สปาด้า ความจริงก็เป็นจรวดสแปโรว์ AIM7 แต่เป็นสแปโรว์ที่ผลิตในอิตาลีคับ เป็นระบบฐานยิงแบบลากจูง ฐานละ 4 นัด (ถ้าจำไม่ผิดนะ) จัดซื้อสมัยรัฐบาล พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ พร้อม ๆ กะ แอสปิเด้นั่นแหล่ะ
ซื้อมาก็มีปัญหาล่ะคับสำหรับสปาด้า เพราะระบบควบคุมการยิงของมัน เข้ากับระบบของอเมริกาที่เรามีใช้อยู่เดิมไม่ได้ ตั้งแต่เรด้าร์ ยัน รีโมทแหล่ะคับ
พอยิงไม่ได้ก้อเลยเก็บเข้าโรงเงียบ ๆ เอาออกมาสวนสนามบ้างเป็นครั้งคราว
เรื่องราวของสปาด้าจึงจางหายไปกับสายลม จนถึงวันนี้ไม่รู้ว่ามีการอัพเกรดให้ยิงออกรึยัง
ใครรู้ช่วยกระซิบมาหน่อยคับ Thankyou
ถ้ายังก้อน่าจะทำนะคับ จรวดสแปโรว์ถึงจะทำในอิตาลี ลำพังลูกจรวดก้อคงไม่ด้อยกว่าของอเมริกาเท่าไร พิษสงเขี้ยวเล็บของมันก้อเป็นที่ครั่นคร้ามของข้าศึก ยิ่งกว่าอัมรามอีกคับ
สแปโร่ว์ สำแดงเดชสอยมิกในเวียดนามหล่นมาเป็นฝูง ๆ แล้วล่ะคับ ในขณะที่อัมรามมีแต่ราคาคุย ผลงานยังไม่เท่าไรเลยคับ
สแปโร่ว์ หรือ AIM.7 หรือ แอสปิเด้ หรือสปาด้า เป็นจรวดต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง แรกเริ่มเป็นจรวดประเภทอากาศสู่อากาศ ติดตั้งกับเครื่องบินรบได้หลายแบบ นำวิถีด้วยเรด้าร์ที่หัวเครื่องบิน และแรงเฉื่อยในช่วงสุดท้ายก่อนกระทบเป้า
เจ้านกกระจอกมีความแม่นยำสูงชนิดปั๋งหงาย ๆ เหมือนกัน แถมทนทานต่อการถูกแจมมิ่งเป็นเลิศ อเมริกา และประเทศที่ใช้เครื่องบินรบของอเมริกา ยังคงใช้สแปโร่ว์เป็นจรวดระยะกลาง รวมทั้งไทยด้วย
ต่อมา เห็นว่า เจ้านกกระจอกสามารถไล่ตีข้าศึกได้ดีแม้ในระยะนอกสายตาก้อตาม อเมริกันเลยเอาไปอัพเกรดให้ส่วนดินขับยาวขึ้นเพื่อสู้แรงโน้มถ่วง แล้วก้อแพ็กใส่กล่องไปติดเรือรบ เป็นขีปนาวุธต่อต้านอากาศยานชนิดพื้น สู่ อากาศ ระยะปานกลาง แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า ซี-สแปโร่ว์
ต่อมา ค่ายม่านเหล็กพัฒนาเรดาร์หัวเครื่องบิน ให้สามารถจับเป้าได้ตั้งแต่ 60 ไมล์ ซึ่งไม่มีเรดาร์ บข.อเมริกันแบบใดในยุคนั้นทำได้ถึง สหรัฐจึงปริวิตก และเริ่มจัดทำโครงการอัมรามขึ้น ซึ่งอัมรามสามารถยิงทำลายเป้าหมายในระยะ 100 ไมล์ได้ (หากมีเอแวคส์ช่วยต่อระยะเรด้าร์ให้นะ ถ้าไม่มีก้อเซม ๆ กะสแปโร่ว์แหล่ะ เพราะมันใช้เรด้าร์หัวเครื่องบินนำทางเหมือนกัน)
หลังจากนั้น สแปโรว์ก้อเริ่มลดความสำคัญลง สหรัฐขายให้ไทยง่ายพอ ๆ กับขายไซน์ไวน์เดอร์ แต่พอเราขอซื้ออัมราม พ่อก้อเล่นตัวซะจนน่าเบิ๊ดกะโหลก กว่าจะยอมขายได้ แต่ก้ออีกแหล่ะ พอเค้ายอมขาย เราก้อซื้อเข้าคลัง ปัญหาก้อตามมา จะเอาเครื่องบินที่ไหนมาใส่อัมรามล่ะ เอฟ.18 ก้อหลงจ้งไปแล้ว เอฟ.16 ก้ออัพเกรดได้กี่ลำที่จะยิงอัมรามได้ สรุปแล้ว ถ้ารบกะใครจริง ๆ ตอนนี้ ก้อยังต้องพึ่งบริการสแปโร่ว์อยู่ดี
ดังนั้นเพื่อความไม่ประมาท เราก้อเลยไปคว้าเอาตระกูลไพธ่อนมาอีกดุ้นเพื่อให้อุ่นใจ
สแปโร่ว์ และ ซี-สแปโร่ว์ ได้ถูกขายสิทธิบัตรให้กับหลายประเทศรวมทั้งอิตาลี ซึ่งก้อทำออกมาในชื่อสปาด้า ความจริงก้ออ่านว่าสแปโร่ว์นั่นแหล่ะ แต่เป็นสแปโร่ว์ภาษาอิตาลี ที่มีความหมายเดียวกัน
จรวดระยะปานกลาง รัศมีทำการก้อตั้งแต่ 15 - 60 ไมล์ล่ะคับ เฉลี่ยระยะต่ำสุดถึงสูงสุด แม่นยำระยะไหนก้อแล้วแต่เรด้าร์หัวเครื่องบินล่ะคับ ว่ามันล็อก-ออนเป้าหมายได้ที่ระยะเท่าใด ซึ่งเครื่องบินแต่ละแบบมันก้อไม่เท่ากันคับ ถ้าเป็น มิก.29 ประมาณ 30-40 ไมล์มันก้อล็อกได้ เอฟ.16 รุ่นเดิม ๆ ก้อ 15-20 ไมล์ล่ะคับ ดังนั้นเวลาปะลองกันทางคอมพิวเตอร์ มิก.29 จึงยิงเอฟ.16 ร่วงแบบยิงคนตาบอด แต่เรื่องจริง มิก.29 แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะการบินหนีที่เร็วมากคับ
กองทัพบกผมไม่แน่ใจว่าซื้อมาแล้วเคยลองยิงไม๊
แต่ของกองทัพเรือ เคยฝึกยิงมาแล้วครับ จำไม่ได้ว่าปีไหน KARAT นี่แหละครับ ไอ้กันลากเป้าให้ ยิงไปลูก หรือ สองลูกนี่แหละครับ
ไม่พลาด (ถ้าพลาด ชาวนาน้ำตาตกสิครับ)
เรื่องเป้าซ้อมจรวดนำวิถีต่อต้านอากาศยานนี่ เคยรู้มานานมากเลยคับ ว่าเรายังไม่กล้าเสี่ยง เพราะเกิดจรวดมันแฮ้งก์มองเห็นเครื่องบินลากเป็นเป้าแทนล่ะก้อ คงยุ่งตายชัก
ถึงอย่างไรก็ตาม สแปโรว์ ก็ยังเป็นจรวดต่อต้านอากาศยาน ทั้งแบบพื้นสู่อากาศ และอากาศสู่อากาศที่เชื่อถือได้มากที่สุดแบบหนึ่ง
แต่ถ้าระยะใกล้ๆ AIM.9 ไซน์ไวน์เดอร์ ยังคงครองตำแหน่งจรวดนำวิถีอากาศสู่อากาศ ที่เชื่อถือได้มากที่สุด
ดังนั้น ตราบใดที่ไพลอน บข.ทอ.ไทย ยังติดตั้งจรวดทั้งสองแบบอยู่ หากใครบังอาจรุกล้ำน่านฟ้าไทยโดยประสงค์ร้าย มันย่อมไม่สามารถกลับไปแบบครบชิ้นส่วนแน่
ทุกวันนี้ ผมก้อยังคงเชื่อมั่นว่า สแปโร่ว์ หรือเอสปาด้าก้อตาม ยังคงเป็นเขี้ยวเล็บที่แหลมคมสำหรับแถวบ้านเรา ถ้าทำให้มันยิงออกได้ ไม่ว่ามิก.29 หรือ ซู.30 ก็ต้องคิดหนัก หากคิดจะบุกเรา ต่อให้เอฟ.18 ก็มาเสี่ยงด้วยยากคับ ยกเว้นแต่เล่นตัวเด็มระดับเดียวกับกองทัพอเมริกัน แล้วเสริมด้วยระบบก่อกวนทางอิเล็กทรอนิกส์ มาตรฐานเดียวกับที่อเมริกาบุกอิรักเหมือนกัน
ถ้าแค่ระดับพี่หม่องละก้อสบายมาก เอสปาด้าเหนี่ยวร่วงไม่มีเหลือแน่นอน
ผมจำได้ว่าสปาด้านี้ ซื้อมาประมาณผมอยู่ ม.3 ซึ่งก็ประมาณปี 2529 น่าจะเป็นยุครัฐบาลป๋าเปรมครับ เคยเอามาสวนสนามครั้งใหญ่ที่ลพบุรีประมาณปี 2531-32 นี่แหล่ะ แต่ยังไม่เคยได้ยินข่าวการทดสอบยิงเลย
aim-7 เป็นแบบ AHM
aim- 120 เป็นแบบ SAHM
แต่ไม่รู้ว่าบ้านเรามี aim-7 ติดปีกเครื่องบินด้วยเหรอ
เท่าที่รู้ มีแค่ F-16ADF ที่สามารถติด Aim- 120 ได้
AIM-7 Sparrow และ Aspide นั้นเป็นขีปนาวุธอากาศสู่อากาศพิสัยกลางนำวิถีแบบ SARH(Semi-Active Radar Homing) ครับคือ บ.ที่ทำการยิงแล้วจะต้องLock เป้าหมายตลอดจนกว่าจรวดจะชนเป้า แต่จรวดจะมีRadarติดภายในตัวจรวดเพื่อคอย Update ตำแหน่งเป้าหมายในตัวด้วยครับ
ส่วน AIM-120 AMRAAM นั้นทำงานแบบ Active Radar Homing ครับ สามารถยิงแบบ Fire and Forgotได้(แต่ถ้าเป้าหมายอยู่ไกลเกินระยะ Radar ภายในตัวจรวด บ.ทิ่ยิงก็ต้องทำการ Lock เป้าค้างไว้สักระยะก่อนอยู่ดีครับ)
เท่าที่ทราบนั้นระบบ Spada นั้นใช้งานกับระบบRadar ควบคุมการยิงแบบ Skyguard ครับ ปัจจุบันมีการพัฒนาระบบ Aspide 2000 ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพและระยะยิงแล้วครับ ทั้ง Spada 2000 และ Albatros 2000
-ไทยไม่มีสแปร์โรว์ชนิดยิงอ-อ
-ทร.ไทยเคยซ้อมยิงAspide โดยใช้บ.บังคับวิทยุครับ ไม่ต้องมีบ.ลากเป้า เพราะอวป.ประเภทนี้ ใช้ชนวนเฉียดระเบิดดังนั้น ไม่มีใครเค้าใช้บ.ลากเป้าซ้อมยิงอวป. ครับ
-AIM-9M หรือที่ในบอร์ดเราบางทีเรียก9ไมค์ "เคย"เป็นอวป.อ-อ พิสัยใกล้ ที่ดีที่ที่สุดของทาง"นาโต้ " ของที่ดีที่สุดคือ AA-11Archer ซึ่ง เป็นอวป.แบบ ไฮ-ออฟบอร์ไซท์ ยิงได้ทุกมุมมองของนักบิน โดยใช้หมวกบินติดศูนย์เล็ง ซึ่งประจำการในยุคปลายๆปี 80 ซึ่ง ทันสมัยเสียจน อเมริกายังต้องขอดู (หลังสหภาพโซเวียตล่มสลายครับ)
-อามรามนั้น เคยได้ยินแบบท่านAAG_thครับ
ง่า...แล้วตกลงว่าสปาด้าเรายิงออกหรือยังคับเนี่ย เสียดายเงินไม่เท่าไร แต่เสียดายของคับ
สปาด้า และแอสปิเด้ ซื้อในสมัยพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธเป็นรองนายก และรัฐมนตรีกลาโหม คับ มาก่อนซื้อรถเจ๊กยกล็อตประมาณเดือนนึงน่ะคับ อันนี้เขียนผิดไปหน่อย
ก่อนถึงนายกฯชวลิต เป็น รสช. ก่อน รสช. เป็นนายกชาติชาย ซึ่งมี พล.อ.ชวลิต เป็นรองนายกฯ และรัฐมนตรีกลาโหม เป็นผู้เสนอรัฐบาลชาติชายจัดซื้ออาวุธล๊อตนี้คับ
ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 35 เราจึงได้เห็นไทป์ 85 วิ่งปุเลง ๆ อยู่แถวผ่านฟ้าไงคับ ซึ่งทั้งเจ้าสปาด้า และแอสปิเด้ ก็เป็นอาวุธในล็อตนี้แหล่ะคับ รวมทั้ง ปตอ.37 มม. และ ปืนใหญ่ 130 มม.ของจีนด้วย
ง่า ทั่นไอซี่ ผมว่าเคยเห็นข่าวอยู่ตอนที่เราขอซื้ออัมรามนะคับ ว่า เอฟ.16 เราใช้สแปโรว์อยู่ ลองเช็คข้อมูลใหม่คับ นอกจากนี้ยังเคยเห็นรูปเอฟ.16 ทอ.ไทยติดสแปโร่ว์ที่ไพลอนใต้ปีกอยู่นะคับ
แต่ถ้าเอฟ.5 ล่ะก้อแน่นอนคับ ไม่มีแสแปโร่ว์ รุ่นอัพเกรดก้อเล่นไพธ่อน 3 ไป
ในเว็บไซต์ของกองทัพอากาศก้อยังมีแนะนำอาวุธ ซึ่งในรายการอาวุธที่ ทอ.มีใช้ มีรายการสแปโร่ว์อยู่ด้วยคับ
รวมทั้งจรวดเด็ด ๆ ที่เราอยากได้กันหลายรายการ แต่ ทอ.เค้ามีในคลังอยู่แล้วคับ
กองทัพอากาศไทย ไม่มีจรวดสแปโรว์อยู่ในกองทัพแน่นอนครับ F-16 Block 15 OCU ที่เราจัดหามา 2 ฝูงแรกไม่สามารถติดสแปโรว์ ได้ครับ แต่ฝูงสุดท้ายที่เป็น ADF มีขีดความสามารถติดได้ครับ แต่ไม่ได้ซื้อมาด้วย
ยืนยันเหมือน น้องดิ่งนรก ครับ ว่ากองทัพไทยไม่มีสแปโรว์
AIM-120 AMRAAM รุ่นแรกๆ ที่พัฒนาออกมา มีระยะยิงแค่ประมาณ 20-30 ไมล์ครับ และใกล้กว่า AIM-7 บางรุ่นด้วยซ้ำไปครับ แต่ข้อดีของมัน คือ ระบบนำวิถีแบบ active ครับ
ขอโทษทุกท่าน ตอบเร็วไปนิด ผิดไปเยอะเลย เฮ้อ