พอดีคลายเครียดจากงานครับ...
เลยสรุปข้อมูล เนื้อหามาให้ครับ...
ไม่รับรองความถูกต้อง 100% แต่อย่างใดครับ...
เป็นข้อมูลแค่ใกล้เคียงครับ...
ข้อมูลค้นหาจาก สมรภูมิ ฉบับ อากาศยานนาวี และ thai-aviation.net
ฉบับนี้ ไม่มีรูปภาพประกอบนะครับ...เพราะขนาดมันจะใหญ่ เกินไป (แถมขี้เกียจ อีกต่างหากครับ)
เป็นเนื้อหา ที่น่าจะต่อเนื่องจากกระทู้ T004840 ได้ ว่า ทร. น่าจะจัดหา บ. สำหรับการป้องกันภัยทางอากาศ ในอนาคต หรือไม่ ครับ...
ตอนแรก กะจะเอาตั้งแต่ก่อตั้ง หน่วยบินทหารเรือ ปี 2481 แต่มันขี้เกียจซะแล๋วววว...เลยขอเป็น นำเสนอ ยุคที่ 2 คือ จุดเริ่มต้นใหม่ของ หน่วยบินทหารเรือ ภายหลังจากเหตุการณ์ แมนฮัตตันในปี 2494 หน่วยบินทหารเรือ ก็ไม่มี บ.ประจำการอีกเลย ต่อมาอีก 10 ปี คือปี 2505 หน่วยบินทหารเรือก็ได้จัดตั้งขึ้นใหม่อีกครั้ง
อนาคตในการจัดหา เครื่องบิน ของ กองบินทหารเรือ โดยอายุประจำการ บ. ของ กองบินทหารเรือ ผมลองดูข้อมูล น่าจะเป็นแค่ 30 ปี
1. บ. ทดแทน T-337 G จำเป็นต้องมีหรือไม่ ? แล้ว บ.แบบอะไร ที่จะมาทดแทนในภาระกิจ ตรวจการณ์ ชี้เป้า โจมตี เป็น ฮ. ทดแทนได้หรือไม่ ?
2. Bell-212 คงจะครบอายุอันใกล้นี้...ฮ. UH-60 L ที่ ทร. สั่งซื้อเพิ่มเติม 6 ลำ ใช่มาทดแทน ที่ฝูงนี้หรือเปล่า...หรือ ทดแทน ฝูงบิน 1 ของ หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศก์
3. ข่าวการประกวดราคาจัดหา เครื่องบินลำเลียง จำนวน 1 ลำ ของ ทร. ผมคิดว่า น่าจะจัดอยู่ฝูง 201 ซึ่ง บ.แบบนอร์แมด แต่เดิม มีประจำการ 5 เครื่อง แต่ในข้อมูล Thai-aviation.net ในปัจจุบัน มีการใช้งานอยู่เพียง 4 เครื่อง (สงสัยอีกเครื่องเป็นอะไหล่ไปซะแล้ว)
ลืมอีก 1 ข้อ...
4. บ.ขับไล่ โจมตี ป้องกันภัยทางอากาศ เดิมมีอยู่ 2 ฝูง อนาคตอันใกล้ ก็จะไม่มีสักฝูง หรือไม่ ? ถ้าเทียบกับในระยะ 5-10 ปี ข้างหน้า ถ้า ทร. ยังไม่ได้จัดหาระบบอาวุธป้องกันภัยทางอากาศ แบบลูกยาวกว่า อัลปิเด ในอีกระยะ 5-10 ปี...ในขณะที่ สิงค์โปร์ จะมี ASTER 15 ประจำการ และ มาเลเซีย มีข่าวออกมาเร็ว ๆ นี้ จะเปลี่ยนระบบจาก Sea Wolf เป็น จรวดรุ่นใหม่ ที่ถ้าผมจำไม่ผิด มีระยะยิงไกลว่า ซีวูฟท์ (ลืมแล้วว่าอะไร)...
บ.ขับไล่ โจมตี ป้องกันภัยทางอากาศ ของ ฝูงบิน 1 หน่วยบิน ร.ล.จักรีนฤเบศก์ ในความคิดเห็นส่วนตัว ผมว่ายังมีความจำเป็นในระยะอันใกล้...ที่น่าจะจัดหา แฮร์ริเออร์ II + มือสอง เพื่อเป็นฝูงบินป้องกันภัยทางอากาศ ให้กับ กองเรือ...
สำหรับขีปนาวุธต่อสู้อากาศยานที่ติดตั้งบนเรือรบนั้นถ้าจะหาระบบที่พอจะทำการปรับปรุงเรือที่มีอยู่โดยไม่สิ้นเปลืองงบประมาณมากนัก ส่วนตัวคิดการปรับปรุงชั้น ร.ล.สุโขทัย โดยเปลี่ยนตัวขีปนาวุธจาก Aspide มาเป็น Aspide 2000 น่าจะจะเป็นทางเลือกที่น่าสนใจนะครับ
เพราะท่อยิง Albatross น่าจะรองรับได้ทันทีและการปรับปรุง Software ระบบควบคุมการยิง WM25 น่าจะจะทำได้สะดวกครับ ระยะยิงก็เพิ่มขึ้นมาพอสมควรด้วย(จากประมาณ8-12กิโลเมตรเป็น 15-25กิโลเมตร)
ดูเหมือนว่า กบร.จะไม่มีแผนที่จะจัดหา บ.ขึ้นลงทางดิ่งแบบใหม่มาทดแทน AV-8S และ บ.โจมตีจากฐานบินบนบกแทน A-7 ในช่วงนี้ครับ ซึ่งถ้ามีการจัดหา บ.ลักษณะนี้มาจำนวนหนึ่งนั้น AV-8B รุ่น Night Attack ของนาวิกโยธินสหรัฐฯที่สำรองไว้ก็น่าจะเป็นตัวเลือกที่ดีครับ(ถ้าเขาอนุมัติขายให้) เพราะมีขีดความสามารถในการใช้อาวุธโจมตีภาคพื้นสูง แต่อย่างไรก็ตาม บ.รุ่นนี้ก็เหมือนกับ AV-8S ครับที่เป็น บ.โจมตีซึ่งไม่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธปล่อยพิสัยกลางอย่าง AMRAAM (Harrier II Plus ของสหรัฐฯที่ติด Radar AN/APG-65 ก็ใช้ AMRAAM) ไม่ได้ครับ ต้องดูว่ามีทางเป็นไปได้หรือไม่ที่จะปรับปรุงติด Radar และ Upgrade Software ให้มีความสามารถเท่า AV-8B ของสเปน และ อิตาลีครับ
สำหรับ F/A-18C/D มือสองนั้นถึงแม้ว่าจะไม่มีปัญหาเรื่องอะไหล่เท่า A-7 แต่ส่วนตัวคิดว่าสภาพเครื่องคงจะโทรมพอดูครับเพราะใช้งานหนัก ถ้าจัดหามาคงจะมีปัญหาในอนาคตได้
ว่าแต่ปืนใหญ่หลักเรือชั้นLekiu คือ Bofors 57mm นี้จะนับเป็น ปตอ. ด้วยหรือไม่ครับ
Italian Navy Successfully Concludes Aspide / Albatros System Firing Campaign
(Source: MBDA; issued July 19, 2007)
The Italian Navy has successfully concluded its live firing campaign of the Aspide missile launched from the naval surface-to-air Albatros system. Comprising five live firings carried out at sea at the Joint Firing Test Range of Salto di Quirra (PISQ) in Sardinia, Italy, the firing campaign was conducted as an ongoing training exercise for the crews on board ships of the Italian Navy.
All five missiles were fired from the updated version of the Albatros system onboard five different ships: the frigates FFG Grecale, Espero and Aviere, the destroyer DDG Durand de La Penne and the aircraft carrier CG Garibaldi. In each case the target was a MIRACH 100/5 drone flying at altitudes ranging from between 50 and 3500 meters and at a speed of 180 m/sec. Engagement distances were between 12 and 20 km with intercept ranges between 8.5 and 12.5 km. Each one of the missiles launched registered the required miss distance from the target.
All onboard firing activities were carried out by the Italian Navy. PISQ tele-recorded the activities and collected all the relevant flight information, such as radar/optical trajectography, according to its standard procedures.
This exercise has been recognised as a total success and concludes the customer?s operational evaluation of Albatros, confirming the system?s capability to carry out challenging firing profiles, including attack by UAVs even when flying at very low altitude and/or performing evasive manoeuvres.
Fabrizio Giulianini, MD/GM of MBDA Italia, said: ?This recent live firing campaign with the Aspide missile and its updated Albatros naval air defence system confirms the status of the Aspide family of systems as one of the most reliable AAW (Anti-Air Weapon) systems in the world. Aspide has now registered a success rate of more than 95% during more than 650 launches carried out to date. We expect several contracts to be placed for the advanced Aspide missile and its associated naval and ground systems?.
More than 5,000 Aspide/Aspide 2000 missiles have been produced and sold to over 20 countries around the world, establishing the missile as a benchmark in its sector.
With an annual turnover exceeding EUR 3 billion, a forward order book of over EUR 13 billion and over 70 customers world wide, MBDA is a world leading, global missile systems company. MBDA currently has 45 missile system and countermeasure programmes in operational service and has proven its ability as prime contractor to head major multi-national projects. MBDA is jointly owned by BAE Systems (37.5%), EADS (37.5%) and Finmeccanica (25%).
ขอบคุณมากครับ...ท่าน AAG_th1...
Aspide 2000 น่าสนใจมากครับ...แล้วเราจะอยู่ใน 20 ประเทศนั้นด้วยรึเปล่าครับ...และขอรบกวนถามตรงประโยคที่เกี่ยวกับ UAV ด้วยครับ...หมายถึงอย่างไรครับ...แปลไม่ออก...แถมเรื่อง Bofos 57 m.m. ของ ลิเคียว อีก...อืมส์...ผมก็ไม่ได้คิดถึงเลย...ผมว่า มันก็น่าจะจัดอยู่ใน ปืนป้องกันภัยทางอากาศ ได้เหมือนกันน่ะครับ...แม้แต่ ออโตเมล่า 76 ม.ม. ก็มีสมรรถนะต่อต้านทางอากาศ ด้วยเหมือนกัน แต่ไม่รู้ว่า เคยมีข่าวถึงประสิทธิภาพขนาดไหนครับ...
ตรงส่วนที่เกี่ยวกับ UAV นี้คราวๆคือ ระบบ Albatros ถูกพัฒนาให้สามารถยิงโจมตีเป้าหมายที่บินในระดับต่ำและทำท่าทางหลบหลีกได้อย่างการถูกโจมตีด้วย UAV ครับ(น่าจะใช่นะ)
อดใจไม่ไหว...เลยติดต่อขอซื้อ ซี แฮร์ริเออร์ FA-2 จาก ทร.อังกฤษมาถูก ๆ เพราะเขากำลังหา ตังค์ ไปทำเรือบรรทุก บ. ลำใหม่...เราเลยกดราคาซะ เหลือลำละ 1 ล้านปอนด์....เขาวางขู่ ๆ ไว้บนเรือเล่น ๆ น่ะ...อย่างน้อย ถ้าเทียบกับวาง AV-8S ไว้ ก็ยังขู่ได้น่ากลัวกว่านิ๊ดดดด นึง...
พอหลังจาก เราได้รับ SUPER LYNX 300 ครบจำนวน 6 ลำ พร้อมกับ UPGRADE เป็น ASW (Anti Submarine Warfare) เรียบร้อยแล้ว...
ฮ.ลล.4 ก็เลยปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อทดแทน T-337 G ที่กำลังหมดอาุยุลง เพื่อใช้ตรวจการณ์ ชี้เป้า และปฏิบัติการร่วมกับ นาวิกโยธิน...จาก ฮ.ลล.4 ก็เป็น ฮ.ตจ.1 แทน
โดยความร่วมมือกับ สหรัฐ พัฒนาจาก S-76 เป็น H-76 eagle....
1. ติดกระเปาะยิงจรวด
1.ติดแท่นยิง จรวด โทว์ จำนวน 2 นัด