หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ปัญหาการค้นหาช่วยเหลืออากาศยาน

โดยคุณ : dboy เมื่อวันที่ : 17/09/2007 20:11:30

๑. กล่าวนำ

        จากเหตุการณ์ เครื่องบินเล็กของบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งตกในพื้นที่เขาใหญ่ การค้นหาช่วยเหลืออากาศยานของ ประเทศไทย ยังไม่สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ นอกจากนนี้ยังไม่รวมเหตุการณ์ ที่สายการบินวัน ทูโก ประสบอุบัติเหตุ ที่สนามบินภูเก็ต ซึ่งภาพที่ปรากฏไม่เหมือนกับประสิทธิภาพ ภาพการสาธิต , ข้อความที่ประชาสัมพันธ์จากการฝึกซ้อมการค้นหาช่วยเหลือ SAREX Search and Rescue[1] Exercise ที่มีการฝึกเป็นประจำทุกปี  ในทุกปี การฝึกการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัย เป็นการฝึกภายใต้ความรับผิดชอบ ของกรมขนส่งทางอากาศ กระทรวงคมนาคม เพื่อปรับมาตรฐานการค้นหาและช่วยเหลือฯ เพื่อสนับสนุนยุทธ์ศาสตร์การ เป็นศูนย์กลางการบินนานาชาติของประเทศไทย โดยจะมีการหมุนเวียน การรับเป็นแกนกลางในการจัดงานระหว่าง , กองทัพบก, กองทัพอากาศ,กองทัพเรือ , กรมการขนส่งทางน้ำ ( กรมเจ้าท่าเดิม ) , กรมการขนส่งทางอากาศ( กรมการบินพานิชยเดิม )  ,  ซึ่งมักจะเน้น การสาธิตมากกว่าการฝึกหน่วย เพื่อให้ภาพเกิดความสวยงาม

แต่สภาพความเป็นจริง งานค้นหาช่วยเหลือ หรือที่เรียกว่า SAR นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องของการบินค้นหาเหมือนที่ทำการสาธิตเท่านั้น  แต่ ต้องเป็นการบูรณาการ ขีดความสามารถในการค้นหาทั้งมวล ของทุกส่วนงาน ตั้งแต่ ระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ จนถึง หน่วยกู้ภัย ที่อยู่บนพื้นดินที่อยู่ในบริเวณที่คาดว่าอากาศยานจะตก  เพื่อให้สามารถตอบสนองได้ในทุกพื้นที่และสภาพอากาศ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเครื่องตกขณะที่ สภาพอากาศไม่ดีนัก ไม่สามารถใช้อากาศยานในการค้นหาได้ ทางเดียวที่จะเข้าไปค้นหาได้คือ การใช้ชุดค้นหาที่เดินเท้า ซึ่งหลายปีของการฝึกที่ผ่านมา ไม่เคยมีการฝึกอย่างจริงจังในภาพรวมในเรื่องการค้นหาช่วยเหลือ , ระบบบัญชาการเหตุการณ์ที่ควรจะสมบูรณ์พร้อมในการที่จะให้ข้อมูลประสานงาน , แจ้งเตือนหน่วย , นำข้อตกลงที่ได้ประชุมสัมนามาเชิงปฏิบัติการมาใช้ในทางปฏิบัติจริง และผลที่ออกมากลับไม่เป็นเหมือนที่ฝึกสาธิตกันทุกปี หลายปีที่ผ่านมา การฝึก SAREX เป็นการฝึกซ้อมเชิงสาธิต มีการจัดลำดับการเข้าออกของแต่ละส่วน คล้ายกับ การสร้างฉากภาพยนต์ ทำให้ และมุ่งเน้นการค้นหาในภาคอากาศ เท่านั้น โดยไม่ได้มีการฝึก ในขั้นตอนของการค้นหาภาคพื้นดิน หรือ การจัดตั้ง ที่บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ ซึ่งในการฝึก ภาพที่สวยหรู มักจะสมมติเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นใกล้สนามบิน และ ท้ายที่สุดได้ภาพที่ดูอลังการณ์ แต่ไร้ซึ่ง ผลผลิตที่ควรจะได้จากการฝึก  ซึ่งการค้นหาช่วยเหลือยังคงต้องใช้กำลังทุกส่วนมิใช่เพียงแต่ การค้นหาทางอากาศอย่างที่คนในบุคคลกร วงการการบินโดยทั่วไปเข้าใจ

จากหลายเหตุการณ์ ไม่ว่าจะเป็น เหตุการณ์ ที่ เฮลิคอปเตอร์ ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง ตก ในพื้นที่ป่าภูเขาในภาคเหนือ , เหตุการณ์ที่ ขบวนฮ.ติดตาม ขบวน ฮ.พระที่นั่ง ตก ในพื้นที่ อ.สุคิรินทร์ จว.นราธิวาส จุดอ่อนของการค้นหาช่วยเหลือ หลายจุดยังคงไม่ได้รับการปรับปรุง

       บทความที่กล่าวถึงในด้านล่างนี้เป็น แนวทางขั้นตอนการปฏิบัติ การทั่วไปของการค้นหาช่วยชีวิต โดยจะไม่กล่าวถึงในรายละเอียดการบินค้นหาทางอากาศ ซึ่งเนื่องจากมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว โดยหน่วยงานที่เป็น ศูนย์ประสานการค้นหาควรเข้าใจหลักการค้นหาช่วยเหลือ ไม่เพียงแต่ภาคอากาศเท่านั้น แต่เพื่อให้เห็นภาพรวมให้เกิดความเข้าใจในการเตรียมการในยามปกติ ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะประสาน ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดในการปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือ , การนำเอาหน่วยงานหลายหน่วยมาทำงานร่วมกันในสภาวะวิกฤติ , การขาดความรู้ความเข้าใจในหลักการค้นหาช่วยเหลือที่เต็มรูปแบบ มิใช่จากการดู บรรยายสรุป ๑- ๒ หน้า หรือ การอ่านแต่ตำราโดยขาดความสนใจในการปฏิบัติ และการพัฒนา ขีดความสามารถในภาพรวม , ฯลฯ ผู้เขียน หวังว่าบทความนี้คงจะช่วยเพิ่มความเข้าใจในเรื่องของการค้นหาช่วยเหลือในภาพรวมและนำไปปรับปรุงหน่วยงานองค์กร หรือ บุคคลากรที่เกี่ยวข้อง ให้เกิดประโยชน์แก่บ้านเมือง



[1] Rescue  ในภาษาไทย บางครั้งแปลว่า การกู้ภัย ,  การช่วยเหลือ ,บางเอกสารก็ใช้คำว่า ช่วยชีวิต 





ความคิดเห็นที่ 1


การค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานที่ประสพภัย

ประวัติความเป็นมา

                การค้นหาช่วยเหลืออากาศยาน แต่เดิม มากจากภารกิจทางทหารที่ต้อง ช่วยเหลือ นักบินทหารที่ถูกยิงตกหรืออากาศยานตกในสมรถภูมิ การปฏิบัติการค้นหาและช่วยชีวิต ได้มีการบันทึกไว้เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๑ โดยในปี ค..๑๘๗๐ ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศแรกที่ใช้บอลลูนรับทหารบาดเจ็บ จำนวนรวม ๑๖๐ คนออกจากสนามรบเมื่อกองทัพของบิสมาร์คทำการปิดล้อมกรุงปารีส ในสงครามฟรังโก้ – ปรัสเซียน ต่อมาในปีค..๑๙๑๕ ประเทศฝรั่งเศสได้สร้างประวัติศาสตร์ของการค้นหาและช่วยชีวิตทางอากาศขึ้นมาอีกครั้งเมื่อเป็นประเทศแรกที่ใช้เครื่องบินเป็นโรงพยาบาลลอยฟ้ารับผู้ป่วยจากประเทศเซอร์เบีย กลับประเทศ

ในปี ค..๑๙๑๘ กองทัพบก ของประเทศสหรัฐอเมริกาได้ริเริ่มทำการดัดแปลงเครื่องบินรบมาเป็น

โรงพยาบาลในอากาศและในปี ค..๑๙๓๘ ซึ่งเป็นต้นสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในช่วงของสงครามชิงเกาะ

อังกฤษนั้นเยอรมันก็ได้ใช้เครื่องบินแบบโฮน์เคล ๕ ซึ่งเป็นเครื่องบินทะเลติดเครื่องหมายกาชาดสีแดง ออกทำการช่วยเหลือนักบินของตนที่ถูกยิงตกในช่องแคบอังกฤษโดยใช้ทั้งแพยางและอุปกรณ์ที่จำเป็นอื่น ๆ ในปี

..๑๙๔๐ ฝ่ายเยอรมันได้พัฒนาการช่วยชีวิตนักบินฝ่ายตนโดยการวางทุ่นลอยขนาดใหญ่ทาสีเหลืองสด

และมีกาชาดสีแดง สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในบริเวณช่องแคบอังกฤษซึ่งในทุ่นลอยนี้มีทั้งอาหารและน้ำดื่มและอุปกรณ์ในการดำรงชีพอื่น ๆ อีกหลายชนิดเพียงพอสำหรับคน ๔ คน ในปี ค..๑๙๔๑ จำนวผู้ปฏิบัติงานในอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรถูกยิงตกทวีจำนวนมากขึ้นจนน่าวิตก จำเป็นต้องพัฒนาการค้นหาและช่วยชีวิตให้ดียิ่งขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อังกฤษจึงได้จัดตั้งโครงสร้างของหน่วยซึ่งมีระบบในการค้นหาและช่วยชีวิตที่การติดต่อสื่อสารมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้นทำให้สามารถรักษาชีวิตนักบินของฝ่ายตนได้เพิ่มมากขึ้น จากผลของความสำเร็จดังกล่าว ใน ค..๑๙๔๒ อังกฤษและสหรัฐอเมริกาจึงได้ร่วมมือกันเป็นครั้งแรกใน  การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ทำงานในอากาศให้รู้จักวิธีการค้นหาและช่วยชีวิตตลอดจนเทคนิคต่างๆ ในการดำรงชีวิต โดยการนำแนว-ความคิดของฝ่ายเยอรมันมาใช้ทำให้โฉมหน้าของการค้นหาและช่วยชีวิตเปลี่ยนไป  อย่างสิ้นเชิงดังเห็นได้จากในปีค..๑๙๔๔ ฝ่ายสัมพันธมิตรสามารถทำการช่วยเหลือนักบินและเจ้าหน้าที่ ประจำเครื่องบินทิ้งระเบิดของตนได้ถึง ๒๘ - ๔๓ เปอร์เซ็นต์ และนักบินขับไล่ของกองu3607 กองทัพอากาศอีก๓เปอร์เซ็นต์ ในที่สุดเมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๑๙๔๖ กองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาก็ได้จัดตั้งระบบการค้นหาและช่วยชีวิตทางอากาศขึ้นมาอย่างจริงจัง ทำให้ระบบนี้มีความก้าวหน้าทางเทคนิคเพิ่มขึ้นตลอดมาจนถึงปัจจุบัน

การใช้เฮลิคอปเตอร์ในภารกิจการช่วยชีวิตทางทหารเริ่มมีขึ้นเป็นครั้งแรก ในสงครามเกาหลีโดยสหรัฐอเมริกาใช้เฮลิคอปเตอร์แบบเอช – ๕ ร่วมกับเครื่องบินแบบ ซี – ๔๗ และเครื่องบินแบบแอล – ๕ทำการช่วยเหลือทหารของฝ่ายสหประชาชาติไปส่งยังพื้นที่ปลอดภัยได้ จำนวนทั้งสิ้น ๘,๖๙๐ คน ซึ่งเป็นการปฏิบัติงานด้วยเฮลิคอปเตอร์ถึง ๘,๒๑๘ คน และ ๘๖ คน จากจำนวนดังกล่าวเป็นการช่วยเหลือออกมาหลังแนวรบของข้าศึก ต่อมาเมื่อเกิดสงครามเวียดนาม กองบินค้นหาและช่วยชีวิตของสหรัฐอเมริกาสามารถช่วยชีวิตผู้ ทำงานในอากาศที่ถูกยิงตกในดินแดนของเวียดนามเหนือได้ถึงหนึ่งในสามของจำนวนทั้งหมดแม้ว่าจะมีการต่อต้านอย่างรุนแรงก็ตาม เมื่อรวมถึงบริเวณอื่น ๆ ก็สามารถช่วยชีวิตได้มากกว่าครึ่ง ซึ่งครั้งนี้เป็นการ ปฏิบัติงานของเฮลิคอปเตอร์แทบทั้งสิ้น

สำหรับการค้นหาและช่วยชีวิตของกองทัพอากาศไทย ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ พ..๒๔๙๗ เมื่อได้รับโอนฮ.- (เอช – ๕๑) มาจากกรมการบินพลเรือนโดยจัดเป็นภารกิจหนึ่งของกองบิน ๖ ฝูง ๖๓ขณะนั้น และต่อมาเมื่อก่อตั้งกองบิน ๓ ขึ้น ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์ คือ ฝูงบิน ๓๑ และ ๓๒ ก็ได้รับมอบภารกิจนี้ต่อมาจนกระทั่งเมื่อกองบิน ๓ ถูกยุบ ฝูงบินเฮลิคอปเตอร์จึงมาขึ้นตรงกับกองบิน ๒ ซึ่งใช้ชื่อฝูงบิน ๒๐๑ และ ฝูงบิน ๒๐๓ ตามลำดับ และยังคงปฏิบัติหน้าที่ในการค้นหาและช่วยชีวิตเป็นภารกิจหลักตลอดมา

 สถานการณ์ในอดีตที่มีนักบินที่ประสพภัย ในสมรภูมิเขาค้อ คือ เรืออากาศเอกชวลิต ขยันกิจ และเรืออากาศโท พงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ เป็นนักบิน ได้เข้าทิ้งระเบิดนาปาล์ม  ซึ่งอยู่ในเขตเขาค้อ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ขณะที่ เรืออากาศโท พงษ์ณรงค์ เกสรศุกร์ ซึ่งเป็นหมายเลขสอง ( หมายเลข 1333 เลข ทอ. บข.๑๘-๑๗/๑๗ Sel.No.71-0264 ) เข้าโจมตีถูกฝ่ายตรงข้ามยิงอาวุธไม่ทราบชนิด ในระยะสูงประมาณ ๑,๐๐๐ ฟุต โดยเครื่องบินได้ทำการเลี้ยวซ้ายมุดลงระเบิดในกลางป่าห่างจากเป้าหมายประมาณ ๒ กม. ซึ่งจากการตรวจสอบภาพถ่ายทางอากาศที่เครื่องบินตรวจการณ์แบบ โอวัน ได้ถ่ายภาพมาพบว่าเครื่องบินไฟไหม้ตกลงในหุบเขา เขตบ้านภูชัย เขาค้อ ห่างจากแม่น้ำเข็กราว ๑ กม. และมีลักษณะคล้ายนักบินดีดตัวออกจากเครื่อง การช่วยเหลือนักบินที่คาดว่ารอดชีวิตจึงเริ่มขึ้น ทั้งทางอากาศและทางภาคพื้นดินได้ถูกปฏิบัติทันที ในขณะนั้น พลตรียุทธศิลป์ เกสรศุกร์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการทางยุทธการ กองทัพภาคที่ ๒ ซึ่งเป็นบิดาของนักบินผู้ที่ถูกยิงตก ได้มาร่วมปฏิบัติการค้นหาในครั้งนี้ด้วย การค้นหาและช่วยเหลือมีการส่งเครื่องบินและทหารจำนวนมากเข้าไปค้นหาตามพิกัดที่ได้จากการแปลความภาพถ่ายทางอากาศ โดยการช่วยเหลือ ใช้ กำลังเดินเท้าของ ทหาร ตำรวจจำนวนมาก

ปัจจุบันประเทศไทยมีการจัดตั้งศูนย์ประสานงานการค้นหาและช่วยเหลืออากาศยานและเรือที่

ประสบภัย โดยมี กรมการขนส่งทางอากาศ เป็นผู้รับผิดชอบหลักโดยใช้ทรัพยากรอันได้แก่อากาศยาน/เรือ

จากหน่วยราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงคมนาคม กระทรวงเกษตรและ

สหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ซึ่งได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วย ค้นหาและระวังภัย ร่วมกัน

                ขั้นตอนโดยทั่วไปจะเริ่มจาก ศูนย์ความคุมการจราจราทางอากาศ รายงานเมื่อเกิดสถานการณ์ที่อากาศยานยานมีแนวโน้มจะประสบภัย โดยรายงานมายัง ศูนย์ประสานงานการค้นหาช่วยเหลือ กรมขนส่งทางอากาศ และ ศูนย์ประสานงานการค้นหาช่วยเหลือ จะแจ้งไปยัง หน่วยในระบบค้นหา ซึ่งก็คือ เหล่าทัพต่าง , สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, หน่วยบินเกษตร , หรือ แม้กระทั่ง กรมการปกครอง ในส่วนของจังหวัด โดยจะมีการตั้ง ศูนย์ประสานงานการค้นหาฯ หรือ ที่บัญชาการเหตุการณ์ ซึ่งเป็นที่ใช้ควบคุม อำนวยการ ประสานงานในการปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลือ

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 17/09/2007 07:41:29


ความคิดเห็นที่ 2


การจัดกำลังในการค้นหาและช่วยเหลือ

ทก.

LZ

EMS

SA

MSS

Search

ResTm

การจัดพื้นที่ ส่วนควบคุม

                ๑.ส่วนควบคุม ( ที่บัญชาการเหตุการณ์ : ทก.[1])  โดยปกติ หลังจากที่ ทราบว่ามีอากาศยานหายไปจากจอเรดาห์ หรือมีสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าอากาศยานตก ศูนย์ควบคุมการจรจรทางอากาศจะแจ้ง มายัง ศูนย์ประสานงานการช่วยเหลือแห่งชาติ ( Search and Rescue Coordination Center : SARCC) จะมีการแจ้งเตือนหน่วยในระบบการค้นหา  โดยจะมีการแต่งตั้งผู้บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ (OSC : On Scene Commander ) [2]  ในที่นี้จะมีการ ประสานการใช้ หน่วยต่าง การรวบรวมข่าวสารเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยมี OSC หรือ ผู้บัญชาการ ณ พื้นที่เกิดเหตุ จะต้องเป็นผู้ควบคุมประสานงาน ตั้งแต่การ จัดตั้ง บก.เหตุการณ์ การวางแผน , การควบคุมอำนวยการ แก้ปัญหาระหว่างการค้นหา ,การติดตามสถานการณ์ ,การแถลงข่าวและให้ข้อมูลกับสื่อมวลชนและญาติ,การบันทึกการปฏิบัติแต่ละวัน สรุปผลการค้นหาว่ามีข้อดีข้อบกพร้องอะไรที่ต้องแก้ไข , การประสานงานด้านการติดต่อสื่อสารของหน่วยที่มาร่วมค้นหา นอกจากนี้ต้องแก้ปัญหา งบประมาณการใช้สิ่งสิ้นเปลืองต่างในการค้นหา เช่น การเติมน้ำมันเชื้อเพลิง การแก้ปัญหาเรื่องงบประมาณให้กับหน่วยปฏิบัติ การทำความเข้าใจประสาน ผู้ที่มีอำนาจตกลงใจสั่งการสูงสุดเพื่อให้การปฏิบัติการรวดเร็ว

                ในส่วนนี้ดูเหมือนเป็นงานง่าย ชี้นิ้วสั่ง แต่แท้จริงแล้วเป็นงานเริ่มต้นที่ยากที่สุดที่จะทำให้สมบูรณ์และถูกใจทุกฝ่าย หากเริ่มต้นไม่ดีข้อมูลไม่ครบ สั่งการแบบไร้ทิศทาง ก็จะส่งผลถึงประสิทธิภาพการค้นหายกตัวอย่าง เช่น  “ อากาศยานหายไปจากจอเรดาห์ที่พิกัดLat  06องศา 02ลิปดา 54พิลิบดา´Long  101องศา 38ลิบดา10´´ พิลิบดา  เมื่อ  ส่วนวางแผน ให้ข้อมูลเพียงแค่ อากาศยานหายไปที่พิกัด นี้ โดยไม่ได้พิจารณา ปัจจัยอื่นๆประกอบ เช่นความสูง ความเร็ว, ทิศทาง สภาพความเร็วลมภูมิอากาศบริเวนนั้น อาจจะทำให้ชุดค้นหาเข้าใจผิดว่า อากาศยานตกบริเวณพิกัดนั้น ซึ่งแท้จริงแล้ว การหายไปไม่ได้หมายความถึงเครื่องตกบริเวณนั้น เป็นต้น นอกจากนี้ พิกัด ภูมิศาสตร์ ยังไม่สะดวกในใช้การเดินในภูมิประเทศ เท่า ระบบพิกัด ทางทหาร ”

                หรือ การที่ ส่วนควบคุม หรือ ศุนย์ประสานงานการค้นหาฯเข้าพื้นที่โดยไม่ได้เตรียมเรื่องเครื่องมือสื่อสาร ที่พักชั่วคราว และที่สำคัญที่สุด แผนที่มาตราส่วนที่ใช้กับการค้นหาทางพื้นดิน ซึ่ง ส่วนควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบิน นั้นมักจะไม่คุ้นเคยและเชื่อว่าไม่จำเป็น โดยลืมไปว่าหากเครื่องบินตก เครื่องต้องตกลงสูงพื้นโลก ซึ่งต้องใช้แผนที่มาตรส่วนใหญ่ เช่น มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐ ในการใช้แผนที่ทางอากาศมาอธิบายกับหน่วยที่เดินเท้าทางพื้นดิน ย่อมใช้เวลานานในการทำความเข้าใจมากกว่า และยากในการแบ่งพื้นที่การค้นหาทางพื้นดิน

๑.ส่วนค้นหาและช่วยเหลือ  Rescue Team (ResTm)

คือ ส่วนที่มีเครืองมือ ทรัพยากรในการค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย โดยการอำนวยการของส่วนควบคุม ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็มักจะนึกถึงการใช้อากาศยานในการค้นหา และ ในความเป็นจริงแล้ว เครื่องมือในการค้นหามีทั้ง ทางบก ทางน้ำ รวมอยู่ด้วย ซึ่งในวงการการบิน มักจะลืม ส่วนทางบกไปสนิทในการฝึกการค้นหา ซึ่งจากเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้น เรามี กำลังคนที่พร้อมอยากจะช่วยจำนวนมาก เช่น มูลนิธิต่างๆ  ซึ่งท่านผู้เสียสละเหล่านั้น มักจะคุ้นเคยกับการช่วยเหลือภัยบนท้องถนนที่ราบเรียบ แต่เมื่อ ต้องเผชิญสถานการการค้นหา แล้ว จะต้องใช้ทักษะการเป็นนักกู้ภัยที่มีมาตรฐาน เช่น ความพร้อมของทักษะส่วนบุคคล ที่จำเป็น การการผจญเพลิง , การอ่านแผนที่การใช้เข็มทิศ , การเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บในพื้นที่ลาดชัน , เครื่องมือที่จำเป็นก็ไม่พร้อมเช่น เข็มทิศ,แผนที่ , การเตรียมการส่วนบุคคล เช่น การแต่งกายที่เหมาะสมสำหรับการเดินป่า,รองเท้า,เสบียงสำหรับการค้นหาที่ต้องใช้เวลามากกว่า๖ชม.เป็นต้น

                ๒.ส่วนสนับสนุน เป็นส่วนที่รับผิดชอบการจัดพื้นที่สนับสนุน Mission support site (MSS)

จัดตั้งมาเพื่อสนับสนุนกำลังในการช่วยเหลือ เช่น จัดสรรพื้นที่ในการวางอุปกรณ์,เครื่องมือ,การจัดพื้นที่จอดรถ , ส่วนงบประมาณ,ส่วนจัดอาหารสำหรับส่วนปฏิบัติการ ,จนท.ประจำรถแสงสว่าง , จนท.ควบคุมการเติมน้ำมัน ,ส่วนพัสดุ ทั้งนี้แล้วแต่ สถานการณ์ว่าจะต้องสนับสนุนเรื่องใดบ้างซึ่งก็ไม่หนีเรื่องความต้องการพื้นฐานและวัสดุสิ้นเปลืองในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ควรคำนึงถึง ระบบงบประมาณ ที่จะต้องมีการเบิกจากด้วย ระเบียบที่ซับซ้อนของทางราชการซึ่ง การดำเนินการควรจะมีเจ้าหน้าที่ที่เชียวชาญด้านงบประมาณมาสนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงาน ของทุกส่วนโดยเฉพาะส่วนราชการ

                ๔.ส่วนจัดพื้นที่ปลอดภัยรองรับ (Safe Area: SA)

 เป็นส่วนที่ กำหนดขึ้นเพื่อ รองรับผู้บาดเจ็บ, ทรัพยสิน ,ร่างผู้เสียชีวิต(ควรจะแยกออกจากพื้นที่ที่รับผู้บาดเจ็บหรือไม่ให้มองเห็น)  ซึ่ง ส่วนดังกล่าวจะต้องประสานข้อมูล ผู้ประสบภัยขั้นต้นกับ หน่วยบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน ( Emergency Medical Service: EMS) เพื่อเตรียมการรักษาพยา บาล  ตั้งแต่ยังไม่พบผู้ประสบภัย , ประสานเตรียมรับผู้บาดเจ็บเมื่อชุดค้นหาพบผู้ประสบภัย ,  โดยจะแบ่งเป็นพื้นที่รองรับขั้นต้นและพื้นที่ปลายทาง  โดย พื้นที่รองรับขั้นต้น มักจะอยู่ใกล้ บก.เหตุการณ์ เพื่อเตรียมการนำส่ง รพ.ที่มีขีดความสามารถสูงต่อไป  พื้นที่ปลายทาง มักจะใช้พื้นที่ รพ. ซึ่งหาก อากาศยานที่ตกเป็นอากาศยานโดยสาร ก็อาจะต้องมีกาประสานการส่งผู้ป่วย ตามอาการ ความเหมาะสมของสถานพยาบาลนั้นต่อไป

ซึ่ง ส่วนนี้ ควรจะมี จนท.ตร. , จนท.พยาบาลฉุกเฉิน คอยดูแล ร่วมกับส่วนประชาสัมพันธ์เพื่อประสาน กับญาติผู้บาดเจ็บในการรับทราบการมาถึงของ ผู้ประสบภัย 

หมายเหตุ   การจัด ส่วนต่างสามารถปรับขนาดของแต่ละส่วนตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่ง ทก.อาจจะเป็นแค่ ร่มไม้ หรือ ท้ายรถปิคอัพ มีไวท์บอรด์เล็ก วิทยุสื่อสาร และจนท. ๒-๓ คน โดยเป้าหมายคือ ให้สามารถวางแผน อำนายการ สั่งการประสานงาน,ให้ข้อมูล และ แก้ปัญหาให้การค้นหาได้



[1] ทก. ในอักษรย่อ ทางทหาร หมายถึง ที่บังคับการ ซึ่งมีความหมายเดียวกัน มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า : Command Post

[2] คำศัพท์อ้างอิงจาก เอกสารแนวทางการพัฒนาการค้นหาและช่วยชีวิตของประเทศไทยในภาพรวม ปี ๒๕๔๗ หน้า ๖ , ในเอกสาร คู่มือการค้นหาช่วยชีวิตของ กองทัพอากาศ ใช้คำว่า “ผู้สั่งการ ณ ตำบลช่วยชีวิต ”

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 17/09/2007 07:42:34


ความคิดเห็นที่ 3


ปัญหาข้อขัดข้องของระบบการค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย  

                ประเทศไทยมีหน่วยงาน องค์การภาคประชาชนจำนวนมาก ดำเนินการเครื่องเกี่ยวกับการค้นหาช่วยเหลือทุกหน่วยมีความตั้งใจและปราถนาดี ในเรื่องของการค้นหาอากาศยานที่ประสบภัย เป็นเรื่องที่ไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรในวงการการค้นหาประการหนึ่ง คือ โอกาศเกิดขึ้นน้อย และ คนในวงการการบินเองไม่ได้ให้ความสำคัญกับระบบการค้นหาภาคพื้นดินเท่าที่ควร ทำให้ขาดการพัฒนาไปทั้งระบบ ตัวหน่วยงานค้นหาช่วยเหลิอเองขาดองค์ความรู้ ทำให้หลายครั้งตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการค้าที่ไร้จริยธรรม นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกหลายอย่างที่ทำให้ การค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย ไม่พัฒนาไปเท่าที่ควรทั้งที่ ผู้ก่อตั้งหน่วยงาน องค์กรทั้งหลายความความตั้งใจอย่างมากที่จะทำงานเพื่อสังคม  บทความนี้ไม่ได้มีเจตนาที่จะให้ร้ายกับบุคคล ,บ่อนทำลายหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่เป็นภาพสะท้อนของปัญหาให้ทุกส่วนที่เกี่ยวข้องมาร่วมกันแก้ไข โดยเป็นปัญหาที่รวมรวมจากการปฏิบัติงานของนักกู้ภัยตามท้องถนน, หน่วยราชการที่ทำหน้าที่การค้นหาช่วยเหลือ

๑.การขาดการฝึกครบทั้งระบบ

                ที่ผ่านมาการฝึก SAREX จำกัดให้ความสำคัญกับวงการการบินหรือหน่วยบินเป็นหลักไม่ได้มีการ ให้ความสำคัญกับส่วนอื่นเท่าที่ควร ทำให้เมื่อต้องทำงานจริงภาพที่เห็นคือ  ความสับสนของการประสานงานหน่วยต่างๆ ,ความไม่พร้อมของหน่วยค้นหาภาคพื้นดิน , ซึ่ง คงไปโทษหน่วยเหล่านั้นไม่ได้เพราะ งบประมาณที่ใช้ในการฝึกค้นหาช่วยเหลือผู้ประสบภัย อยู่ในมือของ กรมขนส่งทางอากาศกระทรวงคมนาคม

ซึ่งปีหนึ่งมีจำนวนไม่น้อย นอกจากนี้ในยามปกติควรจะประสานกับกรมป้องกันเพื่อบูรณาการทรัพยากที่มีอยู่ให้สามารถใช้งานได้จริง ทันเวลา

๒.การขาดแคลนและมาตรฐานของ อุปกรณ์การค้นหากู้ภัย  

๒.๑ การขาดแคลนอุปกรณ์การกู้ภัย

                เนื่องจากส่วนมาก คนที่ทำงานกู้ภัย กับ ผู้ที่ออกทุน เป็นคนละบุคคลกัน ทำให้ บางครั้งการจัดหาอุปกรณ์ ไม่สอดคล้องกับ การทำงานรวมทั้งการมองภาพการกู้ภัยที่อาจจะจำกัดบนท้องถนนทำให้มองข้ามเรื่องอื่นๆ  ในส่วนราชการเอง เนื่องจากงานกู้ภัยหรืองานค้นหากู้ภัยเป็นเรื่องที่จำกัดในวงไม่กว้างนักคนที่มีความรู้โดยเฉพาะระดับผู้บริหารยังมีน้อย รวมทั้ง ระบบการจัดหาทางราชการยังไม่เกื้อกูลทำให้ไม่สามารถจัดหาเครื่องมือที่เหมาะสมได้ หรือ ไม่ก็มีคำตอบว่ามีอะไรให้ใช้ไปก่อน ,ต้องการทำงานท่ามกลางความขาดแคลน ซึ่ง ภาพที่เห็น ตราบใดที่ผู้บริหารระดับสูงยังนั่งรถเก๋งราคาเป็นล้าน ,สัมมนานั่งห้องแอร์กินอาหารโรงแรมได้  ประโยคนี้ไม่ควรนำมาใช้กับ เครื่องมือที่ใช้ช่วยชีวิตคน

ตัวอย่างเครื่องมือ อุปกรณ์ที่หน่วยกู้ภัยยังขาดแคลนอยู่เช่น ระบบเชือกกู้ภัย, เครื่องตัดถ่างแบบนำพาด้วยบุคคล , ชุดกู้ภัยผิวน้ำ พื้นที่ที่กระแสน้ำหลาก ,เครื่องหาพิกัดด้วยดาวเทียม

                ๒.๒ มาตรฐานอุปกรณ์การกู้ภัยในท้องตลาด

ในต่างประเทศมีองค์กรกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์การกู้ภัย เช่น  NFPA สมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ National Fire Protection Association ของสหรัฐ , COMITE EUROPEEN DE NORMALISATION (CEN) คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานของสหภาพยุโรป    แต่ประเทศไทยยังไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านนี้โดยตรงมีเพียง กรมโรงงานอุตสหกรรม ซึ่ง ขาดผู้ชำนาญการและองค์ความรู้ที่เพียงพอในการกำหนดมาตรฐานอุปกรณ์ รวมทั้งอำนาจทางกฏหมายในการควบคุมมาตรฐานของ อุปกรณ์การกู้ภัย ซึ่ง จะต้องมีการหารือในระดับรัฐบาล หาหน่วยงานที่รับผิดชอบและพัฒนาองค์ความรู้ให้มีศักยภาพในควบคุมกำกับดูแล มาตรฐานอุปกรณ์ การกู้ภัย อย่างเป็นรูปธรรม

๒.การขาดทักษะการค้นหาช่วยเหลือ

                การค้นหาช่วยเหลือของหน่วยงานเอกชน หรือแม้กระทั่งทหารตำรวจ บางหน่วยเอง ก็ทำกันตาม ความคิดตัวเอง ( ตามมีตามเกิด )การค้นหาช่วยเหลือไม่ใช่การเดินหาของในสนามหญ้า ที่เดินเป็นหน้ากระดานค้นหาได้ หรือ ตามหา ลูกหลานที่หลงในห้างสรรพสินค้า แต่เป็น สิ่งที่ต้องมีการฝึกฝนซึ่ง ควรจะมีการฝึกหรือให้ความรู้ อย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ยามปกติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งทักษะจะต้องมีการดำรงขีดความสามารถไม่ใช่พอฝึกจบรับใบประกาศแล้วจะไม่ต้องฝึก

                ๒.๑ ทักษะพื้นฐานทั่วไป

                        การใช้แผนที่ประกอบเข็มทิศ ในการเดินทางในภูมิประเทศ , การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นต้น , ความรู้และความเข้าใจในระบบบัญชาการเหตุการณ์โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจหน้าที่

                ๒.๒ หลักสูตร,มาตรฐานของนักกู้ภัยทั่วไปและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

                ๒.๓ การกำหนดมาตรฐานและการดำรงรักษามาตรฐานและการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

                ๒.๔ ระบบการบัญชาการเหตุการณ์ ที่สามารถใช้งานได้จริง

                                ระบบบัญชาการเหตุการณ์ในภาวะวิกฤติ ควรจะมีการพัฒนาในภาพรวมให้สามารถใช้งานร่วมกันได้เป็นมาตรฐานเดียว ซึ่ง เท่าที่ผ่านมา การอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารวิกฤติยังมีทิศทางไม่ชัดเจน บางก็เอา นักวิชาการด้าน ธุรกิจมาบรรยาย เรื่องของ Crisis Management ภาคธุรกิจมาใช้ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถทำให้ผู้รับฟังเข้าใจและนำมาประยุกต์ใช้ไม่ได้ การบัญชาการเหตุการณ์ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ จะต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงนั่งฟังบรรยาย หรือสัมมนาไม่กี่วัน 

                               โดยเรื่องของ ระบบบริหารจัดการวิกฤติการณ์ ในระดับประเทศ สมช. ได้พยายามที่จะดำเนินการร่างแผนแม่บทโดยใช้แนวทางการหลักฐานเอกสารของหลายประเทศโดยให้ มีการวิจัยและออกเอกสารมาเป็นร่าง แผนแม่บทการจัดตั้งหน่วยบริหารวิกฤติการณ์ระดับชาติ  ซึ่งนับว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ของการปรับปรุง แต่ ปัญหาที่ตามมาคือการนำเอาตัวอักษรมาปฏิบัติประยุกต์ใช้กับหน่วยงานในระบบ ซึ่ง แต่ละหน่วยงานก็มีองค์ความรู้ด้านนี้ที่แตกต่างกัน และภาพที่ออกมาคือ ความสับสนทุกครั้งที่เกิดวิกฤติต่างๆ ดังนั้นควรจะมีการสนใจที่จะพัฒนาระบบนี้ให้เป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง ไม่ใช่เพียงแค่การสัมนาหรือฟังนักพูดบนเวทีแต่หากต้องเป็นสิ่งที่นำไปสู่การฝึกปฏิบัติการบริหารเหตุการณ์วิกฤติ ของผู้บริหารทุกระดับ

๓. ยังไม่มีหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานของการค้นหาช่วยเหลือ หรือ ระบบการเผชิญภัยพิบัติ

๔. การยอมรับความเป็นจริง การรู้ขีดความสามารถขีดจำกัด และการรวบรวมองค์ความรู้แลกเปลี่ยนประสพการณ์และการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภายในประเทศรวมทั้งไม่มีองค์กรพัฒนาศึกษาวิจัยพัฒนาขั้นตอนวิธีการจากประสบการณ์ของหน่วย

                การปฏิบัติงานของการกู้ภัย แต่ละครั้ง หลังจบภารกิจจะต้องมีการทบทวนหลังการปฏิบัติ ทบทวนว่าทำอะไรไปบ้าง อะไรที่ดี อะไรที่ไม่ได้ มีข้อแก้ไขอะไรบ้าง เพื่อนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น  แต่ ในไทยการแลกเปลี่ยนความรู้ น้อยมาก อาจจะเนื่องจากสาเหตุ ที่คนไทยไม่ชอบที่จะบันทึกความผิดพลาด ทั้งที่ เราเองก็มีภาษิต ที่ว่าผิดเป็นครู พอไปสัมมนา นำเสนออะไรที่ไหน ก็บรรยายว่าสิ่งที่ทำอยู่ดีไปหมด เลอเลิศมาก และพอปฏิบัติงานจริงข้อบกพร่องมีให้เห็นมากมาย  หน่วยงานค้นหากู้ภัยส่วนมากระดับผู้ปฏิบัติทราบดีว่า มีความต้องการหรือข้อบกพร่องของตนเองอย่างไร แต่พอมาในระดับผู้บริหารมักจะไม่ยอมรับความจริงที่เป็นอยู่ ซึงการนำเสนอข้อมูลที่ไม่เป็นจริงส่งผลกระทบอย่างมากเมื่อเกิดเหตุการณ์วิกฤติ รวมที่ทำให้หน่วยงานไม่สามารถพัฒนาทันต่นสถานการณ์ในยุคปัจจุบัน  การปฏิบัติการค้นหาช่วยเหลิอของไทยมีการปฏิบัติ หลายครั้ง แต่หาข้อมูลรายละเอียดการปฏิบัติการได้อย่างยากลำบาก ถ้าได้มาก็เป็นการรายงานที่มีการแต่งเติม ตัดต่อให้เกิดภาพที่เหมาะสมกับการรายงานตามระบบราชไทยโบราณ คือ “ ปฏิบัติงานได้ดี มีปัญหาเล็กน้อย สำเนาให้ส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปแก้ไขในโอกาสต่อไป ”  ดังนั้น หากมีหน่วยงานที่รวบรวมข้อมูลและบันทึกรายการข้อบกพร่อง ข้อดีข้อเสียต่าง จะทำให้การตอบสนองต่อเหตุการณ์เราดีพัฒนาขึ้น  ตัวอย่าง เช่น เหตุการณ์ ขบวน ฮ.ติดตามเสด็จฯ ตกที่สุคีริน ปัญหาข้อขัดข้องครั้งนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งถ้าระดมกันปรับปรุง เหตุการณ์ ที่เขาใหญ่ เมื่อ เดือน ส.ค. ที่ผ่านมา คงไม่เป็นแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง กล้องช่วยค้นหาติดเฮลิคอปเตอร์ , ไฟค้นหา ,การฝึกชุดค้นหาทางพื้นดิน,เป็นต้น  

               ปัจจุบัน กองทัพอากาศที่ประกาศตัวว่าเป็น หน่วยที่เป็นแกนนำ มีกิจเฉพาะหลัก[1]ในการค้นหาช่วยเหลือ อากาศยานหลักในการค้นหาช่วยเหลืออากาศยานใช้งานมาตั้งแต่สงครามเวียดนาม ไม่มีขีดความสามารถในการค้นหาเวลากลางคืน เป็นเครื่องยนต์เดียว ๒ ใบพัด การค้นหาต้องใช้สายตาของเจ้าหน้าที่ รอกที่ใช้ก็อายุการใช้งานมากกว่า๑๐ ปี และชำรุดบ่อย ซึ่ง ปัจจุบัน อากาศยานมาตรฐานสากลในการค้นหาควรจะเป็นอากาศยานที่สมรรถนะสูง  ๒ เครื่องยนต์ ๔ ใบพัดขึ้นไป รวมทั้งควรมีเครื่องช่วยเดินอากาศ และเครื่องช่วยการค้นหาให้พร้อม แต่กองทัพอากาศก็ให้ความเร่งด่วนในการจัดหาในลำดับหลังๆทั้งที่เป็นเรื่องเกี่ยวพันกับการช่วยชีวิต รวมทั้งกรมขนส่งทางอากาศที่เป็นผู้รับผิดชอบเรื่องนี้เองก็มิได้ใส่ใจรับรู้ปัญหาความขาดแคลนนี้คงต้องรอจนกว่าจะมีการสูญเสียที่มิอาจรับได้เกิดขึ้น

๕. ความตระหนักในเรื่องความปลอดภัย( Safety) และระบบบริการฉุกเฉินในระดับผู้บริหารยังมีน้อยเกินไป

                เรื่องของระบบความปลอดภัย หรือ นิรภัย เป็นเรื่องที่ประเทศไทยเพิ่งมาให้ความสนใจ ก็เนื่องจากการมีกฏหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ก่อนหน้านี้ไม่ค่อยเป็นที่สนใจนักของผู้บริหารเนื่องจากกระบบดังกล่าวเป้นการลงทุนที่ หลายคนมองว่าไม่มีผลกำไร ต้องมีการบังคับด้วยกฎหมายถึงจะมีการตื่นตัว ระบบความปลอดภัยจะมักถูกมองเป็นเรื่องสุดท้ายเสมอในการวางแผนการทำงาน ตัวอย่าง เช่น  เครื่องมือในการค้นหาช่วยเหลือ ได้แก่ เฮลิคอปเตอร์ที่มีศักยภาพสูงของกองทัพอากาศ กลับได้รับการพิจารณาเป็นเรื่องหลังๆ , การฝึก SAREX ที่ทุ่มให้กับงบประชาสัมพันธ์และการสาธิต มากว่างบการฝึกจริง เป็นต้น

๖.  การขาดจิตสำนึกหรือ คุณธรรมจริยธรรมของผู้ประกอบการค้าอุปกรณ์  และ ผู้จัดหาเครื่องมือ ของแต่ละหน่วยงาน

                จากปัญหาที่ไม่มีหน่วยงานหลักทั้งหน่วยงานควบคุมมาตรฐาน หน่วยงานทางวิทยาการการค้นหาช่วยเหลือของรัฐ ที่เข้มแข็ง ทำให้ องค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวต้องแสวงหาองค์ความรู้กันเอง ซึ่ง บางส่วน ต้องตกเป็นเหยื่อของ ผู้ประกอบการที่แฝงหรือแอบอ้าง องค์กรต่างประเทศแบบไม่ถูกต้องนัก เช่น มีผู้ประกอบการรายหนึ่ง ติดต่อบริษัทต่างประเทศขอไปดูงานต่างประเทศที่โรงงาน  ถ่ายภาพเยอะ และนำมาแอบอ้างว่าตนเองจบหลักสูตรโน้นหลักสูตรนี้ เข้ามาครอบงำทางความคิด เทคนิคปฏิบัติ รวมทั้งนำของที่ไม่ได้คุณภาพ หรือ ราคาแพงกว่าที่ควรจะเป็นมากๆ , บางครั้งก็นำมาลอกเลียนแบบ และขายในราคาเท่ากับของต้นฉบับ  การลดคุณลักษณะเฉพาะลงเพื่อให้ได้ของ ถูกกว่า โดยไม่คำนึงถึงคุณภาพ ,โดยในส่วนจัดหาเองบางส่วนก็เห็นแก่ค่าคอมมิสชั่นหรือผลประโยชน์ที่ผู้ประกอบการเสนอ 

๗. ขาดการดูแลเรื่องระบบการส่งกำลังบำรุงและงบประมาณร่วมกัน

               หลายครั้งที่ผ่านมาการติดขัดของภารกิจมักเกิดจากข้อจำกัดของ การใช้จ่ายงบประมาณ สิ่งอุปกรณ์สิ้นเปลือง การซ่อมบำรุงสิ่งของเครื่องมือที่ใช้ในการทำงาน งานค้นหาช่วยเหลือต้องทำงานแข่งกับเวลาเป็นวินาที แต่ระบบงบประมาณและการส่งกำลังบำรุงของชาติกลับไม่ตอบสนอง เจ้าหน้าที่งบประมาณของทุกส่วนงานควรมานั่งประจำที่บก. เหตุการณ์เพื่อแก้ปัญหาด้านการสนับสนุน เพราะสุดท้าย งบประมาณก็ออกมาจาก รัฐบาลไทยอยู่ดี ปัญหาด้านนี้กองทัพประสพปัญหามาอย่างต่อเนื่อง หน่วยเหนือมักตำหนิหน่วยปฏิบัติว่าทำไม่ถูกต้องตามขั้นตอนระเบียบแบบแผน ซึ่งแนวทางแก้ไจง่ายๆคือ ให้ จนท.ปช.ของกองทัพมานั่ง ณ บก.เหตุการณ์๒๔ ชม. จัดชุด จนท.ทำเอกสารมาสนับสนุน ซึ่งจะทำให้หน่วยปฏิบัติใช้ความพยายามทั้งมวลในการช่วยเหลือและแก้ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ ไม่ใช่มานั่งทำเอกสาร

                ๘.การซักซ้อมที่มุ่งเน้นการแสดงหรือสาธิตภาพความพร้อม มากการการซักซ้อมเพื่อหาความชำนาญและ ข้อบกพร่อง

                                ทุกครั้งที่ผ่านมาการซักซ้อมการเผชิญภัยของหน่วยงานส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นการซักซ้อมเพื่อการแสดงให้ ผู้บังคับบัญชาชม การซ้อมแผนมักจะเป็นการซ้อมแบบสาธิตการปฏิบัติที่มีการกำหนด ขั้นตอน การปฏิบัติและเวลาอย่างแน่ชัด ซึ่งจะเป็นภาพที่สวยแต่จะไม่ได้อะไรมากนัก ซึ่งการฝึกที่แนะนำตามลำดับขั้น ควรจะเป็นดังนี้

การฝึกทักษะของแต่ละส่วนงาน

·       การฝึกของหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน

·       การฝึกการผจญเพลิง

·       การฝึกของ หน่วยกู้ภัยบนท้องถนน หรือ หน่วยกู้ภัยในพื้นที่

·       การฝึกการวางแผน และการอำนวยการ CPX

·       การฝึกของ หน่วยบิน ,เรือ , รถพยาบาล

                                การฝึกเป็นภาพรวมของพื้นที่         

·       การซ้อมความเข้าใจบนแผนผังหรือแผนที่

·       การซ้อมการติดต่อสื่อสาร

·       การซ้อมเฉพาะหน.หน่วย บนพื้นที่จริง

·       การซ้อม แบบ ไม่ต้องนำอุปกรณ์มาแต่ใช้ผู้ปฏิบัติจริง

·       การซ้อม แบบ กึ่งสาธิต ( รู้ขั้นต้นการปฏิบัติและเวลา )

·       การฝึก เต็มรูปแบบในสถานการณ์สมมติ

ซึ่งโดยปกติเราจะนิยมแต่ในข้อ ๕ เพราะ สามารถสร้างภาพได้งดงามตามความต้องการของผู้บังคับบัญชา แต่ไม่ทราบว่าปัญหาคืออะไร  ซึ่งต้องยอมรับว่าการซักซ้อมจะต้องพบข้อบกพร่องเสมอ แต่ นั่นคือการซ้อม และข้อบกพร่องที่พบตอนซ้อมจะเป็นหนึ่งในข้อบกพร่องที่เรารู้ว่าจะแก้อย่างไรเมื่อภัยจริงมาถึง แต่การพบข้อบกพร่องในการซ้อม ไม่เลวร้ายเท่าเกิดเหตุการณ์จริง โดยสุดท้ายคำที่ไม่อยากได้ยินเลยคือคำว่า “มันเป็น เหตุสุดวิสัย และเราจะหามาตรการป้องกันหรือแก้ไขภายหลัง ” ถ้าข้อบกพร่องเหล่านั้น เป็นสิ่งที่เราป้องกันได้และสามารถตรวจพบหาซ้อมกันจริงๆ เช่น ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ , ความพร้อมของระบบ ,คน ฯลฯ

 

                ทั้ง ๘ ข้อนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของปัญหาที่เด่นชัด ของระบบการค้นหาช่วยเหลือของประเทศไทย นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในระบบซึ่ง ร่วมปฏิบัติการในครั้งนั้นคงจะรู้ดีว่าสิ่งที่ต้องแก้ไขคืออะไรบ้าง อย่าใหการสูญเสียของ นักบินทั้งสองสูญเปล่า ความพยายามของทุกท่านล้วนเต็มเปี่ยมไปด้วยความตั้งใจ ที่ผู้เขียนเองก็ขอชื่นชม แต่ ความพยายามของพวกเราไม่ควรสูญเปล่า ควรจะนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข ให้เกิดประสิทธิภาพที่แท้จริงในระบบการค้นหาช่วยเหลืออากาศยานที่ประสบภัยของประเทศไทยต่อไปเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในศักยภาพที่แท้จริง



[1] “Core Function” ตามเอกสาร แนวทางการพัฒนาด้านการค้นหาและช่วยชีวิตของประเทศไทยในภาพรวม

จากผลการสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้นหาและช่วยชีวิตโดยผู้เกี่ยวข้องจากเหล่าทัพ ส่วน         ราชการ และภาคเอกชน เมื่อ ๓๐ มิ.. – ๒ ก..๔๗  พัทยา จ.ชลบุรี  หน้า ๑๕ ข้อ ๑๖.๒

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 17/09/2007 07:45:04


ความคิดเห็นที่ 4


โอ้....น่าสนใจครับท่าน ขอบคุณสำหรับบทความครับ.....อ่านแค่กล่าวนำ ยังไม่ว่างอ่านทั้งหมดเลย เดี๋ยวจะกลับมาอ่านครับ
โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 17/09/2007 11:12:13


ความคิดเห็นที่ 5


http://thaijsof.spaces.live.com/

ลองไปดูได้ครับ
โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 17/09/2007 20:11:30