ช่วยเปรียบเทียบ เครื่องบินขับไล่ ทั้ง 2 แบบนี้ หน่อยครับ
ถ้าจะเลือก มาเป็น บข.20 แบบไหนน่าใช้กว่ากัน
เครื่องบินขับไล่ ทั้ง 2 แบบ จัดว่าอยู่ในข่าย ที่ทันสมัย ทั้งคู่ เป็นเครื่องบินขับไล่ ยุคที่ 4+
คำถาม บังคับตอบ
F-16 E/F Block 60 กับ F/A-18 E/F Block II ทั้ง 2 ตัวเลือกนี้ คุณอยากได้ บินแบบใด มาเป็น บข.20
ถ้าอยากได้ก็ต้องเป็น f18 super hornet แต่ถ้าจะซื้อแค่สิบกว่าตัว f16 เหมาะสมกว่า เพราะโรงซ่อมบำรุงเพิ่มเติมอุปกรณ์นิดหน่อย สำรองอะไหล่เพิ่มอีกนิดหน่อยก็พร้อมรบแล้วเพราะของเดิมมีf16 เก่าๆอยู่59 ตัว แต่ถ้าซื้อ f18 คงต้องซื้ออุปกรณ์สนับสนุนเครื่องมือในการซ่อมและสำรองอะไหล่อีกหลักหมื่นล้านครับ
ส่วนตัว ผมชอบ F/A-18 E/F Block 2 มากกว่า ครับ
อ่านมาจาก นิตยสาร แทงโก้ เขียนเอาไว้ว่า
ผู้เชี่ยวชาญ ทางการทหาร กล่าวว่า......................F/A-18 E/F มี ความสามารถ และ ความทันสมัย ทัดเทียม กับ F-22 RAPTOR และ F-35 ขาดแต่ว่า มีความสามารถ ในการ ตรวจจับได้ยาก น้อยกว่า
ตอนนี้ ออสเตรเลีย ก็สั่งซื้อ ไปแล้ว 24 เครื่อง
มีหมัดเด็ด อย่าง Harpoon ไว้ จมเรือ ผู้รุกราน ด้วย
แล้วอย่าลืม ว่า F/A-18E LOCK ON F-22 มาแล้ว น่ะจ๊ะ
ปล.แล้วมัน ยังอยู่ในข่าย พิจารณา ของ ทอ. อยู่หรือเปล่า
Super Hornet ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนเรือบรรทุก บ. และโจมตีเป้าหมายในทะเลรวมถึงป้องกันภัยให้แก่กองเรือบรรทุกเครื่องบิน แต่ด้วยขนาดที่ใหญ่ ทำให้มันไม่คล่องตัวเท่าที่ควร ซึ่งการ Dogfight กับ บ.อื่นอาจจะทำได้ไม่ดีนัก แต่ Super Hornet เน้นพิสัยบินไกล มากกว่าครับ
ส่วน F-16 E/F นั้น ขึ้นชื่อว่า F-16 Dogfight ในอากาศได้ดีมากทีเดียว รุ่น E/F นี่เรื่องพิสัยบินก็คงไม่มีปัญหา เพราะติด CFT แต่ความอยู่รอดอาจจะสู้ Super Hornet ไม่ได้ เพราะมีเครื่องยนต์เดียว
แต่ทั้ง 2 แบบ ติดเรดาห์ AESA เหมือนกัน ทันสมัยก็คงจะพอกัน แต่สรุปก็คือ Super Hornet มีความอยู่รอดสูงกว่า แต่ไม่คล่องตัวเท่า F-16 เท่านั้นเอง
ถ้าให้เลือก คิดว่า(นะ) น่าจะเลือก F-16 เพราะทั้งช่างกับนักบินชินมือกับเลข 16 ซะแหล่ว
แต่ใจจริงผมก็อยากได้ Super Hornet เหมือนกันครับ เพราะเราไม่ได้พิจารณา F-16 E/F นี่นา
....เอฟ18 ซุปเปอร์ฯ นั้นผมว่าจัดเป็นประเภท บ.ข.โจมตีมากกว่าจะใช้ขับไล่น่ะครับ (ในสงครามอ่าวเอง อเมริกานั้นใช้เอฟ18 ในการโจมตีระบบเรดาห์ และบรรทุกสมาร์ทบอม รวมถึงสงครามอิเล็คมรอนิค มากกว่า ) คุณสมบัติในการใช้อาวุธโจมตีจนถึงระบบอำนวยการรบนั้นจัดว่าสุดยอด และเรดาห์ของเครื่องซุปเปอร์นั้น เห็นแทงโก้ลงไว้ว่า สามารถใช้ทำสงครามอิเล็คทรอนิคได้ด้วย แต่หากจะนำไปใช้ขับไล่ นั้นคงจะลำบากในเรื่องความคล่องตัว เนื่องจากขนาดลำตัวที่ใหญ่เอาเรื่อง หากดูในเรื่องการขายและความนิยมแล้ว มีไม่กี่ประเทศที่จัดหา เครื่องซุปเปอร์ฯเข้าประจำการทั้งๆที่ลงแข่งแต่ก็เจอ เอฟ15 กับ เอฟ16 กินเรียบเลย
......สำหรับบ้านเราเอาความเคยชินก็ เอฟ16 บล็อค 60 ติดซีเอฟซีก็ หรูแล้วครับ ส่วนเอฟ 18 อี/เอฟ นั้นไว้ให้กับ กองบินนาวีจะดีกว่า
F/A-18E/F Super Hornet เป็นเครื่องบินขับไล่แบบใหม่ล่าสุดของ ทร. สหรัฐ ถูกออกแบบมาเพื่อประจำการแทน F/A-18A/B Hornet ในภาริกจขับไล่โจมตีและประจำการแทน F-14 Tomcat ในภารกิจขับไล่ครองอากาศ โดยการขยายแผนแบบให้ใหญ่ขึ้นประมาณ 30% เมื่อเปรียบเทียบกับ F/A-18 รุ่นเก่า แม้จะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นแต่ Super Hornet กลับมีชิ้นส่วนน้อยกว่า F/A-18 รุ่นเก่าถึง 40 % ซึ่งน่าจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงได้
นอกจากขนาดที่ใหญ่ขึ้นแล้วสิ่งที่เปลี่ยนแปลงจาก F/A-18 รุ่นเก่าที่เห็นได้จากภายนอกก็คือ อย่างแรกคือช่องรับอากาศเข้าที่เปลี่ยนจากรูปตัว?D? ไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมซึ่งทางบริษัทบอกว่ามีส่วนในการช่วยให้เครื่องบินมีคุณสมบัติตรวจจับได้ยากมากขึ้น อีกอย่างคือชายขอบปีกหน้าที่ยาวมาปิดช่องอากาศเข้าและมีปีกที่ยาวขึ้นซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มแรงยกทำให้ Super Hornet สามารถร่อนลงจอดด้วยความเร็วที่ต่ำซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เหมาะสำหรับการประจำการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
มาดูทางด้านสมรรถนะทางการบิน F/A-18E/F Super Hornet ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ F414-GE-400 ให้แรงขับสูงสุดเมื่อใช้สันดาปท้าย
ระบบเอวิออนิกที่สำคัญๆ ของ Super Hornet ประกอบไปด้วยเรดาร์ APG-79 AESA เป็นเรดาร์รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงมากไม่ว่าจะในโหมดการโจมตีภาคพื้นดินหรือการรบอากาศสู่อากาศกับเครื่องบินขับไล่ด้วยกันโดยทางบริษัทผู้ผลิต (Raytheon) อ้างว่าขีดความสามารถของ APG-79 จะเป็นรองก็แต่ APG-77 ที่ติดตั้งกับ F-22 เท่านั้น นอกจากระบบเรดาร์แล้ว Super Hornet ยังติดตั้งกระเปาะ AN/ASQ-228 ATFLIR (Advanced Targeting FLIR) ซึ่งเป็นประเปาะใช้กับเป้าหมายรุ่นใหม่ซึ่งใช้ในการเดินอากาศและโจมตีเป้าหมายประกอบด้วยเลเซอร์ชี้เป้า อินฟราเรดและกล้องทีวีแสงน้อย นอกจากระบบเอวิออนิกที่ใช้สำหรับการโจมตีเป้าหมายแล้ว Super Hornet ยังมีห้องนักบินที่ทันสมัยประกอบด้วยจอภาพแสดงผลสามจอ จอภาพระบบสัมผัสและจอภาพตรงหน้านักบินขนาดใหญ่และนักบินสวมหมวกบินติดจอภาพและระบบเล็งเป้าหมาย
Super Hornet ติดตั้งระบบป้องกันตนเองแบบรวมการภายในตัวเครื่องซึ่งประกอบไปด้วย ระบบปล่อยเป้าลวงแบบ ALE-47 ระบบเป้าลวงลากท้ายไฟเบอร์ออฟติกแบบ AN/ALE-55 ระบบแจ้งเตือนเมื่อถูกตรวจจับด้วยเรดาร์แบบ AN/ALR-67(V)3 ซึ่งระบบนี้นอกจากจะแจ้งเตือนการถูกตรวจจับแล้วยังสมารถใช้บอกตำแหน่งของข้าศึกที่เปิดเรดาร์เพื่อตรวจจับเราได้อีกด้วยหรือที่เราแรกกันว่าเรดาร์พาสซีฟนั่นเอง และสุดท้ายคือระบบป้องกันตัวเองและก่อกวนทางอิเล็คโทรนิกแบบ AN/ALQ-214 ซึ่งเมื่อรวมระบบป้องกันตัวบวกกับหน้าตัดเราดาร์ของ Super Hornet ที่ออกแบบให้มีขนาดเล็กลงประมาณ
มาดูกันที่ระบบอาวุธ ซึ่งถือว่าเป็นจุดแข็งอีกจุดหนึ่งของ Super Hornet เพราะว่ามันสามารถติดตั้งอาวุธรุ่นใหม่ๆได้อย่างหลากหลายครอบคลุมทุกภารกิจจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นภารกิจอากาศ-สู่-อากาศ ซึ่งประกอบด้วยอาวุธอากาศ-สู่-อากาศพิสัยปานกลาง AIM-
สำหรับภารกิจอากาศ-สู่-พื้น Super Hornet สามารถติดอาวุธได้อย่างหลากหลายตั้งระเบิดธรรมดาไปจนถึงอาวุธรุ่นใหม่พิสัยไกลความแม่นยำสูง ซึ่งที่น่าสนใจก็ประกอบไปด้วย ระเบิดนำวิถีด้วยดาวเทียม JDAM จรวดร่อน AGM-154 JSOW อาวุธนำวิถีพิสัยไกลแบบ SLAM-ER และอาวุธโจมตีเรดาร์ความเร็วสูงแบบ AGM-88 HARM นอกจากนี้ Super Hornet ยังมีความสามารถในการโจมตีเรือด้วย AGM-84 Harpoon ซึ่งสามารถจมเรือขนาดใหญ่ได้ภายในนัดเดียว
มาดูทางด้านการซ่อมบำรุงและอนาคตของ Super Hornet กันบ้าง ในปัจจุบันแม้ว่าจะมีลูกค้าต่างประเทศเพียงรายเดียวคือประเทศออสเตรเลียแต่การซ่อมบำรุงและอะไหล่ไม่น่าจะมีปัญหาเพราะ Super Hornet นั่นถือได้ว่าเป็นเครื่องบินรบหลักของ ทร.สหรัฐ เพราะมีแผนที่จะจัดหาเข้าประจำการมากกว่า 500 เครื่องเพื่อใช้งานแทนเครื่องบินขับไล่รุ่นเก่าๆ อย่าง F/A-18A/B Hornet ในภารกิจขับไล่โจมตีและประจำการแทน F-14 Tomcat ในภารกิจขับไล่ครองอากาศ ดังนั้นตอนนี้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ อะไร ทร.สหรัฐ ก็จะเอามาลงที่ Super Hornet หมด อีกทั้ง Super Hornet จะยังคงประจำการเคียงคู่กับ F-
Super Hornet ขณะทดสอบยิง AGM-88 HARM
เอาข่าวเก่า ๆ มาให้อ่านกันครับ....
ทอ.ปัดฝุ่นซื้อF-18 ปฏิเสธเซ็นเอ็มโอยู'ซู-30'กับรัสเซีย
19 ธันวาคม 2548 16:55 น.
ทอ.ปัดฝุ่นเครื่องบินเอฟ?18 สนับสนุนภารกิจ ทร.- ทบ.ได้ ย้ำทางเลือกใหม่ต้องคุ้มค่า - เหมาะสม โฆษกปฏิเสธเซ็นเอ็มโอยูกับรัสเซียซื้อ ซู-30
พล.อ.อ.ชลิต พุกผาสุก ผู้บัญชาการทหารอากาศ (ผบ.ทอ. ) เปิดเผยว่า ขณะนี้กองทัพอากาศได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลของเครื่องบินขับไล่เอนกประสงค์รุ่นต่างๆ เพื่อคัดเลือกรุ่นที่เหมาะสมที่สุดเสนอไปยังรัฐบาลเพื่อดำเนินการจัดหาเข้าประจำการในกองทัพอากาศ ซึ่งไม่ได้จำกัดแค่ 3 รุ่นคือ JAS-39 (Gripen) ของสวีเดน SU ? 30 ของรัสเซีย และ F-16 C/D ของสหรัฐฯ ยังได้มีการพิจารณารวบรวมข้อมูลเครื่องบินรุ่นอื่นด้วย เช่น F-18 ที่กองทัพอากาศเคยมีการจัดทำโครงการไปและมีการยกเลิก
ทั้งนี้การเสนอจะทำให้อยู่ในแผนพัฒนากองทัพ 9 ปี หรือ การจัดซื้ออาวุธแบบแพคเกจ (2549- 2557 ) ซึ่งขณะนี้เหลือปีงบประมาณเพียง 8 ปี
?จำได้หรือไม่ที่เราต้องการ F- 18 เพราะตัวมันโตพอดี สามารถคุ้มครองทางทะเลได้ ซึ่งการคุ้มครองทางทะเลนั้นกองทัพอากาศไม่มีเครื่องบินที่ปฏิบัติภารกิจได้ แต่ F- 18 เป็นเครื่องขนาดใหญ่ที่สามารถขึ้นลงเรือบรรทุกเครื่องบิน พับปีก บินสองเครื่องยนตร์ และเติมน้ำมันในอากาศได้ ระยะเวลาการบิน 2-3 ช.ม.ได้ ถ้าจะซื้อก็ต้องเป็นเครื่องใหม่เพราะไม่ต้องเสียเงินซ่อมบำรุง ส่วน F-15 เครื่องจะใหญ่เกินไปไม่สามารถพับปีกได้ ซึ่งภารกิจทางทะเลในขณะนี้กองทัพเรือมี AV-8 (Harrier) ใช้อยู่ แต่เหลือไม่มาก ต้องมีการปรับปรุงใหม่อีก ?
พล.อ.อ.ชลิต กล่าวว่า การจัดหาเครื่องบินเพื่อเข้าประจำการก็เพื่อทดแทน เครื่องบินขับไล่ F-5 E ฝูงแรกที่กำลังจะปลดประจำการ ซึ่งเครื่องบินที่จะจัดหาไม่จำเป็นต้องทำภารกิจของ F- 5 E อย่างเดียว กองทัพอากาศต้องการเครื่องบินที่ทำภารกิจได้หลายภารกิจ ทั้งยิงต่อสู้ทางอากาศ ยิงโจมภาคพื้น ทางทะเล โดยสามารถช่วยทหารเรือ และทหารบกได้ดี พร้อมทั้งยังต้องดูเรื่องน้ำหนักที่เหมาะสม และ การสกัดกั้น ระยะทางการบินจากจุดเริ่มต้นถึงเป้าหมาย บางครั้งจะเห็นว่าความเร็วไม่ใช่สำคัญ แต่อาวุธ เรดาห์ต้องดีด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับประเทศที่ขายด้วยว่าจะให้หรือไม่ เพราะอาวุธบางอย่างอาจเป็นอันตรายกับประเทศผู้ขายเองก็อาจไม่ขายให้ นอกจากนี้ ยังต้องดูสิ่งแวดล้อมของประเทศ งบประมาณ และ อีกหลายเรื่องเพื่อให้มีความเหมาะสมและคุ้มค่าที่สุด
ผู้บัญชาการทหารอากาศ กล่าวอีกว่า โครงการ F-18 เดิมที่กองทัพอากาศเคยตั้งเรื่องไปนั้นไม่ได้ถูก โจมตี เพราะช่วงนั้นคนก็เห็นชอบ ทั้งนี้ ต้องเข้าใจว่าเราต้องการอาวุธที่พัฒนาและดีขึ้น ถ้าอยู่ในในขั้นตอนเดิมเราก็จะย่ำอยู่กับที่ ในขณะที่เพื่อนบ้านไปไกลแล้ว ทั้งสิงคโปร์ และ มาเลเซีย แต่จะไปแข่งขันกันมากไม่ได้ ต้องอยู่ในลักษณะที่ใกล้เคียง พอทัดทานกันได้ เราคงจะไปเทียบเครื่องที่มีศักยภาพสูง เช่น สิงคโปร์ มาเลเซียไม่ได้ เพราะเศรษฐกิจและเงินเขาดี ในช่วงที่ไม่มีเงินเราก็ต้องใช้ของเก่าปรับปรุงให้ใช้ได้ ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลจะเห็นชอบว่าจะให้มีศักยภาพทางทหารแค่ไหนด้วย
พล.อ.อ.ชลิต ยอมรับว่า เครื่องบิน SU ?30 เป็นเครื่องขนาดใหญ่ และขีดความสามารถเทียบเท่ากับ F-15 ต่างจาก F-16 Mirage Gripen น้ำหนักจะเป็นอีก Class หนึ่ง เป็นเครื่องเล็ก น้ำหนักที่โหลดของเข้าไปก็ได้น้อย จะมีข้อจำกัดเรื่องติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งเครื่องบินทุกรุ่นล้วนมีข้อดี ข้อเสียของตัวเอง แต่ถ้าไม่สมเหตุสมผลก็จะถูกดึงเอาข้อไม่ดีมาว่ากัน ซึ่งการจัดหาของทุกเหล่าทัพนั้นรัฐบาลจะพิจารณาจากข้อเสนอความจำเป็นในห้วงระยะเวลาหนึ่งไปจนถึง 10 ปี แต่ถ้ารัฐบาลไม่มีเงินก็ต้องตัดทอนไปตามความเหมาะสม แน่นอนรัฐบาลต้องฟังว่ากองทัพไหนอยากจะได้อะไร
ในส่วนของกองทัพอากาศจะคัดเลือกแบบและเสนอไปยังรัฐบาลเพียงแบบเดียวโดยตรงกับความต้องการของเรา นายกฯ คงไม่ได้มาเลือกและชี้ว่าเป็นรุ่นไหน ท่านคงมองว่ากองทัพเห็นว่าอะไรเหมาะสมและได้ประโยชน์กับประเทศชาติมากที่สุด บางทีเราไม่ต้องการเครื่องที่บินเร็วเกินไปหรือใหญ่เกินไป ซึ่งข้อยุติจะต้องได้ประมาณ เดือนมี.ค.-เม.ย. ซึ่งเป็นเวลาสิ้นสุดของการจัดทำแบบแพคเกจด้วย นายกฯ ก็อยากให้เร็วเพราะ ได้สนับสนุนเรื่องการศึกษา สุขภาพอนามัยไปแล้ว เวลานี้คือศักยภาพด้วยความมั่นคง การพัฒนาด้านการทหาร
พล.อ.อ.ชลิต กล่าวด้วยว่า กองทัพอากาศกำลังดำเนินการ upgrade เครื่องบิน F- 16 A/B ฝูง 103 กับ 403 เป็นรุ่น C/D อยู่แล้วโดยทำเสนอเป็นแพกเกจงบประมาณ 9 ปีเช่นกัน ซึ่งจะทำให้นักบินได้สามารถเรียนรู้ระบบของรุ่นดังกล่าวได้
พล.ต.จักรกฤษณ์ อินทรทัต โฆษกกระทรวงกลาโหม กล่าวถึงกรณีที่มีข่าว หนังสือพิมพ์มอสโกไทมส์ ของรัสเซียรายงานว่า ทางการรัสเซียได้ลงนามข้อตกลงเบื้องต้น ในการขายเครื่องบินรบSU-30 MKM จำนวน 12 ลำ คิดเป็นมูลค่า 500 ล้านดอลลาร์ (ราว 20,455 ล้านบาท) ให้กับรัฐบาลไทย ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่รัสเซียบรรลุข้อตกลงขายเครื่องบินรบกับประเทศที่เป็นปกติแล้วเป็นลูกค้าของสหรัฐฯว่า เป็นข่าวโคมลอยยังไม่มีการดำเนินการเซ็นต์ เอ็มโอยู แต่อย่างใด ทั้งนี้การเซ็นต์สัญญาเป็นเรื่องของรายละเอียด ขณะนี้ยังอยู่ขั้นตอนในการพิจารณาของ ทอ.ว่าจะจัดซื้อเครื่องบินรุ่นไหน
ผมไม่เห็นด้วยโคตรๆเลยครับที่จะซื้อ F-18เนื่องจากลำใหญ่มากๆๆๆแถมภารกิจโจมตีเราก็มีทั้ งAlpha-jet แระ L-39za/art ทำหน้าที่อยู่แล้วF-18 ยังได้ขึ้นชื่อว่าเมื่อบิน อืดมหาบรรลัย (super SLOW hornet) อีกอย่างถ้าผมจำไม่ผิด รู้สึกว่ามาเลเซียจะมีF-18 ด้วยใช่ไหม?? เราคงไม่ต้องการเครื่องบิน ที่เพื่อนบ้านมีประสบการ์ณมากกว่าอยู่แล้วใช่ไหม?? ผมเชื่อว่า ผบ.ทอ. จะไม่มีทางซื้อ F-18 แน่นอน ถ้าเกิดซื้อนี่ผมช๊อกตายเลย
ปล. F-16 ขวัญใจตลอดกาล
เครื่องบินขับไล่ขนาดใหญ่สองเครื่องยนตร์อย่าง F/A-18F และ F-15E นั้นถูกออกแบบมาสำหรับภารกิจการโจมตีทางลึกครับคือการทะลวงห้วงอากาศข้าศึกเข้าไปโจมตีเป้าหมายในพิสัยการบินที่ไกลกว่าเครื่องขนาดเล็กจะสามารถบินไปถึง โดยหลักนิยมในปัจจุบันนั้น บ.ขับไล่ที่ปฏิบัติภารกิจโจมตีทางลึกได้นั้นจะมีขีดความสามารถในการทำภารกิจขับไล่ครองอากาศและป้องกันตัวเองจากอากาศยานข้าศึกได้ดีครับ อีกทั้งสามารถติดอาวุธโจมตีที่ทันสมัยแบบต่างๆได้เป็นจำนวนมากด้วย
บ.โจมตีอย่าง Alphajet และ บ.L-39ZA/ART นั้นเป็น บ.ขนาดเล็กที่บรรทุกอาวุธได้น้อยและมีพิสัยการบินไม่ไกลนักครับ(เพราะจริงๆแล้วเครื่องทั้งสองแบบเป็น บ.ฝึกไอพ่นที่พัฒนาให้ใช้ในภารกิจโจมตีได้) เหมาะสำหรับภารกิจการโจมตีขัดขวางทางอากาศ หรือสนับสนุนทางอากาศแบบใกล้ชิด ซึ่งมีขีดความสามารถในการป้องกันตัวจากอากาศยานฝ่ายตรงข้างต่ำครับ ถ้านำไปใช้ในภารกิจโจมตีเป้าหมายทางลึกก็จำเป็นต้องมี บ.ขับไล่คุ้มกัน แต่ถ้าเลือก บ.แบบ F-15E หรือ F/A-18F ก็สามารถติดได้ทั้งอาวุธอากาศสู่อากาศเพื่อป้องกันตัวและอาวุธอากาศสู่พื้นเพื่อโจมตีเป้าหมายไปด้วยกันในเที่ยวบินเดียวได้เป็นจำนวนมากครับ (ไม่เกี่ยวกับกับที่ว่าเพื่อนบ้านมีเราต้องไม่ใช้? มาเลเซียก็มี F-5 ใช้แบบที่เราใช้ สิงคโปร์ก็มี F-16 มันดีกว่าอีกเวลาฝึกบินร่วมกันได้จะมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้ บ.แบบเดียวกัน อย่าง Air Thamal หรือ Cope Tiger)
ซึ่งภารกิจลักษณะนี้ F-16C/D Block 50/52 Plus หรือ F-16E/F Block60 ที่ติดถังน้ำมัน CFT ก็ทำได้ครับ แต่พิสัยการบินและอาวุธที่ติดไปได้ยังไงก็ไม่เท่าเครื่องใหญ่ๆอยู่ดี