หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ข่าวรถหุ้มเกราะล้อยางจากมติชน คาดว่าคงเลือกจากยูเครนแน่นอนแล้ว

โดยคุณ : ericson เมื่อวันที่ : 02/08/2007 16:10:56

หมายเหตุ - ส่วนหนึ่งของรายงานการประชุมของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.) ครั้งที่ 2/50 วันที่ 5 มิถุนายน 2550 เวลา 13.30 น.

สรุปยานเกราะล้อยางที่ผ่านการเลือกแบบของคณะทำงานฯและเสนอให้ กมย.ทบ.พิจารณาจำนวน 4 แบบ คือ ลาฟทู (แคนาดา) บีทีอาร์-80 (รัสเซีย) บีทีอาร์-3 อี 1 (ยูเครน) และเพเทรีย เอเอ็มวี (ฟินแลนด์)

รอง ผบ.ทบ./ประธาน กมย.ทบ. - เนื่องจากมีเวลาจำกัดมาก หากสามารถกระทำได้และไม่ผิดหลักเกณฑ์ของ ทบ.ก็ควรที่จะพิจารณารับรองเพียง 1 แบบเพื่อให้สามารถดำเนินการจัดหาได้ทันเวลา

ผอ.สวพ.ทบ./เลขานุการฯ - ยานเกราะล้อยางทั้ง 4 แบบมีคุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติเฉพาะใกล้เคียงกัน แต่มีข้อดีแตกต่างกัน สำหรับแบบลาฟทูและเพเทรีย เอเอ็มวี นั้นเมื่อเจาะช่องยิงเพิ่มซึ่งบริษัทยืนยันว่าสามารถกระทำได้นั้น จะมีผลทันทีเมื่อลงน้ำและการป้องกันพลประจำการอย่างชัดเจน ส่วนข้อเด่นของบีทีอาร์-3อี 1 นั้นได้แก่สามารถลงน้ำได้โดยไม่ต้องเตรียมการ มีช่องยิงจากภายในตัวรถ ป้อมปืนสามารถทำการยิงได้จากภายในตัวรถและมีระบบอาวุธติดตั้งมาพร้อมรถจำนวน 5 ระบบ รวมทั้งบริษัทยืนยันจะติดตั้งระบบวิทยุแบบเดียวกับที่ทาง ทบ.ใช้งาน รวมทั้งที่นั่งของ ผบ.รถจะอยู่คู่กับพลขับทำให้สามารถควบคุมบังคับบัญชาให้เป็นอย่างดี

ผช.เสธ.ทบ.ฝยก. - ขอทราบข้อมูลเกราะป้องกันระเบิดใต้ท้องรถของบีทีอาร์-3 อี 1


ผบ.ศร./ประธานคณะทำงานฯ - ในการชี้แจงของบริษัทตัวแทนในขณะนั้นได้แจ้งว่ายังไม่มีข้อมูล ซึ่งจะต้องถามไปยังบริษัทผู้ผลิตก่อน สำหรับบีทีอาร์-3 อี 1 เป็นรถตระกูลเดียวกับบีทีอาร์-80 ซึ่งแยกตัวออกมา ดังนั้นน่าจะมีคุณลักษณะของการป้องกันแรงระเบิดใต้ท้องรถเหมือนกัน

จก.ยศ.ทบ. - ปัจจุบัน ทบ.ใช้รถสายพานซึ่งมีการฝึกขึ้น-ลงจากด้านหลัง หากมีการใช้รถที่ต้องขึ้น-ลงทางด้านข้างคงจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการฝึก ในเรื่องนี้หน่วยใช้มีความคิดเห็นอย่างไร

รอง ผบ.พล.ร.2รอ. - ในส่วนหน่วยให้ความเห็นว่าสามารถทำการฝึกได้ และอาจจะเป็นข้อดีคือขึ้น-ลงรถด้านข้างสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องหยุดรถ....

ผู้แทน ชป.ทบ. - งบประมาณที่ ทบ.ได้รับจากโครงการนี้ในปี 50 เป็นจำนวนเงิน 4,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณผูกพัน 4 ปี คือ 50-53 ทั้งนี้ในตอนที่เสนอของบฯได้จัดตั้งงบประมาณจากฐานราคาของลาฟ คือคันละประมาณ 80-90 ล้านบาท จากความต้องการเต็มจำนวน 96 คันสำหรับ 1 กองพันทหารราบ ซึ่งเป็นงบฯทั้งสิ้น 8,000 ล้านบาท แต่ทั้งนี้ได้รับอนุมัติงบฯครึ่งเดียวประมาณ 48 คัน ซึ่งจะต้องรายงานขออนุมัติจาก ครม.ในเรื่องวงเงินงบฯและรายละเอียดที่จะจัดหาต่อไป

ยานเกราะล้อยางทั้ง 4 แบบ มีความแตกต่างในเรื่องของราคาอย่างชัดเจน คือ ลาฟทู และเพเทรีย เอเอ็มวี ราคาโดยประมาณคือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อีก 2 แบบ ราคาประมาณ 1 ล้านเหรียญ...ทั้งนี้จากข้อมูลที่พิจารณาจะเห็นว่ายานเกราะล้อยางของรัสเซียและยูเครนด้วยงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจะสามารถจัดหาได้ 1 กองพัน คือ 96 คัน ดังนั้นการพิจารณาในวันนี้นอกจากคุณลักษณะและขีดความสามารถแล้วคงต้องนำเรื่องราคามาประกอบด้วย

ผบ.ศร./ประธานคณะทำงานฯ - การจัดหาแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลนั้นสามารถดำเนินการได้กับยานเกราะล้อยางเพียง 3 แบบ คือ ลาฟทู (แคนาดา) บีทีอาร์-80 (รัสเซีย) บีทีอาร์-3 อี 1 (ยูเครน) ส่วนของเพเทรีย เอเอ็มวี (ฟินแลนด์) ไม่สามารถดำเนินการได้

ผช.ผบ.ทบ. (1) - เห็นด้วยกับการจัดหา 1 กองพัน ทั้งนี้งบประมาณจะต้องชี้ให้ชัดเจนว่าการจัดหายานเกราะล้อยางเป็นการดำเนินการเพื่อพัฒนายุทโธปกรณ์ให้ทันสมัยและจะต้องดำเนินการให้ทันภายในกรอบระยะเวลาปี 50 หากการจัดหาได้ 1 กองพันจะเป็นการดี ที่นอกจากจะเป็นการแสดงศักยภาพอำนาจกำลังรบแล้ว ยังจะสามารถนำไปใช้งานในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อีกด้วย ....

รอง ผบ.ทบ./ประธานฯ - เนื่องจากในห้วงที่ผ่านมานั้น ทบ.ไม่ได้รับการพัฒนายุทโธปกรณ์มาเป็นระยะเวลานาน ดังนั้นในการได้รับโอกาสและงบประมาณในครั้งนี้ จึงควรที่จะต้องเร่งดำเนินการให้ทันเพื่อมิให้เสียโอกาสไป และเพื่อมิให้การพิจารณาต้องยืดเยื้อออกไป จะขอถามความเห็นของหน่วยใช้ว่าต้องการยานเกราะล้อยางแบบใด และจากนั้นจะถามความเห็นของ กมย.ทบ.ว่าเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร...

จากนั้นที่ประชุมมีมติเห็นชอบรับรองยานเกราะล้อยางแบบบีทีอาร์-3อี 1 (ยูเครน) ให้เป็นมาตรฐานสำหรับนำมาใช้งานใน ทบ.

รายชื่อคณะกรรมการ กมย.ทบ.ที่เข้าร่วมประชุม

1.พล.อ.ไพศาล กตัญญู รอง ผบ.ทบ.ประธาน กมย.ทบ.

2.พล.อ.สพรั่ง กัลยาณมิตร ผช.ทบ.ทบ. (1)

3.พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผช.ผบ.ทบ. (2)

4.พล.ท.กิตติพงษ์ เกษโกวิท รอง เสธ.ทบ. (1)

5.พล.ท.มนตรี ชมภูจันทร์ รอง เสธ.ทบ. (2)

6.พ.อ.ชาตอุดม ติตกะสิริ ผู้แทน ปช.ทบ.

7.พล.ท.ต่อศักดิ์ คงเมือง ผช.เสธ.ทบ.

8.พ.อ.ปิยะ ครุธเวโช ผู้แทน ผช.เสธ.ทบ.

9.พล.ท.มาลัย คิ้วเที่ยง ผช.เสธ.ทบ.

10.พล.ท.บดินทร์ ลักษมีวาศิน ผช.เสธ.ทบ.

11.พล.ท.พหล สง่าเนตร จก.ยศ.ทบ.

12.พ.อ.ไมตรี เดชานุบาล ผู้แทน จก.กพ.ทบ.

13.พ.อ.สินธุ์ชัย สมานทรัพย์ ผู้แทน จก.สข.ทบ.

14.พล.ต.อักษรา เกิดผล จก.ยก.ทบ.

15.พล.ต.ชวลิต ศรีศิลปนันทน์ จก.กพ.ทบ.

16.พ.อ.หฤษฎ์ พุ่มหิรัญ ผู้แทน จก.กร.ทบ.

17.พล.ต.เฉลิมเกียรติ โพธิ์ทองนาก เลขานุการ กมย.ทบ.

หน้า 11





ความคิดเห็นที่ 1


ก่อนอื่นขอบคุณ คุณ erison กับ คุณ AAG_th1 สำหรับ ข้อมูลครับ

 

เท่าที่ผมหาข้อมูลมา ผมว่าการซื้อ ยานเกราะล้อยาง  ครั้งนี้มีปัญหาพอสมควรทั้งสื่อมวลชลลงข่าวมั่ว  บริษัทที่เสนอประมูลเสนอ ของไม่ดี

 

ที่ผมบอกว่าสื่อมวลชลลงข่าวมั่วก็เรื่องที่สื่อมวลชลลงข่าวว่า ยูเครนเพิ่งนำรถหุ้มเกราะ บีทีอาร์ 3 อี 1 ออกแสดงในงานนิทรรศการอาวุธ หรือ IDEX (International Defence Exhibition) ที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อันที่จริง บีทีอาร์ 3 ได้รับการพัฒนา มากว่า 5ปีแล้ว และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซื้อ บีทีอาร์ 3ยู จำนวน 90คัน มาใช้งานแล้ว 4ปี

 

ส่วนเรื่องที่สื่อมวลชลลงข่าวว่า รถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี สามารถป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. อันที่จริง เอเอ็มวี สามารถป้องกันกระสุน ได้ถึง ๓๐มม. ต่างหากครับ และ ประเทศแอฟริกาใต้ ก็พึ่งเลือกที่จะซื้อ เอเอ็มวี เป็นประเทศที่๔ด้วย

 

ส่วนเรื่องที่บริษัทที่เสนอประมูลเสนอ ของไม่ดีก็เรื่องที่ เจเนอรัล มอเตอร์ แห่งประเทศแคนาดา เสนอลาฟทู ซึ่ง ลาฟทู (LAV II) เป็นรุ่นเก่าที่นาวิกโยธินสหรัฐ ซื้อมาเมื่อ 25ปีก่อน และรุ่นที่เจเนอรัล มอเตอร์เสนอขายให้ประเทศอื่น คือ ลาฟทรี (LAV III) และ กำลัง เสนอ Piranha IV ให้ประเทศอังกฤษ และ ญี่ปุ่น ผมไม่เข้าใจว่าทำไมรุ่นที่เจเนอรัล มอเตอร์เสนอไม่เสนอขายรุ่นลาฟทรี หรือ Piranha IV ให้เรา ส่วน บริษัท โรโซเบรอน เอ็กซ์ปอร์ต เสนอ บีทีอาร์ -80 ทั้งที่ มี บีทีอาร์ -90 ที่ใหม่กว่า สามารถป้องกันกระสุนได้ดีกว่า เร็วกว่า และ สามารถ ติดอุปกรเสริมได้ในอนาคต ส่วนคาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน เสนอ บีทีอาร์ 3 อี 1 ที่ใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ ประเทศยูเครนทั้งที่บีทีอาร์ 3ยู  รุ่นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซื้อใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ ประเทศเยอรมันซึ่งน่าจะมีความน่าเชื่อถือในเรื่องความทนทานและคุณภาพมากกว่าของประเทศยูเครน และทำไมไม่เสนอ บีทีอาร์ 4 ด้วย

 

สาเหตุที่บริษัทพวกนี้เสนอ ของไม่ดีสุด น่าจะเป็นเพราะราคาถูกกว่า

 

โดยความเห็นส่วนตัวในบรรดาตัวเลือกทั้ง๔แบบ ผมคิดว่ารถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะ designใหม่กว่า สามารถป้องกันกระสุนได้ดีกว่า เร็วกว่า ระยะปฏิบัติใกลกว่า มีพื้นที่ในตัวรถมากกว่า มีน้ำหนักบรรทุกมากกว่า และ มีoption ในการ ติดอาวุส และอุปกรเสริมได้ มากกว่า รถหุ้มเกราะแบบอื่น ในระยะยาวรถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี น่า จะทดแทนรถหุ้มเกราะ และรถถังเบา ของกองทัพ ได้หลายแบบเช่น เพเทรีย เอเอ็มวี รุ่น APC และ AIFV ทดแทน M-113, Type85, V-150, Condor เอเอ็มวี รุ่น 6x6 ทดแทน Scorpion และ เอเอ็มวี รุ่น ติดปืน 105mm ทดแทน รถถังเบา  M-41 และStingray สรุปง่ายๆว่า รถหุ้มเกราะแบบเดียวสามารถทดแทนรถหุ้มเกราะ และรถถังเบา ของกองทัพ ได้หลายแบบ ลดปัญหาในการซ่อมบำรุง

 

ปัญหาหลักของรถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี คือ ราคาแพงกว่าแบบอื่น

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 01/08/2007 07:50:46


ความคิดเห็นที่ 2


งบทหารแพะรับบาปอีกแล้วเหรอ ... เอาไว้ปกป้องชีวิตทหารกล้าที่ภาคใต้เห็นด้วยครับ ดีกว่าเครื่องบินไฟไหม้แล้วปอดแหกแล้วเอางบไปซื้อเครื่องประจำตำแหน่งสำหรับก้นอันสูงศ้กดิ์
โดยคุณ แรคคูน เมื่อวันที่ 01/08/2007 05:15:08


ความคิดเห็นที่ 3


ไม่อยากนอกเรื่องมากนะ แต่เห็นข่าวนักเรียนผูกคอตายเพราะรัฐตัดโครงการให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาทิ้ง แล้วมาเพิ่มงบทหาร ซื้อนั่นซื้อนี่แล้ว ช่วงนี้ผมไม่ค่อยจะรู้สึกยินดีปรีดาอะไรเท่าไหร่เลยเวลามีข่าวจะได้รถถังใหม่ เครื่องบินใหม่ ฯลฯ กลับหดหู่ใจบอกไม่ถูก

เอาเป็นว่า ได้ไรมาก็ขอให้คุ้มเงินที่ไปตัดงบส่วนอื่นมาแล้วกัน เลือกให้คุ้มค่าเงิน ให้ดี ทหารภาคใต้จะได้ไม่ต้องนั่งกระบะธรรมดาๆเป็นเป้ากระสุนเข้าพื้นที่สีแดงแบบนี้ซะทีนึง

ปล. ใจจริงเชียร์ LAV-25 นะ จะว่าหัวโบราณก็เหอะ ยังรู้สึกเชื่อมั่นในคุณภาพของจากทางค่ายตะวันตกอยู่ลึกๆอะ

โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่ 01/08/2007 03:01:43


ความคิดเห็นที่ 4


เห็นมติชน ลงมา สองวันติด ตั้งแต่เมื่อวาน

 

วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 10733

เปิด9ยี่ห้อ"ยานเกราะ" แย่งเค้ก"ทบ."ก้อนยักษ์




หมายเหตุ - บริษัทที่เสนอประมูลยานเกราะล้อยาง ชนิด 8X8 มูลค่า 4 พันล้านบาท ต่อกองทัพบก จำนวน 9 บริษัท

1.ลาฟทู ผลิตโดยบริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ แห่งประเทศแคนาดา บริษัท ฮอว์ค กายส์อินเตอร์เทรด จำกัด เป็นผู้เสนอประมูล

2.บีทีอาร์ -80 บริษัท โรโซเบรอน เอ็กซ์ปอร์ต สหพันธรัฐรัสเซีย เป็นผู้ผลิต เสนอโดยบริษัท ลักกี้ อินเตอร์เนชั่นแนลคอซัลติ้ง จำกัด

3.บีอาร์ 3 อี 1 ผลิตโดยบริษัท คาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน เสนอประมูลโดยบริษัท เอ็นจีวี เอ็นเตอร์ไพร์ จำกัด

4.เพเทรีย เอเอ็มวี บริษัท เพเทรีย วีฮิเคิล ประเทศสาธารณรัฐฟินแลนด์ เสนอประมูลโดยบริษัท ที แอนด์ แอลไทยแลนด์ จำกัด

5.ดับเบิลยูเอ็มแซด 55 เฮชบี บริษัท ไชน่า นอร์ธ อินดัสตรี้ คอร์ปอเรชั่น ผลิตและเสนอโดย บริษัท ณัติพล จำกัด

6.ไทเกอร์-1 บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด ประเทศไทย ผลิตและเสนอโดย บริษัท ชัยเสรี จำกัด

7.แบล็ค ฟ็อกซ์ เอดับเบิลยูวี ผลิตโดยบริษัท โดซาน คอร์ปอเรชั่น โซล แห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี บริษัท อินฟาคอนสดักชั่น จำกัด เสนอประมูล

8.ปูมา บริษัท คอนซอร์ซิโอ ไอวีโค เฟียต ประเทศสาธารณรัฐอิตาลี ผลิต บริษัท ล็อกซ์เลย์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เสนอชิงประมูล

9.เทเร็กซ์ บริษัท สิงคโปร์ เทคโนโลยีส์ ประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ ผู้เสนอ บริษัท พี เจ เจ แอสโซซิเอท จำกัด ประมูล


หน้า 2


โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:37:36


ความคิดเห็นที่ 5


ทบ.เร่งซื้อรถหุ้มเกราะ4พันล. ทาบ"ยูเครน"เซ็นสัญญาจีทูจี



กองทัพบกเร่งโครงการรถหุ้มเกราะ"บีทีอาร์ 3 อี 1" มูลค่า 4 พันล้าน ติดต่อ"ทูตยูเครน"ประจำประเทศไทย ขอซื้อระบบ"จีทูจี" กำหนดแผนให้"สนธิ"เซ็นอนุมัติซื้อ 3 สิงหาฯ ก่อนปลัดกลาโหมชงเข้า ครม. ปูด"นาโต้-สหรัฐ"ไม่รับรองมาตรฐาน ยันเพิ่งออกโชว์ที่อาบูดาบีเมื่อต้นปี


ผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธเปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง มูลค่า 4พันล้านบาท ของกองทัพบกว่า ขณะนี้มีเสียงเรียกร้อง ขอให้ตรวจสอบการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ชนิด 8X8 ยี่ห้อบีทีอาร์ 3 อาร์ 1 (BTR 3 R 1) ผลิต โดยประเทศยูเครน เพราะเห็นว่า รถรุ่นดังกล่าวมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการนำไปใช้งานในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ จะทำให้กองทัพสูญเสียกำลังพลและสิ้นเปลืองงบประมาณสูงมาก

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) อนุมัติให้กองทัพรับรองแบบรถหุ้มเกราะล้อยางของยูเครนไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนพิจารณาการจัดซื้อ

ผู้เชี่ยวชาญระบุอีกว่า กองทัพบกสอบถามกับเอกอัครราชทูตยูเครนประจำประเทศไทย ถึงความเป็นไปได้ในการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ด้วยวิธีรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) เมื่อเร็วๆ นี้ ทางเอกอัครราชทูตยูเครน แจ้งว่ามีความยินดีที่จะขายรถหุ้มเกราะให้กับกองทัพบก

สำหรับแผนปฏิบัติงานในไตรมาส 4 ระหว่างเดือนกรกฎาคม-กันยายน 2550 ของกองทัพบกในวันที่ 3 สิงหาคม พล.อ.สนธิจะอนุมัติซื้อรถหุ้มเกราะของยูเครนและลงนามเสนอเรื่องไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุด (บก.สส.) จากนั้นวันที่ 7 สิงหาคม บก.สส.จะส่งหนังสือถึงปลัดกระทรวงกลาโหม จากนั้นแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาล เพื่อลงนามในสัญญากับตัวแทนของยูเครน และในวันที่ 17 สิงหาคม กำหนดเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวอีกว่า รถหุ้มเกราะจากยูเครน มีคุณสมบัติที่ด้อยกว่ารถหุ้มเกราะผลิตจากรัสเซีย ทั้งที่ยูเครนลอกแบบการผลิตจากรัสเซีย แต่กระบวนการผลิตแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) และกองทัพบก สหรัฐอเมริกา ไม่ได้รับรองมาตร ฐาน ถ้าหากกองทัพบกของไทยซื้อจะต้องเสียงบประมาณจัดตั้งคลังอาวุธใหม่เพราะคุณสมบัติ (สเปค) อุปกรณ์ของยูเครนแตกต่างจากสเปค นาโต้และสหรัฐ

"รถหุ้มเกราะยูเครน มีเกราะบอบบาง กระสุนหนักจะทะลุทะลวงเข้าสู่ภายในได้ง่ายกว่ารถของรัสเซียเสียด้วยซ้ำ ขณะเดียวกันยางรถเป็นแค่ยางเรเดียล ไส้ในไม่มียางตันที่ป้องกันกระสุนปืนหรือตะปูเรือใบ หากนำไปใช้ในพื้นที่ภาคใต้จะเสี่ยงต่อการสูญเสียกำลังพล" ผู้เชี่ยวชาญระบุ

ผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่า ยูเครนเพิ่งนำรถหุ้มเกราะ บีทีอาร์ 3 อี 1 ออกแสดงในงานนิทรรศการอาวุธ หรือ IDEX (International Defence Exhibition) ที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้ จึงทำให้เกิดคำถามว่ากองทัพบกใช้อะไรเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการรับรองรถหุ้มเกราะของยูเครน

ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า รถหุ้มเกราะของยูเครนเพิ่งผ่านการรับรองแบบยุทโธปกรณ์ยานเกราะล้อยางจากคคณะกรรมการพิจารณาคุณภาพมาตรฐานยุทธโปกรณ์ของกองทัพบก (กมย.ทบ.) เมื่อวันที่ 5 เมษายน หลังยูเครนนำออกโชว์รถหุ้มเกราะที่กรุงอาบูดาบี เพียง 2 เดือนเท่านั้น (อ่านเพิ่ม เติม น.2)

ทางด้านแหล่งข่าวจาก กมย.ทบ. กล่าวว่า รถหุ้มเกราะของยูเครนดังกล่าวเป็นการจัดซื้อแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี ขั้นตอนการอนุมัติจัดซื้อขึ้นอยู่กับ ครม.อนุมัติ กองทัพบกไม่มีอำนาจอนุมัติ

"ผมรับรองได้ว่ารถยานเกราะล้อยางของยูเครนนี้ดีที่สุด กมย.ทบ.จะเป็นผู้พิจารณา" แหล่ง ข่าวระบุ

เมื่อถามว่า ยืนยันรถยานเกราะล้อยางของยูเครนมีคุณภาพได้มาตรฐาน แหล่งข่าวกล่าวว่า ไม่ขอตอบ แต่กองทัพบกมีคณะกรรมการพิจารณา ดังนั้น ไม่ต้องห่วงเรื่องมาตรฐาน ทั้งนี้ ไม่สามารถพูดรายละเอียดได้ เมื่อถามว่า ขณะนี้กองทัพบก ลงนามจะจัดซื้อรถยานเกราะล้อยางของยูเครนหรือยัง แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการลงนาม ขอเรียนว่าเหตุผลที่ต้องซื้อ

"หากซื้อของแพง ต้องถูกถามว่าทำไมต้องซื้อและต้องตอบเยอะ เราไม่ได้บอกว่ารถยานเกราะนี้ดีที่สุดในโลก แต่มีสมรรถนะด้านการรบ เป็นรถรบและราคาใช้ได้เป็นของดี ถามว่าดีที่สุดหรือไม่ในโลกไม่มีใครตอบได้ เป็นคนละเรื่อง" แหล่งข่าวยืนยันและว่า รถยานเกราะล้อยางชนิดนี้เป็นรถที่ดี รถชนิดอื่นที่เสนอมารบไม่ได้เป็นรถขนเท่านั้น แต่รถนี้รบได้จริง ตอบสนองยุทธวิธีดีมาก ออปชั่น มากมหาศาล

"ส่วนใหญ่คนที่ร้องเรียนคือ ถูกจ้างมา ทั้งนี้ การพิจารณาขึ้นอยู่กับคณะกรรมการที่มีกว่า 20 คน ไม่ทำอะไรที่เกิดข้อครหากัน ไม่มีใครซื้อของไม่ดี กล้ารับรองซื้อแล้วเอามาคืนได้ ทั้งนี้ ยังไม่มีการอนุมัติ หากซื้อกระทรวงกลาโหมพิจารณา แล้ว ครม.อนุมัติ" แหล่งข่าวกล่าว

หน้า 1



โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:38:07


ความคิดเห็นที่ 6


แกะรอยปม"ทบ."จัดซื้อ "รถหุ้มเกราะ"สู้"ไฟใต้" ยูเครน"จ่อฮุบ"4พันล้าน




โครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง มูลค่า 4,000 ล้านบาท ของกองทัพบก ได้รับการจับตามองอย่างพิเศษ โดยเฉพาะในกลุ่มทหารด้วยกันและบริษัทคู่ชิงด้วยกัน ต่างลุ้นกันว่า งานนี้ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทบทวนการจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง ชนิด 8X8 ยี่ห้อบีทีอาร์ 3 อาร์ 1 (BTR 3 R 1) ผลิตโดยประเทศยูเครน ที่มีเสียงครหาคุณสมบัติไม่เหมาะกับใช้ในสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่โปร่งใส ขัดกับระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง รวมทั้งไม่ตรงกับข้อกำหนดมาตรฐานขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (นาโต้) และกองทัพบก สหรัฐอเมริกา หรือว่า พล.อ.สนธิพร้อมจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไป?

ถ้าย้อนกลับไปดูโครงการจัดซื้อรถหุ้มเกราะดังกล่าว เริ่มต้นมาจากในช่วงต้นปี พล.อ.สนธิแสดงความห่วงใยกับการจัดหายานเกราะที่ได้มาตรฐาน

ต่อมาในเดือนมีนาคม กองการวิจัยและพัฒนาการรบ กรมยุทธการทหารบก (ยก.ทบ.) เชิญผู้แทนกองทัพบก ประชุมหารือการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง วงเงิน 4,000ล้านบาท ปีงบประมาณ 2550-2551

ในที่ประชุม ยก.ทบ.เห็นว่าพัฒนาการของเทคโนโลยียานเกราะล้อยางก้าวหน้ารวดเร็วมาก มีการผลิตรุ่นใหม่ๆ ที่มุ่งเน้นให้ความอยู่รอดในสนามสูง ปฏิบัติภารกิจได้อย่างหลากหลาย รองรับสงครามยุคดิจิตอล

กองการวิจัยและพัฒนาการรบของ ยก.ทบ.ยังรายงานถึงผลการค้นคว้าข้อมูลการพัฒนารถหุ้มเกราะล้อยาง ชนิดล้อ 6X6 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน เยอรมนี ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา และ ชนิดล้อ 8X8 จากประเทศฟินแลนด์ ออสเตรีย สวิตเซอร์แลนด์ สหพันธรัฐรัสเซีย แคนาดา และยูเครน

สำหรับคุณสมบัติของรถหุ้มเกราะล้อยาง ที่กองทัพบกต้องการนั้น ต้องมีขีดความสามารถในการป้องกันกระสุน บรรทุกกำลังพลได้ 1 หมู่ หรืออย่างน้อย 11 นาย ไม่รวมพลประจำรบ ใช้งานได้หลายความมุ่งหมาย เป็นตระกูลรถที่มีสายการผลิต และมีประจำการอยู่แล้วในประเทศผู้ผลิต รวมสนับสนุนชิ้นส่วนซ่อมได้เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 ปี

เวลานั้น ทางกองทัพให้ใช้ข้อมูลรถหุ้มเกราะยี่ห้อ ลาฟทู ( LAV II) ผลิตโดยบริษัทเจเนอรัล มอเตอร์ แห่งแคนาดา เป็นกรอบในการพิจารณาดำเนินการ

เวลานั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เห็นชอบกับแนวคิดของ ยก.ทบ. และเสนอไปยังพล.อ.สนธิ เมื่อวันที่ 21 มีนาคม

อีก 5 วันต่อมา พล.อ.สนธิเห็นชอบในโครงการการจัดหายานเกราะล้อยาง 4,000 ล้านบาท

ระหว่างนั้น มีเสียงกระหึ่มจากกลุ่มพ่อค้าอาวุธว่า มีการวิ่งเต้นเพื่อเสนอขายโครงการนี้กันฝุ่นตลบ

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.) มีมติเห็นชอบรับรอง ยานเกราะล้อยางแบบบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครนให้เป็นยุทโธปกรณ์มาตรฐานสำหรับนำมาใช้งานในกองทัพบก

การตั้งมาตรฐานดังกล่าว ทำให้วงการค้าอาวุธเกิดความประหลาดใจ เพราะรถหุ้มเกราะบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน เพิ่งผลิตออกมาหมาดๆ ยังไม่ได้ประจำการ ณ ประเทศใดๆ มาก่อน

"คริสโตเฟอร์ เอฟ ฟอสส์" แห่งนิตยสาร "เจน" รายงานว่า ยูเครนนำรถหุ้มเกราะ บีทีอาร์ 3 อี 1 ออกแสดงในงานนิทรรศการอาวุธ หรือ IDEX ที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เอง

ข้อสงสัยที่ตามก็คือ กองทัพบกใช้อะไรเป็นเกณฑ์มาตรฐานในการรับรองรถหุ้มเกราะของยูเครน?

ต้นเดือนพฤษภาคม พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ในฐานะประธานคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง ลงนามประกาศเชิญชวนเสนอข้อมูลยานเกราะล้อยาง

ในคำประกาศ กำหนดให้บริษัทประมูลส่งเอกสารยานเกราะล้อยางของบริษัทผู้ผลิต จนถึงเวลา 16.30 น. ของในวันที่ 16 พฤษภาคม

เมื่อถึงเส้นตายการยื่นข้อมูล มีเพียง 9 บริษัท ที่เสนอตัวชิงเค้กก้อนใหญ่ของกองทัพบก แต่ไม่มีตัวแทนผู้ผลิตรถหุ้มเกราะจากยูเครน

ต่อมา คณะทำงานเลือกแบบฯเชิญตัวแทนบริษัทเข้าชี้แจง ปรากฏว่า มีตัวแทนบริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งยูเครน เข้าเสนอข้อมูล ใช้เวลาหนึ่งชั่วโมง

คณะทำงานเลือกแบบยานเกราะล้อยาง สรุปการเลือกแบบยานเกราะล้อยาง 4 แบบจากบริษัทที่เสนอทั้งหมด 9 แบบ ได้แก่ 1.ลาฟทู (LAV II) จากแคนาดา 2.บีทีอาร์ 80 จากสหพันธรัฐรัสเซีย 3.บีทีอาร์ 3 อี 1 (BTR 3 E 1) แห่งยูเครน 4.เพเทรีย เอเอ็มวี (PATRIA AMV) แห่งสพันธรัฐฟินแลนด์

บรรดาพ่อค้าอาวุธแอบนินทากันเงียบๆ ว่า ทำไม บีทีอาร์ 3 อี 1 ผ่านการพิจารณาอย่างไร ทั้งที่ไม่มีการยื่นเสนอข้อมูลตามคำประกาศ แต่เมื่อถึงเวลาชี้แจงเพียงหนึ่งชั่วโมง กลับเข้ารอบชิง 1 ใน 4

พ่อค้าขายอาวุธอย่างน้อย 2-3 ประเทศ กว่าจะผ่านขั้นตอนการเสนอข้อมูลและพิจารณาได้ ต้องใช้เวลาในการทดสอบสมรรถนะของรถหุ้มเกราะให้กับคณะกรรมการมาหลายๆ ชุด เนื่องจากในอดีตกองทัพบกเคยพิจารณาจัดซื้อรถประเภทนี้แต่ล้มพับไปเพราะโดนหั่นงบฯ แต่บีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน ได้ไฟเขียวอย่างสะดวก

จากนั้นมีเสียงถล่มอีกว่า รถของยูเครนคุณสมบัติด้อย ทั้งในเรื่องของเกราะที่หุ้ม มีประสิทธิภาพต่ำ เจอกระสุนหนักอย่างอาร์พีจีเจาะทะลุทะลวงถล่มกำลังพลได้ง่ายกว่า รถยี่ห้ออื่น ล้อยางเป็นล้อเรเดียลธรรมดา ผิดกับรถหุ้มเกราะของรัสเซียหรือประเทศอื่นซึ่งมียางแข็งสอดอีกชั้นเพื่อสกัดกระสุนปืนและตะปูเรือใบหรือกับระเบิด

แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ไม่สามารถฉุด "บีทีอาร์ 3 อี 1" ไว้ได้

ปลายเดือนมิถุนายน พล.อ.สนธิอนุมัติให้รับรองแบบและจัดซื้อยานเกราะล้อยางบีทีอาร์ 3 อี 1 ของยูเครน ด้วยวิธีรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ท่ามกลางเสียงร้องกระหึ่มจากกลุ่มพ่อค้าอาวุธ โดยเฉพาะตัวแทนของรัสเซีย ถึงกับยื่นหนังสือไปยังสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินให้ตรวจสอบโครงการนี้

ถ้าตามแผนของกองทัพบก ในวันที่ 3 สิงหาคม พล.อ.สนธิจะอนุมัติซื้อและลงนามเสนอเรื่องไปยังกองบัญชาการทหารสูงสุด จากนั้นวันที่ 7 สิงหาคม บก.สส.ชงให้ปลัดกระทรวงกลาโหม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติและแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาล ลงนามในสัญญากับตัวแทนของยูเครน

จับตากันดูต่อว่า ยูเครนจะสามารถตะล่อมให้ "เหยื่อ" ฮุบรถหุ้มเกราะรุ่นล่าสุด "บีทีอาร์ 3 อี 1" ที่ยังไม่มีกองทัพของประเทศใดนำเข้าประจำการมาก่อนได้สำเร็จหรือไม่?

หน้า 2


โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:38:51


ความคิดเห็นที่ 7


ภาพประกอบข่าว แกะรอยปม"ทบ."จัดซื้อ "รถหุ้มเกราะ"สู้"ไฟใต้" ยูเครน"จ่อฮุบ"4พันล้าน

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:39:54


ความคิดเห็นที่ 8


กำลังสงสัยว่า BTR 80 จากรัสเซีย เป็นประตูข้างหรือเปล่า

 

อาทิตย์ก่อน อ่านสยามรัฐ รายสัปดาห์ เห็นบอกว่า

ข้อเสนอยูเครนนั้น  ระบบวิทยุจะเหมือนกับที่  กองทัพใช้อยู่ ไม่มีปัญหาแน่นอน และที่สำคัญ 

 

แถม  ปืนกล ติดรถให้ฟรีๆเลย  ตรงนี้หรือเปล่าที่ทำให้ ทัพบก เลือกของยูเครน

 

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:42:10


ความคิดเห็นที่ 9


เจอข้อมูลจากเวปนี้ น่าสนใจเปรียบเทียบbtr 80   and btr3e1

 

http://ardothailand.com/SHcontentsview.php?Ccont_ID=32

หมวดหมู่ ข้อมูลการฟังบรรยายสรุป สัมมนา ประชุมวิชาการ
หัวข้อ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1
สาระสำคัญ        ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์
รายละเอียด

ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1
      ตามที่ ทบ. ได้อนุมัติให้บริษัท ดาต้าเกท จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทประสานงานในประเทศไทย ให้กับ บริษัท UKRSPETSEXPORT แห่งประเทศยูเครน บรรยายสรุป เกี่ยวกับ ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เมื่อ ๑๓ ธ.ค.๔๙ ณ สโมสร ทบ. (ส่วนกลาง) เทเวศร์
ยานเกราะล้อยาง (๘x๘) แบบ BTR-3E1 เป็นยานเกราะล้อยางประเภทสะเทินน้ำสะเทินบก ผลิตจากประเทศยูเครน ตัวถังรถ ผลิตด้วยเหล็กกล้าชนิดแข็งมากผสมใยสังเคราะห์ KEVLAR จากด้านในของตัวรถ (VERY HARD STEEL & REINFORCE WITH THE KEVLAR INSIDE) ป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. โดยสามารถปรับปรุงให้ป้องกันกระสุน ขนาด ๑๒.๗ มม. (.๕๐ นิ้ว) ได้ด้วยการเสริมแผ่นเซรามิค บรรทุกกำลังพลรวม ๙ นาย ประกอบด้วย ผบ.รถ, พลขับ, พลยิง และพลประจำรถ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
๑.๑ ระบบอาวุธ
๑.๑.๑ ป.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ มม. แบบ ZTM-1 จำนวน ๑ กระบอก ติดตั้งที่ป้อมปืนด้านบนตัวรถ พร้อมกระสุนจำนวน ๔๐๐ นัด ซึ่งมีอัตราการยิง ๓๓๐ นัด/นาที โดยมีระยะยิงหวังผลทางภาคพื้น ที่ระยะ ๔,๐๐๐ ม. และทางอากาศ ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๒ ระบบอาวุธนำวิถีต่อสู้รถถัง แบบ BARRIER (BARRIER ANTI- TANK MISSILE SYSTEM: BARRIER ATMS) นำวิถีด้วยแสงเลเซอร์ (LASER BEAM) พร้อมลูกจรวด จำนวน ๔ ลูก ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๕,๕๐๐ ม.
๑.๑.๓ ค.อัตโนมัติ ขนาด ๓๐ ม. แบบ AG-17 หรือ AGS-17 (30 mm AUTOMATIC GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดยิง จำนวน ๘๗ นัด ซึ่งใช้หวังผล ที่ระยะ ๑,๗๐๐ ม.
๑.๑.๔ ปก.ขนาด ๗.๖๒ มม. (7.62 mm MACHINE GUN) แบบ KT-7.62 (PKT) พร้อมกระสุน จำนวน ๒,๐๐๐ นัด ซึ่งใช้ยิงหวังผล ที่ระยะ ๒,๐๐๐ ม.
๑.๑.๕ เครื่องยิงลูกระเบิดควัน ขนาด ๘๑ มม. (81 mm SMOKE GRENADE LAUNCHER) พร้อมลูกระเบิดควัน จำนวน ๖ นัด
๑.๒ เครื่องยนต์ดีเซล แบบ UTD-20 ขนาด ๓๐๐ แรงม้า
๑.๓ เครื่องเปลี่ยนความเร็วแบบ ทางกล (MACHANICAL)
๑.๔ ระบบพยุงตัวรถ แบบอิสระ (INDEPENDENT)
๑.๕ ยางล้อแบบ RUN FLAT สามารถควบคุมการเติมลมได้ในขณะขับเคลื่อน
๑.๖ น้ำหนักรถ ๑๖ ตัน
๑.๗ กำลังขับเคลื่อน ๑๘.๘ แรงม้า/ตัน
๑.๘ ความเร็วสูงสุด บนถนน ๘๕ กม./ชม.
ในน้ำ ๘- ๑๐ กม./ชม.
๑.๙ ความเร็วต่ำสุด ๕ กม./ชม.
๑.๑๐ ระบบปฏิบัติการ บนถนน ๗๕๐ กม./ชม.
ในภูมิประเทศ ๓๕๐ กม./ชม.
๑.๑๑ อุณหภูมิการใช้งาน ตั้งแต่ ? 400C ถึง +55 0C
๑.๑๒ ข้ามเครื่องกีดขวาง ขนาดความสูง ๐.๕ ม.
๑.๑๓ ข้ามคูดักรถถัง ขนาดความกว้าง ๒ ม.
๑.๑๔ ไต่ลาดชัน ๓๐0
๑.๑๕ การไต่ลาดเอียง ๒๕0
๑.๑๖ ระบบเครื่องควบคุมการยิง ประกอบด้วย
๑.๑๖.๑ ระบบรักษาการทรงตัวของปืน (STABILIZER)
๑.๑๖.๒ ระบบติดตามเป้าหมาย (TRACK SIGHTING SYSTEM) แบบกล้องทีวีกลางวัน/กลางคืน พร้อมกล้องวัดระยะด้วยแสงเลเซอร์ (TV DAY & NIGHT WITH INTEGRATED LASER RANGE FINDER)
๑.๑๖.๓ ระบบกล้องตรวจการณ์ แบบมองรอบทิศทาง (PANORAMIC OBSERVATION SYSTEM)
๑.๑๗ อุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ดังนี้
๑.๑๗.๑ กว้าน ขนาดแรงดึง ๖ ตัน
๑.๑๗.๒ เครื่องดับเพลิงอัตโนมัติ
๑.๑๗.๓ ระบบกรองอากาศ แบบ FULL FLOW FILTER
๑.๑๗.๔ ระบบทำความเย็น (AIRCONDITION) ขนาด ๑๐ กิโลวัตต์
๑.๑๗.๕ ระบบให้ความร้อน (HEATER) ขนาด ๑๘ กิโลวัตต์


โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:57:50


ความคิดเห็นที่ 10


ข้อมูลการฟังบรรยายสรุป สัมมนา ประชุมวิชาการ
หัวข้อ ยานเกราะล้อยางแบบ BTR-80 (8x8)
สาระสำคัญ
รายละเอียด ๑. ตามที่ ผอ.สวพ.ทบ.ได้กรุณาอนุมัติให้ กปย.สวพ.ทบ.จัดผู้แทนหน่วยไปร่วมฟังการบรรยายเรื่อง ยานเกราะล้อยาง แบบ BTR ? 80 (8 x 8) เมื่อวันที่ ๒๒ ก.พ.๕๐ ณ ห้องเฟื่องฟ้า สโมสร ทบ. นั้น กปย.สวพ.ทบ.ได้จัดให้ พ.ต.ยุทธนา วงศ์มณี เป็นผู้แทนหน่วยไปร่วมฟังบรรยาย

๒. กปย.สวพ.ทบ.ขอสรุปผลการเข้าร่วมฟังการบรรยายดังมีรายละเอียดดังนี้.- (รายละเอียดตามเอกสารที่แนบ)

๒.๑ กล่าวทั่วไป บริษัท ลัคกี้อินเตอร์เนชั่น แนลคอลซันติ้ง จำกัด เสนอศักยภาพของยานเกราะล้อยาง แบบ BTR ? 80 (8 x 8) ของสหพันธรัฐรัสเซีย สำหรับกองทัพบกไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรบหรือช่วยรบในการระวังป้องกันความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ และในการปฏิบัติงานได้อย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงคุณสมบัติในการคุ้มครองปกป้องกำลังพลที่ครบถ้วนสมบูรณ์

๒.๒ คุณลักษณะและขีดความสามารถ

๒.๒.๑ คุณลักษณะ BTR ? 80 เป็นยานลำเลียงพลหุ้มเกราะล้อยางชนิดขับเคลื่อน ๘ ล้อ (ARMORED PERSONNEL CARRIER) ที่มีอานุภาพและขีดความสามารถในการบหรือช่วยรบสูงมาก เป็นยานยนต์รบหลักของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในการปฏิบัติการควบคุม แก้ไขวิกฤติการณ์ที่เกิดขึ้นทั่วโลก มีภารกิจหลัก คือ ขนส่งลำเลียงพลและสนับสนุนการส่งกำลังเข้าสู่สนามรบ เช่น กระสุนเพิ่มเติมเข้าสู่สนามรบและใช้ในภารกิจลาดตระเวน, การพยาบาล, กู้ซ่อมรถ แล้วแต่ทางหน่วยจะจัดภารกิจต่าง ๆ ปัจจุบันทั่วโลกมีประจำการอยู่ ๒๙ ประเทศ ในส่วนของ กกล.รักษาสันติภาพสหประชาชาติ มี BTR ? 80 ประจำการอยู่ ๒๐๐ คัน และสั่งซื้ออีก ๘๐ คัน และเป็นรุ่นเดียวกับที่มาทดสอบ ในปี ๒๕๔๐ ที่ จว.สระแก้ว คุณสมบัติที่ชัดเจนคือ ระบบการยิงที่ทรงพลัง, การทรงตัวบนบกและในน้ำ และขับเคลื่อน ๘ ล้อ เป็นอิสระต่อกัน มีความคล่องตัวสูง สามารถปรับระดับความแข็งอ่อนของยางปรับลมยางที่พลขับได้เลย ไม่ต้องลงมาที่ยาง

- เครื่องยนต์ดีเซล ๘ สูบ รูปตัว V ๙๐ องศา, ขนาด ๑๙๑ กิโลวัตต์ ที่ ๒,๖๐๐ รอบ/นาที แรงบิด ๗๘๕ นิวตันเมตร ที่รอบ ๑,๖๐๐ ? ๑,๘๐๐ รอบ/นาที แรงม้าสูงสุด ๒๖๐ แรงม้า

- (สำหรับรุ่นปรับปรุงพัฒนาใหม่สำหรับประเทศไทย เครื่องยนต์จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเป็นขนาด ๓๒๐ แรงม้า พร้อมระบบเกียร์อัตโนมัติ)

- ความเร็วบนถนนประมาณ ๘๐ ? ๙๐ กม./ชม. ในน้ำ ๑๐ กม./ชม.

- ถังน้ำมัน ๒ ถัง ขนาดความจุ ๒ x ๑๕๐ ลิตร, สามารถวิ่งได้ ๖๐๐ กม.

- การขับเคลื่อน ๘ ล้อ เป็นอิสระต่อกัน

- ระบบกันสะเทือนเป็นแบบคอนโทรลอาร์มแยกส่วนอิสระ ซับแรงบิด ระบบโชคอับทรงกระบอก ทำให้วิ่งได้อย่างนิ่มนวล แต่มั่นคงไม่วูบวาย

- ความจุกำลังพล ๑๓ คน

- ภายในห้องโดยสาร มีระบบปรับอากาศพร้อมฉนวนกันความร้อน

- ความสามารถด้านการขนส่ง (130 HER CULES ถนน) รถไฟ

๒.๒.๒ ขีดความสามารถ

- มีระบบปรับความดันลมยางทั้ง ๘ ล้อ สามารถปรับระดับความแข็งได้จากพลขับ ซึ่งจะช่วยให้ BTR ? 80 สามารถขับเคลื่อนผ่านสภาพที่ทุรกันดารทั้งดินอ่อนแข็ง ทราย ฯลฯ

- มีเกราะกันกระสุนทั้งคันปกป้องจากกระสุนปืนกล ขนาด ๑๒.๗ มม. และจากการยิงกระสุนขนาด ๒๐ มม. จากระยะ ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป

- การพรางตัว ใช้สีพรางที่มีคุณสมบัติลดการตรวจจับของคลื่นเรดาร์ได้ทุกระยะ ๒๐๐ ? ๓๐๐ เมตรขึ้นไป และสามารถสร้างม่านควันเพื่อการพรางตัวเองด้วยชุดระเบิดควันจากเครื่องยิงที่หันมุมยิงได้รอบตัว

- ภายในตัวรถมีการปรับระดับความดันภายในรถ ในกรณีสถานการณ์ รังสี เคมี เชื้อโรค มีการปิดล็อคตัวของมันเองโดยการสร้างแรงดัน มีเครื่องกรองชนิดพิเศษที่จะกรองสารพิษและเชื้อโรคหรือฝุ่นกัมมันตภาพรังสี มิให้เข้าสู่ภายในตัวยานได้อย่างเด็ดขาด

- กำลังพลในยานสามารถปฏิบัติการยิงต่อสู้ข้าศึกได้จากช่องยิงทั้ง ๑๐ ช่อง และจากปืนประจำรถได้ และป้อมปืนสามารถหมุนได้ ๓๖๐ องศารอบตัว และมี ๒ ช่องคาคฟ้า เพื่อยิงต่อสู้ข้าศึกในที่สูงหรือเป้าหมายทางอากาศ

- ในการปฏิบัติการในน้ำ ไม่ต้องมีการปรับแต่งหรือหยุด เพราะมีการใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยเครื่องดูด ? ขับน้ำ (WATER JET) เวลาลงน้ำไม่ต้องจอดหรือเตรียมการใดๆ ทั้งสิ้น แต่ของบางประเทศต้องหยุดก่อน ๓ นาที และเวลาขึ้นจากน้ำสามารถขึ้นได้เลย บางประเทศขึ้นไม่ได้ และสามารถวิ่งในน้ำทะเลที่เกิดระดับคลื่นในระดับที่ ๒ ได้

- การไต่มุมชัน ยานยนต์สามารถไต่ได้ระดับความชัน ๓๘ องศา ลาดเอียงได้ ๒๕ องศา มีระบบล้ออิสระเป็นระบบ OFFROAD เต็มตัว ถ้าล้อใด FREE จะส่งกำลังไปที่ล้ออื่น ระบบนี้ช่วยในกรณีมีปัญหาในการขึ้นเนิน ระบบนี้จะช่วยในการทรงตัวไม่เสียหลักได้ง่าย

- การปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืนจะมีกล้อง NIGHT VISION ติดตั้งอยู่ทางด้านคนขับและด้านผู้สั่งการบังคับรถ โดยกล้องของผู้สั่งการมีพิสัยการมองเห็นได้ไกลประมาณ ๔๐๐ เมตร และของพลขับประมาณ ๗๐ ? ๘๐ เมตร

๒.๒.๓ ราคา ประมาณ ๔๐ ล้านบาท/คัน

๒.๒.๔ เงื่อนไข

- มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ รวมทั้งการกำกับดูแลยานยนต์ อำนวยการฝึกในแต่ละระดับและประสานกันภายหลังการซื้อขาย ตลอดอายุการใช้งาน ๓๐ ปี

- มีการสำรองอะไหล่ให้ตามหลักการส่งกำลังและซ่อมบำรุง

- เมื่อยานยนต์หุ้มเกราะหมดอายุการใช้งานสามารถนำยานยนต์หุ้มเกราะไปแลกเปลี่ยน แล้วแต่จะตกลงกัน

๓. ข้อมูลที่บริษัทได้นำเสนอเป็นประโยชน์ต่อ ทบ. ในการพิจารณาในการจัดหายานยนต์ หุ้มเกราะมาใช้งาน และในการวิจัยพัฒนายานยนต์หุ้มเกราะ มาใช้งานโดยเฉพาะ ๓ จชต. จึงเห็นควรเก็บรวบรวมข้อมูลยานยนต์หุ้มเกราะดังกล่าวไว้ใช้ประโยชน์ต่อไป

๔. ข้อเสนอ เห็นควรดำเนินการดังนี้.-

๔.๑ กรุณารับทราบสรุปผลการฟังบรรยาย ตามข้อ ๒

๔.๒ เห็นควรเวียนให้ นขต.สวพ.ทบ. ทราบ เพื่อพิจารณาใช้ประโยชน์จากข้อมูลดังกล่าวต่อไป

๔.๓ ให้ กสถ.สวพ.ทบ.เก็บรวบรวมข้อมูล ตามข้อ ๒ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลทางการวิจัยต่อไป
ชื่อการเชื่อมโยง
โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 31/07/2007 09:58:41


ความคิดเห็นที่ 11


อ่านๆดูน่าจะเป็นเรื่องราคา

แต่ไอ้คำว่า "ไม่มีข้อมูล" ในตารางเปรียบเทียบของนสพ.นี่ ชาวบ้านเค้าคงเข้าใจว่า =0 หรือไม่มี, ไม่ได้ แต่ต้องทำความเข้าใจนสพ. จะหาข้อมูลให้ครบนั้น เดี๋ยวนายว่า ส่งต้นฉบับไม่ทัน..

อย่างเครื่องบินของเชคฯแต่ถูกโมด้วยยิว L-39 ZA/ART รุ่นนี้ ไม่เคยประจำการกองทัพใดมาก่อนผมว่า BTR3-E1 ก็ลักษณะเดียวกันล่ะครับ

เพื่อการเปรียบเทียบที่สมบูรณ์ เราคงต้องเป็นหาข้อมูลเพิ่มกัน ที่ว่าๆใช้ยางเรเดียลธรรมดานั้น ใช่หรือไม่ การป้องกันระเบิด ต่างรุ่น ทำได้มากน้อยแค่ไหน..

สองข้อคิดเห็นของผม คือหนึ่ง ของเมกันและพรรคพวก ไม่ได้ดีเด่เสมอไป และ สอง ไม่ว่านักธุรกิจผู้แสวงหากำไรสูงสุดหรือผู้นำทหาร ที่ว่าต้องรักษ์ชาติยิ่งชีพ มันก็โกงชาติได้เหมือนกัน..

โดยคุณ Mstn เมื่อวันที่ 31/07/2007 10:16:07


ความคิดเห็นที่ 12


ขอบคุณสำหรับข้อมูลเจาะลึกอย่างชัดเจนงับ แต่ละยี่ห้อก็ดีไปคนละแบบ แต่ใจผมค่อนข้างจะเอียงซ้ายแฮะ

เรื่องประตูข้าง หรือประตูท้ายไม่น่าเป็นข้อปริวิตกงับ ถ้าสู้กันอย่างใจจริง ไม่มีอะไรแอบแฝงนะ

เพราะรถเกราะล้อยางที่เราใช้มานาน คือ V-100/V.150 ก็ประตูข้างเหมือนกัน ส่วนรถประตูท้ายมีแต่รถ รสพ.อย่างเอ็ม 113 กับไทป์ 85 ประตูท้ายทั้งคู่

รถหุ้มเกราะค่ายม่านเหล็ก ผมชอบตรงเหล็กมันคับ สีลอกก็เขียวปัด สนิมไม่ค่อนกิน ความเร็วหายห่วง ดูรถสายพานก็ได้ เอ็ม.113 กวด ไทป์ 85 ทันที่ไหน ขนาดนี่เป็นรถที่จีนต่อยอดมาจาก BMP-1 นะคับ

ความเหนียวเชื่อถือได้ ขนาดลูก ค. 120 ระเบิดในรถจนเกลี้ยง รถกลับไม่บุบสลายหรือฉีกขาด

ส่วนแล็พของแคนาดา มีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับจากกองทัพสหรัฐ แต่จะเอามาชี้ขาดก็ลำบากใจคับ ขนาด เอ็ม.113 สหรัฐทำเองด้วยซ้ำ ยังดีกว่ารถเกราะจีนแดงในเรื่องเกียร์ กับอะไหล่ นอกนั้นรถเจ๊กกินขาด ไปเทียบกับออริจินัลจากรัสเซีย หรือยูเครน ก็คงต้องแห่กันหนักหน่อยล่ะคับถึงจะเชื่อ

ดังนั้นการตัดสินใจของที่ประชุม ถือว่ามีเหตุผลคับ แต่จะซื้อได้หรือเปล่า คงต้องรอคำตอบหลังปีใหม่ไปแล้ว เพราะรัฐบาลชุดนี้คงไม่กล้าเซ็นโครงการราคาหมื่นล้านดอกคับ

โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 31/07/2007 13:07:38


ความคิดเห็นที่ 13


ที่จริง KMDB ซึ่งเป็นผู้พัฒนาและผลิตรถหุ้มเกราะตระกูล BTR-3 นั้นก็เพิ่งจะมีการเปิดตัวรถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 แบบใหม่คือ BTR-4 ออกมานะครับ

รูปแบบของ BTR-4 นี้จะมีความคล้ายคลึงกับรถหุ้มเกราะล้อยางของตะวันตกมากขึ้นเช่น มีประตูที่ท้ายรถเป็นต้นนอกนั้นก็จะมีระบบอาวุธต่างๆก็เลือกติดได้คล้ายกับ BTR-3 และก็มีหลายรุ่นให้เลือกใช้ด้วยครับ ถ้ากล่าว่า BTR-3E หรือ BTR-3R นี้เพิ่งจะมีการเปิดตัวไปที่งานแสดงอาวุธไม่กี่ปีนั้นและยังไม่มีประเทศใดจัดหาไปใช้งานนั้น ทำไมเราไม่เลือกรุ่นใหม่ล่าสุดที่ KMDB มีละ เพราะ BTR-4 นี้ก็เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปลายปีที่แล้วเช่นกันครับ

http://www.morozov.com.ua/eng/body/btr4.php?menu=m1.php 

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 31/07/2007 13:34:26


ความคิดเห็นที่ 14


ต่อยอดอีกครั้งครับ..

T004666
ย้อมแมว 4 พันล้านดับไฟใต้ซื้อยานเกราะเก่าเก็บยูเครน

โดยคุณ juldas เมื่อวันที่ 31/07/2007 14:07:08


ความคิดเห็นที่ 15


 

...ผิดหวังกับ รบ. และ คณะทหาร ชุดนี้อย่างแรง...

 

...ถ้าได้ แอลเอวี-25 มา จะไม่ว่า ไม่ทัก ไม่ท้วง ซักคำ...

 

...นี่แหละเมืองไทย ยุคไหนก็เหมือน ๆ กัน  ที่สำคัญ ยุคนี้ ยุค คมช. (คอมมิชชั่น) ... เอ๊ะ ! รึน่าจะเป็น คอมเพรสเซอร์ มากกว่านะ...

 

 

โดยคุณ ท.กองหนุน เมื่อวันที่ 31/07/2007 14:42:46


ความคิดเห็นที่ 16


SOE KMDB Is Authorised to Export Defence-Related Equipment

23.07.2007 - Kharkiv, Ukraine -- The Ukrainian government has included the State-Owned Enterprise Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau into the list of the manufacturers that are authorised to export defence-related products.
 
SOE KMDB is well known for its developments in the area of armoured vehicles. This year the enterprise will celebrate its 80th anniversary. During these years, the enterprise managed to create world-known vehicles ? T-34, T-54, T-64, T-80UD, etc. The fame of the SOE KMDB-developed vehicles (including T-34, T54, T64, T-80UD, etc.) seems to have gone far beyond the fame of its designers. Now this disparity is to be rectified.

Nowadays the product range of the SOE KMDB includes armoured vehicles of various types - Dozor-B (4 x 4) and BTR-4 (8 x 8) armoured personnel carriers, Oplot and Yatagan main battle tanks, heavy infantry fighting vehicles, armoured repair and recovery vehicles, etc. The enterprise also designs and produces a number of remote-controlled weapon stations that are fitted with armament with calibre of 12.7 to 30 mm, anti-tank guided missiles, and grenade launchers (various options are available). Besides, the Design Bureau has a wide experience in upgrading armoured vehicles as well as developing and producing various training aids (computer-based training simulators and operating models).

In opinion of the SOE KMDB's specialists, the possibility of working with foreign partners directly will make it possible to quickly react to the changes in the market and to inform the potential customers about the latest technical achievements of the enterprise.

This move will be a good stimulus for the further development of the armoured vehicle development and production in Ukraine.

About KMDB:
The Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau (KMDB) is a state-owned enterprise, which is now Ukraine's leading design authority for armoured fighting vehicles and used to play a key role in the development of armoured tracked vehicles in the former Soviet Union. The contemporary activities of the KMDB are distinguished by three main factors:
the ability to offer customers a wide range of armoured vehicles and other products for both military and civil use, as well as obsolete vehicle upgrade packages
the provision of equipment closely tailored to customer's individual requirements
the availability of long-term support for the end user
 
BTR-4 APC
http://www.army-guide.com/eng/product3342.html

BTR-4 IFV
http://www.army-guide.com/eng/product3343.html

(ส่วนตัวนี้ถ้าหาตัวนี้มาใช้ แทนที่จะเป็น BTR-3E น่าจะดีกว่านะครับ)

BTR-3E ป้อมปืน GROM (คิดว่าตัวที่จัดหามาคงไม่ได้ใช้ป้อมปืนรุ่นนี้ครับ)
http://www.morozov.com.ua/images/grom4l.jpg

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 31/07/2007 14:43:14


ความคิดเห็นที่ 17


.....ทำไม ไม่ออก บีทีอาร์ 80 อ่ะ หรือ แอลเอวี ก็ได้

.....อย่างน้อย บีทีอาร์ 80 มันก็ได้รับการพัฒนามาจากรถเกราะตัวเก่าอย่าง 60 70 ที่เคยลุยสมรภูมิมาแล้วอ่ะ  ผิดหวังอย่างแรง

.....แต่ไม่เข้าใจการออกแบบ ป้อมปืนของ บีทีอาร์ ยูเครนจิงๆเลยครับ ออกแบบได้แปลกมากมาย ดูโตเทอะทะ อ่ะ


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 31/07/2007 15:47:52


ความคิดเห็นที่ 18


เกี่ยวกับอาวุธด้วยรึเปล่าครับแบบว่าถ้าbtr เนี่ยได้อาวุธมาด้วย แต่LAV ได้แต่รถเปล่าๆเลยเลือก btr

แต่ก็นะผมว่ารอให้เห็นอย่างเป็นทางการดีที่สุด อาจพลิกก็ได้ แบบ บข.20

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 31/07/2007 17:28:33


ความคิดเห็นที่ 19


ขออภัยโพสตัวเล็กไปโพสใหม่ครับ

 

ก่อนอื่นขอบคุณ คุณ erison กับ คุณ AAG_th1 สำหรับ ข้อมูลครับ

 

เท่าที่ผมหาข้อมูลมา ผมว่าการซื้อ ยานเกราะล้อยาง  ครั้งนี้มีปัญหาพอสมควรทั้งสื่อมวลชลลงข่าวมั่ว  บริษัทที่เสนอประมูลเสนอ ของไม่ดี

 

ที่ผมบอกว่าสื่อมวลชลลงข่าวมั่วก็เรื่องที่สื่อมวลชลลงข่าวว่า ยูเครนเพิ่งนำรถหุ้มเกราะ บีทีอาร์ 3 อี 1 ออกแสดงในงานนิทรรศการอาวุธ หรือ IDEX (International Defence Exhibition) ที่กรุงอาบูดาบี เมืองหลวงของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อันที่จริง บีทีอาร์ 3 ได้รับการพัฒนา มากว่า 5ปีแล้ว และ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซื้อ บีทีอาร์ 3ยู จำนวน 90คัน มาใช้งานแล้ว 4ปี

 

ส่วนเรื่องที่สื่อมวลชลลงข่าวว่า รถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี สามารถป้องกันกระสุน ขนาด ๗.๖๒ มม. อันที่จริง เอเอ็มวี สามารถป้องกันกระสุน ได้ถึง ๓๐มม. ต่างหากครับ และ ประเทศแอฟริกาใต้ ก็พึ่งเลือกที่จะซื้อ เอเอ็มวี เป็นประเทศที่๔ด้วย

 

ส่วนเรื่องที่บริษัทที่เสนอประมูลเสนอ ของไม่ดีก็เรื่องที่ เจเนอรัล มอเตอร์ แห่งประเทศแคนาดา เสนอลาฟทู ซึ่ง ลาฟทู (LAV II) เป็นรุ่นเก่าที่นาวิกโยธินสหรัฐ ซื้อมาเมื่อ 25ปีก่อน และรุ่นที่เจเนอรัล มอเตอร์เสนอขายให้ประเทศอื่น คือ ลาฟทรี (LAV III) และ กำลัง เสนอ Piranha IV ให้ประเทศอังกฤษ และ ญี่ปุ่น ผมไม่เข้าใจว่าทำไมรุ่นที่เจเนอรัล มอเตอร์เสนอไม่เสนอขายรุ่นลาฟทรี หรือ Piranha IV ให้เรา ส่วน บริษัท โรโซเบรอน เอ็กซ์ปอร์ต เสนอ บีทีอาร์ -80 ทั้งที่ มี บีทีอาร์ -90 ที่ใหม่กว่า สามารถป้องกันกระสุนได้ดีกว่า เร็วกว่า และ สามารถ ติดอุปกรเสริมได้ในอนาคต ส่วนคาร์คีฟ โมโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน เสนอ บีทีอาร์ 3 อี 1 ที่ใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ ประเทศยูเครนทั้งที่บีทีอาร์ 3ยู  รุ่นที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ซื้อใช้ เครื่องยนต์ และ ระบบส่งกำลัง ของ ประเทศเยอรมันซึ่งน่าจะมีความน่าเชื่อถือในเรื่องความทนทานและคุณภาพมากกว่าของประเทศยูเครน และทำไมไม่เสนอ บีทีอาร์ 4 ด้วย

 

สาเหตุที่บริษัทพวกนี้เสนอ ของไม่ดีสุด น่าจะเป็นเพราะราคาถูกกว่า

 

โดยความเห็นส่วนตัวในบรรดาตัวเลือกทั้ง๔แบบ ผมคิดว่ารถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด เพราะ designใหม่กว่า สามารถป้องกันกระสุนได้ดีกว่า เร็วกว่า ระยะปฏิบัติใกลกว่า มีพื้นที่ในตัวรถมากกว่า มีน้ำหนักบรรทุกมากกว่า และ มีoption ในการ ติดอาวุส และอุปกรเสริมได้ มากกว่า รถหุ้มเกราะแบบอื่น ในระยะยาวรถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี น่า จะทดแทนรถหุ้มเกราะ และรถถังเบา ของกองทัพ ได้หลายแบบเช่น เพเทรีย เอเอ็มวี รุ่น APC และ AIFV ทดแทน M-113, Type85, V-150, Condor เอเอ็มวี รุ่น 6x6 ทดแทน Scorpion และ เอเอ็มวี รุ่น ติดปืน 105mm ทดแทน รถถังเบา  M-41 และStingray สรุปง่ายๆว่า รถหุ้มเกราะแบบเดียวสามารถทดแทนรถหุ้มเกราะ และรถถังเบา ของกองทัพ ได้หลายแบบ ลดปัญหาในการซ่อมบำรุง

 

ปัญหาหลักของรถหุ้มเกราะเพเทรีย เอเอ็มวี คือ ราคาแพงกว่าแบบอื่น

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 01/08/2007 07:58:31


ความคิดเห็นที่ 20


ช่วยตอบผมตรงนี้หน่อยได้ใหมครับ

ผช.เสธ.ทบ.ฝยก. - ขอทราบข้อมูลเกราะป้องกันระเบิดใต้ท้องรถของบีทีอาร์-3 อี 1



ผบ.ศร./ประธานคณะทำงานฯ - ในการชี้แจงของบริษัทตัวแทนในขณะนั้นได้แจ้งว่ายังไม่มีข้อมูล ซึ่งจะต้องถามไปยังบริษัทผู้ผลิตก่อน สำหรับบีทีอาร์-3 อี 1 เป็นรถตระกูลเดียวกับบีทีอาร์-80 ซึ่งแยกตัวออกมา ดังนั้นน่าจะมีคุณลักษณะของการป้องกันแรงระเบิดใต้ท้องรถเหมือนกัน

 

ตรงนี้หมายความว่ายังไม่รู้ไช่ใหมครับ ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร ผมว่าระดับ ผบ.ศร ไม่น่าจะใช้คำว่า น่าจะ นะครับ  ถ้าไม่รู้ก็น่าจะทดสอบให้เรียบร้อย แต่แบบนี้ มันค้างคาใจ และทั้งๆ ที่รู้ว่า BTR-80 กันได้ ทำใมไม่เอา BTR-80 ไปเลยละ

โดยคุณ TIGGER03 เมื่อวันที่ 01/08/2007 08:08:10


ความคิดเห็นที่ 21


ข้อมูลอ้างอิง

กระทู้นี้

http://www.army-technology.com/projects/patria/

http://www.morozov.com.ua/eng/body/btr3u.php?menu=m1.php

Jane?s Armour and Artillery 2005-2006

โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่ 01/08/2007 08:09:32


ความคิดเห็นที่ 22


ในส่วนตัวผม ผมมองว่า สถานการณ์ภัยคุกคาม สภาพแวดล้อม โดยเฉพาะ ๓ จชต. มารวมกับข้อจำกัดด้านงบประมาณ ของเรา
เงิน จำนวน ๔๐๐๐ ล้าน ๔๘ คัน ซึ่ง สุดท้ายเมื่อโดยระเบิด รถก็ชำรุด อยู่ดี  ควรจะแบ่งมาทำอย่างอื่นดีกว่า เช่น การจัดหารถ กระบะ นำมาปรับปรุง เพราะถึงอย่างไร จำนวน๔๘ คัน ที่จัดหาหามาก็จะไม่เพียงพอกับความต้องการ , ยังไม่รวมความ ข้อจำกัดที่จะเกิดขึ้นเมือ พื้นที่สองข้างทางเป็น บ้านคน หรือ คูน้ำ
ความต้องการอื่นๆที่สำคัญยังมีอีกมาก เช่น
  • การพัฒนาอุปกรณ์การปฐมพยาบบาลสนาม ซึ่งไทยใช้ตั้งแต่สงครามเวียดนาม ให้มีอุปกรณ์ที่ช่วยชีวิตได้จริง ( ปัจจุบันสถิติการเสียชีวิตหลังการบาดเจ็บปะทะ สูงกว่าสงครามโลกครั้งมี่สอง ทั้งที่ผ่านมาแล้วกว่า๔๐ปีเทคโนโลยีการแพทย์ที่สูงกว่ามาก)
  • เครื่องมือสื่อสาร ที่ทำให้สามารถ สื่อสารติดตามสถานการณ์พร้อมกับ ใช้อาวุธในการระวังป้องกันได้, อุปกรณ์สื่อสารหลายคลื่นความถี่ เพื่อความอ่อนตัวในการติดต่อสื่อสาร
  • เครืองบินตรวจการไร้คนขับขนาดเล็กสำหรับกองร้อยหรือหมวด ให้ครอบคลุม คุ้มครอง ชุดลาตระเวนหรือ หน่วยปฏิบัคิได้
  • เครื่องแจมมเมอร์ประจำชุดและหมู่ ให้ทั่วถึง
  • เอามาซื้อกระสุน ให้ทหารได้ทำการฝึกยิง ให้เพียงพอทื่จะทำให้เกิดความมั่นใจในการการใช้อาวุธ
  • คิดดูให้ดีครับยังมีอีกเยอะ แต่ผมกลัวว่า อำนา๗ความโลภหรือความอยากส่วนตัวจะบังเหตุผลมิด

โดยคุณ dboy เมื่อวันที่ 01/08/2007 08:54:56


ความคิดเห็นที่ 23


ถึง คุณ Trinity ครับ

ไอ้เรื่องเด็กผูกคอตาย ไม่เกี่ยวกับ งบทหารหรอกครับ แต่ไอ้สามจังหวัดภาคใต้ ทหารโดนระเบิดตาย อันนั้นมีผลมาจากงบแน่ ๆ ครับ

เอารายละเอียดข่าวเด็กผูกคอตายมาให้ดูนะครับ

ทางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้จ่ายเงินให้ เนื่องจากเพิ่งได้รับงบประมาณมาจากทางกองทุนทั้งหมด 41 ล้านบาท อยู่ ระหว่างการตรวจสอบเอกสารต่างๆเพื่อความถูกต้องอยู่

และ

ด้าน ส.ต.ต.อนุรักษ์ ประชุม พี่ชายของ น.ส.เสาวภา กล่าวว่า ข่าวที่ออกไปว่าน้องสาวกู้เงินเรียนไม่ได้ทำให้คิดสั้น ฆ่าตัวตายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะที่บ้านถึงแม้จะไม่ร่ำรวย แต่ไม่ถึงขั้นยากจนอนาถา ที่ผ่านมาตนและพี่ชายอีกคนส่งเงินให้น้องเป็นประจำ เรื่องกู้เงินไม่ได้จึงไม่น่าจะเป็นประเด็น แต่ประเด็นจริงๆ ยังไม่มีใครทราบ เพียงรู้จากเพื่อนของน้องสาวว่า น้องสาวเคยบ่นถึงปัญหาการเรียนตกต่ำ หากเรียนไม่จบ พ่อแม่จะเสียใจ ปกติน้องสาวเป็นคนที่เก็บตัวไม่ค่อยพูดอยู่แล้ว ประกอบกับเป็นคนสู้ชีวิต ไม่เคยขอเงินทางบ้าน แม้พี่ๆจะส่งเงินมาช่วยเหลือ ขอยืนยันว่าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาแน่นอน

จากไทยรัฐ นะครับ

 

ส่วนเรื่อง สเปกรถหุ้มเกราะ ไม่ขอวิจารณ์ครับ เพราะว่าไม่เชี่ยวชาญ ไม่ถนัด แต่ขอให้มาแล้ว ใช้งานได้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ชิวิตทหารปลอดภัย ก็คุ้มแล้วครับ

โดยคุณ แมวบิน เมื่อวันที่ 01/08/2007 14:16:27


ความคิดเห็นที่ 24


ขออภัย ตัวเล็กจัด ขออีกรอบ

ถึง คุณ Trinity ครับ

ไอ้เรื่องเด็กผูกคอตาย ไม่เกี่ยวกับ งบทหารหรอกครับ แต่ไอ้สามจังหวัดภาคใต้ ทหารโดนระเบิดตาย อันนั้นมีผลมาจากงบแน่ ๆ ครับ

เอารายละเอียดข่าวเด็กผูกคอตายมาให้ดูนะครับ

ทางมหาวิทยาลัยยังไม่ได้จ่ายเงินให้ เนื่องจากเพิ่งได้รับงบประมาณมาจากทางกองทุนทั้งหมด 41 ล้านบาท อยู่ ระหว่างการตรวจสอบเอกสารต่างๆเพื่อความถูกต้องอยู่

และ

ด้าน ส.ต.ต.อนุรักษ์ ประชุม พี่ชายของ น.ส.เสาวภา กล่าวว่า ข่าวที่ออกไปว่าน้องสาวกู้เงินเรียนไม่ได้ทำให้คิดสั้น ฆ่าตัวตายนั้นไม่เป็นความจริง เพราะที่บ้านถึงแม้จะไม่ร่ำรวย แต่ไม่ถึงขั้นยากจนอนาถา ที่ผ่านมาตนและพี่ชายอีกคนส่งเงินให้น้องเป็นประจำ เรื่องกู้เงินไม่ได้จึงไม่น่าจะเป็นประเด็น แต่ประเด็นจริงๆ ยังไม่มีใครทราบ เพียงรู้จากเพื่อนของน้องสาวว่า น้องสาวเคยบ่นถึงปัญหาการเรียนตกต่ำ หากเรียนไม่จบ พ่อแม่จะเสียใจ ปกติน้องสาวเป็นคนที่เก็บตัวไม่ค่อยพูดอยู่แล้ว ประกอบกับเป็นคนสู้ชีวิต ไม่เคยขอเงินทางบ้าน แม้พี่ๆจะส่งเงินมาช่วยเหลือ ขอยืนยันว่าเรื่องเงินไม่ใช่ปัญหาแน่นอน

จากไทยรัฐ นะครับ

 

ส่วนเรื่อง สเปกรถหุ้มเกราะ ไม่ขอวิจารณ์ครับ เพราะว่าไม่เชี่ยวชาญ ไม่ถนัด แต่ขอให้มาแล้ว ใช้งานได้คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ชิวิตทหารปลอดภัย ก็คุ้มแล้วครับ

โดยคุณ แมวบิน เมื่อวันที่ 01/08/2007 14:19:07


ความคิดเห็นที่ 25


ลองก่อนได้มะ ถ้าไม่พังค่อยจ่ายตัง อิอิ

โดยคุณ delta21 เมื่อวันที่ 01/08/2007 16:50:32


ความคิดเห็นที่ 26


เรื่องที่กองทัพต่างๆจะซื้ออาวุธใหม่ดีใจด้วยแต่ถ้าซื้อของทีมันตกรุ่นแล้วหรือของเก่าๆแล้วนำมาโมใหม่อันนี้ไม่เห็นด้วยเลยอย่างแรงเลยเพราะอาวุธเราต้องซื้อให้ทันสมัยไม่ใช้ซื้อมาแล้วอยู่ได้ไม่เท่าไหร่ก็เสียต้องซ่อมเสียแล้วดูตัวอย่างอย่างรถถังเบาสติงเรย์สิซื้อมาไม่กี่ปีเกราะก็ร้าวแล้วเสียเงินซ่อมอีกเงินไม่ใช้บาทสองบาทนะจะบอกให้และที่สำศัญที่สุดรถถังรุ่นนี้ไม่มีใช้ที่ไหนนอกจากประเทศไทยทีเดียวเท่านั้นพี่ไทยเราเป็นซะอย่างนี้จะซื้ออะไรแต่ละทีเรื่องมากชะมัดสู้ประเทศอื่นก็ไม่ได้เขาซื้ออาวุธเขาจะซื้อทีมันทันสมัยใช้ได้เลยอย่างเรือรบก็ซื้อมายกล็อตทั้งเรือทั้งอาวุธแต่เราเอาแค่ตัวเรือส่วนอาวุธใว้ซื้อทีหลังเรือไทยเราเลยกลายสภาพเป็นสมเสร็จไปเลยปืนก็ของจีนจรวดก็ของอเมริกาเช่นรล.ชุดนเรศวรจนป่านนี้อาวุธยังได้มาไม่ครบเลยส่วนรถถังพี่ไทยก็เลือกมาแบบมือสองแล้วทั้งนั้นเช่นตะกูลเอ็มทั้งหลายแหล่เช่น60,48,41หรือของจีนแดงเป็นต้น
โดยคุณ ttrc เมื่อวันที่ 01/08/2007 20:05:56


ความคิดเห็นที่ 27


ยานเกราะล้อยางทั้ง 4 แบบ มีความแตกต่างในเรื่องของราคาอย่างชัดเจน คือ ลาฟทู และเพเทรีย เอเอ็มวี ราคาโดยประมาณคือ 2 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่อีก 2 แบบ ราคาประมาณ 1 ล้านเหรียญ...ทั้งนี้จากข้อมูลที่พิจารณาจะเห็นว่ายานเกราะล้อยางของรัสเซียและยูเครนด้วยงบประมาณที่ได้รับอนุมัติจะสามารถจัดหาได้ 1 กองพัน คือ 96 คัน ดังนั้นการพิจารณาในวันนี้นอกจากคุณลักษณะและขีดความสามารถแล้วคงต้องนำเรื่องราคามาประกอบด้วย

 

ข้อสรุป ก็คือราคากับจำนวนครับ

งบเหลือ ครึ่งหนึ่ง แต่กองทัพบก ต้องการจำนวนเท่าเดิม คือ 96 คัน  หวยเลยออกมาที่  บีทีอาร์-3 อี 1

 

หากเป็นจริง ผมก็รับได้ครับ

โดยคุณ Webmaster เมื่อวันที่ 01/08/2007 21:54:19


ความคิดเห็นที่ 28


ท่าน webmaster

มาตรงประเด็นเลยครับ

สำหรับผม  หากว่า 4000ล้าน ได้แค่40คัน

  กับ 4000 ล้าน ได้ถึง90กว่าคัน ได้ 1 กองพัน

ผมว่า เอาปริมาณ ในคุณภาพที่สมเหตุผลดีกว่าครับ

 

หากว่า เจ้าBTR-3e1 นั้น เป็นจริงที่ว่า เค้าให้ปืนติดรถมาด้วย  แม้ว่าคุณภาพอาจจะสู้ เจ้าอื่นไม่ได้ แต่ก็พอเพียงที่จะปกป้อง ทหารของเราได้ครับ

 

แม้เท่าที่ผมอ่านดูแล้ว เจ้าBTR 80 อาจจะเหนือกว่า  ซึ่งตรงนี้ หากว่าสามารถชี้แจงได้ว่าทำไมต้องBTR ของยูเครน ก็จบครับ  จะของแถม หรือว่าอะไรก็ว่ากันไป 

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 01/08/2007 22:10:22


ความคิดเห็นที่ 29


ก็ขอสนับสนุนเหตุผลของทุก ๆ ท่าน ที่ไม่เกี่ยวพันไปทางการเมืองนะคับ

ตอนนี้ผมเห็นด้วยกรณีที่จะมีการจัดหารถหุ้มเกราะมาเพิ่มเติมและทดแทน โดยเฉพาะรถล้อยาง ที่เรามีใช้อยู่แค่แบบเดียวคือ V.100/150 เก่าไม่เก่า นานไม่นานก็คิดดูคับ ผมเห็นตอนเค้าเอาลงจากเรือ มาใส่รถเทรลเล่อร์ตั้งแต่อายุได้ 12 ขวบ วันนี้อายุผม 45 แล้วก็กี่ปีล่ะ

เห็นด้วยกับความเห็นของท่านที่ว่า หากเราไปยึดติดกับของดีราคาแพงมากเกินไป แต่ในที่สุดเราจะหนีความจริงไปไม่พ้น คือสมมุติว่าเราตัดสินใจซื้อแล็พ ในที่สุดเราจะได้แค่ตัวถังแล็พ อุปกรณ์อย่างอื่นจะถูกตัด หรือลดคุณภาพลง สุดท้ายสู้ซื้อของถูกแต่ได้เต็ม ๆ ซัก 8-90 เปอร์เซ็นต์ก็น่าจะดีกว่า

เราซื้อรถถังดี ๆ มาหลายแบบ ถึงจะเก่าในอเมริกา แต่ก็ยังแหลมคมสำหรับแถวบ้านเรา แม้กระทั่ง เอ็ม.41 ก็ตาม

แต่ว่า รถถังทุกคันที่เราซื้อมา ถอดแอร์ออกหมดคับ เพราะเราซื้อของถูก

เอาไปจอดตากแดดซักครึ่งชั่วโมงแล้วลองมุดเข้าไปอยู่ดิคับ แล้วจะรู้ว่านรกมีจริง

ซื้อของค่ายม่านเหล็กไม่ใช่ว่าของเค้าจะกระจอกคับ ไม่งั้นเค้าคงเสร็จมะกันไปนานแล้ว ทุกวันนี้ก็รู้ ๆ กันอยู่ อาวุธอเมริกันเอามาถอดอิเล็กทรอนิกส์ออก แล้วซัดกันด้วยมือต่อมือที่พอ ๆ กัน อาวุธอเมริกันสู้รัสเซียไม่ได้หรอกคับ ถ้ายิ่งรบติดพันยืนระยะแล้ว อาวุธอเมริกันไปก่อนทุกทีคับ

เราเชียร์อาวุธอเมริกัน อาวุธยุโรป เพราะเชื่อในเทคโนโลยีที่เหนือกว่า แต่กี่คนที่จะรู้ว่า เราซื้อได้แค่เปลือก ไส้ในไม่ได้ดีกว่าของที่ซื้อมาเมื่อยี่สิบสามสิบปีก่อนแต่อย่างใด

ถ้ารถเกราะยูเครนใส่ตัวเต็มมาให้ ซื้อเลยคับผมเชียร์ 1 เสียง

 

โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 01/08/2007 23:52:47


ความคิดเห็นที่ 30


...ปล. จะซื้อจะใส่อะไรก็ตามแต่อัตภาพ และความเหมาะสม แต่ไม่ควรทิ้งแอร์นะคับ ทุกวันนี้แดดบ้านเราร้อนมาก เห็นใจน้อง ๆ ทหารม้าจะกลายเป็นม้ากรอบบรรจุกระป๋องเหล็ก หากต้องไปรบกันกลางแดดนาน ๆ
โดยคุณ X-1 เมื่อวันที่ 02/08/2007 01:08:51


ความคิดเห็นที่ 31


มติชนเล่นข่าวมาสี่วันติดแล้ว

 

ซื้อรถเกราะให้คุ้มค่า

บทนำมติชน



แม้จะเป็นเรื่องของกองทัพบกในการเตรียมจัดซื้อยานเกราะหรือรถหุ้มเกราะล้อยาง บีทีอาร์ 3 อี 1 ผลิตโดยบริษัท คาร์คีฟ โมทโรซอฟ ดีไซน์ บูโร ยูเครน แห่งประเทศยูเครน งบประมาณปี 2550-2552 วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยผ่านความเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบก (กมย.ทบ.) โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ในกองทัพบกหลายคนเข้าร่วมและขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอการอนุมัติในหลักการของผู้บัญชาการทหารบก (พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน) และจากนั้นจะเสนอต่อกระทรวงกลาโหม แต่การดำเนินการที่โปร่งใส ผ่านการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน รอบคอบย่อมนำมาซึ่งความสบายใจของประชาชนและย่อมส่งผลต่อความเชื่อถือต่อสถาบันกองทัพไทย

ไม่มีใครปฏิเสธในการจัดซื้ออาวุธยุทโปกรณ์ของกองทัพ เพราะประเทศจะธำรงไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งดินแดนได้รับการเคารพจากนานาประเทศทั้งที่มีอาณาเขตติดต่อกันหรือไม่ติดต่อกันก็อยู่ที่ความพรั่งพร้อมในสรรพกำลังในการรักษาความมั่นคงของรัฐ และนี่เองที่ทำให้การจัดซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศดำเนินมาตามลำดับจากอดีตถึงปัจจุบัน มีบางครั้งที่การจัดซื้อถูกทักท้วงจากสังคม จากนักการเมือง นักวิชาการเนื่องจากฐานะการเงินของประเทศไม่เอื้ออำนวย ปากท้องและความเป็นอยู่ของประชาชนมีความเร่งด่วนกว่าสำหรับการใชจ่ายงบประมาณแผ่นดิน และมีบางครั้งเช่นกันที่การจัดซื้อถูกตั้งคำถามว่าเป็นไปด้วยความสุจริตหรือมีลับลมคมในแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง

การตระเตรียมจัดซื้อรถหุ้มเกราะล้อยาง บีทีอาร์ 3 บี 1 วงเงิน 4,000 ล้านบาท นายทหารชั้นผู้ใหญ่ไม่จำเป็นจะต้องเป็นทุกข์หรือเดือดเนื้อร้อนใจใดๆ หากทุกสิ่งทุกอย่างทำไปตามกฎเกณฑ์ ด้วยความถี่ถ้วน รอบคอบ นั่นคือ รถหุ้มเกราะจะต้องมีสมรรถนะในการป้องกันอันตรายจากการทำลายล้างจากฝ่ายตรงข้าม โดยเฉพาะการวางระเบิดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากจะไม่ทำให้รถหุ้มเกราะพังพินาศแล้ว ยังสามารถรักษาชีวิตของทหารประจำรถหุ้มเกราะรวมทั้งประชาชนได้อีกด้วย จะมีใครเล่าที่รู้ดีไปกว่านายทหารที่ผ่านการรบ การได้ศึกษาในต่างประเทศ และมีประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ เพียงแต่ว่า คณะกรรมการจะพิจารณาด้วยความระมัดระวังและใจเย็นๆ ในการหาข้อมูลจากที่ต่างๆ มาประกอบเพื่อเปรียบเทียบกันดูทั้งในด้านของสมรรถนะ การซ่อมบำรุง อะไหล่ การบริการ การส่งช่างมาแนะนำ ฯลฯ

เป็นธรรมดาที่การซื้อของไม่ว่าจะเป็นของเล็ก ของใหญ่ ผู้ซื้อย่อมอยากได้ของดี ราคาถูก ในขณะที่ผู้ขายต้องการเงินมากที่สุดและขายของที่อาจไม่ดีให้กับผู้ซื้อ โดยอาศัยความซื่อ การไม่รู้จริงในสินค้าหรือด้วยเหตุผลอื่น เป็นเหตุให้เงินที่ผู้ซื้อต้องจ่ายให้กับผู้ขายนั้นไม่คุ้มค่ากับคุณภาพของสินค้าที่ได้มา สินค้าบางประเภทที่ซื้อมาแล้วใช้การได้ไม่ดียังพอทำใจได้ แต่สินค้าประเภท เช่น อาวุธยุทโธปกรณ์เมื่อใช้ได้ไม่ดี จะสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้ การณ์จึงกลายเป็นว่าผู้ซื้อเสียทั้งเงิน เสียทั้งกิจการงาน เสียชีวิตและทำให้รู้สึกเจ็บใจไปตลอด ดังนั้น การพิจารณาให้ดี ตัดสินใจเลือกบริษัทจากหลายประเทศที่ล้วนอยากขายรถหุ้มเกราะล้อยางให้กับไทย ไม่ให้ผิดพลาด จึงเป็นเรื่องใหญ่และเรื่องสำคัญที่ผู้รับผิดชอบในกองทัพบกจะต้องคำนึงถึงให้มาก

ดังนั้น ก่อนจะถึงการตัดสินใจขั้นสุดท้ายของผู้บัญชาการทหารบกและกระทรวงกลาโหมว่าจะเลือกซื้อจากบริษัทในประเทศยูเครนตามที่คณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์ กองทัพบกมีมติเห็นชอบแล้วและกำลังเสนอไปให้ผู้บัญชาการทหารบกเซ็นอนุมัติ จึงควรที่นายทหารในกองทัพบกที่มีหน้าที่พิจารณาเรื่องนี้จะต้องเปิดใจกว้าง แสดงออกให้สาธารณชนเห็นว่า กองทัพบกจะใช้งบประมาณแผ่นดินให้คุ้มค่า เงินจะไม่รั่วไหลไปเข้าพกเข้าห่อของใครอย่างผิดปกติและขัดต่อวัตถุประสงค์เป็นเด็ดขาด ซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเกินไปถ้าหากทุกคนต่างถือหลักการทำความดี มีความสุจริตใจถือเอาผลประโยชน์ของชาติเป็นที่ตั้ง

หน้า 2<

โดยคุณ ericson เมื่อวันที่ 02/08/2007 09:35:11


ความคิดเห็นที่ 32


คุณ X-1 กล่าวได้เห็นภาพมากเลยครับ ตอนผมเป็นทหาร ลองมุดเข้าไปในห้องพลขับ เอ็ม 113 ตอนบ่ายแก่ๆเล่น ขนาดจอดอยู่ในโรงซ่อม โดนแดดหน่อยเดียวอยู่ได้แปปนึง เหงื่อหยั่งกะอาบน้ำเลย

หากได้ออฟดีๆแล้วสนันสนุนกำลังพล เข้ากับยุทธวิธีได้ดี เซฟชีวิตทหารได้ก็น่าสนันสนุนอย่างยิ่ง

ทุกวันนี้นั่งหลังกระบะไม่ต้องโดนถังแดงหรอกครับแค่ซุ่มตีข้างทางโอกาสรอดก็ต่ำแล้ว

โดยคุณ Howitzer เมื่อวันที่ 02/08/2007 16:10:56