เท่าที่ผมติดตามเชียร์น้องเเจสมาได้ข้อมูลว่า.....จะมีการถ่ายทอดเทคโนโลยีทางทหารให้กับเรา(แต่ต้องซื้อในจำนวนพอสมควร) ในขณะที่ไอกันไม่เคยถ่ายทอดให้เราเลยทั้งที่ซื้อของมันต้องเยอะ
และอยากให้เปรียบเทียบในขณะที่เรามีงบจำกัด ถ้าซื้อบินขนาดใหญ่อาจได้5-6 ลำ และอาจไม่มีอาวุธติดมาเลย...........เเต่ถ้าซื้อขนาดเล็กที่เทคโนโลยีพอใช้ได้แถมมีอาวุธติดมาด้วยซึ่งในงบที่เท่ากันอาจได้ถึง12-16เครื่งผมจึงคิดว่าคุ้มกว่า
เเละหากข้างบ้านที่มีบินขนาดใหญ่ เเละบุกเข้ามาในบ้านเราซัก12ลำ ในงบที่เท่ากันหากเราซื้อน้องเเจสซึ่งได้ 12 เคื่รอง ผลคือ ตัวต่อตัว....พอได้ลุ้น แต่หากซื้อบินใหญ่ ซึ่งได้เพียง6เครื่องเเถมไม่มีอาวุธอีก ผลคือ โดนรุม ในทฤษฎีของตำรวจที่จะจับโจรคือตำรวจ3 ต่อ โจร1 ผมจึงคิดว่าลำเล็กเเต่ครบเครื่องจึงน่าจะคุ้มกว่าคับ
อีกอย่างผมอยากเสนอทฤษฎี...ระเบิดจากภายใน คือก่อนที่เราจะก้าวมาเป็นผู้นำทางทหารได้ ก่อนที่เราจะรุกโจมตีได้ เราต้องมีการป้องกันที่ดีก่อน ไม่ใช่รุกแทบตายพอโดนโต้กับทีเดียวถึงกับจบ......การซื้ออาวุธก็เหมือนกันควรซื้อเพื่อพัฒนาการป้องกันประเทศให้เข้มเเข็งก่อนเมื่อเรามีฐานที่มั่นคงการจะรุกไปข้างหน้าก็จะมั่นคงเช่นกัน
ตอนนี้ประเทศพึ่งฟื้นจากต้มยำกุ้ง.....เหมือนนักมวยที่ยังเมาหมัดควรตั้งกราดให้แน่นก่อน และเมื่อใดเราตั้งหลักได้ละก็.....................เอาตำแหน่งมหาอำนาจของกูคืนมา.....(ขอโทษที่ไม่สุภาพคับ แต่เพื่อความได้อารมณ์)
ในความคิดของผมจึงเห็นว่าเครื่องขนาดเล็กจึงเหมาะสมกับเราในตอนนี้คับ......ใครเห็นด้วยยกมือขึ้น
เครื่องบินขับไล่แบ่งเป็นสองกลุ่มนะคับ เจตนาในการใช้ก็ต่างกัน เครื่องบินขับไล่เอฟ.15 จัดเป็นเครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ เช่นเดียวกับ เอฟ.14 ซู27 ซู.30 อะไรเทือกนี้แหล่ะคับ ข้อสังเกตคือมันจะมีขนาดใหญ่มาก และส่วนใหญ่ใช้นักบินสองคนคับ ภารกิจของเครื่องบินขับไล่ประเภทนี้ คือการคุ้มกันเครื่องบินทิ้งระเบิด เพื่อเดินทางไกลไปทำลายเป้าหมาย เพราะว่าตัวมันใหญ่ ถังน้ำมันก็เลยใหญ่ตาม ทำให้บินไกลขึ้น ภาระกิจรองก็แบกลูกระเบิดไปทิ้งใส่ศัตรูที่มีเป้าหมายย่อย ๆ
อิสราเอลใช้ เอฟ.15 คุ้มกัน เอฟ.16 ไปทิ้งบอมบ์โรงงานปรมาณูโอสิรักในประเทศอิรัก เอฟ.16ต้องเติมน้ำมันกลางอากาศ 1 ยกในขาไป และลงมาเติมภาคพื้นดินอีก 1 ยกตอนขากลับ ส่วน เอฟ.15 บินไปแล้วกลับสบายบรื๋อ
ส่วนเครื่องบินขับไล่แบบที่เราใช้กัน ตั้งแต่เอฟ.5 มายัน เอฟ.16 เป็นเครื่องบินขับไล่ขนาดเบา เรียกว่าเครื่องบินขับไล่ทางยุทธวิธี หรือเครื่องบินขับไล่สะกัดกั้น มีขนาดเล็กกระทัดรัด และคล่องตัว ภาระกิจของมันมักจะบินไม่ไกลคับ ทันทีที่ข้าศึกรุกล้ำน่านฟ้า เครื่องบินขับไล่เบาจะทำหน้าที่ฝ่ายต้อนรับ จะทักทายกันด้วยอัมราม หรือสแปร์โร่ว์ก็ตามแต่ถนัด หลังจากพาข้าศึกลงไปหาข้าวหาน้ำกินที่พื้นเรียบร้อยก็บินกลับฐาน
แต่พอมารบแถวบ้านเรา เครื่องบินขับไล่เบาจะทำหน้าที่เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบาควบคู่ไปอีกตำแหน่งหนึ่งคับ
ถามว่า เอฟ.15 ดีไหม ก็ตอบว่าดีคับ แต่ว่าจำเป็นหรือเปล่านั่นเป็นอีกเรื่อง เพราะน่านฟ้าไทยไม่ได้กว้างไกลอะไรหนักหนา แค่เอฟ.5 ก็บินได้ตั้งสองพันกว่ากิโล สมัยสงครามเวียดนาม เอฟ. 5 บินรวดเดียวจากเวียดนามมาลงอุดรธานีได้สบาย
ยิ่งเอฟ.16 ยิ่งหายห่วง แค่ปิ่นมะนา หรือร่างกุ้งเติมน้ำมันเต็มถัง บินไปกลับได้สองรอบสบาย ๆ
เอฟ.15 หรือซู.30 ก็ตาม โสหุ้ยย่อมแพงกว่าเครื่องบินขับไล่เบา แถมเวลารบจริง ต้องใช้รันเวย์ยาว และเวลาการเตรียมการที่นานกว่า กว่าจะเอาซู.30 ขึ้นไปสะกัดกั้น เกรงว่ากรุงเทพฯจะเละเทะเป็นโจ๊กโดนระเบิดซะก่อนน่ะคับ
ทหารเค้าเลยสองจิตสองใจ เพราะซู.30 มันทั้งเท่ ทั้งน่าเกรงขาม แต่รบจริงกลัวจะได้แค่ขู่ เพราะร้อยวันพันปีไทยไม่เคยคิดทำสงครามเชิงรุกไปยึดบ้านยึดเมืองใครนี่คับ ขืนเอามาใช้ตั้งรับ เกรงจะกว่าสตาร์ทติด ข้าศึกก็จะเปิดก้นหนีหายไปหมดแล้ว โดยทิ้งความพินาศของบ้านเมืองไว้ให้ดูต่างหน้า
ของบางอย่างดี แต่เหมาะสม หรือจำเป็นหรือเปล่า นั่นเป็นอีกเรื่องคับ
ให้ดูอิรักเป็นตัวอย่าง มี ซู.27 ซึ่งเป็นเครื่องบินคลาสเดียวกับ เอฟ.15 เวลารบจริงกว่าจะบินขึ้น รันเวย์ก็เละเป็นเบ้าขนมครกไปแล้ว ขนาดมิก.29 ซึ่งเป็นเครื่องบินขับไล่สะกัดกั้น ยังทำได้แค่บินหนีไปลี้ภัยในอิหร่านซะ 3-400 เครื่อง
ของใหญ่ ๆ มันร้ายกาจ แต่ความอืดอาดในการเตรียมตัวรบก็มีมาก จึงไม่เหมาะที่จะใช้ตั้งรับ ตามนโยบายการป้องกันประเทศของไทย
ใช้กรีเป้น หรือเอฟ.18 น่ะ ถูกต้องแล้วคร๊าบ....
ที่เรามาโพสบอกความรู้สึกว่าอยากได้นู่น ได้นี่ไอนั่นไม่ดี ไอนั่นไม่คุ้ม พวกที่มีอำนาจที่สามารถซื้อเครื่องบินมันจาฟังเรามั้ยคับ หรือมันจาเอาแต่ความคิดมันหรือค่ายใหนให้ค่านายหน้ามากกว่า ผมว่าถ้า ถ้านะ เปนไปได้มีการทำประชามติ จะดีมะ เชินผู้รู้จิงๆอะมาอดอกความคิดกัน นำข้อมูลมาประชันกันเลย ถ้าทำได้ป่านนี้ไทยมีเครื่องบินใหม่2ฝูงแล้ว ไม่ใช่เสนออะไรไปก็ค้าน ไม่จำเปนต้องซื้อจาเอาไปทำสงครามกับใคร พวกนี้ไม่น่ามีอยู่ในประเทศไทยนะถ่วงความเจริญ
ทำไมถึงอยากได้ของสวีเดน
***********************
ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
ผมคิดว่า เหตุที่เรามอง f16 กับ jas39 เป็นพิเศษนั้น
น่ามาจาก ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ในแต่ละครั้งที่บินขึ้น
บินลง เครื่องทั้งสองแบบนี้ รู้สึกว่าจะใช้ทรัพยากร
ธรรมชาติ และทรัพยากรในกระเป๋าน้อยกว่า แบบอื่นๆ
ที่ร่วมๆแข่งขันกันมา ส่วนเรื่อง ความสามารถของเครื่อง
ผมคิดว่า มันเป็นไปตามแนวทางการวางกำลังของเรา
เองเสียมากกว่า คือเท่าที่ดูๆ เราไม่ได้ใช้ยุทธศาสตร์
ในการบุก แต่เป็น ยุทธศาสตร์ในการตั้งรับเสียมากกว่า
ในความรู้สึกผมแล้ว เครื่อง su30 f15 f16c/d&i f18
jas39 ราฟาล ผมว่า ประสิทธิภาพในการรบไม่น่าจะ
แตกต่างกันมาก การรบทางอากาศจริงๆแล้ว ปัจจัยที่
จะทำให้ชนะอย่างเด็ดขาด ใน100% นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่
กับเครื่องบินแต่เพียงอย่างเดียว คน ระบบอำนวยการ
รบ ยุทธศาสตร์การวางกำลัง ความพร้อมและอื่นๆอีก
มากมายทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องกับผลแพ้ชนะทั้งนั้น
โอกาศที่จะเกิดสงครามจริงๆจังๆ เต็มรูปแบบนั้นคงมี
ค่อนข้างน้อย ผมคิดว่า ที่เราต้องมี เครื่องรุ่นใหม่ๆก็
เพื่อถ่วงดุลย์ให้มันสมกันเท่านั้นเอง เครื่องเล็กๆอย่าง
jas f16 ที่มีค่าบำรุงรักษาต่ำ น่าจะเป็นคำตอบที่ดี
และเหมาะสมกับประเทศกสิกรรมเล็กๆ อย่างเรา
สุดท้ายก็เป็นแบบพอเพียงอยู่ดี
ที่ผ่านมานั้นกำลังทางอากาศของสหรัฐฯยังไม่เคยมีประวัติการรบกับ บ.ในตระกูล Flanker ในสงครามจริงแม้แต่ครั้งเดียวครับ
เท่าที่เคยทราบมา บ.Su-27 นั้นใช้ Runway ในการบินขึ้นสั้นกว่า F-15 ครับโดยเฉพาะรุ่นที่ติดปีก Canard เพื่อเพิ่มแรงยกนี้จะใช้ใช้ทางวิ่งขึ้นในระยะที่สั้นมากๆได้ครับ (ใช้ Runway ยาวสัก 1200เมตรก็ได้แล้ว)
เอฟ.16 ใช้ทางวิ่งแค่ 600 เมตร ครึ่งนึงของซู.น่ะคับ ดังนั้นเวลารบกันหนัก ๆ รันเวย์ถูกทำลายหมด เอฟ.16ย่อมดีกว่าแน่นอน เพราะไม่ต้องทำทางวิ่งกันเป็นกิโล
ดูวิดีโอเรื่องเอฟ.16 มาหลายครั้ง เวลาบินขึ้นน่าทึ่งคับ แค่ตั้งลำ เร่งสปีดแค่ไม่กี่วินาทีก้อโผนขึ้นอากาศไปแล้ว
แต่ซู.30 เอาแค่ตั้งลำยังเสียเวลา เพราะลำมันใหญ่ ถ้ารันเวย์โดนทำลาย ต้องไปสร้างสนามบินลับในป่า รับรองว่าลับยากคับ เพราะต้องถางต้นไม้ออกกันอุดตลุด กว่าจะเคลื่อนที่ กว่าจะเร่งสปีด กว่าจะลอยพ้นพื้น เอฟ.16 ที่ออกตัวพร้อมกันขึ้นฟ้าไปเป็นหมู่แล้วคับ
ยกเว้นแต่เราเปลี่ยนนโยบาย หันไปไล่ตื้บเพื่อนบ้านก่อนแบบอิสราเอล ซู.จะเหมาะมาก เพราะฝ่ายเริ่มต้นก่อนจะมีเวลาเตรียมตัวได้มากกว่า ซู.30 นอกจากจะเป็นเครื่องบินขับไล่ มันก้อยังเป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดได้กลาย ๆ ฝุงนึงแห่กันไปปูพรมนี่ เมืองเล็ก ๆ ก้อเละเทะได้เหมือนกัน
แต่ถ้าเราหวังตั้งสงบ ไม่รุกรานใครก่อน เครื่องบินขับไล่สะกัดกั้นสมรรถนะสูง อย่างเอฟ.16 เอฟ.18 หรือกรีเป้นจะดีที่สุดอย่างที่ว่ามาแล้ว
ขนาดแค่เอฟ.5 หิ้วระเบิด 250 ปอนด์ไปลำละเท่าทุน ไปทีละสองลำยังอัดข้าศึกจนเละเทะมาแล้วไม่รู้กี่สมรภูมิ ถ้าเป็นเอฟ.16 หรือเอฟ.18 ที่บรรทุกลูกระเบิดได้มากกว่า ลูกใหญ่กว่า มันย่อมไม่ธรรมดาแน่นอน ถึงจะเป็นรุ่น เอ.ที่ใช้อยู่ปัจจุบัน แม้สมรรถนะจะด้อยกว่าเอฟ.18 หลายขีด แต่จากการทดสอบแม้แต่มิก 25 ยังเอา เอฟ.16ไม่อยู่คับ
ถ้าไม่ใช่มิก.29 หรือ ซู 27 ก้อหาตัวต่อกรกับเอฟ.16 ยากเหมือนกัน อย่านึกว่ามันกระป๋องคับ ถ้าไม่ดีมันคงไม่ครองตำแหน่งเครื่องบินขับไล่ที่มีประเทศรับเข้าประจำการมากที่สุดในโลกดอกคับ
มิก.29 ของอิรักยุคสงครามอ่าว กำลังบินเรี่ยยอดไม้ พอมองเห็นเอฟ.16 ของสหรัฐ ก้อเร่งสปีดหนีหูตาตั้ง เพราะถ้ามาประกบตัวกันแบบด็อกไฟต์ ให้ซู.30 ก็ยังไม่แน่ว่าจะเอฟ.16 ลงง่าย ๆ หรือเปล่า
ถึงมิกและซูจะมีความปราดเปรียวเพียงใด แต่มันก้อใหญ่ และหนักกว่าเอฟ.16 หากประกบไล่ยิงกันตัวต่อตัว โอกาสที่มิก หรือซู จะโดนเอฟ.16 เล่นประตูหลังด้วยไซน์ไวเดอร์มีสูงคับ
ดังนั้นนักบินอิรักจึงต้องหนี เพราะพวกเล่นโผล่พรวดมาเจอกันจั๋ง ๆ แบบไม่ทันส่องเรด้าร์ แถมเอฟ.16ยังแห่กันมาเป็นฝูง แค่ตัวต่อตัวก้อแย่แล้ว
ยุทธวิธีของเครื่องบินขับไล่เบาก้อจะใช้วิธีนี้ อาศัยการเตรียมการบินขึ้น และระยะทางวิ่งที่สั้น เพื่อรอให้ข้าศึกถลำเข้ามาอย่างใจเย็น แล้วบินพรวดขึ้นไปเล่นจ๊ะเอ๋กลางอากาศ ต่อให้เรด้าร์หัวเครื่องบินที่จับเป้าได้เป็นร้อยไมล์ก็ไม่มีความหมายล่ะคับ
ในสงครามเวียดนาม เครื่องบินขับไล่ทางยุทธศาสตร์ เอฟ.111 ลำใหญ่โต ขนาดใช้เป็นเครื่องบินทิ้งระเบิดได้สบาย ๆ กลายเป็นเหยื่อโอชะของมิก 21 แบบหมดทางสู้ ขนาดเอฟ.4 แฟนธ่อม ก้อต้องสองรุมหนึ่งคับ ถึงจะต้อนมิกอยู่
สรุปแล้ว เครื่องบินยุคเวียดนาม ก้อมีแต่เอฟ.5 นี่แหล่ะคับ ที่มีสมรรถนะสูสีกับมิก 21 สหรัฐจึงไม่สร้างเครื่องบินขับไล่ขนาดยักษ์แบบ เอฟ.111 ขึ้นมาอีก แม้แต่เอฟ.14 และเอฟ.15 ก็ยังมีขนาดเล็กกว่าเอฟ.111
ขนาดสหรัฐยังขยาดมิก 21 เครื่องบินขับไล่เบาไซต์เล็กของค่ายม่านเหล็ก ทำไมถึงยังคิดว่า เอฟ.15 หรือ ซู.30 จะเป็นเครื่องขับไล่ที่ดีที่สุดสำหรับไทยล่ะคับ
ความจริงแล้ว ผมก็ชอบเอฟ-15นะ
มันไม่เกี่ยวหรอกครับ ใครคล่องตัวกว่าใคร เพราะเครื่องบินรบสมัยนี้ ผมว่ามันอาศัยแค่ว่า ใครหมัดยาวกว่ากันก็ชนะ
ยิ่งเอฟ-15 ด้วยแล้ว หมัดแก(จรวด) ก็ยาว ไม่เป็นสองรองใคร ยิ่งบวกกับสายตา(เรดาห์) ด้วยแล้ว
เห็นก่อน ยิงก่อน นี่สิ สโลแกนของเครื่องบินในปัจจุบัน.....
-F-16 บินขึ้นโดยใช้สนามบินส่วนหน้าที่ปูด้วยแผ่นเหล็ก หรือ คอนกรีต ไม่ได้ ต้องเป็นสนามบิน ที่มีรันเวย์ราดยางเท่านั้น ในขณะที่ยาส สามารถบินขึ้นได้ แม้เป็นรันเวย์ปูด้วยแผ่นเหล็ก หรือถนนคอนกรีตก็ยังได้ ถ้าจะมองในแง่ความอ่อนตัวในการปฏิบัติการ ยาสชนะขาดครับ (กระทู้เกี่ยวกับการบินขึ้นนี้ ในเว็บF-16.net เคยว่าไว้ครับ) แต่กับซู ไม่รู้จริงๆว่า จะปฏิบัติการได้แค่ไหน แต่มิก-21นั้น ขนาดสนามบินลูกรังก็ยังบินได้ (ถ้าหินไม่พลัดเข้าอินเทคก่อนนะ)
-F-111 ถึงแม้ขึ้นต้นด้วยF แต่จริงๆแล้ว ไม่ใช่แม้แต่น้อย จริงๆแล้ว มันคือบ.ทิ้งระเบิดขนาดกลางทางยุทธวิธี ความเร็วเหนือเสียง (เช่นเดียวกับF-117 ที่ไม่มีใครเอาขึ้นไปบินสู้ข้าศึก ที่ตั้งชื่อว่าF คงเป็นเพราะหลีกเลี่ยงการใช้คำว่าB-Bomber เนื่องจาก จะทำให้ดูว่า ไม่เป็นการสิ้นเปลืองงบชาติเมื่อเสนองบ ต่อคองเกรส) ดังนั้น จุดหมายคือ ถล่ม แล้วชิ่งหนีนั่นเอง จึงไม่แปลกที่จะโดนมิก-21 ถล่ม เพราะมันก็คือ บอมเบอร์ มิใช่ไฟเตอร์ จึงนำมาเทียบกับเอฟ-14 ซึ่งสร้างในช่วงเวลาใกล้ๆกัน ไม่ได้แม้แต่น้อย เหมือนจับเอาเอ-10 มาติว่า โดนเอฟ-16ไล่ ก็ตกแล้ว นั่นเอง
เอวัง
กดส่งแล้วหาย แงๆ T^T
น้องมิก น้องซู ใช้สนามบินลูกรังได้ครับ
จะสังเกตว่าตรงด้านบนปีกของน้องมิก และใต้ท่อ intake ของน้องซู จะมีบานเกล็ดอยู่
ตรงนี้ทำหน้าที่เป็น intake เวลาวิ่งขึ้นจากสนามลูกรังครับ
(เค้าจะปิดท่อใหญ่ไว้ กันหินกระเด็นเข้า)
โดยแนวคิดแล้ว ยุทโธปกรณ์ทางฝั่งรัสเซีย จะมีความ"เถื่อน" มากกว่าฝั่งตะวันตกครับ
ทั้งแต่ ปลย.ไปยัน บ.เลย ^^
เรื่องความคล่องตัวนี่
ญาติมิตรของ Su-27 ที่มีคาร์นาร์ดกับท่อท้ายปรับได้นี่
ไม่แพ้ F-16 หรอกครับ แต่เสียเปรียบตรงตัวใหญ่+หนักกว่า
ถ้าจำไม่ผิด F111 ตอนเริ่มสร้างสมัยยังเป็นเครื่องบินทดสอบนั้นถูกออกแบบให้เป็น Fighter-Bomber โดยจะเสนอให้กับ ทอ แ เพื่อที่จะเป็นเครื่องบินที่สามารถบินไกล และ สามารถใช้นิวเคลียร์ได้ โดยมีอาวุธอากาศสู่อากาศ ส่วน ทร สรอ ก็มีความอยากที่จะหาเครื่องบินที่จำทำหน้าที่คุ้มกันกองเรือ ดังนั้นGE จึงออกแบบมาเพื่อสนองความต้องการดังกล่าว
ส่วนการใช้งานจริง มีแต่ ทอ สรอ เท่านั้นที่มีใช้งาน และ เริ่มใช้งานในสงครามเวียดนามโดยเปิดซิงตัวเองด้วยยุทธการ Line Backer ส่วนตัวเลขที่น่าสนใจคือ F111 มีน้ำหนักบรรทุกสูงกว่า F4 ถึงสี่เท่าตัว และ มีสถิติการรับภาระกิจรบที่เวียดนาม 4000 mission โดยสูญเสียเป็นจำนวนเพียง หก เครื่องเท่านั้น
ส่วน ทร สรอ ได้ยกเลิกการรับมอบเครื่องบินแบบนี้เนื่องจากไม่ผ่านการทดสอบครับ
ผิดพลาดอะไรผมขออภัย เนื่องจากอยู่ในช่วง งด"เล่า"เข้าพรรษาครับ
The USAF's Tactical Air Command (TAC) was largely concerned with the fighter-bomber and deep strike/interdiction roles, which in the early 1960s still focused on the use of nuclear weapons. The aircraft would be a follow-on to the F-105 Thunderchief, which was designed to deliver nuclear weapons low, fast and far. Air combat would be an afterthought until encountering MiGs over Vietnam in the mid 1960s. In June 1960 the USAF issued a specification for a long-range interdiction/strike aircraft able to penetrate Soviet air defenses at very low altitudes and very high speeds to deliver tactical nuclear weapons against crucial Soviet targets like airfields and supply depots. Included in the specification were a low-level speed of Mach 1.2, a high-altitude speed of Mach 2.5, a combat radius of 890 mi (1,430 km), good short-field performance, and a ferry range long enough to reach Europe without refuelling.
Navy requirement
Meanwhile the US Navy had, since 1957, been searching for a long-range, high-endurance interceptor to defend its carrier groups against the new generation of Soviet jet bombers, which by then were being armed with huge anti-ship missiles with nuclear warheads. The Navy needed a Fleet Air Defense (FAD) aircraft with better loitering performance and load-carrying ability than the F-4 Phantom II, and one equipped with a powerful radar and a battery of long-range missiles to intercept both bombers and their missiles.
The Navy had studied, but rejected, a slow straight-winged missile carrier, the F6D Missileer. In December 1960 the Navy had been reconsidering variable geometry for the FAD requirement. The trend toward ever bigger, more powerful fighters posed a problem for the Navy: the current generation of naval fighters were already barely capable of landing on an aircraft carrier deck, and a still larger and faster fighter would pose even greater problems. An airframe optimized for high-speed ? most obviously with a high-angle swept wing ? is inefficient at cruising speeds, which reduces range, payload, and endurance, and leads to very high landing speeds. On the other hand, an airframe with a straight or modestly swept wing, while easier to handle and able to carry heavy loads over longer distances on a minimum of fuel, has lower ultimate performance. Variable geometry, which the Navy had tried and abandoned for the XF10F Jaguar in 1953, offered the possibility of combining both in a single airframe
ผมขอเชื่อSourceนี้ไว้ก่อนครับ
ถ้าแปลเป็นไทยคร่าวๆคือ โครงการณ์ของเอฟ-111 นั้น ถ้าเป็นสเป๊คทอ. คือ บ.ขับไล่ทิ้งระเบิดครับ
แต่ทร. คือบ.ขับไล่สกัดกั้นครับ
F-111A ที่ปฏิบัติการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็นบ.ขับไล่ทิ้งระเบิดแต่แรกแล้ว
After early testing a detachment of six aircraft were sent in March 1968 to Southeast Asia for Combat Lancer testing in real combat conditions in Vietnam. In little over a month, three aircraft were lost and the combat tests were halted. It turned out that all three had been lost through malfunction (primarily with the terrain-following radar), not by enemy action. This caused a storm of political recrimination, with US senators denouncing Secretary of Defense McNamara's judgment in procuring the aircraft
และจากย่อหน้านี้ F-111สูญเสียจากการทำงานผิดปกติ ไม่ใช่จากการโดนยิงตก (แต่ว่าตำราอเมริกันนะครับ อย่าไปเชื่อมาก.............. )
อืม อ่านความเห็นท่าน x1 แล้วชอบใจครับเห็นคนส่วนใหญ่อยากได้โน่นอยากได้นี่โดยไม่ได้ดูตัวเราเองเลยว่าพร้อมจะได้ของใหญ่ๆ หรือแบบใหม่ๆแค่ไหน ยกตัวอย่างถ้าเราได้ f15 หรือซู30 หรือ f18 นี่ค่าน้ำมันก็เป็นสองเท่าของ f16 ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา2 เครื่องยนต์ก็ 2 เท่า ส่วนเรื่อง 1 เครื่องยนต์ กับ 2 เครื่องยนต์เลิกพูดกันได้แล้วว่า1 เครื่องยนต์ถ้าขัดข้องจะตก ใช้ในทะเลไม่ได้ a7 ไอ้กันใช้บนเรือบรรทุกบ.ตั้งแต่ยุคสงครามเวียดนาม ที่สำคัญเครื่องยนต์และชิ้นส่วนบังคับ นี่เค้าเปลี่ยนตามอายุ ครบชั่วโมงปุ๊บเปลี่ยนปั๊บ ถ้าวิตกเครื่องยนต์เสีย ก็น่าจะวิตกไฮโดรลิก แพนหางดิ่งแพนหางระดับรั่วด้วยเหมือนกัน รถชั้นดีอย่าง benz bmw รุ่นใหม่ๆระบบ mantainance ก็เปลี่ยนตามอายุใช้งานเหมือนกัน โอกาศเสียกลางถนนยากมาก แล้วจะกังวลอะไรกับเครื่องยนต์เครื่องบินล่ะครับ
ฉะนั้นในเม็ดเงินที่มีอยู่จำกัดเราจะได้อะไรดีละ
1 f16block52 หรือ block 60 12 ตัว พร้อมรบ แต่ f16 อีก59 ตัวที่มีอยู่ยิงจรวดพิสัยกลางได้ไม่ถึง10 ตัว ที่เหลือยิงได้แต่ aim9
2. jas 39 หรือ f18 จำนวน12 ตัว ในงบประมาณไม่ต่างจาก f16 ในข้อ1 เท่าไหร่ แต่ได้แต่ตัวกับระบบอาวุธ ส่วนโรงซ่อมบำรุงช่างเทคนิคต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะชำนาญ กับเงินพอๆกับค่าตัวสำหรับระบบสนับสนุนภาคพื้น ได้มาแล้วไม่พร้อมรบจะได้มาทำไม ซื้อสากดีกว่า ไม่งั้นก็เหมือนสปาด้าที่ได้มาน่ะครับ
3. อัพเกรด 59 ตัวให้เป็นรุ่น cd กับอัพ f5 32 ตัว เปลี่ยนให้หมดเลยไล่ตั้งแต่เครื่องยนต์ระบบบังคับยันเรดาห์ฮัด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกับ ทอ.บราซิล(บราซิลกับ สิงค์โปร์เค้าไม่เคยบ่นเลยว่า f5 เก่าจะตก คนในวงการบินเค้ารู้กันดีว่าเป็นข้ออ้างที่ฟังไม่ขึ้นของคนอยากซื้อเครื่องใหม่กินคอมมิชชั่น เครื่องบินแอร์เอเชีย เครื่องบินที่ไอ้กันใช้บินกันว่อนทั้งประเทศอายุ30-40 ปีก็บินได้อยู่เพียงแต่เปลี่ยนเครื่องระบบบังคับอวิโอนิกส์ตามอายุใช้งานก็เท่านั้น) ที่ปรับปรุงโดยยิวร่วมกับ อิตาลี ที่ยิงอัมรามได้ กับซื้อ ระบบ falcon ติด gulf stream ซัก2 ตัว(ซื้อ erieye มาก็เชื่อม 3c,4c กับ f16 และ f5 ยาก แต่ถ้าเป็นระบบ falcon เชื่อมกับ f5) ซึ่ง ประสิทธิภาพการรบข้อ3 สูงที่สุดในจำนวนเท่าๆกัน เมื่อเทียบกับ2 ข้อแรก แต่ปัญหาคือขัดใจคนมีอำนาจที่จะชวดคอมมิชชั่น กับคนไทยส่วนใหญ่ที่อยากได้ของใหม่แต่ไม่รู้เลยว่าได้มาเพื่ออะไรครับ
อิอิอิ ท่านnars ผมชอบตัวเล็กๆ หมวยๆ ดัดฟันน่ะครับ
เมื่อมาโยงกับเรื่องเครื่องบินแล้ว สมควรอย่างยิ่งที่จะถอย เจ-10 !!!
(จะบ้าเรอะแก!!! โดนป๋าปืนเขกกะบาล1ที) คือ ถ้าเอฟ-16 59ลำที่มีเอ็มแอลยูหมด เกรงว่า อายุการใช้งานของบ.เมื่อคำนวณสะระตะแล้ว ไม่คุ้มค่าที่จะอัพเกรดมัน ผมก็จะไม่ทำมัน(เรื่องค่าคอมเพรสเซอร์ นั่น อันนี้ ทำอะไร มันก็ได้ครับ ยกเว้นซื้อของในประเทศหรือ ทบ.ผลิตเองอ่ะนะ ยิ่งค่าซ่อมนี่หวานคอแร้งเลย ตรวจสอบยาก แถมล็อกสเป็กง่ายด้วย)
ถ้าทางเลือกคือบ.ใหม่ ผมก็ยังยืนยันสเป็คเดิม ขาว สวย ตัวเล็ก เอฟ-16 นั่นเองครับ ไม่เล็กเกินเหมือนยาส แต่ก็ไม่ใหญ่เท่าเอฟ-15 ระบบยังทันสมัย (ถ้า)ราคาเหมาะสม นี่คือตัวเลือกอันดับ1ในใจผมครับ แต่ถ้าราคาเวอร์ไป อันนี้ต้องมาพิจารณาล่ะนะ (แต่ผบ.ทอ.จะคิดยังไงอีกเรื่องเพราะผมสั่งท่านไม่ได้ )
F-5 นี่ ตกให้ดูเป็นตัวอย่างหลายลำแล้วครับ
ไม่ใช่แค่ข้ออ้างลอยๆ แน่นอน
บ.น่ะ เปลี่ยนอะไรก้อเปลี่ยนได้ครับ
แต่โครงสร้าง บ.มันก้อมีอายุการใช้งานของมัน
บินแต่ละทีโครงสร้างมันก้อต้องรับแรงกระทำมากมาย
พอถึงจุดนึง มันก้อต้องปลดครับ เพราะตัว บ.ไม่ไหวแล้วจริงๆ