หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ข้อคิดเห็นเรื่องปรับโครงสร้างของ ทร.

โดยคุณ : rinsc_seaver เมื่อวันที่ : 17/09/2007 15:13:33

การปรับโครงสร้างกองทัพเรือ (เริ่มใช้ ปี 2551)

1. จัดตั้งสำนักงานพระธรรมนูญทหารเรือ (สธน.ทร.) เป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ โดยแยกภารกิจหน้าที่ออกจาก กรมสารบรรณทหารเรือ

2. จัดตั้งกรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ (สสท.ทร.) โดยรวมงานด้านเทคโนโลยี สารสนเทศให้กับ กรมสื่อสารทหารเรือ

3. เปลี่ยนชื่อสำนักงานตรวจ บัญชีทหารเรือ (สตช.ทร.) เป็น สำนักงานตรวจสอบภายในทหารเรือ (สตน.ทร.) เพื่อเพิ่มกิจ ในการตรวจสอบภายในของหน่วย

4. จัดตั้ง ทัพเรือภาคที่ ๑, ๒ และ ๓ โดยปรับฐานทัพเรือสงขลา และฐานทัพเรือพังงา เป็นหน่วยขึ้นตรงกับทัพเรือภาคที่ ๒  และ ๓  ตามลำดับ และปรับหน่วยบางส่วนจากฐานทัพเรือสัตหีบเป็นหน่วยขึ้นตรงทัพเรือภาคที่ ๑

5. ปรับลดกองเรือป้องกันฝั่งซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ ให้เป็นกองเรือยามฝั่งขึ้นตรงต่อกองเรือยุทธการ โดยมีภารกิจในการจัดเตรียมกำลังเรือยามฝั่ง

6. รวมกองเรือยกพลขึ้นบกกับกองเรือยุทธบริการ เป็นกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ

7. ขยายหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ เป็นหน่วยบัญชาการสงคราม พิเศษทางเรือ

8. จัดตั้งสำนักจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ

9. ยุบรวมกรมยุทธศึกษาทหารเรือ (ยศ.ทร.) กับสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง (สรส.) เข้าไว้ด้วยกัน เป็นกรมยุทธศึกษาทหารเรือ

 

คิดเห็นยังไงบ้างครับ โดยเฉพาะข้อ 4-8





ความคิดเห็นที่ 1


ขอประเดิมก่อนครับ

4. อันนี้เป็นสิ่งที่ควรทำมาระยะหนึ่งแล้ว สำหรับการจัดตั้งทัพเรือภาคที่ 1-3 เพื่อมีอำนาจในการใช้กำลังของ ทร. ที่กระจายอยู่ตามเขตพื้นที่รับผิดชอบของ กองเรือภาคที่ 1-3 เดิม ทั้งนี้ เข้าใจว่ากองเรือภาคเดิมมีขอบข่ายอำนาจใช้กำลังเฉพาะหน่วยที่อยู่ภายใต้ กร. เท่านั้น คือ กองเรือต่างๆ, กบร. และ นสร. ไม่รวมหน่วยอื่นๆ เช่น นย., สอ./รฝ. หรือหน่วยกำลังอื่นๆ ของ ทร. ในพื้นที่รับผิดชอบ การตั้งทัพเรือภาคจะทำให้การควบคุมและสั่งการจาก สปก.ทร. ทำได้ครอบคลุมกว่าเดิม

5. ข้อนี้เห็นด้วยมากที่สุด ในส่วนของการปรับลดกองเรือป้องกันฝั่ง เนื่องจากเดิมภารกิจของ กปฝ. คือ บังคับใช้กฎหมายในทะเล (ทำหน้าที่เหมือนยามฝั่ง) โดยผ่านอำนาจการใช้กำลังเรือของ กร. ทั้งนี้ กปฝ. เดิมเป็นหน่วยขึ้นตรง ทร. แบ่งเป็น กปฝ. เขตต่างๆ (แบ่งเหมือนกองเรือภาค) แต่แยกออกจากกองเรือภาคไม่เกี่ยวข้องกันโดยตรง นัยว่า ทร. ต้องการแยกอำนาจการใช้กำลังเป็น 2 ส่วน คือ ไกลฝั่งเป็นหน้าที่ของกองเรือภาค และใกล้ฝั่งเป็นของ กปฝ. (เหมือน US Navy รบนอกประเทศเป็นหลัก และ US Coastguard เน้นป้องกันฝั่ง) ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนขึ้นใน ทร. เพราะ ทร.ไทย ไม่ได้ใหญ่เหมือนสหรัฐฯ ไม่ได้ปฏิบัติการนอกประเทศอยู่เสมอ การปรับใหม่ครั้งนี้ลด กปฝ. เป็นกองเรือยามฝั่ง (น่าจะย่อว่า กยฝ.) และให้เป็นหน่วยขึ้นตรง กร. มีหน้าที่เตรียมกำลัง เหมือนกับกองเรืออื่นๆ ใน กร. เช่น กองเรือตรวจอ่าว (กตอ.) กองเรือฟริเกต เป็นต้น ทีนี้พอมีการปรับเช่นนี้ ก็ทำให้เกิดประเด็นขึ้นมาอีกว่าแล้ว ทร. จะแบ่งเรืออะไรมาอยู่ในอัตราของ กยฝ. ที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ (เพราะ กองเรือเหล่านี้มีหน้าที่เตรียมกำลัง ดังนั้นจึงต้องมีเรือรบในอัตราของหน่วย) ถ้าจะเป็นไปได้มากที่สุด ก็น่าจะเป็นเรือในอัตราของ กตอ. เนื่องจากภารกิจและประเภทของเรือมีความเหมาะสมที่สุด แต่เรือลำไหนบ้างก็ยังไม่ทราบได้ แต่อาจเป็นเรือตรวจการณ์ชายฝั่งหรือใกล้ฝั่ง ในกลุ่มเรือ ต. ต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก และไม่มีชื่อเรือเฉพาะ ส่วน กตอ. เดิม จะหันไปประจำการด้วยเรือ OPV และเรือตรวจการณ์ปืน ที่คาดว่าจะมีการจัดสร้างเพิ่มเติม รวมกับเรือเดิมในอัตราของ กตอ. ต่อไป

6. การปรับคราวนี้ย้อนกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก เพียงแต่ชื่อไม่เหมือนเดิม การยุบ กยบ. กับ กยพ. เข้าด้วยกัน น่าจะมาจากสาเหตุที่เรือของ 2 กองเรือนี้ มีการปลดประจำการออกเป็นจำนวนมาก (เรือของ 2 กองเรือนี้มีอายุมากกว่าเพื่อน) ทำให้เหลือเรือในอัตราของแต่ละหน่วยน้อยลง ในอดีตกองเรือทั้งคู่เคยรวมกันมาก่อน ในชื่อของกองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ แต่มาแยกกันภายหลัง

7. อันนี้น่าสนใจมาก คำว่าหน่วยบัญชาการนั้นใช้กับหน่วยที่มีกำลังขนาดไม่เกิน 2 กองพล พร้อมหน่วยสนับสนุนและหน่วยฝึกศึกษา เช่น นย. ก็มี 1 กองพล นย. เป็นหลัก หรือ สอ./รฝ. มี 2 กรม สอ. + 1 กรม รฝ. เป็นต้น ทีนี้ นสร. เดิม มีกำลังพลหลักๆ เพียงระดับกองพันเท่านั้น กองพันกับกองพลนั้นต่างกันมากทีเดียว แต่งานนี้ ทร. อาจเพียงต้องการพัฒนาหน่วย นสร. เดิมให้ครบวงจรมากขึ้นเท่านั้นก็เป็นได้ คือ มีการเพิ่มส่วนสนับสนุนและส่วนการฝึกศึกษาเข้าไป (อาจเป็นรูปของกองพันสนับสนุน + ศูนย์ฝึก นสร.) รวมตั้งอาจมีการตั้งหน่วยเรือปฏิบัติการพิเศษขึ้นมาด้วย ดังที่เราเห็นข่าวการจัดซื้อเรือปฏิบัติการพิเศษไปแล้วจำนวนหนึ่ง (ลักษณะเหมือนเรือ Mk V ของ US Navy SEAL)

โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 10/08/2007 14:44:47


ความคิดเห็นที่ 2


8. ข้อนี้เห็นด้วยมากทีเดียว หากว่าสำนักจัดหายุทโธปกรณ์ทหารเรือ ที่จัดตั้งใหม่นี้ จะมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานอาวุธทั้งหมดของ ทร. ที่จะมีการจัดซื้อไม่ว่าจะเป็นความต้องการมาจากหน่วยใดก็ตาม อันนี้เราทราบกันอยู่แล้วว่า ทร. มีปัญหาเรือแบบของอาวุธ ซึ่งมีมากเหลือเกิน ทำให้การซ่อมบำรุง การสำรองคลัง อาจมีปัญหาได้ ทำให้ความพร้อมรบต่ำลง และกำลังพลขาดความชำนาญในการดูแลรักษาและการใช้งาน ดังนั้นหากมีหน่วยงานเช่นนี้แล้วปัญหาเหล่านี้อาจได้รับการดูแลมากขึ้นกว่าเดิม
โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 10/08/2007 14:49:06


ความคิดเห็นที่ 3


ลืมบอกไปว่าข้อมูลข้างต้นมาจากบทความของ ผบ.ทร. ครับ
โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 10/08/2007 14:49:55


ความคิดเห็นที่ 4


7. เข้าใจว่ากองทัพเรือมีความต้องการที่จะขยายขนาดของ นสร.เพื่อรอบรับภารกิจที่มากขึ้นในอนาคตครับซึ่งนอกจากส่วนสนับสนุนและการฝึกศึกษาแล้ว อาจรวมไปถึงการขยายส่วนกองรบพิเศษด้วยครับ ซึ่งถ้าเป็นไปในแนวทางนี้ก็คงจะมีการเพิ่มจำนวนบุคลากรในส่วนกำลังรบเพิ่มอยู่จากเดิมและส่วนกำลังยานพาหนะและเรือปฏิบัติการพิเศษครับ

ส่วนตัวนี้คิดว่ารูปแบบการจัดกำลังและฝึกของหน่วย นสร.นี้จะปรับไปในแนวของหน่วย US Navy SEAL มากขึ้นครับ เช่นอาจจะมีการปรับแผนการฝึก นทต.ใหม่(ปรับระยะเวลา รายละเอียดการฝึก เช่นถ้าฝึกไม่ผ่านต้องออกในช่วงไหนด้วยอุบัติเหตุให้กลับมาฝึกใหม่รุ่นต่อไปจากช่วงที่ไม่ผ่านได้แบบ US Navy SEAL) ร่วมถึงการฝึกกำลังพลสำหรับหน่วยเรือปฏิบัติการพิเศษในหน่วยเองด้วย

แต่สงสัยว่าในส่วนการปรับโครงสร้างนี้ไม่มีการกล่าวถึง สอ./รฝ. และ นย. เลยครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 10/08/2007 19:10:10


ความคิดเห็นที่ 5


อืม ไทยก็จะมียามฝั่งกับเค้าแล้ว ไม่ทราบว่าหน่วยยามฝั่งนอกจากหน้าที่ ป้องกันการกระทำความผิดทางทะเลแล้ว ยังมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลแบบUSCG หรือไม่?  จริงๆแล้ว อยากให้ เอาตำรวจน้ำ รวมกับ หน่วยยามฝั่งของทร. ลดความซ้ำซ้อนลง แล้วจัดแยกเป็นหน่วยแยก แบบเดียวกับUSCG น่าจะดี   
โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 10/08/2007 19:41:31


ความคิดเห็นที่ 6


ไม่เห็นด้วยกับข้อ 4. ครับ และเห็นว่าหน่วยใช้กำลังทางเรือยังควรอยู่ภายใต้หน่วยขึ้นตรง ทร.เพียงหน่วยเดียว ซึ่งก็คือ กร. อย่างที่ผ่านมา โดยความเห็นส่วนตัวแล้ว ทั้งหน้าที่หลักของ ทร.ไม่ควรจะลงมาจัดการกับการใช้กำลังรบเอง เพราะ ทร. ก็มีงานบริหารระดับสูงและงานธุรการมากอยู่แล้ว การแบ่งมอบงานทางยุทธการ (การใช้กำลังรบและเตรียมกำลัง) ภายใต้ กร.เพียงหน่วยเดียว ตามสากลประเพณี โดยแบ่งเป็นกองเรือภาคที่ 1-3 จึงน่าจะเหมาะสมกว่า เนื่องจากจะทำให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา และหน่วยเตรียมกำลังกับหน่วยใช้่กำลังอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาระดับ นขต.เดียวกัน ซึ่งหากหน่วยใช้กำลังกับหน่วยเตรียมกำลังแยกขาดออกจากกันแล้ว อาจส่งผลให้เกิดปัญหาคนฝึกไม่ได้รบ คนรบไม่ได้ฝึก (เพราะ กร.จะไม่ได้เป็นหน่วยใช้กำลัง) ผิดกับคำขวัญของกองการฝึก กองเรือยุทธการที่ว่า "รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น"

นอกจากนี้ กองเรือยุทธการก็เป็นหน่วยเตรียมกำลังและหน่วยใช้กำลังมาตั้งแต่ครั้งยังเป็นกองเรือรบ (ชื่อหน่วยก็บอกอยู่) อีกทั้งการจัดการบังคับบัญชาของ ทร.สากลทั้วไปก็จัดหน่วยใช้กำลังไว้ภายใต้หน่วยงานระดับหน่วยขึ้นตรง ทร.เพียงหน่วยเดียว ไม่ได้ขึ้นกับ ทร.โดยตรง เช่น ทร.อังกฤษ (ซึ่งในอดีตเคยเป็น ทร.ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดและเราเคยอาศัยเอาเป็นแบบอย่าง จนได้สายรัดคางสีดำและอินทรธนูหูกระทะมา เป็นต้น) ก็มี Commander in Chief Fleet (เทียบเท่า ผบ.กร) ขึ้นตรงต่อ First Sea Lord / Chief of Naval Staff (เทียบเท่า ผบ.ทร.) และ ทร.สหรัฐ (ซึ่งปัจจุบันเป็น ทร.ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด และเราก็อาศัยเอาเป็นแบบอย่างจนได้เครื่องหมาย Surface Warfare และชุดดังดารีมา เป็นต้น) ก็มี Fleet Forces Command (เทียบเท่า ผบ.กร.) ขึ้นตรงต่อ Chief of Naval Operations (เทียบเท่า ผบ.ทร.)

ซึ่งจากทั้งสองตัวอย่างข้างต้น ทั้ง Commander in Chief Fleet และ Fleet Forces Command ก็มีหน้าที่จัดเตรียมกำลังรบ (Force Generation) การฝึก (Training) และการใช้กำลังรบ (Force Deployment) ซึ่งรวมถึงกำลังรบทางเรือ (Maritime Force ของ ทร.อังกฤษ หรือ NAVSURF ของ ทร.สหรัฐ) กำลังทางอากาศ (Fleet Air Arm หรือ NAVAIR) และ นย. (Marine/Amphib Force หรือ MARFOR)

ดังนั้นหากต้องการลดปัญหาเรื่องการใช้กำลังของ นย.และ สอ./รฝ. ร่วมกับกำลังทางเรือ แทนที่จะลดความสำคัญของ กร.ลงเป็นเพียงหน่วยเตรียมกำลังตามข้อ 4. น่าจะเพิ่มความสำคัญและรวมเอาการใช้กำลัง นย.และ สอ./รฝ. เข้าไว้ภายใต้ กร.ด้วย เพื่อให้ กร.เป็นหน่วยใช้กำลังโดยสมบูรณ์ (หวังว่าเพื่อนๆ นย.และ สอ./รฝ. คงไม่โกรธผมนะครับ) หรือท่านอื่นมีความเห็นอย่างไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ครับ

ก็ขอแสดงความเห็นเพียงเท่านี้ครับ อาจจะยาวไปหน่อย คงเป็นเพราะความเก็บกดและความหัวโบราณของผมเองที่ไม่อยากเห็น กร.ถูกลดระดับลงเพียงแค่สนองความต้องการเพิ่มอัตรานายพลเรือ ก็ได้แต่ภาวนาให้ผู้หลักผู้ใหญ่นึกถึงคำกล่าวหนึ่งบนผนังกองบัญชาการกองเรือตรวจอ่าว ที่ว่า "ไม่มีกองเรือยุทธการ ก็ไม่มีกองทัพเรือ"

โดยคุณ กัปตันนีโม เมื่อวันที่ 01/09/2007 16:04:38


ความคิดเห็นที่ 7


ในข้อที่ 4

ผมห่วงเรื่องการควบคุมสั่งการ หน่วยอื่นที่ไม่ได้เป็นหน่วยขึ้นตรงของ กร ครับ เช่น นย หรือ สอ ว่าเมื่อเวลาจะใช้กำลัง จะสามารถ สนธิกำลัง และ สั่งการอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

แต่ถ้า นย และ สอ มาขึ้นสมทบ กับ กับ กร ภาคแล้ว อย่างน้อยควรจะมีเก้าอี้ระดับ เสธ ของ นย และ สอ ที่ทำหน้าที่เสนอแนะ ให้ ผบ.กร
ภาค เพื่อตกลงใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสมครับ

ในข้อที่ 5

ยุบกองเรือป้องกันฝั่ง นขต ทร อันนี้เห็นด้วยเพราะไม่เห็นประโยชน์ของกองเรือนี้เลย ส่วนตั้งกองเรือยามฝั่ง เป็น นขต กร อันนี้ ผมว่ามันจะซ้ำซ้อน กับ กตอ. หรือไม่ครับ

ข้อที่ 6

สองกองเรือนี้ ยุบรวมก็ได้ครับ แต่ขอให้มองเค้าเป็นลูกเมียหลวงบ้าง ไม่ใช่เป็นลูกเมียน้อยแบบปัจจุบัน

ข้อที่ 7

ใหญ่ไปหรือเปล่าครับ สำหรับหน่วยบัญชาการกบ เพราะคำนี้ น่าจะเป็นการจัดหน่วยขนาด กองพล+ ถึง 2 กองพล ส่วน กบ นัดยังจัดเป็น กองรบ ชุดรบ อยู่ ถ้าจัดได้ขนาดนั้น จะเอาคนและยุทโธปกรณ์จากไหนมาเติมล่ะครับ

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 03/09/2007 10:58:53


ความคิดเห็นที่ 8


ข้อ 4 นั้น มองว่ากองทัพควรแยกหน่วยเตรียมกำลังกับใช้กำลังออกจากกันครับ หน่วยเตรียมกำลังก็มีหน้าที่ฝึกฝนด้วย อันนี้มองในภาพใหญ่เลย คือ เพื่อทำให้ บก.สส. นั้นมีอำนาจในการสั่งการใช้กำลัง โดยมี ผบ.เหล่าทัพ ทำหน้าที่เป็น เสธฯ ของ ผบ.สส. ครับ ดังนั้นใน บก.สส. ตามความคิด คือ จะมี ผบ.กกล.ร่วม (Joint Commander) ในแต่ละพื้นที่ของประเทศแยกตาม ทภ. ของ ทบ. ที่ใช้อยู่ในตอนนี้ และมี ผบ.กกล. ของแต่ละเหล่าทัพ ขึ้นตรง ทั้งหมดนี้ทำหน้าที่สั่งการใช้กำลังเท่านั้น เช่น ในพื้นที่ภาคใต้ จะมี แม่ทัพภาค 4, ผบ.กร.ภาค 2 หรือ 3 และ ผบ.พล.บิน 4 หน่วยงานก็คือ กองทัพภาคที่ 4, กองเรือภาคที่ 2 และ 3 และกองพลบินที่ 4 หรือในภาคกลาง จะมี แม่ทัพภาค 1, ผบ.กร.ภาค 1 และ ผบ.พล.บิน 1 ในลักษณะเดียวกัน  

โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 17/09/2007 15:13:33