หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


วอนผู้รู้ช่วยตอบที

โดยคุณ : lifebad เมื่อวันที่ : 25/07/2007 12:42:12

เวลาที่เจ้าหน้าที่ทางภาคใต้ เก็บกู้ระเบิด เจ้าหน้าที่ใส่ชุดป้องกันป่ะครับ หรือว่า ไปแบบเปล่า ๆ และชุดป้องกัน นี้มันทำมาจากอะไรครับ และมันสามารถป้องกันอะไรได้บางครับ และ มันมีกี่แบบอะไรบ้าง ถ้ามีแบบเดียวขอรูปด้วยยิ่งดีครับ




ความคิดเห็นที่ 1


แนะนำว่า ให้คลิกดูตรงนี้ครับ รายละเอียดตรึม

เว็บของคน EOD ของไทยโดยเฉพาะครับ

http://www.thaireadyweb.com/ecommerce/eodrta/alltips.asp

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 25/07/2007 12:37:26


ความคิดเห็นที่ 2


เปิดตำนาน EOD

"ตำนาน EOD"

(เข้าชมทั้งหมด 233 คน)

         สมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาสรรพาวุธระเบิดทั้งหลายมีการใช้ชนวนที่ทำงานอย่างง่าย  ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาชนวนขึ้นมาใช้  เช่น ชนวนถ่วงเวลา (Long Delay ) และชนวนป้องกันการถอด(Anti-Disturbance) ซึ่งสร้างความสูญเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดของอังกฤษเป็นจำนวนมาก

-  พ.ศ. 2483  อังกฤษ ได้จัดตั้งหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (Bomb Disposal) ขึ้นโดยรับอาสาสมัคร จำนวน 46 นาย ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้และทำงานสรรพาวุธระเบิดจนถึงปี พ.ศ. 2485 โดยมีเจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดรอดอยู่เพียง 8 นาย เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมการศึกษาเรื่องการทำลายวัตถุระเบิดและระบบชนวนชนิดใหม่มาก่อน

-  พ.ศ. 2488  กองทัพเรือสหรัฐ ฯ เห็นความจำเป็นในงานทำลายล้างวัตถุระเบิด จึงได้จัดตั้งโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดขึ้นชื่อว่า ? BOMB DISPOSAL SCHOOL โดยมุ่งศึกษาเฉพาะการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดอากาศ

-  พ.ศ. 2491  สหรัฐ ฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยให้มีการฝึก ? ศึกษา แก่กำลังพลทุกเหล่าทัพเกี่ยวกับการเก็บกู้ , ประเมินค่าและการทำลายสรรพาวุธ  ทั้งภาคพื้นดิน , ใต้น้ำ ทั้งของสหรัฐ ฯ เอง และของต่างชาติ โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น  ? Explosive Ordnance Disposal School? ซึ่งกองทักบกไทยได้ส่งกำลังพลนายทหารและนายสิบเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดของสหรัฐฯ นับจนถึงปัจจุบัน

มัยสงครามโลกครั้งที่ 1 บรรดาสรรพาวุธระเบิดทั้งหลายมีการใช้ชนวนที่ทำงานอย่างง่าย  ๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อน ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้มีการพัฒนาชนวนขึ้นมาใช้  เช่น ชนวนถ่วงเวลา (Long Delay ) และชนวนป้องกันการถอด(Anti-Disturbance) ซึ่งสร้างความสูฐเสียให้แก่เจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดของอังกฤเป็นจำนวนมาก

-  พ.ศ. 2483  อังกฤษได้จัดตั้งหน่วยทำลายล้างวัตถุระเบิด (Bomb Disposal) ขึ้นโดยรับอาสาสมัคร จำนวน 46 นาย ซึ้งได้ปฏิบัติหน้าที่เก็บกู้และทำงายสรรพาวุธระเบิดจนถึงปี พ.ศ. 2485 โดยมรเจ้าหน้าที่ทำลายวัตถุระเบิดรอดอยู่เพียง 8 นาย เท่านั้น เนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมการศึกษาเรื่องการทำลายวัตถุระเบิดและระบบชนวนชนิดใหม่มาก่อน

-  พ.ศ. 2488  กองทัพเรื่อสหรัฐ ฯ เห็นความจำเป็นในงานทำลายล้างวัตถุระเบิด จึงได้จัดตั้งโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดขึ้นชื่อว่า ? BOMB DISPOSAL SCHOOL โดยมุ่งศึกษาเฉพาะการเก็บกู้และทำลายลูกระเบิดอากาศ

-  พ.ศ. 2491  สหรัฐ ฯ มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายโดยให้มีการฝึก ? ศึกษา แก่กำลังพลทุกเหล่าทัพเดี่ยวกับการเก็บกู้ , ประเมินค่าและการทำลายสรรพาวุธ  ทั้งภาคพื้นดิน , ใต้น้ำ ทั้งของสหรัฐ ฯ เอง และขอบต่างชาติ

โดยเปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น   ? Explosive Ordnance Disposal School? ซึ่งกองทักบกไทยได้ส่งกำลังพลนายทหารและนายสิบเข้ารับการศึกษาจากโรงเรียนทำลายสรรพาวุธระเบิดของสหรัฐฯ นับจนถึงปัจจุบัน

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 25/07/2007 12:38:17


ความคิดเห็นที่ 3


ขาวๆข้างล่างใต้ คห.เมื่อกี้  เป็นอักษรซ่อน  นะครับต้องเอาเมาส์ระบายทับอักษรทั้งหมดจึงจะปรากฏ
โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 25/07/2007 12:42:12