สรุป สภาพปัจจุบัน และอนาคต ที่ใช้ในความคิดเห็นส่วนตัวของผม นะครับ...
มีอะไรเพิ่มเติม แนะนำ แสดงความเห็น และจะจัดทำมาใหม่ ครับ...(ถ้ามีเวลา)
ตั้งค่า มาตรฐาน
อายุประจำการ เครื่องบิน 30 ปี ต่อลำ สำหรับ ลำใหม่
อายุประจำการ เครื่องบิน 15 ปี ต่อลำ สำหรับ มือสอง
เอฟ-5 ฝูง 701 มีพิธีขึ้นประจำการ เดือน กันยายน 2521 โดย พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ ( อายุเฉลี่ยมันจะ 33 ปี ได้ยังไงเน๊าะ ) หรือว่านำมาบินก่อน 3-4 ปี ถึงจะมีพิธีประจำการ
จากแผ่นภาพ ภายใน 8-10 ปี ทอ.ควรจะต้องมี ฝูงบินใหม่ อีก 2 ฝูง ผมใช้ความคิดส่วนตัวว่าเป็น jas-39 ซึ่งจะสัมพันธ์กับ แผ่นภาพต่อไปครับ...
และปีที่ 11 ถึง ปีที่ 20 ทอ. ควรจะต้องจัดฝูงบินใหม่อีก 2 ฝูง นำมาทดแทน F-16 ADF (อาุยุจริงประมาณปี 1983) และ F-16 ฝูงแรก โดยใช้ค่ามาตรฐานอายุเครื่อง 30 ปี ต่อลำ ก็จะหมดในปี 2018....เมื่อตั้งค่ามาตรฐานว่า อีกประมาณ 20 ปี จะนำเข้าประจำการ F-35 ได้ ซึ่ง F-35 ก็จะทดแทน ฝูง F-16 ที่เป็นฝูง 403 ในปัจจุบัน
ตารางสรุป ฝูงบิน เมื่อครบอายุประจำการ และนำเข้าประจำการ ฝูงบินใหม่ โดยฝูงบินใหม่ ผมใช้ตัวเลือก คือ jas-39 c/d กับ e/f และ F-16 e/f กับ F-16 cj/dj
โดยดูราคาเครื่องบิน ถัดจากช่องปี 2028 เป็นราคาต่อลำ ในข้อมูลปัจจุบัน สำหรับ F-16 cj/dj มือสอง ผมใช้ราคา 50% ของราคา 27.5 ล้านเหรียญ
หน่วยนับ เป็น ล้าน นะครับ...
สงสัยตรงไหน ให้อธิบายความคิดของผมเพิ่มเติม คุยกันได้เลยครับ...
เลยสงสัย ตรงที่งบประมาณผูกพัน 10 ปี 34,000 กว่าล้านบาท ได้เครื่องบิน 12 เครื่อง...มันจะรวมอะไรลงไปอีกนอกจาก ตัว บ. หรือสมมติ ถ้าใช่ jas-39 ตามที่เพื่อนสมาชิก ได้โพสในกระทู้ที่ผ่านมาว่า รวมอาวุธ และ อีรี่อาย ด้วยหรือเปล่า ?
ผมใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ 34 บาท ต่อ ดอลล่าร์
save file ได้ที่ เมล์ manhatton2494 @ yahoo.com
รหัสผ่าน 123456
เป็นไฟล์ โปรแกรม excel นำไปดัดแปลง แก้ไขได้ครับ
มีช่องคำนวนไว้เรียบร้อย แค่ใส่ตัวเลข ราคา้เครื่องต่อหน่วย กับ จำนวนเครื่อง ก็คำนวนตัวเลขออกมาแบบธรรมดา ๆ ครับ...
บ.F-35A CTOL ซึ่งเป็นรุ่นพื้นฐานสำหรับกองทัพอากาศสหรัฐฯและประเทศหลักที่เข้าร่วมโครงการนั้นน่าจะเข้าประจำการได้ภายในปี 2009 ครับ(ตามกำหนดการในปัจจุบัน) ซึ่งคุณสมบัติของเครื่องรุ่นสำหรับส่งออกนั้น(ตามข่าวของคุณrinsc_seaverที่เคยลงไว้นานแล้ว)สหรัฐฯจะมีการประกาศภายในปีนี้ครับ แน่นอนนอว่าประเทศที่เข้าร่วมโครงการในระดับที่3อย่างสิงคโปร์นั้นน่าจะได้รับมอบเครื่องอย่างช้าภายในปี 2012-2015 ดังนั้นถ้ากองทัพอากาศไทยจะจัดหา F-35A จริงคงไม่น่าจะช้าถึงปี 2028ครับ(ปีนั้นสหรัฐฯจะมีแผนปลด A-10 พอดีครับ) อันนี้หมายถึงโครงการ JSF โดยร่วมไม่มีปัญหาความล่าช้าในการพัฒนาเพิ่มเติมนะครับ
สำหรับ Jas-39E/F ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องจาก Gripen-N สำหรับกองทัพอากาศนอร์เวย์นั้นโครงต้นแบบสาธิตมีกำหนดการผลิตและทดสอบภายในปี 2008-2009 ครับ(ทั้งนี้นอร์เวย์เองก็เป็นประเทศที่เข้าร่วมโครงการ JSF เช่นกัน) ซึ่งถ้านอร์เวย์ทำการจัดหา Gripen-N จริง สวีเดนคงน่าจะพร้อมสำหรับการประชาสัมพันธ์และผลิต Jas-39E/F ได้ตั้งปี 2010-2015 เป็นต้นไปครับซึ่งคงจะได้เวลาแข่งขันใกล้เคียงกับ F-35ครับ (แต่อาจจะเร็วกว่าหลายปีอยู่)
ขอบคุณครับท่าน AAG_th1
สำหรับข้อมูลปี 2027 สำหรับ F-35 ของ ทอ.ไทย นั้น ผมใช้ข้อมูลของ ผบ.ทอ. แหล่ะครับ...ที่บอกว่า บ.แบบ JSF สำหรับไทย คงต้องใช้ระยะเวลาในการส่งมอบถึง 20 ปีขึ้นไป ตามกระทู้ที่ผ่านมาข้างล่างครับ...ผมเลยใช้ปี 2027 เป็นค่ามาตรฐาน สำหรับราคาที่ 45 ล้านเหรียญต่อเครื่อง ผมใช้หาจาก กูเกิ้ล ที่มีข่าวว่า ต้นทุนสูงขึ้นตามโครงการ จาก 35-38 ล้านเหรียญ ต่อเครื่อง เป็น 45-55 ล้านเหรียญต่อเครื่องครับ...
ขออธิบายเพิ่มเติม สำหรับท่านอื่น ๆ จากแผ่นภาพที่ 1 ผมเลยออกมาเป็น 2 แนวว่าในปี 2028 ทอ. น่าจะมี บ.
ค่ามาตรฐาน 1 ฝูง เท่ากับ 18 เครื่อง
กรณีที่ 1 บ.แบบ Jas-39 72 เครื่อง
บ.แบบ F-35 18 เครื่อง
กรณีที่ 2 บ.แบบ Jas-39 36 เครื่อง
บ.แบบ F-16 36 เครื่อง (ทั้งใหม่หรือมือสอง)
บ.แบบ F-35 18 เครื่อง
มิสซายส์ เฉพาะ อากาศ สู่ อากาศ จึงน่าจะมีเพียง 3 แบบ คือ AIM-9 , AIM-120 และ Python 4 หรือ 5 (มีข้อมูลว่าสิงค์โปร์ สั่งซื้อ Python 4 ถึง 600 ลูก สำหรับ F-16 และ F-5 มาพร้อม ๆ กับ AIM-120 ล๊อตแรกของเขา)
จากแผ่นภาพเป็นโปรแกรม excel อันนี้ผมตั้งเป็นค่ามาตรฐาน ส่วนในความเป็นจริงจะเป็นอย่างไร เราก็สามมารถใส่ข้อมูลเพิ่มเติม แก้ไข ลงไป ครับ...
เพื่อการตรวจสอบ งบประมาณ การจัดซื้อ และพยายามหาเหตุผล ในแนวทางหนึ่งสำหรับ ประชาชนคนธรรมดา....
สวาทดีครับ...ท่าน CAPT.TOM...
ที่หายไป พอดีผมไปเป็นคลื่นใต้น้ำแถวสนามหลวง...น่ะคร๊าบบบ..ทั่น...
โมเดล ก็ต่อค้าง ๆ คา ไว้หลายชิ้น...ไม่ค่อยจะมีเวลาน่ะครับ...ปัจจุบัน ก็เห็นเว๊ปแพนทาวน์ คึกคัก ขึ้นเยอะมากครับ...อ่านอย่างเดียวก็หมดเวลาซะแล้วครับ...ประกอบกับ ช่วงนี้ ถ้ามีเวลาว่าง ผมจะนั่งทำพวกแผ่นภาพ อะไรพวกนี้แหล่ะครับ...ก็ทำให้หมดเวลาไปเช่นกันครับ...แถมวันหยุด ยังไปเดินเล่นราชดำเนิน สนามหลวง พอเวลาฝนตก ก็แว๊บเข้า ร้านไก่ย่างข้างสนามมวยราชดำเนิน จิ๊บเบียร์ กินไก่ มองฝนตก...รักษาใจ ซะ...กลายเป็น ยิ่งเป็นคลื่นใต้น้ำเท่าไหร่...ยิ่งอ้วนเท่านั้น กั๊ก กั๊ก กั๊ก...
ท่าน Skyman ถ้าเป็นอย่างนั้น ผมว่า ทอ. น่าจะแยก งบประมาณ ให้ชัดเจน แยกไปว่าเป็น บ. จำนวน 36 ลำ จำนวน 2 ฝูง ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปี งบผูกพันต่อเนื่อง 2 ระยะ...ระยะแรก 5 ปี จัดหา บ...ระยะที่ 2 จัดหาอุปกรณ์ตรวจจับทางอากาศ และสิ่งประกอบ (อิรี่อาย พร้อม บ. และสถานีเรดาร์) ทดแทน อาราว่า น่าจะดูดีกว่าครับ...แล้วให้เขาตัดงบ บ. ลงซัก 24 ลำ คงเหลือ 12 ลำ (ตรงตามเป้าหมาย แต่ทำให้ดูดี)...นอกนั้นเป็นสิ่งจำเป็นต้องคงงบประมาณ....
มันจะได้ชัดเจน แล้วเราจะได้ทราบว่า ทอ.ซื้อแพง ไปหรือไม่...มีค่าคอมเพรสเซอร์ ขนาดไหน...ปัจจุบัน ดูตัวเลขมันกำกวม เป็นที่ต้องสงสัย มันจะทำให้งบมันไม่ผ่าน และเป็นเหตุให้เป็นภาพลบ ต่อสังคมปกติ และการเมือง อีกครับ..
เห็นด้วยครับถูกต้องที่สุดครับ ท่าน juldas
มีทักท้วงนิดนึงครับท่าน Juldas อายุการใช้งานเครื่องนั้นความจริงเป็น 40 ปีครับ ไม่ใช่ 30 ครับ คิดเฉลี่ยจากอายุการใช้งานโครงสร้าง 8000 ชม.บิน ครับ อันนี้ตรงกับข้อมูลของ ทอ. ที่ลงใน นสพ.ครับ โดยกำหนดปลดฯ ประจำการ F-16 จะเป็นดังนี้ คือ ฝูง 102 ปี 2021, ฝูง 103 ปี 2022-2028 และฝูง 403 ปี 2033 ครับ ดังนั้นจะค่อนข้างใกล้เคียงกับกำหนดการเข้าประจำการ F-35 ในปี 2027 ครับ จะมีก็แต่ฝูง 102 เท่านั้น ที่ปลดฯ ก่อน สรุป คือ ทอ.น่าจะต้องการ บ.ขับไล่ ใหม่ 2 ฝูง (ไม่นับฝูงที่เป็นข่าวนะครับ) เพื่อทดแทน F-5E/F ฝูง 211 ในปี 2015 และ F-16 ฝูง 102 ในปี 2021 ซึ่งมีโอกาสสูงที่จะเป็น JAS-39C/D หรือ E/F ครับ
ขอบคุณครับ ท่าน rinsc_seaver...
เดี๋ยวจะนำข้อมูลไปเปลี่ยนทำมาใหม่....
พอดี ผมสงสัยอยู่ว่า เมื่อมองดู เอฟ-5 อี ฝูง 711 ในสภาพปัจจุบัน ที่อายุ 30 ปี มันก็ดูเก่ามาก ๆ จนคุณค่าทางยุทธการ มันไม่น่าจะเพียงพอกับเทคโนโลยี่ ที่จะมาคุกคาม....ขณะที่ การกำหนดอายุใช้งาน ของ เอฟ-16 ถึง 40 ปี เมื่อถึงเวลานั้น สภาพมันจะเก่าขนาดไหน...แต่ผมก็ลืมนึกไปว่า...เทคโนโลยี่ ทางโครงสร้างของ เอฟ-16 มันก็น่าจะดีกว่า เอฟ-5 มากอยู่...จึงเป็นไปได้ที่จะมีอายุถึง 40 ปี....
ลองนึกเล่น ๆ ถ้า ทอ. กำหนดอายุใช้งานของ บ. ที่ 40 ปี หมายถึงว่า ชั่วอายุคน ๆ นึง จะได้เห็น ทอ. เปลี่ยนแบบ บ. แค่ 2 ครั้ง เพราะ 1 แบบ = 40 ปี แบบที่ 2 อีก 40 ปี รวมอายุ 80 ปี พอดี หุ หุ หุ....
ตามข้อมูลของคุณrinsc_seaver นั้น สำหรับการพิจารณาแบบ บ.ขับไล่ที่จะเข้าประจำการแทน F-16 ในฝูง 102 นั้นน่าจะเริ่มมีการพิจารณาแบบในราวปี 2018 เป็นต้นไปครับเพราะโครงการน่าจะใช้เวลาสัก 2-3ปีสำหรับการจัดหา บ.ใหม่ซึ่งจะทันปี 2021 พอดี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ สหรัฐฯคงน่าจะสามารถให้ไทยจัดหา บ.F-35 ได้แล้วครับ
สำหรับ Jas-39E/F นั้นถ้ากำหนดการปลด F-5T ฝูง 211 อยู่ที่ราวปี 2015 จริง สวีเดนน่าจะมี บ.รุ่นนี้เสนอขายในช่วงเวลานั้นแล้วก็ได้ครับ(ถ้าโครงการที่เกี่ยวข้องเช่น Gripen-N และการพัฒนาเครื่องต้นแบบในปี 2008-2009 ไม่มีความล่าช้านะครับ)
ขอบคุณครับท่าน AAG_th1 และ ท่าน กบ...
อันนี้เป็นฉบับปรับปรุงใหม่ โดยยืดอายุการใช้เป็น 40 ปี และขยายการใช้งาน เอฟ-5 ตามข่าวอีก 5 ปี...โดยใช้ตัวเลือกเพียง เอฟ-16 กับ แจ๊ส...เพราะตามข่าว บ. 2 แบบ นี้ ทอ. ยังบ่นว่าแพง ดังนั้น แบบที่เหลือ มันแพงกว่านี้อีก จึงยึดเกณฑ์ 2 ลำนี้ก่อนครับ....
แต่อีกสักเดี๋ยว จะลองทำแบบ 6 ลำ เบื้องต้นที่จะอนุมัติ ผมจะใช้แบบ บ.แบบ โจมตีทางลึก เอฟ-18 กับ ซู-30 กับ แจ๊ส ลองเปรียบเทียบกันดู...ส่วน ราฟาล ผมเชื่อว่าไม่มีหวัง เพราะขนาดฝรั่งเศส ยังทดสอบการยิงอาวุธระยะไกลอยู่เลย....
อันนี้ ผมจัดใหม่....
เอาเป็นว่า การอนุมัติ ฝูงใหม่ จำนวน 6 ลำ...จัดซื้อ บ.โจมตีทางลึก และออฟชั่นครบ ไปเลย...แล้วรองบประมาณจัดซื้อฝูงใหม่ไปเลยอีก 10 ปีข้างหน้า...ตามแผ่นภาพครับ...
ฉบับแำ้ก้ไขใหม่ พอดีผมลืมดู แถบสีแดงด้านหลัง ใส่ปีผิด เลยแก้ไขใหม่ครับ...ใครต้องการพิมพ์เก็บไว้ หรือจะนำไปแก้ไขใหม่ตามความคิดของท่านเอง...สามารถไปเซฟไฟล์ ได้ที่ ยาฮู ครับ
USER ID manhatton2494
PASSWARD 123456
เป็นไฟล์ excle ครับ
อันนี้แบบ เลือก 6 ลำ แบบฝูงบินโจมตีทางลึก...
ตอนนี้ ผมชักจะสนับสนุนแบบนี้ ครับ...