หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ชงงบซื้ออาวุธฯ5พันล้านบ.เข้าที่ประชุมครม.วันนี้

โดยคุณ : แมวบิน เมื่อวันที่ : 26/09/2007 14:23:27

ก.กลาโหม เสนอที่ประชุมครม.วันนี้ พิจารณาอนุมัติ 3 โครงการรวด“รถหุ้มเกราะยูเครน 3,900 ล.-ปืนเล็กยาว 5.56 มม. TAVOR TAR 960 ล.-ปืนกลเล็กขนาด 5.56 มม. แบบ NEGEV 270 ล้านบาท”เบ็ดเสร็จ 5129.74 ล้านบาท

(25กย.) แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ (25กย.)นี้ มีนายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯเป็นประธานที่ประชุมครม.แทน พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่อยู่ในระหว่างการร่วมประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 62 ที่กรุงนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา กระทรวงกลาโหม เสนอครม.พิจารณาอนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครง การจัดหาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร จำนวน 15,000 กระบอก (ทบ.1380) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่งบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2552 วงเงิน28,571,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 960,856,182 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท) ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 2550 ที่กองทัพบกได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการจัดหาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร และได้ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อ/จัดจ้างในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณตามกรอบวงเงิน โดยได้พิจารณาเลือกแบบปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ TAVOR TAR 21 จำนวน 15,000 กระบอก วงเงิน 28,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 958,455,000 บาท

พร้อมจัดหา SPARE PARTS AND GAUGES-LEVEL A วงเงิน 71,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2,401,182 บาท วงเงินโครงการรวมทั้งสิ้น 960,856,182 บาท จากรัฐบาลอิสราเอล ตามผลการจัดซื้อโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล ระยะเวลา ดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ถึงปีงประมาณ 2552 กำหนดยืนราคาจึงวันที่ 30 กันยายน 2550 ตามแผนงบประมาณ โดยปีงบประมาณ2550 จำนวน 144,128,427 บาท ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 432,385,282 บาท ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 384,342,473 บาท

ทั้งนี้การจัดซื้อครั้งนี้เป็นการจัดซื้อในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 ที่กลาโหมได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุที่ครม.มีมติอนุมัติใช้และแก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งมติ ครม.ที่เกี่ยวข้อง และให้ใช้ข้อตกลงทีกำหนดขึ้นด้วยความเห็นชอบระหว่างกันแทนการทำสัญญาได้ โดยกองทัพบกได้ร่วมเจรจาจัดทำร่างข้อตกลงซื้อขายในลักษณะรัฐบาลต่อรัฐบาลกับผู้แทนรัฐบาลอิสราเอลบนพื้นฐานความสัมพันธ์อันดีต่อกันและได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน จนได้ข้อยุติตามร่างข้อตกลงซื้อขาย โดยทั้งนี้ รัฐบาลไทยต้องผ่อนใช้พร้อมดอกเบี้ยเป็นระยะเวลา 10 ปี ซึ่งกองทัพไทยต้องเสนอความต้องการยุทโธปกรณ์หลัก ภายหลังการลงนามข้อตกลง จะสามารถใช้เวลาพิจารณาใช้เงินได้ภายใน 2 ปี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด โดยดอกเบี้ยจะเริ่มคิดเมื่อได้ตกลงใจซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์นั้นแน่นอน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยจะอยู่ในเกณฑ์ต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยของธนาคารทั่วไปในสหรัฐอเมริกา

โครงการที่ 2 ขอก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบฯ โครงการจัดซื้อปืนกลเล็กขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ NEGEV จำนวน 992 กระบอก วงเงิน 7,707,840 ดอลลาห์สหรัฐ หรือประมาณ 270 ล้านบาท ( อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาห์สหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท ) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 วงเงิน 54 ล้านบาท ปีงบ 2551 วงเงิน 108 ล้านบาท ปีงบฯ 2552 วงเงิน 108 ล้านบาท โดยให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอลในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง นอกจากนี้ตามที่เป็นข่าวกระทรวงกลาโหม ยังเสนอครม.พิจารณาอนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหารถหุ้มเกราะ จำนวน 96 คัน (ทบ.1382) ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 114,270,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 34.12 บาท) ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายรถหุ้มเกราะระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลยูเครนในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย

http://www.komchadluek.net/2007/09/25/a001_156088.php?news_id=156088

 

ถูกใจใครบ้างป่าวครับ อาวุธล็อตนี้





ความคิดเห็นที่ 1


อ่าว ปก.5.56 แบบ มินิมิ ล่ะ -*- หรือFN เค้าแบนเราด้วย เห่อๆๆๆ  ได้ใจจริงๆ ปืนสำหรับประจำการมี กี่แบบแล้วฟระเนี่ย เอ็ม16เอ2 เอ็ม16เอ4 ทาวอร์  ปก. มินิมิ ปก.เนเกฟ  พระเจ้าช่วยกล้วยบวชชี
โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 25/09/2007 10:44:16


ความคิดเห็นที่ 2


หวังว่าจะได้จับ Tavor ที่งานDefence 2007ที่เมืองทองตอน พ.ย.นะ นี่ถ้าตอน Demo ที่สนามยิงปืน ให้ใครก็ได้จ่ายตังค์ค่ากระสุน แล้วยิงบุลพับTavor คงยิงกันทั้งวันทั้งคืนตลอดสามวัน จะได้รู้ไปเลยว่าดีจริงหรือไม่  

โดยคุณ Oldtimer เมื่อวันที่ 25/09/2007 11:12:14


ความคิดเห็นที่ 3


เป็นเงินกู้ซื้ออาวุธหรือครับมีดอกเบี้ยด้วย
โดยคุณ sam เมื่อวันที่ 25/09/2007 11:34:28


ความคิดเห็นที่ 4


TAVOR ก็มรข่าวออกมาก่อนหน้านี้นานแล้วครับ แต่สำหรับตัวปืนเล็กกลในโครงการจัดหานั้นก็เป็นที่แน่ชัดแล้วจากข่าวนี้แล้วครับว่าคือ Negev (ซึ่งดูเผินๆจะคล้าย Minimi อยู่เหมือนกันครับ และคุณสมบัติบ้างอย่างก็คล้ายกับ M249 ด้วยเช่นใช้ซองลูกปืน30นัดของ M-16 ได้)

ถ้ามีการจัดหามาจริงเมื่อไรก็อยากทราบข้อมูลอุปกรณ์เสริมต่างๆที่จะจัดหามาพร้อมกับตัวปืนด้วยครับ(แต่หลักๆปืนกลุ่มนี้สามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่ ทบ.มีใช้งานอยู่ได้เป็นส่วนใหญ่ครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/09/2007 13:09:25


ความคิดเห็นที่ 5


ส่วนรถแอฟริกาใต้ก็เป็นเรื่องจริง....โอ้ววววววว พระเจ้าช่วยลูกด้วย

-----------------------------------------------------

ครม.เทกระจาด 5 พันล.ทิ้งทวน ผบ.ทบ.สนธิ

โดย Posttoday วันที่ 25 กันยายน 2550


การประชุม คณะรัฐมนตรีวันอังคารที่ 25 ก.ย. ต้องจับตาเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นการประชุมนัดส่งท้ายสิ้นปีงบประมาณ 2550 ซึ่งก่อนจะปิดหีบงบประมาณทีไร แทบจะเป็นประเพณีปฏิบัติไปแล้ว เมื่อหลายกระทรวง ชงเรื่องขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้าม ปีงบประมาณ ในโครงการสำคัญๆ

ที่แน่ๆ กระทรวงกลาโหม เสนอ ครม.พิจารณาอนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพัน ข้ามปีงบประมาณถึง 3 โครงการด้วยกัน เริ่มตั้งแต่ โครงการ หารถหุ้มเกราะ จำนวน 96 คัน (ทบ.1382) ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 114,270,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐ เท่ากับ 34.12 บาท) ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และให้ผู้บัญชาการทหารบก หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขาย รถหุ้มเกราะระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาล ยูเครนในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

 

ทั้งนี้ โครงการจัดหารถหุ้มเกราะดังกล่าวได้มีการปรับเพิ่มจำนวนจากเดิมที่กำหนดไว้ จากจำนวน 48 คัน เป็น 96 คัน เนื่องจากในการเสนอคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2550 กองทัพบกได้ใช้ข้อมูลราคากลางจากรถหุ้มเกราะที่เคยผ่านการ คัดเลือกแบบของกองทัพบก โดยในขั้นการ บริหารงบประมาณกองทัพบกได้พิจารณาทบทวนการคัดเลือกแบบรถหุ้มเกราะที่มีมาตรฐานในการนำเข้าประจำการในกองทัพบก มีประเด็นสำคัญในการพิจารณา เช่น การมีประสิทธิภาพและสมรรถนะสูง มีเกราะป้องกันอาวุธปืนเล็กยาวและปืนกล รถหุ้มเกราะที่ผ่านการคัดเลือกมีราคาในการจัดหาต่ำกว่าราคากลางที่กองทัพบกได้เสนอไว้ใน คำของบประมาณ จึงได้พิจารณาปรับเพิ่มจำนวนรถหุ้มเกราะเป็น จำนวน 96 คัน ตามความต้องการของกองทัพ

 

โครงการที่ 2 ขอก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบฯ โครงการจัดซื้อปืนกลเล็กขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ NEGEV จำนวน 992 กระบอก วงเงิน 7,707,840 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 270 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 วงเงิน 54 ล้านบาท ปีงบ 2551 วงเงิน 108 ล้านบาท ปีงบฯ 2552 วงเงิน 108 ล้านบาท โดยให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอลในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

 

โครงการที่ 3 ขอก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบฯ โครงการจัดซื้อปืนเล็กยาว 5.56 มิลลิเมตร แบบ TAVOR-TAR 21 จำนวน 1.5 หมื่นกระบอก วงเงิน 28,571,400 เหรียญสหรัฐ หรือ ประมาณ 960,856,182 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 1 เหรียญสหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้ง แต่ปีงบประมาณ 2550 วงเงิน 144,128,427 บาท ปีงบฯ 2551 วงเงิน 432,385,282 บาท ปีงบฯ 2553 วงเงิน 384,342,473 บาท โดยให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายระหว่างรัฐาลไทยและรัฐบาลอิสราเอลในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสาร แก้ไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง

 

ทั้งนี้ หากพิจารณาเฉพาะโครงการของกระทรวงกลาโหมกระทรวงเดียวที่เสนอ ครม. สิริรวมเป็นงบผูกพันทั้งสิ้น 5,129.74 ล้านบาท


ทบ.ซื้อรถลำเลียงพลจากแอฟริกา


นอกจาก ครม.จะพิจารณางบของกระทรวงกลาโหมแล้ว พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน ประธาน คมช. ส่งท้าย ตำแหน่ง ผบ.ทบ. ก่อนจะเกษียณด้วยการอนุมัติโครงการจัดซื้อรถสายพานลำเลียง (APC)แบบ 4x4จำนวน 98 คัน จากประเทศแอฟริกาใต้ ในราคาคันละ 15 ล้านบาท รวมงบประมาณราว 1.6 พันล้านบาท เพื่อเร่งส่งไปประจำใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกด้วย


ทั้งนี้โครงการดังกล่าวเป็นที่ฮือฮา เนื่องจากเป็นครั้งแรกที่กองทัพบกใช้อาวุธยุทโธปกรณ์จากแอฟรกาใต้ แม้ว่าจะมีอีก 4 ประเทศที่เสนอตัวเข้าประมูลด้วยก็ตาม ทั้ง เกาหลั ออสเตรเลีย และเยอรมนี แต่ ทบ.อ้างว่ารถ APV แบบ REVA ของแอฟริกาใต้ นี้มีราคาถูกที่สุด ที่มีราคาเฉลี่ยราวคันละ 60 ล้านบาท


รถสายพานลำเลียงพล APC จากแอฟริกาใต้นี้ถูกโจมตีว่าไม่ได้มาตรฐาน เพราะไม่ผ่านมาตรฐาน NATO และไม่มี Export Licence และไม่มีโรงงานผลิตในประเทศ แต่กลับไปผลิตที่แบกแดด ประเทศอิรัก ที่เต็มไปด้วยสงครามและด้อยประสิทธิภาพ อีกทั้งไม่มี local supplier และไม่มีการ transfer technology ที่ปกติแค่คันละ 8.5 ล้านบาท แต่กลับขายให้กองทัพบกไทยในราคาสูงถึงคันละ 15 ล้านบาท


ทั้งนี้ พล.อ. สนธิมีนโยบายที่จะเพิ่มอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยให้กับทหารในภาคใต้ แต่รถAPC แบบนี้ ถูกวิจารณ์ว่าเมื่อซื้อมาแล้ว แม้จะราคาถูกแต่จะไม่มีการดูแลซ่อมบำรุงให้


อย่างไรก็ตาม แม้ ทบ. จะจัดซื้อเครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เพื่อป้องกันการจุดชนวนระเบิด Jammer จากประเทศอิสราเอลมาจำนวน 10 เครื่อง เครื่องละ 60 ล้านบาท แต่ปรากฎว่า ตอนนี้เครื่องJammer ไม่สามารถใช้งานได้ถึง 8 เครื่อง จากที่อ้างว่าสามารถตัดสัญญาณได้ไกลมากกว่า 7 กม. แต่ความจริงได้แค่ 700 เมตรเท่านั้น

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 25/09/2007 14:56:00


ความคิดเห็นที่ 6


ครม.ไฟเขียวกลาโหมก่อหนี้ผูกพันจัดซื้ออาวุธ
โดย Post Digital 25 กันยายน 2550 15:54 น.

ครม.เห็นชอบให้ ก.กลาโหม ก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จัดซื้ออาวุธ 6.7 พันล้านบาท ด้าน รมช.พัฒนาสังคมฯ เผยใช้เวลาพิจารณานานพอสมควร

นายณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ครม.เห็นชอบให้กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดซื้ออาวุธ มูลค่า 6.7 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามมติครม.เดิมที่เคยอนุมัติไว้

"คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่เคยมีมติครม.ไปแล้ว อนุญาตให้กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ในการจัดซื้ออาวุธ" นายณัฐฐวัฒน์ กล่าว

สำหรับโครงการจัดซื้ออาวุธ สำหรับโครงการจัดซื้ออาวุธ ประกอบด้วย ปืนกลเล็ก 992 กระบอก มูลค่า 259 ล้านบาท(2550-2552), รถหุ้มเกราะ 69 คัน มูลค่า 3,898 ล้านบาท(2550-2553),ปืนเล็กยาว 1.5 หมื่นกระบอก มูลค่า 960 ล้านบาท(2550-2552) อาวุธปล่อยนำวิถีแบบพื้นสู่พื้น เพื่อนำไปติดตั้งในเรือรบของกองทัพเรือ มูลค่า 1,599 ล้านบาท (2550-2552) ครม.ยังมอบหมายให้ผู้แทนรัฐบาล โดยผู้บัญชาการทหารบก(ผบ.ทบ.) เป็นผู้ลงนามกับรัฐบาลอิสราเอล ภายใต้การจัดซื้อรัฐบาลต่อรัฐบาลด้วย

นพ.พลเดช ปิ่นประทีป รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีกรณีที่กระทรวงกลาโหมเสนอครม.พิจารณาอนุมัติในโครงการจัดซื้ออาวุธต่างๆ ถึง 3 โครงการว่า การประชุมวันนี้มีการซักถามกันบ้างแต่ไม่มีอะไรที่สำคัญ รายละเอียดพอสมควรตนจำไม่ได้ เวลาที่ใช้ในการพิจารณานานพอสมควร

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 25/09/2007 16:04:01


ความคิดเห็นที่ 7


ชักได้กลิ่นทะแม่งแฮะสงสัยมีนอกมีในหรือเปล่าหนอไอ้เรื่องค่าคอมมิชชั่น5-10%ไม่รู้ว่ามีจริงหรือเปล่าไอ้ของถูกใช่ว่าจะดีเสมอไปดูอย่างเอวี8เอสของกองทัพเรือซื้อมาได้ไม่เท่าไหร่ก็บินไม่ได้ครบฝูงเสียแล้วก่อนซื้ออาวุธอะไรอย่าเห็นว่าถูกซื้อมาแล้วเขาปิดสายการผลิตหรือเปล่าถ้าปิดอย่าซื้อดีกว่าเพราะว่าไม่อยากเห็นซื้อมาแล้วแต่ทำอะไรไม่ได้จอดใว้เฉยๆบอกตามตรงเสียดายเงินภาษีของประชาชนวะ
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 25/09/2007 16:36:49


ความคิดเห็นที่ 8


งงครับ รถลำเลียงสายพาน APV 4*4 นี่ยังใงเหรอ งง แต่ถ้าจะซื้อ 4 * 4 แบบ ฮัมวี่ ผมขอประณาม ด้วยคนนึงละ ตอนนี้ รถกระบะ 1 ตัน บ้านเราส่งไปขายทั่วโลก หลายๆ ที่ก็เอา กระบะ 1 ตัน จากบ้านเรามาดัดแปลงทำรถตรวจการ รถลำเลียงทั้งนั้น แต่เรายังกลับไปซื้อต่างประเทศมาอีก ไม่รุ้ข้างใน จะเป็น D-Max หรือเปล่า

อย่าให้เป็นเหมือนเมื่อก่อน ที่ ไปทหารเป็นรัฐบาล แล้วจัดตั้งบริษัท สายฟ้าแลบ จำกัด แล้วไปกว้านซื้อ รถเกราะเบรนกันแคริเออร์ ที่เหลือใช้ กองเป็นเศษเหล็ก จากอินเดีย ในราคาเศษเหล้ก แล้ว เอามาขายให้รัฐ ในราคารถเกราะ ขนขึ้นท่าเรือ มาขับไปถึงปลายทางได้ไม่ถึงครึ่ง ที่เหลือตายระหว่างทางหมด น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีนะ

 

โดยคุณ TIGGER03 เมื่อวันที่ 25/09/2007 16:37:50


ความคิดเห็นที่ 9


bush master ยังจะเข้าท่ากว่านะครับ

 

ส่วนเจ้ารถหุ้มเกราะbtr-3e1  ส่วนตัวยังไงก็ได้ แต่น่าจะชี้แจงว่าทำไมถึงไม่เอาbtr-80 ในเมื่อฝ่ายรัสเซียเค้าบอกว่าราคาใกล้เคียงกัน

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 25/09/2007 18:46:14


ความคิดเห็นที่ 10


ปืนกลเล็กขนาด 5.56 มม. แบบ NEGEV

 


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 18:56:11


ความคิดเห็นที่ 11


ปืนกลเล็กขนาด 5.56 มม. แบบ NEGEV

 


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 18:57:27


ความคิดเห็นที่ 12


ปล.นำภาพมาจาก

http://www.israeli-weapons.com/weapons/small_arms/negev/Negev.html

 


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 19:00:43


ความคิดเห็นที่ 13


Assault Rifle

"Tavor" TAR - 21

นำมาจาก http://www.enemyforces.com/firearms/tavor.htm


โดยคุณ สกายนาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 19:12:34


ความคิดเห็นที่ 14


คิดกันเล่นๆ แบบคนไม่รู้ข้อมูล (ห้ามเอาไปอ้างอิง คิดแบบมั่วๆ เท่านั้น)

negev
270,000,000 / 992 = 272,177.419354 เกือบสามแสน

tavor
958,455,000 / 15,000 =  63897 หกหมื่นกว่าบาท

คิดว่าน่าจะรวมชิ้นส่วนอะไหล่ การฝึก และอื่นๆ (คิดในทางที่ดีน่า ... รู้นะคิดอะไร)

เพื่อนสมาชิกคนไหนมีราคากลางของปืนรุ่นต่างๆ ที่มีในท้องตลาด กรุณาเล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานด้วยครับ ผมอยู่บ้านนอก รู้จักแต่ปืนแก็บยิงนก

โดยคุณ สมชาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 19:58:25


ความคิดเห็นที่ 15


"ดูอย่างเอวี8เอสของกองทัพเรือซื้อมาได้ไม่เท่าไหร่ก็บินไม่ได้ครบฝูงเสียแล้ว"

ผมเคยคุยกับผู้ฝูงคนแรก ได้ข้อมูลมาอีกแบบหนึ่งนะครับว่าซื้อเรือแถมเครื่องบิน(ซ้อม) หนึ่งฝูง ราคาขนาดนั้นสิบปีผมว่าไม่เลวนะ อย่างน้อยก็ได้องค์ความรู้ของการใช้เครื่องบินกับเรือ ย้ำนะครับว่าเจตนาซื้อมาซ้อมเพื่อจะซื้อรุ่นใหม่ แต่บังเอิญถังแตกเสียก่อน แต่อย่างว่าแหละของเยอรมันที่ว่าทนๆ อยู่กับมือพวกเราสามเดือนก็เก่งแล้ว ฮา!!! ...

โดยคุณ สมชาย เมื่อวันที่ 25/09/2007 20:06:00


ความคิดเห็นที่ 16


เพื่อนสมาชิกคนไหนมีราคากลางของปืนรุ่นต่างๆ ที่มีในท้องตลาด กรุณาเล่าให้ฟังเป็นวิทยาทานด้วยครับ ผมอยู่บ้านนอก รู้จักแต่ปืนแก็บยิงนก

 

http://www.atlanticfirearms.com/programming/expand.asp?Prodid=298

http://www.atlanticfirearms.com/programming/expand.asp?Prodid=50

http://www.atlanticfirearms.com/programming/expand.asp?Prodid=387

มีราคา ของ ar15 ของ DPMS กับ Olypic Arms อยู่ในราวๆ 500-600 us$(ราคาขายปลีก) ของ armalite ต้นตำรับอยู่ที่ประมาณ1299 us$(ราคาขายปลีก)

ถ้าซื้อ15000 กระบอก น่าจะไม่เกิน 20000 บาทครับ

ความจริงแล้ว ปืนm16 ยังไม่หมดสภาพ(ถึงซื้อมาไม่นานลำกล้องก็หมดสภาพเพราะกองทัพไทยยังบำรุงรักษาไม่เป็น ยิงไม่เกิน 500 นัด น้ำยาล้างคราบทองแดงไม่เคยใช้ ทองแดงก็จะจับเป็นคราบหนา ทำให้ขาดความแม่นยำนานๆไปเป็นเนื้อเดียวกับลำกล้องก็ล้างไม่ออก แถมบางหน่วยล้างด้วยแฟ้บอีกตะหากครับ แถมกระสุน5.56มาตรฐาน กองทัพไทยและ ตำรวจที่ใช้ก็ acc ต่ำมาก ยิง 100 เมตรปืนเก่าปืนใหม่กลุ่มกระสุนก็บานเท่ากระด้งเหมือนกันหมด มีแต่หน่วยรบพิเศษที่ซื้อกระสุนของเขาเองเท่านั้นที่ได้กระสุนปืนคุณภาพดี) ปืนm16สมัยเวียดนาม กับ ปืน styer aug ประสิทธิภาพก็ไม่ต่างกันตรงไหน

ส่วนเรื่องรถ แอฟฟริกาใต้ผลิตในแบกแดด นั้น ผลิตเองที่ดัดแปลงจากดีแมกซ์น่าจะโอเคกว่า

ส่วน รถ btr3 นั้นใจคอจะให้กองทัพไทยมีรถหุ้มเกราะกีแบบกันนี่ อีก 5 ปีจะเหลือกี่คันที่วิ่งได้ ซื้อทั้งทีเอาแบบที่มันมีอนาคตว่าจะนำเข้าประจำการเพิ่ม มีความทันสมัยรองรับภัยคุกคามใหม่ๆในอนาคตได้ แต่หลักการจัดซื้อของประเทศไทย ทั้ง นักการเมืองและนักเลือกตั้ง เหมือนกันที่ ใครจ่ายเยอะกว่าซื้อคนนั้นครับ

นักเลือกตั้งกับนักเลือกตั้งต่างกันแค่ กินคำโตกับกินคำเล็กแค่นั้นแหละครับ

โดยคุณ nars เมื่อวันที่ 25/09/2007 21:34:52


ความคิดเห็นที่ 17


กองทัพอิรักในปัจจุบันได้จัดหารถหุ้มเกราะ 4x4 แบบ REVA ไปใช้งานจำนวนหนึ่งครับ การประกอบรถในประเทศอิรักนั้นจึงมีความเป็นไปได้ แต่ส่วนตัวนี้ไม่คิดว่ารุ่นที่ขายให้เรานี้จะประกอบมาจากอิรักหรอกครับ(ดูไม่น่าเชื่อถืออย่างไรไม่ทราบ) ความเป็นไปได้นี้น่าจะประกอบจากแอฟริกาใต้มากกว่าครับ

คิดว่าแหล่งข่าวคงจะมั่วมาจากwebsite ของREVA เองนี้ละครับที่ต้นๆหน้าแสดงการประกอบในอิรัก ถ้าเลื่อนลงมาล่างๆจะมีภาพแสดงสายการผลิตในแอฟริกาใต้ด้วย จริงๆถ้าเราจะใช้งานรถรุ่นนี้เป็นหลักเลยนี้ ขอสิทธิบัตรมาผลิตเองในประเทศก็น่าสนใจนะครับ

http://www.reva4x4.co.za/?Task=system&CategoryID=14322&HeadingText=Production+lines

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 25/09/2007 22:05:52


ความคิดเห็นที่ 18


พี่น้องครับสังเกตุอะไรมั้ย  การสั่งซื้ออาวุธครั้งนี้ทำไมค่ายนาโต้ถึงไม่ได้รับการพิจารณา ผมมีคำตอบให้ครับ คือ เราเป็นรัฐบาลเผด็จการทหารไม่ใช่ประชาธิปไตย  ข่าววงในคือนาโต้แบนเราไม่ขายอาวุธให้ขนาดขาตั้งเครื่องยิงลูกระเบิดยังต้องซื้อจากรัฐเซีย แต่ผมก็ดีใจที่เราหลุดพ้นการผูกขาดเรื่องการซื้ออาวุธจากค่ายนาโต้ 

 

มีอีกเรื่องอยากจะขอคำแนะนำจากเพื่อนๆในบอร์ดคือพี่ชายผมได้งานออกแบบหลังคารถที่จะใช้ใน 3 จชต. ตัวเครื่องเป็นเครื่องของโตโยต้าแต่เอามาดัดแปลงทำเป็นรถจิ๊บทางยุทธวิธีหุ้มเกราะทั้งคัน ซึ้งใช้ต้นทุนการผลิตประมาณ 900,000 บาท ในส่วนของพี่ชายผมเขาได้รับมอบหมายให้มาคิดออกแบบหลังคาซึ่งพี่ชายผมจบสถาปัตมาเลยไม่ค่อยทราบเรื่องทางการทหาร  อยากจะขอคำแนะนำคราวจากทุกๆท่าน และถ้ามีข่าวคืบหน้าเรื่องนี้ผมจะมาแจ้งให้ทราบ   ปล.บริษัทพี่ชายผมเป็นเอกชน สงสัยงานนี้ประเทศไทยมีคงจะบริษัทเอกชนหลายแห่งสนใจที่จะผลิตอาวุธ 

โดยคุณ เขาหลวง เมื่อวันที่ 25/09/2007 22:09:56


ความคิดเห็นที่ 19


ผมสงสัยนักว่าเจ้าตัวนี้สู้ TAR-21 ไม่ได้ตรงไหนหว่า ดูแลรักษาก็ง่าย ใครที่เคยใช้รุ่นพี่เค้าก็น่าจะรู้ว่าไว้ใจและเชื่อถือได้แค่ไหน ราคาก็น่าจะถูกกว่าด้วย

ผมสงสัยนะครับว่า เปอร์เซ็นต์ มันน้อยกว่าหรือไงถึงตกรอบ

งานนี้กองทัพเรือจะตกอะไรมาน้อ...C-802 หรือ RBS-15 ?

แอบเชียร์ แต่ตกรอบ ดีที่ถอยรุ่นพี่ AK-74 มาประจำการไว้กระบอกนึงแก้เซ็งแล้ว

AK-101 5.56x45

http://club.guns.ru/eng/ak100.htm


โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 25/09/2007 23:49:26


ความคิดเห็นที่ 20


“กลาโหม” ชงงบยุทโธปกรณ์ 6 พัน ล.ครม.เซ็นทิ้งทวน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 25 กันยายน 2550 20:10 น.
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม
       ที่ประชุม ครม.อนุมัติ งบทิ้งทวน 6 พันล้าน ตามข้อเสนอกลาโหม เพิ่มยุทโธปกรณ์ ปืนกลเล็ก รถหุ้มเกราะ ปืนเล็กยาว ระบบอาวุธปล่อยนำวิถี พร้อมรถยนต์ตรวจการขบวนเสด็จฯ
       

       
       วันนี้ (25 ก.ย.) นายณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปี ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ จำนวน 4 โครงการ ซึ่งเป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีเคยอนุมัติในหลักการไว้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550
       
       “พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เน้นย้ำต่อที่ประชุม ว่า การจัดซื้อทั้งหมดดำเนินการอย่างถูกต้อง และโปร่งใสตามขั้นตอนของการจัดซื้อจัดจ้าง ไม่มีวาระซ่อนเร้น” นายณัฐวัฒน์ กล่าว
       
       ทั้งนี้ 4 โครงการดังกล่าว ได้แก่ เห็นชอบการผูกพันงบประมาณโครงการจัดหาปืนกลเล็กขนาด 5.56 มม.จำนวน 992 กระบอก ระหว่างรัฐบาลไทย กับอิสราเอล วงเงิน 259,214,659 บาท โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2552 โดยในปีงบประมาณ 2550 ใช้วงเงิน 54 ล้านบาท ปีงบ 2551 และปี 2552 จำนวนปีละ 108 ล้านบาท ส่วนที่เลือกซื้อปืนกลเล็กจากอิสราเอล เพราะอาวุธของอิสราเอลมีประสิทธิภาพสูง และเป็นอาวุธที่มีความเหมาะสมกับการใช้ในเมืองมากกว่าภูมิประเทศอื่น เห็นชอบให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปี โครงการจัดหารถหุ้มเกราะจำนวน 96 คัน ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2553 วงเงิน 3,898,892,400 บาท และให้ ผบ.ทบ.หรือผู้แทน เป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายรถหุ้มเกราะ ระหว่างรัฐบาลไทย กับยูเครน เห็นชอบโครงการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ โครงการจัดหาปืนเล็กยาวขนาด 5.56 มม.ของกระทรวงกลาโหม จำนวน 15,000 กระบอก วงเงิน 960,856,182 บาท ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2552 เห็นชอบให้กองทัพเรือก่อหนี้ผูกพันงบประมาณข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นทดแทน C-801 พร้อมลูกอาวุธปล่อยนำวิถี ให้กับเรือฟริเกต ชุดเรือรบหลวงเจ้าพระยา โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปีตั้งแต่ปี 2250-2552 วงเงิน 1,599,962,510 บาท
       
       นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอขออนุมัติให้กองทัพบกจัดซื้อรถยนต์ตรวจการขบวนเสด็จฯจำนวน 3 รายการ ได้แก่ รถยนต์นั่งพิเศษ 8 คัน รถยนต์ตรวจการพิเศษ 16 คัน และรถยนต์ตรวจการทั่วไป 10 คัน
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 26/09/2007 04:47:15


ความคิดเห็นที่ 21


3 เหล่าทัพแฮปปี้ ฟันงบ 7 พันล.ทิ้งทวน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 26 กันยายน 2550 01:05 น.
พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม
       “ทัพบก-ทัพเรือ-ทัพอากาศ” ระรื่นฟันงบฯ 7 พัน ล.ทิ้งทวนปี 50 “บุญรอด” ร้อนตัวกำชับแจงสื่อซื้อโปร่งใส มท. 3 ข้องใจข่าวซื้ออาวุธรั่วก่อนเข้าประชุมครม.ขณะที่ ทร.เสริมเขี้ยวใช้งบ 1,600 ล.ติดอาวุธนำวิถีเรือฟรีเกตุชุดเรือรบหลวงเจ้าพระยา
       

       วานนี้ (25 ก.ย.) นาย ณัฐฐวัฒน์ สุทธิโยธิน ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมครม.ได้อนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหารถหุ้มเกราะ จำนวน 96 คัน (ทบ.1382) ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 114,270,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 3,898,892,400 บาท ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายรถหุ้มเกราะระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลยูเครนในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย
       
       นายณัฐฐวัฒน์ แถลงต่อว่า นอกจากนี้ที่ประชุมครม.ยังได้พิจารณาอนุมัติให้กองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร จำนวน 15,000 กระบอก (ทบ.1380) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่งบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2552 วงเงิน28,571,400 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 960,856,182 บาท ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ 2550 ที่กองทัพบกได้รับการจัดสรรงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการจัดหาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร และได้ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อ/จัดจ้างในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณตามกรอบวงเงิน โดยได้พิจารณาเลือกแบบปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ TAVOR TAR 21 จำนวน 15,000 กระบอก วงเงิน 28,500,000 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 958,455,000 บาท
       
       ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกฯ แถลงด้วยว่า ครม.ยังได้อนุมัติกองทัพบกก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบฯ โครงการจัดซื้อปืนกลเล็กขนาด 5.56 มิลลิเมตร แบบ NEGEV จำนวน 992 กระบอก วงเงิน 7,707,840 ดอลลาห์สหรัฐ หรือประมาณ 270 ล้านบาท ( อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาห์สหรัฐเท่ากับ 33.63 บาท ) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 วงเงิน 54 ล้านบาท ปีงบ 2551 วงเงิน 108 ล้านบาท ปีงบฯ 2552 วงเงิน 108 ล้านบาท โดยให้ผู้บัญชาการทหารบกหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลอิสราเอลในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย โดยให้รวมถึงการลงนามในเอกสารแก้ไขข้อตกลงที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
       
       นายณัฐฐวัฒน์ แถลงต่อว่า ครม.ยังได้อนุมัติให้กระทรวงกลาโหมก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาระบบอาวุธปล่อยทำวิถีพื้น-สู่-พื้น ทดแทน C-801 พร้อมลูกอาวุธปล่อยนำวิถีให้กับเรือฟรีเกตชุดเรือรบหลวงเจ้าพระยา โดยขอเสนอครม.พิจารณาอนุมัติให้กองทัพเรือก่อหนี้ผูกพันท้ายปีงบประมาณ(ทร.201) ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 – 2552 วงเงิน 34,049,000 ยูโร หรือประมาณ 1,599,962,510 บาท ตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และการให้ผู้บัญชาการทหารเรือ หรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในข้อตกลงการซื้อขายในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย รวมทั้งการลงนามแก้ไขเปลี่ยนแปลง ข้อตกลงดังกล่าวในภายหลัง
       
       นายณัฐฐวัฒน์ กล่าวว่า ทั้งนี้กระทรวงกลาโหมได้รายงานตามที่ได้รับแจ้งจากกองบัญชาการทหารสูงสุดว่ากองทัพเรือได้จัดหาเรือฟริเกตชุดเรือรบหลวงเจ้าพระยาจำนวน 4 ลำ พร้อมติดตั้งระบบปล่อยอาวุธ ปล่อยทำวิถีแบบ C-801 ลำละ 8 ท่อยิง เข้าประจำการ ทั้งนี้ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ C-802 A และข้อเสนอด้านเทคนิคที่บริษัท CPMIEC เสนอเป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีที่ผ่านการคัดเลือกแบบมีรายละเอียดของอุปกรณ์ต่างๆ เป็นไปตามคุณลักษณะเฉพาะตามความต้องการของฝ่ายเสนาธิการ (Staff Require Ment) และเสนอตามความต้องการทางด้านยุทธศาสตร์ให้มากที่สุดโดยมีแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามงวดดังนี้ ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 320,000,000 บาท ,ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 640,000,000 บาท,ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 639,962,510 บาท
       
       แหล่งข่าวในที่ประชุมครม. เปิดเผยด้วยว่า ที่ประชุม ครม.ยังมีมติอนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการปรับปรุงระบบ Avionics เครื่องบินลำเลียงแบบ 8(C-130H) (ระยะที่ 2 ) (ทอ.164) ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550-2553 วงเงิน 1,000,000,000 บาท เนื่องจากกองทัพอากาศได้ประจำการเครื่องบินลำเลียงแบบ 8 (C-130H) มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2523 เพื่อปฏิบัติภารกิจลำเอียงทางยุทธวิธีปัจจุบันมีเครื่องบินดังกล่าวเข้าประจำการจำนวน 12 เครื่อง แต่เนื่องจากระบบ Avionics ที่ติดตั้งกับเครื่องบินลำเลียงแบบ 8 มีเทคโนโลยีค่อนข้างล้าสมัยและไม่ได้รับการปรับปรุงอุปกรณ์ Avionics ส่วนใหญ่หมดอายุการใช้งานแล้ว อุปกรณ์บางรายยกเลิกสายการผลิตไปแล้ว หรือบางรายกำลังจะยกเลิกสายการผลิต รวมทั้งปฏิบัติภารกิจบินเดินทางระหว่างประเทศของเครื่องบินลำเลียงแบบ 8 มีข้อจำกัดอย่างมากที่ไม่สามารถปฏิบัติตามข้อกำหนดขององค์กรการบินระหว่างประเทศ (ICAO:International Civil Aviation Organization) ในการติดตั้งอุปกรณ์สำคัญบางประเภท
       
       ทั้งนี้กองทัพอากาศได้จัดทำโครงการปรับปรุงระบบ Avionics เครื่องบินลำเลียงแบบ 8(C-130H) เพื่อลดปัญหาการจัดหาอะไหล่ และการซ่อมบำรุงวงเงินโครงการ 1,900,000,000 บาท แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระด้านงบประมาณ กองทัพอากาศได้แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วยระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2549 ถึงปีงบประมาณ 2551 วงเงิน 900,000,000 บาท ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2550 ถึงปีงบประมาณ 2553 วงเงิน 1,000,000,000 บาท โดยโครงการฯระยะที่ 1 ได้รับการจัดสรรงบประมาณในวงเงินดังกล่าว และกองทัพอากาศได้ว่าจ้างบริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด (TAI) ดำเนินการปรับปรุงเครื่องบินลำเลียงแบบ 8 จำนวน 6 เครื่อง โดยกรณีพิเศษแล้ว
       
       สำหรับปีงบประมาณ 2550 กองทัพอากาศได้เงินจัดสรรงบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวที่เหลือจำนวน 6 เครื่อง ตามที่ครม.ได้มีมติตามข้อ 2.2 จึงได้ดำเนินกรรมวิธีจัดซื้อ/จัดจ้างในขั้นไม่ผูกพันงบประมาณกับบริษัท TAI โดยวิธีกรณีพิเศษระยะดำเนินการ 4 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 โดยมีการเปลี่ยนแปลงแผนการใช้จ่ายงบประมาณ และระยะเวลาดำเนินการโครงการดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับระยะเวลาการชำระเงินตามงวดงานดังนี้ ปีงบประมาณ 2550 จำนวน 200,000,000 บาท ปีงบประมาณ 2551 จำนวน 400,000,000 บาท ปีงบประมาณ 2552 จำนวน 214,000,000 บาท ปีงบประมาณ 2553 จำนวน 186,000,000 บาท รวมทั้งหมดที่ครม.อนุมัติงบในการจัดซื้ออาวุธครั้งนี้ เป็นเงิน 7,743,211,092 บาท
       
       นายณัฐฐวัฒน์ กล่าวด้วยว่า พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีกลาโหม ได้ย้ำโดยขอให้บอกกับผู้สื่อข่าวว่า เรื่องนี้ทางกระทรวงกลาโหมดำเนินการด้วยความโปร่งใส ถูกต้องตามขั้นตอนทุกอย่างก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณโครงการจัดหาระบบ
       
       แหล่งข่าวในที่ประชุมครม. เปิดเผยว่า ในระหว่างการพิจารณาการจัดซื้อยุทโธกรณ์ พล.ต.ท.ธีรวุธ บุตรศรีภูมิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้กล่าวว่า “การซื้ออาวุธมันเป็นเรื่องลับ เป็นเรื่องของความมั่นคงของประเทศ แต่ทำไมมีเรื่องไปปรากฏในสื่อมวลชนก่อนประชุมครม.เสียอีก” ซึ่งทันทีที่พล.ต.ท.ธีรวุธ กล่าวจบ นายไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม รองนายกฯ และรมว.พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งเป็นประธานที่ประชุมครม.แทนพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่อยู่ระหว่างการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญครั้งที่ 26 กรุงนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวตอบทันทีว่า “ เพราะมันเป็นเรื่องลับถึงได้เปิดเผย”
       
       นอกจากในที่ประชุมครม.ยังได้มีการท้วงติงว่า การจัดซื้อยุทโธปกรณ์จากประเทศอิสราเอลเราต้องทำความเข้าใจเรื่องของศาสนาอิสลามด้วย เพราะอย่างนั้นอาจจะมีการขยายผลจนทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ ดังนั้นควรมีการชี้แจงให้กับประเทศในโลกมุสลิมให้ได้เข้าใจด้วยว่า ไม่ได้เป็นการซื้อเพื่อนำมาใช้ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่เป็นการนำมาใช้ป้องกันการก่อวินาศกรรมการก่อการร้ายในตัวเมือง ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมชี้ว่า ที่ไม่ได้มีการสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา เนื่องจากการผลิตอาวุธของสหรัฐฯไม่เพียงพอในการจำหน่าย เพราะอาวุธส่วนหนึ่งถูกนำไปใช้ในประเทศอิรัก

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 26/09/2007 04:48:22


ความคิดเห็นที่ 22


 
วันที่ 04 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10769

ทบ.เซ็นอนุมัติแล้ว ซื้อหุ้มเกราะยูเครน




กองทัพบกอนุมัติซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางค่า 3.8 พันล้านจากยูเครนแล้ว พร้อมส่งเรื่องให้ ผบ.สส.ชงเสนอขอไฟเขียวจาก ครม. คาดรู้ผลก่อนตั้ง ผบ.ทบ.คนใหม่ เผยข้อกำหนด รบ.ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า 15% ตามความตกลงใน 45 วันนับจากลงนาม ที่เหลือแบ่งจ่ายเป็น 3 งวด

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผช.ผบ.ทบ.) รักษาการแทน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เซ็นอนุมัติจัดซื้อรถหุ้มเกราะหรือรถหุ้มเกราะล้อยาง บีทีอาร์ 3 อี 1 ผลิตโดยบริษัทบริษัท คาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน แห่งประเทศยูเครน จำนวน 96 คัน มูลค่าประมาณ 3,898 ล้านบาทแล้ว โดยรายงานข่าวแจ้งเมื่อวันที่ 3 กันยายน ว่า พล.อ.อนุพงษ์เซ็นอนุมัติเรื่องนี้ตั้งแต่เมื่อวันที่ 28 สิงหาคมที่ผ่านมา และได้ส่งเรื่องให้ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) เห็นชอบเพื่อยื่นเสนอให้ปลัดกระทรวงกลาโหมนำส่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าอาจเร่งนำเข้า ครม.ก่อนการแต่งตั้ง ผบ.ทบ.คนใหม่ในกลางเดือนกันยายนนี้

ทั้งนี้ โครงการจัดซื้อดังกล่าวมีข้อกำหนดว่ายูเครนจะจัดระบบการฝึกศึกษา การอบรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและระบบการซ่อมบำรุง ส่วนข้อกำหนดในการชำระเงิน รัฐบาลไทยจะจ่ายเงินล่วงหน้า ร้อยะ 15 ของวงเงินตามความตกลงภายใน 45 วันนับจากวันลงนามในข้อตกลงและที่เหลืออีกร้อยละ 85 แบ่งเป็น 3 งวด ชำระในปีงบประมาณ ไม่เกินร้อยละ 25 งวดที่สองชำระในปีงบประมาณ 2552 ไม่เกินร้อยละ 30 และงวดที่สามในปีงบประมาณ 2553 ไม่เกินร้อยละ 30 โดยจะกำหนดยืนราคาถึงวันที่ 30 กันยายน 2550

สำหรับการส่งมอบรถหุ้มเกราะ งวดแรกจำนวน 12 คัน ภายใน 240 วันนับถัดจากวันลงนามในความและมีผลบังคับใช้ และจะส่งรถทั้งหมดภายใน 1,080 วันนับถัดจากวันลงนามในข้อตกลง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน ใช้เงินงบประมาณผูกพันข้ามปี 2550-2253 วงเงินทั้งโครงการ 4 พันล้านบาท แบ่งเป็นปีงบประมาณ 2550 จำนวน 800 ล้านบาท ปีงบฯ 2553 จำนวน 800 ล้านบาท ปีงบฯ 2552 จำนวน 1,200 ล้านบาท และปีงบประมาณ 2553 จำนวน 1,200 ล้านบาท

การจัดซื้อรถหุ้มเกราะดังกล่าวตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงก่อนหน้านี้ ทั้งคุณสมบัติและสมรรถนะของรถหุ้มเกราะ ซึ่งองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (นาโต) และกองทัพบกสหรัฐอเมริกายังไม่ได้รับรองมาตรฐาน ขณะเดียวกันกองทัพบกไม่เคยนำรถหุ้มเกราะล้อยางบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน ทดสอบสมรรถนะ แต่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.) ที่มี พล.อ.ไพศาล กตัญญู รอง ผบ.ทบ. เป็นประธานเซ็นอนุมัติรับรองมาตรฐานรถหุ้มเกราะของยูเครนให้นำมาใช้ปฏิบัติภารกิจในกองทัพบก

นอกจากนี้แล้วยังไม่พบว่ามีประเทศใดนำรถรุ่นดังกล่าวไปใช้ประจำการ เนื่องจากยูเครนเพิ่งผลิตรถหุ้มเกราะรุ่นนี้และนำออกแสดงในงานนิทรรศการอาวุธที่กรุงอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 26/09/2007 04:49:27


ความคิดเห็นที่ 23


 
วันที่ 07 กันยายน พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10772

เปิดสัญญาซื้อรถหุ้มเกราะ ระบุชื่อ"แบงก์-เลขบัญชี" เงื่อนไขมาตรฐาน"ยูเครน"




แผนจัดซื้อรถหุ้มเกราะ"บีทีอาร์ 3 อี 1"รุดหน้า กองทัพบกเขียนร่างสัญญาซื้อขายไว้พร้อม กำหนดชื่อแบงก์-เลขบัญชีบริษัทของรัฐบาลยูเครน เตรียมโอนเงินจากธนาคารทหารไทย 3.8 พันล้านบาท เผยเงื่อนไขระบุชัดคุณสมบัติมาตรฐาน"ยูเครน"

แหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหมรายงานเมื่อวันที่ 6 กันยายน ถึงโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะบีทีอาร์ 3 อี 1 ผลิตโดยบริษัท คาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน แห่งประเทศยูเครน โดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล หรือจีทูจี จำนวน 96 คัน มูลค่า 114,270,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 3,898 ล้านบาทว่า กองทัพบกจัดทำร่างหนังสือสัญญาว่าด้วยข้อตกลงการซื้อขายระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลยูเครนเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียดทั้งขั้นตอนการจัดซื้อ การส่งมอบสินค้า เงื่อนไขการชำระเงิน

แหล่งข่าวระบุว่า ร่างสัญญาการจัดซื้อดังกล่าวทำขึ้นโดยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) จำแนกรายละเอียดของสินค้า 21 รายการ อาทิ รถหุ้มเกราะบีทีอาร์ 3 อี 1 จำนวน 68 คัน ราคาคันละ 948,000 เหรียญสหรัฐ (33 ล้านบาทเศษ) รถหุ้มเกราะบังคับการ 4 คัน ราคาคันละ 970,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 34 ล้านบาท) รถหุ้มเกราะบีทีอาร์ ติดตั้งปืน ค.81 มม. 9 คัน ราคาคันละ 970,000 เหรียญสหรัฐ รถหุ้มเกราะติดตั้งปืน ค.120 มม.4 คัน ราคาคันละ 1,140,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 40 ล้านบาท) รถหุ้มเกราะ 6 คัน ติดตั้งระบบขีปนาวุธนำวิถีต่อต้านรถถัง ราคาคันละ 1,380,000 เหรียญสหรัฐ (ราว 48 ล้านบาท)

นอกจากนี้ ยังมีรถหุ้มเกราะพยาบาล จำนวน 3 คัน รถหุ้มเกราะกู้ซ่อม 7 คัน รถซ่อมบำรุง 3 คัน รถบริการทางเทคนิค 4 คัน รถตรวจสอบและควบคุม 4 คัน รถบริการแบตเตอรี่ 1 คัน รวมถึงรายการอุปกรณ์จำลองการฝึกพลขับ กระสุนปืนชนิดต่างๆ และการฝึกอบรมในประเทศยูเครนอีก 1 รายการ มูลค่า 1.6 ล้านเหรียญ (ราว 56 ล้านบาท)

สำหรับข้อสัญญาว่าด้วยปริมาณและคุณภาพของสินค้า ระบุเงื่อนไขต้องเป็นไปตามมาตรฐานของประเทศยูเครน โดยสินค้าส่งมอบให้กับฝ่ายไทย จะผลิตขึ้นภายหลังเดือนตุลาคม 2550 แบ่งเป็นรถหุ้มเกราะจำนวน 65 คัน ส่งมอบให้กองพันทหารราบรักษาพระองค์ จ.ปราจีนบุรี, รถหุ้มเกราะจำนวน 2 คัน จะส่งมอบเป็นชิ้นส่วน เพื่อนำมาประกอบที่กรมสรรพาวุธ กองทัพบก และอีก 1 คัน ส่งมอบให้โรงเรียนสรรพาวุธ กรมสรรพาวุธ กองทัพบก

ส่วนเงื่อนไขในการชำระเงินนั้น กำหนดไว้ว่า ฝ่ายไทยจะต้องสั่งจ่ายเงินจากธนาคารทหารไทยไปยังบริษัท Ukrspetsexport เป็นหน่วยงานภายใต้การกำกับของรัฐบาลยูเครนโดยผ่านธนาคารนำเข้าและส่งออกแห่งยูเครน (ยูเครนเอ็กซิมแบงก์) กรุงเคียฟ ประเทศยูเครน

ก่อนหน้านี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ทำการแทน พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เซ็นอนุมัติจัดซื้อรถหุ้มเกราะบีทีอาร์ 3 อี 1 และขณะนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการส่งเรื่องให้ พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบจากนั้น บก.สส.จะนำเสนอให้ พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รับทราบถึงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะและยื่นเรื่องให้เลขาธิการคณะรัฐมนตรีนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติลงนามในร่างสัญญาความตกลงการซื้อขาย
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 26/09/2007 04:50:29


ความคิดเห็นที่ 24


กั๊กๆๆๆๆๆ...ไมได้เข้ามานาน ข่าวใหม่มา เซ็งเลยครับ....

....แอบเชียร์ AK-101 เต็มที่ แต่หวยออกมาเป็นของอิสราเอลซะนี่..

แย่เลยครับ

โดยคุณ Aceน้อย เมื่อวันที่ 26/09/2007 14:23:27