อยากถามทุกท่านว่า จรวดต่อต้านรถถังแบบนำวิถีด้วยเส้นลวดนั้นมันเป็นอย่างไรหรอครับ
ผมเคยเห็นในคลิปวีดีโอ พอยิงไปแล้ว เหมือนมีเส้นลวดโผล่ออกมาจากท่อยิง ประมาณ 1 ฟุต(เท่าที่เห็นชัดเจน จากในภาพนะครับ) หรือว่ายิงออกไปแล้วมันเป็นเส้นลวดติดไปกับจรวดด้วยเลย ผมไม่เข้าใจจริงๆครับ
สรุปคำถามนะครับ
1.จรวดต่อต้านรถถังแบบนำวิถีด้วยเส้นลวดทำงานอย่างไร
2.ระยะที่ยิงออกไป ไปได้ไกลเท่าไหร่
ขอบคุณครับ
ความคิดเห็นที่ 1
....ก้อคล้าย ๆ กัน ประมาณนั้นอ่ะคับ เหมือนปืนฉมวกหัวเรือล่าปลาวาฬง่ะ แต่จุดมุ่งหมายต่างกัน ปืนฉมวกเค้าผูกเชือกไว้ที่หางลูกฉมวก เพื่อต้องการดึงเอาตัวปลามาใกล้เรือ....
....ส่วนจรวดนำวิถีด้วยเส้นลวด จะถูกบังคับให้มันวิ่งเข้าเป้าหมายโดยผ่านการบังคับที่เส้นลวด พอยิงตุ้ง...พลยิงจะแนบกล้องเล็ง ๆ ตามไปตลอดโดยคอยหันกล้องเล็งให้กากะบาททาบเป้าไว้ตลอดเวลา เส้นลวดที่ผูกลูกจรวดติดกับรอกที่เครื่องยิง ก้อจะรั้งลูกจรวดให้เบนเข้าหาเป้าตามมือพลยิงที่บังคับกล้องเล็งอยู่...
....ข้อดี...
1. พลาดเป้ายากมาก ไม่มีอะไรแจม หรือรบกวนการนำวิถีได้...ยกเว้นแต่ยิงข้ามง่ามไม้ ทำให้เส้นลวดถูกรั้ง ไม่สามารถบังคับได้....
2. เนื่องจากระบบนำวิถีไม่มีส่วนใดเป็นคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ดังนั้นจึงสามารถใช้พลทหารในการบรรจุ ยิง และบังคับนำวิถีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาฝึกสอนมาก
3. มีราคาถูกมากในอาวุธนำวิถีทั้งหมด
....ข้อเสีย....
1. วิ่งไปยิงไปไม่ได้ ต้องจอดยิงอย่างเดียว มีสิทธิ์ถูกสวนเอาหงายท้องหงายไส้ได้ หากข้าศึกมากันหลายคัน
2. บรรจุลูกใหม่ช้า พลกระสุนต้องเสียเวลาเกี่ยวลวดก่อนบรรจุ...
3 ไม่สามารถโจมตีวิถีโค้ง ยิงตรงลูกเดียว จึงมีสิทธิ์เจอเข้ากะเกราะ RTA ที่สามารถทำลายหัวรบของจรวดต่อสู้รถถังได้....
4. มีขีดจำกัดเรื่องภูมิประเทศและสิ่งกีดขวางมาก เมื่อใช้ยิงจาก ฮ.
.....อย่างไรก้อตาม ทราบว่ามี TOW 2 บางเวอร์ชั่นที่เปลี่ยนการนำวิถีด้วยเส้นลวดมาเป็นเลเซอร์แทน เพียงได้ยินแว๊บ ๆ แล้วก้อจางหายไปกับสายลม....
จากท่าน x1 ที่เคยกล่าวไว้ในกระทู้หลังๆครับ
โดยคุณ
tow เมื่อวันที่
03/08/2007 15:06:10
ความคิดเห็นที่ 2
รายละเอียด :
อยากถามทุกท่านว่า จรวดต่อต้านรถถังแบบนำวิถีด้วยเส้นลวดนั้นมันเป็นอย่างไรหรอครับ
***************************
คุณเคยเล่นรถบังคับแบบถูกๆสมัยก่อนมั้ยครับ?
เหมือนกันล่ะครับ ตัวจรวด=รถ
ลวดบังคับ=สายไฟ
ฐานปล่อยจรวด=รีโมทบังคับ
ข้อดีข้อเสีย ท่าน Tow ตอบได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว
*ปล จรวดแบบนี้ เป็นที่ชื่นชอบของ
พวกหน่วยรบสามล้อถีบยิ่งนัก
โดยคุณ
Acid เมื่อวันที่
03/08/2007 15:28:21
ความคิดเห็นที่ 3
คือการทาบทับศูนย์เล็งไว้กับเป้าหมายตลอด ก็คือการส่งซิกนั่ลเข้าไปที่ระบบควบคุมการยิง โดยระบบประมวลผลจะส่งสัญญาณบังคับให้จรวดหักเลี้ยวไปตามแนวเล็งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นๆ ระบบควบคุมการยิงแบบนี้นิยมกันในจรวดแบบประทับบ่า เช่น แซมแบบ โบว์ไป้ป์ ของอย.(ปลดแล้ว) หรือเป็นอาร์บีเอส-70 รุ่นใหม่ ก็เป็นแบบนี้ มีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย ระหว่าง แซมประทับบ่า กับจรวดปราบรถถัง คจตถ. ตรงที่ ตัวนำในการส่งผ่านคำสั่ง ของแซมเป็นการส่งคลื่นวิทยุไปในอากาศ แต่ของ คจตถ. เป็นการส่งผ่านสายไย ไฟเบอร์ออปติค (ผ่านระหัสดิจิต้อลโดยการวาววับ)..................ทำไมแซมจึงไม่ใช้เส้นไย เพราะ มันอิรุงตุงนัง เป็นผลเสียทางหลักอากาศพลศาสตร์ ซึ่งต้องการความคล่องแคล่วฉวัดเฉวียนในการไต่ตามเป้าหมาย ขณะที่รถถังเป็นเป้าหมายเคลื่อนที่ช้า สญญาณดิจิต้อลวาบวับในเส้นไยที่คลี่ออกจากม้วน ไม่รู้ไม่ชี้กับระบบก่อกวนที่แพร่ไปในอากาศ แต่ก็ต้องระวังไปเกี่ยวกับกิ่งไม้ เส้นไยขาดจะสูญเสียการควบคุม.........................................
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 15:50:54
ความคิดเห็นที่ 4
ขออธิบายเส้นใยไฟเบอร์ออปติคต่ออีกหน่อย........................กล่าวคือ แสงเดินทางเป็นเส้นตรง การจะให้แสงเคลื่อนที่ไปในทิศทางคดโค้งนั้น ทำได้ดดยการสะท้อนหักเห...............................เส้นใยไฟเบอร์ออปติคเป็นนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการนี้อย่างได้ผล ...........อุปมา ลำแสงเป็นเหมือนลูกปิงปอง เราข้างลูกปิงปองไปในท่อคดโค้ง ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งไม้บรรทัด ...................... ถ้าในทางไอเดียว แรงตกกระทบเท่ากับแรงสะสอน(รีบาวนด์)ทุกครั้งที่ตกกระทบ ลูกปิงปองจะสามารถทะลุผ่านไปยังปลายอีกด้านหนึ่งได้....................เส้นใยตัวนำสามรถสะท้อนลำแสงเล็กๆ(สว่างรำไรเท่าปลายไม้ขีด) ไปได้ไกลค่อนประเทศ เนื่องจากเป็นการสะท้อนกลับหมด (แสงตกเท่าไดสะท้อนกลับไปเท่านั้น ไม่ถูกซึมซับที่ผิว) จึงมีค่าเข้าไกล้ความเป็นไอเดียล ซึ่งถ้าเป็นไอเดียลจริงๆ ลำแสงในไฟเบอร์ออปติคจะส่งไปได้เป็นระยะอนันต์ ซึ่งในความเป็นจริง ยังมีการสูญเสีย โดยยังต้องอาศัย รีพีตเต้อร์ในการทวนสัญญาณ.......................................จบเรื่องเส้นใยนำแสง...................................แล้วที่นี้เราส่งข่าวสารอะไรไปกกับแสงนั้น มีต่อ
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 16:08:34
ความคิดเห็นที่ 5
ผมอ่านที่เขียนเองแล้วงง .............. เอาใหม่ขอเรียบเรียงใหม่.................กล่าวคือ โดยปกติแสงเดินทางเป็นเส้นตรง การจะให้แสงเคลื่อนที่ไปในทิศทางคดโค้งได้นั้น ทำได้โดยการสะท้อนหักเห...............................เส้นใยไฟเบอร์ออปติคเป็นนวัตกรรมที่สนองต่อความต้องการอย่างได้ผล ...........อุปมา ลำแสงเป็นเหมือนลูกปิงปอง เราขว้างลูกปิงปองไปในท่อคดโค้ง ซึ่งมีเส้นผ่านศูนย์กลางราวหนึ่งไม้บรรทัด ...................... ถ้าในทางไอเดียว แรงตกกระทบเท่ากับแรงสะท้อน(รีบาวนด์) ทุกๆครั้งที่ลูกปิงปองตกกระทบผิว ลูกปิงปองจะกระเด้งด้วยแรงที่มีค่าเท่าเดิม ดังนั้น ลูกปิงปองจะสามารถกระเด้งกระดอนไปในท่อ จนทะลุผ่านไปยังปลายอีกด้านหนึ่งจนได้....................เส้นใยตัวนำสามรถสะท้อนลำแสงเล็กๆ(สว่างรำไรเท่าปลายไม้ขีด) ไปได้ไกลค่อนประเทศ เนื่องจากเป็นการสะท้อนกลับหมด แสงตกเท่าไดสะท้อนกลับไปเท่านั้น (เกือบจะเรียกว่า)ไม่ถูกซึมซับที่ผิว จึงมีค่าเข้าไกล้ความเป็นไอเดียล (ซึ่งถ้าเป็นไอเดียลจริงๆ ลำแสงในไฟเบอร์ออปติคจะส่งไปได้เป็นระยะอนันต์ )ซึ่งในความเป็นจริง ยังมีการสูญเสียพลังงาน โดยถูกซึมซับอยู่บ้าง โดยยังต้องอาศัย รีพีตเต้อร์ในการทวนสัญญาณ.......................................จบเรื่องเส้นใยนำแสง...................................แล้วที่นี้เราส่งข่าวสารอะไรไปกกับแสงนั้น มีต่อ
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 16:16:08
ความคิดเห็นที่ 6
เป็นที่ทราบกันว่า สัญญาณสื่อสารที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ สัญญาณ อานาหล็อก และสัญญาณ ดีจีต้อล ...............................สัญญาณแบบแรกเป็นสัญญาณไม่คงที่แปรเปรียนขนาดและรูปแบบไปตามเวลา ยกตัวอย่างสัญญาณอานาหล็อกในธรรมชาติได้แก่ คลื่นเสียง คลื่นเสียงมีลักษณะรูปพรรณและขนาดเปลี่ยนแปลงไม่แน่นอนไปตามเวลา ..............................ในขณะที่สัญญาณดิจิต้อล คือสัญญาณที่ผ่านการเข้าระหัส ความเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาหนึ่งๆของสัญญาณ เป็นไปได้เพียง 2 ทางเลือก........................ขออภัย ปวดชิ้งฉ่องกระทันหัน ขอลาเข้าห้องน้ำแป้บ เด๋วมาร่ายต่อ..................
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 16:23:51
ความคิดเห็นที่ 7
เอาหล่ะ ต่อๆๆ..........................ผมขอยกตัวอย่าง การใช้สัญญาณอนาหล็อก และ ดีจีต้อลแบบง่ายๆ ในวาระเดียวกันของ 2 คน................... ริชชาร์ด คุณพ่อยังหนุ่มถาม แพรต กับ วิทนี่ย์ สองสาวแฝดวัยกำดัดผู้เป็นลูก ว่า เที่ยงนี้ใครจะไปทานส้มตำซกเล็ก ร้านตีนสะพานไทยลาวกับพ่อ...............วืทนี่ย์ แฝดผู้พี่ จีบปากจีบคอ "หนูไป" กล่องเสียงประกอบด้วยสายเสียง สั่นด้วยอาการออสซิลเหลตแบบแดมป กำเหนิดคลื่นเสียงความถี่ที่หูมนุษย์สามารถได้ยิน ผ่านไปยังกระพุ้งแก้ม ลิ้นไก่ ไรฟัน และริมฝีปาก แปรรูปเป็นคลื่นเสียงในแบบฉบับภาษามนุษย์ เคลื่อนที่ผ่านอากาศ สู่รูหูคุณพ่ออันมีแก้วหุและกระดูกโกนและทั่ง เป็นอุปกรณ์รับสัมผัส สื่อเป็นภาษาให้เข้าใจ ริชชาร์เข้าใจความหมายที่ลูกสาววัยขบเผาะสื่อสารมาได้........................................ ในเวลาเดียวกัน แพรต แฝดผุ้น้อง เลือกที่จะใช้วิธีการยกมือ แสดงเจตจำนงอันแรงกล้า ที่จะติดตามคุณพ่อสุดที่รักไปกินลาบเลือดซกเล้กที่ตีนสะพาน ........................จะเห็นว่า กรณี แพรตผู้น้อง เสลือกที่จะใช้การสื่อสารที่ผ่านการเข้าระหัส ซึ่งมีรูปพรรณ และแนวทางในการเป็นไปเพียงแค่ 2 ทาง นั่นคือ ไม่มี (โนแอคชั่น) และ มี (แอคชั่น)..................อย่างหลังนี่อ่ะนะ ที่เค้าเรียกว่า ดีจีต้อล........................ร่ายยาว ยังมีต่อ
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 16:43:08
ความคิดเห็นที่ 8
ในทางปฏิบัติ สัญญาณ อนาหล็อกจะถูกเปลี่ยนเป็นดิจิต้อลโดยการเข้าระหัสด้วย อุปกรณ์เอนโค้ดเดอร์ ในทางไฟฟ้า รูปแบของดิจิตัล ทำได้ โดยการเปิดปิดสวิทช์ ให้มีการหยุดจ่ายไฟ และ จ่ายไฟ ตามจังหวะ (แอคชั่น-จ่ายไฟ โนแอคชั่น-ดับไฟ) เกิดเป็นสัญญาณที่สมมติให้เป็น ศูนย์และหนึ่ง สลับกันไปมาตามการกำหนดของการเข้าระหัส.....................................และเช่นกัน ก่อนนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้งาน ดิจีต้อลจะถูก แปลกลับเป็นสัญญาณอานาหล็อก โดยอุปกรณ์ดีโค้ดเดอร์ ซึ่งง่ายโดยการรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์.........................................เป็นที่ทราบกันว่า สัญญาณในระบบคอมพิวเตอร์ ก็ทำงาน ด้วยดิจิตั้ลทางไฟฟ้า ดังนั้นจึงเป็นการง่ายที่จะส่งผ่านข้อมูลไปด้วยตัวนำต่างๆในรูปของสัญญาณดิจิตั้ล......................เส้นใยนำแสง สะท้อนการวาววับของแสงเป็นจังหวะ และส่งผ่านได้ในระยะไกล ดังนั้น สัญญาณดิจิตั้ลไฟฟ้า จึงถูกเปลี่ยนรูปแบบกลายเป็น ลำแสงดิจิต้อล ส่งไปด้วยเส้นใยนำแสง.................................นี่แหล่ะ เป็นที่มาของคำตอบ เรื่องจรวด ต่อสู้รถถังแบบเส้นลวด...................................จบซะที
โดยคุณ
กบ เมื่อวันที่
03/08/2007 16:59:35
ความคิดเห็นที่ 9
ขีปนาวุธนำวิถีด้วยเส้นลวดแบบแรกๆที่ถูกพัฒนาสำหรับมาใช้งานจริงนั้นถูกพัฒนาขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ โดยเยอรมันครับเช่น ขีปนาวุธอากาศสู่อากาศแบบ X-4 และ ขีปนาวุธต่อสู้รถถังแบบ X-7 ครับ
http://www.luft46.com/missile/x-4.html
ซึ่งขีปนาวุธรุ่นแรกๆพวกนี้จะมีระบบควบคุมการนำวิถีแบบ MCLOS(Manual Command to Line of Sight) ซึ่งพลเล็งจะต้องบังคับจรวดด้วย Joystick ผ่านสายสัญญานจนกว่าจรวดจะชนเป้าครับ ซึ่งขีปนาวุธต่อสู้รถถังนำวิถีด้วยเส้นลวดในปัจจุบันนั้นจะใช้ระบบ SACLOS(Semi-Automatic Command to Line of Sight) ซึ่งพลเล็งแค่จ่อศูนย์เล็งตามเป้าหมายจรวดก็จะวิ่งไปเองตามที่คุณกบอธิบายไปข้าต้นแล้วครับ
โดยคุณ
AAG_th1 เมื่อวันที่
03/08/2007 20:12:27
ความคิดเห็นที่ 10
กระจ่างแล้วครับ ขอบคุณทุกคนมากเลยครับ
โดยคุณ
ineedonly เมื่อวันที่
03/08/2007 21:39:01
ความคิดเห็นที่ 11
...
....ส่วนจรวดนำวิถีด้วยเส้นลวด จะถูกบังคับให้มันวิ่งเข้าเป้าหมายโดยผ่านการบังคับที่เส้นลวด พอยิงตุ้ง...พลยิงจะแนบกล้องเล็ง ๆ ตามไปตลอดโดยคอยหันกล้องเล็งให้กากะบาททาบเป้าไว้ตลอดเวลา เส้นลวดที่ผูกลูกจรวดติดกับรอกที่เครื่องยิง ก้อจะรั้งลูกจรวดให้เบนเข้าหาเป้าตามมือพลยิงที่บังคับกล้องเล็งอยู่...
...
เราสับสนคำว่า ลวด กันนะครับ
ที่จริงมันมาจากคำว่า Wire-Guided น่าจะแปลว่า นำวิถีด้วยสาย ด้วยสัญญาณไฟฟ้าครับ ไม่ใช่ใช้ลวดดึง
...
เนื่องจากระบบนำวิถีไม่มีส่วนใดเป็นคอมพิวเตอร์ หรืออิเล็กทรอนิกส์ชั้นสูง ดังนั้นจึงสามารถใช้พลทหารในการบรรจุ ยิง และบังคับนำวิถีได้ โดยไม่ต้องเสียเวลาฝึกสอนมาก
...
เป็นคอมพิวเตอร์ล้วนล้วนครับ
โดยคุณ
ธ เมื่อวันที่
04/08/2007 02:02:37
ความคิดเห็นที่ 12
ผมก็เข้าใจเหมือนคุณ ธ นะครับว่า มันส่งกระแสไฟฟ้าไปควบคุม ไม่ได้ใช้การดึงรั้งของเส้นลวด
A
wire-guided missile is a
missile guided by signals sent to it via thin wires reeled out during flight.
โดยคุณ
maxxilla เมื่อวันที่
04/08/2007 10:31:20
ความคิดเห็นที่ 13
ในภาษาช่าง คำว่า wire หมายถึงสายไฟครับ ไม่ได้หมายถึงลวดครับ การบังคับด้วยลวดคงเป็นไปไม่ได้ เพราะจรวดที่ยิงออกไปมีความเร็วสูงครับ การบังคับด้วยลวด จึงหมายถึงสายไฟหรือสายสัญญาณครับ ดังเช่นที่ท่านกบอธิบายไว้แจ่มแจ้งแดงแจ๋งแล้วครับ
อนาล็อก เราอาจจะวัด ได้ที่ 1 - 10 ระดับความแรง
แต่ ดิจิตอล จะเอาไอ้ 1- 10 มาแปลงให้เป็นแค่ 0 และ 1 เท่านั้นครับ
โดยคุณ
TIGGER03 เมื่อวันที่
04/08/2007 20:30:17
ความคิดเห็นที่ 14
ง่า...ถ้าจำไม่ผิด โบล์วไปท์ มันบังคับด้วยจอยสติกเหมือนกับวิทยุอาร์ซี.น่ะคับ บังคับยากกว่าเส้นลวดบานเตเลย เลยเกษียณในเวลาอันรวดเร็ว
ปัจจุบัน จรวดบังคับด้วยเส้นลวดไม่ค่อยมีรุ่นใหม่ ๆ ออกมาแล้วคับ มีแต่ใช้เลเซอร์แทนเส้นลวด แต่วิธีบังคับก้อคล้าย ๆ กันน่ะคับ คือเล็งจุดเลเซอร์ทาบเป้า จรวดมันจะวิ่งเข้าไปที่จุดเลเซอร์นั่นเองอ่ะคับ
โดยคุณ
X-1 เมื่อวันที่
05/08/2007 03:59:12