อยากทราบว่าศักยภาพกองทัพไทยทุกเหล่าทัพขณะนี้เป็นยังไงบ้างครับ อยากให้เปรียบมวยกันด้านต่อด้านครับ ถ้าเกิดสงครามขึ้นมาจริงเนี่ยสู้เพื่อนบ้านไหวมั้ยครับ(เอาในอาเซียนนะ)ขอทีละประเทศครับกับมาเลย์นี่สู้มันได้รึป่าวเห็นอาวุธมันดีกว่าเราทั้งนั้นครับ
สงคราม...ยากครับ ยากที่จะเกิด โดยเพาะในภูมิภาคนี้ครับ...
แล้วอาวุธ เราจะมีไว้ทำไม...หลักๆ เลยมีไว้เพื่อถ่วงดุลอำนาจครับ ( Balance of Power )
ก็เหมือนเรานั่ง-นอน อยู่บ้าน ถ้ามีโจรเข้ามา เราก็เอาปืนยิงขู่ ก็ต้องดูว่าโจรจะหนีมั้ย ถ้าไม่ ก็ต้องสู้ แล้วเรากะโจรใครจะมีปืน มีกระสุนกี่นัด ใครใช้ปืนเก่งกว่า ใครฉลาดกว่า...ยังมีอีกหลายปัจจัยครับ....
การสงครามจริงๆนั้น สมัยนี้เกิดได้ยากครับ แล้วเราก็ไม่จำเป็นต้องไปแย่งทรัพยากรกับใครด้วย ( เนื่องจากชอบอยู่บ้านครับ ไม่ค่อยได้ออกไปปักธงที่ไหน มาแต่โบราณแล้ว ) ก็มีแต่รอบๆไทยเรานี่หล่ะครับ อยู่ตั้งไกลยังอยากได้นู่นได้นี่ เค้าถึงเพิ่มการจัดหาอาวุธอยู่เรื่อยๆ ครับ...
อีกอย่างที่น่ากลัวกว่าครับ หมายถึงการสงครามแบบลับหลัง หรือว่า "การก่อการร้าย" นี่หล่ะครับ น่ากลัวกว่า ศัตรูอยู่ในที่มืด เราไม่รู้จำนวนเลย และที่สำคัญคือ ได้รับการสนับสนุนจากไหน ซึ่งวิธีนี้หล่ะครับที่ทำลายระบบเศรษฐกิจของไทย ที่สมัยก่อนเรายังสูสีกับ เกาหลีใต้อยู่เลย แต่ปัจจุบันได้แค่มองดู มาเลย์ ก่ะเวียดนาม กำลังเดินแซงไปครับ...
แล้วถ้าหมายถึงศักยภาพ ของกองทัพไทย...ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีอะไรต้องเป็นห่วงมากนักครับ แต่ถ้าวันพรุ่งนี้ วันมะรืน หรือต่อๆไป อันนี้ก็ไม่แน่ครับ บางทีเราอาจจะต้องวิ่งหนี ลาว-พม่า หรือว่าเขมร แทนก็ได้ครับ...
ถ้าเปรียบกับมาเลย์ แล้วพูดแบบไม่เข้าข้างตัวเองก็ต้องบอกว่าพอได้อยู่ มาเลย์มีดีกว่าไทยแค่ทัพเรือเท่านั้น ทอ.มาเลย์มีแค่ซู30 (ตอนนี้มีแค่2 เครื่องและยังบินไม่คล่อง)18 เครื่อง f18 8 เครื่อง ส่วนมิก29 เดี๋ยวกราวด์เดี๋ยวไม่กราวด์ หาความแน่นอนไม่ได้ และที่สำคัญนักบินมาเลย์ไม่เคยมีประสบการณ์ในการรบจริงแม้แต่ครั้งเดียว ทบ. มาเลย์ มีmbt อยู่ไม่กี่คัน ถ้ามาเลย์เกิดหน้ามืดรบกับไทยจริงๆ ผมให้ไม่เกิน2 อาทิตย์ ได้ปักธงชาติไทยที่กัวลาลัมเปอร์ ไปจนถึงมะละกา(อดีตแผ่นดินไทยสมัยอยุธยา) แต่ที่หนักใจน่าจะเป็นที่ซาบาร์ ซาราวัค ที่กองทัพไทยคงไม่มีความสามารถตามไปยึดแน่ๆครับ
แต่ในความเป็นจริง สงครามนี้ไม่มีวันเกิดเนื่องจากในปัจจุบันไทยนำเข้าน้ำมันวันละเกือบล้านบาเรลคิดเป็น 3% ของกำลังการผลิตของเอเปก(เอเปกผลิตวันละประมาณ30 ล้านบาร์เรล ประเทศเราใช้น้ำมันมากกว่าประเทศพัฒนาแล้วบางประเทศในยุโรปอีกครับ) ถ้าก่อสงครามแล้วนานาชาติไม่เอาด้วยแค่โดนบล็อกเรือน้ำมันก็ยุ่งแล้วครับ
ผมว่าถึงทหารรุ่นเก่าเริ่มจางหายแต่รุ่นเก่าคงถ่ายทอดประสบการณ์ให้รุ่นใหม่เยอะพอสมควรแหละครับก็เหมือนกับครูมวยไงที่เก่งๆมักถ่ายทอดประสบการณ์ให้ลูกศิษย์ว่าผ่านไรมากบ้างถ้าเจออย่างนี้จะแก้ยังไง คิดว่าพิษสงคงมีอยู่แหละครับ มาเลย์มันเคยรบกับใครมั่งเป็นก็แค่สนับสนุนการก่อการร้ายชายแดนใต้เรานี่แหละ
ต่อยมวยก็เก่งอยู่ เคล็ดวิชาก็ไม่ได้ไปไหน คนรุ่นใหม่ตะหาก ที่ต้องฝึกจิตใจ ให้พร้อมรบ ถึงมันจะเป็นอาวุธเหมือนเศษเหล็กก็เถอะ เวียดนามเคยทำเป็นตัวอย่างมาแล้ว สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การที่ไม่มีใจในการรบ และอ่อนซ้อมคร้าบๆๆๆๆๆๆ........
เอาว่าไม่มองแบบยกตัวเอง ลองแบ่งเป็น ทหาร/การทำสงครามสามยุค
ยุคเกษตรกรรม ทหารรบเดินเท้าไกลๆ สองสามร้อยกิโลเพื่อไปรบ อยู่กินแบบไม่ต้องพึ่งพาระบบส่งกำลังมากนัก เครื่องกันหนาวใช้สุมไฟเอา
ยุคอุตสาหกรรม รถถัง ทหารราบยานยนตร์ ระบบส่งกำลัง
ยุคIT Cyber Warrior ผสมผสานกับ คนที่ชอบการวิ่งมาราทอน ที่มีของเล่นไฮเทค
พม่า เป็นกองทัพยุคเกษตรกรรม ที่ไม่โง่ รู้จักการ Outsource สามารถรบแบบไหนก็ได้
ลาว ก็ยุคเกษตรกรรม ที่มีพอกำลังพอตัว รบแบบกองทัพแดง พร้อมสลายเป็นกองโจร
เขมร ยุคเกษตรกรรม เก่งในการรบแบบกองโจร
สิงคโปร เป็นกองทัพยุค IT คนน้อยแต่มีประสิทธิภาพ เครื่องไม้เครื่องมืออยู่ในระดับแนวหน้าของโลก
มาเลยเซีย เป็นกองทัพยุคอุตสาหกรรม ที่พัฒนาเป็นกองทัพยุค ITแล้ว ในบางเรื่องอาจยังด้อยกว่าสิงคโปรนิดหน่อย แต่การที่ไม่ผูกยึดตัวเองกับอเมริกาอย่างสิงค์โปรทำให้สามารถเลือกใช้ แต่ของที่มีประสิทธิภาพสูงสุดได้
ลาวกับกัมพูชานี้ไม่สันทัดนักครับแต่สำหรับพม่านี้ ถ้าเคยได้อ่านหนังสือชื่อ SIGNIT:Secret of Myanmar Intelligent Warfare (ไม่ทราบว่าเขียนชื่อหนังสือถูกหรือไม่)
เขียนเมื่อปี1998 เนื้อหาของหนังสือนี้กล่าวถึง"สงครามข่าวสาร" ในพม่า ตั้งแต่ปี1945ที่ญี่ปุ่นได้สร้างเครื่องข่ายศูนย์ข่าวกรองในพม่า
จนถึงยุคสงครามกลางเมืองที่รวบรวมข้อมูลของสงครามข่าวสารและระบบการสื่อสารของชนกลุ่มน้อยต่างๆเช่นไทยใหญ่,คะย้า,กระเหรี่ยง
จนถึงปัจจุบันที่ลงรายละเอียดโครงสร้างของSPDC และหน่วยข่าวกรองMIS(โดนยุบไปแล้วแทนที่ด้วย MAS)ด้วย
บทสุดท้ายกล่าวถึงการข่าวสารของประเทศต่างที่เกี่ยวข้องกับพม่า เช่น สิงคโปร์ที่มีเครื่องบินจารกรรมElectronicบินแถวทะเลอันดามัน รัสเซียและจีนที่มีศูนย์ข่าวกรองที่สถานทูต รวมถึงไทยที่มีระบบตรวการณ์ในฐานตามแนวชายแดนซึ่งมีสหรัฐฯเข้ามาแทรกซึมด้วย
อ่านดูคราวๆนี้ดูเหมือนว่า พม่านี้มีความตื่นตัวและให้ความสำคัณต่อ Cyber Warfare มากทีเดียว เห็นได้จากว่าพม่าให้ความสำคัญกับการวิจัยระบบข่าว โฆษณาประชาสัมพันธ์ การสื่อสาร การจารกรรมทางElectronic และระบบITมากอย่างไม่น่าเชื่อ และประเทศมหาอำนาจต่างๆต่างก็ทำสงครามข่าวสารอย่างเอาเป็นเอาตายในพม่าด้วย จากเวลาที่หนังสือเขียนถึงตอนนี้เขาคงพัฒนาระบบส่วนนี้คงไปไหนต่อไหนแล้วครับ(ถึงจะสะดุดไปบางช่วงก็ตามเถอะ)
ผมมองว่าเรามีอาวุธเพื่อห้องปราม คือการบอกประสิทธิภาพทางการรบของประเทศว่า อย่าได้มายุ่งต่อผลประโยชนชืของชาติ
แต่ตอนนี้ผมคิดว่ามาตรฐานในการคงสภาพความพร้อมรบของไทยอยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่จะยอมรับได้ในมาตรฐานโลก หรืออาจเรียกได้ว่า ความพร้อมที่รบจริงๆ อาจมีน้อยมาก ขณะเดียวกัน งบทางทหาร การข่าวที่เน้นไปทางข่าวกรอง ข่าวความมั่นคง ข่าวกรองทางทหาร โดนตัดไปมาก และถูกใช้ไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองพอสมควร ยังไม่รุ้เลยว่า ถ้างานการข่าวเราไม่ดีพอ เราจะรู้เขาแล้วเราจะรบกับคนอื่นได้ไง
มีแต่อาวุธใช่ว่าจะชนะนะครับ อาวุธดี ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธี การข่าว คุณภาพกำลังพลก็ไม่ได้ถูกปรับปรุงมาหลายปี ตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจ แถมเราไม่ได้ส่งทหารไปรบจริงๆมากว่า 30 ปี แม้ว่าส่งไปต่างประเทศบ้าง แต่ก็ไม่ได้นกำลังรบไป ประสบการณืเราแม้ว่าอาจเท่าเทียมกันในภูมิภาคนี้ แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะสู้ได้แค่ไหน
ขณะที่ภัยก่อการร้ายที่กำลังเพิ่มมากขึ้น เรากลับจะเพิ่มอาวุธที่สู้ในการรบแบบเต็มรูปแบบมากกว่า ผมมองว่า การเพิ่มในส่วนนั้นก็ดี แต่ส่วนที่เป็นในเรื่องภัยก่อการร้าย เราต้องเพิ่มงบ การข่าว การต่อต้านการข่าว กองกำลังพิเศษเพื่อต่อต้านการก่อการร้าย โดยเฉพาะ การรบในเมืองและพื้นที่ปิด
แต่ดูๆแล้ว ทหารทุกวันนี้ กลับหันหน้าเข้าสู่การเมืองมากขึ้น อาจทำให้ความคิดในเรื่องความมั่นคงอาจลดลง มาเพิ่มเรื่องการเมืองมากขึ้น นั่นคงไม่ดีแหงๆ