หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


รถเกราะยูเครน ติดหล่มซะแล้ว

โดยคุณ : CoffeeMix เมื่อวันที่ : 23/10/2007 19:23:08

สตง.พบปมพิรุธรถเกราะยูเครนตะปูเรือใบก็ไปไม่รอด
14 ตุลาคม 2550 23:09 น.

เปิดรายงานสตง.สอบรถถังยูเครน4,000 ล้าน พบเอกสารร้องเรียนถึง "บิ๊กบัง" ขอยื่นซองย้อนหลังไม่ประทับวันที่เลขรับ เตรียมขอข้อมูลกลาโหมเพิ่มหลังข้องใจสมรรถนะความเร็วการบรรทุกกำลังพล ไม่ตรงสเปค แถมใช้ยางธรรมดาตะปูเรือใบโจรใต้เจาะสบาย

มีรายงานจากกระทรวงกลาโหมเปิดเผยถึงความคืบหน้ากรณีการตรวจสอบการจัดซื้อรถเกราะกันกระสุน96 คันมูลค่าเกือบ 4,000 ล้านบาทของกระทรวงกลาโหม ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญเรื่องหนึ่งที่สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ตั้งข้อสังเกตความโปร่งใสในระหว่างการอภิปรายญัตติจริยธรรมรัฐบาลเมื่อกลางสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า ขณะนี้กระทรวงกลาโหมกำลังเตรียมทำหนังสือชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือตั้งข้อสังเกตและขอให้กระทรวงกลาโหมทำหนังสือชี้แจงหลัง สตง.เข้ามาตรวจสอบโครงการดังกล่าวโดยเฉพาะข้อสงสัยในเรื่องสมรรถนะการบรรทุกทหารในตัวรถถัง และขั้นตอนการจัดซื้อที่ผิดปกติ 

รายงานข่าวแจ้งว่าในการตรวจสอบของ สตง.โดยสำนักงานตรวจสอบคดีพิเศษของ สตง.ที่ทำถึงกระทรวงกลาโหมเมื่อเร็วๆนี้ สตง.ได้ตั้งข้อสังเกตถึงความผิดปกติของโครงการดังกล่าวว่ามีหลายเรื่องเช่น 1.บริษัทตัวแทนของประเทศยูเครนไม่ได้มายื่นเอกสารภายในเวลาที่กำหนดตามประกาศที่แจ้งอย่างเป็นทางการแต่กลับสามารถผ่านการคัดเลือกได้ 

2.รถถังของประเทศยูเครนมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเช่น ไม่ใช่รถที่ผลิตขึ้นใหม่ แต่เป็นการพัฒนามาจากรถหุ้มเกราะล้อยางของรัสเซีย รุ่น BTR-70 ซึ่งได้ยุติการขายไปหลายปีแล้ว3.ล้อยางไม่สามารถทนต่อกระสุนปืนขนาด7.62 มิลลิเมตรได้

รายงานของสตง.ระบุว่า ในการตรวจสอบพบว่า คณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ประกาศเชิญชวนบริษัทเอกชนให้ยื่นซองประมูลยานเกราะล้อยาง เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม2550 และปิดรับวันที่16 พฤษภาคม2550 เวลา16.30 น.ในวันที่16 พฤษภาคม2550 มี8 บริษัทยื่นซองประกวดราคาคือ1.ชัยเสรี(ประเทศไทย) 2.พีเอแอสโซซิเอท(สิงคโปร์) 3.ทีแอนด์แอลไทยแลนด์ (ฟินแลนด์) 4.ฮอว์คอายส์อินเตอร์เทรด (แคนาดา) 5.อินฟราคอนสตัคชั่น (เกาหลี) 6.ล็อกเล่ย์อินเตอร์เนชั่นแนล (อิตาลี) 7.ลักกี้คอนซัลติ้ง (รัสเซีย) 8.ณัติพล(จีน) 

ต่อมาวันที่17 พฤษภาคมบริษัทเอ็นจีวี เอนเตอร์ไพรซ์ ผู้เสนอรุ่น BTR-3EI ของประเทศยูเครนได้ยื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมต่อคณะกรรมการ โดยอ้างว่าไม่ทราบการประกาศเชิญชวน และต่อมาคณะทำงานมีมติอนุญาตให้บริษัทเอ็นจีวียื่นเอกสารได้และนัดให้ทุกบริษัทนำเสนอผลงานวันที่ 21 พฤษภาคม2550 ผลการพิจารณาพบว่าคุณสมบัติไม่ผ่าน 5 บริษัทและต่อมาคณะทำงานพิจารณาแบบและจัดลำดับได้เสนอเรื่องผ่านไปยังคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก ให้พิจารณาจำนวน 4 แบบของบริษัทฮอว์คอายส์ ลักกี้ เอ็นจีวี และทีแอนด์แอล จนต่อมา คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ได้เห็นชอบให้จัดซื้อรถเกราะ ล้อยางรุ่น BTR-3EI (8X8)ของยูเครน 

ทั้งนี้ผลการตรวจสอบของ สตง.พบว่าขั้นตอนการประกาศเชิญชวนและขอข้อมูลของคณะทำงานย่อมถือเป็นสาระสำคัญที่ผู้ออกประกาศและผู้ที่ต้องการเข้าเสนอราคาต้องปฏิบัติตามกฎหมาย การที่คณะทำงานให้บริษัทเอ็นจีวี ซึ่งไม่ได้เสนอข้อมูลในเวลาที่กำหนดย่อมเป็นการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขและอาจเป็นการเอื้อประโยชน์ให้บริษัทดังกล่าวได้เปรียบผู้เสนอข้อมูลรายอื่น เนื่องจากทราบข้อมูลคู่แข่งขัน ซึ่งสุดท้ายเอ็นจีวีเป็นผู้ได้รับเลือกจากกองทัพบก 

จากการตรวจสอบพบว่าเอกสารร้องเรียนของเอ็นจีวีเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม2550 ที่ทำถึงพล.อ.สนธิบุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ไม่มีการลงทะเบียนประทับรับเอกสารจากหน่วยงานของกองทัพบกตามระบบราชการ คณะทำงานตรวจสอบเห็นว่า คณะทำงานพิจารณาของกองทัพบกที่เดินทางไปประเทศยูเครน ไม่ได้รายงานให้ผู้มีอำนาจพิจารณาในการทราบข้อมูลสำคัญ เช่น สายการผลิตมีประจำการอยู่ในประเทศผู้ผลิตหรือไม่ การที่ล้อรถยางไม่สามารถทนตะปูเรือใบ หรือลูกกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้

"เรื่องดังกล่าวแม้จะไม่มีในเงื่อนไขที่กำหนด แต่จะมีผลในการนำไปใช้งานจริง โดยเฉพาะหากนำไปใช้ในภาคใต้ที่มีการวางตะปูเรือใบของเจ้าหน้าที่เสมอ อาจทำให้การใช้งานไม่สมประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ โดยในเรื่องนี้ บริษัทตัวแทนของรัฐบาลรัสเซียให้ข้อมูลว่าประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีที่จะผลิตยางกันกระสุน จึงใช้ยางที่ผลิตเพื่องานอุตสาหกรรมแทน" 

ผลการตรวจสอบยังพบประเด็นข้อสงสัยอีกหลายจุดเช่น จากการตรวจสอบคำชี้แจงของกองทัพบกพบว่า การจัดซื้อโดยวิธีรัฐต่อรัฐมีมติคณะรัฐมนตรี 2 ฉบับยกเว้นไว้จึงทำให้ สตง.จะต้องขอทราบวิธีปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวที่กองทัพบกกล่าวอ้างรวมถึงประเด็นชี้แจงที่ยังไม่กระจ่างชัดและมีนัยสำคัญของโครงการ เช่น ผลการตรวจสอบและรายงานของคณะทำงานที่เดินทางไปดูโรงงานที่ประเทศยูเครน รวมถึงเรื่องข้อเท็จจริงของขีดความสามารถในการบรรทุกของ BTR 3E ของยูเครนว่าบรรทุกได้เท่าไรกันแน่ เพราะเคยให้ข้อมูลไว้ว่าบรรจุได้ 9 นายแต่ต่อมาแก้เป็น 11+2 เนื่องจากตามแบบกำหนดไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 11 นายเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลังในเรื่องดังกล่าว

ประกาศคณะทำงานเชิญชวนเสนอข้อมูลเพื่อจัดซื้อรถเกราะล้อยางได้กำหนดขนาดรายละเอียดข้อมูลว่าต้องนำเสนอคุณลักษณะขนาด แต่ไม่กำหนดให้มีการเสนอราคา อีกทั้งเกณฑ์การให้คะแนนไม่มีการกำหนดหัวข้อ ด้านราคาแสดงว่าคณะทำงานไม่ให้ความสำคัญทางด้านราคาซึ่งหมายถึง ว่าให้ความสำคัญด้านสมรรถนะเป็นหลัก แต่จากผลการคัดเลือกกลับให้บริษัทที่เสนอราคาต่ำสุดคือ BTR -3EI ของประเทศยูเครนซึ่งไม่ได้เป็นรถใหม่ย่อมต้องมีต้นทุนราคาน้อยกว่าผู้ยื่นข้อเสนอราคารายอื่น กลับได้รับเลือกโดยผลการตรวจสอบราคาที่แต่ละบริษัทเสนอมามีดังนี้ 

1.LAV 8x8 แคนาดาราคา 2,079,200 ดอลลาร์2.BTR-80 8x8 รัสเซียราคา 1,050,000 ดอลลาร์3.BTR-3EI 8x8 ยูเครนราคา 800,000 ดอลลาร์4.PATRIR AMC 8x8 ฟินแลนด์ราคา 2,318,000 ดอลลาร์

ในท้ายรายงานผลการตรวจสอบของสตง.ระบุความผิดปกติของสมรรถนะการใช้งานของรถถังยูเครนยังระบุว่า "เป็นที่น่าสงสัยว่ายานเกราะล้อยางของประเทศยูเครนและรัสเซียผ่านการทดสอบจากกองทัพบกว่ามีสมรรถนะและมีประสิทธิภาพด้านคุณลักษณะและเทคนิคตามที่กำหนดไว้จริงหรือไม่ เนื่องจากข้อเท็จจริงที่คณะทำงานจัดซื้อมีบางรายการไม่เป็นไปตามที่ค้นหาได้จากอินเทอร์เน็ต การประกาศให้บริษัทยื่นข้อมูลเช่นการบรรทุกกำลังในรถถัง 11 นายแต่ผู้ผลิตระบุว่า บรรทุกกำลังพลได้ 7 นายพลประจำการ 3 นาย

นอกจากนี้ความเร็วสูงสุดบนพื้นดินกำหนดไม่น้อยกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในพื้นน้ำไม่น้อยกว่า 10 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและมีการอ้างข้อมูลเปรียบเทียบรายงานว่าความเร็วสูงสุดของทั้งสองรุ่นคือ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงแต่จากข้อมูลของตัวรถ BTR-80 ของรัสเซียความเร็วสูงสุดบนพื้นดินนับได้ 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงและบนพื้นน้ำ 9 กิโลเมตรต่อชั่วโมง 





ความคิดเห็นที่ 1


ตัดราคามาให้เห็นกันจะจะ

1.LAV 8x8 แคนาดาราคา 2,079,200 ดอลลาร์

2.BTR-80 8x8 รัสเซียราคา 1,050,000 ดอลลาร์

3.BTR-3EI 8x8 ยูเครนราคา 800,000 ดอลลาร์

4.PATRIR AMC 8x8 ฟินแลนด์ราคา 2,318,000 ดอลลาร์

 

ฟินแลนด์แพงสุด รองลงมาคือ LAV แต่รถรัสเซียกับยูเครนราคาไม่ต่างๆกัน แถมเค้าลือกันว่า รถยูเครน แถม อวทม ออปชั่นครบ  แต่ถ้าทนกับกระสุนขนาด ๗.๖๒ วึ่งเป็นกระสุนของปืนอาก้าไม่ได้ก็เป็นเรื่องที่น่าคิดครับ

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 15/10/2007 08:21:04


ความคิดเห็นที่ 2


ตกลงกองทัพไทย ซื้ออาวุธที่สมรรถนะ หรือ ราคา น่าจะตั้งกฎเกณฑ์ให้แน่นอนครับ...อาวุธ ไม่เหมือนกับ โต๊ะ เก้าอี้ ที่จะใช้ราคามาเป็นสิ่งตัดสินใจ....งานนี้ ผมว่าเกมส์การเมืองอีก 1 ยก....อาจจะได้เห็น ผบ.ทบ. ที่อายุในตำแหน่งสั้นที่สุด ในประวัติศาสตร์ กระมังครับ...(ถ้าจำไม่ผิด เป็นคนชงเรื่องให้อดีต ผบ.ทบ.)

ผมวิเคราะห์กรณีนี้ได้ ดังนี้ครับ...

1. ออร์เดอร์ล๊อตนี้...เพื่อทุนอะไรสักอย่าง...แต่เหตุการณ์ปัจจุบัน อาจจะไม่ต้องใช้แล้ว จึงหาวิธีเคลียร์ทิ้ง

2. ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ยังไม่เป็นที่พอใจ ของกลุ่มคนกลุ่มหนึ่ง...วิธีนี้ จึงเป็นอีกวิธี ที่จะเคลียร์ ผบ.ทบ. คนปัจจุบันออกไป....

และแล้ว รถยูเครน ก็คงต้องเป็นหมันแน่ ๆ ครับ...( ซึ่งผมเห็นด้วย ) คราวนี้ ผบ.ทบ. คนใหม่ คงต้องจับเก้าอี้ให้มั่นครับ...การเมือง แน่นอน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 08:43:58


ความคิดเห็นที่ 3


ผมเชื่อว่าการเมืองมีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากครับ ยกตัวอย่างเช่น กรณี Su-30MK (Thai) ที่แท้งตั้งแต่ยังไม่ลงมือผลิต (ผู้ที่มีครอบครัวแล้วจะเห็นภาพประกอบการปฏิบัติที่ชัดเจน) ตามที่เคยสนทนากับ ผบ.ถ. ท่านหนึ่ง (M-60) ก็ได้รับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับอาวุธจากค่ายรัสเซียว่า บางประเภทบางชนิดถือได้ว่ามีมาตรฐานการใช้งานแบบสมบุกสมบั่นดีไม่แพ้ทางค่ายตะวันตกเลย จะแพ้ก็ตรงที่ความสะดวกสบายของพลประจำรถ ที่ ทบ. ต้องการยานเกราะล้อยางเพราะเรามีอัตรา ทหารราบสำหรับหน่วยทหารม้ายานเกราะ ไว้นานแล้วแต่ยังไม่มีงบประมาณซะที ซึ่งก็เป็นกรณีหน่วยทหารราบขนส่งทางอากาศ ที่ไม่มั ฮ.สนับสนุนเพียงพอ

สรุปตามความเห็นความเข้าใจของผมนะ คนใช้เค้าไม่เกี่ยงขอให้มีก็พอ ส่วนราคาและความเหมาะสม (ใช้คำนี้บ่อยมาก) ก็ให้ขึ้นอยู่กับออปชั่นกับ ผบช. ก็แล้วกัน...ความหนาของเกราะ, หรือยาง Run Flat มันเป็นของแสลงกันอยู่แล้ว เกราะพัฒนา-กระสุนก็พัฒนา ยางกันเรือใบ-พวกเล่นเหล็ก 4 หุนมาดัด...ถ้าเกราะมันบางนักผมว่า ผบ.รถ ไม่บ้าพอที่จะวิ่งเข้าใส่ ถ.หลัก หรอกครับ
โดยคุณ Ake31 เมื่อวันที่ 15/10/2007 08:54:55


ความคิดเห็นที่ 4


ตอบท่าน Juldas งานนี้การเมืองแน่ๆ ครับ ไม่น่าจะเกี่ยวกับการมุ้งหรือการเมา

 

แต่สิ่งน่าสังเกตุคือ ความรีบร้อนจนเหมือนกับเป็นการจัดซื้อที่ลุกลี้ลุกลน และ ยังมีช่องที่ไม่เป็นไปตามระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างตาม กฏหมายไทย นอกจากรถเกราะยูเครนแล้วผมได้ข่าวว่า ปืนอิสราเอล Tavor ก็เข้าข่ายจะถูกสอบถามความโปร่งใสจากทาง สตง เหมือนกันเหนื่องจากงบประมาณตั้งไว้ที่ สามหมื่นกระบอก แต่การจัดซื้อครั้งนี้ในวงเงินที่เท่ากันกลับจัดหาได้เพียงหมื่นกระบอก  ถ้าราคากลางมันต่ำไปก็ควรที่จะสอบราคากันใหม่ครับ ไม่ใช่เอาวิธีเอางบที่ได้มาแล้วลดปริมาณของลงไป ผมว่ามันแปลกๆ แถมเค้าบอกว่า ราคาก็ไม่ถูกเท่าไร ถ้าเทียบกับค่าย อเมริกา หรือ เยอรมัน ถ้าจะอ้างว่าต้องการใช้รีบด่วนนี้น่าจะรออีกไม่กี่เดือนน่ะครับ ธันวา นี้ก็เลือกตั้งกันแล้ว หากตั้งรัฐบาลประชาชนสำเร็จ น่าจะถูกพ้นโทษแบนจากกลุ่มประเทศตะวันตกครับ ซึ่งการจัดซื้อจัดหาน่าจะโปร่งใสได้มากขึ้น

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 15/10/2007 09:06:20


ความคิดเห็นที่ 5


ท่าน CoffeeMix ตอนนี้ ผมก็หวังว่าคงจะได้มีการเลือกตั้งเกิดขึ้นครับ...ตามที่คุณ Ake31 บอก ผมว่าถ้าเทียบกับ รถยูเครน มองดูรถ BTR-80 ของรัสเซีย ก็ยังน่าจะได้มากกว่า เพราะแพงกว่าอีก 200,000 เหรียญ จำนวนอาจจะน้อยลงไปบ้าง สัก 15-20 คัน แลกกับความน่าเชื่อถือของอาวุธ และปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ ก็ยังดูคุ้มค่ากว่า...ตอนนี้ ผมกลัวคำว่า ปาติวัดตัวเอง ครับ...เหตุการณ์มันจะย้อนรอย 2514...และกว่าจะสงบเรียบร้อย มีรัฐบาลจากการเลือกตั้งแบบสมบูรณ์อีก คงใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 4-5 ปี...เป็นไปตาม ธง ที่ตั้งไว้ แต่วิธีอาจจะเปลี่ยนแค่นั้น....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 09:23:38


ความคิดเห็นที่ 6


รมว.กลาโหม สั่งระงับโครงการรถหุ้มเกราะยูเครน

Bangkokbiznews 12 ตุลาคม พ.ศ. 2550 19:26:00

"พล.อ.บุญรอด" สั่งระงับโครงการ"รถหุ้มเกราะยูเครน"แล้ว ก่อนตั้งกก.สอบเหตุองค์การ"แบตเตอรี่" ระบุเป็นหน้าที่ต้องทำความจริงให้ปรากฏ ด้านกก.สอบสวนวินัย"บรรณวิทย์"อืด อ้างกำลังรวบรวมหลักฐาน

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ที่ท่าอากาศยานกรุงเทพฯ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ผอ.สำนักงบประมาณกลาโหม และ สมาชิก สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) ออกมาโจมตีการบริหารงานของ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ เก่งเรียน ประธานคณะที่ปรึกษากระทรวงกลาโหม เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงกลาโหม ที่ทำให้ องค์การแบตเตอรี่ต้องขาดทุนจนต้องปิดตัวเอง

โดยเขาระบุว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค.ที่ผ่านมา ตนได้รับทราบข้อมูลจาก พล.อ.สมเจตน์ พูดในที่ประชุม สนช. โดยฝากประธาน สนช.มาถึง รมว.กลาโหม ซึ่งเป็นหน้าที่ของตนที่จะต้องดำเนินการต่อไป ขั้นต้นจะต้องหาข้อมูลให้หน่วยรายงานขึ้นมา หากมีข้อมูลความผิดพลาดก็จะต้องทำความผิดให้ปรากฏ ซึ่งทั้งสองฝ่ายทั้งผู้กล่าวหา ผู้ถูกกล่าวหา ที่อยู่ในสังกัดที่ตนรับผิดชอบต้องทำความจริงให้ปรากฏ

พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ต้องตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งการตรวจสอบต้องใช้ระยะเวลา เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเร่งด่วน หรือเรื่องคอขาดบาดตาย จากการติดตามข่าวที่ พล.ร.อ.บรรณวิทย์ ที่ให้สัมภาษณ์ถือเป็นข้อมูลหนึ่ง และต่างฝ่ายต้องหาหลักฐานมายืนยัน อาจจะถูกทั้งสองคนก็ได้ เพราะปัจจัยที่ทำให้องค์การแบตเตอรี่มันมีหลายปัจจัย เรื่องนี้ตนไม่ซีเรียสเท่าใดนัก เพียงแต่ต้องทำความจริงให้ปรากฏกับทุกฝ่าย

เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงหรือไม่ที่นายทหารระดับสูงในกระทรวงกลาโหมขัดแย้งกันเอง พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่ง ตนตั้งธงเรื่องสมานฉันท์ เพราะช่วงนั้นจะมีปัญหาเรื่องการโยกย้าย สมัยก่อนจะมีปัญหาเรื่องรุ่นน้องแซงรุ่นพี่ขึ้นมา ตนก็พยายามทำให้เกิดความยุติธรรม ซึ่งการปรับย้าย 2 ครั้งที่ผ่านมาเป็นที่น่าพอใจ

"แต่ที่เกิดความขัดแย้งขึ้นมาตอนหลัง มีคนเดียว ทำให้มีปัญหาดูแล้วไม่ใช่ความขัดแย้งมากมาย ทั้งนี้ ตนพูดว่าทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ กองบัญชาทหารสูงสุด และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ทุกคนมีเอกภาพเป็นน้ำหนึ่งอันเดียวกัน การมาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ถือว่าเป็นรัฐมนตรีที่สบายที่สุด ลูกน้องก็พอใจ เพราะตนไม่ได้เข้าไปแทรกแซง แม้กระทั่งโผโยกย้ายต่างๆ ส่งมา 100 % เป็นไปตามนั้น ผ่านการพิจารณาขึ้นมาแล้ว เรื่องที่ว่ากองทัพมีความขัดแย้ง เรื่องส่วนตัวต่างๆ ขอเรียนว่าไม่ใช่ ทุกหน่วยมีเอกภาพสามารถถามผู้บั งคับบัญชาทุกเหล่าทัพได้ว่าสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างไร" พล.อ.บุญรอด กล่าว

ผู้สื่อข่าวถามว่า จำเป็นต้องเรียก พล.ร.อ.บรรณวิทย์ และพล.อ.สมเจตน์ มาทำความเข้าใจกันอีก หรือไม่ พล.อ.บุญรอด กล่าวว่า คงไม่ต้องเรียกแล้ว เมื่อวันที่ 24 กย. ที่ผ่านมา ตนได้เชิญคนที่มีปัญหามาพบและพูดคุยแล้ว โดยมาพูดถึงปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการโยกย้าย ซึ่งครั้งนี้ไม่จำเป็นต้องเรียกมาพูดคุยกัน เพราะว่า พล.อ.สมเจตน์ ได้มาพูดในสภาฯแล้ว ส่วนใดที่เกี่ยวข้องก็จะดำเนินการในส่วนนั้น

"สภาฯ มีการพาดพิงถึงกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีกระทรวงนั้นก็ต้องไปพิจารณาดำเนินการ คงไม่ปล่อยให้คลื่นกระทบฝั่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดหา รถหุ้มเกราะของยูเครน ซึ่งขณะนี้เหลืออยู่ขั้นเดียวคือขั้นตอนการลงนามซื้อขาย ซึ่งผมจะต้องเป็นคนอนุมัติ เพราะฉะนั้น เมื่อมีปัญหาในส่วนนี้ก็จะต้องระงับไว้ก่อน เพื่อจะต้องตรวจสอบข้อเท็จจริงให้ชัดเจน ถึงจะดำเนินการต่อไปได้" รมว.กลาโหม กล่าว


เห็นด้วยว่าควรระงับแล้วสอบสวนหาความจริงครับ ดีกว่าดันทุรังซื้อไปทั้ง ๆ ที่ยังมีข้อสงสัยอย่างนี้
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 15/10/2007 10:09:01


ความคิดเห็นที่ 7


คนใช้ไม่ได้ซื้อ คนซื้อไม่ได้ใช้ ค่านายหน้าไม่ลงตัว ผลประโยชน์ไม่สมดุล พวกตูไม่ได้ดี คนอื่นก็ต้องไม่ได้....คงต้องรอให้ ลาว เขมร พม่า มีกองพลทหารราบยานเกราะก่อนมั้ง
โดยคุณ Ake31 เมื่อวันที่ 15/10/2007 11:45:36


ความคิดเห็นที่ 8


พม่ามีการจัดกองพลยานเกราะ เท่าที่ทราบจัดเป็น 5-7หน่วยบัญชาการปฏิบัติการ (Armour Operation Command) แต่ละหน่วยประกอบด้วย 3กรมรถถัง 3กรมรถหุ้มเกราะ  1กรมปืนใหญ่ และ 1กรมสนับสนุนครับ แต่บางหน่วยจะมีเพียง 2กรมรถถังเท่านั้น

จากเดิมที่มี2หน่วยบัญชาการซึ่งประกอบด้วยหน่วยละ 5กองพันรถถังและ5กองพันบรรทุกยานเกราะครับ (ข้อมูลไม่ยืนยันว่าถูกต้องนะครับ แต่จัดได้ขนาดนี้ไปหารถถัง รถหุ้มเกราะมาจากไหน?)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 15/10/2007 12:21:13


ความคิดเห็นที่ 9


 

ข้อมูลพม่ามีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อนเพื่อนทรยศจริงๆ คร้บ ข้อมูลที่เปิดเผยบางรายการก็โอเวอร์จนน่าสงสัย

เช่น การจัดกรมรถถัง จำนวนยานเกราะที่จัดหาและผลิตต่อในประเทศหลักพันคัน ( ประเทศสารขันธ์ ซื้อแค่เก้าสิบกว่าคันยังหืดขึ้นคอ) รวมถีง พลเอกโซวิน อดีตนายกรัฐมนตรีที่ถึงอสัญญกรรมด้วยวัยห้าสิบแก่ โดยมีเหตุผลว่าเป็นลูคีเมีย ( ลูคีเมียมีอายุถึงห้าสิบกว่าน่าสงสัยมากๆ เพราะส่วนมากสอบสิบกว่าๆ ก็ Check Bill หมดแล้ว แต่ กรูกัวเมีย เป็นได้ยันอายุเก้าสิบเก้าปี )

 

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 15/10/2007 13:00:30


ความคิดเห็นที่ 10


ก็.....ขนาด...ปืนใหญ่จักรพรรดิโรมัน....6 กระบอกโน้น.....ยังขึ้นศาลทหาร....กันมันส์เลย.....นับประสาอะไร.....กับรถเกราะรัสเซียแตกทัพ.....กับปืนผู้คุมโลก

เห็นทหารดินเขามันส์กันแบบนี้..........ทหารน้ำกับทหารฟ้าระวังไว้เถิด........ถ้าจริงใจ ใสแบ๋ว แอ๊บแบ็วก็โอเค........แต่ถ้าไม่ใช่ ก็ตัวใครตัวมัน.........หมายถึง........ เครื่องบินขับเล่นแบบที่ 400 รูท 2 ........... เหยี่ยวทะเลกับสากกะเบือจีน

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 15/10/2007 14:10:50


ความคิดเห็นที่ 11


การจัดหน่วยทหารม้าของกองทัพบกไทยในปัจจุบันที่จัดตั้งแล้วหรืออยู่ระหว่างการจัดตั้งมีอยู่ 2 กองพล 6 กรม 30 กองพัน และ 5 กองร้อยอิสระ และอีก 1 กองร้อยทหารม้าอากาศ(ปัจจุบันยังไม่สามารถจัดตั้งได้เนื่องจากขาดงบประมาณ)  แบ่งการบังคับบัญชาเป็น 2 แบบ คือ ในอัตราการจัดของกองพลทหารม้า กับในอัตราจัดหน่วยที่อยู่นอกกองพลทหารม้า

ยานรบที่ประจำในกองทัพบกไทย

1.รถสายพานลำเลียงพล แบบ 85 (จีน)

2.รถสายพานลำเลียงพล M.113 (สหรัฐ)

3.รถสายพานแบบ 85 ติดตั้ง ค.ขนาด82มม. และ ค.ขนาด120มม.

4.รถเกราะ V-150 ลำเลียงพล ติดตั้ง ค.81มม. และ ปถ.90มม.(สหรัฐ)

5.รถถังเบา 21 FV.101 (อังกฤษ)

6.รถถังเบา M.41 A3 (USA)

7.รถถังคอมมานโดสติงเรย์ (สหรัฐ)

8.รถถังหลัก 30 T.69-2

9.รถถัง M.48 A5 (USA)

10. รถถัง M.60 A1 A3 (USA)

11.รถสายพานกู้ซ่อมขนาดกลาง M.88A1

12.รถถังเบา 21 กู้ซ่อม FV-106 (UK)

13.ฮ.จ.1 โจมตี

แหล่งที่มา หนังสือ รด. ปี 3 พอดีผมเรียน รด. ปี 3 อยู่ครับ

โดยคุณ lifebad เมื่อวันที่ 15/10/2007 14:49:55


ความคิดเห็นที่ 12


ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับการเมืองหรือไม่

ที่แน่ ๆ เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ไม่ลงตัวแน่นอน...!!!

ไม่ของบริษัทรถคู่แข่ง ก็ต้องของ .....

สตง. สงสัย สอบสวน สรุปผล ดูเหมือนน่าจะเป็นเรื่องดี แต่บางที...อาจเป็นการใส่ตะกร้าล้างน้ำ ชุบตัวโครงการให้สะอาดเอี่ยมก็ได้นะครับ

สงสัยอย่าง ยางรถเกราะอะไรมันกันกระสุนขนาด 7.62 ได้ ? เห็นมีแต่โดนยิงแต่ยังพอลากสังขารต่อไปได้อีกสักระยะ หรือไม่ก็ใช้ระบบปรับลมยางจากภายในรถพอพยุงให้พ้นพื้นที่ปะทะ ไอ้เรื่องยิงไม่เข้าเนี่ยไม่เคยได้ยินจริง ๆ

แล้วที่ว่ากันตะปูเรือใบไม่ได้ เรือใบมันตัวโตขนาดไหนกันครับ รถยูเครนมันมีระบบเติมลมยางในตัว ทำไมมันจะวิ่งผ่าเรือใบไม่ได้ ?

สตง. รู้ได้ยังไงว่ารถมันไม่ดี ขนาดทหารที่เป็นคนออเดอร์เค้ายังไม่ได้ทดสอบเลย อวดรู้กันจริง ๆ อิอิอิ...

จะซื้อหาอะไรมาใช้ทีช่างบำลากยากเข็ญเสียจริง ๆ  เวรกรรมของทหารไทยอะไรก็ไม่รู้

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 15/10/2007 15:01:55


ความคิดเห็นที่ 13


รถเกราะ 8x8 พร้อมระบบอาวุธอัตโนมัติที่สั่งยิงจากในป้อมได้ แถมลุยน้ำได้เก่งในราคาแค่ แปดแสน กว่ายูเอสดอลล่าห์ นี่ จะไปหาซื้อมาจากที่ไหนได้อีกครับ รถเกราะ ของรัสเซียใหม่กว่าก็จริงแต่มันไม่มีของแถมมาให้ หรือจะไปเอา รถเกราะ 6x6 จากจีนดีละครับ  (ล้อหายไปสอง) จะว่าไปเทคโนโลยี่ของยูเครน มันไม่หนี รัสเซีย ซักเท่าไหร่หรอกครับ ของเขาเป็นรถเก่าเก็บก็จริงแต่เอามาปรับปรุงใหม่แล้ว นอกจากไทยแล้ว  กองทัพบก UAE เขาก็ซื้อมาใช้ในระดับ เป็นร้อย คันเหมือนกันครับ ประเทศเขารวยกว่าเราตั้งแยะ เขายังนิยมของถูกเลย แล้วเราจะกลับไปซื้อของแพงหรือครับ งบยิ่งมีน้อยๆอยู่ด้วย ไม่ทราบเหมือนกันว่า ทำไมจึงมีข่าวออกมาแบบนี้ แล้วเมื่อไหร่คนที่เขาใช้เขาจะได้ใช้ละครับ ลากกันไปลากกันมาแบบนี้ ประเทศชาติเสียหายนาครับ

โดยคุณ data เมื่อวันที่ 15/10/2007 16:35:16


ความคิดเห็นที่ 14


เหมือนกับว่า จะมีการเสนอข้อมูลแบบไม่อยากให้ประเทศที่

เคยร่วมสหภาพโซเวียต เอาอาวุธที่เคยใช้ในกองทัพแดง มาผลิตขายใหม่ แข่งกับทางรัสเซีย

ผมไม่ได้พยายามให้สิ่งที่ผิดกลายเป็นถูก

แต่เห็นว่าข้อมูลที่ยกมาโจมตีกัน ในหลายๆที่ บางครั้งมั่วๆ

คงขอเริ่มจาก “รถถังของประเทศยูเครนมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมเช่น ไม่ใช่รถที่ผลิตขึ้นใหม่ แต่เป็นการพัฒนามาจากรถหุ้มเกราะล้อยางของรัสเซีย รุ่น BTR-70 ซึ่งได้ยุติการขายไปหลายปีแล้ว”

และ “สายการผลิตมีประจำการอยู่ในประเทศผู้ผลิตหรือไม่” 

ถ้ามองจากข้อเท็จจริงของ สหภาพโซเวียต ก่อนการล่มสลาย

กองทัพแดงได้ผลิตรถหุ้มเกราะล้อยางหลายรุ่น เช่นBTR-60, BTR-70, BTR-80

และมีการผลิตรถหุ้มเกราะล้อยางเป็นจำนวนมาก เอาไว้ทำสงครามบุกยุโรป

สมัยสหภาพโซเวียต “อาจ” มีโรงงานผลิตยานยนตร์ทหารตั้งอยู่ในแคว้นยูเครน  

และโรงงานนั้น อาจเคยผลิต BTR-70 หรือ BTR-80 ด้วย

เมื่อยูเครนได้รับเอกราชก็ยังใช้รถหุ้มเกราะล้อยางที่ยังคงใช้ชื่อเดิม สมัยสหภาพโซเวียต

กองทัพยูเครนก็ไม่จำเป็นต้องมี BTR-3 ประจำการในกองทัพ เลย

เพราะยานเกราะเท่าที่ได้รับการแบ่งตอนสหภาพโซเวียตเลิกกิจการ

มีจำนวนมากเกินกว่าที่จะใช้งานในยามปกติได้

 

เรื่องนี้กำกวมกับความพยายามบอกว่า

เป็นการเอารถเก่าสมัยสหภาพโซเวียตมาพื้นสภาพขาย

ซึ่งถ้าทางยูเครนสร้างรถขึ้นมาใหม่ด้วยวัตถุดิบและความชำนาญเดิมที่มีในสมัยผลิต BTR-70 หรือ BTR-80 (ซึ่งจะเป็นโรงงานเดิมหรือไม่ก็ตาม) และนำมาเปลี่ยนชื่อ เป็น BTR-3 มันก็ไม่น่าจะผิด ถือว่าเป็นของผลิตใหม่ใหม่ (ตามแปลนแบบเก่า)

แต่ถ้าเป็นโครงรถเก่าสมัยสหภาพโซเวียตเอามาปรับปรุงให้ดูใหม่ ก็น่าจะ ผิด

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:01:42


ความคิดเห็นที่ 15


โดยส่วนตัว  ไม่คิดว่าของยูเครนจะเลวร้ายตามที่เป็นข่าว ยิ่งตอนนี้ได้เห็นราคา เปรียบเทียบกับ btr80 แล้ว ก็ต่างกัน เป็นแสนเหรียญ หรือว่าคันนึงก็ 7-8 ล้านได้

 

 หากว่า ของยูเครน ได้อาวุธติดมาด้วยตามที่ผมเคยอ่านเจอจริงในสยามรัฐรายสัปดาห์ เทียบกับของรัสเซีย ที่ได้ตัวรถเปล่าๆ  เอาของยูเครนดีกว่า   เพราะผมเชื่อว่า ยังไงก็กันกระสุนกันกับระเบิด ได้ตามมาตรฐานแน่นอน ไม่มั่วแบบข่าวที่เขียนออกมาก

 

 ห่วงอยู่ก็แค่เรื่อง การซ่อมบำรุงในระยะยาว ว่าจะมีปัญหาอะไรหรือเปล่า

อ่านเนื้อข่าวจากผู้จัดการที่ไปสัมภาษณ์ผบทบ ท่านใหม่เห็นบอกว่า เจ้าbtr-3e1 นี่  จะใช้เครื่องยนต์เยอรมัน (คงเหมือนกับเจ้าสายพานลำเลียงtype 85)ระบบวิทยุก็ มาตรฐานนาโต้  เรียกว่าแค่ตัวรถเป็นยูเครนที่เหลือเป็นนาโต้หมด  หากเป็นจริงก็ยอมรับได้

จริงๆ ควรระงับแล้วเลือกเจ้าbtr-4 ไปเลย เพราะทีอ่านดู ในเวปเค้าก็เรียกว่าออกแบบมาเพื่อไปรับกับมาตรฐานนาโต แล้วเรื่องประตูข้างที่หลายท่านเป็นห่วงก็เป็นประตูด้านหลัง

 

ยังไง หากกองทัพชี้แจงชัดเจน เปิดเผย ว่าได้อะไรมาบ้าง  เปรียบเทียบไปเลยว่า 4แบบที่เสนอมาเค้าให้option อะไร  คงจะชัดเจน  ไปเลย

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:03:32


ความคิดเห็นที่ 16


“การที่ล้อรถยางไม่สามารถทนตะปูเรือใบ หรือลูกกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ โดยเฉพาะหากนำไปใช้ในภาคใต้ที่มีการวางตะปูเรือใบของเจ้าหน้าที่เสมอ อาจทำให้การใช้งานไม่สมประโยชน์ตามวัตถุประสงค์” 

ถ้าสมมุติว่ามีการกำหนดSpecไว้ว่า จะต้องส่งมอบรถที่ใช้ยางที่กันกระสุน หรือตะปูเรือใบ ในการส่งมอบในลูกค้า บริษัทอาจ Outsource ซื้อยางที่ถูกSpec จากบริษัทของประเทศอื่นๆใส่รถแล้วส่งให้ลูกค้าก็ได้ ยางรถชนิดพิเศษกันกระสุนได้ไม่จำเป็นจะต้องผลิตจากประเทศเดียวกับที่ผลิตรถ

และไม่เห็นความจำเป็นต้องอ้างว่ายูเครนไม่มีเทคโนโลยีเกี่ยวกับยางกันกระสุนเลย

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:03:58


ความคิดเห็นที่ 17


ข้อเท็จจริงของ “ขีดความสามารถในการบรรทุกของ BTR-3E ของยูเครนว่าบรรทุกได้เท่าไรกันแน่ เพราะเคยให้ข้อมูลไว้ว่าบรรจุได้ 9 นายแต่ต่อมาแก้เป็น 11+2 เนื่องจากตามแบบกำหนดไว้ว่าต้องไม่ต่ำกว่า 11 นาย” อันนี้ก็กำกวม

ข้อมูลเรื่องนี้ทำให้ต้องย้อนไปตั้งคำถามว่า คน/นาย ในที่นี้เรากำหนดมาตรฐานไว้หรือไม่ว่าทหารหนึ่งคนต้องใช้พื้นที่นั่งเท่าไร ถ้าทางยูเครนหรือรัสเซียบอกว่าของเขาใช้มาตรฐานทหารไซต์ฝรั่ง สูง 180 ซม.แต่งเครื่องแบบโอเวอร์โคทพร้อมอุปกรณ์สำหรับการรบในเขตที่หนาวจัด เป็นหลัก ถ้าจะเอามาใช้ในกองทัพของเรา มาตรฐานของทหารเราสูง(ไม่น่าจะเกิน)175 ซม. ถ้าใส่เสื้อกันหนาวก็จะไม่หนาเท่าแบบของเขา ก็น่าจะมีพื้นที่นั่งเพียงพอสำหรับทหารเรา

จะเพิ่มอีกสองคนจากมาตรฐานของเขาก็ไม่น่าจะผิด

ที่ถูกต้องคือต้องเอารถมาทดสอบดู และต้องไม่เลือกใช้คนที่ตัวเล็กเป็นมาตรฐาน
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:09:49


ความคิดเห็นที่ 18


คือผมก็ไม่เข้าใจว่าเรื่องพัฒนามาจาก BTR-70 นี่จะเอามาพูดทำไมง่ะ ถ้าอย่างงั้น F-16 Block 50/52 ก็ซื้อไม่ได้สิ เพราะพัฒนามาจาก Block 1 ปี 60 - 70  โน้น......
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:10:57


ความคิดเห็นที่ 19


ปัญหาเรื่องนี้ แค่เริ่มผมว่ามันก็ผิดตั้งแต่ต้น...

BTR-3E เคยนำมาวิ่งทดสอบในประเทศไทย หรือไม่...?

ถ้าไม่เคยวิ่งทดสอบในประเทศไทย...แล้วสั่งซื้อ รถหุ้มเกราะ จากแผ่นกระดาษ หรือ ? แล้วรู้ได้ยังไงว่า ดี กับสภาพเมืองไทย ?

และการเดินทางไปดูที่ประเทศ ยูเครน เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้กระทำการครบตามเงื่อนไขการตรวจสอบ เท่านั้นหรือไม่ ?

แล้วการเปลี่ยนเครื่องยนต์เป็นเครื่องเยอรมัน รวมอยู่ในราคานี้หรือไม่ ? เปลี่ยนทั้งหมดรึเปล่า หรือเปลี่ยนแค่บางส่วนแบบ Type 85 ?

แล้วถ้ามีการทดสอบที่ผ่านมา เป็นเครื่องยนต์เดิมของ BTR-3E หรือ เป็นเครื่องยนต์ของเยอรมัน ?

และของถ้ามันดีสมราคาจริง จะมีของแถมทำไม ? เพราะราคาก็ถูกกว่าเจ้าอื่นอยู่แล้ว ส่วนใหญ่ ของขายไม่ออก จะแถมของทั้งนั้น หรือไม่ ?

ผมว่าคำถามมันจะเกิดขึ้นมากมายครับ..? เพราะการสั่งซื้อที่ผ่านมาอยู่ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติ...

การระงับตอนนี้ ผมเห็นด้วยครับ....

ถ้าผมจำไม่ผิด และไม่อยากเอามาเป็นประเด็นก็คือ ผมเคยดูข้อมูลมูลค่าการขายอาวุธของ รัสเซีย หรือยูเครน เนี่ยละครับ ที่เปิดเผยโดยทั่วไป..BTR-80 ในราคา 200,000 เหรียญ ต่อคัน ซึ่งน่าจะเป็นรถเก่าของรัสเซีย และยูเครน...ไว้กลับบ้านผมจะไปค้นหาข้อมูลอีกที...ไม่รับรองข้อมูลครับ...

ถ้าข้อมูลเป็นดังข้างต้น ดังนั้น ราคา 800,000 เหรียญ ต่อคัน ผมจะโมเมราคาให้คือ โครงรถ BTR-80 ในราคา 200,000 เหรียญ บวก ด้วยราคาเครื่องยนต์เยอรมัน และระบบวิทยุมาตรฐานนาโต้ และกำไรของผู้ผลิต รวมค่าใช้จ่ายนายหน้า อีกประมาณ 600,000 เหรียญ รึเปล่า ? ดังนั้นมันก็เหมือน ซื้อโครงรถ มาโมดิฟายเครื่องยนต์ใหม่ และมีใครรับรองหรือไม่ (เอาแค่ มอก. ก็ได้ 5 5 5 5 )  ?

 

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 17:49:35


ความคิดเห็นที่ 20


ทำไม๊ทำไมเวลาจะซื้อยุทธโธปกรณ์ใหม่ๆต้องมีปัญหาทุกที ไอ้คนอนุมัติก็ไม่ชอบที่จะชี้แจงรายละเอียดหรือเหตุผลอะไรซะด้วย จะเก็บไว้ภูมิใจคนเดียวหรือไง(ฟะ) ข่าวก็ไม่ค่อยจะออกให้ประชาชนรู้ นานๆจะออกข่าวความคืบหน้าซะที การจะซื้ออาวุทธนี่ควรลงข่าวให้ประชาชนรู้เยอะๆเหมือนเวลามีข่าวปลุกจตุคามหรือดาราแต่งงานกันบ้างเนอะ เพราะมันก็ภาษีประชาชนทั้งนั้น แล้วให้ประชาชนเข้าใจด้วยว่าทำไมเราต้องซื้อ!!

เสียดายถ้าผมเรียนวิศวะผมจะออกแบบรถไปเสนอผบ.ท.บ.มันเองซะเลย(แต่เขาคงไม่รับหรอกมั๊ง) ดันไม่เก่งสอบเข้าไม่ได้(อายนะเนี่ย)เลยเรียนภาษาแทน ทุกวันนี้ก็ได้แต่วาดให้มันดูเท่ๆเท่านั้นเอง แล้วไม่รู้เป็นไร มักจะคิดรูปแบบใหม่ๆออกบ่อยด้วยซิ วาดภาพร่างไส่กระดาษไว้ทุกวันเลยนะเนี่ยไอ้ภาพภายในมันก็คิดออกนะว่ามันต้องมีอะไรบ้าง แต่มันวาดออกมาไม่ได้ !!!!!!! 


โดยคุณ pc1 เมื่อวันที่ 15/10/2007 18:49:42


ความคิดเห็นที่ 21


เรื่องชี้แจงแถลงไขนี่ยกให้ทร.เลยครับ ซึ่งปัจจุบันต้องทำแบบนี้แล้วแหละครับ ไม่ใช่อ้างอะไรกับลับ ลับ ลับ แต่ไอ้ลับนะเงินภาษีของประชาชนนะเฟ้ย

โดยคุณ L96A1 เมื่อวันที่ 15/10/2007 19:43:16


ความคิดเห็นที่ 22


ไม่ต้องซื้ออะไรซะ จบ....

 

โดยคุณ galen เมื่อวันที่ 15/10/2007 20:54:04


ความคิดเห็นที่ 23


กรรมของทหารไทย กว่าจะได้อาวุธยุทธโธปกรณ์มาแต่ละครั้ง เลือดตาแทบกระเด็น สำหรับผมแล้ว ไม่ขอวิจารณ์ เรื่องข้อมูล ต่าง ๆ เนื่องจากมีเพื่อน ๆ ได้โพสความเห็นกันเยอะแล้ว  ผมคิดอย่างเดียวขอให้มันมีอาวุธใหม่ ๆ มาให้ทหารได้ใช้เถอะครับ ไอ้เรื่องค่าคอมเพสเซอร์ มันก็มีทุกครั้งที่มีการซื้อนั้นแหละครับ ไม่ว่าจะยุคไหน ปลงแล้วครับ  ผมสนอย่างเดี่ยว ขอให้มีอาวุธใหม่ ๆ ให้ทหารไทยได้ใช้เพื่อปกป้องประเทศ และป้องปรามเพื่อนบ้านบ้างเถอะครับ ถ้ายุคที่ทหารเรืองอำนาจแล้วยังไม่มีปํญญา ซื้ออาวุธได้ ก็อย่างหวังว่ายุคนักเลือกตั้งครองเมืองแล้วจะซื้อได้ เฮ้อ สงสารเธอ ประเทศไทย

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 15/10/2007 21:01:02


ความคิดเห็นที่ 24


ข้อมูล BTR-3U มาตรฐานเครื่องยนต์เป็นของ เยอรมัน (มาตรฐานเดียวกับ พม่า และ UAE ) แต่พม่าติดเรื่องปัญหาของ EU เครื่องยนต์เยอรมันเลยไม่ได้ขายล่ะมั๊งครับ...(ผมแปลถูกรึเปล่า ช่วยบอกด้วยครับ)


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 23:09:52


ความคิดเห็นที่ 25


ต่อ...


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 23:10:47


ความคิดเห็นที่ 26


APC ของยูเครน สรุปยอดขายได้ดังนี้


โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 23:12:03


ความคิดเห็นที่ 27


APC ตามข้อมูลของ SIPRI ARMS TRANFERS DATABASE

BTR-94  ใหม่เอี่อมอ่องถอดด้ามจากไลน์ผลิตของ ยูเครน ขายให้ จอร์แดน 50 คัน มูลค่า 6.5 ล้านเหรียญ ตกคันละ 130,000 เหรียญ (สงสัยไม่ใช่เครื่องเยอรมัน)

BTR-3U ขายให้พม่า 1,000 คัน แต่ส่งได้แค่ 10 คัน ไม่ปรากฎมูลค่าซื้อขาย (สงสัยให้ฟรี คิดตังค์ไม่ถูก) เพราะ เยอรมัน ไม่สามารถขายเครื่องยนต์ให้ได้กระมัง...

BTR-3U ขายให้ UAE จำนวน 100 คัน แต่ส่งให้ได้แค่ 24 คัน ไม่ปรากฎมูลค่าซื้อขาย เป็นการประกอบที่ UAE เอง สเปคเดียวกับของไทย เครื่องยนต์เยอร์มัน ระบบสื่อสาร US และน่าจะเป็นสาเหตุเดียวกัน เรื่องเครื่องยนต์เยอรมัน เกี่ยวเนื่องกับพม่า เพราะ EU กลัวเครื่องไปไม่ถึง UAE มันจะเลี้ยวไปพม่าซะก่อน (เดาเอา)

BTR-3E ขายให้ THAILAND จำนวน 96 คัน คันละ 800,000 เหรียญ (โอ้วววว..แม่จ้าววววว) สเปคเครื่องยนต์เยอรมัน ระบบสื่อสาร นาโต้ แต่ถึงจะลงนามซื้อได้...แต่เครื่องยนต์เยอรมัน มันจะได้มาหรือ เพราะยังไม่ได้เป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้ง เยอรมันคงไม่สามารถขายได้อีกเช่นเดียวกับ พม่า.....

สงสัยงานนี้ ต้องอิจฉา จอร์แดน....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 23:20:04


ความคิดเห็นที่ 28


ลืมบอก Kazakhstan สั่งซื้อไป 2 คัน

ส่วน BTR-80 ของรัสเซีย ตามข้อมูล SIPRI เช่นเดียวกัน

ขายให้ บังคลาเทศ โดยใช้ Finance ของ UN จำนวน 78 คัน มูลค่า 16 ล้านเหรียญ ตกคันละ 205,000 เหรียญ

ขายให้ อินโดนีเซีย จำนวน12 คัน มูลค่า 6.5 ล้านเหรียญ ตกคันละ 541,000 เหรียญ

ขายให้ ฮังการี จำนวน 555 คัน มูลค่า 320 ล้านเหรียญ ตกคันละ 576,000 เหรียญ

ขายให้ อุชเบกิสถาน จำนวน 50 คัน มูลค่า 30 ล้านเหรียญ ตกคันละ 600,000 เหรียญ

เสนอขายให้ ประเทศไทย คันละ 1,050,000 เหรียญ (เจ็บใจล่ะซิ...ยูเครนได้ไปซะ กั๊ก กั๊ก กั๊ก กั๊ก โสนน๊าน่า)

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 15/10/2007 23:29:00


ความคิดเห็นที่ 29


มีปัญหามากก็ไม่ต้องซื้อครับ มาพึ่งภูมิปัญญาของบรรพบุรุษก็ได้ครับ เอาวัวมาเทียมเกวียนใส่เกราะเข้าไปหน่อยก็ใช้ได้และ ส่วนรถถังซื้อแล้วมีปัญหา ก็ให้มาขี่ม้า ถือปืนออกสนามรบเลย จบ
โดยคุณ lifebad เมื่อวันที่ 16/10/2007 00:00:17


ความคิดเห็นที่ 30


สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซื้อ บีทีอาร์ 3ยู (บีทีอาร์ 3  รุ่นที่ใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ เยอรมัน) จำนวน 90คัน มาเมื่อ 4ปีก่อน แต่รับมอบแค่ 24 คันก็ ยกเลิกการสั่งซื้อรถที่เหลือ ส่วนประเทศจอร์แดนซื้อบีทีอาร์94  (บีทีอาร์ 80 รุ่นที่ใช้ เครื่องยนต์ และ อาวุธของประเทศยูเครน) จำนวน 50คัน ใช้งานไป 4ปี โอนให้อิรัก ทั้ง2 ประเทศนี้ อาจจะเจอปัญหามากในการใช้งานและซ่อมบำรุงจนต้องยกเลิกการสั่งซื้อหรือเลิกใช้ไปเลย เยอรมันไม่มีปัญหาในการขายเครื่องยนต์ให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 

ส่วนบีทีอาร์ 3 อี 1ใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ ประเทศยูเครน (ตามเวป ของคาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน และ Jane’s Defence Weekly  และhttp://ardothailand.com/SHcontentsview.php?Ccont_ID=32)

 

จุดที่น่าสนใจในการจัดซื้อบีทีอาร์ 3ในครั้งนี้คือ ผบ ทบ คนปัจจุบัน บอกว่าบีทีอาร์ 3 รุ่นที่เสนอให้กองทัพบกใช้ เครื่องยนต์ของ ประเทศเยอรมัน แต่ที่ บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ กลับ เสนอใช้ เครื่องยนต์ของ ประเทศยูเครน  น่าสงสัยว่าสรุปแล้วบริษัท UKRSPETSEXPORT เสนอเครื่องยนต์ของเครื่องยนต์ของ ประเทศไหนกันแน่?

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 16/10/2007 01:54:44


ความคิดเห็นที่ 31


อีกข่าว อิรักจะสั่งซื้อรถบีทีอาร์ 3 อี 1จำนวน 336คัน

http://www.defenseindustrydaily.com/2257b-for-iraqi-army-guns-vehicles-logistics-03945/#more

 

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 16/10/2007 02:01:24


ความคิดเห็นที่ 32


ปัญหาคงไม่มากมายขนาดนี้ และคงไม่ส่อแววเป็นหมันแบบนี้....

ถ้า ทบ. คัดเลือกจาก....

"ในวันที่16 พฤษภาคม2550 มี8 บริษัทยื่นซองประกวดราคาคือ1.ชัยเสรี(ประเทศไทย) 2.พีเอแอสโซซิเอท(สิงคโปร์) 3.ทีแอนด์แอลไทยแลนด์ (ฟินแลนด์) 4.ฮอว์คอายส์อินเตอร์เทรด (แคนาดา) 5.อินฟราคอนสตัคชั่น (เกาหลี) 6.ล็อกเล่ย์อินเตอร์เนชั่นแนล (อิตาลี) 7.ลักกี้คอนซัลติ้ง (รัสเซีย) 8.ณัติพล(จีน) "

และทหาร ก็จะมีอาวุธใช้ตามกำหนดการที่วางไว้.....

เกมส์นี้ ผมจึงว่าเป็นเรื่องการเมืองมากกว่า....และการระงับการสั่งซื้อครั้งนี้ไว้ก่อน...น่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมแล้ว สำหรับความคิดผม...เพื่อความมั่นคงของ ผบ.ทบ. เอง...เพราะผมอยากเลือกตั้งแล้ว จะได้เริ่มแก้ปัญหากันสักที....

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 16/10/2007 07:59:14


ความคิดเห็นที่ 33


พม่านั้นมีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงและประกอบรถหุ้มเกราะใช้เองในประเทศได้ในระดับหนึ่งตั้งแต่15-20ปีที่แล้วครับ ซึ่งอุตสาหกรรมด้านนี้ของพม่าก้าวหน้าขึ้นมากในช่วง10ปีที่ผ่านมาครับ ปัจจุบันพม่าสามารถผลิตรถหุ้มเกราะที่ออกแบบเองในประเทศได้หลายแบบเช่น MAV-1 IFV (ไม่เคยเห็นภาพไม่ทราบรูปร่างเป็นอย่างไรแต่คาดว่าคงผลิตในอัตราไม่สูงนัก) ครับ

โดยถ้าดูจากขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมและปัจจัยต่างๆแล้วรถหุ้มเกราะ BTR-3U ที่ผลิตในพม่าคงจะใช้เลือกเครื่องยนตร์ของยูเครนครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 16/10/2007 09:27:16


ความคิดเห็นที่ 34


 

ประเด็นตอนนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่า รถเกราะยูเครน ดีหรือไม่ดีครับ แต่อยู่ที่ขั้นตอนการพิจารณาจัดซื้อจัดหามากกว่าว่าทำไมถึงรถเกราะยูเครนสามารถที่จะส่งซองได้หลังจากที่เค้าปิดรับประมูลไปแล้ว และ ยังไม่เคยมีการวิ่งทดสอบในประเทศไทย ทั้งๆ ที่เจ้าอื่นเอามาวิ่งลุยโคลนจมปลักกันทุกเจ้าทุกแบบ หาก ทบ สามารถตอบคำถามได้อย่างชัดเจน จะกลัวอะไรล่ะครับ  ระบุได้ไหมว่าทำไมถึงเอายูเครน แล้วราคาต่อคันที่เหมือนจะแพงกว่าประเทศอื่นนั้น มันแตกยอดออกมาเป็นค่าอะไรบ้าง

 

หาก ทบ มีความโปร่งใสจริง ผมคิดว่าไม่น่าเป็นเรื่องยากที่จะได้รับการยอมรับจากฝ่ายต่างๆ ครับ

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 16/10/2007 10:14:38


ความคิดเห็นที่ 35


^
^
^
เห็นด้วยสุด ๆ ครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 16/10/2007 11:12:24


ความคิดเห็นที่ 36


ผบ.ทบ.โยนจัดซื้อรถหุ้มเกราะเป็นอำนาจ รมว.กห.
โดย Post Digital 16 ตุลาคม 2550 11:08 น.

ผบ.ทบ. ระบุ การจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากยูเครนเป็นอำนาจของ รมว.กลาโหม ตั้งข้อสังเกตถูก สตง.สอบ มาจากคนเสียประโยชน์ร้องเรียน ยืนยันไม่ชี้แจงต่อสาธารณชน

พล.อ อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะจากประเทศยูเครนที่มีข้อห่วงใยอาจเกิดความไม่โปร่งใส ว่า เรื่องนี้อาจมีผู้เสียประโยชน์ไปร้องเรียนต่อสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ( สตง.) ทำให้ สตง.สอบถามมา ซึ่งกองทัพบกได้ชี้แจงไปแล้ว ถือว่าจบภารกิจของกองทัพบก ส่วนโครงการดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นผู้ตัดสินใจ ถ้าผู้มีอำนาจในการอนุมัติ ไม่อนุมัติทุกอย่างก็จบ

ผล.ทบ. กล่าวว่า ทั้งนี้ กองทัพบกไม่จำเป็นต้องนำรายละเอียดของโครงการดังกล่าวมาชี้แจงต่อสาธารณชน เพราะอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ไม่ใช่อยู่ที่กองทัพบก

http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=197818

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 16/10/2007 11:18:01


ความคิดเห็นที่ 37


 

ผล.ทบ. กล่าวว่า ทั้งนี้ กองทัพบกไม่จำเป็นต้องนำรายละเอียดของโครงการดังกล่าวมาชี้แจงต่อสาธารณชน เพราะอำนาจในการตัดสินใจซื้อ ไม่ใช่อยู่ที่กองทัพบก

 

ไม่เห็นด้วยกับคำกล่าวของ ผบ.ทบ. อย่างรุนแรง โครงการนี้เป็นโครงการของ ทบ. ดังนั้น ผู้มีอำนาจสูงสุดของ ทบ. คือผู้รับผิดชอบโครงการ การที่จะโยนความรับผิดชอบไปให้ไปอยู่ที่ กลาโหม ไม่น่าจะเป็นสิ่งที่ ผบ.ทบ. ควรจะพูดครับ

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 16/10/2007 11:37:01


ความคิดเห็นที่ 38


เห็นด้วยกะท่านกาแฟผสม ครับ ผมเองก็มองว่า กองทัพนั่นแหละควรชี้แจง ประเด็นสำคัญคือ รถที่ยังไม่ได้ทดสอบ มานอกรอบ ปิดรับเสนอไปแล้ว และได้มาแบบม้ามืดอีกต่างหาก นั่นคือข้อสงสัยที่ทุกคนควรจะรับรู้และได้รับทราบคำตอบอย่างชัดเจนใช่หรือไม่

ของถูก และได้มาแบบ ครบๆ ไครก็ดีใจที่ได้ของมาใช้ครับ แต่ มันถูกจริงหรือ ดีจริงหรือ นั่นคือข้อสงสัยเรื่องของราคาเราคงจะทราบแล้วว่ามันถูก แต่ มันก็แพงกว่าที่ขายให้คนอื่นอยู่หลายเหมือนกันครับ นั่นก็กลายเป็นคำถามอีกว่า ทำใม ขายให้ไทยจึงแพงกว่า มันบวกอะไรไปบ้าง และเป็นรุ่นลิมิเต็ดหรือเปล่า มันเลยแพง หรือเพราะเพิ่มคอมเพลสเซอร์ขนาดใหญ่กันแน่ ราคาถึงได้กระฉูดขึ้นไป

จุดที่น่าสงสัยคือ ทำใมประเทศที่ซื้อไปใช้แล้ว ถึงได้ยกเลิกการซื้อกลางคัน หรือยกให้คนอื่นแทน และคนที่ใช้ก็มีน้อยมากจริงๆ

ประเด็นอื่นๆ ก็มีหลายคนพูดถึงอยู่แล้ว ผมเองก็ไม่รุ้จะย้ำไปทำใม แต่การที่ออกมาตั้งข้อสงสัยก็ไม่ใช่การปัดแข้งปัดขา ไม่ให้ซื้อนะครับ ทุกๆ ท่าในที่นี้คงอยากให้กองทัพมีของใช้ให้ครบอัตรา และมีของใหม่แน่นอนอยู่แล้ว แต่ ระเด็นมันอยู่ที่ว่า การซื้อของไม่ใช่ หลับหูหลับตาซื้อ หรือ เอาอะไรก็ได้ ขอให้มีเถอะ นั่นมันคืออยากได้จนไม่ได้มองว่า เงินที่เสียไปในการจัดซื้อนั่นคุ้มค่าใหม แล้วของที่ได้มานั้นมันใช้งานได้จริงแท้แน่นอนแค่ไหน เพราะคงไม่มีไครอยากได้รถ จนไม่สนว่า เอามาวิ่งได้สัก 2 ปี ก็ต้องจอดนอนคอก ออกไปไหนไม่ได้ หรือ เกิดเหตุต้องใช้งานจริงๆ กับไม่สามารถทำตามหน้าที่ที่มันควรจะทำได้ รวมทั้งยังไม่ปลอดภัยอีก แบบนั้น ซื้อมาทำใม แล้วยังต้องเสียเงินเพิ่มอีกเพื่อไปซื้อของใหม่อีก อย่าให้เข้ากับคำที่ว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย หรืออย่าเห็นแก่ของถูก

จุดสุดท้าย ผมกลัวว่านี้จะเป็นแค่เกม ๆ หนึ่ง ที่ สตง ยกขึ้นมาตรวจสอบ เสร็จแล้วก็ปล่อยผ่าน กลายเป็นเข้าแผน ยิงนกตกปลา เอ้ย ยิงปืนนัดเดียวได้นก 2 ตัว คือ รถเกราะก็พ้นข้อสงสัย โดยที่ไม่ต้องตอบคำถามอีกต่อไป สตง ก็ถูกมองว่า เป็นกลางอย่างแท้จริง แหล่มกันไปทั้ง 2 ฝ่าย

พอแล้ว นิ้วหงิกแล้ว

 

โดยคุณ TIGGER03 เมื่อวันที่ 16/10/2007 12:09:15


ความคิดเห็นที่ 39


งานนี้ ผบทบ ออกมา เสนอ ทางออกแล้วครับ ว่าจะไปทางไหน  

ส่วนโครงการดังกล่าวจะเข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดหาหรือไม่ ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จะเป็นผู้ตัดสินใจ ถ้าผู้มีอำนาจในการอนุมัติ ไม่อนุมัติทุกอย่างก็จบ

ผมว่า ยกเลิก แล้วเปิดซองใหม่ ประมูลใหม่ดีกว่า งานนี้ น่าเห็นใจ ท่าน ผบทบ มาได้ไม่ทันไร เจอขี้ก้อนใหญ่ คนซื้อไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ  คุ้น ๆ เหมือน รถดับเพลิงอะไรซักอย่างของประเทศ สาระขัน  พฤติกรรม เหมือน ๆ กัน วนเวียนในวงการเมือง แสวงหา อำนาจ กันเข้าไป

 

คืบก็ทะเล ศอกก็ทะเล มองยังไม่เห็นฝั่งจริง ๆ

 

 

 

 

โดยคุณ แมวบิน เมื่อวันที่ 16/10/2007 16:02:26


ความคิดเห็นที่ 40


ให้ชี้แจง นี่จะเล่นกันถึงตายหรือครับ
เอาว่า ซุนวู สอนไว้ว่า "อย่าล้อมให้จนตรอก" ครับ
เรื่องนี้ถ้าจะให้จบแบบจบไปเลย ไม่ต้องพูดถึงอีก ก็ยกเลิกโครงการ
คนที่รับกรรม ก็คือทหารที่ต้องเสี่ยงชีวิตทำงานในที่ต่างๆ ที่จะไม่ได้อ่าวุธที่ควรได้มานานแล้ว�
ทางออกทางหนึ่ง "ถอยหนึ่งก้าว เพื่อที่จะรุกในโอกาสต่อไป"
ส่งหรือขอเรื่องคืน พิจารณาจัดทำโครงการใหม่ เช่น โครงการ ยานยนตร์หุ้มเกราะล้อยาง ชนิดสี่ล้อ และชนิดหกล้อ ยานยนตร์หุ้มเกราะล้อยางบรรทุกทหารติดอาวุธชนิดแปดล้อ และยานรบล้อยางติดปืนต่อสู้รถถังขนาด ๑๐๕/๑๒๐ มม. เพื่อให้ยานยนตร์ทั้งหมดใช้อุปกรณ์ มาตรฐานร่วมกัน� หรือโครงการอื่นๆที่จะเปิดให้มีการเริ่มกระบวนการใหม่ หมด หลังการเลือกตั้ง
ยอมรับว่าเรื่องนี้ทำให้ต้องคอยลุ้น ว่าจะออกทางไหนและเมื่อไรทหารจะได้รถหุ้มเกราะใช้
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 16/10/2007 21:15:22


ความคิดเห็นที่ 41


-*- ผมพลาดอะไรไปเหรอครับ

ช่วงนี้รู้สึกเหมือนอยู่ในป่าดง 

เห็นด้วยกับพี่กาแฟผสมอีก1คน

อย่างที่ผมบอก ถ้ากองทัพโปร่งใส ซื้ออะไร ชูจั๊กกะแร้สองแขนสนับสนุนเต็มที่

เรื่องค่าคอมเพรสเซอร์ ใช่ครับ มันเป็นธรรมด๊าธรรมดาของไทย ตั้งแต่กำนัน อบต. อบจ. มันก็มีค่าคอมเพรสเซอร์

แต่ว่า งานนี้ มันชัดเจนไปหน่อยครับ (แสดงว่าแกชอบแอบๆใช่มั๊ยฮึ!)

 ไอ้คนซื้อก็ไม่ได้ใช้ คนใช้ไม่ได้ซื้อ  มันเลยหาตรงกลางไม่ได้ซักที

เอาเถอะครับ ก็ขอให้ทบ.เคลียร์เรื่องนี้ให้ชัดเจน พี่ๆทหารเค้าจะได้ใช้ของใหม่ซักที

โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 16/10/2007 17:04:03


ความคิดเห็นที่ 42


 

ที่ว่าอยากจะให้ชี้แจงนั้นมันสำหรับกรณีที่จะดันต่อไปครับ เมื่อมีคนสงสัยก็ตอบในเรื่องที่มาที่ไปซะ ผบ ทบ เป็นคนรับผิดชอบ ทบ ไม่ใช่หรือ ถ้าลูกน้องท่านยัดไส้มา โดยที่ท่านบอกไม่รู้ไม่เห็น เอกสารส่งมาก็ลงนามไป อย่างนั้นท่านก็ต้องรับผิดชอบในฐานะผู้เป็นผู้รับผิดชอบ ทบ ครับ

ก็ลองดูครับ ว่าจะดันต่อไปหรือว่าจะยอมถอยหลังครับ

 

แต่ที่แน่ๆ ถ้าโปร่งใสจริง กลัวอะไรครับ

 

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 17/10/2007 09:57:16


ความคิดเห็นที่ 43


กลัวคนที่ไปถาม ไม่ได้อ่านระเบียบ กฏหมายว่า เขาใช้ระเบียบ กฏหมาย ข้อตกลงอะไร ที่ให้อำนาจในการทำการตกลงซื้อ ถามไปเขาก็งัดกฏหมายมาอ้าง แล้วย้อนว่าอ่านกฏหมายดีแล้วยัง ถ้ายังมันจะเสียหน้าแต่ถ้าศึกษาดีแล้วเราจะตั้งคำถามได้อีก
โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 23/10/2007 19:23:08