หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


แกะรอยทัพบกจัดซื้อยานเกราะ ระวังเข้าข่ายทำผิดพ.ร.บ.ฮั้วฯ

โดยคุณ : Server เมื่อวันที่ : 09/07/2007 15:04:06

แกะรอยทัพบกจัดซื้อยานเกราะ ระวังเข้าข่ายทำผิดพ.ร.บ.ฮั้วฯ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 9 กรกฎาคม 2550 11:45 น.
ยานเกราะล้อยาง ที่กองทัพบกกำลังดำเนินการจัดซื้อจัดหาเสริมสมรรถนะของกองทัพ
       ผู้จัดการรายวัน - ยุคสมัยที่ทหารเรืองอำนาจทางการเมือง มักจะมีโครงการจัดซื้อจัดจ้างอาวุธยุทโธปกรณ์เพราะงบประมาณของกองทัพที่ได้รับมากขึ้น และบรรดานักค้าอาวุธ ต่างพากันวิ่งเต้นทุกวิถีทางเข้าหาคณะนายทหารผู้มีอำนาจจัดซื้อ ทำให้มีกระแสข่าวถึงการทุจริตไม่โปร่งใสในกระบวนการประมูล ดังเช่นกรณีการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง 4,000 ล้าน เพื่อใช้ในภารกิจดับไฟใต้ ที่มีข้อกล่าวหาว่าเอื้อประโยชน์ให้กับยูเครน
       
       ความเป็นมาของโครงการจัดซื้อยานเกราะล้อยาง เป็นผลสืบเนื่องมาจากแผนพัฒนากองทัพบก ปี 2540 ? 2549 โดยกองทัพบกมีความต้องการยานเกราะล้อยางเข้าประจำการใน พล.ร. 2 รอ. ประมาณ 98 คัน งบประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งทาง ทบ. ในเวลานั้น พล.อ.เชษฐา ฐานะจาโร เป็นผบ.ทบ. จึงแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะฯ ขึ้นในปี พ.ศ. 2539 ? 2540 และมีบริษัทต่างๆ นำยานเกราะฯ เข้ามาทำการคัดเลือกทั้งสิ้น 9 บริษัท
       ต่อมา คณะทำงานชุดดังกล่าวได้สิ้นสุดการปฏิบัติงานลงเมื่อเดือน ส.ค. 2540 ขณะนั้น ทางทบ. ยังไม่มีงบประมาณจัดซื้อแต่อย่างใด เพราะประเทศชาติเจอวิกฤตเศรษฐกิจพอดี
       
       หลังการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 ทาง คณะกรรมการมาตรฐานยุทธโธปกรณ์ของกองทัพบก (กมย.ทบ.) ได้มีประชุมและมีมติ เมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2550 เห็นควรให้กำหนดแนวทางดำเนินการโครงการจัดหายานเกราะล้อยางที่ ทบ. มีแผนจัดหาในปีงบประมาณ 2550 พร้อมกับมีมติให้ ยก.ทบ. ขออนุมัติแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยุทโธปกรณ์ขึ้นเพื่อดำเนินการคัดเลือกแบบ และเสนอให้ กมย. ทบ. พิจารณาภายในเดือนพ.ค. 2550
       
       ต่อมา ผบ.ทบ. ได้อนุมัติและมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นเมื่อวันที่ 23 เม.ย. 2550 โดยมี พล.ต.นิวัตร มีนะโยธิน ในฐานะผู้บัญชาการศูนย์การทหารราบ เป็นประธาน คราวนี้ ทบ. ลดจำนวนยานเกราะฯ ลงเหลือ 48 คัน และลดวงเงินงบประมาณเหลือ 4,000 ล้าน
       
       โครงการดังกล่าว ระบุถึงความต้องการใช้งานเพื่อตอบสนองภารกิจในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งประสบกับภัยคุกคามของกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบและจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องอาศัยพานะลำเลียงพลที่มีประสิทธิภาพ เข้าออกพื้นที่สะดวกและปลอดภัยต่อกำลังพล ที่สำคัญ ต้องฝ่าด่านตะปูเรือใบอันเป็นอุปสรรคสำคัญทางยุทธวิธีในการสงครามครั้งนี้
       

       ต่อมา คณะทำงาน ได้รวบรวมข้อมูลยานเกราะล้อยางในขั้นต้น และยังได้ข้อมูลต่างๆ จากการที่ ทบ.อนุมัติหลักการให้บรรยายสรป สาธิต ทดสอบและทดลองการใช้งานยุทโธปกรณ์ ณ หน่วยใน ทบ. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตจากต่างประเทศและบริษัทผู้แทนจำหน่ายยุทโธปรกรณ์ในไทย นำเสนอข้อมูลยุทโธปกรณ์ให้ ทบ.รับทราบ และพิจารณาใช้ประโยชน์ในขั้นต้น ซึ่งที่ผ่านมามียานเกราะล้อยางของบริษัทต่างๆ เข้ามาดำเนินการให้ทบ.ได้รับข้อมูล ทดลองใช้ หลายรายด้วยกัน รวมทั้งข้อมูลจากทดสอบยานเกราะล้อยางของ 9 บริษัทที่คณะทำงานชุดแรก จัดทำไว้ทั้งการทดสอบทางเทคนิกในโรงงาน และการทดสอบทางยุทธวิธีในสนาม
       
       คณะทำงานฯ ได้เริ่มขั้นตอนการดำเนินงาน โดยประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2550 ณ ห้องประชุม กบ.ทบ. (1) เพื่อพิจารณาคุณลักษณะทั่วไปของยานเกราะล้อยางที่ต้องการและกำหนดขั้นตอนดำเนินงาน และขออนุมัติต่อ ผบ.ทบ. ผ่านทาง ยก.ทบ. โดยได้รับอนุมัติ เมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2550
       
       จากนั้น ในวันที่ 9 พ.ค. 2550 ออกประกาศเชิญชวนให้บริษัทต่างๆ เสนอข้อมูลยานเกราะล้อยาง โดยประชาสัมพันธ์ผ่านทางทีวี ช่อง 5 และสถานีวิทยุ พล. 1 รอ. เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตจากต่างประเทศและในประเทศ ได้เสนอข้อมูลมายังคณะทำงานภายในวันที่ 16 พ.ค. 2550 เวลา 16.30 น. เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สนใจอย่างเสมอภาคและเท่าเทียม
       

       ต่อมา คณะทำงาน ประชุมครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2550 ณ ห้องประชุม กบ.ทบ. (1) เพื่อพิจารณาลักษณะเฉพาะยานเกราะล้อยางที่พึงประสงค์และเพื่อพิจารณาหัวข้อการลงคะแนน ครั้งที่ 1 และประชุมพิจารณาปรับปรุงคุณลักษณะยานเกราะฯ และแบบหัวข้อลงคะแนน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 15 พ.ค. 2550 จากนั้น ในวันที่ 16 พ.ค. 2550 มีบริษัทต่างๆ ยื่นพร้อมแสดงเอกสารแสดงความประสงค์ เข้ามายังคณะทำงานฯ เพื่อนำเสนอข้อมูล จำนวน 10 บริษัท ต่อมาได้สละสิทธิ์ไป 2 บริษัท
       
       เมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2550 ณ ห้องจามจุรี (1) สโมสรทบ. คณะทำงานฯ ประชุมร่วมกับบริษัทผู้ผลิต โดยสาระสำคัญของการประชุมชี้แจงคือ นัดหมายและชี้แจงทำความเข้าใจให้บริษัทต่างๆ จัดเตรียมข้อมูลเพื่อเข้าทำการบรรยาย อธิบาย สาธิตต่อคณะทำงานฯ ในวันที่ 21 ? 22 พ.ค. 2550
       
       ในวันที่ 21 - 22 พ.ค.  คณะทำงานฯ ได้รับฟังการบรรยายสรุป อธิบาย สาธิตและตอบข้อซักถามของบริษัทต่างๆ จำนวน 9 บริษัท โดยบริษัทของประเทศยูเครน ได้ขอเข้าบรรยายสรุป ในวันที่ 22 พ.ค. 2550 ทั้งที่ไม่ได้ยื่นเสนอข้อมูลภายในวันที่กำหนดคือ 16 พ.ค. 2550 เวลา 16.30 น. แต่อย่างใด
       
       ผลจากการรับฟังข้อมูล คณะทำงานฯ ได้คัดเลือกแบบจำนวน 4 แบบ ได้แก่ ประเทศแคนาดา (บริษัท ฮอคอายส์ จำกัด) ประเทศรัสเซีย (บริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด) ประเทศฟินแลนด์ และประเทศยูเครน (บริษัทเอ็นจีวีเอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด)
       
       *** กังขาเอื้อประโยชน์ยูเครน
       

       พลันที่คณะทำงานฯ อนุญาตให้ประเทศยูเครน โดยตัวแทนบริษัทเอ็นจีวีเอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (บริษัทที่มีกรรมการผู้มีอำนาจลงนามรายเดียวกับบริษัท ดาต้าเกท จำกัด) ซึ่งเป็นผู้ประสานงานในไทยให้กับบริษัท UKRSPETSEXPORT จำกัด รัฐบริษัทของยูเครน เข้าบรรยายสรุป ในวันที่ 22 พ.ค. 2550 และได้รับการคัดเลือก 1 ใน 4 ราย ก็เกิดข้อร้องเรียนจากผู้เข้าร่วมประมูลว่าทำให้ผู้เสนอแบบรายอื่นไม่ได้รับความเป็นธรรมในขั้นตอนการคัดเลือกตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
       
       นอกจากนั้น การเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัทจากประเทศยูเครน ยังเข้าข่ายเป็นความผิด ตาม พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อรัฐ พ.ศ 2542 หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ.ฮั้ว มาตรา 10 ? 13 อีกด้วย
       
       ทั้งนี้ นายมงคล สติพลัน ที่ปรึกษาด้านกฎหมายของบริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทค้าอาวุธจากรัสเซีย หนึ่งใน 4 รายที่คณะทำงานคัดเลือกแบบไว้ ได้ทำหน้งสือร้องเรียนไปยังผู้ว่าการสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้ตรวจสอบกระบวนการที่ไม่โปร่งใสข้างต้น
       
       ไม่เพียงเท่านั้น นายวลาดิเมียร์ กราฟอฟ ผู้ช่วยทูตพาณิชย์รัสเซียประจำประเทศไทย ผู้ได้รับมอบอำนาจอย่างเป็นทางการในการเสนอขายยานเกราะล้อยางในรูปแบบรัฐต่อรัฐ ยังได้ทำหนังสือไปถึง พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. เมื่อวันที่ 8 มิ.ย. 2550 สอบถามถึงความชัดเจนโปร่งใสในการคัดเลือก จัดหายานเกราะล้อยางของกองทัพบกในครั้งนี้ เนื่องจากในบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมประมูลทั้งสิ้น 10 แบบ 10 บริษัท จาก 10 ประเทศ ไม่ปรากฏการเข้าร่วมของรถจากประเทศยูเครนเลย
       
       แต่อย่างไรก็ตาม ทางคณะทำงานคัดเลือกฯ และ กมย.ทบ. ได้ให้ความเห็นว่า ยานเกราะจากยูเครนมีความเหมาะสมมากที่สุด เนื่องจากเสนอราคาเบื้องต้นถูกที่สุด และเสนอให้ผู้บัญชาการทหารบก ลงนามอนุมัติเสนอต่อกระทรวงกลาโหม เมื่อวันที่ 1 พ.ค.ที่ผ่านมา
       
       ทว่า เมื่อกระแสข่าวเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวแพร่ออกไป พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ผบ.ทบ. ก็ได้ดึงเรื่องกลับมาพิจารณาใหม่ พร้อมทั้งสอบถามไปยังกระบวนการชงเรื่องดังกล่าวเข้ามาให้เซ็นอนุมัติ
       
       ขณะที่ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้ช่วย ผบ.ทบ. กลับให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนที่ถามถึงเรื่องดังกล่าว สวนทางกับข้อเท็จจริงของกระบวนการจัดหา โดยระบุว่า ขณะนี้ยังไม่มีกระบวนการเปิดประมูลแต่อย่างใด และยืนยันว่าทางกองทัพจะไม่ตั้งงบเพื่อซื้อของเก่าหรือเศษเหล็กอย่างแน่นอน ทั้งที่มีกระบวนการคัดเลือกแบบไปจนถึงการคัดเลือกผู้ชนะแล้ว
       
       อนึ่ง ก่อนหน้าที่จะมีการแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยานเกราะ ได้มีความพยายามเร่งรัดกระบวนการจัดหา โดยทางสำนักงานประสานการวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก (สวพ.ทบ.) ในฐานะเลขานุการ กมย.ทบ.ได้เคยทำหนังสือถึง พล.อ.ไพศาล กตัญญู รอง ผบ.ทบ. ในฐานะประธาน กมย.ทบ. ลงวันที่ 11 เม.ย. 2550 ท้วงติงกระบวนการก่อนหน้านั้นที่ดำเนินการไปโดยที่ไม่มีการแต่งตั้งคณะทำงานเลือกแบบยุทโธปกรณ์และไม่มีการดำเนินการเลือกแบบยุทโธปกรณ์ตามหลักเกณฑ์การเลือกแบบฯ ของกองทัพบก นอกจากนี้ รายงานผลการเลือกแบบฯ ก่อนหน้านี้ ก็พบว่ายังไม่มีความสมบูรณ์ และเป็นที่มาของการแนะแนวทางให้มีการจัดตั้งคณะทำงานฯ ในเวลาต่อมา
       
       ***ย้อมแมวมรดกสงครามเย็น ?
       
       ข้อสังเกตเกี่ยวกับโครงการจัดหายานเกราะล้อยางของ ทบ. ยังพุ่งตรงไปที่แบบและรุ่นของยานเกราะ โดยเฉพาะรุ่น BTR 3E1 ของยูเครนซึ่งที่ปรึกษาด้านกฎหมายของบริษัท โรสโอโบรอนเอกซ์ปอร์ต จำกัด จากรัสเซีย ระบุในคำร้องต่อ สตง.ว่า ยานเกราะล้อยางรุ่น BTR 3 E 1 ของยูเครนเป็นรถยานเกราะที่ดัดแปลงมาจากยานเกราะรุ่น BTR 70 ของสหภาพโซเวียต ซึ่งยุติการขายไปแล้วหลายปี แต่มีประจำการอยู่ในยูเครนมาตั้งแต่ช่วงสงครามเย็นจำนวน 1,105 คัน
       
       นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่าล้อยางของยานเกราะรุ่น BTR 3E1 ไม่สามารถทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ เนื่องจากประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีสำหรับยางป้องกันกระสุนขนาดดังกล่าวซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งานในกองทัพบกได้
       
       ข้อสังเกตนี้ ยังได้รับการขยายเพิ่มจากแหล่งข่าวจากกระทรวงกลาโหม ที่ระบุว่า บิ๊กทหารอย่าง พล.อ. บุญรอด สมทัศน์ รมว.กลาโหม และ พล.อ. วินัย ภัททิยกุล ปลัดกระทรวงกลาโหม เคยแสดงความคิดเห็นว่า ยานเกราะฯจากยูเครน เป็นรถเก่าและอาจมีปัญหาเรื่องการส่งกำลังบำรุง ที่สำคัญ มีแบบที่ค่อนล้างล้าสมัย ทั้งยังขึ้น-ลงยังต้องใช้ด้านข้างตัวรถยนต์ ขณะที่ยานเกราะฯ ของแคนนาดา และรัสเซีย จะขึ้น-ลงด้านท้ายรถยนต์ จึงน่าจะปรับให้เหมาะสม
       
       หลังจากนั้นไม่กี่วัน สถานทูตยูเครนประจำประเทศไทย ได้แถลงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยานเกราะรุ่น BRT 3E1 ในประเด็นด้านเทคนิคว่า ยานเกราะล้อยางรุ่นดังกล่าวได้รับการออกแบบโดยสถาบันออกแบบและวิจัย Kharkiv Morozov Machine Building Design Bureau ซึ่งเป็นสถาบันออกแบบและวิจัยหลักและรัฐบริษัทของยูเครนเอง ซึ่งมี ความสามารถและประสบการณ์ที่ไม่ด้อยไปกว่าบริษัทต่างๆ
       
       พร้อมกันนั้นก็ยืนยันว่ายานเกราะล้อยาง BTR 3E1 เป็นยานยนต์ใหม่ ทันสมัย และผลิตขึ้นตามมาตรฐานการผลิตของยุทธภัณฑ์จากโรงงานของยูเครน ฯลฯ แต่ทว่า ประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่ให้สิทธิพิเศษกับตัวแทนบริษัทจากยูเครน ทางสถานทูตฯ ไม่ได้ชี้แจงแต่อย่างใด
       
       ความจริงแล้ว ความจำเป็นของกองทัพต่อภารกิจที่มีภัยคุกคามพิเศษนั้น จำเป็นที่จะต้องหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่สอดคล้องต้องกัน แต่ก็ต้องไม่ลืมถึงกระบวนการได้มาว่าจะต้องโปร่งใสและตรวจสอบเช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นในช่วงยุคทหารเรืองอำนาจหรือนักการเมืองครองอำนาจ
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9500000079745




ความคิดเห็นที่ 1


   นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่าล้อยางของยานเกราะรุ่น BTR 3E1 ไม่สามารถทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ เนื่องจากประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีสำหรับยางป้องกันกระสุนขนาดดังกล่าวซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งานในกองทัพบกได้

 

 

ไอมั่ว

 

ผมละโคตรเบื่อผู้จัดการเลยครับ

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/07/2007 12:31:05


ความคิดเห็นที่ 2


ขออีกหน่อย ความจริงอยากให้มีใครฟ้อง ขอหาหลอกลวงผู้บริโภค จังเลยนะครับ
โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/07/2007 12:33:19


ความคิดเห็นที่ 3



ผู้จัดการ เหอๆๆๆ
โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 09/07/2007 12:37:47


ความคิดเห็นที่ 4


นอกจากนี้ ยังตั้งข้อสังเกตว่าล้อยางของยานเกราะรุ่น BTR 3E1 ไม่สามารถทนทานต่อตะปูเรือใบ กระสุนปืนเอ็ม 16 หรือกระสุนปืนขนาด 7.62 มม.ได้ เนื่องจากประเทศยูเครนไม่มีเทคโนโลยีสำหรับยางป้องกันกระสุนขนาดดังกล่าวซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถตอบสนองต่อวัตถุประสงค์การใช้งานในกองทัพบกได้


ขอร้องกรุณาอย่ามั่วครับ ยูเครน เป็น 1 ในประเทศที่มีเทคโนโลยีมากพอที่จะผลิตรถถังที่ดีที่สุดแบบหนึ่งของโลกได้(T-80) แค่เทคโนโลยีกันกระสุน ตะปูเรือใบทำไมจะไม่มีครับ อย่ามั่วขอร้อง

แล้วก็ ผู้จัดการ คุณเป็นนักข่าวนะครับกรุณาคิดเสมอว่คาคุณเป็นคนให้ข้อมูลกับคนทั้งประเทศ แต่คุณมีปัญญาหาข้อมูลได้แค่นี้หรือครับ คุณวิเคราะห็ข้อมูลกันไม่เป็นหรือครับ  คุณตรวจสอบข้อมูลไม่เป็นหรือครับ คุณออกข่าวที่ทำให้คนที่เขามีข้อมูลจริงๆ อยู่ในมือเขาสมเพส ครับ กรุณาพิจรณาตัวเองด้วย ว่านี่หรือนักข่าวเมืองไทย ออกข่าวก็ออกข้อเท็จจริงสิครับ อย่ามั่ว เขี่ยนข่าวเพื่อให้ประชาชนรู้ข้อเท็จจริงครับ ไม่ใช่เขียนข่าวด่าเอามัน ขอร้อง

ขอให้ท่านทั้งหลายที่เข้ามาอ่านลองไปดูผู้รู้เขาวิเคราะห์กันดีกว่าครับ

http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=skyman&month=04-07-2007&group=3&gblog=57
ของท่านskyman แห่ง TFC ครับ

http://www.thaifighterclub.com/index.php?action=detailQuestion&questionid=4666&language=1

TFC ครับ มีทั้งความรู้และความเห็นแล้วก็"ไม่มั่ว"ครับ

ท่านครับ ผมเขียนความเห็นอย่างนี้ลงไปในหน้าของผู้จัดการครับแต่มันไม่ยอมขึ้นให้ผมน่ะครับ ที่ความเห็นด่าทหารในหน้าอื่นๆโพสต์กันได้ล่ะครับผมไม่เข้าใจ เข้าข่ายเลวรึเปล่าวครับ ไม่ยอมให้ประชาชนรู้ความจริง

โดยคุณ tow เมื่อวันที่ 09/07/2007 13:00:35


ความคิดเห็นที่ 5


เรื่องขีดความสามารถของรถหุ้มเกราะจากยูเครน ผมก็ไม่คิดว่ารถจากค่ายนี้จะกระจอกอย่างที่ผู้จัดการว่า  แต่ในประเด็นที่ว่าทบ.รับข้อเสนอของยูเครนหลังจากเลยเส้นตายที่ทบ.กำหนดแล้วเอาไว้  อันนี้มันยังไงครับ
โดยคุณ phongrapee เมื่อวันที่ 09/07/2007 15:04:06