หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


AC-119 เครี่องบินที่ไม่น่าปลดประจำการ

โดยคุณ : petch_a เมื่อวันที่ : 23/07/2007 10:10:29

เห็นช่วงนี้บอร์ดเงียบๆไป นะครับเลยอยากจะชวนทุกท่านคุย เคยมีใครได้ยินชื่อ AC-119 ไหมครับคือมันเป็นเครื่องประเภทเดียวกับ ac-130 นะครับ  ถ้านึกภาพไม่ออกมันคือเครื่องในหนังเรื่อง Flight of phenix(ก่อนที่เครื่องจะตกนะครับ  ช่วยกันวิจารณ์ข้อดีข้อเสียของมันเมื่อเปรียบเทียบกับ AC-130 หน่อยครับ  เดี๋ยวอีกสักพักผมจะเอารูปมา Post





ความคิดเห็นที่ 1


เคยปฏิบัติการในสงครามเวียดนามด้วยนาเมกาไม่น่าเอากลับไปเลยน่าจะทิ้งไว้ให้ใช้ซักฝูง สองฝูง


โดยคุณ petch_a เมื่อวันที่ 20/07/2007 14:24:00


ความคิดเห็นที่ 2


อีกรูปครับ


โดยคุณ petch_a เมื่อวันที่ 20/07/2007 14:26:57


ความคิดเห็นที่ 3


-ข้อมูลเบื้องต้นจาก  วิกิพีเดีย คับ

  • Crew: 6 (day), 8 (night)
  • Length: 86 ft 5¾ in (26.36 m)
  • Wingspan: 109 ft 3¼ in (33.31 m)
  • Height: 26 ft 7¾ in (8.12 m)
  • Wing area: 1,400 ft² (130 m²)
  • Empty weight: 40,125 lb (18,200 kg)
  • Max takeoff weight: 62,000 lb (28,100 kg)
  • Powerplant:Wright R-3350-85 "Duplex Cyclone" radial engines, 3,500 hp (2,610 kW) each

Performance

Armament

  • 4× GAU-2/A 7.62 mm (0.30 in) miniguns, 1,500 rounds/gun
  • 60× Mk 24 flares in a LAU-74/A flare launcher
โดยคุณ petch_a เมื่อวันที่ 20/07/2007 14:31:05


ความคิดเห็นที่ 4


ง่า.....ไม่มีใครเข้ามาคุยด้วยเลย    ผมว่าแนวความคิดของ AC-119 น่าจะดีกว่า AC-130 ในบางภาระกิจด้วยซ้ำสงครามต่อต้านผู้ก่อการร้ายคงไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องขนาดใหญ่ติดอาวุธขนาดหนักอย่าง AC-130 ที่มีสี่เครื่องยนต์สิ้นเปลืองน้ำมันสูง  สงสัยเหมือนกันว่าทำไมในปัจจุบันไม่มีใครพัฒนา GUN SHIP ออกมาเป็นคู่แข่งกับ AC-130 เลย  ไม่ว่าจะเป็นค่ายยุโรปหรือรัสเซีย?

โดยคุณ petch_a เมื่อวันที่ 20/07/2007 16:34:38


ความคิดเห็นที่ 5


AC-119 ซึ่งเป็นการดัดแปลง บ.ลำเลียง C-119 Flying Boxcar เป็น บ.Gunship นี้จะมีขนาดใกล้เคียงกับ AC-47 Spooky ซึ่งเป็นการดัดแปลง บ.C-47 มาเป็น บ.Gunship เช่นกัน โดย บ.AC-47 นั้นก็เคยประจำการในกองทัพอากาศไทยครับ โดยนอกจากจะติดปืนหลักคือ Minigun แล้วยังมีการดัดแปลงติดปืนแบบอื่นเพิ่มเติมครับเช่น 20มม. .50cal เป็นต้น

ปัจจุบันประเทศหนึ่งที่ยังคงมีการใช้ บ.ลำเลียงโจมตีลักษณะนี้อยู่ก็คือโคลัมเบียครับ โดย บ.BT-67 ที่เป็นการปรับปรุงแบบจาก บ.C-47 หรือ DC-3 ของกองทัพอากาศโคลัมเบียนั้น ได้ทำการติดตั้งอุปกรณ์อำนวยการรบที่ทันสมัยและติดอาวุธสำหรับการสนับสนุนทหารราบในการโจมตีกองกำลังกบฎติดอาวุธค้ายาเสพติดครับ

บ.โจมตีลำเลียงอย่าง Spooky หรือ Spectre นั้นจะปฏิบัติภารกิจในเวลากลางคืนเป็นหลักครับเนื่องจากมีขนาดใหญ่ บินได้ช้า ตรวจจับได้ง่าย ซึ่งในช่วงปฏิบัติในสงครามอ่าวครั้งที่1นั้น สหรัฐฯได้สูญเสีย บ.AC-130 ไปหนึ่งลำจาก SAM ประทับบ่า SA-7 ของอิรักเนื่องจากออกจากเขตพื้นที่รบไม่ทันพระอาทิตย์ขึ้นครับ การใช้ บ.ลำเลียงโจมตีลักษณะนี้ในปัจจุบันนั้นอาจจะไม่จำเป็นในบ้างสถานการณ์ครับ

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 20/07/2007 18:00:04


ความคิดเห็นที่ 6


.....โดยภารกิจหลักๆ นั้น กันชิพ จะใช้โจมตีขัดขวาง หรือ สนับสนุนให้กับ หน่วยรบที่รบติดพันในเมืองหรือพื้นที่ เช่น ฐานที่มั่น จะบินออกไปต้องตรวจสอบ ว่ามีความปลอดภัยจากระบบต่อสู้อากาศยานแล้วนั้นเอง  ส่วนการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงนั้น ก็ไม่มีประเทศไหนใช้นำเข้าประจำการนอกจากอเมริกา ที่ใช้อย่างเป็นรูปแบบ ส่วนที่อื่นๆเขาไม่มีภารกิจแนวนี้ ก็เน้นใช้ฮ.โจมตี หรือ ฮ.ติดอาวุธไปเลย เช่น รัสเซีย ใช้ฮ.แบบ ม24 และ มิ17 ติดอาวุธหนักเป็นต้น ซึ่งจะได้เปรียบในเรื่องความรวดเร็วในการยิงหนุน และ ถอนกำลัง

......ส่วนระบบอาวุธนั้น เน้นอาวุธหนัก เพราะก่อนกันชิพ ติดปืน มินิกัน จนถึง 20 ม.ม.(สปุ๊กกี๊เรานั้นเอง) แต่อำนาจการทำลายต่อที่ป้องกัน เช่นตึก หรือ บังเกอร์นั้นยังทำความเสียหายได้น้อย ถึงได้นำมาติด อาวุธหนักอย่าง ปืน 105 ปืน40 ปืน25 ซึ่งอำนาจการทำลายต่อเป้าหมายรุนแรงกว่ามาก


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 20/07/2007 18:23:34


ความคิดเห็นที่ 7


ข้อที่เด่นชัด คือ AC-119 ใช้ ย.ลูกสูบ ครับ ส่วน AC-130 นั้น ใช้ ย.เทอร์โบพร็อพ ซึ่งดีกว่ามากครับ ไม่ว่าจะเป็นแรงขับ หรือการประหยัด ชพ. เพดานบินที่สูงกว่า ฯลฯ

ปัจจุบัน ทอ.สหรัฐฯ มีแนวความคิดในการจัดตั้ง irregular warfare wing เป็นกองบินปฏิบัติการรบนอกแบบ ต่อต้านการก่อการร้าย การก่อความไม่สงบ ใช้ บ.ฝึกติดอาวุธ เช่น AT-6B Texan II และ บ.ลำเลียงขนาดกลาง ดังนั้นมีความเป็นไปได้ที่กองบินนี้ อาจนำ บ. AC-27J Spartan เข้าประจำการเป็น บ.กันชิพ ด้วย โดยเมื่อไม่นานมานี้ C-27J พึ่งจะชนะในโครงการจัดซื้อ บ.ลำเลียงขนาดกลาง ของ ทอ. และ ทบ.สหรัฐฯ ชื่อโครงการ คือ Joint Common Aircraft (JCA) และจะมียอดสั่งซื้ออย่างน้อย 70 กว่าเครื่อง

โดยคุณ rinsc_seaver เมื่อวันที่ 20/07/2007 18:50:10


ความคิดเห็นที่ 8


โดยหลักแล้ว  เครื่องบินที่ได้รับมอบฟรีจากสหรัฐฯ จำนวนน้อย มักจะเกิดปัญหาอะไหล่ครับ  T-28 และ T-6 ที่ไทยใช้ได้นานนมเพราะมีอะไหล่มากและมีจำนวนมาก 200 เครื่อง เหลือใช้งานเพียง 40 เครื่องก็น่าจะเข้าใจ

สำหรับ F-5 A/B รอดมาได้ทุกวันนี้เพราะเราสั่งซื้ออะไหร่หรือซาก บ.จากชาติอื่นที่เคยมีประจำการด้วย F-5A/B อาทิ มาเลเซีย   ไต้หวัน ฯลฯ

ดูตัวอย่าง C-119 ที่ ทอ.อเมริกา ทิ้งไว้ให้เวียดนามใต้ตั้งมากมายพร้อมอะไหล่ซิครับ  ยังใช้การไม่ได้มากเลย

โดยคุณ ท้าวทองไหล เมื่อวันที่ 23/07/2007 10:10:29