ความคิดเห็นที่ 1
การจัดซื้อยานเกราะล้อยางของกองทัพบกยังเดินหน้าต่อไปโดยไม่สนเสียงท้วงติงและขอให้ชี้แจงจาก สตง. ร้อง ผบ.สูงสุด นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ทบทวนใหม่
ความคืบหน้าในการจัดซื้อยานเกราะล้อยางของกองทัพบกขณะนี้ทางกองทัพบกได้นำเสนอเรื่องมายังผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สูงสุด) เพื่อขอความเห็นชอบ และนำเรื่องเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีขออนุมัติจัดซื้อจัดจ้าง ตามลำดับต่อไป
ในขณะเดียวกัน นายมงคล สติพลัน ตัวแทนบริษัทที่เข้าร่วมประมูลซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรม ได้ทำหนังสือลงวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา ร้องเรียนไปยัง ผบ.สูงสุด, นายกรัฐมนตรี และรมว.กระทรวงกลาโหม เพื่อขอให้ทบทวนการจัดซื้อจัดจ้างดังกล่าวใหม่
ในหนังสือร้องเรียนการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง มูลค่า 4,000 ล้านบาท ระบุว่า สืบเนื่องจากผลการคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยางตามประกาศเชิญชวนของกองทัพบก ได้เกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสนอและแข่งขันราคา
ขณะนี้ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เพื่อให้ชี้แจงการดำเนินการประกาศเชิญชวนและคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยางที่กองทัพบก (ทบ.) ต้องการจัดหาเพื่อประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มูลค่า 4,000 ล้านบาท
ในเรื่องดังกล่าว สตง.ได้รับทราบข้อมูลว่า ทบ.กำหนดให้ส่งเอกสารที่ศูนย์การทหารราบปราณบุรีและที่กองจัดหากรมกรมสรรพาวุธทหารบก ภายในวันที่ 16 พฤษภาคม 2550 เวลา 16.30 น. โดยมีบริษัทเข้าร่วมการคัดเลือกในวันดังกล่าวตามจำนวนที่ได้ยื่นซอง แต่ไม่ปรากฏว่ามีการยื่นซองเอกสารของประเทศยูเครนในวันดังกล่าว
ทาง สตง.ได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารบก ขอทราบข้อมูลว่าหลังจากหมดกำหนดวันเวลาดังกล่าว ทางกองทัพบกยังเปิดโอกาสให้ยื่นเอกสารภายหลังเวลาที่กำหนดด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมและอาจเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542
ทาง สตง.ได้ขอให้ผู้บัญชาการทหารบกชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมเอการหลักฐาน ปรากฏว่ากองทัพบกไม่สามารถตอบคำชี้แจงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินได้ชัดแจ้งในทุกคำถามและทุกประเด็นเพื่อความโปร่งใส
ขณะนี้ ทางกองทัพบกได้ส่งเรื่องสรุปขออนุมัติซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางจากประเทศยูเครนโดยนำเสนอออกจากกองทัพบกมาที่กองบัญชาการทหารสูงสุด และขณะนี้เรื่องขออนุมัติซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ได้อยู่ในขั้นตอนของกองส่งกำลังบำรุง กองบัญชาการทหารสูงสุด เพื่อให้ผู้บัญชาการทหารสูงสุดลงนามและส่งเรื่องให้กับปลัดกระทรวงกลาโหมเพื่อนำเรียนรัฐมนตรีกลาโหม อนุมัติ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติและเห็นชอบในขั้นตอนการจัดซื้อดังกล่าวในระบบรัฐต่อรัฐ
ผู้ร้องเรียนระบุว่า การกระทำดังกล่าวส่อเจตนาในการทุจริตโดยชัดแจ้ง โดยไม่คำนึงถึงหนังสือท้วงติงของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งเป็นผู้รักษาระเบียบในการใช้เงินของหน่วยงานของรัฐและการกระทำโดยไม่ฟังคำท้วงติงที่มีเหตุผลของฝ่ายกฎหมาย ถือว่าผู้กระทำเจตนาจงใจกระทำความผิดโดยไม่ยินดียินร้ายต่อข้อกฎหมายใดๆ ทั้งสิ้นและเป็นการทำให้ประเทศชาติเสียหายในด้านงบประมาณแผ่นดิน จึงขอให้มีการตรวจสอบและทบทวนความถูกต้องเพื่อจะได้ไม่เกิดความเสียหายแก่ประเทศชาติต่อไป
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
03/09/2007 11:46:23
ความคิดเห็นที่ 2
สตง.จี้ตรวจสอบโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง 4,000 ล้าน แทงหนังสือถึง ผบ.ทบ. แจงยิบขั้นตอนเชิญชวนและคัดเลือกเอกชนผู้ชนะในเบื้องต้น ชี้อาจเกิดปัญหาความไม่เป็นธรรมในการเสนอและแข่งขันราคา พร้อมสั่งการให้ตรวจสอบข้อร้องเรียนการจัดซื้อปืน 30,000 กระบอก งบ 1,000 ล้าน แพงกว่าราคากลางเท่าตัว
รายงานข่าวจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) แจ้งว่า ขณะนี้ทางสตง.ได้ทำหนังสือถึงผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เพื่อให้ชี้แจงการดำเนินการประกาศเชิญชวนและคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ที่กองทัพบก (ทบ.) ต้องการจัดหาเพื่อประจำการในกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ สำหรับใช้ปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 48 คัน มูลค่า 4,000 ล้านบาท ซึ่ง สตง. ได้รับทราบข้อมูลว่า ทบ.กำหนดให้ส่งเอกสารที่ศูนย์การทหารราบปราณบุรี และที่กองจัดหากรมสรรพาวุธ ทหารบก ภายในวันที่ 16 พ.ค. 2550 โดยมีบริษัทเข้าร่วมการคัดเลือกในวันดังกล่าว จำนวน 10 บริษัท
ทาง สตง. ยังได้รับทราบข้อมูลว่า หลังจากกำหนดวันเวลาดังกล่าว ทางทบ. ยังเปิดให้ยื่นเอกสารภายหลังเวลาที่กำหนดด้วย ซึ่งการกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมต่อการเสนอราคาและแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม และอาจเป็นการกระทำที่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ทาง สตง. ขอให้ผบ.ทบ. ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐาน
รายงานข่าวแจ้งว่า ประเด็นที่ สตง. ให้ กองทัพชี้แจง อาทิเช่น ประกาศเชิญชวนคัดเลือกแบบยานเกราะล้อยางพร้อมรายละเอียดที่กำหนดให้ยื่นเอกสารภายในวันที่ 16 พ.ค. 2550 พร้อมกับสำเนาที่จะต้องส่งให้ สตง. เพราะเป็นการจัดซื้อจัดหาที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป, รายชื่อบริษัทที่มายื่นเอกสารทุกรายในวันที่ 16 พ.ค. 2550, หลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกของคณะกรรมการทั้งด้านเอกสาร เทคนิก การไปดูงาน และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ใช้ในการประกอบการพิจารณาคัดเลือก และยังขอผลการพิจารณาในเบื้องต้นของการคัดเลือกตามประกาศเชิญชวนดังกล่าว รวมถึงขั้นตอนล่าสุดที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้
สำหรับโครงการจัดหายานเกราะล้อยางฯ คณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบกได้พิจารณาคัดเลือกคัดเลือกแบบเบื้องต้นจำนวน 4 แบบ ได้แก่ แคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) รัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ฟินแลนด์ และยูเครน (บริษัท UKRSPETS Export จำกัด) และสุดท้ายได้ข้อยุติในการเลือกยานเกราะล้อยาง BTR 3 E 1 ของบริษัทยูเครน พร้อมกับเสนอให้พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ลงนามอนุมัติ แต่เมื่อเกิดการร้องเรียนว่าการจัดหาครั้งนี้ไม่ถูกต้องตามขั้นตอน และสตง.เข้ามาตรวจสอบทำให้ พล.อ.สนธิ ส่งเรื่องกลับไปให้คณะกรรมการฯพิจารณาใหม่อีกครั้ง
นอกจากนั้น สตง.ยังสั่งสอบการจัดหาจัดซื้อปืนเล็กกล (ปลก.) ขนาด 5.56 มม. จำนวน 1,361 กระบอก วงเงิน 270 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2550 2552 และโครงการจัดหาจัดซื้อปืนเล็กยาว (ปลย.) ขนาด 5.56 กระบอก จำนวน 30,000 กระบอก วงเงิน 1,000 ล้านบาท ปีงบประมาณ 2550 2552 เนื่องจากกองทัพจัดซื้อในราคาสูงกว่าราคากลางเท่าตัว ตามที่มีข้อร้องเรียนมายัง สตง.
โครงการดังกล่าว สืบเนื่องมาจากแผนกองทัพบก ปี 2550 2554 ทบ.มีความต้องการปืนดังกล่าวประจำการในทบ. ทางทบ.จึงแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบปืน และเมื่อวันที่ 9 พ.ค. 2550 ได้ออกประกาศคณะทำงานเชิญชวนบริษัทต่างๆ เสนอข้อมูลปืนเพื่อให้ผู้ผลิตทั้งในและต่างประเทศเสนอข้อมูลมายังคณะทำงานภายในวันที่ 16 พ.ค. 2550 ซึ่งวันดังกล่าว มีบริษัทสนใจเสนอข้อมูล 10 บริษัท ต่อมาสละสิทธิ์ไป 1 บริษัท จากนั้นเมื่อวันที่ 22-23 พ.ค. ที่สโมสรกองทัพบกได้มีบรรยายและตอบข้อซักถามของ 9 บริษัท
เมื่อวันที่ 25 พ.ค. ทางกองทัพบกได้ประชุมพิจารณาสรุปผลคะแนน โดย ปลย. เลือกไว้ 3 แบบ จากอิสราเอล, สิงคโปร์ และเยอรมนี ส่วน ปลก. เลือกไว้ 3 แบบ จากอิสราเอล, เกาหลีใต้, สิงคโปร์ ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. มีการประชุมคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก ปรากฏว่า คณะกรรมการฯ สรุปให้บริษัทจากอิสราเอลได้รับการรับรองแบบบริษัทเดียว โดยราคาอาวุธปืนได้เสนอ ปลย.กระบอกละ ราคา 1,950 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 64,340 บาท) และ ปลก. กระบอกละ 7,700 เหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 254,100 บาท)
ข้อร้องเรียนต่อสตง. คือ ราคากลางของสำนักงบประมาณ ปลย.ตั้งไว้ที่ 31,900 บาท และ ปลก.ประมาณ 196,000 บาท ดังนั้นบริษัทจันทรเกษม อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งเป็นบริษัทตัวแทนของอิสราเอล ได้นำเสนออาวุธสูงกว่าราคากลางเกือบเท่าตัวและได้รับการพิจารณาทางเทคนิกดีที่สุดน่าจะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ทำให้กองทัพบก จะต้องลดปริมาณจำนวนอาวุธปืนลง จาก 30,000 เหลือครึ่งหนึ่งประมาณ 16,000 กระบอกเพื่อให้อยู่ในงบประมาณ
ซึ่งขณะนี้กองทัพบกได้ดำเนินการทำแผนจัดซื้อจัดจ้างปืนดังกล่าวและอยู่ในขั้นตอนที่ใกล้จะลงนามในสัญญาผูกพันงบประมาณ
โดยคุณ
rinsc_seaver เมื่อวันที่
03/09/2007 11:48:48
ความคิดเห็นที่ 3
โดยคุณ dboy เมื่อวันที่
03/09/2007 13:12:45
ความคิดเห็นที่ 4
โดยคุณ nars เมื่อวันที่
04/09/2007 14:08:04
ความคิดเห็นที่ 5
อย่างนี้แหละคับกว่าจะอาวุธซักอย่างสอบกัยอยู่นั้นแหละ
เห็นใจทหารที่ตายทุกวันบ้างดิจะรอให้ตายหมดหรอพวกนักการเมืองถึงจะซื้อ
พวกนักการเมืองชั่ว
โดยคุณ raptor เมื่อวันที่
06/09/2007 16:09:22