ในปัจจุบันวงการโทรคมนาคมกำลังมีเทคโนโลยีที่อยู่ในความสนใจติดอันดับต้นๆ ชื่อ NGN หรือ Next generation Network โดยทั่วไปเราอาจเคยได้ยินคร่าวๆว่า NGN คือ โครงข่ายโทรคมนาคมยุคหน้าที่วิ่งบน IP แต่ถ้าถูกถามว่าภาพรวมที่แท้จริงของ NGN รวมถึงประโยชน์และบริการที่เราจะได้ต่างกับโครงข่ายปัจจุบันที่มีอยู่อย่างไร เรายังอาจเห็นภาพไม่ชัดเจน ชุดบทความนี้จะแนะนำผู้อ่านให้เข้าใจ "โครงข่ายยุคหน้า ตัวนี้ ทั้งในมุมกว้าง (บริการและเทคโนโลยีโดยรวม) และมุมยาว (พัฒนาการของ NGN ต่อจากนี้ไปในอนาคต) โดยในตอนแรกนี้จะกล่าวถึง ที่มาและภาพรวมของ NGN รวมถึงตัวอย่างธุรกิจบริการที่ทำได้บน NGN จากตัวอย่างจริงในต่างประเทศ
[ NGN คืออะไร? ]
จากการที่โครงข่ายโทรศัพท์และโทรคมมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ทั้งชนิดและรูปแบบบริการ จากเดิมที่มีเพียงเฉพาะบริการด้านเสียงสำหรับโครงข่ายโทรศัพท์พื้นฐาน และพัฒนาต่อมาเป็นบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์อินเทอร์เน็ตผ่านโครงข่ายข้อมูล(Data) รวมถึงโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มา "แรง" และ "เร็ว" โดยเฉพาะในช่วงที่ผ่านมาปัญหาที่เกิดขึ้นคือ บริการบนโครงข่ายโทรคมต้องถูกแยกออกจากกัน ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์พื้นฐาน บรอดแบนด์อินเตอร์เน็ต มือถือ และ มือถือ (ดูรูปที่ 1) NGNถือกำเนิดขึ้นเพื่อ เป็นโครงข่ายโทรคมนาคมในยุคหน้าที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมต่างๆทั่วโลกกำลังเริ่มหรือคิดจะสร้างกันอยู่เพื่อที่จะทลายกำแพงกั้นโครงข่ายต่างๆในปัจจุบัน โดยสามารถรองรับบริการโทรคมทุกประเภท ด้วยจุดเด่นของการรวมทุกโครงข่ายทั้งโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการอินเตอร์เน็ต รวมถึงบริการสื่อสารทุกประเภททั้งเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) เข้าด้วยกันภายใต้โครงข่าย IP ที่มีการรับส่งข้อมูลแบบ Packet
ความคิดเห็นที่ 1
NGNสามารถแก้ปัญหาที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมกำลังเผชิญอยู่และยังสามารถแก้ปัญหาของโครงข่ายอินเตอร์เน็ตไปพร้อมกัน โดยการนำความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของโครงข่ายโทรศัพท์มาใส่ในโครงข่ายไอพี เพื่อสร้างโครงข่ายที่มีความน่าเชื่อถือสูง นอกจากนี้จุดสำคัญอีกอย่างในNGNคือมีการเปิดจุดเชื่อมต่อ(Interface)ต่างๆเพื่อเชื่อมต่อผู้ใช้บริการ(User),โครงข่ายอื่น(Network)หรือแอพพลิเคชั่น(Application) ในแง่ของบริการ(Services), นอกจากจะนำNGNมาแทนโครงข่ายโทรศัพท์แล้ว NGNยังสามารถให้บริการมัลติมีเดียหลากหลายชนิดที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมยุคต่อจากนี้ควรต้องทำได้โดยมีการประกันคุณภาพบริการ(Quality of Service). อีกทั้งเป็นโอกาสที่โครงข่ายผู้ให้บริการโทรคมนาคมจะรวม (Convergence) กับโครงข่ายอินเตอร์เน็ตด้วย
[ที่มาของ NGN ]
สาเหตุที่เกิดโครงข่ายNGNเนื่องจากในปัจจุบันโครงข่ายอินเตอร์เน็ตและโครงข่ายโทรคมนาคมมีปัญหารวมถึง สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปดังที่แสดงในรูปที่2
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:39:15
ความคิดเห็นที่ 2
อินเตอร์เน็ตมีปัญหาใหญ่สองข้อคือ หนึ่งเรื่องความปลอดภัย(Security) เช่นภัยจาก Spam Mail, Cyber terroristทำให้เป็นอุปสรรคในการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นโครงข่ายหลักของสังคม (Social Infrastructure) ปัญหาที่สองคือเรื่องคุณภาพของการติดต่อสื่อสารซึ่งไม่สามารถรับประกันคุณภาพของบริการจากผู้ใช้ฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่งได้ (End to End Quality of Service), รวมทั้งยังไม่มีบริการติดต่อฉุกเฉิน (Emergency Service) อีกด้วย
ขณะเดียวกันผู้ให้บริการโทรคมนาคมก็กำลังเผชิญความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่เนื่องจากตลาดโทรศัพท์พื้นฐานซึ่งเป็นธุรกิจหลักได้ลดขนาดลงต่อเนื่องทุกปี. ตลาดที่มาแทนอย่างโทรศัพท์มือถือก็กำลังจะถึงจุดอิ่มตัวในไม่กี่ปีข้างหน้า นอกจากนั้นรายได้ก็เริ่มลดลงจากการเปลี่ยนแปลงประเภทของTrafficจากการพูดคุยที่เก็บค่าบริการเป็นเวลา, มาเป็นการรับส่งข้อมูลที่เก็บเป็นFlat rate charge จากเหตุดังกล่าวทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมมีความจำเป็นที่ต้องปรับเข้าสู่NGNในที่สุด
ข้อดีในการเข้าสู่ NGN ข้อแรกคือ การสามารถลดต้นทุนในการดำเนินงานเนื่องจากการรวมโครงข่ายเข้าด้วยกัน ข้อที่สองคือเราสามารถนำบริการต่างๆมาต่อเชื่อมกันอย่างต่อเนื่องเช่น บริการ Quadruple ที่รวมทั้งบริการโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์เคลื่อนที่ บริการสื่อสารข้อมูล และบริการ Broadcast. ข้อดีถัดมา คือเป็นการสร้างแหล่งรายได้ใหม่ จากการที่สามารถเปิดโครงข่ายให้ผู้สร้างแอพพลิเคชั่นต่างๆ มาสร้างบริการใหม่ๆ วิ่งบนโครงข่ายให้กับผู้ใช้บริการ (User) ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งทำให้เปลี่ยนโมเดลการเก็บค่าบริการ (Charging) จาก ค่าใช้โครงข่าย (Network Usage Fee มาเป็น ค่าใช้บริการ (Service User Fee) แทน
[ตัวอย่างธุรกิจบริการที่ทำได้บน NGN]
NTT ซึ่งเป็นผู้ใหับริการโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น และของโลกได้เริ่มทำบริการทดลอง ( Field Trial ) ของ NGN จากปลายปีค.ศ. 2006 เป็นเวลาประมาณ 1 ปี โดยในชั้นแรกมีการสร้างโชว์รูมขึ้นที่เมืองโตเกียว และโอซาก้าที่เรียกว่า NOTE (NGN Open Trial Exhibition) เพื่อแสดงบริการและเครื่องของผู้ใช้งานในยุค NGN ให้กับผู้เข้าชม
ในขั้นที่ 2 ซึ่งเริ่มไปเมื่อต้นปีนี้ได้ให้บริการทดลองกับพนักงานในกลุ่มบริษัท NTT และขั้นที่ 3 ซึ่งเริ่มไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ก็ได้เปิดบริการทดลองกับผู้ใช้บริการทั่วไปประมาณ 500 คน
ในการทำบริการทดลองครั้งนี้ ทาง NTT ได้เปิดโอกาสให้บริษัทและองค์กรเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมมือกัน ลองบริการใหม่ๆ บน NGN ที่แต่ละฝ่ายคิดขึ้นมาได้ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆด้วยกัน โดยขั้นแรกมี 12 บริษัทและองค์กรชั้นนำสนใจเข้าร่วม และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งผู้ให้บริการระบบสื่อสารเคลื่อนที่ ผู้ให้บริการ ISP ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารและคอมพิวเตอร์ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านหรือแม้แต่กลุ่มสถานีโทรทัศน์ เป็นต้น
ต่อจากนี้จะแนะนำบริการที่น่าสนใจบน NGN หลายๆตัวที่ทาง NTT ได้เริ่มทดลองบน NOTE บริการจะถูกแบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ตามกลุ่มผู้ใช้หรือเป้าหมายของบริการดังนี้
(1) NGN for business เป็นบริการสำหรับกลุ่มผู้ใช้องค์กรหรือบริษัท
(2) NGN for Life เป็นบริการหรือเครื่องของผู้ใช้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เช่น โทรทัศน์
(3) NGN for Society เป็นบริการที่มีประโยชน์ต่อสังคม เช่น บริการดูแลสุขภาพ (Health Care) หรือพยาบาล (Nursing)
ตัวอย่างของบริการในแต่ละกลุ่ม NGN for business และ NGN for Society จะอยู่ในตารางที่ 1 และ 2 ตามลำดับ, บริการกลุ่มNGN for Lifeจะกล่าวต่อไปในตอนหน้า
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:41:21
ความคิดเห็นที่ 3
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:42:40
ความคิดเห็นที่ 4
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:43:17
ความคิดเห็นที่ 5
ถ้าดูเผินๆอาจไม่เห็นความแปลกใหม่และความแตกต่างของบริการที่สามารถทำได้บนโครงข่าย IP หรือ Internet ในปัจจุบัน แต่ข้อแตกต่างใหญ่ของบริการบน NGN ข้อแรกคือ ความสามารถของโครงข่ายที่จะประกันคุณภาพบริการ (Quality of Service หรือ QoS) เพื่อจอง bandwidth ที่จำเป็นต้องใช้ในการสื่อสาร เพื่อให้การติดต่อทางเสียงและภาพมีคุณภาพดีอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นคุณสมบัติจำเป็นข้อแรก (1st mandatory characteristics) ในการเป็น Social infrastructure ยุคต่อไปแทนโครงข่ายโทรศัพท์ fixed line, mobile และ data ในปัจจุบัน
[ตัวอย่างบริการที่ใช้ QoS ในการประกันคุณภาพรวมถึง presence เพื่อติดต่อสื่อสารกันในกลุ่มผู้ใช้แบบ multimedia]
ตัวอย่างแรกคือบริการ PTMN (push to talk with multimedia over NGN) ในรูปที่ 5 ซึ่งมีการใช้ฟังก์ชันการควบคุมคุณภาพบริการ (QoS) รวมทั้งการบอกสถานภาพ (presence) ของผู้ใช้แต่ละคนในกลุ่ม เพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถส่งเสียง ภาพจาก PC หรือ PDA ของตัวเองไปยัง Server เฉพาะบนโครงข่ายเพื่อกระจายให้ทุกคนในกลุ่มได้เห็นพร้อมกัน
[ตัวอย่างบริการที่ใช้ QoS ในการประกันคุณภาพ การส่งภาพและเสียงคุณภาพระดับสูงขนาด High vision และ CD]
ตัวอย่างถัดมา บริการสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยโรคทางไกลนั้น ที่ผ่านมามีการใช้ระบบ TV conference มาทำ แต่ความละเอียดของภาพที่สามารถส่งได้ไม่เพียงพอ (ต้องการภาพระดับ High vision ขึ้นไปเพื่อดูภาพละเอียดของเนื้อเยื่อและโครงสร้างประกอบการวินิจฉัย) อีกทั้งบริการนี้ยังต้องการการรับส่งภาพที่แทบไม่มี delay อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดการวินิจฉัยใน NGN ความต้องการเหล่านี้สามารถทำได้โดยคุณสมบัติประกันคุณภาพบริการ อีกทั้งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในเมืองสามารถควบคุมการทำงานของกล้องจุลทรรศน์ที่อยู่ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลที่อยู่คนละที่ ในการดูภาพ High vision ด้วย bandwidth 20 Mbps เพื่อร่วมมือกับแพทย์ที่อยู่กับคนไข้ในการช่วยกันทำการผ่าตัด เป็นต้น (ดูรูปที่ 6)
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:46:14
ความคิดเห็นที่ 6
อีกตัวอย่างคือ High definition visual communication (ดูรูปที่ 3) ที่มีการใช้ Plasma display ขนาด 65 นิ้ว 3 จอ กล้อง high definition อุปกรณ์ codec ตามมาตราฐาน H.264 เพื่อแสดงภาพและเสียงของผู้เข้าร่วมประชุมที่อยู่ในอีกสถานที่หนึ่งขนาดเท่าตัวจริง โดยทั้ง 3 จอจะใช้ bandwidth รวม 15 Mbps เพื่อให้ภาพ High vision และเสียงดีมากระดับแผ่น CD ถึงขนาดรู้สึกความเคลื่อนไหวของอีกฝ่ายได้
ระบบดังกล่าวมีการทำบนโครงข่ายปกติได้ก็จริง แต่ด้วย bandwidth ที่ไม่เพียงพอในบางช่วงจะทำให้ภาพมี noise รวมถึงการไม่มี QoS ทำให้ไม่สามารถประกันได้ 100% ว่า ถ้าในที่เดียวกันมีการใช้เครื่อง download ภาพขนาดใหญ่ จะไม่มีผลกระทบต่อการสื่อสารนี้
ข้อแตกต่างใหญ่ของบริการบน NGN ข้อที่ 2 คือ ความปลอดภัย (security) ของการติดต่อสื่อสาร NGN จะมีการเช็ค ID ของผู้เรียกอย่างเช่น เบอร์โทรศัพท์หรือ IP address ที่กำหนดให้แก่แต่ละวงจรของผู้ใช้ เพื่อป้องกันการปลอมแปลงชื่อคนอื่นมาส่งข้อมูล อีกทั้งที่ทางเข้าของโครงข่ายยังสามารถมีฟังก์ชันที่ไว้ใช้ป้องกัน Traffic ที่มากผิดปกติได้ด้วย
[ตัวอย่างบริการที่ใช้ security มาเป็นจุดขาย]
บริการอย่าง Nursing health care (ดูรูปที่ 7) จะมีการตรวจสอบ ID ของผู้ส่งข้อมูลเพื่อให้แน่ใจว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้รับการพยาบาล เช่น ความดันโลหิต น้ำหนัก สภาพการนอนหลับได้ตามปกติ จะรับส่งกับทางศูนย์พยาบาลอย่างปลอดภัย เป็นต้น
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 20:54:21
ความคิดเห็นที่ 7
สรุปเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารNetworkแบบองค์รวมโดยเอาระบบต่างๆรวมเข้าด้วยกันมีความปลอดภัยสูงทำให้ต้นทุนถูกลงอย่างมาก สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ทั้งทางหารและพลเรือ จะเป็นการปฎิวัติการวงสื่อสารใหม่ของโลเลยทีเดียว
ขอแค่งบประมาณเท่านั้นตอนนี้ ท่าน ดร.ไพโรจน์ ท่านพร้อมอยู่แล้ว
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 21:14:58
ความคิดเห็นที่ 8
โดยคุณ
sam เมื่อวันที่
11/10/2007 21:26:13