆๆๆ......................... การเทิร์นคีย์ ที่ว่า เป็นเทิร์นคีย์แบบฟูลออปชั่น อะไหล่ ยุทธภัณฑ์ อาวุธ การฝึก เค้าว่ากันเต็มๆ .......................งงงแต่ถ้าเป็นแบบสไตล์พี่ไทยถนัด จัดหาตัวเครื่องกะอะไหล่บางตัวมาก่อน ของแต่ง แอคเฃวสเซอรี่ว่ากนทีหลัง ถ้าไอ้เทิร์นคีย์แบบนี้ ๑๐๐๐ ล้านเหรียญ รู้สึกว่าจะไม่สมศักดิ์ศรี ขออย่าเป็นเช่นนั้น..................ทางที่ด ทอ.ควรออกมาแจง
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/10/2007 22:50:38


ความคิดเห็นที่ 5


ฝูงแรก ราว ๒๐ ตัวงบเท่าไหร่ไม่รู้ ตามด้วยฝูงที่สอง อันนี้เป็น รูทีน ฟาดไป ๖๐๐ บวกลบ.............................จะเห็นว่า การสร้าง ฝูงบิน ในโปรเจคเทิร์นคีย์นี่ มันจะแพงกว่าแบบรูทีนอยู่โข................................แต่..........................พี่น้อง แต่.......................แต่ๆๆๆๆ......................... การเทิร์นคีย์ ที่ว่า เป็นเทิร์นคีย์แบบฟูลออปชั่น อะไหล่ ยุทธภัณฑ์ อาวุธ การฝึก เค้าว่ากันเต็มๆ แต่ถ้าเป็นแบบสไตล์พี่ไทยถนัด คือจัดหาตัวเครื่องกะอะไหล่บางตัวมาก่อน ของแต่ง แอคเซสเซอรี่ว่ากนทีหลัง ถ้าไอ้เทิร์นคีย์แบบนี้ ๑๐๐๐ ล้านเหรียญ รู้สึกว่าจะไม่สมศักดิ์ศรี ขออย่าเป็นเช่นนั้น..................ทางที่ดี ทอ.ควรออกมาแจง
โดยคุณ กบ เมื่อวันที่ 20/10/2007 22:54:15


ความคิดเห็นที่ 6


เรียนหนังสือพิมพ์มติชนที่เคารพและด้วยความเคารพ

คุณลองเช็คดูหน่อยเถิดครับ Wikipedia บอกว่า L-39 ลำละ 300,000 เหรียญ F-16C/D ลำละ 18 ล้านเหรียญ แค่นี้ก็น่าสงสัยในความน่าเชื่อถือของข้อมูลราคาใน Wikipedia แล้วครับ

อีกอย่าง คุณคงไม่รู้ว่า ราคาเครื่องบิน มีทั้งราคาแบบตัวเปล่า กับราคารวม package อาวุธ ลองตรวจสอบดี ๆ ก่อนครับว่าหยิบราคาไหนมาพูด แล้วเราจัดซื้อแบบไหน แล้วมันแตกต่างกันอย่างไร

คำสั่งซื้อค้างอยู่สองร้อยกว่าลำนี่ก็ไม่ใช่ครับ ตอนนี้ใน production line มีของแอฟริกาใต้และของทอ.สวีเดนอีกราว ๆ 31 ลำเท่านั้น บวกเราเข้าไปอีก 6 ลำ ซึ่งจะทำให้สายการผลิตอยู่ไปถึงปี 2012 เป็นอย่างน้อย ผมนับยังไงก็ยังไม่ได้เท่ากับสองร้อยกว่าลำ

อีกทั้ง รุ่น A/B กำลังถูกเปลี่ยนเป็น C/D ในตลาดจึงมีแต่ C/D เท่านั้น (แล้วจริง ๆ ก็ไม่ใช่ 5 รุ่นด้วยครับ รุ่น E/F ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา ซึ่งรุ่นที่พัฒนาอยู่มียังมีอีกคือ Gripen-N, Gripen-DK)


ถ้ามันมีการทุจริต ไม่มีใครหรอกครับอยากให้การจัดซื้อมันดำเนินต่อไป อย่างในกรณีรถเกราะ ซึ่งผมและหลาย ๆ ท่านก็เห็นด้วยว่าการจัดซื้อมันน่าสงสัยจริง ๆ และพวกเราก็สนับสนุนการระงับโครงการและเข้ามาตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบ

นอีกแง่หนึ่ง ผมก็ไม่ได้บอกว่าคุณต้องเชียร์เครื่องรุ่นนี้เหมือนผมนะครับ เพราะในบรรดานักสังเกตุการทางทหารในเมืองไทยหลาย ๆ คนที่เป็นเพื่อนผม ก็มีทั้งชอบ JAS-39 และ F-16C/D คละกันไป.......ซึ่งคุณอาจจะไปเชียร์เครื่องสหรัฐก็ได้ แต่ถ้าคุณวางตัวเป็นกลาง ก็ควรจะตรวจสอบข้อมูลให้ดีก่อน

ผมเรียนว่า ที่ผมพูดไปในบทความนี้ หวังอยากจะให้ท่านสื่อมวลชน ตรวจสอบข้อมูลให้ดีเสียก่อนที่จะนำข้อมูลใด ๆ มาลง เพราะอย่าลืมว่า ท่านคือสื่อมวลชน ที่มีหน้าที่สื่อความจริงกับสังคม ข้อเขียนของท่าน สามารถชี้นำสังคมได้ ซึ่งถ้าท่านให้ข้อมูลที่ผิดพลาด สังคมก็จะได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อน และผลที่ตามมาเราก็เห็นกันจนชินตา ขอให้ท่านตรวจสอบข้อมูลด้วยครับ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=20-10-2007&group=1&gblog=62

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 20/10/2007 23:01:49


ความคิดเห็นที่ 7


บทความที่ลงในเวบ Matichon  คนเขียนบทความนี้ไมมีความรู้เรื่องอาวุธเลยและแปลบทความในหนังสือพิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูนผิด

 

หนังสือพิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม http://www.iht.com/articles/2007/10/18/europe/18sweden.php  ไม่ได้เขียนว่ามีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านหลังจากที่มีการประกาศความตกลงที่จะซื้อขายดังกล่าวกันในสวีเดนเมื่อวันที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา แต่เขาเขียนว่า Heavy Criticism ซึ่งสามารถแปลได้หลายความหมาย เช่นโดนวิจารณ์อย่างหนัก หรือโดนคัดค้านอย่างหนัก แต่ในบทความหนังสือพิมพ์ไม่ได้เขียนว่า มีหลายฝ่าย และในหนังสือพิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูนมีเพียงนายโอลา แมตต์สัน เลขาธิการสมาคมสันติและการรอมชอมแห่งสวีเดน (เอสพีเอเอส) ที่ออกมาคัดค้าน ในขณะที่ นายแจน โอเอล แอนเดอร์สสัน ผู้อำนวยการโครงการสถาบันกิจการระหว่างประเทศ วิจารณ์เกี่ยวกับนโยบายในการขายอาวุธของประเทศสวีเดนในโลกปัจจุบัน ไม่ได้คัดค้านการขายGripen ให้ประเทศไทย อีกอย่างคนเขียนบทความหนังสือพิมพ์ดิ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮรัลด์ ทรีบูน ตอนแรกยังเขียนหัวข้อข่าวผิด ตอนแรกเขียนSweden's sale of fighter jets to Taiwan generates controversy (ดูได้ที่เวบนี้ http://www.militaryphotos.net/forums/showthread.php?t=84527&page=30

ก่อนที่จะเปลี่ยน จาก Taiwan เป็น Thailand ในเวลาต่อมา น่าสงสัยเหมือนกันว่าคนเขียนบทความหนังสือพิมพ์นี้รู้เรื่องประเทศไทยมากน้อยแค่ไหน

 

ส่วนที่ผมเขียนว่าคนเขียนที่ลงบทความในเวบ Matichon ไมมีความรู้เรื่องอาวุธเลย เพราะการจัดซื้อเครื่องบินรบไม่เพียงแต่ซื้อเครื่องบินรบเท่านั้นแต่ต้องซื้ออะไหล่ อุปกรณ์ภาคพื้นดิน อุปกรณ์การฝึก และการฝึกบุคลากร (นักบินและช่างเครื่อง) ซึ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ มีราคาแพงพอสมควร (ราคาในส่วนนี้ มีตั้งแต่ 20%-100% ของราคาเครื่องบินรบขึ้นอยู่กับ แบบของเครื่องบินรบ และจำนวนของอะไหล่ที่จะจัดซื้อ) และอย่าลืมว่า 34500 ล้าน บาท รวม ราคาของ AWACS 2ลำด้วย (ผมคิดว่าAWACS 2ลำไม่ไช่ของแถมแต่เราซื้อ) นอกจากนี้ในบอร์ดนี้ และ เวบภาษาไทยอื่นๆ ยังไม่เห็นมีใครเอาราคาของGripen ที่ประเทศอื่นซื้อ มาเปรียบเทียบการจัดซื้อครั้งนี้เลย

นอกจากนี้ บทความในเวบ Matichon ว่า Gripen ยังมีคำสั่งซื้อคงค้างอยู่อีก 232ก็ผิดข้อความที่ถูก คือยอดสั่งซื้อ Gripen ทั้งหมด(ยังไม่รวมที่ไทยจะสั่งซื้อ) อยู่ที่232ลำ ต่างหาก

 

อีกอย่าง Gripen E/F หมายถึง Gripen 2 รุ่น Gripen E และ Gripen F นอกจากนี้ยังมีรุ่น Gripen Demo (Technology Demonstrator) Gripen DK และ Gripen N ที่เสนอขายให้ประเทศเดนมาร์ค และ นอร์เวย์ อีกด้วย

 

สุดท้ายนี้ขอบอกว่าหากกองทัพอากาศอธิบายเหตุผลที่จะจัดซื้อ Gripenให้ละเอียดตั้งแต่ต้นก็ไม่ต้องเจอปัญหากับสื่อมวลชนขนาดนี้หรอก

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 20/10/2007 23:18:38


ความคิดเห็นที่ 8


ผมกำลังหา source ราคาของฮังการี เช็ค แล้วก็แอฟริกาใต้อยู่ครับ ถ้าหาได้จะเอามาฝากทุกท่าน (เพราะข้อมูลเท่าที่มียังไม่น่าเชื่อถือ) หรือถ้าท่านใดหาได้ นำมาบอกกัน จะขอบคุณมากครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 20/10/2007 23:35:22


ความคิดเห็นที่ 9


เอ็นจีโอไทย มีเป็นร้อยเป็นพันองค์กร คุณคิดว่าต่างประเทศจะมีสักกี่องค์กร แล้วแต่ละองค์กรมีความรู้เรื่องไหน อย่างไรบ้าง ?

ขนาดเอ็นจีโอ สวีเดนเอง ก็ไม่รู้เลยหรือว่าประเทศตนเองนั้นก็เป็นผู้ผลิต/ส่งออกอาวุธรายสำคัญรายหนึ่งของโลกมาช้านานแล้วเหมือนกัน และสวีเดนก็ส่งทหารเข้าไปรักษาสันติภาพทั้งในคองโก บอสเนีย และอัฟกานิสถานด้วย

ปล.ผมคิดว่า ราคาที่จัดซื้อเป็นแพคเกจ ครับ ( ราคาของ + โปรแกรมใช้งาน + โปรโมชั่น(การฝึกสอนและการซ่อมบำรุงในระยะประกัน )  + ของแถม + ส่วนลด )

--------------------------------------------------------------------

ว่าแล้วก็ไปหา Absolut Vodka มาดื่มแก้เซ็งดีกว่า !

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 20/10/2007 23:45:39


ความคิดเห็นที่ 10


แอฟริกาใต้ สัญญาซื้อ 28 ลำ ( 19 C + 9 D ) มูลค่าประมาณ 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ สัญญา วันลงนามสัญญา 3 ธันวาคม 1999  คิดเป็นเงินไทยขณะนั้น 39.00บาทต่อเหรียญสหรัฐ เท่ากับประมาณ 74100 ล้านบาท

เชค สัญญาเช่า 14 ลำ ระยะเวลา 10 ปี ( 12 C+2 D ) มูลค่าประมาณ19.650 billion CZK ( อ้างอิงจากเวปกองทัพเชค ) วันลงนามสัญญา 14 มิถุนายน 2004  ผมไม่ทราบว่า 1US $  ณ วันนั้นเท่ากับกี่โครนาเชค สมมุติอย่างวันนี้ผมเช็คดู 1 US $ แลกได้ 19 CZK ก็จะได้มูลค่าประมาณ 1.034 พันล้านเหรียญสหรัฐ  อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันนั้น 1 เหรียญสหรัฐแลกได้ 40.93 บาท ก็จะได้เท่ากับประมาณ 42322 ล้านบาท ( คงไม่ใช่ตัวเลขนี้แน่ๆครับ ถ้า วันนั้น 1 US $ ไม่ได้แลกได้ 19 CZK แต่ผมก็ลองดูเล่น ๆ เพราะค่าเงินอย่างโครนาสวีเดน เทียบกับเงินบาทไม่ค่อยผันผวนมากนักในรอบหลายๆ ปี แต่เทียบกับดอลลาร์ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ  )

ฮังการี สัญญาเช่า 14 ลำ ระยะเวลา 10 ปี ( 12 C + 2 D ) 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ วันลงนามสัญญา 3 กุมภาพันธ์ 2003 ( เดิมเซ็นสัญญากันเมื่อ ธันวาคม 2001 เป็นรุ่น A/B ต่อมาเมื่อเปลี่ยนรัฐบาลเมื่อปี 2002 รัฐบาลใหม่ได้พิจารณาว่าอยากได้เครื่องรุ่นที่เข้ากับนาโต้ได้ จึงได้เปลี่ยนมาเป็น C/D และได้ลงนามในสัญญาเช่าดังกล่าว ) มูลค่าประมาณ 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ  คิดเป็นเงินไทย ขณะนั้น 42.89 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เท่ากับประมาณ 47179 ล้านบาท

ไทย สัญญาซื้อ 12  ลำ มูลค่ารวม 34400 ล้านบาท ( ณ วันที่เซ็นสัญญา )

---------------------------------------------------------------------

ผมลองรวบรวมจากหลายๆ แหล่งมาให้ดูคร่าว ๆ ครับ ข้อมูล ยังไม่ชัวร์ 100 เปอร์เซนต์ ถ้าเพิ่มเติมแก้ไขได้เลยครับ

อัตราแลกเปลี่ยน ผมเอามาจากเวปธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นวันนั้นๆ ที่เซ็นสัญญาครับ

ถ้าใครเอามาคิดหารเป็นต่อลำ นี่ คงคิดผิดหน่อยนะครับ เพราะ ราคา รุ่น C กับรุ่น D ไม่เท่ากันแน่ๆ และแอฟริกาใต้ที่ซื้อได้ถูกนั้นต้องเข้าใจเบื้องต้นด้วยว่าเขาสั่งซื้อล๊อตใหญ่ ( เท่าที่ทราบเขาเซ็นสัญญาซื้อ JAS 39 28 ลำ+ HAWK 24 ลำด้วย )

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 21/10/2007 03:37:56


ความคิดเห็นที่ 11


ที่ผมเอามาคิดเป็นเงินบาทเพราะ คิดว่าเป็นเงินงบประมาณที่เราต้องจ่าย จะทำให้เห็นภาพมากขึ้น เราเซ็นสัญญาในวันที่ดอลล่าร์อยู่ที่ประมาณ 34 บาทกว่า ถ้าเกิดเราเซ็นสัญญาในวันที่ดอลล่าร์อยู่ที่ 40 บาท ก็เท่ากับเราต้องจ่ายเพิ่ม ในขณะที่ค่าเครื่องเมื่อคิดเป็นดอลล่าร์เท่าเดิม .... เพราะฉะนั้นต้องคำนึงถึงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนต่าง ๆ ด้วยครับ ..**ใครจะไปเปรียบเทียบว่าใครซื้อถูกซื้อแพงก็ลองคิดหลายๆ มิติเรื่องค่าของเงินด้วย** ค่าเงินชาตินั้น ๆ เทียบกับดอลล่าร์ เทียบกับโครนาสวีเดนเท่ากับกี่บาท กี่ดอลล่าร์ กี่หน่วยเงินเขา ด้วย  ****  ณ วันที่เซ็นสัญญา ****

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 21/10/2007 03:48:36


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณพี่ลุงหมีครับ

ใช่ครับ แอฟริกาใต้เขาซื้อ Hawk+Gripen ในสัญญารวมกัน 1.5 พันล้านปอนด์ ครับ อีกอย่างเขาผลิตชิ้นส่วนบางอย่างเองด้วยครับ (รู้สึกจะเป็นฐานล้อ) และอาวุธอากาศสู่อากาศเขาก็ใช้ของเขาเอง (A-Darter กับ R-Darter) ฉะนั้นถ้าซื้อได้ถูก ผมว่าก็คงไม่น่าแปลกใจนักครับ

ส่วนของไทย.....มัน Package ครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 21/10/2007 04:16:41


ความคิดเห็นที่ 13


ประเทศไทยทำอะไรทั้งทีมีขัดตลอด........
โดยคุณ galen เมื่อวันที่ 21/10/2007 14:51:31


ความคิดเห็นที่ 14


wikipedia ไม่ได้เขียนโดนผู้เชี่ยวชาญ เขียนโดยบุคคลที่ได้รับอิทธิพลจากทางเน็ทซึ่งส่วนใหญ่แล่้วเป็นเรื่อง ซุย (โดยเฉพาะเวบผู้จัดการ)

อย่าเชื่อเลยครับ พูดยังกับว่าเราซื้อแต่โครงอะ
ป.ล. เบื่อนักข่าว
โดยคุณ VEranda เมื่อวันที่ 21/10/2007 16:57:46


ความคิดเห็นที่ 15


ผมมองว่าการซื้อจากสวีเดนดีอย่าง เพราะว่า

ขจัดปัญหาเรื่อคอรับชั่น ในส่วนของเราเองได้พอสมควร

 เพราะว่า หากเรื่องนี้ เกิดมีซิกแซกจากทางฝ่ายนู้นเพื่อให้เราซื้อล่ะก็ 

องค์กรที่นู่นเค้าเข้มแข็งครับ  รับรองรัฐบาลสวีเดน อยู่ไม่ได้เหมือนกัน

โดยส่วนตัวเชื่อว่า  หากเกิดการจัดซื้อครั้งนี้จริง คงไม่มีการบวกเยอะ

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 21/10/2007 17:18:25


ความคิดเห็นที่ 16


   ออกตัวก่อนนะว่าผมชอบ SU-30 MKI มากที่สุดใน 3 แบบ   แต่ราคา JAS-39 C/D งวดนี้ผมยอมรับได้ครับ    กรุณาดูเหตุผลของผมนะครับ

           ราคาที่เข้าเสนอของเครื่องทั้ง 3 แบบอยู่ระดับใกล้เคียงกันนะครับ   คือ  ราวๆ 42-45 ล้านเหรียญ เอา 33 บาทคูณก็ได้ประมาณ  1,400 - 1,450 ล้านบาทณค่าเงินที่ 33 บาทต่อดอลล์ (เปลี่ยนไปหลายร้อยล้านบาทจากยุดทักกี้เพราะค่าเงินแข็งขึ้นมามากมาย  สมัยนั้นตกเครื่องละประมาณ 1700 ล้านบาท)      

     ราคา JAS-39 จำนวน 12 เครื่อง  รวมเป็นเงิน 34,400 ล้านบาท   ต้องหักค่าเครื่อง AEW&C ที่ติดระบบเรด้าร์ Ericeye 2 ตัว   ก็กว่า 12,000 ล้านบาทแล้วนะครับ    เหลือประมาณ 22,400 ล้านบาท    ต้องไปหักค่าเครื่อง SAAB A340 ที่มาใช้เป็นเครื่องฝึก(เผื่อซ่อมอะไหล่กินตัวได้ยามจำเป็น)อีก 1 ตัว   คงราวๆสัก 1,000 ล้านบาทได้   เหลือ  21,400 ล้านบาท      ค่าจรวดอีกจำนวนหนึ่งต้องหักด้วย    ก็คงเหลือต่ำกว่า 20,000 ล้านเล็กน้อย      เอา 12 หารได้ออกมาเป็นเครื่องละ 1,700 ล้านบาท   อืมมมมแพงไปประมาณ 200 - 300 ล้านบาทต่อลำ

          แสดงว่าของแถมส่วนอื่น   เช่น  Source code , สิ่งอำนวยความสะดวกภาคพื้นดิน ,  ทุนการศึกษา  , ความช่วยเหลืออื่นๆในด้านการฝึกนั้น     มิได้แถมแหง๋ๆเลย     แต่เป็นกลยุทธการขายที่ซื้อแล้วได้ออปชั่นและอุปกรณ์ใช้ร่วมครบเซ็ท

        ถ้า JAS-39 C/D batch 3 และอยู่ในสายการผลิตล่าสุดที่ปรับปรุงระบบอิเลคทรอนิคและเพิ่มความสามารถในการโจมตีภาคพื้นดินเรียบร้อยแล้ว     ราคานี้รับได้ครับ    เพราะประสิทธิภาพทางด้านระบบอิเลคทรอนิคจะต่ำกว่า F-16 50/52+ ไม่มากนัก   ถึงจะยังเป็นรองอยู่แต่ก็พอถูไถไปได้    เพราะส่วนด้อยจะถูกชดเชยด้วยระบบ ericeye     แต่ในส่วนความด้อยกว่าในเรื่องกายภาพของเครื่อง  เช่น  นน.บรรทุก   รัศมีในการบินรบ    ก็ต้องยอมรับกันตรงๆละครับว่าด้อยกว่า SU-30 MK และ F-16   50/52+ มาก     แต่การ Dogfight จะดีกว่าเพราะเป็นเครื่องปีกสามเหลี่ยม    ถ้าเข้าประชิดได้ (เน้นนะครับว่า "ถ้า")  ก็จะอยู่ในสถานะได้เปรียบ F-16 50/52+ (สำหรับ SU-30 MK ยังไม่แน่ใจว่าจะได้เปรียบ เพราะ SU-30 MKI มีระบบปรับทิศทางแรงขับด้วย)   

         พูดง่ายๆ   มองอย่างเป็นกลางแล้วยอมรับได้   ไม่น่าเกลียดนัก    เพราะถ้าจัดหา F-16 50/52+ หลังเลือกตั้ง   รับรองว่าอดแน่ๆ

      ส่วนเครื่องที่คุณ ลุงหม่ลงเอาไว้นั้นรู้สึกจะใช่รุ่น batch 3ด้วยหรือเปล่านะครับ    ดังนั้นราคาจึงพูดได้ยากว่าที่ชาติอื่นๆเขาซื้อนั้นถูกหรือแพง     เพราะอุปกรณ์ภายในและของที่ขายพวง    

      รับรองครับว่าที่ออกเป็นข่าวแสดงว่าการเมืองฝ่ายตรงข้ามออกข่าวโจมตีเพื่อนหวังผลทางการเมืองเหมือนคราว SU-30 โดน      ต้องถามแล้วว่าเราจะมีนโยบายทางทหารต่อเพื่อนบ้านอย่างไร    จึงมาเป็นตัวกำหนดการจัดหาเครื่องบินรบ

   ถ้านโยบายเน้นเชิงรุก   ป้องปรามหรือเน้นหาเรื่องเพื่อนบ้านเต็มที่   ดีลนี้ SU-30 MKI เหมาะสมที่สุด    เพราะประสิทธิภาพสูงสุด    แต่ค่าใช้จ่ายในการปฎิบัติการ   การซ่อมบำรุง  และอัตราความพร้อมรบก็ต้องปวดหัวตามไปด้วยครับ    พูดง่ายๆ  อยากใช้รถสปอร์ตคันละ 15 ล้าน    ก็เตรียมค่าน้ำมัน   ค่าประกันภัย   ค่าซ่อมที่แพงโคตรๆเอาไว้ได้เลยละครับ     แต่มันเท่จับใจ (นิสัยผมชอบแบบนี้  และได้แต่ฝันไปก่อน)

       แต่ถ้ากระเป๋าพอมีบ้าง   แต่คงมิอาจเอื้อมถึงสปอร์ตคันละ 15 ล้าน    ก็คงต้องมองลงมาที่ BMW ซีรีย์ 5 รุ่นล่าสุด    น่าเชยชม    สมรรถนะกับราคาเหมาะสม    ซึ่งนั่นคือ F-16  50/52+   และเป็นดีลที่ผมว่าเหมาะสมกับทอ.ไทยของเรามากจนถึงมากที่สุด

        แต่ถ้างบน้อยและกลัวว่าหลังเลือกตั้งจะแห้วระประทานทุกแบบทุกรุ่น    ก็นี่เลยครับ   เครื่องระดับฮอนด้าแอคคอร์ด    ก็ไม่เลวเลยนะครับใช้ได้   แต่สถานะขณะนี้คงต้องเลือก JAS-39 C/D ไปก่อนล่ะครับ

 

 

โดยคุณ neosiamese เมื่อวันที่ 22/10/2007 00:48:04


ความคิดเห็นที่ 17


เรื่องสายการผลิต ที่คุณ neosiamese พูดถึง

 http://www.defenseindustrydaily.com/the-jas39-gripen-swedens-4th-generation-wild-card-02401/

The whole Gripen production run for all customers, according to current orders, will reach 251 aircraft. This consists of six prototypes (5 single-seat, 1 two-seat), 29 JAS-39A Batch 1s (Sweden), 76 JAS-39A Batch 2s (Sweden), 14 JAS-39B two-seater Batch 2s (Sweden), 20 JAS-39C Batch 2s (Sweden), 50 JAS-39C Batch 3s (Sweden), 12 Gripen Cs (Czech Republic), 14 JAS-39D two-seater Batch 3s (Sweden), 2 Gripen D two-seaters (Czech Republic), 19 Gripen Cs (South Africa), and 9 Gripen D two-seaters (South Africa). The Hungarian Gripen C/Ds (12 JAS-39C and 2 JAS-39D) will come from rebuilt Swedish Batch 1 and 2 aircraft.

 

อันนี้จาก http://www.aeroflight.co.uk/types/sweden/saab/jas_39/gripen.htm

Variants

Requirement Specification: JAS
Manufacturers Designation: n/a

Development History:
Saab 2110 Project to meet JAS requirement.
JAS 39 Batch of 5 prototype development aircraft.
JAS 39A Batch 1 Initial production single-seater version. Mark 1 avionics fit: Hughes HUD, monochrome cockpit displays, D80 computer, PP1/PP2 displays processors, three MIL STD 1553B databuses, Microturbo TGA15-090 APU
JAS 39A Batch 2 Follow-on batch of single-seat fighters. Mark 2 avionics fit: Kaiser HUD, D80E computer, PP12 display processors, Microturbo TGA15-328 APU
JAS 39A+ Batch 2 Upgraded single-seat fighter with PS-5/A radar and MACS D96 computer, monochrome cockpit displays
JAS 39B Two-seat operational trainer version of JAS 39A. Internal cannon deleted, fuselage lengthened by 2 ft 2 in (0.655 m), larger cckpit canopy, ventral air intake for air conditoning system. Prototype was a JAS 39A Batch 1 aircraft converted on the producton line.
JAS 39B Batch 2 Initial production version of two-seat operational trainer.
JAS 39C Batch 2 Export Baseline Standard single-seat fighters for Swedish AF. Mark 3 avionics: colour cockpit displays, Sundstrand APU
JAS 39C Batch 3 Follow-on Export Baseline Standard single-seat fighters for Swedish AF. Mark 4 avionics: much larger LCD colour cockpit displays, five MIL STD 1553B databuses, RM12UP engine with FADEC.
JAS 39D Batch 3 Follow-on batch of two-seat operational trainers.
JAS 39C/D SAAF Export Baseline Standard aircraft with substantial South African avionics and equipment for delivery to the SAAF.
JAS 39E/F Designation reserved for proposed upgraded version with an AESA electronically scanned radar.
JAS 39G/H Designation reserved for further upgraded version at some point in the future.
JAS 39X Generic designation for export version.

History

Key Dates:
mid 1980    Definition phase initiated.
3 June 1981    JAS 39 design presented to the FMV.
30 June 1982    Development contract with IG JAS signed for 5 development aircraft and 30 Batch 1 aircraft.
26 April 1987    First prototype (JAS 39-1) rolled out.
9 December 1988    Maiden flight of first prototype.
2 February 1989    First prototype lost in landing accident.
4 May 1990    Second prototype makes maiden flight.
23 October 1991    Fifth and last prototype makes maiden flight.
26 June 1992    Batch 2 production contract signed for 110 aircraft, including JAS 39B version.
10 September 1992    Maiden flight of first production aircraft (JAS 39.101).
8 June 1993    First JAS 39 delivered to FMV (JAS 39.102).
8 August 1993    Gripen (JAS 39.102) crashes during flying display in Stockholm due to FCS software problem.
29 December 1993    Flight testing resumed with JAS 39-2.
November 1994    First JAS 39A delivered to Swedish AF.
September 1995    Roll out of first JAS 39B Gripen 2-seater
November 1995    Saab-BAE SYSTEMS joint venture established.
29 April 1996    First test flight of two-seater Gripen.
9 June 1996    First Gripen officially handed over to Swedish AF (F7 Wing)
22 November 1996    First production 2-seater maiden flight
13 December 1996    Batch 3 order placed.
June 1997    Export Baseline Standard defined.
1997    First JAS 39B delivered to Swedish AF.
March 1998    First test firing of AIM-120 AMRAAM from Gripen.
1998    BAe buys 35% stake in Saab.
18 November 1998    SAAF announces intention to order Gripen.
3 December 1999    First export order for Gripen signed with South Africa.
2001    'Gripen International' marketing company established.
6 Sept 2002    1st Batch 2 JAS 39C delivered to FMV.
2003    Batch 3 deliveries begin.
May 2005    First deliveries to Czech Republic.
early 2006    First deliveries to Hungary.
August 2006    First deliveries to South Africa.
2012    Last delivery to South Africa.

 

Production

Chief Designer: Not known
Design Office: Saab Aerospace, Linköping, Sweden

Batch summary:

Prototypes

 

 5aircraft

Batch 1

 

 30 aircraft

Batch 2

 

110 aircraft

Batch 3

 

 64 aircraft

SAAF

 

 28 aircraft

Saab Aerospace
(Saab Aerospace, S-581 88, Linköping, Sweden.)
Version Quantity Assembly Location Time Period
JAS 39 protos. 5 Linköping 1986-Oct 1991
JAS 39A Batch 1 30* Linköping 1992-1996
JAS 39B proto. (1) Linköping 1994-Sept 1995
JAS 39A Batch 2 61 Linköping 1996-2001
JAS 39A+ Batch 2 14 Linköping 2001-2002
JAS 39C Batch 2 20 Linköping 2002-2003
JAS 39B Batch 2 14 Linköping 1996-2003
JAS 39C Batch 3 50 Linköping 2003-2007
JAS 39D Batch 3 14 Linköping 2003-2007
JAS 39C SAAF 19 Linköping 2003-2012
JAS 39D SAAF 9 Linköping Oct 2003-2012
Total: 237    
* Last aircraft converted to JAS 39B prototype on the production line.
Total Produced: 237 a/c

โดยคุณ ลุงหมี เมื่อวันที่ 22/10/2007 03:17:56


ความคิดเห็นที่ 18


ข้อมูลของคุณลุงหมีตรงกับที่ผมหามาเลย ยกเว้นอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราจาก CZK และ forint เป็น $US

มูลค่าเงินตราจาก CZK และ forint เป็น $US ผมเอามาจากเวบ flightglobal คุณลุงหมี และคุณ Skyman ลองเช็คดูครับ

 

แอฟริกาใต้

28 Gripen C/D R10.9 billion ประมาณ $1900 million ประมาณ$67.85ล้าน ต่อลำ http://www.flightglobal.com/articles/1998/11/25/45343/south-africa-picks-hawk-and-gripen-for-modernisation.html

 

โดยแบ่งออก เป็นดังนี้

Gripen 1เครื่อง $34 ล้าน  

ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย ของ อะไหล่ อุปกรณ์ภาคพื้นดิน อุปกรณ์การฝึก และการฝึกบุคลากร (นักบินและช่างเครื่อง) ต่อลำ $20 ล้าน

รายละเอียด จาก หนังสือ Saab Gripen: Sweden’s 21st Century Multi-role Aircraft เขียนโดย Gerard Keijsper ลงไว้ว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย $20 ล้าน ต่อลำ รวม

·       Operational support and ground support equipment

·       Spares

·       Initial logistic support equipment

·       The mission planning and ground system

·       Nonrecurring engineering and testing

·       Technical training

·       Flying training

·       Training aids

·       Technical publications

·       Technical support services

·       Programme management and customer liaison

 

บวกภาษีมูลค่าเพิ่ม VAT ของ ประเทศสวีเดน 25%

http://www.defense-aerospace.com/dae/articles/communiques/FighterCostFinalJuly06.pdf

(34+20) x28 x1.25 = $1890 million ประมาณ $1900 million

 

เชค

เช่า Gripen C/D จำนวน 14 ลำ เป็นระยะเวลา10ปี มูลค่า 19.650 billion CZK ($764Million)รวมอะไหล่ 10ปี อุปกรณ์ภาคพื้นดิน อุปกรณ์การฝึก และการฝึกบุคลากร (นักบินและช่างเครื่อง)

http://www.gripen.com/en/MediaRelations/News/2004/040614_cz.htm

http://www.flightglobal.com/articles/2004/03/09/178617/czech-republic-poised-to-order-jas39-gripens.html

 

ฮังการี่

เช่า และ ซื้อ (Lease to Buy) 30ปี Gripen C/D (remanufactured from Gripen A/B) จำนวน 14 ลำ เป็นเช่า ระยะเวลา 10ปี มูลค่า 138 billion forint ($607.2 Million) รวมอะไหล่ 10ปี อุปกรณ์ภาคพื้นดิน อุปกรณ์การฝึก และการฝึกบุคลากร (นักบินและช่างเครื่อง)

http://www.flightglobal.com/articles/2003/02/11/161502/renegotiated-lease-gives-hungary-updated-gripen.html

 

ใครอยากรุ้ข้อมุล Gripen มากกว่านี้ ผมแนะนำหนังสือ Saab Gripen: Sweden’s 21st Century Multi-role Aircraft เขียนโดย Gerard Keijsper ครับ

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 22/10/2007 07:11:59


ความคิดเห็นที่ 19


ซื้อ"กริพเพน" เจอสหรัฐกดดัน มรสุมลูกใหม่ของกองทัพอากาศ
21 ตุลาคม 2550 21:24 น.

ทอ.เจอมรสุมลูกใหม่แม้ ครม.จะอนุมัติให้จัดซื้อ "กริพเพน" ด้วยงบผูกพัน 10 ปี 3.4 หมื่นล้าน แต่ก็ต้อง "เจอตอ" เมื่อบริษัทค้าอาวุธสหรัฐส่งหนังสือมาทวงถามว่า เหตุใดจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่กองทัพไทยเคยซื้อเครื่องตระกูล เอฟ มาหลายสิบปี

"ทางล็อกฮีตมาร์ตินทวงถามว่า เหตุใดไทยจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่ไทยและสหรัฐเคยเป็น "พันธมิตรนอกนาโต" มาอย่างแน่นแฟ้น ยาวนาน แถมเครื่องทั้ง เอฟ5 และเอฟ 16 ก็เคยซื้อของสหรัฐมาตลอดหลายสิบปี!!" 

ในที่สุดกองทัพอากาศ (ทอ.) ก็ได้เฮกันดังๆ เมื่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติงบประมาณผูกพัน 10 ปี มูลค่ารวม 34,400 ล้านบาท เพื่อจัดซื้อเครื่องบินขับไล่รุ่น JAS-39 GRIPEN ของประเทศสวีเดน

เพื่อนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่F-5 E ซึ่งใช้งานมา 30 กว่าปี และใกล้ปลดประจำการเต็มที 

อันที่จริงความเป็นมาของโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี2546 โดย ทอ.วางยุทธศาสตร์ไว้ที่การดูแลเขตเศรษฐกิจในพื้นที่ "ภาคใต้" บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

โดยเครื่องที่อยู่ในข่ายพิจารณามีอยู่3 รุ่น คือ F-16 C/D ของสหรัฐอเมริกาJAS-39 GRIPEN ของสวีเดน และ SU-30 MK ของรัสเซีย

แต่แผนการจัดซื้อก็ต้องมีอัน"สะดุด" เรื่อยมาด้วยเหตุผลเรื่องงบประมาณ และข้อครหาเรื่อง "คอมมิชชั่น" 

กว่าจะคืบก็ต้องรอถึงรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยทหารซึ่งกระทรวงกลาโหมได้เสนอเรื่องขอความเห็นชอบหลักการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18 ก/ข (F-5E) ลงวันที่ 1 มิถุนายน 2550

พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 พิจารณากลั่นกรองโดยได้จัดให้มีการประชุมเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2550

คณะกรรมการมีมติให้ทอ.นำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีโดยตรง โดย พล.อ.อ.ชลิตพุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ(ผบ.ทอ.) พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2550

เมื่อวันที่12 ตุลาคม 2550 จึงมีการประชุม "วาระพิเศษ" มีผู้เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 

พล.อ.สุรยุทธ์พล.อ.พงษ์เทพเทศประทีป เลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายวุฒิพันธ์วิชัยรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ นายสมศักดิ์โชติรัตนศิริ ผู้อำนวยการจัดทำงบประมาณด้านเศรษฐกิจ 5 สำนักงบประมาณ

พล.อ.อ.ชลิตพุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศพล.อ.อ.อิทธพรศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ และ พล.อ.ท.ม.ล.สุทธิรักษ์เกษมสันต์ ปลัดบัญชีทหารอากาศ

นายกรัฐมนตรี"เห็นชอบด้วย" และสั่งการให้บรรจุเข้าวาระการประชุม ครม. เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2550 กระทั่งมีมติจัดซื้อในที่สุด 

เดิมกองทัพอากาศเสนอของบประมาณ3.4 หมื่นล้านบาท เป็นงบผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 แต่รัฐบาลท้วงติงเรื่องงบประมาณที่สูงเกินไป

ทอ.จึงเสนอไปใหม่ว่าจะขอแบ่งการจัดซื้อเป็น 2 เฟส...

เฟสแรก จำนวน 6 เครื่อง เป็นเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท เป็นงบผูกพันตั้งแต่ปี 2551-2555

เฟสสุดท้าย จำนวน 6 เครื่อง เป็นเงิน 15,400 ล้านบาท เป็นงบผูกพันตั้งแต่ปี 2556-2560

เครื่องรุ่นนี้จะนำมาทดแทนเครื่องเอฟ 5 ที่ประจำการอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552-2554 

ปัจจุบันมีกองทัพอากาศ4 ชาติที่มีเครื่องบินรุ่นนี้ประจำการอยู่คือ สวีเดน185 เครื่อง แอฟริกาใต้ 28 เครื่อง สาธารณรัฐเช็ก12 เครื่อง และฮังการี14 เครื่อง

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ทอ.ตัดสินใจเลือกเครื่องจากสวีเดนนอกเหนือจากสมรรถนะก็คือ "ของแถม" ที่มากมายเป็นประวัติการณ์ ได้แก่

1.เครื่องบินแอร์บอร์นเออร์ลี่ วอร์นนิ่ง จำนวน2 เครื่อง

2.ขีปนาวุธโจมตีอาร์บีเอส15 พร้อมเรดาร์ ERIEYES จำนวน2 ตัว ติดเครื่องบิน SAAB 340 จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องบิน SAAB เครื่องเปล่าอีก 1 เครื่อง

พร้อมทั้งให้"รหัสข้อมูลพิเศษ" เกี่ยวกับรายละเอียดของเครื่องบิน ซึ่งบริษัทอื่นไม่ได้มอบสิ่งนี้ให้ โดยรหัสพิเศษชุดนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีในอนาคตของกองทัพอากาศ 

ขณะที่ระบบสื่อสารปกติภาคพื้นดินปกติจะต้องมีสายในการติดต่อพูดคุยแต่กริพเพนมีเทคโนโลยีไร้สาย หรือ "บลูทูธ" ในการสื่อสาร

ผู้เชี่ยวชาญด้านอากาศยานระบุว่า ของแถมมากับเครื่องบินกริพเพน คือ เรดาร์ ERIEYES จำนวน2 ตัว ติดเครื่องบิน SAAB 340 จะเป็นจานเรดาร์ที่ติดตั้งไว้บริเวณตัวเครื่องบิน เมื่อเครื่องบินมีการติดจานเรดาร์เวลานำเครื่องบินสู่อากาศจะทำให้ตรวจจับสิ่งผิดปกติได้ไกลขึ้น 

"เวลาฝึกยุทธวิธีร่วมโคปไทเกอร์ระหว่างสิงคโปร์กับสหรัฐ ทั้งสองประเทศจะมีเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศเข้ามาฝึกด้วย ทำให้มีประสิทธิภาพสูง เพราะสามารถตรวจจับเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามที่อยู่ได้ไกลกว่าเรดาร์ที่ติดอยู่กับเครื่องบินอย่างเดียว"

ข้อดีอีกอย่างของกริพเพนคือระบบดาต้า ลิงค์ ซึ่งเหมือนระบบเชื่อมโยงข้อมูลของ"อินเทอร์เน็ต" ระหว่างเครื่องบินกับเครื่องบิน

"สมมติมีสิ่งผิดปกติลอยอยู่บริเวณพื้นที่ กทม. และเรามีเอแวคอยู่บริเวณ จ.สระบุรี ข้อมูลก็จะปรากฏอยู่บนจอเรดาร์ไกลถึง จ.นครราชสีมา แต่หากเป็นเครื่องบินทั่วไปจะปรากฏอยู่แค่บริเวณปริมณฑลเท่านั้น ทั้งนี้ เรดาร์ของกริพเพนอาจจะด้อยกว่าของ ซู-30 หรือ เอฟ 16 แต่เรดาร์ของกริพเพนสามารถต่อสัญญาณถึงกันได้ ซึ่งเครื่องแบบอื่นไม่สามารถทำได้"

นอกจากนี้ประเทศสวีเดนยังให้ทุนการศึกษาจำนวน 200 ทุน โดยเป็นทุนเกี่ยวกับด้านวิศวกรรมอากาศยาน

มองลึกไปอีกชั้น...ยุทธศาสตร์ของสวีเดนคือป้องกันภัยคุกคามจาก "รัสเซีย" เจ้าของ ซู-30 เป็นสำคัญ ด้วยเหตุนี้กริพเพนจึงถือว่ามีความเหมาะสม เพราะอย่างน้อย...เพื่อนทางทิศใต้ของเราก็มี ซู-30 ไว้ประจำการอยู่ก่อนแล้ว !!!

แต่ฝันที่ทำท่าว่าจะอยู่ใกล้แค่เอื้อมของเหล่าเสืออากาศคงต้อง"ลุ้นหนัก" กันอีกยกเมื่อบริษัท ล็อกฮีตมาร์ติน ยักษ์ใหญ่ค้าอาวุธจากสหรัฐได้ทำหนังสือทวงถามมายังกระทรวงการต่างประเทศ และส่งผ่านถึงกองทัพอากาศว่าเหตุใดจึงเปลี่ยนมาซื้อเครื่องจากยุโรปแทน

เนื้อหาในหนังสือฉบับดังกล่าวทางล็อกฮีตมาร์ตินทวงถามว่า เหตุใดไทยจึงปันใจให้สวีเดน ทั้งที่ไทยและสหรัฐเคยเป็น "พันธมิตรนอกนาโต" มาอย่างแน่นแฟ้นยาวนาน แถมเครื่องทั้ง เอฟ5 และเอฟ16 ก็เคยซื้อของสหรัฐมาตลอดหลายสิบปี!! 

อย่างไรก็ตามวงในของกองทัพอากาศก็เชื่อว่าจะไม่เป็นปัญหาต่อการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพน โดยหากสหรัฐจะไปบีบให้สวีเดนล้มเลิกสัญญากับไทย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีการรัฐประหาร เราก็เตรียมแก้เกมไว้แล้ว โดยอาจจะมีการเซ็นเอ็มโอยูให้อียูเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งในไทย และส่งต่อให้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นผู้เปิดแอลซี ซึ่งสหรัฐคงไม่มีเหตุผลที่จะมากดดันได้อีก

วงในบอกด้วยว่าเหตุที่ตัด เอฟ 16 ออกไปนั้นเนื่องจากเมื่อติดต่อขอทราบรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องบินและการเสนอราคา บริษัทล็อกฮีตมาร์ตินก็ไม่ได้สนใจที่จะติดต่อกลับมามากนัก และยังไม่ยอมลดราคาให้ด้วย ซึ่งถือว่ามีราคาแพงมากเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ ด้วยเหตุนี้กองทัพอากาศจึงทำการตัดเครื่องเอฟ 16 ออกไปเป็นตัวเลือกแรก

ส่วนข้อกังวลว่า "อะไหล่" ที่จะมาสนับสนุนให้แก่เครื่อง F-16 A/B ของกองทัพอากาศสหรัฐอาจจะไม่ขายให้นั้น วงในคนเดิมบอกว่า ไม่มีปัญหา เพราะกองทัพได้เตรียมแก้ปัญหานี้ไว้แล้ว ปัจจุบันทางสิงคโปร์มีเครื่อง F-16 C/D ประจำการอยู่เป็นหลัก

ทั้งนี้สิงคโปร์ก็มีเครื่อง F-16 A/B ประจำการอยู่และมีอะไหล่สำรองไว้ด้วย ฝ่ายไทยจึงสามารถขอความช่วยเหลือเรื่องอะไหล่ได้ โดยมี "ข้อแลกเปลี่ยน" เป็น "สถานที่ฝึกบิน" ในฐานทัพอากาศไทย !!

ฝันของเสืออากาศไทยทำท่าจะเป็นจริงได้หรือไม่...แรงกดดันจากมหามิตรอเมริกาจะมีฤทธิ์เดชแค่ไหน...ต้องติดตามดูให้ดี!

ทีมข่าวความมั่นคง

http://www.komchadluek.net/2007/10/mili/u001_164293.php?news_id=164293
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 22/10/2007 07:27:40


ความคิดเห็นที่ 20


ผมไม่ค่อยมั่นใจนะครับว่า คนวงในที่คมชัดลึกอ้างนี่น่าเชื่อถือแค่ไหนเพราะ ปัจจุบัน สิงคโปร์ไม่มี F-16 A/B ใช้แล้วเพราะโอนให้กองทัพอากาศไทยไปแล้วแต่ก็ยอมรับว่าเหตุผลที่ไม่เลิก F-16 C/D เพราะราคาแพงกว่าแบบอื่น อาจเป็นไปได้จริงเพราะ เราซื้อ F-16 A/B ฝูงบิน403 ใน ราคาแพงเกินไป ($607ล้าน)

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 22/10/2007 07:30:01


ความคิดเห็นที่ 21


สหรัฐอย่ามาเน่า....คุณยกเลิกพันธมิตรนอกนาโต้ของไทยไปแล้ว เหตุไฉนจึงเอามาอ้าง ไทยเป็นประเทศเอกราช จะซื้อของใคร เป็นสิทธิของเรา

ว่าแล้วไปถอย Su-30MKIT มาอีกสักฝูงดีไหม กร๊ากกกกกกกกก

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/10/2007 07:43:10


ความคิดเห็นที่ 22


แซวไปแล้ว ต่อจากนี้เป็นเรื่องซีเรียสครับ

สวีเดนเจอมาเยอะครับ กรณีของสหรัฐคือ ถ้าใครสนใจเครื่องสวีเดน สหรัฐจะใช้วิธีการที่น่ารัก ๆ อย่าง งดขายอาวุธ งดขายอะไหล่ หรืออะไรก็ว่าไป ........ ทางสวีเดนจึงจับสหรัฐเซ็นสัญญาซึ่งหมายความว่า ......... ในกรณีที่มีเครื่องบินของสหรัฐและสวีเดนเข้าแข่งขันในประเทศใด และถ้าสหรัฐจะทำการปิดกั้นการขายกับชาติลูกค้า สหรัฐก็จะต้องปิดกั้นการขายเครื่องของประเทศตัวเองด้วย........อย่างในกรณีของไทย ถ้าสหรัฐปิดกั้นการขาย Gripen เขาจะต้องปิดกั้นการขาย F-16 ของตนด้วย......... ผมยังไม่มีรายละเอียดที่มากกว่านี้ของสัญญา ถ้ามีจะเอามาบอกกันครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/10/2007 07:46:57


ความคิดเห็นที่ 23


เอ น่าสนใจมากครับคุณสกายแมนเรื่องนี้

 

ถ้ายังไงหาข้อมูลได้แล้ว เกิดผมลืมยังไง รบกวนแปะให้ใน msn ด้วยนะครับ หรือส่งอีเมล์มาให้จะขอบพระคุณมากครับ

 

หึหึหึหึหึ (ชอบมากเรื่องการเมืองระหว่างประเทศเน่าๆ)

โดยคุณ BloodRoyal เมื่อวันที่ 22/10/2007 09:41:33


ความคิดเห็นที่ 24


^
^
^
ได้จ้า

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/10/2007 10:38:56


ความคิดเห็นที่ 25


ขอทราบ ข้อมูล Update ของคุณ Skyman ไม่ทราบทางมติชน เขาตอบไหมครับ อยากทราบคำชี้แจ้งของเขานะครับ ถ้าตอบอย่าลืมลงให้ดูด้วยนะครับ

ปล. สนับสนุน เจ้า Jas 39 น่าจะเหมาะกับประเทศไทย หวังว่าคงผ่ามรสุมอันนี้ไปได้

โดยคุณ Pad Thai เมื่อวันที่ 22/10/2007 12:04:45


ความคิดเห็นที่ 26


^
^
^
^
เอ...กรณีไหนเหรอครับ....ถ้าเรื่องผมเถียงข้อมูลมติชน ผมไม่ได้แจ้งเขาครับ เพราะแจ้งไปก็ป่วยการครับ เขาไม่สนใจหรอก
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 22/10/2007 12:21:19


ความคิดเห็นที่ 27


ขอบคุณครับ คุณ Skyman นึกว่าจะให้เขาชี้แจ้ง อยากรู้ว่าพวกเขาจะฃชี้แจ้งว่าอย่างไรนะครับ

โดยคุณ Pad Thai เมื่อวันที่ 23/10/2007 14:19:00


ความคิดเห็นที่ 28


ก็บอกแล้วงัยว่าไอ้กันมันโคตรเรื่องมากตอนนี้ทำมาเป็นอ้างว่าเขาและเราเป็นพันธมิตรกันแต่ว่าไม่ยอมขายให้เราซะงั้นถึงเรามีรัฐบาลที่มาการเลือกตั้งถึงขายให้ก็ขายให้แค่ตัวเครื่องส่วนของแถมไม่แถมให้สักอย่างรวมถึงอาวุธต่างก็โคตรหวงมากกกกกกกกกกกกกไม่ขายอาวุธที่ทันสมัยเช่นaim9ก็ไม่ยอมขายรุ่นแอลให้แต่ขายเฉพาะรุ่นm/pให้หรือaim-120ถึงขายให้ก้ไม่ยอมให้เราเก็บใว้แต่ไปเก็บใว้คลังของมันแทนนี้ละหรือพันธมิตรเขาทำกันแบบนี้เหรอเราเป็นประเทศทีมีเอกราชเราจะซื้ออาวุธอะไรมันก็เรื่องของเราในเมื่อคุณไม่ขายให้แต่เราจำเป็นต้องซื้อเพื่อมาแทนของเก่าเราไปซื้อที่ทีเขายอมขายให้และถูกกว่าแถมได้ของแถมอีก

 

โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 24/10/2007 16:55:10


ความคิดเห็นที่ 29


ก็บอกแล้วงัยว่าไอ้กันมันโคตรเรื่องมากตอนนี้ทำมาเป็นอ้างว่าเขาและเราเป็นพันธมิตรกันแต่ว่าไม่ยอมขายให้เราซะงั้นถึงเรามีรัฐบาลที่มาการเลือกตั้งถึงขายให้ก็ขายให้แค่ตัวเครื่องส่วนของแถมไม่แถมให้สักอย่างรวมถึงอาวุธต่างก็โคตรหวงมากกกกกกกกกกกกกไม่ขายอาวุธที่ทันสมัยเช่นaim9ก็ไม่ยอมขายรุ่นแอลให้แต่ขายเฉพาะรุ่นm/pให้หรือaim-120ถึงขายให้ก้ไม่ยอมให้เราเก็บใว้แต่ไปเก็บใว้คลังของมันแทนนี้ละหรือพันธมิตรเขาทำกันแบบนี้เหรอเราเป็นประเทศทีมีเอกราชเราจะซื้ออาวุธอะไรมันก็เรื่องของเราในเมื่อคุณไม่ขายให้แต่เราจำเป็นต้องซื้อเพื่อมาแทนของเก่าเราไปซื้อที่ทีเขายอมขายให้และถูกกว่าแถมได้ของแถมอีก

-------------------------------------------------------------------------

AIM-9M มีประสิทธิภาพสูงกว่ารุ่นแอลครับ

อามราม ไม่ขอบอกครับ ผู้รู้ไม่บอก ที่บอกคือผู้ไม่รู้

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 24/10/2007 17:36:12