งานการใช้เชือกเป็นงานที่มีมานานโดยเฉพาะในวงการทหาร ซึ่งมีส่วนในความสำเร็จในหลายยุทธการ แต่องค์ความรู้การฝึกการใช้เชิอกของประเทศไทยมาหยุดอยู่แค่หลังสงครามเย็นเท่านั้น ทำให้ การฝึกการใช้เชือก ของ กองทัพไทย มีหลายอย่างที่ต้องเปลี่ยน แต่กลับไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยบทความนี้เขียนจาก ความอัดอั้นมาหลายปี ในการที่ได้ไปฝึก การใช้เชือกของหน่วยคอมมมานโด ที่ ประเทศออสเตรเลียซึงใช้เวลาประมาณ ๑ เดือน และ ได้ทำงานเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้เชือกจากเอกชนหลายหน่วย และพบว่า การใช้เชือกของประเทศเราไม่มีการพัฒนา นานมาก ขนาดหน่วยที่เป็นหน่วยแม่ในสายวิทายาการก็ไม่ได้สนใจ ผมเคยส่งเอกสารเสนอแนะไป ก็หายเงียบ และปล่อยให้ทหารไทย เผชิญชตากรรมเอาชีวิตไปแขวนบนอุปกรณ์ ที่ไม่รู้ว่าจะพังเมื่อไร ขาดเมือไร จะเรียกได้ว่าหมดอายุตามมาตรฐานสากลก็ใช่ นอกจากนี้ ครูบางคนเองก็เป็นน้ำเต็มแก้ว ไม่ฟังสิ่งให่ม่ ที่ค่างประเทศเขาแลกมาด้วยชีวิต คน
๑เชือกลงทางดิ่งที่พลาธิการแจก เป็นเชือกในล่อน ที่ไม่มีใครใช้งานกันแล้วในการลงทางดิ่ง เพราะ ไม่สามารถใช่งานได้กับอุปกรณ์เสริมหลายชนิด รวมทั้งความทนทาน ก็ สู้ไม่ได้ และอายุการใช้งานของเชือกประมาณ ร้อยละ ๙๐ ของประเทศ หมดแล้วครับ ต้องใช้เงินนอกงบประมาณมาจัดหากัน อย่าให้ต้องมีการเสียชีวิตก่อนเลยครับ
๒.แสนปลิงค์ที่ทุกท่านเคยใช้ลงทางดิ่งจากไม่จำเป็นจะไม่ใช้ในการลงทางดิ่ง เพราะมันเคยเกิดเหตุการบิดตัวของเชือก หลุดลงมาตายประเทศไทย ก้เคยมี แต่ไม่มีใครบันทึกหรือสนใจ ผมเสนอแนะเรื่องนี้ไปตั้งแต่ปี ๑๙๙๗ ก็ยังไม่มีการปลี่ยนแปลง หรือนำเสนอ ให้รู้ ซึ่ง ถ้าต้องใช้ ควรจะใช้แบบมีที่ล๊อก และจะให้ดีที่สุดควร จะ ใช้ร่วมกับ ห่วงรูปเลข ๘ แบบมีหูเกี่ยว
๓.หลายหน่วยถูกนักปีนเขาหลอกขายอุปกรณ์ ตั้งแต่เชือก , ห่วงรูปเลข ๙ สำหรับปีนเขา ซึ่ง ห่วงสำหรับปีเขาไม่เหมาะกับการลงจากอากาศยานเพราะโอกาศในการล๊อกตัวเองค้าอยู่บนเชือกมีสูง ซึ่งหากเป็นการปีนเขาจะดี แต่ การลงจาก ฮ. หมายถึงอันตรายถึงชีวิตทั้งคนลงและ อากาศยาน
๔.การใช้เชือกประจำกายมารัดตัว สำหรับลงทางดิ่ง เป็นเทคนิคการใช้เชือกมีมาตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่๒ ซึ่ง ก็นำมาใช้ในเวียดนามด้วย แต่ต่อมา มีการวิจัยที่พบ ว่า การที่ใช้แรงเยอร์โรบ ทำสายรัดตัวหรือ ที่เรียกว่าSwiss Seat หากต้องรับน้ำหนักหรือ ทำงานต่อเนื่องเป็นเวลานาจะทำให้เกิด อาการทีไม่พึงประสงค์ เช่นมีผลต่อระบบประสาท , สมองอาจจะขาดเลือด เพราะเส้นเชือดจะกดรัดเส้นเลือดใหญ่ที่ต้นขา อาจจะถึงหมดสติไม่รู้ตัว นอกจากนี้ การใช้งานในการ กู้ภัยจะต้องรับน้ำหนัก อุ้มผู้ประสบภัย และหากเกิดแรงกระชาก เช่น การลงอย่างรวดเร็วจากอุบัติเหตุ ที่ไม่พึงประสงค์ , การลื่น , จะทำให้กระดูกสันหลังโดนแรงกระชากอย่างแรงเพราะ เจ้า สายรัดตัวด้วยเชือกที่เราพันจะพันแค่เอว และเอวจะเป็นจุดหมุน อาจพิการหรือตาย ระวังด้วยครับ ถ้าจะใช้ในงานการกู้ภัยควรใช้สายรัดตัวมาตรฐาน หรือที่เรียกว่าHarness อยากให้ ผู้ปฏิบัติมีสวัสดิภาพในการทำงานครับ
ไม่อยากได้ยินว่า เราอยู่อย่างไทย� ต้องแสวงเครื่อง �เอาเท่าที่มี ผมคงต้อง ต่อท้ายว่า เราก็คงต้องตายอย่างไทย คุณค่าชีวิตทหารผู้ปฏิบัติมันไม่มีค่าพอที่จะลงทุนหรือครับ
(ภาพบน การใช้ เชือกทำอานรองนั่ง ซึ่ง เหมาะสำหรับ การใช้งานที่ไม่นาน แต่ ก็ไม่ควรใช้ถ้ามีทางเลือกอื่นที่ดีกว่า )
อีกภาพหนึ่งของการใช้เชือกที่ไม่เหมาะนักในปัจจุบัน
คือ เมื่อก่อนนะวิธีนี้ อาจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในสมัยนั้น แต่หลังจากที่มีการปฏอบัติมามีการพบข้อผิดพลาดมากมาย ซึ่ง ผลที่ตามมาจึงมีการวิวัฒนาการ อุปกรณ์ เพิ่มเติมขั้นมา ซึ่งที่ควรนำมาใช้แทนเชือก คือ ตัวสายรัดตัวมาตรฐาน หรือ ถ้าไม่มีควรใช้สิ่งที่เรียกว่า web หรีอ turbular tape
อีกอย่างที่อันตรายคือ
การใช้ กระดานรองหลังในการยกหิ้วผู้บาดเจ็บครับ อย่าได้กระทำเด็ดขาด ถามว่าทำได้ไหม ได้ แต่อันตายมาก โชคดีไม่มีใครเจ็บ
มีบางหน่วยเอากระดานรองหลังไปยกหิ้วด้วยอากาศยาน ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่ใช่สิ่งที่น่าภาคภูมิใจนักที่บอกว่าฝรั่งไม่กล้าทำ
คนไทยกล้าเสี่ยง
นี่แหละครับ อันตรายมาก แต่ว่าก็โชคดีไม่มีใคร เป็นอะไร
ที่ว่าอันตราย ไม่ใช่เรื่องกรรมวิธีนะครับ แต่เป็นเรื่องของ กระดานรองหลังที่ใช้นะครับ มันเป็นกระดาน ไม่ใช่เปลสำหรับยกหิ้วด้วยอากาศยาน
ซึ่ง เปลสำหรับยกหิ้วควร มีเครื่องป้องกันด้านข้าง ด้วยครับ นอกจากนี้ ผู้ที่ปฏิบัติงานต้องมีแว่นตา หมวกกันกระแทก รวมทั้ง ต้องเตรียมเครื่องป้องกันให้ผู้บาดเจ็บด้วย ครับ
ถ้าจะย้อนถามผมว่าถ้าไม่มีทำอย่างไร ..ถ้าสถานการณ์เช่นนั้น คนจะตาย ก็ควรทำครับ แต่นี่การฝึกคนเป็นๆ ยังไม่ตาย
แล้วเรื่องราคา มีคนบอกว่าแพง แต่ เมื่อถึงเวลาที่ ต้องใช้ ราคาเท่าไรคงไม่มีใครว่า
ถ้าจะย้อนถามผมว่าถ้าไม่มีทำอย่างไร ..ถ้าสถานการณ์เช่นนั้น คนจะตาย ก็ควรทำครับ แต่นี่การฝึกคนเป็นๆ ยังไม่ตาย - - - ชอบประโยคนี้
1 - 2 นี่น่ากลัว
เรื่องมาตรฐานความปลอดภัยเราน่าจะเอาอย่างฝรั่งเค้าบ้าง ใช้เครื่องมือถูกต้องตามประเภท แต่บ้านเราชินเสียแล้วกับนำนู้นมาดัดนำนี่มาแปลงนิด ก็เห็นว่าใช้ได้เหมือนกันจะซื้อไปทำไมให้เปลืองตัง พอเกิดอุบัติเหตุก็โทษว่าอุปกรณ์ชำรุดบ้างหล่ะ ไม่เห็นจะบอกว่าใช้งานผิดประเภทกันบ้างเลย