ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงกลาโหมกล่าวว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบ 18�� 1� ฝูงบิน 12 ลำ วงเงิน 34,400 ล้านบาท ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 จัดซื้อเครื่องบิน 6 ลำพร้อมอะไหล่อุปกรณ์และการฝึกอบรม วงเงิน 19,000 ล้านบาท ใช้งบผูกพัน 5 ปี (ปี 51-56) ระยะที่ 2 จัดซื้อ 6 ลำ วงเงิน 15,400 ล้านบาท เป็นงบผูกพัน 5 ปี (ปี 56-60 ) โดยเบื้องต้นสำนักงบประมาณจะจัดสรรเงินให้กับกองทัพอากาศในปีแรก (ปี 51) ประมาณ 10% ของวงเงินระยะแรก
�
"ที่ผ่านมาผู้บัญชาการทหารอากาศ ได้เข้าพบนายกรัฐมนตรี เพื่อชี้แจงความจำเป็นในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ เพราะรุ่นที่ใช้อยู่เดิมล้าหลัง ดังนั้นทางกองทัพมีความจำเป็นต้องมีฝูงบินที่ทันสมัยเข้าประจำการแทน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบด้วย"
�
ที่มาหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 17/10/50
ความคิดเห็นที่ 1
พอจะเป็นรูปเป็นร่างแล้วนะครับ
งบ 34,400 ล้านบาท ลองมานึกเล่นๆดีกว่าว่าเป็นเครื่องอะไร
โดยคุณ
nok เมื่อวันที่
17/10/2007 06:06:41
ความคิดเห็นที่ 2
เผอิญ..เมื่อวานฟัง..ข่าวพอดี...เห็น..โฆษก รัฐบาลบอกว่า...วันนี้ (17 ต.ค.50) ผบ.ทอ.จะแถลง.ใน.รายละเอียดเอง...ครับ.....รอลุ้น...กันดีกว่า...ผมว่า..สาว..ยุโรป..ที่เอวบางร่างน้อย..คงเข้าวิน..ง่ะ...ก็..คงแจ๊ส...หรือ..ยาส..มั๊ง..ครับ...
โดยคุณ CAPT.TOM เมื่อวันที่
17/10/2007 06:29:58
ความคิดเห็นที่ 3
Air force to get Gripen jet fighters
Cabinet okays B34bn purchase from Sweden
WASSANA NANUAM
The cabinet yesterday agreed the air force could buy 12 Gripen multi-role fighters from Sweden at a cost of 34.4 billion baht.
The procurement plan has been kept low-profile, with air force chief ACM Chalit Phukphasuk refusing to comment.
Government spokesman Chiya Yimwilai said details would be announced by ACM Chalit today.
The new Gripen-JAS 39C/D aircraft will replace the air force's ageing American-made F-5E fighters.
It is the second major arms procurement approved by the cabinet recently. On Sept 25 it endorsed the Defence Ministry's 7.7-billion-baht plan to buy 96 armoured personnel carriers (APCs) from Ukraine and 15,000 TAR-21 assault rifles from Israel for the army, C-802 surface-to-surface missiles and launch systems for the navy from China, and new avionics for the six C-130H aircraft operated by the air force.
An air force source said the Swedish purchase will be made in two batches.
The first six jets, including spare parts and training programmes, will be bought with a five-year budget of 19 billion baht starting this fiscal year. The 15.4 billion baht cost of the other six planes will be met from the 2013-2017 budget.
The decision to go for the Swedish fighters was made by a committee led by air force chief-of-staff ACM Ittaporn Subhawong, the source said. Air force officials briefed the cabinet on the capabilities of the Gripen yesterday and compared it with other planes on offer.
ACM Chavalit had met Prime Minister Surayud Chulanont on Sept 29 and convinced him to back the purchase. He cited the need for new combat aircraft to match the Russian-made SU-30 MKM fighters now deployed by Malaysia.
The Gripen jets were in the public spotlight when Thaksin Shinawatra was in power. He talked of bartering, paying some of the cost with chickens instead of cash. The idea went nowhere.
Later he ordered then air force chief ACM Kongsak Wantana to switch to the SU-30s. ACM Chalit rejected the plane as unsuited to Thailand's needs when he became the new air force chief.
The source said the Swedish offer was sweetened with the offer of two radar surveillance planes for free.
Meanwhile, army chief Gen Anupong Paochinda said the army would accept any decision made by Defence Minister Gen Boonrawd Somtas on the controversial plan to buy the APCs from Ukraine.
Gen Boonrawd is the person who will make the final decision on whether to ahead with the 3.89-billion-baht APC purchase.
''I can accept any decision by Gen Boonrawd. If he wants to put a stop to it, the purchase will be stopped,'' Gen Anupong said.
The purchase has been frozen by the Defence Ministry despite getting approval from the cabinet. The ministry set up a committee to re-examine the deal and clear up all doubts.
The Office of the Auditor-General also demanded answers from the ministry about the deal. Key questions were why NGV Enterprise, which represented Ukraine, won the contract even though it failed to tender a bid within the specified deadline.
State auditors also questioned the quality of the products.
Gen Anupong said the army had already answered the state auditor's questions and explained to the minister why the Ukrainian vehicles were needed.
He said arms dealers and critics did not know everything. The vehicles from the Ukraine came with German-made engines and were most suited to the army's needs and budget.
http://www.bangkokpost.com/News/17Oct2007_news01.php
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 07:22:28
ความคิดเห็นที่ 4
ข่าวนี้เล่นเอาตาโยส่งsms หาผมแต่เช้าเลย -*- เลยต้องแวะมาดู อ้อ อย่างนี้นี่เอง
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 07:22:38
ความคิดเห็นที่ 5
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 17 ตุลาคม เวลา 13.00 น. ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) เตรียมเปิดแถลงข่าวการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แบบกริพเพน/ซีดี จำนวน 12 ลำ ตามงบประมาณที่ ครม.อนุมัติไปเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดยจะจัดซื้อลอตแรก จำนวน 6 ลำ เป็นจำนวนเงิน 1.9 หมื่นล้านบาท โดยเป็นงบประมาณผูกพัน 5 ปี ตั้งแต่ปี 2551-2555 โดยปี 2551 ตั้งงบไว้ที่ 1,900 ล้านบาท ปี 2552 จำนวน 7,065 ล้านบาท ปี 2553 จำนวน 5,595 ล้านบาท ปี 2554 จำนวน 2,960 ล้านบาท และปี 2555 จำนวน 1,480 ล้านบาท
ส่วนลอตที่สองอีก6 ลำ เป็นงบประมาณผูกพันตั้งแต่ปี 2556-2560 เป็นจำนวนเงิน 15,400 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 12 ลำ เป็นจำนวนเงิน 34,400 ล้านบาท โดยเครื่องบินขับไล่รุ่นนี้จะนำมาทดแทนเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 5 ที่ประจำการอยู่ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และ จ.อุบลราชธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552-2554 แหล่งข่าวกองทัพอากาศเปิดเผยว่า กองทัพอากาศมีแผนในการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่เพื่อมาทดแทนเครื่องบินแบบเอฟ 5 มาตั้งแต่สมัยรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดย พล.อ.อ.ชลิต ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาเพื่อคัดเลือกแบบ โดยกองทัพอากาศให้ความสนใจในเครื่องบิน 3 รุ่น คือ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดีของสหรัฐอเมริกา เครื่องบินซู 30 ของรัสเซีย และเครื่องบินกริพเพนของสวีเดน แต่ยังไม่ได้ข้อสรุปก็มีการเปลี่ยนรัฐบาล
แหล่งข่าวคนเดิมระบุว่า เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็มีการเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับข้อดี-ข้อเสียของเครื่องบินทั้ง 3 แบบ ให้แก่ พล.อ.อ.สมหมาย ดาบเพ็ชร อดีตเสนาธิการทหารอากาศ ในการรวบรวมรายละเอียดเพื่อเสนอต่อ พล.อ.อ.ชลิต ในการพิจารณาคัดเลือกแบบอีกครั้ง โดยจากเดิมได้มีการพิจารณา 3 แบบ ก็ลดเหลือเพียง 2 แบบเท่านั้น คือ เครื่องบินกริพเพนจากประเทศสวีเดน กับ เครื่องบินเอฟ 16 ซีดี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนเครื่องบินซู 30 คณะกรรมการคัดเลือกแบบได้ตัดทิ้ง โดยให้เหตุผลว่า เครื่องบินซู 30 เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่ไม่เหมาะกับประเทศไทย อีกทั้งเป็นเครื่องชนิดมี 2 เครื่องยนต์ จะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งการส่งบำรุงรักษาก็มีปัญหาอาจจะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตจึงได้ตัดออกไป
แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า การที่ พล.อ.อ.ชลิต ตัดสินใจในการจัดซื้อเครื่องบินกริพเพนมาทดแทนเครื่องบินขับไล่ฝูงเก่า ทั้งที่อยากได้เครื่องบิน 16 ซีดี เพราะติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายที่ประเทศสหรัฐอเมริกาจะไม่ค้าขายกับประเทศที่ทำการปฏิวัติ หรือประเทศที่ไม่เป็นประชาธิปไตย จึงได้คัดเลือกแบบของประเทศสวีเดน ซึ่งการจัดซื้อครั้งนี้จะเป็นรุ่นกริพเพน/ซีดีเป็นรุ่นที่ทันสมัยที่สุด และกองทัพอากาศของประเทศสวีเดนก็ใช้อยู่ ทั้งนี้ประเทศแอฟริกาใต้ เช็ก ก็มีการจัดซื้อไว้ประการแล้ว ขณะที่ประเทศบรูไนเองก็สนใจเตรียมที่จะจัดซื้อเช่นกัน
ประเทศสวีเดนเป็นประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกในนาโตทำให้ในช่วงสงครามเย็นประเทศสวีเดนต้องการป้องกันการบุกรุกจากข้าศึก จึงได้มีการสร้างเครื่องบินขึ้นมาเพื่อเป็นเกราะป้องกันการโจมตีของประเทศรัสเซีย เนื่องจากรัสเซียมีเครื่องบินซู 27 และมีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงซู 30 ทั้งนี้เครื่องบินกริพเพน ถือเป็นเครื่องบินที่เล็กและทันสมัยที่สุดในยามนี้ โดยมีข้อดีไม่ต่างอะไรกับเครื่องบินเอฟ 16 โดยเฉพาะระบบเรดาร์ที่มีการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องบินได้เป็นอย่างดี"
แหล่งข่าวกล่าวว่าเหตุผลหนึ่งที่เลือกเครื่องบินของสวีเดน เพราะสวีเดนให้ของแถมที่กองทัพอากาศให้ความสนใจ คือ เครื่องบินแอร์บอร์น เมอร์ซี วอร์นนิ่ง จำนวน 2 ลำ ซึ่งเป็นเครื่องบินระบบเรดาร์เตือนภัยในอากาศ ซึ่งสามารถตรวจจับเครื่องบินฝ่ายตรงข้ามหรือวัตถุต้องสงสัยในน่านฟ้าที่บินระยะต่ำได้อย่างดี นอกจากนี้ เครื่องบินกริพเพนยังมีความทันสมัยที่ระบบเดต้าริงหรือเรดาร์การบินที่เครื่องบินในระหว่างทำการบินจะมีเรดาร์เชื่อมต่อกันมองเห็นข้อมูลบนจอเรดาร์ของอีกลำที่ทำการบินควบคู่กันได้ รวมทั้งสามารถเชื่อมต่อกับจอเรดาร์บนภาคพื้นดิน ทำให้ระบบการสื่อสารแม่นยำ นอกจากนี้ สวีเดนยังแถมอุปกรณ์เครื่องช่วยฝึก อะไหล่ หากเสียสามารถเปลี่ยนได้ สนับสนุนการบิน การอบรมเจ้าหน้าที่
สำหรับเครื่องบินที่จะนำเข้ามาประจำการคาดว่าจะเป็นเครื่องบินขับไล่จากบริษัท ซาบ ประเทศสวีเดน รุ่นเจเอเอส 39 กริพเพน และเมื่อมีการบรรจุเครื่องบินรุ่นนี้เข้าประจำการจะได้รับการเรียกขานว่าเป็น เครื่องบินขับไล่แบบที่ 20 (บข.20) เครื่องเจเอเอส39 กริพเพน ผลิตโดยบริษัทซาบ ปัจจุบันคือ กลุ่มบริษัทแอโรเทค เทลอัพ (AEROTECH Telub) ผลิตขึ้นตามข้อกำหนดที่กองทัพอากาศสวีเดนมีความต้องการเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา ที่มีคุณลักษณะในการโจมตีทางอากาศ สนับสนุนกำลังภาคพื้นดิน และลาดตระเวน
คุณสมบัติเด่นของเครื่องบินรุ่นนี้คือ ใช้ทางวิ่งขึ้นลงสั้นเมื่อเทียบกับเครื่องบินขับไล่แบบอื่นๆ โดยสามารถวิ่งขึ้นได้จากรันเวย์ที่มีความยาวเพียง 800 เมตร และลงจอดบนถนนหลวงที่มีความยาวเพียง 500 เมตร
http://www.komchadluek.net/2007/10/17/a001_162934.php?news_id=162934
ปล. ศัพท์บางตัวยังแปลไม่ถูกเลย นี่ถ้าผมตั้งบริษัท consult ด้าน military ให้กับสำนักข่าวพวกนี้คงรวยไปแล้วล่ะ
แถมเอารูปนี้ไปลงด้วยนะ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 07:24:15
ความคิดเห็นที่ 6
เพราะสวีเดนให้ของแถมที่กองทัพอากาศให้ความสนใจ คือ เครื่องบินแอร์บอร์น เมอร์ซี วอร์นนิ่ง จำนวน 2 ลำ
Airborne Mercy Warning System
ระบบเตือนภัยทางอากาศแบบเมตตา
ฮาาา หนังสือพิมพ์ไทย
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 07:30:50
ความคิดเห็นที่ 7
ข่าวจากสวีเดน
http://tv4nyheterna.se/1.189644/nyheter/2007/10/16/thailand_koper_gripen
http://www.dn.se/DNet/jsp/polopoly.jsp?d=554&a=705160
http://www.corren.se/archive/2007/10/16/jf3u9r45un4pvew.xml
Quick translation:
According to an unofficial source in the Thai air force the country has decided to buy Gripen planes. The decision is to be announced at a press conference tomorrow (Wednesday) 13:00 local time.
The order is to consist twelve Saab Gripen fighter planes and airborne radar and control center and is estimated to be worth seven billion skr ~ one billion U.S $.
The source, a Thai air force officer, also told the news agency Reuters that the F-16 was the preferred alternative but that the U.S wouldn't sell arms to countries whose governments had been overthrown. To this Owe Wagermark, the director of information at Gripen international, replied that the U.S has sold weapons to previous Thai military regimes.
thank to Mr. Hapazard
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 07:42:56
ความคิดเห็นที่ 8
วันนี้ (๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๐) เวลา ๑๓๓๐ พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ จะเป็นประธานในการแถลงข่าวการจัดซื้อเครื่องบินใหม่ ที่กองบัญชาการกองทัพอากาศ
โดยชุดแรกที่จัดซื้อ ประกอบด้วย Jas-39 จำนวน 6 เครื่อง พร้อมด้วย เครื่องเอแวก 2 เครื่อง
ชุดสองเป็น Jas-39 จำนวน 6 เครื่องพร้อมเครื่องเอแวกอีก 1 เครื่อง ครับ
จบข่าวด่วน......
โดยคุณ
ท้าวทองไหล เมื่อวันที่
17/10/2007 07:43:30
ความคิดเห็นที่ 9
เอิ๊กส์ ยาสจริงๆด้วยวุ้ย งานนี้ ผมเสียพนันไหมหว่า เพราะฟันธงว่า ซู-30ไม่เข้าวิน และเชียร์เอฟ-16ซะด้วย ดีใจกับสาวกหนูเอวบางร่างน้อยครับ
Gripen Wing of Our Nation
ว่าแต่ของแถมพวกMeteor มีไหมครับท่านท้าวฯ
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 07:48:24
ความคิดเห็นที่ 10
ผมว่าเรายังโชคดีนะครับ ที่ถึงแม้จะแยกเป็น 2 batch batch ละ 6 ลำเข้าก็ยังขาย
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 07:50:33
ความคิดเห็นที่ 11
โอ้ โชคดีจริง ๆ ยังแถมเหมือนเดิม
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 07:51:57
ความคิดเห็นที่ 12
ถามท่าน Skyman หน่อยครับ ว่าราคา 34,000 ล้านบาท ประมาณ 1000 ล้านเหรียญมันแพงไปรึเปล่าครับ
ปล.เมื่อเช้าดูข่าวช่อง 3 เค้าเอา blockของท่าน Skyman มาขึ้นจอด้วย อิอิ
อ่อ ผมได้ยินจาก TV ว่า เค้าอ่านว่า airborne MERCY warning จิงๆนะ
5555+
โดยคุณ
ขาจร เมื่อวันที่
17/10/2007 07:56:49
ความคิดเห็นที่ 13
หลังจากที่รอลุ้นกันมานาน สมหวังกันซะทีนะครับกับ บข.20 JAS39 ยินดีกับสาวกน้องยาสด้วย (แอบปลื้มด้วยคน)
โดยคุณ เขาหลวง เมื่อวันที่
17/10/2007 07:56:50
ความคิดเห็นที่ 14
ยินดีกับฝูง 711 ด้วยครับ จะได้ของใหม่เสียที (หรือจะโยกเอา F-16 มาลงแทน แล้ว Jas ไปไว้ที่ โคราช / ตาคลี แทนหว่า??)
ว่าแต่อ่านแล้วงงนิดนึง ตกลงเขาแถม AWACS มาให้สองลำ หรือสามลำครับ เห็นในไทยรัฐบอกว่ามาสอง แต่ท่านท้าวว่ามาสองชุด สองลำ กับลำนึง รวมเป็นสามลำ ??
ชอบตรงได้ AWACS นี้แหละ ถูกใจจริงๆ ไม่ต้องไปเดือดร้อนหาซื้อแยกเหมือนซื้อรุ่นอื่นๆ เดี่ยวรัฐบาลประชาธิปไตยมาก็แค่ซื้อ AIM-120 มาเพิ่มให้พอกับทั้ง F-16 กับ Jas, มี AWACS กับโครงข่ายเรด้าห์ภาคพื้นที่สมบูรณมา์ป้อนข้อมูลให้ Jas ด้วย ผมว่าเท่านี้ก็อุ่นใจขึ้นมากแล้วละครับ
ปล. แต่ซื้อ 12 ลำเองหรอ น่าจะมาสัก 18 ลำ เต็มๆไปเลยน้อ
ลิงค์ข่าวไทยรัฐ
http://www.thairath.co.th/news.php?section=politics&content=64880
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่
17/10/2007 08:07:04
ความคิดเห็นที่ 15
ผมมองว่า AEW&C ที่มานั้น เป็นแบบติดเรดาร์2ลำ และแบบฝึก(ไม่ติดเรดาร์)อีก1 ครับ
ส่วนไว้ในฝูงไหน ได้ยินมาว่า ลงฝูง703 ครับ ต้องรอยืนยันจากท่านท้าว
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 08:10:35
ความคิดเห็นที่ 16
วงเงินงวดแรก 19000 ล้านบาทครับ
โดยคุณ
ท้าวทองไหล เมื่อวันที่
17/10/2007 08:11:40
ความคิดเห็นที่ 17
^
^
^
Batch แรก 19 พันแล้วบาท หารแล้วตก 6 ลำ 96 ล้านบาทต่อลำ........สงสัยจะจริงครับว่า AEW&C กับอาวุธเนี้ย ไม่ได้แถมหรอก แต่มันเป็น Discount Package หุหุหุ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 08:14:45
ความคิดเห็นที่ 18
เอแวก เป็นของแถมครับ...ขออภัยที่กล่าวในตอนต้นไปรวมด้วยเดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่า ทอ.ซื้อโดยไม่ผ่าน อนุมัติ ครม. จะกลายเป็นประเด็นไปอีก รบกวนแก้ข่าวนะครับ
โดยคุณ
ท้าวทองไหล เมื่อวันที่
17/10/2007 08:15:28
ความคิดเห็นที่ 19
^
^
^
ข้างบน 96 ล้านเหรียญนะครับ
ปล. เย้ยยยย จริงง่ะครับคุณขาจร โดนอีกแล้วหรือนี่เรา หวังว่าคงไม่พูดอะไรมั่ว ๆ ไปนะ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 08:16:00
ความคิดเห็นที่ 20
OK ครับ.........AEW&C แถมครับผม......
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 08:17:07
ความคิดเห็นที่ 21
พอดีเห็นข่าวตอนเช้า กะว่าจะมาประกาศซะหน่อย...ได้ บข.20 ซะทีหลังจากที่รอลุ้นว่ามันจะเหลวเป็นโจ๊กอีกหรือเปล่า งานก็รอดูของเล่นที่จะมาติดให้สาวเอวบางจากสวีเดน ว่าจะมีอะไรบ้าง...แต่ขอบอกว่าดีใจมากๆเลยครับ.... ไชโย ๆ ๆ ๆ
โดยคุณ
9-o-6 เมื่อวันที่
17/10/2007 08:19:44
ความคิดเห็นที่ 22
คงต้องรบกวน skyman เอา สเปค jas 39 c/d มาให้ดูอีกรอบไม่แน่ใจว่ายังใช้เครื่องยนต์ตัวเดิมจาก jas39 a/b มาอัพ หรือว่าเป็นเครื่องยนต์ใหม่
ไม่ทราบว่า จะสามารถ ติดถังน้ำมันด้านข้าง แบบพวก f16block 52 plus and f16 block60 ได้หรือเปล่า
หากว่าออกแบบติดตั้งได้ เรื่อง ระยะทำการ คงจะเพิ่มอีกพอสมควร
อย่างน้อย ทัพฟ้า ก็ ทำการบ้านมาดี มีการ ว่าจะประกาศชี้แจง เปรียบเทียบด้วย ทัพบกก็ควรเอาอย่างด้วยนะ จะได้ชัดเจนไปเลย
โดยคุณ ericson เมื่อวันที่
17/10/2007 08:24:18
ความคิดเห็นที่ 23
ดีใจ.....เอ้ยยยยย......ดีใจ......
ชะเอิงเงยยยย......
ป่ะๆ.....ปายมาวกานดีกว่า.......
ฉลองให้กับ บข ใหม่ เอี่ยมอ่องอรทัย
หวังว่ากระทิคุงคงไม่ไปพูดอะไรอีกนะ.....
โดยคุณ Victor Flanker เมื่อวันที่
17/10/2007 08:30:15
ความคิดเห็นที่ 24
เฮ้ ดีใจ ครับ
ได้ซื้อ ได้พัฒนาซักกะที
โชคดี ซื้อโม มารอไว้ก่อน ไม่เสียเที่ยว
โดยคุณ
แมวบิน เมื่อวันที่
17/10/2007 08:30:43
ความคิดเห็นที่ 25
ู^
^
^
^
ยืนยันครับ ท่าน Skyman ดูข่าว วันใหม่ ช่อง 3 เวลา ประมาณตี 4 เห็นหน้าBlock ของท่าน หน้าที่มี รูป ท่านผบ.ทอ. ไปทัวสวีเดน รู้สึกจะเป็นหน้าที่ ท่าน Skyman เขียนเรื่อง ประวัติเครื่องบิน Jas
ปล. เค้าอ่านว่า ......เครื่องบิน กรีนเพน แบบ ซีดี กะ แอ-บอน-เมซี่-วอนนิ่ง........ งงเลย
โดยคุณ
ขาจร เมื่อวันที่
17/10/2007 08:31:39
ความคิดเห็นที่ 26
(ผมกลัวการเมืองเล่นงานซะล้มเหมือนเดิมง่ะ ถ้าทอ.โปร่งใสจริง ขอให้ทอ.ชี้แจงอย่างจริงจังนะครับ ออกสมุดปกขาวแบบทร.เขาก็ได้)
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 08:34:02
ความคิดเห็นที่ 27
ไม่ใช่สกายแมน ขอตอบแทนแล้วกันครับ
1.รุ่นC/D ต่างจากรุ่นA/B คือ
- An inflight refueling probe that retracts over the right engine intake. -ระบบเติมชพ.ทางอากาศ
- A cockpit with new color MFDs and compatible with night vision goggles. -ค๊อคพิท มีจอภาพสีทำงานหลายหน้าที่ +ระบบสนับสนุนกล้องกลางคืน
- A new inertial navigation system with GPS, and an improved "Communication & Data Link 39 (CDL 39)" system. This is apparently in addition to the current TIDLS datalink. ระบบนำร่องใหม่ ดาต้าลิงค์ที่ปรับปรุงดีขึ้น
- An "on board oxygen generating system (OBOGS)". ระบบผลิตอ๊อกซิเจน
- More computing power and five MILSTD 1553B data buses, instead of three. เพิ่มคอมพิวเตอร์ประมวลผล เป็น5ตัว จาก3ตัว
- An improved "RM12UP" engine, with a full authority digital engine control (FADEC) and other improvements. ปรับปรุงย. เป็นรุ่นRM12UP โดยควบคุมด้วยระบบดิจิตอล
- The improved "EWS-30" EW system, built around the new Saab Avionics "BOW-21" RWR, capable of recognizing a wider range of threats and targeting them more accurately. The EWS-30 includes an onboard, automatic active jammer, and can support improved towed decoys. -RWR แบบใหม่ ทำให้สามารถแยกแยะประเภทของศัตรูและเป้าหมายดีขึ้น
The last 20 Batch 2 aircraft included some Batch 3 features, such as the color MFDs, CDL 39, and the five data buses. Deliveries have now shifted to the Batch 3 configuration. The changes in Batch 3 give the new version a substantial increase in capability. The Batch 3 JAS 39C/D are sometimes referred to as "Super Gripens".
ในรุ่นแบช2 20ลำ ได้ปรับปรุงเอาระบบางอย่างมาจากรุ่นแบช3 และขณะนี้สายการผลิตได้เปลี่ยนมาผลิตมาตรฐานแบช3ทั้งหมดแล้ว
เดาว่า สเป็คของทอ.คงไม่หนีไปจากนี้มากนัก
เครดิต http://www.vectorsite.net/avgripen.html
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 08:37:19
ความคิดเห็นที่ 28
ตั้งใจว่าบ่ายวันนี้ถ้าว่าง จะเข้าไปร่วมฟัง ผบ.ทอ.แถลงข่าวซะหน่อย(ใช้สิทธิสื่อมวลชน อิอิ...) ได้ความยังไงจะนำมาเล่าให้ฟังนะครับ
โดยคุณ
Gapster เมื่อวันที่
17/10/2007 09:03:47
ความคิดเห็นที่ 29
ดีใจกับคอๆแฟนกริเพนด้วยนะครับ
ทีนี้จะได้รู้ซะทีว่าข่าวซู 30 เมื่อปีที่แล้วน่ะ ทหารอากาศต้องการหรือโดนบีบคอ ยังไงก้ฟัง ผบ.ทอ แถลงกันก่อนนะครับ ว่ารายละเอียดเป็นอย่างไร ตอนนี้สิ่งที่น่าลุ้นคือลงฝูงไหน หรือโยกฝูงไหนไปลงกองบิน 7 แล้วของใหม่ไปลงกองบินอื่น ยังไม่ทราบเลยครับ
โดยคุณ
สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่
17/10/2007 09:24:51
ความคิดเห็นที่ 30
ขอแสดงความยินดีด้วยครับ...สำหรับ บข.20 ของกองทัพอากาศ ฝูงไม่เต็ม 12 ลำ พร้อม เอแวค อีก 3 ลำ...แต่ถ้าไม่บอกว่าเป็นของแถม อาจจะดูเท่ กว่านะครับ...แจงว่ามันเป็น แพคเกจ ดูเท่กว่า...เดี๋ยวมันจะดูราคาแพงไป ถ้าหารต่อลำออกมา...งวดนี้ ผมเชื่อว่า ไม่แห้ว...5 5 5 5 5 สะใจ น๊องแจ๊ส มาแว๊วววววว......
โดยคุณ
juldas เมื่อวันที่
17/10/2007 09:25:32
ความคิดเห็นที่ 31
ขออภัยเรื่องภาพประกอบด้วยครับ เพราะตอนแรกจะเอารูป Jas มาลง แต่คลิ๊กผิดครับ แหะๆ ดีใจวุ๊ย JAS มา อิอิ +เอแวคส์ด้วย 5555 กรั่กๆๆๆๆๆ ดีใจจนสติแตก
โดยคุณ
nok เมื่อวันที่
17/10/2007 09:43:55
ความคิดเห็นที่ 32
ดีใจกับ ทอ. ด้วยครับ
ได้ของใหม่เอี่ยมอ่องเลย มีเทคโนโลยีใหม่ ทอ. จะได้พัฒนาไปอีกก้าวหนึ่งแล้ว
ตอนนี้ก็ขอว่า อย่ามีใครนำเรื่องนี้ไป + การเมืองเลยนะครับ สาธุ
รอคอยข่าวนี้จนลืมกันไปแล้ว นึกว่าจะรอหลังเลือกตั้งซะอีก
เซอร์ไพร้ส์! มากๆ
โดยคุณ
jemini เมื่อวันที่
17/10/2007 09:48:53
ความคิดเห็นที่ 33
ในที่สุดเธอก็มา น้อง jas และน้อง อีริคอาย
ฝันนี้จะเป็นจริงแล้วแต่...................................
......................................................................
ถ้าล้อยังไม่แตะลงพื้น อย่าเพิ่งดีใจน๊า
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
17/10/2007 10:05:04
ความคิดเห็นที่ 34
โอ้...โล่งใจจริง ๆ ครับท่าน งานนี้ไม่หน้าแตก
ดีใจกับทหารฟ้าทุกท่านด้วยนะครับ จะได้มีของใหม่ ๆ ซิง ๆ ใช้กันซะที ระบบอาวุธ อากาศ-สู่-อากาศ คงไม่แคล้ว ไซด์ไวเดอร์ กะ แอมแรม แต่อากาศ-สู่-พื้น นี่น่าลุ้น อาร์บีเอส บล๊อกใหม่นะครับ
กำหนดส่งมอบเครื่องแรกเมื่อไหร่ใครรู้บ้าง วานบอกด้วยครับ
ต่อไปฝึกร่วมอย่างคอบร้าโกลด์ก็ไม่อายเค้า รูปกริเป้นถ่ายร่วมกับ มิก, ซู ของมาเลย์ และ เอฟ ของพี่กัน คงโก้ดีไม่หยอก
อย่าลืมพ่นกันสนิมดี ๆ ด้วยนะครับ ไอทะเลสุราษฎร์ฯ มันเค็มนะ (ล้อเล่นครับ)
เหลือแต่แท็งเกอร์แล้วซินะทีนี้ ว่าจะมีโครงการจัดหาหรือดัดแปลง บ. ที่มีอยู่ให้ทำหน้าที่นี้รึเปล่า บินไปฝึกร่วมต่างแดนไกล ๆ อย่างที่ดาร์วิน หรือ ต้องบินทำภารกิจนาน ๆ อยู่ในอากาศจะได้ไม้ต้องไปขอใช้ของชาติอื่นเค้า
รักท่านชลิตมากขึ้นหลายกิโลขีดเลยครับ...
โดยคุณ
เสือใหญ่ เมื่อวันที่
17/10/2007 10:29:13
ความคิดเห็นที่ 35
JAS-39C/D 12ลำดูออกจะน้อยไปหน่อยสำหรับอัตราจัดฝูงบินขับไล่ขนาดเล็ก แต่การแถม AWACS ซึ่งน่าจะเป็นตามเงื่อนไขใน Package เดิมคือ Erieye มาด้วยอีก2ลำ+ฝึกอีก1ลำนี้สิครับคุ้มมากๆ
(เราจะได้มี AWACS ใช้เสียที)
หวังว่าคงจะได้เห็นเครื่องบินลงมาแตะ Runway จริงในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้นะครับ
รอUpdate ข้อมูลในช่วงบ่ายครับ
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
17/10/2007 10:41:12
ความคิดเห็นที่ 36
ไม่รู้ว่า AWACS ที่มาน่ะ เรดาห์คงเป็นอย่างที่พวกเรารู้กัน แต่ตัวเครื่องนี่เป็นรุ่นไหนครับ เพราะมีอยู่ 2 แบบให้เลือก
โดยคุณ
สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่
17/10/2007 11:13:56
ความคิดเห็นที่ 37
พี่ครับอย่างนี้จะมี RBS-15 แถมมามั่งหรือปล่าวครับ..(ตามแพกเกตเดิมที่เคยเสนอ) และอาวุธ อย่าง KEPD-350 อาวุธร่อนอื่นๆ เราจะมีประจำการบ้างไหมครับ
โดยคุณ
เยาวชน เมื่อวันที่
17/10/2007 11:30:41
ความคิดเห็นที่ 38
สวัสดีครับ
หายไปนานครับ.....ยินดีกับ ทอ. และสาวกสาวยุโรปด้วยครับ ...........แต่ตัวผมขออนุญาตดีใจตอนส่งมอบเครื่องละกัน....อิอิ....สาธุๆๆๆ
โดยคุณ
sirilert2000 เมื่อวันที่
17/10/2007 11:31:38
ความคิดเห็นที่ 39
ภาวนาขออย่าให้เหมือนรถเกราะยูเครนเลย จะได้ยลโฉมเจ้า แจส 39 ซะที่ หลังจากรอมานานนะครับ
โดยคุณ Pad Thai เมื่อวันที่
17/10/2007 11:52:53
ความคิดเห็นที่ 40
ระวังดีใจเก้อนะครับ อะไรที่คิดว่าใช่อาจไม่ใช่ก็ได้
ป.ล. คุณ skyman ดังใหญ่แล้วครับนี่ เป็นตัวอย่างที่ดีกับเยาวชนที่รักเทคโนโลยีทางทหาร และใช้มันในสิ่งที่ถูกต้อง ดีกว่าบางท่านที่ไม่รู้จักโต คอยแขวะคอยกัดตลอด
โดยคุณ
piyabhut เมื่อวันที่
17/10/2007 12:05:39
ความคิดเห็นที่ 41
ดีใจด้วยคนครับ เมื่อเช้าไปทานข้าวที่ร้านเปิดทีวีช่อง๓ พูดถึงการจัดซื้อเครื่องบินใหม่หวยออกที่กริเป้น ดีใจจริง ๆ ส่วนAWACS ผมเชื่อว่าลงที่ ๔๐๒ Focusแน่นอนครับ
โดยคุณ
Ghost Rider เมื่อวันที่
17/10/2007 12:16:09
ความคิดเห็นที่ 42
........................ถ้าเปรียบกันแล้วกับ บ.SU-30 ของประเทศข้างเคียงไทยเรา บ.SU-30 ก็เหมือนกับราชสีห์ ที่ใหญ่โตดูดุดัน ซึ่งดูแล้วน่าเกรงขาม ......แต่ JAS-39 บ.กริเฟน นั้น ถ้าหากปฏิบัติการร่วมกันกับ บ.AWACS แล้ว เปรียบเหมือนฝูงหมาป่า ที่มีจมูกไว รูปร่างเล็ก คล่องแคลวปราดเปรียว ราชสีห์ ก็ ราชสีห์ เถอะ ถ้าหากเผลอเข้ามาในถิ่นหมาป่าแล้วละก็ อาจตกเป็นเหยื่อของฝูงหมาป่า ได้เหมือนกัน.................ครับ/สกายนาย
โดยคุณ
สกายนาย เมื่อวันที่
17/10/2007 12:22:27
ความคิดเห็นที่ 43
AEW&C ผมว่าน่าจะไปลงที่กองบิน6มากกว่าครับ แบบกรณีเลียแผล่บ กับ อารายหว่า
อีกหน่อยคงมีแก๊งค์ ตะเกียบอีรี่อายส์แน่ๆเลย เห่อๆ
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 12:26:51
ความคิดเห็นที่ 44
.................ขอโทษท่านเจ้าของรูปภาพ ทั้ง ๒ ภาพนี้ด้วยครับ... ที่นำภาพของท่านมาโพสแต่ไม่สามารถลง เครดิตให้ได้ เพราะผมลืมบันทึกเครดิตของท่านเจ้าของรูปภาพ............ครับ/สกายนาย
โดยคุณ
สกายนาย เมื่อวันที่
17/10/2007 12:26:59
ความคิดเห็นที่ 45
คุณ icy ไม่ต้องมาชวนผมเข้าแก๊งนะ แค่นี้ก็เสียวพอแล้ว
ส่วนนี้ก็อีกรูปครับ ไม่รู้ใครทำ ขออภัยด้วยครับ
ปล. ขอบคุณท่าน piyabhut ครับผม
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 12:47:45
ความคิดเห็นที่ 46
ไม่รู้สิครับ ผมว่า ท.อ. น่าจะมีโครงการปั้นกองบิน 7 ให้เป็นถ้ำฉลาม คือรวมสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องไม้เครื่องที่จะใช้กับ บ.ข. 20 กริเป้น + อีริอายไว้ที่นั้นทั้งหมด เหมือนที่รวมศูนย์ เอฟ-16 ไว้ที่ถ้ำพยัคฆ์โคราชนั่นแหละครับ (ไม่นับ 403 ที่ตาคลี)
คือของมันเวลาใช้ต้องเป็นแพคเก็จถึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด อยู่รวมกันจะได้ดูแลสะดวก ถือโอกาสขยายอัตราเจ้าหน้าที่และปรับปรุงกองบิน 7 ไปในคราวเดียวกันเลย
ดูจากภารกิจและการวางกำลัง ผมว่าต้องมีการจัดหาอาวุธโจมตีเรือมาด้วยแน่ ๆ เลย และถ้าจะให้เข้ากันได้กับแพคเก็จก็ต้อง อาร์บีเอส-15 นั่นแหละครับ
คุณสกายนายเปรียบเทียบได้เห็นภาพเลยครับ ว่าแต่...หมาป่าฝูงนี้มันมีแค่โหลเดียวเองนะครับ ถ้าได้อีกสักโหลรับรองราชสีห์ที่ไหนก็ไม่กล้ามาแหย่มหรอกครับ (แบบว่าหมาหมู่ไงครับ ต้องอาศัยพวกเยอะและความว่องไวปราดเปรียว เสือสิงห์มันถึงจะกลัว)
แค่ความเห็นส่วนตัว ผิดถูกอย่างไรไม่ว่ากันนะครับ...
โดยคุณ
เสือใหญ่ เมื่อวันที่
17/10/2007 12:48:38
ความคิดเห็นที่ 47
อืม พี่เสือครับ ถ้าอย่างนั้น อัตรากองบิน7 ก็เต็มสมใจนึกเลยน่ะสิครับ
701 เอฟ-5(อยู่รอปลด)
702 อีรี่อายส์
703 กริพเพน
ถ้ำฉลามยุคใหม่นี่ น่ากลัวดีจริงๆครับ
แต่ว่าถ้าเอาไปไว้กองบิน6 ก็สามารถใช้เป็นของส่วนรวมได้ อีกอย่างหนึ่งผมว่า ทอ.จัดเครื่องประเภทนี้ ไว้กองบิน6อยู่แล้ว
แต่ถ้าจัดไว้กองบิน7 ก็น่าคิดว่า ทอ.จะทำให้ถ้ำฉลาม เป็นฝูงรบหลัก(แท้ๆ) อีกฝูงหนึ่ง
ปวดหัวแฮะ รอผบ.ทอ.มาแถลงดีกว่า
ว่าแล้ว ทบ.ไม่ลองเลียนแบบบ้างเหรอครับ หมดยุคทหารเป็นแดนสนธยาแล้วเน้อ
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 12:59:20
ความคิดเห็นที่ 48
ยินดีกับกองทัพอากาสด้วยคนครับ ดีใจมากๆเลยครับ ถึงจะไม่ใช่ตระกูล F อย่างที่คิดไว้เเต่เมื่อได้เจ้าตัวเล็ก+AWACS พิษสงคงไม่เบาทีเดียว
เเต่อยากให้มีการชี้เเจงรายละเอียดต่างๆเช่น ขั้นตอนการจัดซื้อ หรือซื้อมาทำไม ซื้อมารบกับใครเดี๋ยวนี้เขาไม่รบกันเเล้ว หรือเปลืองงบประมาณเปล่าๆเเละอะไรต่อมิอะไรอีกหลายอย่างเเละที่สำคัญคือ การเมือง เพราะผมเชื่อว่ายังมีประชาชนอีกจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่เข้าใจถึงเหตุผลดังกล่าว
โดยคุณ icu เมื่อวันที่
17/10/2007 12:59:41
ความคิดเห็นที่ 49
ส่วนใจผมนั้น ได้คืบอยากจะเอาศอกครับ พอรู้ว่าจะได้ jas แน่แล้วเช้านี้ก็เลยฝันต่อเลย อยากจะได้รุ่นใหม่ล่าสุดที่จะบินทดสอบปีหน้าหน่ะครับ แต่หลายท่านก็คงค้อน "นี่ ได้แค่นี้ก็ดีแล้ว" 555 ยินดีต้อนรับครับ บข 20 เฮ้!
โดยคุณ
Saturn เมื่อวันที่
17/10/2007 13:08:40
ความคิดเห็นที่ 50
ใจผม ถ้ามาทาง Gripen แล้ว อยากให้เอา Gripen แทนทั้งฝูง 701 ในตอนนี้ และแทนฝูง 211 ในอนาคตไปเลย จะได้ลดแบบอากาศยานลง ลดภาระค่าใช้จ่ายครับ Fighter เราจะได้มีแค่ 2 แบบคือ F-16 และ Gripen + โจมตีเป็น L-39 กับ Alphajet ครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 13:17:22
ความคิดเห็นที่ 51
อ้อ.แหล่งข่าวยืนยันมาครับ งานนี้มือ 1... Newly build ค่อนข้างแน่......ไม่ใช่เอา Airframe เอามาทำครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 13:41:41
ความคิดเห็นที่ 52
มีข่าวน่าสนใจมาฝากครับ........
Thailand to buy Swedish jet fighters to replace aging US warplanes
BANGKOK, Thailand: Thailand will purchase 12 Swedish-made jet fighters to replace Vietnam-era US warplanes, a military spokesman said Wednesday.
The Gripen-JAS 39C/D multi-role fighters, costing 34.4 billion baht (US$1.1 billion; 775 million), will take the place of US F-5 warplanes that have been in the Thai arsenal for three decades, said Royal Thai Air Force spokesman Monthon Suchakorn.
An initial shipment of six planes will be based in the southern province of Surat Thani, while the rest are to be deployed in Ubon Ratchathani province in the northeast.
The Thai air force had considered the purchase of other warplanes, including the US F-16 and Russia's SU-30, before settling on the Gripen.
Thailand has made a number of military purchases recently including armored personnel carriers from the Ukraine, assault rifles from Israel and surface-to-surface missiles from China.
http://www.iht.com/articles/ap/2007/10/17/asia/AS-GEN-Thailand-Swedish-Warplanes.php
ข่าวจากต่างประเทศอาจจะผิดพลาด.........แต่ถ้าจริงงานนี้สงสัย 12 ลำแรกเป็น initial order เท่านั้นครับ
รอพี่ Gap
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 13:50:30
ความคิดเห็นที่ 53
หมายความว่า เครื่องยนต์ ของ jas39 c/d ตัวนี้ จะเป็นตัวเดียวกันกับของ
เครื่อง f18 ซุปเปอร์ฮอร์เน็ตใช่หรือไม่? และฐานล้อ ได้ย้ายไปที่ปีกใช่
หรือไม่ครับ?
สุดท้าย แฮะๆ รูปนี้ของผมเอง ฝันกำลังจะเป็นจริงแล้ว
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
17/10/2007 13:53:07
ความคิดเห็นที่ 54
ด้วย ค่าใช้จ่ายที่ต่ำ ค่าบำรุงที่ถูกและง่าย ความพร้อมรบของเราจึงมีสูง
นักบินมี ชม บินกับเครื่องบินมาก มีความคุ้นเคย และความชำนาญสูง
ด้วยขนาดที่เล็กจึงทำให้ถูกตรวจพบได้ยาก การใช้อาวุธหลากหลาย
จะ su30 หรือ f15 ก็มาเถอะ เหอๆๆ ฝันๆๆๆ
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
17/10/2007 14:15:51
ความคิดเห็นที่ 55
บ.Gripen ที่ ทอ.จัดหามานั้นเป็นรุ่น JAS-39C/D ซึ่งเป็นรุ่นมาตรฐานในปัจจุบันครับ
JAS-39E/F ที่เปลี่ยนไปใช้เครื่องยนตร์ GE F414 ติดตั้งระบบ AVIONIC ใหม่, AESA Radar และขยายขนาดเครื่องนั้น เครื่องต้นแบบจะมีกำหนดบินในปี 2010ครับ (ซึ่งหวังว่าในอนาคต Gripen E/F จะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งในการจัดหา บ.ขับไล่เพิ่มเติมในอนาคตครับ)
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
17/10/2007 14:32:48
ความคิดเห็นที่ 56
หมายความว่า เครื่องยนต์ ของ jas39 c/d ตัวนี้ จะเป็นตัวเดียวกันกับของ
เครื่อง f18 ซุปเปอร์ฮอร์เน็ตใช่หรือไม่? -------------------->ยังใช้เครื่องF404 ของต่อC/D ครับ
และฐานล้อ ได้ย้ายไปที่ปีกใช่
หรือไม่ครับ?------------------------->ไม่ใช่ครับ อันนั้น มันแค่แผนแบบ
น่าจะเรียกว่าBatch4 หรือ5 มากกว่า สำหรับที่ส่งให้ไทย ไม่น่าไฮโซปานนั้นครับ
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
17/10/2007 14:50:50
ความคิดเห็นที่ 57
เพิ่งกลับมาจากแถลงข่าวครับ ฟังมากับหูจากปากท่านผบ.ทอ. เลยเข้ามาใบ้หวย
งวดแรก 6+2(1) = 7
งวดสอง อาจจะ 6 แต่ เท่ากับ 7 เหมือนเดิม
คิดต่อกันเอาเองครับ
โดยคุณ
Gapster เมื่อวันที่
17/10/2007 15:24:28
ความคิดเห็นที่ 58
ผมแค่คาดเดาเอานะครับน้องไอซี่ ถึงเวลา ท.อ. อาจจะเอาอีริอายไปประจำการไว้ที่กองบิน 4 หรือ 6 ก็ได้ ส่วนเวลาปฏิบัติงานมันสามารถดีพลอยไปไว้ที่ไหนก็ได้ครับ
แต่อ่านข่าวฝรั่งของน้องกายแมนแล้ว ผมว่ามีสับขาหลอกเล็ก ๆ ครับ เราจะเอากริเป้นแยกไว้กองบินสุราษฎร์ กะ อุบล อย่างละ 6 ตัวทำไม มันมิต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุงทั้งสองที่เลยหรือ ไหนจะต้องแบ่งเครื่องสองที่นั่งให้พอกับการฝึกนักบินทั้งสองที่อีก ดูมันไม่ค่อยสมเหตุสมผลเท่าไหร่
เงินเรามีไม่มาก ฝูงแรก 12 ตัว เอามารวมกันที่เดียว โลจิสติกส์ก็ทำได้ง่าย ซิมูเลเตอร์ก็ไว้ที่เดียว กริเป้นสองที่นั่งก็จะพอสำหรับฝึกนักบิน อีกทั้ง เอฟ-5 ไทกริส ฝูงอุบลก็ยังมีอายุการใช้งานเหลือมากกว่า ไทเกอร์ทู ฝูงสุราษฎร์ตั้ง 3-5 ปี ไม่ใช่หรือครับ
เอาไว้กริเป็นรุ่น อี/เอฟ อีก 12 ตัว ค่อยเอาไปแทนไทกริสอีก 5 ปี ข้างหน้ายังดูจะเข้าท่ากว่านะ (ย้อนรอยกลับไปดูประวัติการสั่งซื้อและส่งมอบ เอฟ-16 ของเราฝูงแรก กะ ฝูงสอง ห่างกันประมาณ 4 ปีเห็นจะได้ครับ)
คอยฟังดีกว่าครับว่า กำหนดส่งมอบเมื่อไหร่
หิ้วอะไรมาด้วยบ้าง บ้องใหญ่ ๆ หรือแค่เล็ก ๆ ให้กองเชียร์เซ็ง
สีสันมาร์คกิ้งต่าง ๆ จริง ๆ จะเป็นอย่างไร
แล้วโครงการ ฮ. ซาร์ กับ แทงเกอร์ของ ท.อ. อยู่ในลำดับขั้นต่อไปหรือเปล่า
แล้วบอร์ดทหารรอบบ้านเราเค้าแซวเราอย่างไรบ้าง
เอามาเล่าสู่กันฟังครับ....
โดยคุณ
เสือใหญ่ เมื่อวันที่
17/10/2007 15:49:15
ความคิดเห็นที่ 59
c/d แบบเดิมก็ถูกใจแล้ว e/f ในอนาคตยิ่งถูกใจใหญ่ ดี้ด๊า~
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
17/10/2007 15:49:32
ความคิดเห็นที่ 60
วันนี้มีแต่เรื่องดีๆอย่างที่พี่เสือใหญ่บอกจริงๆครับ เจ้านายไม่อยู่ทั้งวัน เล่นเนตทั้งวัน คิกคิก
เหอะๆอย่างที่แก๊ปบอกไอ้ 6+2(1) นี่ถ้าเป็นอีริคอายก็โอเคนะครับ แต่ถ้าเป็นอะไหล่ 2 ตัว นี่ตัวใครตัวมันครับ 55555
โดยคุณ
สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่
17/10/2007 16:07:44
ความคิดเห็นที่ 61
ซวยแล้วครับ
หนังสือพิมพ์สวีเดนลงข่าวว่าสามารถส่งเครื่องได้ตั้งแต่ปี 2008 - 2012............ผมงง เลยสอบถามไปได้ความว่า งานนี้เป็นการขายระหว่างรัฐบาล-รัฐบาล (G2G) หมายความว่างานนี้จะใช้ Production Line ของกองทัพอากาศสวีเดนเลย ไม่ต้องใช้ของ Saab.......แบบในกรณีของ Gripen 14 ลำของเช็ค ที่สามารถส่งมอบได้ใน 11 เดือน
ถ้าเป็นความจริง แล้วการเซ็นสัญญาเกิดขึ้นเร็ว วันเด็กปี 52 เราก็อาจจะได้เห็น Gripen ติดธงไทยแล้วครับ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 16:39:30
ความคิดเห็นที่ 62
ในการนั้นผมคงต้องถอยกล้องใหม่มาซะแล้ว มีเวลาเก็บตังค์สองปีหุหุ เดือนละ 500 น่าจะได้ ตัวดีดีซักตัว - -a นานไปมั้ยหว่า
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
17/10/2007 16:57:28
ความคิดเห็นที่ 63
ACM Chalit: Gripen jets suitable for tasks
(BangkokPost.com) - Air force chief Chalit Phukphasuk insisted Wednesday Gripen multi-role fighters from Sweden is best suitable for tasks in the South of Thailand and the around the Andaman Sea.
ACM Chalit said the air force will buy six JAS-39 Gripen fighter jets from Sweden's Saab for 19 billion baht. The fund, he said, will come from a five-year budget starting this fiscal year.
He said that the air force will buy six other jets after a new government is formed, which will be after the Dec 23 general election.
On Tuesday, the cabinet agreed the air force could buy 12 Gripen aircrafts to replace its aging American-made F-5E fighters at a cost of 34.4 billion baht.
"We have taken into considerations the aircrafts we have and we have processed on this matter through a long period of time," ACM Chalit told reporters at a press conference. "We proposed it through the Defence Ministry."
He insisted that the procurement is transparent and is worth the money spent.
http://www.bangkokpost.com/breaking_....php?id=122717
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
17/10/2007 17:04:30
ความคิดเห็นที่ 64
โดยคุณ
แมวบิน เมื่อวันที่
17/10/2007 18:09:15
ความคิดเห็นที่ 65
โดยคุณ
galen เมื่อวันที่
17/10/2007 19:34:12
ความคิดเห็นที่ 66
ผมคิดไม่เหมือนเพื่อน
อยากให้ย้อนยุค ....
ยุคคอร์แซร์หัวโอ่ง คอร์แซร์ห้วถาด ....
ไหนๆ สวีเดนก็เปิดใส้เปิดพุงให้ดูกันแล้ว
TAI (ไม่รู้เจ๊งตามการเมืองยัง ..) เราก็เคยยำเครื่องใหญ่ (C130) เครื่องกลาง (F16) เครื่องเล็ก มาหลายๆ ลำแล้ว ซื้อลิขสิทธิ์มาผลิตซะเลยเป็นไร ทำแบบอินเดียซื้อมิก ซื้อซู มาประกอบเอง
ดังนั้น ข่าวฮาที่ว่าไทยจะซื้อน้องแจ๊ส (ผมชอบกว่าออกเสียงยาส) 200 up อาจจะไม่ฮานะ ถ้าเกิดวันข้างหน้าเรามีตังค์จริงๆ อย่าคิดว่าจะเป็นไปไม่ได้นะ
เครื่องบินโจมตีแบบทที่ ๑ (คอร์แซร์)
เครื่องบินโจมตีแบบที่ ๑ หรือ บ.จ. ๑ นามเรียกขานคือคอร์แซร์ เป็นเครื่องบินโจมตีและลาดตระเวน ปีกสองชั้น สองที่นั่งเรียงกันโดยที่นั่งที่สองจะทำหน้าที่เป็นพลปืน บริษัท ชาร์นวอร์ท สหรัฐอเมริกา เป็นผู้ผลิต
คอร์แซร์มีหลายรุ่นประจำอยู่ในฐานทัพอากาศทั่วโลก สหรัฐอเมริกาผลิตคอร์แซร์เพื่อกองทัพอากาศไทยโดยเฉพาะ ๑๒ เครื่อง ต่อมากรมช่างอากาศได้ทำการผลิตเองภายในประเทศอีก ๖๐ ลำ รวมเป็น ๗๒ ลำ แสดงให้เห็นว่าในสมัยก่อนทีมช่างอากาศของกองทัพอากาศไทยมีความสามารถในการผลิตเครื่องบินใช้เองได้
ในประเทศไทยคอร์แซร์ได้ทำการรบทางอากาศครั่งแรก กรณีพิพาทอินโดจีนฝรั่งเศษ ระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๓ ๒๔๘๔ คอร์แซร์ได้ทำหน้าที่ป้องกันประเทศไทยหลายครั้ง หนึ่งในเหตุการณ์นั้นคือเหตุการณ์เมื่อวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน ๒๔๘๓ เรืออากาศตรี ศานิต นวลมณี และจ่าอากาศโท ประยูร สุสุมลจันทร์ ได้นำคอร์แซร์ขึ้นจากสนามบินอุดรธานี เพื่อสกัดกั้นเครื่องบินขับไล่ของฝรั่งเศส โมรายซอนเย จำนวน ๓ เครื่อง ที่บินเข้ามาทิ้งระเบิดที่นครพนม ในสงครามอินโดจีน จ่าอากาศโท ประยูร สุกุมลจันทร์ พลปืนหลังได้ยิงสกัดกั้นจนเครื่องบินข้าศึกตกซึ่งถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ในการรบทางอากาศ ครั้งแรกของประเทศไทย ปัจจุบันคอร์แซร์เหลือเพียงเครื่องเดียวในโลก และได้จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ ดอนเมือง
ทุกวันนี้ เราอยุ่กันสุขสบายจนลืมนึกถึง ผู้กล้าหาญที่สละชีพเพื่อปกป้องประเทศชาติ ลืมว่าเราอยู่สุขสบายทุกวันนี้เพราะใคร ข้าพเจ้าขอระลึกถึงและขอยกย่องคุณความดีที่ท่านหาญกล้าสละชีพเป็นชาติพลี
ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านร่วมแสดงความระลึกถึงและความคิดว่าท่านมีความคิดอย่างไรกับบทความและความกล้าหาญของเสืออากาศทั้งสองท่านนี้...ขอบคุณครับ
ขอขอบคุณ พิพิธภัณฑ์ของกองทัพอากาศ
http://www.thaiblogonline.com/PK_TEEM.blog?PostID=3602
โดยคุณ สมชาย เมื่อวันที่
17/10/2007 20:02:04
ความคิดเห็นที่ 67
ตกลงว่าเป็นที่แน่นอนแล้วว่าหวยออก บข.20 JAS-39C/D Gripen ยินดีกับ ทอ. ด้วยนะครับ ตัวเครื่องใหม่เอี่ยมมือ 1 จากสายการผลิต ของแถมก็ยังเหมือนเดิม คือ S100B Argus AEW 2 เครื่อง และเครื่องเปล่าๆ เอาไว้ฝึกบินอีก 1 เครื่อง พร้อมด้วย source code ที่จะทำให้ ทอ. ดัดแปลงเอวิโอนิกส์ ระบบตรวจจับ ระบบป้องกันตนเอง และระบบอาวุธได้เองในอนาคต (อันนี้ดีกว่า F-16 มากๆ ซึ่งจะทำอะไรทีต้องแจ้งมะกันเพื่อขออนุมัติก่อน) และที่สำคัญลงที่ บน.7 ซึ่งจะมีการปรับปรุง facility ต่างๆ ทั้งหมดใหม่ด้วย
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
17/10/2007 20:46:17
ความคิดเห็นที่ 68
ดีใจกับทอ.ด้วย
แต่หวังว่าคงไม่ล่มเหมือนรถเกราะยูเครนนะครับ
โดยคุณ
too เมื่อวันที่
17/10/2007 20:53:56
ความคิดเห็นที่ 69
เอาล่ะทีนี้มาดูว่า option ที่น่าสนใจจะมีอะไรบ้าง นอกจากอุปกรณ์พื้นฐานของ Gripen C/D batch3
1. เรดาร์ PS-05/A Mk.IV เป็นเวอร์ชั่นล่าสุดของเรดาร์ตัวนี้ มีการเพิ่ม mode precision strike และปรับปรุง mode SAR ใหม่ให้ดีกว่าเดิม ซึ่งเรดาร์ตัวนี้จะไม่มีการอัพเกรดอีกแล้ว เพราะ ในปี 2010 เรดาร์ NORA ที่เป็นแบบ AESA จะพร้อมสำหรับใช้งานอย่างแน่นอน
2. Link-16 data-link (ไม่แน่ใจว่าใช้ terminal MIDS-LVT หรือเปล่า หรือใช้ terminal เดิมของระบบ TIDLS แต่คาดว่าเป็นอย่างหลัง) ซึ่ง Link-16 นี้เป็น data-link มาตรฐานนาโต้ อันจะทำให้ Gripen ของ ทอ. สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับ บ.ของประเทศพันธมิตรต่างๆ ได้ รวมทั้ง E-3B/C, E-2C/D AWACS และ บ.รบหรือ บ.ลาดตระเวนอื่นๆ นอกจากนี้ยังเชื่อมต่อกับหน่วยภาคพื้นและเรือรบที่มี data-link แบบนี้ได้ ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพของ Link-16 จะสู้ระบบ Tactical Information Data-Link System (TIDLS) ของสวีเดนที่จะมาพร้อมกับเครื่อง เมื่อใช้งานในการรบ air-to-air ไม่ได้ แต่ก็มีความเข้ากันได้กับผู้ใช้งานอื่นๆ มากกว่า
3. Cobra helmet-mounted display (HMD) ซึ่งก็คือ หมวกนักบินติดศูนย์เล็งนั่นเอง หมวกนี้ผลิตโดย BAE System พึ่งจะได้รับการสั่งซื้อจาก ทอ.สวีเดน แต่ ทอ.แอฟริกาใต้ สั่งซื้อไปก่อนหน้านั้นแล้ว ซึ่งสามารถใช้ร่วมกับจรวด HOBS อย่าง Python-4 หรือ IRIS-T ได้
4. ระบบ IRST แบบ OTIS มีข่าวว่าระบบนี้จะพร้อมใช้งานในอีกไม่นานนี้ โดยติดตั้งที่หน้าห้องนักบิน (เหมือนของ Su-27/30, Mig-29) ระบบนี้จะเหนือกว่าของรัสเซีย โดยสามารถแสดงภาพเป้าหมายได้ (ปกติระบบ IRST ไม่แสดงภาพ แค่บอกตำแหน่งเป้าหมายอย่างเดียว) ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ระบบ OTIS ในการพิสูจน์ฝ่าย หรือทำ automatic target recognition ได้ รวมทั้งใช้มันในลักษณะเดียวกับระบบ navigation FLIR เพื่อการนำร่องในเวลากลางคืนได้อีกด้วย
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
17/10/2007 21:07:46
ความคิดเห็นที่ 70
ส่วนระบบอาวุธและอื่นๆ ที่เป็นระบบ external ที่คาดว่า ทอ. อาจจะสนใจ ประกอบด้วย
1. จรวดนำวิถีโจมตีเรือแบบ RBS-15
2. จรวด air-to-air แบบ IRIS-T หรือ Python-4/5
3. อาวุธร่อน KEPD-350 และ DWS-39
4. กระเปาะชี้เป้า Litening-AT
5. กระเปาะ ECM
6. กระเปาะลาดตระเวนทางอากาศ
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
17/10/2007 21:13:32
ความคิดเห็นที่ 71
ดีใจด้วยกับทอ.ครับจะใด้ JAS-39 แล้วยังใด้ AEW แถมด้วย ส่วนรถเกราะของ ทบ. คงต้องรออีกนานเลย
โดยคุณ nemesis เมื่อวันที่
17/10/2007 22:59:36
ความคิดเห็นที่ 72
Thailand selects Gripen and Erieye
In Bangkok, Thailand yesterday the Thai government announced the down-selection of the Saab Gripen new generation fighter, and the Saab Erieye Airborne Early Warning (AEW) system to meet its national defence needs.
17/10/2007 | The Thai Cabinet has approved a budget of 34,400 billion baht (US$ 1.1 billion) for the Royal Thai Air Force (RTAF) to procure 12 (twelve) Gripen multi-role fighters, to replace its ageing fleet of F-5 B/E aircraft, and 2 (two) Saab Erieye AEW aircraft, together with associated equipment and services. Negotiations between Thai and Swedish government officials will now commence in order to conclude a formal agreement.
The procurement process is divided into two phases; Phase 1 (one) covers the procurement of 6 (six) Gripen fighters, including spare parts and training, and 1 (one) Saab Erieye AEW system aircraft in the sum of 19,000 billions baht (US$ 600 million), within a 5 (five) year budgetary commitment from 2008 to 2012. In Phase 2 (two), the RTAF intend to procure an additional 6 (six) Gripen fighters together with associated equipment, spare parts and training, and a second Saab Erieye AEW system aircraft in the sum of 15,400 billions baht (US$ 500 million) within a five year budgetary commitment from 2013 to 2017.
Swedish Minister for Foreign Affairs, Carl Bildt says in a comment on Thailand and Gripen. I welcome the decision from the Royal Thai government to start negotiations with the Swedish government, to purchase Gripen fighter aircraft and the Saab Erieye Airborne Early Warning (AEW) system. This decision once again confirms that Gripen is a world class and cost effective system. The selection of Gripen was made in fierce competition with advanced US and Russian systems.
We must now wait for the result of the formal negotiations that will now commence between the Swedish and Thai authorities. When a formal agreement is in place, this will be managed in accordance with the appropriate export legislation, rules and regulations he stated.
Since 2003, the RTAF has been evaluating a suitable replacement for its ageing fleet of F-5 B/E fighters to undertake the air defence and protect the national interests of the Kingdom of Thailand. In its evaluations, the RTAF considered the requirements of suitable new generation aircraft to replace its F-5 B/E aircraft, including the need for true multi-role/swing-role capability, new generation flight control systems, communications systems, avionics systems and a weapons system. The new aircraft needed to be capable of joint operations and tactical data linking with allied ground, maritime and air forces, within an effective command and control system. In addition, the costs of operation, maintenance and through-life costs needed to be the lowest of aircraft of the same type.
Following its evaluation process, and in consideration of these critical performance issues, the RTAF has selected the Gripen multi-role fighter, manufactured by Saab to meet its future defence needs.
It is planned that the new Gripen fighters will be delivered into operational service in 2010. Sweden has also offered the Gripen fighters with a 2 (two) years maintenance and spare parts support package.
Moreover, other benefits in the form of Thai Sweden co-operation are proposed to enhance economic security such as industrial co-operation, maintenance and logistics co-operation, technology transfer, investment co-operation, export as well as science and technology.
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 05:57:01
ความคิดเห็นที่ 73
เท่าที่ดูเวบ ของ Gripen.com ไทยจะได้รับGripen ในปี2010 แต่ก็คงเอามาจาก Swedish Production line
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 06:09:22
ความคิดเห็นที่ 74
Moreover, other benefits in the form of Thai Sweden co-operation are proposed to enhance economic security such as industrial co-operation, maintenance and logistics co-operation, technology transfer, investment co-operation, export as well as science and technology.
หวังว่าการจัดซื้อครั้งนี้เราจะได้รับตอบแทนทางเศรษกิจ,อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี่ เทียบเท่า หรือ มากกว่ามูลค่าของเงินที่ประเทศเราซื้อ Gripen
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 06:28:27
ความคิดเห็นที่ 75
ใครจะว่ายังไงก็ไม่สน ผมยังยืนยันว่าผมรักน้องกิ๊ฟ (เฟ่น) คนเดียว จุ๊บ ๆ
ปล. มาป่วนยามเช้า
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
18/10/2007 08:12:23
ความคิดเห็นที่ 76
ความรู้สึกส่วนตัวจริงๆนี้ อยากให้ ทอ.เลือก F-16C/D Block52 Plus มาเป็น บ.ข.๑๙ข./ค. มากกว่าครับ เพราะเฉพาะในแง่สมรรถนะแล้ว F-16C/D จะมีพิสัยการบินน้ำหนักบรรทุกที่มากกว่า บ.Gripen มากและการฝึกนักบินและเจ้าหน้าที่ช่างประจำเครื่องนั้นสามารถเตรียมได้เร็วกว่าเพราะ ทอ.ก็มี F-16A/B และ ADF ประจำการอยู่แล้ว
แต่ถ้ามาเทียบในแง่ที่ว่าขณะนี้ ทอ.ต้องการ บ.ขับไล่สำหรับทดแทน F-5 อย่างค่อนข้างเร่งด่วน ซึ่งสำหรับ F-16C/D นั้น Lockheed มีสายการผลิตเครื่องให้หลายประเทศมากครับการทำสัญญา(หลังมีการเลือกตั้ง)และผลิตเครื่องเพื่อส่งมอบจะค่อนข้างช้ากว่า บ.แบบอื่นในกลุ่มอยู่
และถ้าเทียบกับ Gripen ที่สวีเดนอยากขายให้ไทยอย่างมากๆจนมี package แถมมาหลายอย่างทั้ง ERIEYE รวมถึงระบบอาวุธบางส่วนที่น่าจะอยู่ในรายการด้วยเช่น ขีปนาวุธต่อต้านเรือผิวน้ำ RBS 15 อาวุธนำวิธีรุ่นใหม่ๆอย่าง ขีปนาวุธร่อน KEPD-350 และขีปนาวุธอากาศสู่อากาศอย่าง IRIS-T, Meteor หรือ Python-5 เป็นต้น
ในส่วนของความเข้ากันได้ของระบบอุปกรณ์สนับสนุนนี้บางส่วนเราคงต้องจัดหาจากสวีเดนมาเพิ่มเติมครับ แต่ระบบอาวุธนั้น Gripen สามารถใช้อาวุธมาตรฐาน NATO ที่ ทอ.มีใช้ได้แทบทุกแบบครับทั้ง AIM-9 Sidewinder, AIM-120 AMRAAM, AGM-65 Marverick, ระเบิดไม่นำวิถีตระกูล Mk80s และจรวด2.75" และระเบิดนำวิถี Laser GBU ต่างๆ ยกเว้นก็แต่ปืนใหญ่อากาศเท่านั้นครับที่ต้องจัดหากระสุนขนาด 27มม.สำหรับปืน Mauser ซึ่งตรงนี้คงไม่ใช่ปัญหามากเพราะอย่างกระสุน 23มม.ของ L-39ZA/ART ศอว.ทอ.ก็สามารถผลิตเองได้ รวมถึงการที่สวีเดนจะถ่ายทอด Technolgy Software ระบบเครื่องให้นี้ บางที่ ทอ.อาจจะดัดแปลงให้ติดปืน M39 20มม.ของ F-5 เพื่อลดปัญหากระสุนก็ได้ครับ(ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องโครงสร้างเครื่องว่าจะใส่ปืนได้หรือไม่นะครับ)
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
18/10/2007 09:06:00
ความคิดเห็นที่ 77
มาร่วมแสดงความยินดีด้วยครับ.........................
เอ้า...........เอาเป็นว่า กริเป้น ก็ กริเป้น...............เมื่อ คนใช้จริง เค้า พรีเฟอร์(ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลกลใด)...........เมื่อเลือกแล้ว ก็ต้องร่วมดีใจด้วย...........................................
ผมรัก ซู-30 มากกว่าใดๆในตัวเลือก.....................(ผมรักท่านอดีตนายกมาก แต่ไม่ได้หมายความว่าผมรักซูเพราะผมรักท่าน อันนี้สามารถแยกแยะ)..........................................
บล็อค 50/52 หรือแม้แต่ 60 เป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจ.......................และเชื่อด้วยว่า ทอ. ก็ยังปลื้ม (ฟังจากคำพูดของท่าน ผบ.ทอ.).....................
แต่เมื่อ สถานการณ์และความเหมาะสม (อนุโลมให้เกียรติใช้คำว่าเหมาะสม)......................ตัวเลือกเหลือเพียง กริเป้น..................... เอาเป็นว่า เอ้า..................ว่าไงว่ากัน..................................
ความเหมาะสมก็คือความเหมาะสมครับ รัฐบาลที่แล้วเห็นว่า ซู-30 เป็นความเหมาะสม ...... มาถึงวันนี้ คณะทหาร เห็นว่า แจ้ส-30 เป็นความเหมะสม ก็โอเค้..........เหมาะสม...........................ให้เกียรติกัน
ร่วมภูมิใจกับว่าที่ บข. 20 ประเทศไทยของเราครับ ได้จริงๆซะที
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
18/10/2007 09:06:54
ความคิดเห็นที่ 78
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
18/10/2007 09:08:46
ความคิดเห็นที่ 79
ฟังคนฟิลิปปินส์เขาคุยเรื่องทอ.ไทยซื้อ Gripen กัน ........... เรากำลังพูดถึง Gripen ที่จะมาแทน F-5 ...... แต่เขากลับต้องพูดถึง F-5 เก่าของเราที่เขาอาจจะอยากได้มาใช้เป็นมือสอง ยิ่งไปฟังว่างบซื้อ Gripen ใน Batch แรกของเรา เท่ากับ 90% ของงบประมาณกลาโหมของเขาทั้งปี ........ ยิ่งกลัวว่าถ้าเราไม่พัฒนาประเทศ ในอนาคตอีกหน่อยเราอาจจะต้องเป็นแบบเขา........พูดถึง F-16 เก่าของสิงคโปร์ในขณะที่สิงคโปร์กำลังถอย F-35
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
18/10/2007 09:49:42
ความคิดเห็นที่ 80
ยินดี กับ ทอ.ด้วยครับ ได้เครื่องใหม่เสียที ลุ้นจนเหนื่อย
แต่วันนี้บอร์ดครึกคักดีจิงๆ ฮาๆๆ
โดยคุณ wingboy เมื่อวันที่
18/10/2007 11:06:12
ความคิดเห็นที่ 81
หนังสือพิมพ์บางฉบับเมื่อเช้าพูดถึงการได้ RBS-15 รวมในเพคเกจครั้งนี้ด้วย ก็เหมาะสมด้วยประการทั้งปวงครับเพราะเหมาะสมกับการปฏิบัติงานในพื้นที่อ่าวไทยและอันดามัน
โดยคุณ
สถาปนิกสงคราม เมื่อวันที่
18/10/2007 11:19:46
ความคิดเห็นที่ 82
ผิดหวังเล็กน้อย แต่ก็ยินดีด้วยกับ ทอ. นะครับ
แล้วคิวเรือดำน้ำของ ทร. เมื่อไหร่น้า.............
โดยคุณ
PREANG เมื่อวันที่
18/10/2007 12:09:54
ความคิดเห็นที่ 83
รู้สึกดีจริงๆ ช่วงนี้
ผมเชียร์เจ้าหนูนี่ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว เหอะๆ แต่ก็อย่างว่า กลัวอย่างเดียว
กลัวหลังเลือกตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งจะทำให้มันเป็นหมันได้มั้ยนะครับ
โดยคุณ
Tasurahings เมื่อวันที่
18/10/2007 13:27:02
ความคิดเห็นที่ 84
AIR FORCE / PROCUREMENT OF GRIPEN FIGHTERS
Chalit insists purchase of Swedish jets appropriate, also the best deal
WASSANA NANUAM
Air force chief ACM Chalit Phukphasuk insisted yesterday the bid to purchase Saab Gripen jet fighters from Sweden was appropriate, saying the Swedish government offered the best deal.
He also said the jets' capacities suit geographical aspects in the deep South, where they would be deployed.
The cabinet on Tuesday approved the air force's plan to buy 12 Gripen multi-role fighters from Sweden at a cost of 34.4 billion baht.
ACM Chalit said before seeking approval from the cabinet the air force had appointed a committee to manage the procurement of new jet fighters, intended to replace its aging American-made F-5E fighters.
Before finally choosing the Gripen jets, the committee considered three jet fighter models in total. The two other models were the American-made F16 C/D and the Russian-made SU 30 MK.
Under the air force's selection criteria, the jets must be equipped with advanced technology with the potential for future upgrades. The technology must be comparable or no less sophisticated than those jet fighters used or to be purchased by governments in neighbouring countries, said ACM Chalit.
The jets must also suit the geographical aspects of military operations in the South, where the jets would be deployed over Thai territorial waters, both in the Andaman Sea and the Gulf of Thailand.
Besides, he said the air force must be able to develop its own control over future aircraft maintenance.
ACM Chalit said that the Burmese junta had bought F16 jets but could not get them off the ground at the moment due to sanctions imposed by the US. (ใครก็ได้ confirm อันนี้หน่อยครับ)
In addition, the aircraft must suit the air force's needs in its attempt to develop a jet fighter command and control system and also a warning system for its future defence operations, he said.
ACM Chalit said Sweden had been more generous in its offer than the US and Russia in attempting to meet all the air force's procurement criteria. Besides giving five additional aircraft for free, the producer of the Gripen jets also agreed to give the air force confidential details on the operations of the fighters called ''source code data'' that enables the air force to upgrade the defence capacity of the aircraft on its own in the future.
Scholarships for air force technicians to be trained exclusively in the maintenance of Gripen fighters were also offered, he said, adding that the US and Russia had not made such offers.
Gripen-JAS 39C/D aircraft are small jet fighters that are more technologically advanced than the US-made F16 fighters, he added.
ACM Chalit said Sweden would deliver Gripen jet fighters to the air force three years after the procurement contract is signed. Then, air force pilots would need about a year's training to pilot them.
http://www.bangkokpost.com/News/18Oct2007_news29.php
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
18/10/2007 13:55:19
ความคิดเห็นที่ 85
อันนี้ฝรั่งทำ.........สงสัยได้แรงบันดาลใจมาจาก 701 กับรูปของคุณ Acid อิอิอิ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
18/10/2007 13:58:14
ความคิดเห็นที่ 86
โดยคุณ
Tasurahings เมื่อวันที่
18/10/2007 14:12:19
ความคิดเห็นที่ 87
ใครที่ทราบว่าจะเซ็นสัญญาเมื่อไหร่ ช่วยให้ข้อมูลหน่อยครับ เป็นข่าวที่ดีที่สุดในรอบเดือนนี้นะเนี่ย เหมาะสมแล้วครับ ได้อิริอายแถมมาด้วย อิอิ
โดยคุณ
A-mark เมื่อวันที่
18/10/2007 17:01:46
ความคิดเห็นที่ 88
GRIPEN PILOT REPORT
Gripen Key to Sweden's Air Defense Force Quick turnaround time, improved information warfare capability give Saab fighter an edge against larger foes
DAVID M. NORTH
6 December 1999
Aviation Week & Space Technology
68
Vol. 151, No. 23
English
© 1999 McGraw-Hill, Inc.
Sweden is constructing one of the most effective air defense structures in the world using its air force's Saab Gripen multirole fighter, Saab/Ericsson Erieye airborne early warning platform, tactical information data link, and a modern command and control system.
While the Swedish air force has had its tactical information data link system in operation since the mid-1980s, it is the replacement of the Saab Viggen with the Gripen and the addition of the Ericsson-developed early-warning system on a Saab 340B that has addressed modern information warfare and made the service a fourth-generation operational force. While the cost of the air national defense system is a large part of Sweden's military budget, it does not bear the high total cost of similar systems either being evaluated or installed by other countries.
I was fortunate to be invited to visit the F7 Wing at Satenas in late October to fly the Gripen. The air base had been chosen to be the primary training base for Draken and Viggen pilots transitioning to the Gripen. There are two JAS 39 training squadrons here, and the first 16 Draken pilots from the F10 Wing are undergoing training to be the nucleus of the first operational Gripen squadron at Angelholm. However, both JAS 39 training squadrons are considered to be combat operational by the air force.
The training facility here is housed in a ``Y''-shaped building adjacent to the Gripen ramp and hangars. It is specifically designed for training operations, with two full-mission simulators, four multimission simulators and numerous study rooms in one wing. The squadron offices and flight operations are contained in another wing, while associated units and the ground mobile command and control units are in the remaining wing. The facility is one of the best of its kind I have seen in military operations.
Transitioning pilots will receive 5-6 months of training in the Gripen here and then return to their respective squadrons for a year of advanced tactical training. New pilots joining the F7 Wing after a year of primary flight training and some 240 flight hours will train for one year in F7, receiving 40 hr. in the simulator and 62 hr. in the Gripen prior to going to a squadron for more advanced tactical training. The first group of these new pilots is expected at Satenas late next year.
Prior to the flight, I had to be fitted for an exposure or ``poopy suit'' as well as lower and jacket g-suits, all designed by the Swedish air force for its own operations. Because of the cold water temperatures in and around Sweden, an exposure suit is worn most months. The suit, once donned, is quite comfortable.
I was also able to sit in one of the four multimission trainers (MMT) for 30 min. to get acquainted with the Gripen cockpit. The cockpit briefing was given by Lt. Col. Bjorn Johansson, an air force test pilot attached to the Swedish Defense Material Administration (FMV). I was to fly with him the following day in the Gripen.
The Loral MMT is equipped with a Evans & Sutherland three-screen vision display, a head-up display (HUD) and the Gripen cockpit. The MMT can be linked with the dome simulators and other MMTs to show scenarios involving four aircraft. The cockpit is designed with three multifunction displays in a ``Y''or left, right and lower display arrangement, much like the Boeing F/A-18 series of multirole aircraft. An upfront controller is below the HUD, but a good adaptation of the hands-on-throttle-and-stick (HOTAS) concept eliminates having to reach up and use the up-front controller.
The left multifunction display (MFD) is used for flight data, including the HUD and defensive aids and sensor images that might be shown on the HUD. The right MFD is used to show the image from the Ericsson PS-05/A radar, as well as other images from a Flir or reconnaissance pod. Neither of these two capabilities are under contract for the Gripen at this time. The lower MFD contains the tactical picture shown on the horizontal situation display format.
MMT time was very valuable, and I had difficulty differentiating all of the functions of the radar, target acquisition, speed control and different map scales controlled from the throttle and throttle guard as my time ran out. While Saab has investigated voice activation of many of these functions, it is not a high priority program for the Swedish air force. The use of a trigger guard and a single trigger on the control stick to launch air-to-air and air-to-ground weapons was much easier to absorb in my training.
I also had a problem distinguishing the symbols shown on the radar and tactical displays for targets, threats and wingmen. This was related to my recent lack of practice in evaluating tactical air-to-air situations as well as the monochromatic display.
Symbols for wingmen are shown with ``tails,'' the number of tails representing the wingman's number. Their altitude is shown behind the symbol, and threats are shown as designated by the pilot, the wingman or ground control. I also found it hard to get accustomed to the symbology that designates target priorities. My slowness in comprehending all that was happening in the tactical area could be overcome, I learned, with more simulator time.
To further help the pilot's situational awareness, Ericsson has developed larger, color 6.2 X 8.2-in. displays to replace the smaller monochromatic ones in the existing Gripens. The newer displays should be available in the third batch of Gripens to be delivered beginning in the 2001-02 time frame. The day after my Gripen flight, I flew in a dome simulator at Saab's Linkoping facility. The simulator had the new displays, and I found that my ability to comprehend what was occurring in the tactical displays was greatly increased.
Doing the walkaround while the fighter was in the hanger gave me the opportunity to observe just how small the single-seat Gripen really is. If you take a Lockheed F-16C and reduce its wingspan by some 3.5 ft., length by 3 ft. and height by almost 2 ft., you have the JAS 39A. The Gripen's empty gross weight of 14,600 lb. is some 4,000 lb. lighter than the F-16C.
Seeing the Gripen with its access panels open also underlined the compact design of its interior. Because of the dense interior, I was surprised when Saab test pilot Magnus Ljungberg explained that the inflight refueling probe for the export version of the aircraft fits over the right engine intake without changing the aircraft's fuselage. This is one of the modifications being developed with BAe Systems for the export version of the Gripen. The extended probe is located approximately 90 deg. to the pilot, and Ljungberg said that refueling was quite easy.
There was clear access to maintenance panels from the hangar floor. The Gripen was designed by Saab to be repaired easily and quickly, with a low life cycle cost.
The Swedish concept of using dispersed bases for flying operations puts a unique demand on maintenance and reliability. The Gripen is equipped with a maintenance fault localization and diagnostic system that helps speed repair work. The bases often consist of a road with a turnaround area and some shelter under trees. The crew required to handle a Gripen at one of these dispersed bases is one officer and seven conscripts. F7 pilots claim that the ground crew is able to refuel and rearm the Gripen in less than 10 min. for an air-to-air mission and less than 20 min. for an air-to-ground mission.
With more than 14,000 missions flown in the Gripen, the air force is finding that the new aircraft is requiring at least 40% less maintenance man-hours and 50% of the fuel usage of the Viggen.
The following morning, the day of the scheduled flight, there was a low overcast, fog and rain and the only suitable alternate was to the far north. So we we did as many pilots had done before us--sat and drank coffee, discussed previous flying operations and waited for the weather to get better. By noon, the conditions had improved--the visibility had increased, and there were suitable alternates, although the overcast was still well below 500 ft.
Johansson and I walked to JAS 39B No. 802 in front of the training facility, while a second flight crew manned another JAS 39B. The two-seat aircraft are owned by FMV (F7 is not scheduled to receive a two-seater until late next year).
The first impression on reaching the two aircraft being prepared to fly was the noise level of the auxiliary power units. Saab is replacing the Gripen's Microturbo units with quieter Sundstrand APUs during the next year.
I took the rear seat while Johansson occupied the front seat. The two-seat Gripen is 2.2 ft. longer than the single-seat version, and the internal gun has been removed. Fuel capacity is the same for both aircraft. Unlike the Dassault Rafale, there is no HUD in the back seat, although HUD and video information can be depicted on the flight data display. I found that once strapped into the Martin-Baker ejection seat, with leg and arm restraints attached, the cockpit was very comfortable. The functions I needed to operate on either side panel were easily accessible. The recline angle of the seat is less than that of a F-16, but more than that of the Viggen and the Boeing Hornet.
THE SWEDISH APPROACH to fuel capacity and fuel usage is quite simple--when the internal fuel capacity is full, the gauge registers as 100% in the cockpit. There is no fuel quantity in kilograms or pounds, nor is there a fuel flow meter. Internal fuel is approximately 5,000 lb., and when a full center drop tank is flown, it shows 140%. Fuel bingo also is shown in percentage remaining. While we were carrying a center drop tank, there was no fuel in the tank. Ramp weight of the JAS 39B was close to 24,000 lb.
JOHANSSON STARTED the single Volvo Aero RM12 turbofan engine, and following a short after start and system check, we taxied to the active runway. He deactivated some of the radar modes and the defensive electronic countermeasure systems which were deemed to be sensitive. He also demonstrated the agility of the aircraft on the ground by using the nosewheel steering to make several 360-deg. turns. This capability is especially necessary when operating from dispersed bases.
Johansson advanced power and acceleration was especially brisk in afterburner, with a takeoff roll of close to 1,700 ft. (518 meters) Once the landing gear was raised, the close-coupled canard-delta configured aircraft was clean with no other inputs needed. We entered the overcast at about 400 ft. and came out in the clear about 8,000 ft. The single-seat Gripen has the ability to climb to 33,000 ft. in less than 2 min.
Once leveled near 20,000 ft., Johansson gave me control of the aircraft. He then proceeded to demonstrate many of the features of the Gripen in the air-to-air role and the air-to-ground roles. One of the most impressive features of the aircraft is the ability to remain in a passive radar mode while targets are fed to the aircraft by data link from either a wingman or a ground controller. A ground controller in our area designated our wingman some 30 naut. mi. away as a target, and his altitude appeared behind the target symbol. While still passive, we choose the Raytheon Amraam for launch and fired the simulated missile for a hit.
The Gripen is currently capable of carrying four Amraams on the underwing stations, and a center fuselage station launcher is under study that would be capable of carrying two more Amraams. Full integration of the radar missile into air force operations was accomplished in April.
Early warning and battle management for the Swedish military has been further enhanced by the introduction of the Ericsson Erieye early-warning system mounted in a Saab 340B turboprop. The active phased array pulse Doppler radar offers an increased range of land-based radar out to 450 km. (243 naut. mi.), and a detection range for small fighter type aircraft of close to 350 km. (189 naut. mi). The Erieye uses S-band radar for a sharp and narrow main beam with low sidelobes. This configuration also is more resistant to jamming. The Swedish air force has four Erieye in operation, while two will be loaned to the Greek air force for several years prior to their receiving similar Ericsson Erieye systems mounted on Embraer 145s. The Swedish air force will eventually operate a total of six Erieye aircraft in two operational squadrons.
Johansson then identified a ground target that showed up on our multisensor display, that had been designated by our wingman and data-linked to us. Additional information from our wingman, included his fuel state, weapons available, targets selected and the view through his HUD, all appeared on the multisensor display. We selected a simulated RBS-15 antiship missile and launched it some 30 naut. mi. away from the ship in a harbor on Lake Vanern near Satenas.
THE PS-05/A RADAR was turned on and the antenna removed from its near horizontal park position. In the air-to-ground mode, the resolution mapping of the lake was quite good, but it had the capability to be better. The radar has ground/sea moving target indication and tracking, as well as air-to-ground ranging. In the air-to-air mode, the Gripen's radar has an all-altitude look-down capability and can track up to 10 targets. Its track-while-search feature in the automatic mode assures good situational awareness, and the mission computer predicts the greatest threat to the aircraft.
Ericsson is looking to the U.S. and France to help in the development of an active electronically scanning antenna for the Gripen. A contract for joint development is planned for next June with the intent of having a demonstration of the new radar in 3-4 years.
With the radar still in the air-to-air mode, we picked out our wingman/target at near our 10 o'clock position and switched to the heat-seeking missile mode. While we did not receive a tone, the wingman was well within the range of the Sidewinder-type missile. The range circle around the pipper showed maximum, no escape and minimum range of the missile's envelope, although I still could not see our wingman. Johansson attempted to point out our wingman passing across our nose and moving to the one o'clock position. A helmet-mounted sighting system is in development for the Gripen, and a prototype is being flown at Saab in its dome simulator.
Another virtue of the Gripen is its small size, a not-to-be-underestimated positive factor when it comes to within visual range combat. I had difficulty picking the wingman out over the overcast until he reached our two o'clock position low. I rolled in on the wingman, and switching to guns, saw the symbol on the gunsight indicating hits on the other Gripen. While Johansson had to coach me through the switching of radar displays and weapon selection, I realized Saab and the Swedish air force have achieved a low pilot workload for the combat scenario. Compared with other multirole aircraft I have flown recently, the situational awareness and workload in the Gripen appeared to have the edge for intuitive movements and simplicity.
A session in the planning and analysis room after the flight showed all of the parameters of our flight from a digital recorder. The tape verified our missile and gun hits, as well as indicated generic maximum and no-escape ranges. The tape records all button or switch activations as well as flight parameters, weapon delivery envelope and results, and ongoing tactical situation. Four aircraft can be flown together in the evaluation scenario.
I DID NOT MAKE a very good rendezvous with the wingman, missing our closing rate by a large factor, even though his speed was shown on my airspeed indicator. The airspeed is shown in km./hr. and the altitude in meters. While the conversion was my problem, not the Swedes, I had some difficulty in adjusting to the layout of the altimeter, where an even 1,000-ft., (or even-meter) altitude is not shown by a needle arm at the 12 o'clock position, as it is on a regular altimeter.
Flying formation on the wingman was quite simple. This is when I realized that the triple digital flight control system in the Gripen made flying easy. The position of the throttle and the stick mounted on a pedestal below the instrument panel were very comfortable to operate, making another point for good machine-man interface. The Gripen's stick is designed for movement, some 9 deg. forward, 13 deg. aft and 7 deg. left and right.
Stick movement became more of a factor later when I did a full-throw aileron roll at Mach 0.79. Roll rate was on the order of 240-deg./sec, Johansson said. The altitude was near 15,000 ft. at the time. An initial 6g pullup to a loop was done at 450 kt., and I came out at 10 deg. off heading. A 6.5g turning pull in military power showed the excellent turning capability of the Gripen. Sustained turn performance of the 9g aircraft is given at 20-deg./sec. As Johansson said, the delta wing Viggen seemed to push the air around in a turn, while the Gripen cuts through the air almost effortlessly. The aircraft also provides a very steady gun platform, which I learned as I flew some steep gun attacks against the top of clouds.
The clean lines of the Gripen were apparent as Johansson and I had to keep track of my power setting and speed so as not to break Mach 1.0. The Gripen will do Mach 1.05 at low level in military power. Advertised maximum speeds for the Gripen are Mach 1.2 at low level and close to Mach 2 at high altitude. Maximum aerodynamic speed of the Gripen has been calculated to be 1,400 kph. or 755 kt.
Johansson said that there have been no problems with the Volvo RM12 engine in the Gripen development or during its some 14,000 missions. The RM12 is a cooperative engine program with General Electric based on the F404 engine in the Boeing F/A-18 Hornet.
The Gripen has been taken to a deep stall, where power was moved continuously between flight idle and military power without any stall stagnation problems. The engine also has operated well at 160-deg. angle of attack and 90 deg. of slideslip, Johansson said.
Volvo redesigned the fan in the F404 engine to give a 10% increase in airflow, with a 6% increase in thrust while increasing the turbine temperature slightly for the RM12 design. The front frame of the engine also was modified to better withstand bird strikes. Volvo also is working on a new full-authority digital engine control (FADEC) and a redesigned afterburner flame holder for the RM12 engine. The 18,400 lb. of thrust in afterburner gives the aircraft excellent acceleration characteristics, and Saab says the Gripen will go from Mach 0.5 to Mach 1.1 in approximately 30 sec. at low altitude.
Similar to other aircraft of like design, such as the French Rafale, test pilots have found that the Gripen is spin-resistant. The aircraft has been put in spins during testing, but some of the control laws and the spin recovery mode in the flight control system had to be modified. The spin recovery mode in the Gripen first stops roll oscillation, then yaw, before pitching the nose of the aircraft down.
By this time, the fuel remaining in the Gripen was reading 40%, and Johansson indicated the steering cue on my HUD display that would get me back to Satenas. A descent was made in the clouds to 800 meters (2,624 ft.) at 500 kph. (270 kt.). The Swedish air force uses a tactical landing system, similar to that of the U.S. Navy, with a slight offset from the runway, Johansson said. At 600 meters (1,970 ft.) and 450 kph. (243 kt.), the autothrottle was engaged by depressing a button on the throttle. The symbology for the approach was easy to follow, although I found myself looking for a rate of descent indication. There is not one installed in the Gripen, because the pilots believed it was not needed.
The aircraft was very steady on the approach and aircraft response matched control input at the lower speeds. Once we broke out below the overcast at some 100 meters (328 ft.), Johansson took the aircraft and landed at near 130 kt. with a angle of attack near 13 deg. for the final approach.
All three landing gear have carbon brakes installed and an antiskid system. On landing, the leading edge of the canard goes down and the elevons go up and the fuselage mounted speedbrakes extend. Stopping distance was about 600 meters (1,970 ft.), although Johansson did not apply maximum braking.
WHILE NOT ABLE TO MAKE the landing in the Gripen, I did land on a road in the high-fidelity Gripen dome simulator at Saab, and found the landing characteristics exactly as I had observed at Satenas. The aircraft was stable on approach, and landing without flare at 130 kt., the Gripen was easily stopped within 600 meters. All in all, I had flown approximately one hour in the Gripen from blocks to blocks. This is a fairly standard flight with internal fuel and more than ample reserves, Johansson said.
There are a number of upgrades and new equipment planned for the Gripen. After flying the aircraft with its smaller monochromatic displays, the larger color Ericsson displays, as flown in the dome simulator, will make a big difference to improve the pilot's situational awareness. An OBOGS on-board oxygen generating system will replace the traditional oxygen system in later aircraft. A new inertial navigation system with GPS also is under development. An integrated infrared search and track system is being developed for the Gripen by Saab Dynamics, and it appears that an advanced electronically scanned array (AESA) radar will eventually replace the Ericsson PS-05A radar.
While I was not able to fly the Gripen for a low level flight, my impression is that it would behave quite well at 450 kt. at 200 ft. A digital terrain following feature, such as flown in the Rafale earlier this year, is under discussion for the Gripen, especially if required by an export customer.
Any multirole fighter/attack aircraft is a compromise these days, and the Gripen is no exception. When developing the Gripen, the Swedish air force, FMV and Saab opted for a small aircraft, with good performance and with emphasis on excellent warfare information capabilities. After flying the Gripen aircraft and simulator, and observing the Swedish air force operational philosophy and capabilities, I believe the Swedes hit the mark.
The Gripen is about half the weight of the Boeing Super Hornet I flew last year and the Dassault Rafale flown earlier this year (AW&ST Aug. 31, 1998, p. 50; July 5, p. 48). It also is considerably lighter than the Eurofighter. With this lighter weight comes a less expensive airframe, with the Gripen coming in at close to half the flyaway price of the Super Hornet, Rafale and Eurofighter. The lighter weight also means less payload capability. But, with the Gripen's current payload, the reliance on smart weapons and the quick-turnaround capability from dispersed bases, a high payload requirement is not as important.
While high performance was not the Swedes' highest priority in its compromise package, the balance between the aircraft's speed, acceleration, turning rate and overall maneuvering capability makes the Gripen an excellent multirole combat aircraft. While not a stealthy aircraft, or in the same league as the Lockheed Martin-Boeing F-22 Raptor, its small size and design does give it advantages against larger foes.
Where the Gripen has the current advantage over many of its competitors is its information warfare capability and pilot's situational awareness. The aircraft's secure tactical data link system is the key to the pilot's ability to understand and exploit the tactical combat situation. This system also allows one aircraft to be the radar emitter, while transmitting all of the necessary target data to four passive aircraft spread out for tactical advantage. That same tactical information can come from ground control or from the Swedish air force Erieye early-warning aircraft. The low workload coefficient built into the Gripen also allows the pilot improved situational awareness when it is most needed.
The downsizing of the Swedish air force has been one of the driving forces to not only develop an efficient multirole aircraft, but also one that is reliable and maintainable. The Gripen will eventually replace the Viggen flown in the separate fighter, attack and reconnaissance roles. In the late 1980s, the Swedish air force had 425 combat aircraft in some 26 squadrons. By 2007, the 204 Gripens on order will have been delivered, and there are plans to have them operational with eight squadrons, although the basing and potential further base closures is still under discussion in the Swedish Parliament.
FROM MY TIME WITH the Swedish air force, both this recent visit and flying the Viggen with the F13 Wing some time ago from the closed Norkkping base, it would appear that the service is successfully trading in quantity of aircraft for the quality of tactical air operations offered by the Gripen, Erieye and the Swedish military command and control system.
During dinner following the flight, Maj. Gen. Jan Jonsson, inspector general of the Swedish air force, said that he was hoping the service would expand its international scope and participate in NATO-type peace-keeping operations. I have to believe that any tactical operational theatre commander would welcome a squadron of Gripens on the ramp
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
18/10/2007 17:38:49
ความคิดเห็นที่ 89
Inside SA's hi-tech warbird
By Helmoed R๖mer Heitman
Air warfare is a complex thing. Its effectiveness is determined by a host
of factors, among them fighting strategy, aircraft numbers, manoeuvrability, weaponry, defensive capability, communications,
maintenance, ground support and intelligence.
Oh, and something the experts refer to as "an edge".
The South African Air Force will soon become one of fewer than a dozen air
forces operating fighters of the "4th generation", ensuring that world's
second-oldest independent air force keeps its edge through the first
decades of the 21st century. Its new Saab Gripen fighters will replace the present Cheetah C between 2007 and 2012, and are likely to remain in service until 2030 or longer.
What makes these 4th generation fighters so special?
The Gripen was the first of the "4th generation" fighters to enter service, and is so far the only light fighter of that generation in operation (the American F-35 Joint Strike Fighter is still in development). The American-built F-22 Raptor, the Eurofighter Typhoon and the French Rafale are much larger and considerably more expensive.
So what makes these 4th generation fighters so special? Stealth technology, for a start, together with fully integrated digital systems and inherently unstable - and thus very manoeuvrable - airframes made flyable by "fly-by-wire" computer-controlled systems.
Development of the Gripen began back in 1982. It first took to the air in
December 1989, becoming operational (in the Swedish Air Force) in 1996. The first JAS-39C, on which the SAAF version is based, was delivered in September 2002.
The Swedes chose a light fighter for several reasons, one of the most
important being its lower acquisition and operating costs. It also comes
with operational advantages: a small aircraft is also a smaller radar and
visual target; and is better suited to the dispersed operations of the
Swedish Air Force, which regards large bases as too vulnerable. In action, its fighters would disperse to small tactical bases and hardened and prepared stretches of road 800m long and 17m (sometimes only nine metres) wide.
A key requirement was the ability to conduct operations with minimal ground support equipment and technical personnel at these dispersed bases - and here the Gripen excels. It can be turned around between missions by just one technician and five conscripts - within 10 minutes for air defence missions and 20 minutes for strike missions, depending on the weapons load.
A further critical requirement was for a true multi-role fighter that would
be equally effective in air combat and ground attack. In fact, the Swedes go further and use the term "swing role", referring to the Gripen's ability to swing from air-to-air to air-to-ground during a mission. In reality, this flexibility would be limited by the weapons already loaded for the mission, but the concept does underline the flexibility of modern digital
avionics and mission systems.
The final critical requirement was that the new fighter would fit into the
concept of "net-centric" operations, with full data exchange between
aircraft and other systems by datalink to gain maximum force flexibility
and effectiveness. The aircraft was also required to operate independently of the full command and control system.
All of these factors are important to a small air force that can afford
only a few fighters, and one that is not exactly over-endowed with
technicians. They will be particularly valuable to the SAAF, which operates a very small fighter force in a very large theatre, and needs all the flexibility that it can squeeze out of its aircraft.
The design that meets this stringent requirement is a single-engine,
close-coupled canard delta-wing aircraft that's both small and agile, and
makes optimal use of modern technologies. The 45-degrees delta wing is mid-mounted to provide clearance for under-wing weapons. The all-moving 45-degrees delta fore-planes are higher, to optimise the airflow over the wing. They also improve short-field performance by generating lift during the critical nose-high take-off and landing phases, where conventional tail surfaces have to generate a downforce to raise the nose.
They tilt to almost 90-degrees during the landing run to act as enormous airbrakes, allowing the Gripen to do without a thrust-reverser. The main
wing has leading-edge flaps and trailing edge "elevons" (combined ailerons and elevators) to enhance short field performance.
This canard layout - coupled with the low wing loading of 341 kg/sq.m
results in a very agile aircraft with a 30 degrees per second instantaneous turn rate (the F-16 achieves 20 degrees per second), a 20 degrees per second sustained turn rate, and a roll rate of 240 degrees per second.
Power is provided by a Volvo Aero RM-12 turbofan developed from the General Electric F404, a variant of which powers the US Navy's F/A-18s. It has a larger fan to increase the airflow and power, giving 5 400kg of dry thrust and 8359kg of thrust in afterburner, for a thrust-to-weight ratio of 0,94. Although this is not in the league of some modern fighters, which boast ratios in excess of 1, the Gripen is anything but a wimp, and has plenty of power for good overall agility. As a turbofan it is relatively thrifty, burning 50 litres a minute in dry thrust and 150 litres a minute in
afterburner.
A full-authority digital engine control (FADEC) system optimises engine
operation and automatically switches to back-up systems when necessary. It also monitors the engine's performance and ongoing condition. The engine is modular is design, which greatly simplifies maintenance and repair in the field. When an entire engine has to be removed, it can be done by a team of four using mini-hoists and normal hand tools.
The Gripen C, developed with BAE Systems, has a retractable in-flight
refuelling probe and an on-board oxygen generating system to allow longer missions.
A Lockheed-Martin/BAE Systems full-authority triplex digital "fly-by-wire"
flight control system allows full use of the agility inherent in the
Gripen's "relaxed" static stability by giving "carefree" handling
characteristics: the pilot can throw the aircraft around with abandon,
secure in the knowledge that the flight control system will not allow it to depart from controlled flight.
To that end it limits the load factor (the amount of "G"), the angle of
attack (the difference between the attitude of the aircraft and its
direction of flight), the angle of sideslip and the roll rate. It also
prevents the aircraft from entering a spin, and has an auto-recovery
function. It harmonises the control surfaces to give good damping and gust alleviation - particularly important during low-level tactical flight.
Given its absolute dependence on the electronic flight control system, the Gripen needs a backup - and it comes in the form of a "get you home" analogue flight control system that disconnects the canard fore-planes to stabilise the aircraft in pitch, enabling the pilot to fly without computer assistance. There is also a multiple power supply backup that includes batteries and an emergency thermal battery pack providing nine minutes of power.
The Gripen has an "all-glass" cockpit with no analogue instruments - not even as backup. Everything is shown on colour flat-panel multifunction
displays. The flight controls are more conventional, with a central
"mini-stick" and normal throttle and rudder pedals. The seat is raked at
27ฐ for high-G manoeuvring.
All time-critical functions are controlled by buttons and switches on the
throttle and the stick, allowing the pilot to keep his hands where they're needed in combat, with no need to reach for switches. That simplifies his task and reduces the risk of a fumble, particularly during high-G
manoeuvring. The throttle (also termed "system hand controller") has no fewer than 14 functions.
The core philosophy underlying the avionics and navigation/attack systems is "don't need, don't show", with the pilot selecting what he needs and the system injecting critical or emergency information when necessary.
The cockpit has five displays: wide-angle (297 x 22 degrees) head-up display, three 152mm x 203mm interchangeable colour multifunction displays MFDs), and an integrated helmet-mounted sight and display system. The MFDs are fully compatible with night-vision
goggles.
HUD (Head-Up Display) shows weapon aiming data (cannon lead angle and missile firing cues in the air-to-air role; continuously-predicted impact point, continuously-predicted release point and so on in the air-to-ground role).
FDD (Flight Data Display) is usually the left-hand MFD. Shows flight data
(speed/ Mach number, rate of climb, angle of bank and so on), fuel status and system status information for the aircraft, the engine and the stores carried (weapons, reconnaissance pod, etc).
HSD (Horizontal Situation Display) is usually the centre MFD. Shows
navigation and tactical data on a selectable-scale moving map display.
MSD (Multi-Sensor Display) is usually the right-hand MFD. Shows the radar picture, imagery from the forward-looking infrared or infrared search and track sensors, data from the electronic warfare system, and information from a real-time reconnaissance pod if one is being carried. Flight and fire-control data are superimposed.
IHMD (Integrated Helmet-Mounted Display) shows key flight and weapons data by projecting them into the pilot's field of view, allowing him to monitor critical information while keeping his opponent or a ground target in sight. It can be used to cue sensors and weapons, and can be used with night-vision goggles.
The IHMD is the Cobra system developed by BAE Systems, Saab and the Kentron division of South Africa's Denel. Kentron's element is the unique optical head position sensor sub-system that keeps track of where the pilot is looking, which is essential if accurate data is to be presented regardless of the pilot's head position.
It uses an array of LEDs on the helmet, monitored by receivers in the
cockpit, and has proven more accurate than electromagnetic systems. It is also immune to electromagnetic changes in the cockpit when new equipment is installed. The Striker helmet of the Eurofighter Typhoon of the Royal Air Force, German Air Force and Spanish Air Force will also use the Kentron system.
The Gripen's datalink allows it to exchange tactical picture and target
data with other fighters, command aircraft and ground radars. Quite apart from enhancing the pilot's situation awareness, it enables an aircraft to "illuminate" targets for others, allowing them to approach radar-silent (pilots call this "nose cold"), with no emissions to give them away. One aircraft can also pass updated target data to a ground attack strike package, enabling the mission leader to update the attack plan on the basis of the current situation before his aircraft enter the immediate target area.
The core philosophy underlying the sensor system is data fusion, presenting the pilot with a tactical picture that's compiled by fusing the information gathered using all of the aircraft's own sensors and the information passed to it by other aircraft or the ground command post by means of the datalink. The idea is to give the pilot the best possible situational awareness at all times.
The Gripen's primary sensor is its multi-mode Ericsson radar (it's also
equipped with an integral electronic warfare system). It can carry an
optronic night navigation and targeting pod, and will in the future have an infrared search and track system. For reconnaissance missions it can carry pods with "wet film" or optronic/digital sensors. In the latter case the imagery can be displayed in the cockpit.
Then there's the radar system. The Gripen's Ericsson PS-05A long-range
multi-mode pulse Doppler radar uses the I/J-Band (8 to 20 GHZ) and employs low-, medium- and high-pulse repetition frequency modes for different applications.
The radar is claimed to have excellent "look down" performance, able to
distinguish targets in the clutter of ground radar reflections, and has a
full suite of electronic counter-counter measures, optimised by using fully programmable signal and data processors.
The Zeiss Optronik Litening pod has been integrated with the Gripen, and can be used for low-level night/poor weather navigation, and for target acquisition and precision engagement. It mounts a high-resolution forward-looking infrared sensor with wide (search) and narrow (acquisition/targeting) fields of view, a charge-coupled device TV camera for daylight operations, a laser range-finder, and a laser designator for laser-marked-target seeking bombs and missiles. There is also a video downlink that can be used for reconnaissance or surveillance situations.
An on-gimbal inertial navigation sensor establishes line of sight and
bore-sighting with the aircraft systems, and an automatic target-tracker
provides fully stabilised tracking throughout normal ground target
engagement manoeuvres. The pod's sensors can be cued using the helmet display to designate a target.
The Gripen has also been designed to mount an infrared search and track (IRST) system for passive acquisition and tracking of aerial targets, giving the obvious and very real advantage of not announcing to the target aircraft that it has been acquired and is being tracked.
The IRST system will be integrated with the helmet sight to alert and cue the pilot, and can be used to cue the radar and the aircraft's missiles. The system being developed for the Gripen is the Saab IR-OTIS, an imaging IR system that can be used to identify a target. It will be mounted in a dome on the nose ahead of the cockpit.
The Gripen's integrated electronic warfare system warns the pilot of
threats, alerts him when his aircraft has been acquired, is being tracked
or is being engaged, protects the aircraft against radar acquisition and
tracking, and records electronic threats for later downloading and
analysis. The SAAF aircraft may receive the standard system, but may
alternatively use the South African multi-sensor warning system developed by Avitronics, which offers the same functions and is highly regarded.
The warning portion of the system comprises radar warning receiver, laser warning and missile approach warning sub-systems. The self-protection portion comprises an internal jammer and chaff/ flare dispensers in two weapons pylons.
The Gripen can also carry an external jammer pod, and a BO2D towed radar decoy in place of one of the chaff/flare dispensers. The BO2D is a two kilogram unit towed 100m behind the aircraft. The final element of the electronic warfare suite is an IFF (identification, friend or foe) system, which interrogates other aircraft prior to engagement to prevent "blue on blue" incidents, and identifies the Gripen to other friendly systems. In SAAF service this system will use a transponder developed locally by Tellumat.
The Gripen is intended primarily to use air-to-air missiles and "smart"
air-to-surface weapons, but can also deliver "dumb" bombs when these are better suited to a target, and the single-seat variant also has a 27mm Mauser BK27 cannon armed with 120 rounds.
Short-range air-to-air missiles will generally be carried on the wing-tip
rails, leaving the centreline station and four under-wing stations free for heavier weapons and fuel tanks. Those stations can be fitted with
Nato-standard weapons pylons developed and manufactured in South Africa by Denel Aviation, allowing the Gripen to carry a wide range of weapons.
Among the air-to-air weapons being qualified on the Gripen are the latest generation of the American Sidewinder IR-homing "dogfight" missile, the American AIM-120 AMRAAM beyond-visual-range missile, and the European BVR Meteor and ASRAAM and IRIS-T short-range IR-homing "dogfight" missiles. The SAAF will employ Kentron's V4 BVR missile and may use the V3C U-Darter short-range missile until a new generation weapon is acquired. It is considering the IRIS-T, but might support Kentron's advanced A-Darter project.
Air-to-surface weapons to be qualified on the Gripen include the Saab
RBS-15 missile, an anti-ship and anti-land target weapon; the
German-developed Taurus KEPD-150 and 350 weapons (with 150km and 350km range respectively); and a full range of laser-marked target and other precision-guided and unguided bombs.
Pilots for the Gripen will first learn to fly on the turboprop Pilatus
Astra at the Central Flying School, and then go on to the BAE Systems Hawk lead-in fighter trainer at 85 Combat Flying School to learn the ins and outs of fast jets and air combat, and to gain experience. Once they join 2 Squadron ("Flying Cheetahs"), they will spend time in a full mission Gripen simulator to become acquainted with the aircraft and then fly the dual seat version before transition to the single-seater.
A small group of pilots on the project team has already begun flying the
Gripen, but the first formal course will comprise combat instructors with
Cheetah C experience, who will be trained in Sweden and who may join a Swedish Air Force Gripen squadron as part of a pilot exchange programme. They will then present the first SAAF Gripen course at AFB Makhado in 2009, training a mixed group of experienced Cheetah C pilots and new fighter pilots fresh from the Hawk.
Technical personnel will initially be trained by Saab, with support from
the Swedish Air Force.
----------
Fighter generations
The fighter aircraft since WW II are often divided into "generations"
grouped by basic characteristics:
1st Generation: The subsonic/transonic day fighters of the 1950s, which
differed from the WW II fighters mainly in being jet powered and much
faster - F-86 Sabre, MiG-15, Hunter, Mystere and Saab's J-29 Tunnan.
Generation 1.5: the first supersonic fighters, but still relatively simple
day fighters - F-100 Super Sabre, MiG-19, Lightning, Super Mystere.
2nd Generation: The supersonic single-role fighters of the 1960s, which had a limited night and poor weather capability, and which had integrated analogue avionics and weapon systems - F-104 Starfighter, MiG-21, Mirage III and Saab's J-35 Draken.
Generation 2.5: the fighters of the 1970s, which had better secondary role capability but did not mark a real generation change - F-4 Phantom, MiG-23, Mirage F1 and SAAB's J-39 Viggen.
3rd Generation: The multi-role fighters of the 1980s, which had
"fly-by-wire" control systems, digital but separate avionics and weapons systems, and which were largely optimised for one role but had capability in the other - F-16 Falcon, MiG-29, Tornado, Mirage 2000.
Generation 3.5: Upgraded 3rd Generation aircraft, much more capable but still with 1970s aerodynamics and separate systems - F-16C, Mirage 2000-5.
4th Generation: The fully-multi-role fighters of the 1990s, developed from the outset as fully integrated digital systems with a databus and
standardised interfaces, and also incorporating stealth features - F-22,
Rafale, Eurofighter, Gripen.
----------
Maximum Speed
1 400 km/h at sea level (just over Mach 1)
2 120 km/h at high altitude (Mach 2)
Note: The Gripen is supersonic at all altitudes. It can sustain supersonic
speed without afterburner at high altitude.
Thrust to weight ratio : 0.94
Acceleration : Mach 0.5 to Mach 1.1 in 30 seconds at sea level
Take-off : 400 m
Landing : 500 m
Climb : 100 seconds from brakes-off to 10 000 m
180 seconds from brakes-off to 14 000 m
Roll rate : 240 degrees per second at Mach 0,79
Turn rate : 30 degrees per second instantaneous
20 degrees per second sustained
360-degree turn : 12 to 18 seconds
Load factor : +9G to -3G
Length : 14.1 m
Wingspan : 8.4 m
Wing area : 30 sq.m
Maximum take-off : 14000 kg
External load : 5000 kg
Air-to-air range : 800 km with two medium- and two short-range missiles
This article originally appeared in the June issue of the South African
edition of Popular Mechanics magazine
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
18/10/2007 17:54:07
ความคิดเห็นที่ 90
ขออภัยด้วยนะครับที่ยาวไปหน่อย แต่บทความน่าสนใจดี อาจจะเก่าไปซักหน่อย แต่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับ gripen ได้จุใจดีครับ (สำหรับท่านที่ไม่ถนัดภาษาอังกฤษ ต้องขออภัยอีกรอบ เพราะ แปลให้ไม่ไหวจริงๆ)
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
18/10/2007 18:05:58
ความคิดเห็นที่ 91
ทอ.แจง"กริฟเฟน"เจ๋ง-ทันสมัย ได้รหัสข้อมูลพัฒนาใช้อนาคต
ทอ.แจงซื้อเครื่องบินขับไล่"กริฟเฟน" อ้างทันสมัยสมรรถนะเยี่ยม จัดซื้อง่ายไม่ต้องรอรัฐบาลสวีเดนอนุมัติ เหมาะใช้พื้นที่ภาคใต้ แถมได้รหัสข้อมูลไว้ใช้พัฒนาในอนาคตด้วย ผบ.ทอ.ยันเดินหน้าซื้อให้ครบ 12 ลำ
ที่กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงในระดับ 5 เสือ ทอ. เปิดแถลงโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แทนเครื่องบินเอฟ 5 อีเอฟ เพื่อประจำการที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ว่า การจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 และเสนอเรื่องไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อขอความเห็นชอบในปีงบประมาณ 2551 จำนวน 12 เครื่อง เพื่อให้ทันกับการที่จะปลดประจำการของเครื่องบินเอฟ 5 ที่มีภารกิจในการดูแลภาคใต้ บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจัดหาจำนวน 6 เครื่อง ในวงเงิน 19,000 ล้านบาท โดยใช้งบฯที่อยู่ในกรอบการจัดสรรตามปกติประจำปี ไม่ได้ขอเป็นงบฯพิเศษเพิ่มเติม กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อมูล โดยมีเครื่องบินรบที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย 3 แบบ คือ เครื่องบินกริฟเฟนซีดี ของสวีเดน เอฟ 16 ซีดี ของสหรัฐอเมริกา และเครื่องบินซู 30 เอ็มเค ของรัสเซีย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมถึงจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนแทนที่จะซื้อเครื่องบินเอฟ 16 ที่กองทัพอากาศมีใช้อยู่แล้วเพื่อจะได้ไม่ต้องไปฝึกใหม่ พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า เครื่องบินเอฟ 16 เอบี หรือซีดี เมื่อซื้อใหม่ก็จะต้องฝึกใหม่ เพราะระบบภายในทุกอย่างจะมีการพัฒนา และทำการพร้อมรบจะต้องใช้เวลา ยอมรับว่าเครื่องบินเอฟ 16 ถือเป็นเครื่องบินที่ดี แต่บางครั้งเรารอไม่ได้ที่จะเจรจา หรือขอทำความตกลง ซึ่งกว่าจะได้เครื่องมาก็จะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี ถึงจะมีขีดความสามารถในการรบได้ เนื่องจากจะต้องทำการอนุมัติทั้งสองฝ่าย ทำการฝึกบิน กว่าที่จะมีชั่วโมงบินรบได้นั้นจะต้องใช้ระยะเวลา
"สวีเดนอยู่นอกนาโต ดังนั้นการพิจารณาอาวุธต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่มีนาโตเข้ามาช่วย และสวีเดนมองคู่ต่อสู้คือรัสเซีย ดังนั้นระบบอาวุธจะต้องใช้ต่อสู้กับประเทศที่เป็นภัยคุกคาม นอกจากนี้เรดาร์และอาวุธทุกประเภทสามารถจะจัดซื้อมาได้ทั้งหมด แต่หากไปซื้อจากบางประเทศอาจจะต้องไปขออนุมัติจากรัฐบาลก่อน แต่กริฟเฟนง่ายต่อการจัดซื้อ" พล.อ.อ.ชลิตกล่าว
พล.อ.อ.ชลิตยังยืนยันว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของนักบินคาดว่าใช้ระยะเวลาในการฝึก 1 ปี ส่วนการจัดหาอะไหล่จะมีการจัดเตรียมอะไหล่สำรองให้ 2 ปีแรก ส่วนของแถมที่สวีเดนมอบให้คือ เครื่องบินแอร์บอร์น เออร์ลี่ วอร์นนิง จำนวน 2 ลำ และมีอาวุธเพิ่ม คือขีปนาวุธโจมตีอาร์บีเอส 15 เครื่องบินแอร์บอร์น เออร์ลี่ วอร์นนิ่ง พร้อมด้วยเรดาร์อีลิอาย 2 ตัว ติดเครื่องบินซาร์ป 340 จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องบินซาร์ปเปล่า 1 ตัว และยังให้ทุนพิเศษเพิ่มเติมแก่ช่างสรรพาวุธและช่างอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังให้รหัสข้อมูลพิเศษถึงรายละเอียดของเครื่องบิน โดยที่บริษัทอื่นไม่ได้มอบให้ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตของกองทัพอากาศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุผลที่ไม่ซื้อเอฟ 16 ของสหรัฐ มีกระแสข่าวว่าสหรัฐไม่สนับสนุนการขายอาวุธให้กับประเทศที่ปฏิวัติ พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นแค่ส่วนประกอบ แต่เราดูที่ความสามารถของเครื่องมากกว่า เพื่อนำมาใช้ต่อสู้ทางอากาศและทางทะเล รวมถึงรักษาผลประโยชน์ทางทะเล นอกจากนี้เครื่องเอฟ 16 ของสหรัฐไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรบทางทะเล ผมไม่คิดว่าเครื่องของสหรัฐจะสามารถทำได้ดีเหมือนเครื่องกริฟเฟน"
ขณะที่ พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ เสธ.ทอ. กล่าวว่า เครื่องกริฟเฟนเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัย ถ้าเปรียบเทียบกับเอฟ 16 เพราะเป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า เน้นการส่งข้อมูลเชื่อมโยงทางยุทธวิธี เนื่องจากต้องคำนึงว่าจะต้องนำมาปฏิบัติภารกิจทางด้านยุทธศาสตร์ภาคใต้ และด้วยตัวของกริฟเฟนได้ออกมาแบบมาเพื่อวิ่งขึ้นและวิ่งลงในสนามบินที่สั้นมากประมาณ 2,400 ฟิต ซึ่งสนามบินในพื้นที่ภาคใต้ส่วนมากมีระยะรันเวย์สั้นที่เครื่องบินกริฟเฟนสามารถวิ่งขึ้นหรือลงสนามบินในพื้นที่ภาคใต้ได้ทั้งหมด
หน้า 1
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0113181050&day=2007-10-18§ionid=0101
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 18:13:08
ความคิดเห็นที่ 92
ทอ.แจง"กริฟเฟน"เจ๋ง-ทันสมัย ได้รหัสข้อมูลพัฒนาใช้อนาคต
ทอ.แจงซื้อเครื่องบินขับไล่"กริฟเฟน" อ้างทันสมัยสมรรถนะเยี่ยม จัดซื้อง่ายไม่ต้องรอรัฐบาลสวีเดนอนุมัติ เหมาะใช้พื้นที่ภาคใต้ แถมได้รหัสข้อมูลไว้ใช้พัฒนาในอนาคตด้วย ผบ.ทอ.ยันเดินหน้าซื้อให้ครบ 12 ลำ
ที่กองทัพอากาศ พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุข ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ.) พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงในระดับ 5 เสือ ทอ. เปิดแถลงโครงการจัดซื้อเครื่องบินขับไล่แทนเครื่องบินเอฟ 5 อีเอฟ เพื่อประจำการที่ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งจะปลดประจำการในปี 2552 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม ว่า การจัดหาเครื่องบินขับไล่ฝูงใหม่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2546 และเสนอเรื่องไปยังกระทรวงกลาโหม เพื่อขอความเห็นชอบในปีงบประมาณ 2551 จำนวน 12 เครื่อง เพื่อให้ทันกับการที่จะปลดประจำการของเครื่องบินเอฟ 5 ที่มีภารกิจในการดูแลภาคใต้ บริเวณอ่าวไทย และทะเลอันดามัน
พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่แบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะแรกจัดหาจำนวน 6 เครื่อง ในวงเงิน 19,000 ล้านบาท โดยใช้งบฯที่อยู่ในกรอบการจัดสรรตามปกติประจำปี ไม่ได้ขอเป็นงบฯพิเศษเพิ่มเติม กองทัพอากาศได้แต่งตั้งคณะกรรมการศึกษาข้อมูล โดยมีเครื่องบินรบที่อยู่ในขั้นตอนสุดท้าย 3 แบบ คือ เครื่องบินกริฟเฟนซีดี ของสวีเดน เอฟ 16 ซีดี ของสหรัฐอเมริกา และเครื่องบินซู 30 เอ็มเค ของรัสเซีย
ผู้สื่อข่าวถามว่า ทำไมถึงจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟนแทนที่จะซื้อเครื่องบินเอฟ 16 ที่กองทัพอากาศมีใช้อยู่แล้วเพื่อจะได้ไม่ต้องไปฝึกใหม่ พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า เครื่องบินเอฟ 16 เอบี หรือซีดี เมื่อซื้อใหม่ก็จะต้องฝึกใหม่ เพราะระบบภายในทุกอย่างจะมีการพัฒนา และทำการพร้อมรบจะต้องใช้เวลา ยอมรับว่าเครื่องบินเอฟ 16 ถือเป็นเครื่องบินที่ดี แต่บางครั้งเรารอไม่ได้ที่จะเจรจา หรือขอทำความตกลง ซึ่งกว่าจะได้เครื่องมาก็จะต้องใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 4 ปี ถึงจะมีขีดความสามารถในการรบได้ เนื่องจากจะต้องทำการอนุมัติทั้งสองฝ่าย ทำการฝึกบิน กว่าที่จะมีชั่วโมงบินรบได้นั้นจะต้องใช้ระยะเวลา
"สวีเดนอยู่นอกนาโต ดังนั้นการพิจารณาอาวุธต้องอยู่ได้ด้วยตนเอง ไม่มีนาโตเข้ามาช่วย และสวีเดนมองคู่ต่อสู้คือรัสเซีย ดังนั้นระบบอาวุธจะต้องใช้ต่อสู้กับประเทศที่เป็นภัยคุกคาม นอกจากนี้เรดาร์และอาวุธทุกประเภทสามารถจะจัดซื้อมาได้ทั้งหมด แต่หากไปซื้อจากบางประเทศอาจจะต้องไปขออนุมัติจากรัฐบาลก่อน แต่กริฟเฟนง่ายต่อการจัดซื้อ" พล.อ.อ.ชลิตกล่าว
พล.อ.อ.ชลิตยังยืนยันว่า สำหรับการเตรียมความพร้อมของนักบินคาดว่าใช้ระยะเวลาในการฝึก 1 ปี ส่วนการจัดหาอะไหล่จะมีการจัดเตรียมอะไหล่สำรองให้ 2 ปีแรก ส่วนของแถมที่สวีเดนมอบให้คือ เครื่องบินแอร์บอร์น เออร์ลี่ วอร์นนิง จำนวน 2 ลำ และมีอาวุธเพิ่ม คือขีปนาวุธโจมตีอาร์บีเอส 15 เครื่องบินแอร์บอร์น เออร์ลี่ วอร์นนิ่ง พร้อมด้วยเรดาร์อีลิอาย 2 ตัว ติดเครื่องบินซาร์ป 340 จำนวน 2 เครื่อง และเครื่องบินซาร์ปเปล่า 1 ตัว และยังให้ทุนพิเศษเพิ่มเติมแก่ช่างสรรพาวุธและช่างอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ ยังให้รหัสข้อมูลพิเศษถึงรายละเอียดของเครื่องบิน โดยที่บริษัทอื่นไม่ได้มอบให้ เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาในอนาคตของกองทัพอากาศ
ผู้สื่อข่าวถามว่า เหตุผลที่ไม่ซื้อเอฟ 16 ของสหรัฐ มีกระแสข่าวว่าสหรัฐไม่สนับสนุนการขายอาวุธให้กับประเทศที่ปฏิวัติ พล.อ.อ.ชลิตกล่าวว่า "เรื่องนี้เป็นแค่ส่วนประกอบ แต่เราดูที่ความสามารถของเครื่องมากกว่า เพื่อนำมาใช้ต่อสู้ทางอากาศและทางทะเล รวมถึงรักษาผลประโยชน์ทางทะเล นอกจากนี้เครื่องเอฟ 16 ของสหรัฐไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรบทางทะเล ผมไม่คิดว่าเครื่องของสหรัฐจะสามารถทำได้ดีเหมือนเครื่องกริฟเฟน"
ขณะที่ พล.อ.อ.อิทธิพร ศุภวงศ์ เสธ.ทอ. กล่าวว่า เครื่องกริฟเฟนเป็นเครื่องบินรบที่ทันสมัย ถ้าเปรียบเทียบกับเอฟ 16 เพราะเป็นเครื่องบินที่ออกแบบมาโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยกว่า เน้นการส่งข้อมูลเชื่อมโยงทางยุทธวิธี เนื่องจากต้องคำนึงว่าจะต้องนำมาปฏิบัติภารกิจทางด้านยุทธศาสตร์ภาคใต้ และด้วยตัวของกริฟเฟนได้ออกมาแบบมาเพื่อวิ่งขึ้นและวิ่งลงในสนามบินที่สั้นมากประมาณ 2,400 ฟิต ซึ่งสนามบินในพื้นที่ภาคใต้ส่วนมากมีระยะรันเวย์สั้นที่เครื่องบินกริฟเฟนสามารถวิ่งขึ้นหรือลงสนามบินในพื้นที่ภาคใต้ได้ทั้งหมด
หน้า 1
http://www.matichon.co.th/matichon/matichon_detail.php?s_tag=01p0113181050&day=2007-10-18§ionid=0101
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 18:13:17
ความคิดเห็นที่ 93
Sweden to renew Gripens as Thailand selects Swedish fighter
Thailand has selected the Saab Gripen multirole fighter as the Swedish air force signs a contract to upgrade its aircraft and fund a demonstrator for the next-generation Gripen.
The Thai cabinet has approved the budget to procure 12 Gripen C/Ds and two Saab Erieye airborne early warning aircraft for the Royal Thai Air Force. The Gripens will replace the RTAF's Northrop F-5B/Es.
Phase 1 of the two-stage procurement covers six Gripens and one Erieye, and is budgeted at 19,000 billion baht ($600 million) between 2008 and 2012. The Gripens are to enter RTAF service in 2010.
Phase 2 covers the remaining six Gripens and one Erieye, and is budgeted at 15,400 billion baht ($500 million) between 2013 and 2017.
Sweden's Defence Materiel Administration (FMV) says it will now begin negotiations with Thailand on the government-to-government deal. It has yet to be determined whether the Gripens will be new-build aircraft or A/Bs taken from the Swedish inventory and remanufactured to C/D standard.
The rebuilding of 31 Gripen A/Bs to C/Ds for the Swedish air force is covered by a SKR3.9 billion ($600 million) contract signed on 17 October. The work will begin in 2008 and the upgraded aircraft will enter service in 2010.
Saab says the upgrade is tied to the decision to reduce the Swedish air force fighter fleet to 100 Gripen C/Ds. The air force currently has 72 C/Ds, and the 31 A/Bs to be upgraded will fill out the force.
Only the engine, radar and some systems from the A/B will be retained during the upgrade, says Saab. The entire airframe will be new-build, and the resulting aircraft will be identical to C/Ds already in service. The upgrade will extend Gripen production to 2012, says Saab.
Included in the overall deal is government funding for the Gripen demonstrator programme. The Gripen Demo will have a new engine, radar, avionics, strengthened airframe, more fuel and expanded weapons capability.
The government has not revealed how much it is contributing to the three-year Demo programme, but Saab says the company is investing SKR1 billion, and suppliers General Electric, Honeywell and Rockwell Collins are also putting in "several hundred million" of their own money.
The Gripen Demo is to fly next year, and will test structural and system upgrades that could be retrofitted into Gripen C/Ds as well as demonstrating capabilities for a future new-build aircraft that Saab is calling the Next Generation Gripen.
The second phase of the Demo programme will include a new active electronically scanned array radar. Saab has evaluated four radars, including AESAs from Raytheon, Selex and Thales, with a decision to be announced by year-end.
Aimed at the export market, the Next Generation Gripen is intended to be "better than the Joint Strike Fighter, apart from those things a superpower needs", says Saab.
http://www.flightglobal.com/articles/2007/10/17/218705/sweden-to-renew-gripens-as-thailand-selects-swedish.html
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 18:16:23
ความคิดเห็นที่ 94
Thailand Buying JAS-39 Gripens, AWACS
Gripen & S-1000
(click to view full)
It's a small, agile fighter that can take off and land on highways, while carrying the latest technologies and weapons. It does very well against NATO's best aircraft in exercises, comes with a reasonable price tag, and is built for low lifetime operating costs. But in a world where people often buy your weapons because they want you to be their friend, the cachet of having Sweden in your corner isn't quite what it used to be when their sailors wore those cool helmets. The JAS-39 Gripen is an excellent, reasonably-priced fighter that has been struggling hard for traction in the global marketplace. "The JAS-39 Gripen: Sweden's 4th Generation Wild Card" looks at this capable lightweight fighter and its market opportunities, and wonders if Gripen will be "the little fighter that could" or the last fighter from a storied aviation industry.
A recent sale to Thailand has expanded Saab's horizons somewhat, as the Gripen beat out the SU-30s favored by the previous Thai government to replace its aging F-5s; other reported candidates were Russia's MiG-29 and France's Rafale, and the F-16 had been considered a leading contender given Thailand's extensive history with that aircraft. In order to achieve this win, however, Saab has to throw in a very significant "something extra" and the sale itself runs future political risks due to Thailand's situation
Thai F-5T
(click to view full)
At present, Thailand's fighter fleet consists of old 1960s-70 era A-7 Corsair attack aircraft and upgraded F-5E/F Tiger IIs, plus AV-8S Harrier IIs and F-16A/B fighters. A number of its neighbors are currently flying longer-range and more advanced SU-27/30 Flanker fighters, however, including India (SU-30MK & SU-30MKI), Indonesia (SU-27SK & SU-30MK), Malaysia (SU-30MKM), Vietnam (SU-27SK), and China (SU-27SK/J-11 & SU-30MKK).
In mid-October 2007 The Thai Cabinet approved a budget of 34.4 billion baht (about $1.1 billion) for the Royal Thai Air Force (RTAF) to purchase 12 JAS-39 Gripen multi-role fighters to replace its aging fleet of upgraded F-5 B/E Tiger II aircraft. The RTAF will also buy 2 Saab S-1000 Erieye Airborne Early Warning aircraft, together with associated equipment and services. Negotiations between Thai and Swedish government officials will now commence in order to conclude a formal agreement.
The Saab Erieye AWACS was recently sold to Pakistan, and uses a fixed active-array S-band antenna with 200 solid state modules. The look angle on each side is about 160 degrees, with a maximum range of about 450 km (279 miles) from 20,000 feet, and effective range against fighter-size or seaborne targets of about 300-330 km (180-205 miles). The electronically scanned antenna can scan sectors of interest frequently while others are monitored, and a single sector can be scanned in different modes at the same time.
Delivery of the Gripens into operational service of the Royal Thai Air Force is planned for 2010, and the buy is divided into 2 phases:
Erieye cutaway
(click to view full)
Phase 1 covers 6 JAS-39 Gripen fighters, including spare parts and training, and 1 Saab S-1000 Erieye AEW system aircraft. The cost would be about $600 million1, spread within a 5-year budgetary commitment from 2008-2012.
In Phase 2, the RTAF intend to procure an additional 6 Gripen fighters together with associated equipment, spare parts and training, and a 2nd Saab Erieye AEW system aircraft, for $500 million over a 5-year budgetary commitment from 2013-2017.
Sweden has also offered the Gripen fighters with a 2 (two) years maintenance and spare parts support package. As is frequently the case, Saab's deal includes industrial offsets and benefits involving Saab investment, and Thai-Swedish industrial, science & technology co-operation, technology transfer, and investment co-operation.
Thai Air force chief Chalit Phukphasuk Chavalit reportedly met with Prime Minister Surayud Chulanont on Sept 29/07 and convinced him to support the purchase, citing the need for new combat aircraft to match neighbouring Malaysia's new SU-30MKMs. Prime Minister Thaksin Shinawatra reportedly ordered then air force chief ACM Kongsak Wantana to switch to the SU-30s for Thailand's own purchase, but ACM Chalit rejected the plane as unsuited to Thailand's needs when he became the new air force chief.
The Political Situation
Australian newspaper reported a Thai officer as saying that "....we preferred F-16 C/D over Gripen, [but] the Americans are not allowed by their laws to sell weapons to countries whose governments have been ousted in coups."
Sweden's government appears to have opted for constructive engagement. Swedish Minister for Foreign Affairs Carl Bildt said:
"I welcome the decision from the Royal Thai government to start negotiations with the Swedish government, to purchase Gripen fighter aircraft and the Saab Erieye Airborne Early Warning (AEW) system. This decision once again confirms that Gripen is a world class and cost effective system. The selection of Gripen was made in fierce competition with advanced US and Russian systems. We must now wait for the result of the formal negotiations that will now commence between the Swedish and Thai authorities. When a formal agreement is in place, this will be managed in accordance with the appropriate export legislation, rules and regulations."
The current situation created that opportunity for Saab, by sidelining the previous choice, and opening the doors to a significant budget increase for Thailand's military. It could also serve to torpedo the deal later on, of course, if the government that follows decides to undo what its military predecessor has done. Thaksin Shinawatra has stated that he has no intention of returning to politics, but he remains popular in many parts of Thailand, and his supporters could come looking for payback once elections begin again. The Gripen's planned acquisition period is rather long, and fighter jets are high-profile military deals with a lot of symbolism behind them. This makes them attractive targets in such situations.
Until Thailand actually accepts jets into operational service, therefore, we're hesitant to count this deal as truly done. The Gripen will also have to demonstrate exceptional performance against RTAF F-16s to make a strong case for Phase 2 and build a strong cadre of support within the Thai military. The Gripen is certainly capable of performing at that level but much of the turbulence ahead of it will be of a type that its avionics aren't programmed to handle.
Footnotes:
1 Figures vary. The Bangkok Post specifies the deal as $34.4 billion baht overall. Gripen international referred to the deal's components as "19,000 billions baht (US$ 600 million)" and "15,400 billions baht (US$ 500 million)." We think they may have meant 19,000 million (i.e. 19 billion) and 15.4 billion baht. To put that 10-year budgeted cost in perspective, Thai military spending was 29 billion baht the year before the coup. The 2008 military budget is 140 billion.
http://www.defenseindustrydaily.com/thailand-buying-jas-39-gripens-awacs-04022/#more
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
18/10/2007 18:21:58
ความคิดเห็นที่ 95
ย้ำมี หนังสือพิมพ์บางฉบับ ไปเขียนว่าซื้อพร้อมอาวุธ RPS -15 ครับ แล้วแต่มุมมองของแต่ละคนนะครับ ถ้าคนรู้จริงคง งง แต่ถ้าคนไม่รู้เรื่องก็คงอ่านผ่านๆ เหมือนกับคนอีกกลุ่มที่ไปกรี๊ดศิลปินจากเกาหลี แต่ถ้าคนพวกนั้นมาถามผมแล้วสื่อพิมพ์ชื่อผิดเขาคงท้วงแต่ ถ้าเป็นผมก็คงถามว่าใครวะ แล้วก็ไม่รู้ด้วยว่าชื่อนั้นนะเขียนถูกหรือผิด
โดยคุณ
nok เมื่อวันที่
18/10/2007 20:13:21
ความคิดเห็นที่ 96
ไม่รู้ว่าผมคิดไปเองหรือเปล่าเนี่ย ผมว่าเหตุผล
ที่ผู้ใหญ่ในกองทัพเลือก JAS ก็ เพราะประเทศ
สีเดนออกแบบอาวุธเพื่อป้องกันการรุกรานจาก
รัสเซีย เพราะฉะนั้นจึงน่าจุดแข็งจุดอ่อนของ
อาวุธจากรัสเซียดีพอ จึงออกแบบเครื่องบิน JAS
มา สำหรับผมๆไม่เชื่อหรอกว่าประเทศอย่าง
สวีเดนจะสร้างเครื่องบินใหญ่แบบ2เครื่องยนต์
ไม่เป็น ผมว่ามันน่าจะมีเหตุผลของผู้ออกแบบ
สร้างมากกว่านั้น แล้วเผอิญรอบๆประเทศเรา
มันก็ดันใช้ของที่สวีเดนเขากลัวอยู่ซะด้วย...
JAS-39 จึง วิน วิน
โดยคุณ
9-o-6 เมื่อวันที่
18/10/2007 20:54:47
ความคิดเห็นที่ 97
ถึงรักน้อง ซู มากกว่า นั้ง แจส แต่ดีใจมากๆที่ตกลงซื้อสะที่รัก ทอ.อีกเยอะเลย
โดยคุณ u209 เมื่อวันที่
18/10/2007 22:59:30
ความคิดเห็นที่ 98
ข่าวทางสวีเดนก็ลงครับว่าไทยสนใจ RBS-15
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
19/10/2007 07:34:26
ความคิดเห็นที่ 99
และข่าวที่เราเลือก Gripen ทำให้ราคาหุ้นของ Saab ปิดบวกไปกว่า 3.15 % เมื่อวันแรกที่เราประกาศ
ตอนนี้ทางสวีเดนกำลังทดสอบ RBS-15 กับ ERIEYE อยู่ครับ ซึ่งไอเดียก็คือจะใช้ ERIEYE แทนฮ.ต่อระยะของเรือ และนำทางให้ RBS-15 ทั้งที่ติดบนเรือและบนเครื่องบินเข้าสู่เป้าหมาย
RBS-15 Range
Ship-base: 250 km.
Air-base: 100 km.
ERIEYE radar range: 450 km.
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
19/10/2007 09:06:07
ความคิดเห็นที่ 100
คุณ Skyman ครับ
ระยะ ของ RBS-15 ของคุณ ผิดครับ
Ship-launch: Mk1/Mk2 = 70-100 km Mk3 =200 km
Air-launch: Mk1 = 90km Mk2=150 km Mk3=200km
รุ่น Mk4 จะประจำการในปี 2012-2015
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
19/10/2007 10:27:21
ความคิดเห็นที่ 101
ครับผม อันนี้ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันคัรบ เพระผมก็ฟังเขามา
Re: JAS
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
19/10/2007 10:43:20
ความคิดเห็นที่ 102
ล่าสุดมีข่าวว่า อเมริกาไม่ค่อยพอใจที่เราซื้อ JAS-39 ครับ แต่รายละเอียดของข่าวผมยังไม่ทราบแน่ชัดครับ
และฝากถึง สื่อมวลชนทั้งหลายด้วยว่าเวลาที่ท่านเอาข้อมูลไปลงเรื่อง บข.20และอ้างว่าได้จากแหล่งข่าว แต่ที่ผมอ่านแล้วเป็นแหล่งจากที่นี่ หรือข้อมูลของคุณ Skyman แล้วนำไปลงในสื่อของท่าน หรือเป็นข้อมูลของตัวเครื่องบินหรือระบบต่างๆรวมถึงอาวุธที่ใช้กับเครื่อง หรืออาจเป็นระบบ อิริอาย แล้วนำไปลง โดยที่ไม่ระบุแหล่งที่มา แต่คนที่นำมาลงในเว็ปนี้หรือในเว็ปอื่นๆ ลองคิดดูนะครับว่าเสียเวลาในการค้นคว้าหาข้อมูลขนาดไหน แล้วนำมาลงให้อ่านกัน แต่พวกคุณเล่นเอาไปลงทั้งหมด แล้วเนียนบอกว่าค้นคว้าเอง โดยไม่บอกแหล่งที่มา น่าจะให้เกียรติคนหาข้อมูลหน่อยนะครับ
ล่าสุดที่เจอเต็มๆ คือข้อมูลของเครื่อง MD-82 ลำที่ตก TITV นำข้อมูลจากเว็ปพันธ์ทิพย์ห้องBluepanet ไปลงทั้งหมดประวัติความเป็นมาอย่สายการบินไหนลงทั้งหมด แต่ไม่บอกแหล่งที่มาครับ น่าจะให้เกียรติกันบ้างนะครับ
โดยคุณ
nok เมื่อวันที่
19/10/2007 15:34:26
ความคิดเห็นที่ 103
แล้วเอฟ-5ทีจะโดนปลดด้วยไหมถ้าจะปลดๆปี52นี้หรือเปล่าหรืออีก10ปีข้างหน้าเพื่อรอเครื่องบินรบรุ่นใหม่กว่าเช่นjas-39e/fเพราะเท่าที่ดูแค่12ลำมันน้อยเกินไปนะน่าซะ16-18ลำก็น่าเพียงพอที่จะแทนเอฟ-5ทั้งหมดต่อไปนี้เราจะมีแค่เอฟ-16กับกริพเฟน2แบบสำหรับเครื่องบินขับไล่ส่วนเครื่องบินโจมตีก็อัลฟ่าเจ็ทกับแอล-39แซดเอ/เออาร์ทีก็น่าจะพอแล้วในอีก10-20ปีข้างหน้าเมื่อถึงเวลานั้นแอล-39กับอัลฟ่าเจ็ทก็คงจะได้เวลาปลดถึงเวลานั้นเราค่อยมามาหาเครื่องบินโจมตีใหม่ละกัน
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่
19/10/2007 17:36:24
ความคิดเห็นที่ 104
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
19/10/2007 18:58:18
ความคิดเห็นที่ 105
มีเรื่องมาเล่าสู่กันฟังอีกสักเรื่องครับ
มันแปลได้คร่าว ๆ ว่า จงอย่าขายเครื่องบินรบให้กับประเทศไทย สวีเดนควรบอยคอตประเทศที่มีรัฐบาลทหารที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน.....แคมเปญของ NGO บ้านเขา
บ้านเขามี NGO ที่ทำงานด้านการทหารโดยตรงเลยนะครับ (เจ๋งกว่าเราอีก) แบ่งใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มที่ไม่ต้องการให้สวีเดนส่งออกอาวุธ อีกกลุ่มหนึ่งคือไม่ต้องการให้สวีเดนผลิตอาวุธเลย (ทั้ง ๆที่บ้านเราอยากให้พัฒนาอาวุธเองจะตาย)..........ก็แน่นอนเขาก็ต้องคัดค้าน deal นี้อยู่แล้ว
แต่งานนี้ รัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านสนับสนุนการขาย (เป็นเมืองไทยไม่ได้นะครับ รัฐบาลทำอย่างงี้ ฝ่ายค้านต้องทำอย่างงั้น) เห็นเขาว่าประชาชนส่วนมากก็สนับสนุนการขายครั้งนี้ (ประเทศเขาได้ตังค์ เลยไม่ค่อยมีใครงี่เง่า)
NGO ไทยจงภูมิใจครับ ท่านมีเพื่อนแล้ว ก๊าก ๆ ๆ ๆ ๆ
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
20/10/2007 02:22:45
ความคิดเห็นที่ 106
ทอ.ไม่สน "อเมริกา"ติงซื้อกริฟเฟน ยืนยันเดินหน้าต่อ
19:22 น. น.อ.มณฑล สัชฌุกร รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวถึงกรณีบริษัทของประเทศสหรัฐอเมริกาออกมาให้ข้อมูลโจมตีการจัดซื้อเครื่องบินกริฟเฟน ว่า กองทัพอากาศไม่อยากแสดงความเห็นเรื่องนี้ ไม่อยากตอบโต้กันไปมา ตนเองยังไม่เห็นข้อมูลของบริษัทดังกล่าวและไม่ทราบว่านำออกเผยแพร่เพื่ออะไร ทั้งที่กองทัพอากาศดำเนินการไปตามขั้นตอน ซึ่งที่ผ่านมาได้พยายามชี้แจงความโปร่งใสโดยทำแผนจัดซื้อเครื่องบินขับไล่ เพื่อทดแทนเครื่องบินเอฟ 5 ที่จะปลดประจำการ โดยทำขั้นตอนเสนอเรื่องไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ได้ชี้แจงให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมทราบหรือไม่ เพราะอาจเกิดปัญหาเหมือนการจัดซื้อรถหุ้มเกราะยูเครน รองโฆษกกองทัพอากาศ กล่าวว่า คณะกรรมการที่ดำเนินการคงชี้แจงเกี่ยวกับรายละเอียดดังกล่าว ซึ่งผู้บัญชาการทหารอากาศยังไม่ได้สั่งการอะไรลงมา
ส่วนเหตุใดบริษัทของอเมริกาจึงออกมาโจมตี น.อ.มณฑล กล่าวว่า โครงการเมกะโปรเจ็คทุกโครงการของประเทศอยู่ในความสนใจ ดังนั้นอาจมีการติติงและโจมตีกันบ้าง แต่การดำเนินการถูกต้อง ไม่ได้คิดเอาเอง เพราะการจัดซื้อทำตามแผนและตามกรอบของกองทัพอากาศ อย่างไรก็ตาม กองทัพอากาศยังไม่ได้รับหนังสือร้องเรียนจากบริษัทดังกล่าว ที่ก่อนหน้านี้ร้องเรียนไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งวันจันทร์คงจะตรวจสอบรายละเอียดอีกครั้ง ยืนยันว่ากองทัพอากาศยังจะดำเนินการต่อไปเพื่อจัดซื้อเครื่องบิน เนื่องจากดำเนินการตามขั้นตอนและโปร่งใส ดังนั้นใครจะร้องเรียนว่ากล่าวโจมตีก็ถือเป็นสิทธิ์ แต่กองทัพอากาศมีความจำเป็นต้องดำเนินโครงการดังกล่าวเพื่อทดแทนเครื่องบินจะปลดประจำการ
ที่มา http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lang=th&newsid=286128
โดยคุณ
nok เมื่อวันที่
21/10/2007 20:17:21
ความคิดเห็นที่ 107
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
22/10/2007 10:15:33
ความคิดเห็นที่ 108
ส่วนตัวเชื่อว่า หากว่า jas 39 ประสบความสำเร็จกับไทยได้
จะเป็น big jump ของเจ้าjas ที่จะสามารถขายได้อีกหลายประเทศทีเดียว
เพราะยังมีอีกหลายประเทศที่ต้องการเครื่องบินรบ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป
ซึ่งจะว่าไปในตลาด ก็จะมี ประมาณ f16 j10 jas j7 แต่ความน่าเชื่อถือ คงเป็นทางยุโรปและอเมริกามากกว่า
หากข้อเสนอ jas ยังดีแบบนี้ หลายประทเทศที่สนใจก็คงอาจจะเลิกสนเจ้า f 16 ไปเหมือนกันนะครับ
โดยคุณ ericson เมื่อวันที่
22/10/2007 11:06:50
ความคิดเห็นที่ 109
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
24/10/2007 17:27:20
ความคิดเห็นที่ 110
อืม...มาช้าไปนิด แต่คงไม่ช้าเท่าไหร่ ก็ขอแสดงความยินดีกับกองทัพอากาศด้วยครับ กับ บข.20 ใหม่ ถึงแม้ว่าผมชอบ ซู-30 แต่ก็ยอมรับในการตัดสินของกองทัพอากาศ เพราะมีของใหม่มาจะเป็นอะไรก็ช่างยังดีกว่านั่งลุ้นว่าจะได้หรือไม่ได้ ในส่วนตัวขอออกความคิดเห็นนิดนึง เรื่องจะลงกองบินไหน ในความคิดเห็นส่วนตัว ดูตามอาวุธที่น่าจะติดมา กับเรื่องราวที่แวดล้อม ผมเชื่อว่า น่าจะลง กองบิน7 โดยไม่มีการแบ่งฝูงไปที่อื่นด้วย ถ้าหากว่ามี RBS-15 มาด้วยแล้วไม่ต้องคิดถึงฝูงอื่น และที่สำคัญคือ ไม่ต้องโยกย้ายอุปกรณ์กันไปมาระหว่างฝูงบิน ไม่ต้องขนอุปกรณ์ของ F-16 ให้ยุ่งยาก เอาอุปกรณ์ของ JAS-39 มาลงที่กองบิน7 ที่เดียวจบ ส่วน F-5 E/F ที่ฝูง 701 ผมว่าหลังจากที่ JAS-39 มาลงแล้วปลดแน่ๆ(ปลดซิฟะ ก็เขาบอกว่าซื้อแทน F-5 นี่เฟ้ย) ส่วนสมรรถนะ ถ้าถามว่า เทียบกับ SU-30 ของเพื่อนบ้านได้หรือไม่ ตอบได้เลยว่า เทียบเขาไม่ได้ ดังนั้นต้องเน้นที่บุคลากรและความพร้อม ความชำนาญ เป็นหลัก แต่ว่าคงไม่มีอะไรมาเบียดบังจนทำให้วืดไปอีกนะครับ
โดยคุณ
เด็กทะเล เมื่อวันที่
24/10/2007 20:57:45
ความคิดเห็นที่ 111
ขอบคุณครับ สมุดปกขาวนี้ชี้แจงได้แจ่มแจ้งดีมาก
โดยคุณ
A-mark เมื่อวันที่
26/10/2007 20:44:57
ความคิดเห็นที่ 112
เห่อๆๆๆในรูปเห็นหลังพี่แก๊ปด้วยแฮะ
โดยคุณ
icy_nominee เมื่อวันที่
28/10/2007 11:53:55