หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


การจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ของกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.)

โดยคุณ : Webmaster เมื่อวันที่ : 07/08/2007 09:52:31

พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าววันนี้ (5 ส.ค.) ก่อนเดินทางไปร่วมงานวันครบรอบพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถึงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ของกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) ว่า ในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ดังกล่าวมีความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้ตรงขีดความสามารถและภารกิจของหน่วย ยืนยันว่าทุกขบวนการเป็นไปด้วยความโปร่งใส เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการในการพิจารณา ทั้งในส่วนของ พล.ร.2 รอ.และกรมสรรพาวุธทหารบก โดยมีการเดินทางไปศึกษาดูงานยังโรงงานผลิตที่ประเทศยูเครน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องพิจารณามายังตนก่อนส่งเรื่องไปยัง พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวต่อถึงกรณีมีการระบุว่าบริษัทค้าอาวุธจ่ายค่าคอมมิสชันให้คณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อดังกล่าว ว่า ต้องถามบริษัทค้าอาวุธดังกล่าวดูเองว่าจ่ายให้ใครหรือไม่ ตนไม่ทราบเรื่อง งบประมาณในการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง จำนวน 4,000 ล้านบาท เมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและขีดความสามารถแล้ว สามารถจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางได้ทั้งหมด 96 คัน

ท่านให้ข่าวว่า 96 คัน แปลว่าจำนวน 96 คันครับ

ไม่ขอเรื่องการเมืองน่ะครับ

ที่มา www.thairath.co.th





ความคิดเห็นที่ 1


10:18 น.   พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวก่อนเดินทางไปร่วมงานวันครบรอบพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ถึงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ของกองพลทหาราบที่ 2 รักษาพระองค์ หรือ พล.ร.2 รอ. ว่า ได้ระมัดระวังอย่างยิ่งในการจัดซื้อจัดหายุทโธปกรณ์ดังกล่าว เพื่อให้ตรงขีดความสามารถและภารกิจของหน่วย ยืนยันว่าทุกกระบวนการเป็นไปด้วยความโปร่งใส เนื่องจากมีการตั้งคณะกรรมการในการพิจารณา ทั้งในส่วนของ พล.ร.2 รอ.และกรมสรรพาวุธทหารบก โดยได้เดินทางไปศึกษาดูงานยังโรงงานผลิตที่ประเทศยูเครน ขณะนี้อยู่ระหว่างการเสนอเรื่องพิจารณามายังตนเอง ก่อนส่งเรื่องไปยัง พล.อ.บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

ส่วนกรณีมีการระบุว่า บริษัทค้าอาวุธจ่ายค่าคอมมิสชั่นให้คณะกรรมการพิจารณาจัดซื้อนั้นผู้บัญชาการทหารบก กล่าวว่า ตนเองไม่ทราบ ต้องถามบริษัทค้าอาวุธว่าได้จ่ายให้ใครหรือไม่สำหรับงบประมาณในการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง จำนวน 4,000 ล้านบาท เมื่อพิจารณาถึงความจำเป็นและขีดความสามารถแล้ว สามารถจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยางได้ทั้งหมด 96 คัน

 

อันนี้ก็จากเครือเนชั่นครับ เนื้อข่าวเหมือนกันจากท่านเวปมาสเตอร์ครับผม

 

ไม่ขอการเมืองเช่นกันครับ และ  รักภาษาไทยใช้ให้ถูกต้องกันนะครับ

โดยคุณ TigerOod เมื่อวันที่ 05/08/2007 11:19:30


ความคิดเห็นที่ 2


เช่นกันครับ ล่าสุด ข่าวจาก ท.ท.บ. 5 เที่ยงวันอาทิตย์นี้ งบสี่พันล้าน สำหรับยานเกราะล้อยาง 96 คัน อยู่ระหว่างการดำเนินการ เพื่อเสนอขออนุมัติโครงการและงบประมาณครับ

หากจะมีการเปลี่ยนแบบก็ต้องทำตอนนี้ โดยมีข้อแม้ว่าจำนวนและระบบอาวุธต้องได้เท่ากันกับ บีทีอาร์-3อี ของยูเครนครับ

มีแบบไหนที่ให้ได้เท่ายูเครนหรือเปล่า  ? คันละประมาณ 1.2 ล้าน ยูเอสดอลล่าร์ พร้อมปืน 30 ม.ม.

มีข้อสงสัยว่าการสนับสนุนด้านอะไหล่จะมีให้ใช้ยืนยาวได้แค่ไหน เทียบได้กับของเมกันและยุโรปหรือเปล่า เครื่องยนต์+ระบบทรานมิสชั่น ควรจะเปลี่ยนเป็นของเยอรมันหรือเมกันจะดีกว่าไหม ?

สเปคของเกราะที่ ท.บ. จะเลือก กันสะเก็ดระเบิดได้ขนาดไหน กันกระสุนถึงขนาด 12.7 ม.ม. หรือเปล่า ?

หน้าตาเจ้า บีทีอาร์-3อี เนี่ยผมว่ามันขี้เหร่นะ เทียบไม่ได้กับ บีทีอาร์-80 ของรัสเซียที่ดูลงตัวกว่า และยิ่งเทียบกับเจ้ารถอะไรของฟินแลนด์นั่น ขานั้นหล่อหรูไฮโซกว่าเยอะเลย ท.บ. คงพิจารณาจากแบบรถที่ตอบสนองภารกิจได้ดีพอสมควร คุ้มค่า (ของแถม ของติดรถ ออปชั่น) และจัดหาได้เป็นจำนวนมากในงบประมาณที่เท่ากัน

ติดค้างในใจผมอย่างเดียว คือเรื่องความถูกต้องในเรื่องการเข้าคัดเลือก ตกลงว่า บ. ตัวแทนของรถยูเครน ดำเนินการถูกต้องตามระเบียบการรึเปล่า ? แค่นั้นแหละครับ...

 

โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 05/08/2007 13:23:14


ความคิดเห็นที่ 3


ผมเห็นคุยแต่เรื่องเกราะ  เรื่องอาวุธ  ไม่เห็นมีใครสงสัยเรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกของรถบ้างเลยคับ

ผมอยากรู้ว่าในรถเขามีแอร์ให้ปะคับหรือทหารต้องนั่งร้อนต่อไป  ถ้าไม่มีแอร์  สงสัยจะไม่ใช่รถหุ้มเกราะ  แต่เป็นรถเตาอบ  เปิดข้างทีกลิ่นทหารอบหอมฉุย

ผมว่าถ้าจะมีการคอร์รัปชั่นน่าจะเป็นการลดส่วนอุปกรณ์อำนวยความสะดวก  แล้วเอาเงินตรงนั้นเข้ากระเป๋าตัวเองมากกว่าการไปโกงโครงสร้างหลักเช่นความหนาเกราะหรืออาวุธ   เพราะเรื่องเกราะและอาวุธเป็นโครงสร้างหลักสามารถตรวจสอบง่าย  แต่เรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกไม่ค่อยเป็นที่สนใจของผู้คน  จึงง่ายแก่การหมกเม็ด 

เอาเป็นว่าผมขอรบกวนใครมีข้อมูลเรื่องเครื่องอำนวยความสะดวกภายในรถ  บอกผมเป็นวิทยาธารหน่อยแล้วกัน

โดยคุณ rakchat เมื่อวันที่ 05/08/2007 13:23:47


ความคิดเห็นที่ 4


เอามาจากกระทู้เก่า ที่ตกหน้าแรกไปแล้วนะครับ..

http://www.thaifighterclub.com/index.php?action=detailQuestion&questionid=4883&language=1

คำตอบ :

เจอข้อมูลจากเวปนี้ น่าสนใจเปรียบเทียบbtr 80   and btr3e1

 

http://ardothailand.com/SHcontentsview.php?Ccont_ID=32

หมวดหมู่ ข้อมูลการฟังบรรยายสรุป สัมมนา ประชุมวิชาการ
หัวข้อ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1
สาระสำคัญ        ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์
รายละเอียด

ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1
      ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์
ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เป็นยานเกราะล้อยางประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก ผลิตจากประเทศยูเครน ตัวถังรถ ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดแข็งมากผสมใยสังเคราะห์ KEVLAR จากด้านในของตัวรถ (VERY HARD STEEL & REINFORCE WITH THE KEVLAR INSIDE) ป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. โดยสามารถปรับปรุงให้ป้องกันกระสุน ขนาด ๑๒.๗ มม. (.๕๐ นิ้ว) ได้ด้วยการเสริมแผ่นเซรามิค บรรทุกกำลังพลรวม ๙ นาย ประกอบด้วย ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง และพลประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑ ระบบอาวุธ
๑.๑.๑ ป.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ มม. แบบ ZTM-1 จำนวน ๑ กระบอก ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน ๔๐๐ นัด ซึ่งมีอัตราการยิง ๓๓๐ นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ ๔,๐๐๐ ม. และทางอากาศ ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๒ ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด จำนวน ๔ ลูก ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๕,๕๐๐ ม.
๑.๑.๓ ค.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง จำนวน ๘๗ นัด ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ ๑,๗๐๐ ม.
๑.๑.๔ ปก.ขนาด ๗.๖๒ มม. (7.62 mm MACHINE GUN) แบบ KT-7.62 (PKT) พร้อมกระสุน จำนวน ๒,๐๐๐ นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๕ เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด ๘๑ มม. (81 mm SMOKE GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน ๖ นัด
๑.๒ เครื่องยนต์ดีเซล แบบ UTD-20 ขนาด ๓๐๐ แรงม้า
๑.๓ เครื่องเปลี่ยนความเร็วแบบ ทางกล (MACHANICAL)
๑.๔ ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)
๑.๕ ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน
๑.๖ น้ำหนักรถ ๑๖ ตัน
๑.๗ กำลังขับเคลื่อน ๑๘.๘ แรงม้า/ตัน
๑.๘ ความเร็วสูงสุด บนถนน ๘๕ กม./ชม.
ในน้ำ ๘- ๑๐ กม./ชม.
๑.๙ ความเร็วต่ำสุด ๕ กม./ชม.
๑.๑๐ ระบบปฏิบัติการ บนถนน ๗๕๐ กม./ชม.
ในภูมิประเทศ ๓๕๐ กม./ชม.
๑.๑๑ อุณหภูมิการใช้งาน ตั้งแต่ ? 40C ถึง +55 C
๑.๑๒ ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง ๐.๕ ม.
๑.๑๓ ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง ๒ ม.
๑.๑๔ ไต่ลาดชัน ๓๐0
๑.๑๕ การไต่ลาดเอียง ๒๕0
๑.๑๖ ระบบเครื่องควบคุมการยิง ประกอบด้วย
๑.๑๖.๑ ระบบรักษาการทรงตัวของปืน (STABILIZER)
๑.๑๖.๒ ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)
๑.๑๖.๓ ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)
๑.๑๗ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
๑.๑๗.๑ กว้าน ขนาดแรงดึง ๖ ตัน
๑.๑๗.๒ เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ
๑.๑๗.๓ ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER
๑.๑๗.๔ ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์
๑.๑๗.๕ ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด ๑๘ กิโลวัตต์


โดยคุณ : ericson           วันที่ : 2007-07-31 09:57:50

**********

( ไม่เห็นเค้าบอกว่าติด คอม-เพรสเซอร์ ไว้ที่ไหนเนอะ 555 )

ที่ผ่านมา ดูว่าของมะกันและพรรคพวกมันเท่ดีครับ มันลุยป่าลุยหิมะเท่ดี เพราะได้ดูสารคดี+ภาพยนตร์+ข่าวการรุกรานชาวบ้านของมันบ่อยๆ ติดตา เลยเหมือนเป็นที่นิยมว่างั้น

ถ้าคณะพิจารณาเลือกBTR3-E1 มา ว่าดี คุ้มค่า ก็ว่ากันไปครับ ส่วนตัว อยากให้ใช้ของที่เราพอจะซ่อม-รักษากันได้สะดวก เรื่องเครื่องยนต์-กลไกยูเครน นี่เป็นไงแฮะ มิใช่ซื้อมา 96 จอดเป็นอะไหล่ซะ 40 นะ

โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 05/08/2007 13:55:45


ความคิดเห็นที่ 5


เรื่องระบบอาวุธที่ติดตั้งมากับ BTR-3E1 นั้นแน่นอนว่าเป็นระบบอาวุธรัสเซียครับ อย่างเช่นปืนกลร่วมแกน KT-7.62(หรือ ปก.PKT ขนาด 7.62*54มม.) นี้ ทบ.ก็มีรถที่ใช้ปืนกลกระสุนขนาดนี้ใช้งานอยู่ครับเช่น ถ.Type 69-II เป็นต้น.ซึ่งปก.ร่วมแกนก็ใช้กระสุนขนาดเดียวกัน แต่ระบบอาวุธหลายๆระบบนั้นเป็นระบบที่เราไม่เคยใช้มาก่อนครับ เช่น ปืนใหญ่หลักอัตโนมัติZTM-1 30มม., เครื่องลูกระเบิดอัตโนมัติ 30มม. AG-17 30มม. และ Barrier ATGM ซึ่งเราต้องมีการจัดหากระสุนมาใหม่ครับ (แต่โดยร่วมๆแล้วรถคันนี้มีอำนาจการยิงสูงมาก)

เรื่อง Aircondition อันนี้มีแล้วข้ามไป แต่สงสัยเรื่องหนึ่งคือติด Heater ในรถด้วยหรือครับ(เข้าใจว่ายูเครนมีหน้าหนาวรุนแรงนะครับ แต่บ้านเราหนาวขนาดต้องใช้ Heater ด้วยหรือ อะไรไม่จำเป็นน่าจะตัดออกไปก็ได้นะครับ)

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 05/08/2007 17:20:46


ความคิดเห็นที่ 6


เห่อๆๆมีฮีทเตอร์เผื่อแอร์เสียไงครับ จะได้อบทหารพร้อมเสิร์ฟ (นั่นสิ ถอดออกดีกว่ามั๊ง  )
โดยคุณ icy_nominee เมื่อวันที่ 05/08/2007 17:29:59


ความคิดเห็นที่ 7


ถ้าเหตุผลคือ งบน้อยแต่อัตรามันต้อง 96 คัน เลยต้องจัดหาจากยูเครน ก็พอฟังขึ้นมานิดนึงครับ

แต่ก็อยากที่หลาย ๆ ท่านว่าคือ ยังไม่เคลียอยู่ดีเรื่องการได้รับคัดเลือกของตัวแทนจากยูเครน

อีกอย่างที่ห่วงนอกจากความเข้ากันได้ของอาวุธแล้ว เรื่องการซ่อมบำรุงและอายุการใช้งานก็น่าคิดครับ รวมถึงอะไหล่และส่วนสนับสนุนอื่น ๆ ด้วยครับ อย่าให้ซื้อมาแล้วใช้ไม่ได้เหมือนอาวุธบางรายการก็พอครับ

โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 05/08/2007 17:36:09


ความคิดเห็นที่ 8


เย่...ชอบใจ รถเกราะไทยติดแอร์ซะที จะได้เป็นโครงการนำร่องอัพเกรดรถถังรถเกราะทั้งหมดติดแอร์ตามไปด้วยคับ

รถดี ปืนแจ๋ว ไม่มีแอร์ไปวิ่งตากแดดโทง ๆ พอเจอข้าศึก ทหารในรถเป็นลมไปแล้ว จะให้ไปรบกะแมวที่ไหน

ร้อนไม่ร้อนคิดดูคับ พลประจำรถถังหรือรถเกราะทำไมเค้าต้องใส่ถุงมือ ไม่ใช่เอาโก้คับ แต่เวลาออกจากรถ รถตากแดดนาน ๆ เกราะร้อนฉ่า เอามือเปล่า ๆ ไปจับก้อขนาดหนังฝ่ามือลอกติดตัวถังไปเลยคับ แล้วข้างในรถจะร้อนขนาดไหนก้อคิดดู 

โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 05/08/2007 18:41:32


ความคิดเห็นที่ 9


ดูตามสเป็กแล้ว ไม่ค่อยคับรถเกราะยูเครนตัวนี้ แถมอัพเกราะให้กันกระสุนขนาด 12.7 ได้ อย่างนี้ทำให้รถอึดขึ้นในการวิ่งสวนลูกปืน เหมาะกับการรบแบบใครดีใครอยู่แถวบ้านเรา

ปืนกล 30 มม. ถ้าใส่กระสุนเจาะเกราะหัวทังเสตนเข้าไป รถถังเจอเข้ายังร้องจ๊ากล่ะคับ เป็นปืนขนาดเดียวกันกะ ปญอ.ที่คาง เอ.10 ของสหรัฐ แต่อ้ายนั่นเป็นปืนกลลำกล้องรวบคับ

แถมยังมีมิซาล์ยต่อสู้รถถังด้วย นับว่ารถเกราะยูเครนตัวนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ล่ะคับ

ยานรบค่ายคอมเชื่อถือได้ในความแข็งแรงของโครงสร้าง และความเหนียวของเกราะ ถ้าได้ปืนตามรายการทั้งหมด โดยไม่มีการเปลี่ยนสเป็กทีหลังแล้ว มันจะเป็นยานเกราะที่ใช้รบได้อย่างสมบรณ์ที่สุดทุกสมรภูมิ

กลัวพอมาถึงเมืองไทย ปืน 30 กลายเป็น 12.7 หรือม่ายก้อ 7.62 ปืน ค.หาย จรวดต่อสู้รถถังต้องซื้อต่างหาก แอร์ถอดออก เกราะเสริมไม่มี ทั้งคันแถมไฟฉายไว้ส่องกบอันเดียว

เหมือนอย่างรถถังรถเกราะที่คนเก่า ๆ ซื้อกันมา เลิกซะนะคับขอร้อง มีให้กินก้อกินกันไปเถอะ ถ้าตังค์ทอนเหลือ ยังไงขอให้ได้ของตามสเป็กนี้นะคับ

โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 05/08/2007 18:58:54


ความคิดเห็นที่ 10


อีก 1 แหล่งข่าวครับ....

 

ประธาน คมช. ยืนยันอีกครั้งว่ายังไม่ได้ตัดสินใจเล่นการเมือง

ประธาน คมช. ยืนยันอีกครั้งว่ายังไม่ได้ตัดสินใจเล่นการเมือง พร้อมเรียกร้องให้ กกต.เข้าตรวจสอบเรื่องการซื้อตัว สส. ด้วย

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก และประธาน คมช. ยืนยันอีกครั้งว่าขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องทำงานการเมือง พร้อมปฏิเสธกรณีที่พรรครักชาติจะทาบทามให้เป็นสมาชิกพรรคว่า ไม่เป็นความจริง หากตัดสินใจได้เมื่อไหร่จะบอกเอง ส่วนกรณีที่นายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ระบุว่า ขณะนี้มีการซื้อตัว สส.ด้วยเงินจำนวนมากนั้น พลเอก สนธิ กล่าวว่า ต้องให้ กกต.เข้าไปตรวจสอบให้มากขึ้น และต้องช่วยกันปลูกจิตสำนึกให้รู้ว่า การซื้อสิทธิขายเสียงจะส่งผลกระทบต่อการเมืองและประชาชนโดยตรง

นอกจากนี้พลเอก สนธิ ยังกล่าวถึงกรณีที่กองทัพจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ โดยเฉพาะรถหุ้มเกราะด้วยเงินจำนวนมากถึง 4 พันล้านบาทว่า กองทัพได้พิจารณาอย่างรอบคอบแล้ว โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลและส่งคณะทำงานไปดูบริษัทที่ผลิตรถหุ้มเกราะว่ามีจริงหรือไม่ แล้วนำข้อมูลกลับมาประเมินอีกครั้ง และระบุว่าการสั่งซื้อรถหุ้มเกราะกว่า 90 คันจากประเทศยูเครน ขณะนี้ยังไม่อนุมัติ และยืนยันว่าการจัดซื้อจะเป็นไปอย่างโปร่งใส

ทั้งนี้พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ได้เดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ พร้อมพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี และพลเอก บุญรอด สมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จากกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ ไปยังโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จังหวัดนครนายก เพื่อร่วมงานวันพระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อย จปร.



[ 2007-08-05 : 10:22:47 ]
โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 05/08/2007 19:03:05


ความคิดเห็นที่ 11


งานนี้เน้นจำนวนมากกว่าคุณภาพ


โดยคุณ too เมื่อวันที่ 05/08/2007 20:53:22


ความคิดเห็นที่ 12



ของพวกนี้บางทีก้อไม่ได้วัดกันที่คุณภาพครับ
เพราะยี่ห้อไหนก้อไม่หนีกันมากนัก เอาปริมาณไว้ดีกว่า(ไว้รุม ^^")
โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 05/08/2007 21:00:01


ความคิดเห็นที่ 13


แต่คุณภาพของมันก็ไม่ธรรมดานะ เพราะถ้าเกิดซื้อแบบติดครบชุดตามรายการที่ว่าจริง แต่ขอเหอะ ถอดheaterออกเหอะหรือเวลาไม่มีไรกินก็เอาทหารเข้าไปอบแล้วก็อร่อย ถ้าติดครบนี่อำนาจการยิงเอาเรื่องเลยครับ สาธุ......ให้ได้มาจริงเหอะแม้ในใจจะเเอบรักVABสาวเมืองน้ำหอมก็ตาม

โดยคุณ L96A1 เมื่อวันที่ 05/08/2007 21:52:45


ความคิดเห็นที่ 14


 

ส่วนตัวอ่าน Spec เสร็จก็หวั่นใจ อย่าลืมน่ะครับว่าเราซื้อรถลำเลียงพลหุ้มเกราะ แต่ Spec เรื่องเกราะนี้มันบางเหลือใจ ปืนต่างๆ ที่แบกไปผมกลัวว่าจะไม่ได้ใช้เพราะโดนปืนเล็กปืนน้อยถล่มเสร็จซะก่อนน่ะซิครับ

 

โดยคุณ CoffeeMix เมื่อวันที่ 05/08/2007 22:39:37


ความคิดเห็นที่ 15


http://www.thaifighterclub.com/index.php?text=2

จาก กระทู้เก่า

หากเปรียบเทียบกับเจ้า รถเกราะรัสเซียนั้น

ดูแล้ว รถเกราะรัสเซียจะดีกว่าในด้านคุณสมบัติหลายอย่าง  ทั้งด้านเครื่องยนต์ ทำความเร็วได้มากกว่า การกันกระสุนขนาด.5นิ้วได้โดยไม่ต้องเสริมเกราะเซรามิค

 

จากข่าวต่างๆ นั้น พอสรุปได้ว่า ของยูเครน ได้ของครบ

แต่ของรัสเซียไม่ได้ระบุตรงนี้ไว้

แม้ส่วนตัวจะคิดว่า ของรัสเซียดีกว่า แต่หากว่าของยูเครนได้ อุปกรณ์รวมถึงระบบอาวุธครบ  ก็พอ ยอมรับได้  อยากให้ กองทัพ ชี้แจ้งว่า ของรัสเซีย ที่ไม่ได้รับคัดเลือก ว่าเพราะอะไร คงจะทำให้หายสงสัยได  เนื่องจากของตะวันตก นั้น พอเข้าใจได้แล้วว่า ได้มาแค่ครึ่งกองพัน

 

ตอนนี้ พลร2 ก็มีทหารที่อยู่ภาคใต้ด้วย คาดว่า หากได้รถเกราะมา และถึงตารางหมุนเวียนต้องลงไปประจำการที่ใต้ เจ้ารถเกราะนี้ คงมีความจำเป็น

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 06/08/2007 10:04:49


ความคิดเห็นที่ 16


รถหุ้มเกราะชักทะแม่ง เปลี่ยนสเปคกลางทาง จากบรรทุก9เป็น14



"บิ๊กบัง"ไม่การันตีใครรับคอมมิสชั่นรถหุ้มเกราะยูเครน ยังไม่เซ็นอนุมัติเพราะรอ"สรรพาวุธ"กลับจาก ปท.ผู้ผลิตก่อนตั้งขออนุมัติ ครม. ยันโปร่งใส-เหมาะสม เปิดเอกสารที่ประชุม"กมย.ทบ." พบมีการเปลี่ยนคุณสมบัติรถบีทีอาร์ 3 อี 1 จากเดิมผู้ผลิตระบุขนทหารได้ 9 นาย แต่พอเข้า กมย.ทบ.อ้างบรรจุได้ถึง 14 นาย


ความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก (กมย.ทบ.) อนุมัติรับรองมาตรฐานรถหุ้มเกราะล้อยาง ชนิด 8X8 ยี่ห้อบีทีอาร์ 3 อี 1 (BTR 3E1) ผลิต โดยประเทศยูเครน และเตรียมเสนอ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) และประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) อนุมัติจัดซื้อ มูลค่า 4 พันล้านบาท ล่าสุด เมื่อวันที่ 5 สิงหาคมที่ผ่านมา พล.อ.สนธิ ระบุว่า ขณะนี้ยังไม่ได้เซ็นอนุมัติการจัดซื้อ เพราะอยู่ในระหว่างที่กรมสรรพาวุธไปดูงานที่ยูเครนแล้ว กลับมาตั้งเรื่องผ่านการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ ผ่านกระทรวงกลาโหมอีกครั้ง ยืนยันได้ว่าการจัดซื้อครั้งนี้บริสุทธิ์ โปร่งใส รวมถึงสมรรถนะของรถที่ จัดซื้อ

"จากการเลือกมาแล้วเราก็ไม่แน่ใจว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร เราก็ส่งคนไปดูที่โรงงานในประเทศยูเครนว่าเป็นรถเก่า ไม่มีโรงงานจริงหรือไม่ หลังจากที่คณะกรรมการตัดสินใจไปแล้ว ก็เห็นทั้งหมดว่ามีโรงงานและแสดงขีดความสามารถ คณะนี้ก็กลับมาบอกว่ารับได้ในจำนวนที่เราต้องการคือ 1 กองพันในวงเงินที่เรามีอยู่ ดังนั้น ในการดำเนินการทั้งสิ้น เราพยายามระมัดระวังความไม่ชอบมา พากลอย่างยิ่ง เพราะประวัติศาสตร์สอนเรา ดังนั้น การจัดซื้อจัดหาครั้งนี้ยืนยันว่าดำเนินการโดยคณะกรรมการและเป็นการจัดซื้อแบบรัฐต่อรัฐ จึงคิด ว่าเหมาะสมกับประเทศไทยในวงเงินเท่านี้ เรา สามารถได้ขนาดนี้ก็คิดว่าเหมาะสมแล้ว" ประธาน คมช.กล่าว

พล.อ.สนธิกล่าวว่า ที่ผ่านมาส่วนใหญ่บริษัทจะเป็นผู้เลือกสเปคให้ แต่ครั้งนี้กองทัพเลือกเอง โดยจะดูที่ขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์ และความต้องการ ซึ่งเราต้องการให้กองพลทหาราบที่ 2 เป็นหน่วยทหารราบยานเกราะ ต้องการให้กองพันหนึ่งมีรถทั้งสิ้น 90 กว่าคัน ปัจจัยต่อมา คืองบประมาณที่ได้มา 4 พันล้านบาท ซึ่งบางบริษัทเสนอราคามาคันละ 80-90 ล้านบาท บางบริษัท 15 ล้านบาท หรือ 20 ล้านบาท เราก็นำวัตถุประสงค์ทั้งหมด ราคา และขีดความสามารถไปให้คณะกรรมการพิจารณาแล้วให้ศูนย์กลางทหารราบ และกองพลทหารราบที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ใช้ไปศึกษาเรื่องนี้ คณะกรรมการก็เห็นว่าบริษัทนี้เป็นบริษัทที่สามารถซื้อทีเดียวได้ 1 กองพัน ในราคาคันละประมาณ 25 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ฟังข้อมูลจากบริษัทคู่แข่งอื่นๆ บ้างหรือไม่ พล.อ.สนธิกล่าวว่า คณะกรรมการคงศึกษากันหมดแล้ว เราใช้คณะกรรม การเยอะมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องหน่วยใช้ กองพลทหารราบที่ 2 ซึ่งกรมสรรพาวุธจะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดซื้อจัดหาโดยตรง เมื่อถามว่า จะนำรถนี้ไปใช้ในการแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ใช่หรือไม่ พล.อ.สนธิกล่าวว่า ไม่ใช่คนละอันกัน รถนี้มีขีดความสามารถมากกว่าตรงนั้น

ผู้สื่อข่าวถามว่า สามารถยืนยันได้หรือไม่ว่าไม่มีการรับค่าคอมมิสชั่นจากกการจัดซื้อครั้งนี้ พล.อ.สนธิกล่าวว่า "ต้องไปถามเขาดู เราไม่รู้ว่า ตรงนี้คงไม่รู้ว่าใครจะได้หรือไม่ได้ ต้องถามบริษัทเขาดูว่าให้ใครหรือเปล่า" เมื่อถามอีกว่า ที่ผ่านมาเมื่อมีการจัดซื้อ ผู้ที่อนุมัติมักจะได้ค่าคอมมิสชั่น พล.อ.สนธิกล่าวว่า ต้องไปดู ไปถามคณะกรรมการดู เพราะตอนนี้ยังไม่มาถึงตน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการพิจารณาเอกสารขั้นตอนของ กมย.ทบ.เพื่อรับรองมาตรฐาน รถบีทีอาร์ 3 อี 1 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ปรากฏว่า มีการกำหนดรายละเอียดคุณสมบัติของรถบีทีอาร์ 3 อี 1 ที่แตกต่างกัน โดยในการประชุมของกองการวิจัยและพัฒนาการรบ กรมยุทธการกองทัพบก (ยก.ทบ.) เมื่อวันที่ 19 มีนาคม มีการทำรายงานว่าด้วยคุณลักษณะของรถหุ้มเกราะล้อยางที่เหมาะสมกับการนำมาใช้ในกองทัพบก โดยแนบเอกสารเปรียบเทียบรถหุ้มเกราะของประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้แก่ รถลาฟทูของแคนาดา บีทีอาร์ 80 จากรัสเซีย, โมวาค ปิรันฮา จากสวิตเซอร์แลนด์, ปันดัวร์ ทู จากออสเตรีย, เพเทรีย จากฟินแลนด์ รวมทั้งบีทีอาร์ 3 อี 1 จากยูเครน

เอกสารฉบับดังกล่าวระบุ รถหุ้มเกราะของยูเครน หรือ Armoured Personnel Carrier (APC) BTR-3E1 ผลิตโดยบริษัท คาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน แห่งประเทศยูเครนมีพลประจำรถรวมทุกตำแหน่งทั้งหมด 9 นาย ตรงกับที่บริษัท UKRSPETEXPORT ผู้แทนจำหน่ายรถหุ้มเกราะ บีทีอาร์ 3 อี 1 ระบุคุณสมบัติของรถหุ้มเกราะรุ่นนี้ เป็นรถที่บรรทุกกำลังพลระหว่างปฏิบัติภารกิจได้ทั้งสิ้น 9 นาย เช่นเดียวกัน

ต่อมาในวันที่ 9 พฤษภาคม พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ (ผบ.ศร.) ในฐานะประธานทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ได้ลงประกาศเชิญชวนให้บริษัทต่างๆ เข้าร่วม เสนอข้อมูลเพื่อพิจารณา โดยระบุในผนวก ก. คุณลักษณะทั่วของยานล้อยาง ข้อที่ 2 ว่า มีขีดความสามารถในการบรรทุกพลรบพร้อมยุทโธปกรณ์ได้อย่างน้อย 11 นาย ไม่รวมพลประจำรถ

ในวันที่ 22 พฤษภาคม ตัวแทนบริษัท UKRSPETEXPORT นำข้อมูลไปเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกแบบยานเกราะ โดยใช้เวลาเสนอข้อมูลเพียงหนึ่งชั่วโมง จากนั้น ปรากฏว่า ในที่ประชุม กมย.ทบ. เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน ที่มีพล.อ.ไพศาล กตัญญู รอง ผบ.ทบ. เป็นประธาน ได้มีการนำเสนอข้อมูลการพิจารณารถหุ้มเกราะ พบว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของรถหุ้มเกราะบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน จากเดิมที่ระบุบรรทุกกำลังพลได้ 9 นาย เป็น 12+2 และที่ประชุม กมย.ทบ.ได้ลงมติรับรองมาตรฐานรถหุ้มเกราะของยูเครน จากนั้น ทำหนังสือเวียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับทราบ รวมทั้ง พล.อ.สนธิซึ่งได้เซ็นอนุมัติรับรองมาตรฐานในวันที่ 28 มิถุนายน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เอกสารของ กมย.ทบ. นอกจากมีการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติรถแล้ว ยังไม่มีรายละเอียดข้อมูลอื่นที่ชัดเจน เช่น เกราะที่ใช้หุ้มตัวถังรถและยางเรเดียลขนาด 365/90 R 18 DT64 จะสามารถป้องกันแรงระเบิดใต้ท้องรถได้หรือไม่ รวมถึงประตูขึ้นลงของรถบีทีอาร์ 3 อี 1 ที่ติดตั้งด้านข้างของตัวรถ ซึ่งที่ประชุม กมย.ทบ.เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พล.ท.พหล สง่าเนตร เจ้ากรมยุทธศาสตร์ กองทัพบก (จก.ยศ.ทบ.) ตั้งคำถามว่า "ปัจจุบัน ทบ.ใช้รถสายพาน มีการฝึกขึ้นลงจากด้านหลัง หากมีการใช้รถที่ต้องขึ้นลงจากด้านข้าง คงจะต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึก เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ในเรื่องนี้หน่วยใช้มีความคิดอย่างไร"

ประเด็นดังกล่าว รองผู้บัญชาการ กองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (รอง ผบ.พล.ร.2 รอ.) กล่าวตอบว่า "ในส่วนหน่วยเห็นว่าทำการฝึกได้ และอาจเป็นข้อดีคือ การขึ้นลงรถด้านข้างสามารถทำได้โดยไม่ต้องหยุดรถ"

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถหุ้มเกราะ ที่องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) และกองทัพบกสหรัฐ รับรองมาตรฐานนั้นส่วนใหญ่จะมีประตูขึ้นลงด้านหลัง เพราะมีความคล่องตัวในการขึ้นลงของกำลังพลและป้องกันความเสี่ยงในการโจมตีของข้าศึก นอกจากนี้ รถหุ้มเกราะล้อยางรุ่นเดอะ บ็อกเซอร์ (The Boxer) ซึ่งบริษัทสตอร์ค (Stork) ที่เยอรมนีเตรียมผลิตในปี 2552 เพื่อส่งให้กับกองทัพบกเยอรมนีและกองทัพบกเนเธอร์แลนด์ ยังใช้ประตูขึ้นลงด้านหลัง โดยบริษัทสตอร์คยืนยันว่า รถรุ่นใหม่ล่าสุดได้รับการออกแบบเพื่อใช้ปฏิบัติภารกิจยาวนานถึง 30 ปี

หน้า 1

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 06/08/2007 10:44:13


ความคิดเห็นที่ 17


อันนี้มาจากแผนของ ทบ. นะครับ "รถรบทหารราบล้อยาง จำนวน 1 กองพันทหารราบยานเกราะ 96 คัน ประกอบด้วย รุ่นลำเลียงพล 64 คัน, รุ่นบัญชาการ 4 คัน, รุ่น ค.81 มม. 9 คัน, รุ่น ค.120 มม. 4 คัน, รุ่นต่อสู้รถถัง 6 คัน, รุ่นกู้ซ่อม 6 คัน และรุ่นรถพยาบาล 3 คัน ระบบสื่อสารต้องเข้ากันได้กับระบบที่ ทบ.มีอยู่"

สรุปว่าที่ตกลงว่าจะซื้อของยูเครนคราวนี้ดูเหมือนได้แค่ 1 กองพัน only นะครับ

โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 07/08/2007 09:52:31