หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


อยากรู้การรบที่ช่องบกจัง??

โดยคุณ : eragon เมื่อวันที่ : 09/08/2007 13:49:01

เห็นพูดกันจังเลยครับ สงครามช่องบกเนี่ย ผมเลยอยากทราบ เหตุผลที่รบกัน และ การรบตอนนั้นเราเป็นงัยบ้างได้ทราบมาว่าลูกปืนหมดเหรอครับแล้วหมดแล้วขอจากใครเอ่ย????





ความคิดเห็นที่ 1


"ทหารไทย" คุณเห็นคุณค่าแค่ไหน

ถึงแม้ว่าปัจจุบัน การสงครามขนาดใหญ่เป็นสิ่งที่ห่างไกลตัวเรามากแต่ การรบครั้งหนึ่งที่ นักการทหารควรจะศึกษานั่นคือการรบที่ช่องบก
ครั้งนั้น เรา สูญเสียกำลังพล ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๖๔ นาย
ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย,ลาว,กัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน มีเส้นทางติดต่อเดินข้ามไปมาหากันได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน มีป่าทึบยากแก่การตรวจการณ์ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ใช้เป็นแหล่งซ่อนพราง และกำบังเป็นอย่างดี
ปี พ.ศ.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้ใช้กำลังเข้าผลักดันและขับไล่กองกำลังต่างชาติ ตามแผนยุทธการ ดี-๘ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันป่ารกทึบ มีทุ่นระเบิด กับระเบิดในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายไทยประสบความยากลำบากในการเคลื่อนที่ และการดำเนินกลยุทธ์ ฝ่ายไทยสามารถผลักดันฝ่ายเวียดนามให้ถอนตัวออกจากที่มั่นบนเนินดังกล่าว แต่ฝ่ายเวียดนามยังคงควบคุม และยึดพื้นที่บริเวณเนิน ๕๐๐,๔๐๘,๓๘๒ และ ๓๙๖ อยู่
เมื่อ ธ.ค.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้กำหนดแผนยุทธการ ดี-๙ ใช้กำลังเข้าตีเพื่อผลักดัน และทำลายฝ่ายตรงข้าม ที่ยังยึดพื้นที่อยู่ โดยใช้กำลังจาก กรมทหารราบที่ ๑๖ (กองพันทหารราบที่ ๑๖๒) ปฏิบัติการเข้าตีในห้วง ม.ค.-ก.พ.๒๕๓๐ ถึง ๓ ครั้ง สามารถยึดที่หมาย เนิน ๓๙๖ ได้ ต่อมาได้จัดกำลังเพิ่มเติมจาก กรมทหารราบที่ ๖ (กองพันทหารราบที่ ๖๐๓) วันที่ ๒๕ มี.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติการโดยใช้กำลัง กองพันทหารราบที่ ๑๖๒ กองพันทหารราบที่ ๖๐๓ และกองกำลังทหารพราน เข้าตีต่อที่หมาย เนิน ๔๐๘ และเนิน ๓๘๒ รวมทั้งใช้กำลังจาก ร้อยลาดตระเวณระยะไกล กองกำลังสุรนารี จัดกำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการโจมตีที่หมาย หลังเนิน ๔๐๘ ของฝ่ายเวียดนาม ฝ่ายไทยสามารถตีที่หมายได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาที่หมายได้ เนื่องจากถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง อย่างหนาแน่น จึงต้องถอนตัวออกจากที่หมาย
วันที่ ๑ เม.ย.๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๒ ได้จัดตั้งที่บัญชาการทางยุทธวิธีขึ้น เพื่อควบคุม และอำนวยการยุทธ ออกแผนยุทธการเผด็จศึก สั่งใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวณระยะไกล, ๒๗ ร้อยทหารพราน., ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วย ปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ กองพลทหารราบที่ ๖ ได้รับคำสั่งให้จัดกำลังเพิ่มเติม จากกรมทหารราบที่ ๖ และกรมทหารราบที่ ๒๓ วันที่ ๑๔ เม.ย.๒๕๓๐ กำลังฝ่ายไทยใช้กำลังทุกส่วนทำการเข้าตีที่หมาย เนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ และ ๓๗๖ โดยพร้อมกัน ในขั้นต้นฝ่ายไทยสามารถเข้าที่หมายเนินต่างๆ โดยได้รับการต้านทานอย่างเบาบาง ต่อมาฝ่ายเวียดนาม ได้ทำการตีโต้ตอบ ระดมยิงด้วย ปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และ ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ใช้กำลังเข้าตีเป็นละลอก และต่อเนื่อง ฝ่ายไทยซึ่งมีเวลาจำกัดในการดัดแปลงที่มั่น ขาดความหนุนเนื่อง ในการส่งกำลัง เส้นทางยากลำบาก ไม่สามารถต้านทานได้ จึงทำการถอนกำลังออกจากที่หมายเนินต่าง ๆ
ภายหลังจากการเข้าตีในครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้พัฒนาแนวความคิดทางยุทธวิธี ในการเข้าสู่ที่หมาย ด้วยการใช้กำลังในลักษณะชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก เคลื่อนที่แทรกซึมเข้าหลายทิศทาง ทำการ ลาดตระเวณซุ่มโจมตี เจาะเส้นทางเข้าหาที่มั่น และริดรอนกำลังฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนกำลังลง ห้วง พ.ค.-มิ.ย.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ใช้กำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการเข้าตีต่อที่หมาย เนินต่าง ๆ ในลักษณะการยุทธแบบป้อมค่าย สามารถยึดฐานที่มั่น ฝ่ายเวียดนามได้บางส่วน ขุดคูติดต่อเจาะเข้าหาฐานที่มั่น กดดันฝ่ายเวียดนามอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งฝ่ายเวียดนามได้ถอนกำลัง ออกจากที่หมายเนินต่างๆ และแนวเขตประเทศไทย ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๐
การปฏิบัติการรบที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้สูญเสีย กำลังพล เสียชีวิต ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๖๔ นาย
สถานการณ์ในช่วงแรกของการรบ เวียดนามเป็นฝ่ายได้เปรียบ การรุกของฝ่ายไทยทำได้อย่างจำกัดและยากลำบากเพราะเป็นป่าทึบ และเวียดนามได้วางกับระเบิดไว้จำนวนมาก นอกจากนั้นแหล่งน้ำบริเวณดังกล่าวยังถูกเวียดนามใส่สารพิษลงไป ซึ่งสารตัวนี้จะมีฤทธิ์ถึง ๓ ปี ถึงแม้น้ำจะแห้งไปแล้วก็ตาม ซึ่ได้มีการส่งตัวอย่างน้ำไปให้กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ทำการตรวจสอบและผลยืนยันว่าน้ำทุกแหล่งที่ส่งมามีสารพิษเจือปน ปัญหาหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับทางไทยเป็นอย่างมาก็คือเรื่องกับระเบิด ซึ่งเป็นชนิดใหม่ มีขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้การฝังแบบปกติ แต่เป็นลูกเล็ก ๆ ซึ่งทางเวียดนามจะส่งกองกำลังแทรกซึมเข้ามาเป็นชุดเล็ก ๆ นำระเบิดมาวางตามแนวป่า และพงหญ้า และถอนกำลังออกไปอย่างรวดเร็ว ระบิดแบบนี้ไม่ทำให้ถึงตาย แต่ทำให้ทหารที่เหยียบขาขาดไปเกือบถึงหัวเข่า ซึ่งทหารที่บาดเจ็บส่วนมาก เนื่องมาจากกับระเบิด
จากรายงานของทหารบางหน่วยแจ้งมาว่าทางเวียดนามมีความสามารถในการรบกวนการติดต่อสื่อสารและเลียนเสียงระบบการสื่อสารของไทย ทันทีที่ทหารไทยติดต่อสั่งการกันทางวิทยุ ทหารเวียดนามจะยิงปืนใหญ่ใส่แหล่งกำลังเนิดเสียงทันที ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างลำบาก ซึ่งระบบนี้ เวียดนามน่าจะได้มาจากโซเวียต ทำให้ทางไทยปรับกลยุทธใหม่ ให้การติดต่อสื่อสารเป็นความลับมากขึ้น และลดการใช้วิทยุสื่อสารลง
ทางเวียดนามยังรุกกลับด้วยการส่งกำลังเข้าตีฐานทหารไทยอย่างหนัก โดยใช้ฐานปืนใหญ่ในลาวและกัมพูชายิงสนับสนุน ซึ่งทำให้การรบที่ช่องบกนี้มีความรุนแรงมาก กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ของไทยถูกส่งเข้ามาในพื้นที่สู้รบอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนด้วยกองกำลังทหารพรานจากค่ายปักธงชัย และหน่วยรบพิเศษจากลพบุรี ถูกส่งเข้าไปในลาวและกัมพูชา เพื่อค้นหาฐานที่ตั้งปืนใหญ่ และทำลายระบบการส่งกำลังบำรุง ในช่วงแรกของการรบฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบมาก แนวคิดการรบแบบเดิม ๆ ที่ทุ่มกำลังทหารจำนวนมาก การยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ และเครื่องบินทิ้งระเบิดใส่ข้าศึก ไม่ได้ผล เพราะทางฝ่ายเวียดนามมีการตั้งรับอย่างดี และโต้ตอบกลับอย่างหนัก ถึงแม้ทางไทยจะสามารถตีฐานของเวียดนามแตก แต่ก็ไม่สามารถที่จะยึดฐานได้ ทำให้แนวคิดการรบแบบป้อมค่าย ที่เคยใช้ได้ผลจากการรบที่เขาค้อ ถูกนำมาใช้กับการรบที่ช่องบก โดยฝ่ายไทยใช้การวางกำลังและระบบส่งกำลังสนับสนุนในแนวหลังให้มั่นคง และต่อเนื่อง จากนั้นใช้ทหารพราน ลาดตระเวณซุ่มโจมตีและแทรกซึมเข้าหาฐานข้าศึกอย่างช้าๆ โดยขุดบังเกอร์เข้าเกาะติดข้าศึกรวมถึงการซุ่มโจมตีฝ่ายเวียดนาม จากวีดีโอที่ทหารไทยบันทึกไว้ในการเข้าตีฐานของทหารเวียดนามแห่งหนึ่งนั้น ซึ่งมีทหารเวียดนามประมาณ 1 กองพันครอบครองอยู่และเป็นทหารภูเขา ทหารพรานจะขุดบังเกอร์รุกเข้าหาฐานทหารเวียดนามอย่างต่อเนื่องและไม่ยิงปะทะโดยไม่จำเป็น เมื่อเข้าไกล้ในระดับหนึ่งจะหยุด แล้วส่งกำลังและอาวุธเข้ามา ตรึงกำลังแบบเผชิญหน้าไว้ แบบมองเห็นหน้ากันได้เลย ทำให้ฝ่ายเวียดนามสับสนและพะว้าพะวง เพราะไม่ทราบว่าทหารไทยจะเอายังไง อีกทั้งยังอยู่ในระยะไกล้ฐาน ยากต่อการยิงปืนใหญ่ การเกาะติดฐานของทหารไทยโดยไม่เข้าโจมตี ทำให้ฝ่ายเวียดนามกดดันเป็นอย่างมาก ทางไทยได้ตั้งฐานปืนใหญ่สนับสนุนการเข้าตีซึ่งได้รับการพรางเป็นอย่างดี และปืนใหญ่สำหรับการยิงถล่มตอบกลับฐานปืนใหญ่ของเวียดนาม เมื่อทางไทยพร้อม กลางดึก ได้ส่งยิงปืนใหญ่และเครื่องบินรบแบบเอฟ ๕ เอฟ เข้าทิ้งระเบิดอย่างหนัก และได้เข้าตีฐานในตอนไกล้รุ่งเช้า การสู้รบเป็นไปอย่างหนักหน่วง ฐานของทหารเวียดนามในเขตลาวถูกทางไทยตรวจพบ และถูกระดมยิงปืนใหญ่ถล่มอย่างหนัก ทำให้ฐานปืนใหญ่ของเวียดนามและคลังกระสุนถูกถล่มราบทั้งฐาน เปลวไฟจากการระเบิดของคลังกระสุนของเวียดนาม มองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งการยิงถล่มครั้งนี้ทางไทยใช้เครื่อง แอล ๑๙ ในการลาดตระเวณและรายงานการยิง ซึ่งเป็นไปได้อย่างแม่นยำ จากการตีฐานครั้งนี้ ยึดศพทหารเวียดนามได้ 4๔๕ ศพ จับได้อีก ๑๒ คน ยึดอาวุธ ยุทโธปกรณ์จำนวนมาก รวมทั้งจรวดแซมแบบยิงประทับบ่าด้วย ทหารเวียดนามแตกถอยกลับเข้าไปในกัมพูชา
หลังจากสูญเสียฐานหลายแห่ง ทหารเวียดนามเริ่มถอนทหารออกไปจากพื้นที่กลับเข้าไปตั้งในกัมพูชา เนื่องจากการสูญเสีย และการส่งกำลังบำรุงที่ถูกรบกวนจากในเขตกัมพูชาเอง จากเขมรแดง และกองกำลังไม่ทราบฝ่าย กองกำลังเขมรแดงได้เข้าตีฐานของทหารเวียดนามที่ตั้งในเขตกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนการยิงปืนใหญ่จากฝั่งไทย ทำให้เวียดนามถูกตีขนาบ จึงต้องถอนกำลังกลับเข้ามาในเขตกัมพูชาเหมือนเดิม หลังจากนั้นทางไทยได้เข้ามายึดและตั้งแนวป้องกัน เนินต่างๆ อย่างแน่นหนา เป็นอันสิ้นสุดของการรบอันดุเดือดที่สุด
การที่เวียดนามอาจหาญเข้ามายึดเขตแดนไทยในบริเวณช่องบกนี้ มีนายทหารเวียดนามบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย เพราะถึงแม้ตำแหน่งที่ตั้งได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ยากต่อการเข้าตีของไทย แต่ด้านการส่งกำลังบำรุงด้านกัมพูชานั้น ยังไม่สามารถปราบกองกำลังเขมรแดงได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะถูกเขมรแดงรบกวนการส่งกำลังบำรุงได้ อีกทั้งในเขตลาวนั้น ก็ยังมีการเคลื่อนไหวของกองกำลังลาวเสรีอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการของเวียดนามในลาวด้วย แต่ผู้นำทางการทหารของเวียดนาม มั่นใจในความเข้มแข็งทางการทหาร และประสบการณ์รบของตน ข้อขัดค้านนี้จึงไม่เป็นผล แต่ก็เป็นจริงและเป็นที่ประจักษ์จากการรบในเวลาต่อมา.

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/08/2007 11:07:52


ความคิดเห็นที่ 2


กว่าจะมาเป็นช่องบก ตอนที่ ๑

หลังจากกองทัพเวียดนามเหนือเข้ายึดกรุงไซ่ง่อนได้ในวันที่ ปี ๒๕๑๘ เวียดนามเหนือและเวียดนามใต้ได้รวมเป็นประเทศเดียวกัน ไซ่ง่อนถูกเปลี่ยนชื่อเป็นโฮจิมินห์ ประชาชนชาวเวียดนามใต้จำนวนมาก หนีออกนอกประเทศทางเรือมาที่ประเทศมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย

หลังจากนั้นปี ๒๕๑๙ กองทัพเขมรแดง ได้นำกำลังบุกยึดกรุงพนมเปญได้ ประชาชนชาวกัมพูชา พากันไชโยโห่ร้องต้อนรับกองกำลังเขมรแดง ซึ่งพากันหวังว่าสงครามจะจบสิ้นกันเสียที แต่หลังจากนั้นไม่นานฝันร้ายของชาวกัมพูชาก็เริ่มขึ้น ทหารเขมรแดงปล่อยข่าวลวงว่าสหรัฐจะเอา บี ๕๒ มาทิ้งระเบิด เพื่อแก้แค้นเขมรแดง ให้ประชาชนทุกคนอพยพออกนอกกรุงพนมเปญโดยด่วน ประชาชนถูกพาออกไปเขตชนบท โดยมีแต่เพียงเสื้อผ้าติดตัวไปเพียงชุดเดียวเท่านั้น จากเหตุการณ์ครั้งนี้มีรายงานว่าประชาชนชาวกัมพูชาเสียชีวิตหลายล้านคนเนื่องจากนโยบายอันสุดกู่ของผู้นำเขมรแดงในตอนนั้น

มีผู้นำเขมรแดงหลายคนไม่พอใจต่อนโยบายนี้ เพราะมวลชนเริ่มหมดความศรัทธาและเริ่มเกลียดชังเขมรแดง นาย ฮุนเซ็น ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำเขมรแดง แต่ฝักไผ่เวียดนาม (กองกำลังเขมรแดงได้รับการสนับสนุนจากจีน) จึงได้นำกองกำลังเวียดนามเข้ามาโค่นล้มอำนาจของเขมรแดงลง จนเป็นที่มาของสงครามเวียดนามภาค ๒ ต่อมา ซึ่งกินเวลาถึง ๑๐ ปี ซึ่งเป็นสงครามที่ซ่อนเงื่อนที่สุดเท่าที่เคยมีมา สนามรบไม่ใช่เวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ แต่เป็นเวียดนามกับกองกำลังเฮงสัมริน และฝ่ายกัมพูชา ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายสีหนุ, ซอน ซาน, และเขมรแดง (เขียว สัมพันธ์) ก่อนหน้านั้นเขมรฝ่ายต่าง ๆ ก็รบกันภายใน เพื่อแย่งชิงอำนาจกันอยู่แล้ว แต่คราวนี้หันหน้ามาร่วมมือกันชั่วคราวเพื่อขับไล่เวียดนาม

ก่อนที่กองกำลังเวียดนามจะบุกกัมพูชานั้น รายงานข่าวจากหน่วยข่าวกรองของไทยแจ้งว่า ทางตอนใต้ของเวียดนามมีการลำเลียงอาวุธและกระสุนจำนวนมหาศาลทางเรือมาจากต่างประเทศ และมีการเคลื่อนย้ายกองกำลังรถถัง และหน่วยทหารที่ขึ้นชื่อว่าแข็งแกร่งที่สุดของเวียดนาม ซึ่งตามปกติ จะมีที่ตั้งไกล้ ๆ กรุงฮานอยลงมาทางใต้ด้วย

จากเหตุการณ์ครั้งนี้ ได้มีการประชุมด่วน ของหน่วยความมั่นคงของไทย และผู้นำทางการทหารระดับสูง เพื่อวิเคราะห์และเตรียมรับสถานการณ์ และนาวาตรี ประสงค์ สุ่นศิริ เลขาธิการความมั่นคงของไทยในสมัยนั้น ได้รายการแจ้งไปยังสหรัฐอเมริกาเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า ทางเวียดนามกำลังเตรียมกำลังเข้าบุกกัมพูชาแน่นอน และขอการสนับสนุนด้านอาวุธเพื่อเตรียมการรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น แต่ทางสหรัฐกลับวิเคราะห์ว่า การเคลื่อนกำลังดังกล่าวเป็นเพียงการสับเปลี่ยนและเพิ่มเติมกำลังเท่านั้น เพราะหลังจากที่เขมรแดงยึดพนมเปญได้ กองกำลังเขมรแดงได้รุกล้ำและโจมตีชายแดนของเวียดนามด้านที่ติดกับเขมร และทางเวียดนามต้องการโจมตีเขมรแดงตามแนวชายแดนเท่านั้น ไม่น่าจะบุกเข้ามาในกัพพูชา

 

 

หลังจากนั้นไม่นาน เหตุการณ์ที่ไทยคาดไว้ก็เป็นจริง เดือนมกราคม ๒๕๒๑ เวียดนามส่งเครื่องบินรบแบบเอฟ ๕ ที่ยึดได้จากกองทัพอากาศเวียดนามใต้ เข้าโจมตีทิ้งระเบิดจุดยุทธศาสตร์สำคัญในกัมพูชา ตามด้วยเคลื่อนกำลังรถถังจำนวนมาก บุกเข้ามาที่เมืองสำคัญ ตั้งกองกำลังและยึดไว้ จากนั้นค่อยกระจายจากเมืองนั้นไปเมืองนี้ทีละเมือง ๆ ภายใต้ยุทธการ ?ดอกบัวบาน ? ซึ่งทางไทยวิเคราะห์ว่า ประมาณ ๑๕ วัน เวียดนามจะยึดกัมพุชาได้ทั้งประเทศ การบุกเข้ามาในกัมพูชาในครั้งนี้ใช้กำลังมากถึง ๒๑๕ กองพล ทหารประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน และรถถังจำนวนหลายร้อยคัน อีกทั้งส่งกำลังประมาณ ๖๐,๐๐๐ คนประจำการในลาวด้วย ( ทำให้เกิดเหตุการณ์ต่อเนื่องเรื่อง บ้านร่มเกล้า )

 

 

 

จากเหตุการณ์ครั้งนี้นักวิเคราะห์ทางการทหารของไทยและต่างประเทศวิเคราะห์ว่าการส่งกำลังเข้ายึดกัมพูชานั้นเวียดนามน่าจะใช้กำลังประมาณ ๔ กองพล ก็น่าจะเพียงพอ เพราะยังมีกองกำลังอีกจำนวนหลายหมื่นคนของฝ่ายเฮงสัมรินในกัมพูชา ซึ่งรวมแล้วมีจำนวนมากกว่ากองกำลังเขมรแดงมาก อีกทั้งยังมีอาวุธหนัก เช่น ปืนใหญ่ และรถถัง ก็เหนือกว่าทางเขมรแดงมาก ซึ่งทำให้มีการตั้งคำถามว่า เวียดนามกำลังคิดอะไรอยู่ และเป้าหมายนั้น ต้องการแค่กัมพูชาเท่านั้นจริง ๆ หรือ

 

หลังจากเวียดนามส่งกำลังเข้าควบคุมเมืองสำคัญๆ ของกัมพูชาได้หมด นายพล เหงียนวันเทียวได้ประกาศที่กรุงฮานอยว่า สามารถเข้ายึดกรุงเทพได้ในเวลา ๒ ชั่วโมง ทำให้หน่วยความมั่นคงของไทยแทบจะนอนไม่หลับ อีกทั้งในช่วงนั้นกองกำลังของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยก็ยังเป็นปัญหา และทางการไทยกำลังปราบปรามอย่างหนักอยู่ หากต้องมารับมือกับทางเวียดนามอีก ก็จะเป็นปัญหาหนักขึ้น หลังการประชุมของผู้นำระดับสูงทางการทหารของไทย ได้มีการส่งนายทหารของไทยไปกรุงปักกิ่งในทางลับ เพื่อเจรจากับจีน โดยหัวข้อคือ ให้จีนยุติการสนับสนุนพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย และการซื้อน้ำมันมาสำรอง เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งได้รับการตอบรับจากจีนเป็นอย่างดี จีนหยุดการสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) มีการปิดสถานีวิทยุของ พคท. อีกทั้งจีนยังขายอาวุธหนักให้ไทยในราคาถูกด้วย ซึ่งมีทั้งปืนใหญ่ รถถัง ยานลำเลียงพลหุ้มเหกราะ และเครื่องยิงหนักแบบต่าง ๆ

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/08/2007 11:15:57


ความคิดเห็นที่ 3


แต่ไทยก็ต้องทำสัญญาลับกับจีนหลายๆ เรื่อง เพื่อตอบแทนจีน เช่น ไทยต้องสนับสนุนกองกำลังเขมรแดง ไทยต้องร่วมมือกับจีนเพื่อต่อต้านเวียดนามซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโซเวียต ( ในตอนนั้นจีนกับโซเวียตแตกคอกันทางแนวคิด ต่างฝ่ายก็โจมตีกันว่าเป็นคอมมิวนิสต์จอมปลอม ?? จีนก็คอมมิวนิสต์ โซเวียตก็คอมมิวนิสต์ จีนบอกว่าจีนเป็นคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง และสมบูรณ์แบบ)

 

 

จากนั้นไม่นาน เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๒๒ เป็นเวลา ๑ ปี หลังจากเวียดนามบุกกัมพูชา กองทัพจีนได้เคลื่อนกำลังพลหลายแสนคนบุกเข้ามาเวียดนามทางตอนเหนือทางเมืองกวานสี ( บางรายงานแจ้งว่าในวันที่กองทัพจีนเคลื่อนกำลังบุกเวียดนามนั้น พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ ได้รับเกียรติให้ร่วมดูเหตุการณ์นั้นด้วย และยังมีรายการว่า พลเอกชวลิต เป็นผู้ลั่นกระสุนปืนใหญ่นัดแรก ยิงใส่เวียดนามด้วย เวียดนามต้องใช้กำลังทหารทั้งประเทศมารับมือจีน ทำให้เวียดนามต้องย้ายกองกำลังบางส่วนออกจากกัมพูชา ซึ่งเป็นกองพลที่ดีที่สุดของเวียดนามด้วย เพื่อรับมือกับจีน จีนประกาศที่สหรัฐอเมริกาก่อนจะบุกเวียดนามว่า จีนจะสร้างบทเรียนให้กับเวียดนามอย่างสาสม ที่บุกเข้าไปในกัมพูชา และยังประกาศว่าเวียดนามเนรคุณจีน เพราะการที่เวียดนามรบชนะฝรั่งเศสที่เดียนเบียนฟู ได้ ก็เพราะได้รับการสนับสนุนอาวุธจากจีน และในสงครามเวียดนามก็ได้รับการสนับสนุนจากจีนด้วย กับอีกข้อหนึ่งก็คือเวียดนามได้ปฏิบัติไม่เหมาะสมต่อชาวเวียดนามเชื้อสายจีน มีการทำร้ายต่อชาวเวียดนามเชื้อสายจีนด้วย จนกลายเป็นที่มาของคำว่า ?สงครามสั่งสอน?

 

หลังจากที่เวียดนามยึดกัมพูชาได้ ชาวเวียดนามจำนวนหลายแสนคน อพยพเข้ามาประเทศไทย มีการตั้งค่ายผู้อพยพขึ้นเป็นไซต์ต่าง ๆ ซึ่งประชาชนกัมพูชาจะรวมกันตามกลุ่มที่จงรักภักดีตามผู้นำของตน เช่น กลุ่มของเขมรแดง กลุ่มของสีหนุ ในค่ายผู้อพยพเหล่านี้ ได้มีการคัดเลือกประชาชน เอามาฝึกอาวุธมาตั้งค่ายฝึกลึกเข้ามาในเขตไทย และส่งเข้าไปรบกับเวียดนามในกัพูชาอีกต่อหนึ่ง ภายใต้การสนับสนุนจาก สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส จีนและไทย ซึ่งก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่กองทัพเวียดนามเริ่มเคลื่อนกำลังรุกล้ำเข้ามาในเขตไทย และตั้งกองกำลังตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชาเพื่อต้องการควบคุมแนวชายแดนไทยไว้ทั้งหมด และตัดการส่งกำลังบำรุงของเขมรฝ่ายต่อต้านจากไทย จนเป็นที่มาของ สมรภูมิช่องบก ที่จะกล่าวต่อไป

 

การที่เวียดนามรุกล้ำเข้ามาในเขตไทยบริเวณช่องบกนั้น เนื่องมาจากทางการเวียดนามต้องการควบคุมชายแดนไทยในดานนี้ไว้ให้ได้อย่างเด็ดขาด เพื่อตัดการสนับสนุนและส่งกำลังบำรุงต่อเขมรแดง ซึ่งครอบครองบริเวณนั้นอยู่ แต่เนื่องจากทางด้านกัมพูชานั้นเป็นที่ราบลุ่ม จึงรุกล้ำเข้ามาเขตแดนไทยประมาณ ๕ กม. มีการตั้งฐานและยึดเนินสำคัญ ๆ ไว้ ดัดแปลงและปรับปรุงตั้งรับการโจมตีเป็นอย่างดี บังเกอร์เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีระบบเครื่องปั่นไฟ ตั้งปืนต่อสู้อากาศยาน และจรวดต่อสู้อากาศยาน อีกทั้งรายล้อมด้วยฐานปืนใหญ่ที่พร้อมให้การยิงสนับสนุนตั้งไว้ในลาวและกัมพูชา เพื่อรับมือกับไทยอย่างเต็มที่ บริเวณช่องบกนี้เป็นเขตพรมแดนต่อกันของ ๓ ประเทศคือ ไทย ลาว และกัมพูชา และมีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า สามเหลี่ยมมรกต บนเขาพระวิหารทางเวียดนามได้ใช้เป็นคลังอาวุธ หากใครได้มีโอกาสขึ้นไปบนปราสาทเข้าพระวิหาร จะสังเกตุว่ามีปูนซิเมนต์ปิดยาไว้ ตามปราสาทหลายแห่ง เพื่อป้องกันน้ำรั่ว ซึ่งเป็นผลงานของทหารเวียดนาม

 

 

ช่องบก ตั้งอยู่ในพื้นที่ อ.น้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี. เป็นพื้นที่ชายแดนซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกัน ๓ ประเทศ คือ ไทย,ลาว,กัมพูชา มีทิวเขาพนมดงรัก กั้นเป็นแนวเขตแดน มีเส้นทางติดต่อเดินข้ามไปมาหากันได้ ลักษณะภูมิประเทศเป็นทิวเขาสลับซับซ้อน มีป่าทึบยากแก่การตรวจการณ์ ทั้งทางพื้นดินและทางอากาศ ใช้เป็นแหล่งซ่อนพราง และกำบังเป็นอย่างดี

 

ปี พ.ศ.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้ใช้กำลังเข้าผลักดันและขับไล่กองกำลังต่างชาติ ตามแผนยุทธการ ดี-๘ เนื่องจากภูมิประเทศเป็นเขาสูงชันป่ารกทึบ มีทุ่นระเบิด กับระเบิดในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ทำให้ฝ่ายไทยประสบความยากลำบากในการเคลื่อนที่ และการดำเนินกลยุทธ์ ฝ่ายไทยสามารถผลักดันฝ่ายเวียดนามให้ถอนตัวออกจากที่มั่นบนเนินดังกล่าว แต่ฝ่ายเวียดนามยังคงควบคุม และยึดพื้นที่บริเวณเนิน ๕๐๐,๔๐๘,๓๘๒ และ ๓๙๖ อยู่

 

เมื่อ ธ.ค.๒๕๒๙ กองกำลังสุรนารี ได้กำหนดแผนยุทธการ ดี-๙ ใช้กำลังเข้าตีเพื่อผลักดัน และทำลายฝ่ายตรงข้าม ที่ยังยึดพื้นที่อยู่ โดยใช้กำลังจาก กรมทหารราบที่ ๑๖ (กองพันทหารราบที่ ๑๖๒) ปฏิบัติการเข้าตีในห้วง ม.ค.-ก.พ.๒๕๓๐ ถึง ๓ ครั้ง สามารถยึดที่หมาย เนิน ๓๙๖ ได้ ต่อมาได้จัดกำลังเพิ่มเติมจาก กรมทหารราบที่ ๖ (กองพันทหารราบที่ ๖๐๓) วันที่ ๒๕ มี.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ปฏิบัติการโดยใช้กำลัง กองพันทหารราบที่ ๑๖๒ กองพันทหารราบที่ ๖๐๓ และกองกำลังทหารพราน เข้าตีต่อที่หมาย เนิน ๔๐๘ และเนิน ๓๘๒ รวมทั้งใช้กำลังจาก ร้อยลาดตระเวณระยะไกล กองกำลังสุรนารี จัดกำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการโจมตีที่หมาย หลังเนิน ๔๐๘ ของฝ่ายเวียดนาม ฝ่ายไทยสามารถตีที่หมายได้สำเร็จ แต่ไม่สามารถรักษาที่หมายได้ เนื่องจากถูกระดมยิงด้วยปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง อย่างหนาแน่น จึงต้องถอนตัวออกจากที่หมาย

 

วันที่ ๑ เม.ย.๒๕๓๐ กองทัพภาคที่ ๒ ได้จัดตั้งที่บัญชาการทางยุทธวิธีขึ้น เพื่อควบคุม และอำนวยการยุทธ ออกแผนยุทธการเผด็จศึก สั่งใช้กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ประกอบด้วย ๕ กองพันทหารราบ, ๑ ร้อยลาดตระเวณระยะไกล, ๒๗ ร้อยทหารพราน., ๑ ร้อยรถถัง สนับสนุนด้วย ปืนใหญ่ และกำลังทางอากาศ กองพลทหารราบที่ ๖ ได้รับคำสั่งให้จัดกำลังเพิ่มเติม จากกรมทหารราบที่ ๖ และกรมทหารราบที่ ๒๓ วันที่ ๑๔ เม.ย.๒๕๓๐ กำลังฝ่ายไทยใช้กำลังทุกส่วนทำการเข้าตีที่หมาย เนิน ๕๖๕,๔๐๘,๕๐๐,๓๘๒ และ ๓๗๖ โดยพร้อมกัน ในขั้นต้นฝ่ายไทยสามารถเข้าที่หมายเนินต่างๆ โดยได้รับการต้านทานอย่างเบาบาง ต่อมาฝ่ายเวียดนาม ได้ทำการตีโต้ตอบ ระดมยิงด้วย ปืนใหญ่ เครื่องยิงลูกระเบิด และ ปืนไร้แรงสะท้อนถอยหลัง ใช้กำลังเข้าตีเป็นละลอก และต่อเนื่อง ฝ่ายไทยซึ่งมีเวลาจำกัดในการดัดแปลงที่มั่น ขาดความหนุนเนื่อง ในการส่งกำลัง เส้นทางยากลำบาก ไม่สามารถต้านทานได้ จึงทำการถอนกำลังออกจากที่หมายเนินต่าง ๆ

 

ภายหลังจากการเข้าตีในครั้งนี้ ฝ่ายไทยได้พัฒนาแนวความคิดทางยุทธวิธี ในการเข้าสู่ที่หมาย ด้วยการใช้กำลังในลักษณะชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก เคลื่อนที่แทรกซึมเข้าหลายทิศทาง ทำการ ลาดตระเวณซุ่มโจมตี เจาะเส้นทางเข้าหาที่มั่น และริดรอนกำลังฝ่ายตรงข้ามให้อ่อนกำลังลง ห้วง พ.ค.-มิ.ย.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้ใช้กำลังเป็นชุดปฏิบัติการขนาดเล็ก ทำการเข้าตีต่อที่หมาย เนินต่าง ๆ ในลักษณะการยุทธแบบป้อมค่าย สามารถยึดฐานที่มั่น ฝ่ายเวียดนามได้บางส่วน ขุดคูติดต่อเจาะเข้าหาฐานที่มั่น กดดันฝ่ายเวียดนามอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งฝ่ายเวียดนามได้ถอนกำลัง ออกจากที่หมายเนินต่างๆ และแนวเขตประเทศไทย ในปลายปี พ.ศ.๒๕๓๐

 

การปฏิบัติการรบที่ช่องบก ตั้งแต่ ม.ค.๒๕๒๘-ธ.ค.๒๕๓๐ ฝ่ายไทยได้สูญเสีย กำลังพล เสียชีวิต ๑๐๙ นาย บาดเจ็บ ๖๖๔ นาย

 

 

สถานการณ์ในช่วงแรกของการรบ เวียดนามเป็นฝ่ายได้เปรียบ การรุกของฝ่ายไทยทำได้อย่างจำกัดและยากลำบากเพราะเป็นป่าทึบ และเวียดนามได้วางกับระเบิดไว้จำนวนมาก นอกจากนั้นแหล่งน้ำบริเวณดังกล่าวยังถูกเวียดนามใส่สารพิษลงไป ซึ่งสารตัวนี้จะมีฤทธิ์ถึง ๓ ปี ถึงแม้น้ำจะแห้งไปแล้วก็ตาม ซึ่ได้มีการส่งตัวอย่างน้ำไปให้กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ทำการตรวจสอบและผลยืนยันว่าน้ำทุกแหล่งที่ส่งมามีสารพิษเจือปน ปัญหาหนึ่งที่สร้างปัญหาให้กับทางไทยเป็นอย่างมาก็คือเรื่องกับระเบิด ซึ่งเป็นชนิดใหม่ มีขนาดเล็ก ไม่ต้องใช้การฝังแบบปกติ แต่เป็นลูกเล็ก ๆ ซึ่งทางเวียดนามจะส่งกองกำลังแทรกซึมเข้ามาเป็นชุดเล็ก ๆ นำระเบิดมาวางตามแนวป่า และพงหญ้า และถอนกำลังออกไปอย่างรวดเร็ว ระบิดแบบนี้ไม่ทำให้ถึงตาย แต่ทำให้ทหารที่เหยียบขาขาดไปเกือบถึงหัวเข่า ซึ่งทหารที่บาดเจ็บส่วนมาก เนื่องมาจากกับระเบิด

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/08/2007 11:17:11


ความคิดเห็นที่ 4


จากรายงานของทหารบางหน่วยแจ้งมาว่าทางเวียดนามมีความสามารถในการรบกวนการติดต่อสื่อสารและเลียนเสียงระบบการสื่อสารของไทย ทันทีที่ทหารไทยติดต่อสั่งการกันทางวิทยุ ทหารเวียดนามจะยิงปืนใหญ่ใส่แหล่งกำลังเนิดเสียงทันที ทำให้การสื่อสารเป็นไปอย่างลำบาก ซึ่งระบบนี้ เวียดนามน่าจะได้มาจากโซเวียต ทำให้ทางไทยปรับกลยุทธใหม่ ให้การติดต่อสื่อสารเป็นความลับมากขึ้น และลดการใช้วิทยุสื่อสารลง

 

ทางเวียดนามยังรุกกลับด้วยการส่งกำลังเข้าตีฐานทหารไทยอย่างหนัก โดยใช้ฐานปืนใหญ่ในลาวและกัมพูชายิงสนับสนุน ซึ่งทำให้การรบที่ช่องบกนี้มีความรุนแรงมาก กำลังส่วนต่าง ๆ จากกองทัพภาคที่ ๒ ของไทยถูกส่งเข้ามาในพื้นที่สู้รบอย่างต่อเนื่อง สนับสนุนด้วยกองกำลังทหารพรานจากค่ายปักธงชัย และหน่วยรบพิเศษจากลพบุรี ถูกส่งเข้าไปในลาวและกัมพูชา เพื่อค้นหาฐานที่ตั้งปืนใหญ่ และทำลายระบบการส่งกำลังบำรุง ในช่วงแรกของการรบฝ่ายไทยเสียเปรียบในการรบมาก แนวคิดการรบแบบเดิม ๆ ที่ทุ่มกำลังทหารจำนวนมาก การยิงถล่มด้วยปืนใหญ่ และเครื่องบินทิ้งระเบิดใส่ข้าศึก ไม่ได้ผล เพราะทางฝ่ายเวียดนามมีการตั้งรับอย่างดี และโต้ตอบกลับอย่างหนัก ถึงแม้ทางไทยจะสามารถตีฐานของเวียดนามแตก แต่ก็ไม่สามารถที่จะยึดฐานได้ ทำให้แนวคิดการรบแบบป้อมค่าย ที่เคยใช้ได้ผลจากการรบที่เขาค้อ ถูกนำมาใช้กับการรบที่ช่องบก โดยฝ่ายไทยใช้การวางกำลังและระบบส่งกำลังสนับสนุนในแนวหลังให้มั่นคง และต่อเนื่อง จากนั้นใช้ทหารพราน ลาดตระเวณซุ่มโจมตีและแทรกซึมเข้าหาฐานข้าศึกอย่างช้าๆ โดยขุดบังเกอร์เข้าเกาะติดข้าศึกรวมถึงการซุ่มโจมตีฝ่ายเวียดนาม จากวีดีโอที่ทหารไทยบันทึกไว้ในการเข้าตีฐานของทหารเวียดนามแห่งหนึ่งนั้น ซึ่งมีทหารเวียดนามประมาณ 1 กองพันครอบครองอยู่และเป็นทหารภูเขา ทหารพรานจะขุดบังเกอร์รุกเข้าหาฐานทหารเวียดนามอย่างต่อเนื่องและไม่ยิงปะทะโดยไม่จำเป็น เมื่อเข้าไกล้ในระดับหนึ่งจะหยุด แล้วส่งกำลังและอาวุธเข้ามา ตรึงกำลังแบบเผชิญหน้าไว้ แบบมองเห็นหน้ากันได้เลย ทำให้ฝ่ายเวียดนามสับสนและพะว้าพะวง เพราะไม่ทราบว่าทหารไทยจะเอายังไง อีกทั้งยังอยู่ในระยะไกล้ฐาน ยากต่อการยิงปืนใหญ่ การเกาะติดฐานของทหารไทยโดยไม่เข้าโจมตี ทำให้ฝ่ายเวียดนามกดดันเป็นอย่างมาก ทางไทยได้ตั้งฐานปืนใหญ่สนับสนุนการเข้าตีซึ่งได้รับการพรางเป็นอย่างดี และปืนใหญ่สำหรับการยิงถล่มตอบกลับฐานปืนใหญ่ของเวียดนาม เมื่อทางไทยพร้อม กลางดึก ได้ส่งยิงปืนใหญ่และเครื่องบินรบแบบเอฟ ๕ เอฟ เข้าทิ้งระเบิดอย่างหนัก และได้เข้าตีฐานในตอนไกล้รุ่งเช้า การสู้รบเป็นไปอย่างหนักหน่วง ฐานของทหารเวียดนามในเขตลาวถูกทางไทยตรวจพบ และถูกระดมยิงปืนใหญ่ถล่มอย่างหนัก ทำให้ฐานปืนใหญ่ของเวียดนามและคลังกระสุนถูกถล่มราบทั้งฐาน เปลวไฟจากการระเบิดของคลังกระสุนของเวียดนาม มองเห็นได้จากระยะไกล ซึ่งการยิงถล่มครั้งนี้ทางไทยใช้เครื่อง แอล ๑๙ ในการลาดตระเวณและรายงานการยิง ซึ่งเป็นไปได้อย่างแม่นยำ จากการตีฐานครั้งนี้ ยึดศพทหารเวียดนามได้ 4๔๕ ศพ จับได้อีก ๑๒ คน ยึดอาวุธ ยุทโธปกรณ์จำนวนมาก รวมทั้งจรวดแซมแบบยิงประทับบ่าด้วย ทหารเวียดนามแตกถอยกลับเข้าไปในกัมพูชา

 

หลังจากสูญเสียฐานหลายแห่ง ทหารเวียดนามเริ่มถอนทหารออกไปจากพื้นที่กลับเข้าไปตั้งในกัมพูชา เนื่องจากการสูญเสีย และการส่งกำลังบำรุงที่ถูกรบกวนจากในเขตกัมพูชาเอง จากเขมรแดง และกองกำลังไม่ทราบฝ่าย กองกำลังเขมรแดงได้เข้าตีฐานของทหารเวียดนามที่ตั้งในเขตกัมพูชาอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับการสนับสนุนการยิงปืนใหญ่จากฝั่งไทย ทำให้เวียดนามถูกตีขนาบ จึงต้องถอนกำลังกลับเข้ามาในเขตกัมพูชาเหมือนเดิม หลังจากนั้นทางไทยได้เข้ามายึดและตั้งแนวป้องกัน เนินต่างๆ อย่างแน่นหนา เป็นอันสิ้นสุดของการรบอันดุเดือดที่สุด

 

การที่เวียดนามอาจหาญเข้ามายึดเขตแดนไทยในบริเวณช่องบกนี้ มีนายทหารเวียดนามบางส่วนก็ไม่เห็นด้วย เพราะถึงแม้ตำแหน่งที่ตั้งได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ยากต่อการเข้าตีของไทย แต่ด้านการส่งกำลังบำรุงด้านกัมพูชานั้น ยังไม่สามารถปราบกองกำลังเขมรแดงได้อย่างสิ้นเชิง ซึ่งจะถูกเขมรแดงรบกวนการส่งกำลังบำรุงได้ อีกทั้งในเขตลาวนั้น ก็ยังมีการเคลื่อนไหวของกองกำลังลาวเสรีอยู่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติการของเวียดนามในลาวด้วย แต่ผู้นำทางการทหารของเวียดนาม มั่นใจในความเข้มแข็งทางการทหาร และประสบการณ์รบของตน ข้อขัดค้านนี้จึงไม่เป็นผล แต่ก็เป็นจริงและเป็นที่ประจักษ์จากการรบในเวลาต่อมา...

 

 

http://www.wing21.rtaf.mi.th/wboard/question.asp?GID=1001

 

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 07/08/2007 11:20:25


ความคิดเห็นที่ 5


โอ้วถ้าอ่านนี่มันส์มากเลยจอร์จ แต่น่าจะให้คนไทยได้ตระหนักและพึงสังวรณ์ไว้ว่าสงครามเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา และไทยก็มีอาณาเขตติดหลายประเทศ เพราะฉะนั้นกองทัพต้องแข็งแกร่ง

โดยคุณ crash เมื่อวันที่ 07/08/2007 15:28:23


ความคิดเห็นที่ 6


ขอบคุณครับที่ หาข้อมูลดีๆมาให้อ่าน ถ้าเป็นตอนนี้เราจะรับศึกไหวมั้ยน่า.

โดยคุณ eragon เมื่อวันที่ 09/08/2007 13:49:01