บก.ทอ. 17 ต.ค. 50 ผบ.ทอ. ระบุกองทัพอากาศจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบกริฟเฟนของสวีเดน ผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะมีระบบที่ทันสมัย เหมาะสมกับการใช้งานในยุทธศาสตร์ของกองทัพ ชี้เป็นงบประมาณประจำปี ไม่ได้ขอพิเศษ
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ แถลงถึงการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5 B/E ) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง ในวงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ 2551 -2555 พร้อมอะไหล่อุปกรณ์การฝึกอบรม การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน ว่า เป็นการใช้งบประมาณของกองทัพอากาศในกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีที่ได้รับ ไม่ได้ขอเพิ่มพิเศษแต่อย่างใด ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่เหมาะสม โดยเป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ กำหนดกรอบหลักเกณท์จัดหาต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ในการวางกำลังทางภาคใต้ สำหรับภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ สามารถสนับสนุนและปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้
ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวด้วยว่า เครื่องบินดังกล่าวจะต้องมีระบบความคุมการบินการสื่อสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ สามารถติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน รวมถึงมีระบบบัญชาการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องบินที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาขั้นสุดท้ายของกองทัพอากาศ คือ เครื่องบินเอฟ 16 C/D ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบิน SU- 30 MK ของประเทศรัสเซีย และเครื่องบิน JAS 39 หรือ GRIPEN ของประเทศสวีเดน ซึ่งจากการพิจารณากองทัพอากาศจึงได้ตัดสินใจที่จะซื้อเครื่องบินของประเทศสวีเดน โดยเครื่องบินดังกล่าวจะประจำการได้เป็นเวลา 20 ปี และประจำการที่กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี
เป็นพื้นฐานการพัฒนากองทัพอากาศในด้านต่าง ๆ ทั้งบุคลากร การถ่ายภาพเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษา เพื่อให้สามารถดูแลและบำรุงรักษาเครื่องบินได้ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง โดยบริษัทผู้ผลิตจะมอบรหัสข้อมูลต้นแบบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่ออากาศยานและระบบอาวุธ ซึ่งจะทำให้บุคลากรของกองทัพอากาศสามารถต่อยอดการพัฒนาได้โดยตรงในอนาคต เรื่องนี้ประเทศผู้ผลิตประเทศอื่น ๆ ไม่สามารถให้กับกองทัพอากาศได้ พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า กองทัพอากาศได้เริ่มโครงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 และวางแผนไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2549 แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงต้องเลื่อนการดำเนินงานมาเป็นปี 2551 อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ทันในรัฐบาลชุดนี้ ส่วนการจัดหาระยะที่ 2 อีก 6 เครื่องนั้น สามารถดำเนินการได้หลังจากที่เครื่องบินระยะที่ 1 เข้าประจำการแล้ว 2-3 ปี แต่ขึ้นอยู่กับความเห็นของรัฐบาลและสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ขณะเดียวกัน ยืนยันว่ากองทัพอากาศจะใช้เงินภาษีของประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ด้าน พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ กล่าวว่า การจัดหาเครื่องบินดังกล่าวจะใช้เวลาในการผลิตประมาณ 3-4 ปี และจะต้องใช้เวลาในการฝึกนักบินอีกประมาณ 1 ปี จึงจะมีขีดความสามารถเพียงพอ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศได้ในปี 2554 ซึ่งเป็นระยะยเวลาที่พอดีกับการปลดประจำการของเคลื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข(เอฟ-5 B/E).-สำนักข่าวไทย
ที่มา:http://www.msnth.com/msn/news/live/articles.aspx?id=176189&ch=pl1
เนชั่นทันข่าว
ผบ.ทอ. ระบุจะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่สวีเดน 6 ลำ 1.9 หมื่นลบ. |
15:39 น. พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผบ.ทอ. กล่าวว่า ทอ.จะจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบ JAS-39 Gripen จากสวีเดน จำนวน 6 ลำ มูลค่า 1.9 หมื่นล้านบาท โดยใช้งบผูกพันตั้งแต่ปี 51-55 เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่เอฟ-5 ที่ประจำการอยู่จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 52-54 ซึ่งเป็นระยะที่หนึ่ง จำนวน 6 ลำ พร้อมอะไหล่ อุปกรณ์ การฝีกอบรม การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐาน และอาคารสถานที่ระหว่างปี 51-55 วงเงิน 19,000 ล้านบาท โดยใช้งบประมาณของ ทอ.ที่ได้รับการจัดสรร
วานนี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้อนุมัติในหลักการให้ทอ.ดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ-5 ที่ใช้งานมานาน ทั้งนี้ ทอ.มีแผนจัดซื้อเครื่องบินทั้งสิ้น 12 ลำ โดยจะแบ่งเป็นระยะแรก 6 ลำในปี 51-54 และอีก 6 ลำในโอกาสต่อไป ผบ.ทอ.กล่าวถึงสาเหตุที่เลือกซื้อเครื่องบินขับไล่จากสวีเดนว่า สวีเดนได้เสนอโครงการขายเครื่องบินพร้อมการซ่อมบำรุงและอะไหล่ มีการถ่ายทอดเทคโนโยลี พร้อมเสนอประโยชน์อื่นๆให้กับประเทศไทยลักษณะความร่วมมือไทย-สวีเดน ซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวม "เป็นประเทศเดียวที่ให้รหัสข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อการนำมาพัฒนาระบบเทคโนโลยีได้ด้วยตนเอง ไม่มีประเทศไหนกล้าให้ข้อมูลนี้กับประเทศไทย"พล.อ.อ.ชลิต กล่าว เขากล่าวอีกว่า การจัดซื้อเครื่องบินดังกล่าวจะเป็นการสร้างกำลังทางอากาศไว้เป็นรากฐานด้านความมั่นคงของไทย ทอ.มีแผนจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ทดแทนเอฟ-5 มาตั้งแต่รัฐบาลชุดที่ผ่านมา โดยพล.อ.อ.ชลิตแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบ ซึ่งทอ.สนใจ 3 รุ่น คือ เอฟ-16 ซีดีของสหรัฐ, ซู-30 ของรัสเซีย และ Gripen ของสวีเดน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปกระทั่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาล |
ทอ.แจงงบจัดซื้อเครื่องบินขับไล่สวีเดน ทดแทนรุ่นเอฟ 5 ย้ำเหมาะสม |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 17 ตุลาคม 2550 16:55 น. |
ผบ.ทอ.ชี้ถึงความจำเป็นในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ของสวีเดนจำนวน 6 เครื่องเพื่อทดแทนเครื่องเอฟ 5 ที่จะปลดประจำการในปี 54 การันตีเหมาะสม วงเงิน 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบ 5 ปี มีอายุประจำการนาน 20 ปี ลั่นไม่ได้ขอพิเศษ
วันนี้ (17 ต.ค.) พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ แถลงถึงการดำเนินโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข (เอฟ-5 B/E ) ระยะที่ 1 จำนวน 6 เครื่อง ในวงเงินกว่า 19,000 ล้านบาท ผูกพันงบประมาณ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 พร้อมอะไหล่อุปกรณ์การฝึกอบรม การจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานว่า เป็นการใช้งบประมาณของกองทัพอากาศในกรอบวงเงินงบประมาณประจำปีที่ได้รับ ไม่ได้ขอเพิ่มพิเศษแต่อย่างใด ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องบินที่เหมาะสม โดยเป็นเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ กำหนดกรอบหลักเกณท์จัดหาต้องมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องในอนาคต มีความเหมาะสมตามสภาพภูมิยุทธศาสตร์ ในการวางกำลังทางภาคใต้ สำหรับภารกิจการป้องกันภัยทางอากาศ สามารถสนับสนุนและปฏิบัติการร่วมกับเหล่าทัพอื่น คุ้มครองผลประโยชน์ของชาติทางทะเลได้
ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวด้วยว่า เครื่องบินดังกล่าวจะต้องมีระบบความคุมการบินการสื่อสาร เครื่องช่วยเดินอากาศ สามารถติดตั้งระบบอาวุธที่ทันสมัยเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีกับเครื่องบินฝ่ายเดียวกัน รวมถึงมีระบบบัญชาการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับเครื่องบินที่อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาขั้นสุดท้ายของกองทัพอากาศ คือ เครื่องบินเอฟ 16 C/D ของสหรัฐอเมริกา เครื่องบิน SU-30 MK ของประเทศรัสเซีย และเครื่องบิน JAS 39 หรือ GRIPEN ของประเทศสวีเดน ซึ่งจากการพิจารณากองทัพอากาศจึงได้ตัดสินใจที่จะซื้อเครื่องบินของประเทศสวีเดน โดยเครื่องบินดังกล่าวจะประจำการได้เป็นเวลา 20 ปี และประจำการที่กองบิน 7 จ.สุราษฎร์ธานี
เป็นพื้นฐานการพัฒนากองทัพอากาศในด้านต่างๆ ทั้งบุคลากร การถ่ายภาพเทคโนโลยีของอากาศยาน การฝึกศึกษา เพื่อให้สามารถดูแลและบำรุงรักษาเครื่องบินได้ บนพื้นฐานของการพึ่งพาตนเอง โดยบริษัทผู้ผลิตจะมอบรหัสข้อมูลต้นแบบพื้นฐานที่มีความสำคัญต่ออากาศยานและระบบอาวุธ ซึ่งจะทำให้บุคลากรของกองทัพอากาศสามารถต่อยอดการพัฒนาได้โดยตรงในอนาคต เรื่องนี้ประเทศผู้ผลิตประเทศอื่นๆ ไม่สามารถให้กับกองทัพอากาศได้ พล.อ.อ.ชลิต กล่าว
ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวว่า กองทัพอากาศได้เริ่มโครงการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตั้งแต่ปี 2546 และวางแผนไว้เรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2549 แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณจึงต้องเลื่อนการดำเนินงานมาเป็นปี 2551 อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินการได้ทันในรัฐบาลชุดนี้ ส่วนการจัดหาระยะที่ 2 อีก 6 เครื่องนั้น สามารถดำเนินการได้หลังจากที่เครื่องบินระยะที่ 1 เข้าประจำการแล้ว 2-3 ปี แต่ขึ้นอยู่กับความเห็นของรัฐบาลและสภาวะเศรษฐกิจในขณะนั้น ขณะเดียวกัน ยืนยันว่ากองทัพอากาศจะใช้เงินภาษีของประชาชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ด้าน พล.อ.อ.อิทธพร ศุภวงศ์ เสนาธิการทหารอากาศ กล่าวว่า การจัดหาเครื่องบินดังกล่าวจะใช้เวลาในการผลิตประมาณ 3-4 ปี และจะต้องใช้เวลาในการฝึกนักบินอีกประมาณ 1 ปี จึงจะมีขีดความสามารถเพียงพอ พร้อมปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศได้ในปี 2554 ซึ่งเป็นระยะยเวลาที่พอดีกับการปลดประจำการของเคลื่องบินขับไล่แบบที่ 18 ก/ข(เอฟ-5 B/E)
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9500000123231
"ขิงแก่"ไฟเขียว ทอ.ซื้อเครื่องบินรบสวีเดน 3.4 หมื่นล้าน |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 16 ตุลาคม 2550 19:38 น. |
|
ถึงคิวทอ.-อนุมัติบิ๊กล็อต 3.4หมื่นล้าน ซื้อเครื่องบินรบ"สวีเดน"
เฮ้อ ...... อุตส่าห์พิมพ์ซะตั้งยาวๆเกือบ 30 นาที พอส่งปั๊บหายจ้อยหมดเพราะการ LOG IN หลุด
เอาเป็นว่าดีลนี้น่าผิดหวังที่สุด ทั้งๆที่เหมาะสมที่สุดคือ F-16 50/52+
เพราะประสิทธิภาพ JAS-39 C/D นั้นต่ำที่สุดในเครื่อง 3 รุ่น ทั้งประสิทธิภาพเรด้าร์ที่ด้อยกว่าเพื่อน ทั้งนน.บรรทุกที่ด้อยกว่าเพื่อน ทั้งระยะบินที่สั้นที่สุดกว่าเพื่อน ระบบสงครามอิเลคทรอนิคที่ดูจะด้อยกว่าเพื่อน และ ค่าอะไหล่ที่จะต้องเตรียมใจได้เลยว่าแพงแน่ๆและอาจจะหาได้ยากหรืออาจหาไม่ได้เลยเมื่อคราวจำเป็นจวนตัว (ไปถามอิสราเอลสิ เขารู้รสชาติดีจริงๆในคราวสงครามโยมคีปเปอร์ที่หาอะไหล่เครื่องบินรบจากฝรั่งเศสไม่ได้เลย เพราะฝรั่งเศสไม่กล้าส่งให้เนื่องจากถูกชาติอาหรับบีบ นี่ขนาดฝั่งเศสเป็นชาติมหาอำนาจนะนี่)
ราคาประมาณ 1800 ล้านบาทต่อเครื่อง รวมค่าอาวุธและหักค่าเครื่อง AEW&C แล้ว ราคาขนาดนี้สู้ไปซื้อ F-16 50/52+ แล้วไปซื้อ SAAB 340 แยกต่างหากยังถูกซะกว่า
อย่างว่าแหล่ะ ถ้าไม่ซื้อตอนนี้ หลังจากได้รัฐบาลจากการเลือกตั้ง ก็อาจจะไม่ได้เครื่องบินอะไรเลยสักลำ เพราะเศรษฐกิจที่แทบจะพังเนื่องจากการปฎิวัตินั่นเอง
การนำ JAS-39 C/D และ SSM C-802 ของรัฐบาลชุดนี้ ผมยอมรับได้ และยินดีล่วงหน้ากับนักบินของกองบิน 711 ด้วยคับ ในช่วงสองปีที่ผ่านเราสูญเสียเยอะเหลือเกินสำหรับกองบินนี้
ส่วง ท.บ. การจัดหารถหุ้มเกราะ และ ปลย.แบบใหม่เข้าประจำการ ค่อนข้างจะผิดหวังอย่างแรงครับ เปลี่ยนเป็น
BTR-90 กับ AK-101 ยังพอรับได้ แต่ที่จะเอาให้ได้นี่สิดูแล้ว....เฮ้อ...
ผมไม่เห็นจะเสียใจตรงไหนเลยนะ แล้วแต่มุมมองกระมังครับ
ไม่ทราบว่ามีใครทราบบ้างไหมครับว่า jas-39 E/F จะสร้างเมื่อไหร่ผมว่าท.อ.น่าจะรอรุ่นนี้ไปเลยครับไหนๆก็รอกันมานานแล้วรออีกนิดจะไปนไรไป
แบบนี้ต้องขอยินดีกับทอ.ด้วย หลังจากรอคอยมาแสนยาวนาน
รหัสในการต่อยอด ถือว่า โอเค แล้วครับ
และก็ที่เขาจะให้น่าจะเกี่ยวข้องกับการมีบินเตือนภัยให้ด้วยใช่ป่าวครับ
แล้วนักบินเรา ก็ความสามารถ คงไม่ต้องพูดถึงครับ
เราน่าจะพอใจนะครับ เพราะประเทศอื่นไม่มีใครให้รหัสในการต่อยอดได้
ซึ่งก็หมายถึง ไม่จริงใจ จะซื้อก็ซื้อ ไม่ซื้อก็ไม่ซื้อ
เป็นผม ไม่คบมันเลยครับ ไอ้พ่อค้า บ้าเลือด
เพราะเราต้องยืนบนแข้งตัวเองบ้างนะ เงินภาษีนะ ถ้าต่อยอดได้ ประชาชนอย่างผมภูมิใจครับ