...วัน สองวันก่อน ผมฟังข่าว ได้ยินว่า ครม.ชุดนี้ ไม่อนุมัติให้การบินไทยจัดซื้อเครื่องบินใหม่ แต่จะให้เช่าเครื่องบินมาให้บริการผู้โดยสารแทน ...
...ข่าวบอกว่า การซื้อเครื่องบินใหม่เป็นการสร้างหนี้ก้อนโตใช้เงินจำนวนมาก การเช่าเครื่องจะช่วยลดค่าใช้จ่าย (?) ...ในเนื้อข่าวบอกรุ่นของเครื่องบินด้วย แต่ผมจำไม่ได้ว่ามีรุ่นอะไรบ้าง....และที่ไม่อนุมัติซื้อ ไม่ทราบว่า รวม เอ-380 ด้วยหรือเปล่า ...แต่ข่าวว่าเครื่องเช่าจะให้เป็น เอ-350 (ไม่แน่ใจ ครับ)
_____________________________________________________
- ใครมีรายละเอียดของเรื่องนี้ กรุณาขอข้อมูลด้วยนะครับ ทั้งรายละเอียดมติ ครม. รวมถึง แผนการสั่งซื้อเครื่องบินใหม่ของการบินไทย ด้วยครับ
- แล้วแบบนี้ จะกระทบกับการสั่งจอง เอ-380 ของการบินไทย หรือไม่ (เห็นว่า 8 ลำ จะเป็นฝันค้างอีกหรือเปล่า)
- (ความเห็นส่วนตัว)...ขิงแก่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอีกแล้ว (แก้หรือผูกกันแน่ ?) สายตายาวววว เหลือเกิน ...อ้อ! ลืมไป คนแก่มักสายตายาว(ประชด)
...เช่าเครื่อง ใช่ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในระยะสั้น แล้วระยะยาวล่ะ ?....คุ้มกันหรือ....(สงสัยโครงการอะไรก็ตามใน สมัย รบ.เก่า คงรื้อได้เป็นรื้อ ถอนได้เป็นถอน ยกเลิกได้เป็นทำ...ถ้ายกเลิกไม่ได้จริง ๆ ก็ เปลี่ยนชื่อ ซะ...เจ๋งเป้งเลยเนอะ...)
ปล. ...เจอะแบบนี้มัน 'เซ็ง' เข้าใจมั้ย ?...........เซ็ง!!!!...
_______________________________________________
.....ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะครับ แต่ขอแขวะนิด ๆ ...เชิญท่านสมาชิกแสดง ความคิดเห็นเกี่ยวกับ เครื่องบินใหม่ของการบินไทย (ที่ฝันสลายไปแล้ว) ครับ...
ความคิดเห็นที่ 1
เช่า A-330
A-380 ยังซื้ออยู่ครับ
รายละเอียดน่าจะมีในเว็บข่าว
โดยคุณ
Mstn เมื่อวันที่
21/06/2007 17:24:48
ความคิดเห็นที่ 2
ก็เอาทหารเรือมาบริหาร ก.คมนาคม เอาทหารบกมานั่งบอร์ดการท่าอากาศยาน ผลมันก็ออกมาเป็นแบบนี้แหละหนา
หลายๆท่านคงรู้ว่าการบินไทยสั่ง A380 ไว้กับ Airbus 6 ลำ แต่ Airbus ประสบปัญหาส่งมอบเครื่องล่าช้าไปสองสามปีซึ่งกระทบกับแผนธุรกิจ การขยายฝูงบิน การเสียโอกาศทางการตลาด ฯลฯ ของสายการบินที่สั่งซื้อกัน แต่ละสายการบินเขาก็ได้ไปบีบแอร์บัส ขอส่วนลดบ้าง ซื้อเครื่องเพิ่มในราคาถูกลงบ้าง ได้ไอ้นู้นไอ้นี้กันสนุกสนานจาก Airbus
การบินไทยเมื่อปลายปีที่แล้วก็ไปเจรจากับเขาแกมบีบๆไปเรียบร้อยแล้วว่าเราจะขอซื้อ A330 เพิ่มในราคาลดพิเศษ เราได้มาในราคาลำละ $85 m จากราคาป้ายที่ประมาณลำละ $120 m ประกอบกับเราต้องปลดเครื่องเก่าๆที่อายุอานามเกือบ 20 ปีทิ้งอยู่แล้วอีกหกลำ และอีกเกือบๆสิบลำในปีต่อๆไป (A300B4 / B6, B743) นั่นคือ ข้อตกลงที่ไปบีบ Airbus มามันก็เหมาะเจาะ เหมาะสมกับเวลาที่ต้องซื้อเครื่องเพิ่มมาทดแทนของเก่าพอดี ถ้าจะให้ไปรอตัวที่ใหม่กว่าอย่าง A350, B787 ก็ไม่รู้ว่าอีกนานเท่าไหร่กว่าจะได้เครื่องเพราะนี่ก็ยังเป็นต้นแบบกันอยู่เลย แล้วราคาก็คงไม่ได้ถูกมากมายขนาดนี้แน่นอน แล้วช่วงที่ต้องรอไปอีกสามปี ห้าปีกว่าจะได้เครื่องพวกนั้นการบินไทยจะเอาอะไรมาบินแทนของที่ต้องปลดทิ้งละ
แล้ว ครม.ขิงแก่ก็เด้งโครงการกลับจนได้ ..... -___-"
ได้ส่วนลดพิเศษ ได้เครื่องใหม่มาเร็วในอีกไม่กี่เดือน ขิงแก่ไม่ชอบ .... ชอบไปเช่าของเก่าๆมาบิน ถูกตอนต้น แพงระยะยาวเนี้ย ชอบจัง .... แล้วของใหม่ที่จะมาในแบบก็จะมีทีวีส่วนตัวทุกที่นั่งตามมาตรฐานใหม่ของการบินไทยในเครื่องใหม่ๆทุกลำ นี่ถ้าไปเช่าเขาแทนแล้วมันจะมีไหม ไอ้ทีวีส่วนตัวเนี้ย แล้วจะไปแข่งกับคู่แข่งตลอดกาลอย่าง Singapore Airlines, Malaysia Airlines ได้ไหม สองรายนั้นเขาซื้อเครื่องใหม่เอาๆทุกปี อายุเครื่องเฉลี่ยเขาแค่ 6-7 ปี เราอายุเครื่องเฉลี่ยเกือบ 13 ปีเข้าไปแล้ว
เจอแบบนี้มันเซ็งจริงๆ
ถ้าผมเป็นคนออกนโยบาย คมนาคม อะนะ จะแปรรูปการบินไทยให้หมดเลยจริงๆนะ ได้ไม่ต้องมาเกาะ มาขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลัง เวลาจะลงทุนขยายฝูงบินอะไรก็ไประดมทุนในตลาดหลักทรัพย์เอา ไปบริหารแบบเอกชนจริงๆ คล่องตัว รวดเร็ว โปร่งใส ไม่งั้นก็ต้องมาคอย ครม. ทำบุญทำทานแบ่งเงินให้ไปซื้อเครื่องบินอยู่อย่างเนี้ย แล้วจะไปแข่งกับใครเขาได้ในระยะยาวน้อ ... เฮ้อ
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่
22/06/2007 01:35:04
ความคิดเห็นที่ 3
นอกเรื่องไปนิดนึง เพิ่งเห็นข่าวแว็บๆว่าจะบีบการบินไทยให้ย้ายเที่ยวบินในเอเชียกลับดอนเมืองทั้งหมด
สนุกสนานเป็นแน่แท้ ....
ครึ่งนึงอยู่ดอนเมืองบินเอเชีย ครึ่งนึงอยู่สุวรรณภูมิ บินยุโรป เมกา ผู้โดยสารต่อเครื่องก็ลากกระเป๋า ขึ้นแท๊กซี่ ขึ้นรถเมล์ ฝ่ารถติดข้าม กทม ไปดอนเมืองกันเองนะ คงต้องเผื่อเวลาไว้สัก 5 ชม.ถ้ามาต่อเครื่องที่ประเทศไทย เป็นอย่างต่ำ สมกับเป้าหมายที่จะเป็นฮับการบินเอเชียจริงๆ
อ้อ ลืมไป ยังมีผู้โดยสารจากสายการบินในเครือ Star Alliance ที่การบินไทยเป็นสมาชิกอยู่ด้วยที่ต้องมาผจญวิบากกรรมทรมานแบบนี้ Star Alliance เขาใช้นโยบาย "Move under one roof" ( ไปไหนไปด้วยกัน กลุ่ม Star เช็คอินที่เดียวกันหมด ) ทั่วโลกทุกสนามบินที่เขามีบิน โฮะๆๆ ขอโทษ เอามาใช้ไม่ได้กับที่ประเทศไทยน้อ เพราะต้องถล่มทักษิ ... เอ้ย .... "แก้ปัญหา"สุวรรณภูมิก่อน การบินไทยก็โดนลูกค้าด่ายับไปละกัน ถือว่าฟาดเคราะห์ไป ปีนี้
แล้วการบินไทยอย่าลืมมาแพลมๆบอก ปชช ตาดำๆให้รู้หน่อยนะ ว่าไอ้การแบ่งฝูงบินไปบินออกจากสองที่หนะ ค่าใช้จ่ายมันพุ่งปรี้ดขึ้นขนาดไหน ทั้งค่าน้ำมันบินตัวเปล่าระหว่างสองสนามบิน ค่าจ้างพนักงานเพิ่มมาประจำสองที่ ค่าอุปกรณ์ ground services ที่ต้องเพิ่มขึ้นสองที่ เพื่อบริการลูกค้าที่เท่าเดิม (หรือน้อยกว่าเดิม)
สงสัยจะกำไรแย่เลยยยยย .....
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่
22/06/2007 01:47:03
ความคิดเห็นที่ 4
ชำแหละอนาคต การบินไทย แผนวิสาหกิจ 5 ปีลุ้นรายได้ 1.2 ล้าน ล.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 30 ฉบับที่ 3896 (3096)
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ใช้เวลากว่า 4 เดือน จัดเตรียม แผนวิสาหกิจ 5 ปี 2550/2551-2554/2555 ผลที่สุดในการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) เมื่อ 9 พฤษภาคม 2550 พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุก ประธาน มีนโยบายให้แก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมขยายจาก 5 เป็น 10 ปี
5 ปี กวาด 1.2 ล้าน ล./โละเครื่อง 44 ลำ
โดยยังต้องรักษาเค้าโครงหลักยุทธศาสตร์ "เป้าหมาย" ด้านผลการดำเนินงานตลอดแผน 5 ปี ประมาณการรายได้จากการขายและบริการไว้สูงถึง 1.254 ล้านล้านบาท ทำกำไรสุทธิรวม 6.618 หมื่นล้านบาท ควบคุมค่าใช้จ่ายให้ได้อยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน 1.132 ล้านล้านบาท (ดูตารางประกอบ)
ตัวแปรหลักที่การบินไทยนำมาเป็น "กลไก" ปูพรมไปสู่ความสำเร็จประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก คือ ส่วนแรก การจัดทัพฝูงบินใหม่แยกเป็น 3 รายการ 1) ขายฝูงบินเก่าทิ้ง 7 รุ่น 44 ลำ เนื่องจากอายุการใช้งานเฉลี่ยเกิน 20 ปี 2) จัดซื้อฝูงบินใหม่ 32 ลำ แบ่งเป็น 2 ช่วงแรก ขออนุมัติบอร์ดและคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ลงทุน จัดซื้อเรียบร้อย 24 ลำ ระหว่าง 2550-2553 และอยู่ระหว่างเสนอซื้อเพิ่มลอตใหม่แอร์บัส A330-300 อีก 8 ลำ เตรียมรับเข้าฝูงภายใน 3 ปีนี้ 3) รับซื้อเครื่องบินเช่าซื้อที่กำลังจะหมดอายุสัญญาเช่า 14 ลำ มูลค่าการลงทุนรวมกว่า 89,512 ล้านบาท
ระหว่างเปลี่ยนฝูงบินก็มีการลงทุนด้านอะไหล่และเครื่องยนต์ รวมการปรับปรุงผลิตภัณฑ์ภายในเครื่องบิน เบ็ดเสร็จต้องใช้เงินลงทุนเฉพาะฝูงบินอย่างเดียวรวมทั้งสิ้น 112,603 ล้านบาท
ส่วนที่สอง การจัดทำแผนกลยุทธ์ปรับโครงสร้าง "เครือข่ายเส้นทางบิน" และการเพิ่มประโยชน์จากการใช้งานเครื่องบินในปีสุดท้าย ของแผนจะมี 90 ลำ เพิ่มจากปัจจุบัน 4 ลำ (เดิม 86 ลำ) สามารถเพิ่มปริมาณเครือข่ายบินระหว่างประเทศได้อีก 91 เที่ยว/สัปดาห์ จากการเปิดจุดบินเมืองใหม่เพิ่ม 3 เมือง ขณะนี้บิน 73 เมือง ปี 2555 เป็นต้นไปจะบิน 76 เมือง พื้นที่เป้าหมายคืออินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลาง 13 ประเทศ
"การบินไทย" ได้วิเคราะห์การใช้งานเครื่องบินปัจจุบันไว้ในแผนวิสาหกิจ 5 ปี เป็นเรื่องเหลือเชื่อว่าแต่ละวันมีเครื่องจอดอยู่บนพื้นตามสถานีทั่วโลก โดยไม่ได้ทำการบินถึง 200 ชั่วโมง/วัน เครื่องแต่ละลำบินเฉลี่ยเพียงวันละ 6.5 ชั่วโมง ตามแผนใหม่จะต้องบินเพิ่มให้ได้วันละ 11 ชั่วโมง/ลำ
ชิงรุกเค้กใหญ่ "เครือข่ายบินเอเชีย"
การวางแผน "ขยายเครือข่ายการบิน" เส้นทางบินที่การบินไทยทำแผนเชิงรุกมากที่สุดอยู่ใน "ภาคพื้นเอเชีย" (region) เนื่องจากในการประเมินสถิติปี 2549 สถานการณ์ความนิยมใช้บริการของผู้โดยสารการบินไทย 18 ล้านคน เมื่อใช้รายได้เป็นเกณฑ์ 2 แบบ คือแบบแรกแบ่งตามเส้นทางบิน (route) ภาคพื้นเอเชียทำได้ 53.9% บินข้ามทวีป (international) ทำได้เพียง 20.6% และบินภายในประเทศ (domestic) ทำได้ 25.5% แบ่งตามชั้นที่นั่งผู้โดยสาร (class) ชั้นประหยัด (economy class) ทำได้มากสุดถึง 91.6% ชั้นหนึ่ง (first class) ทำได้น้อยสุดเพียง 0.3% ชั้นธุรกิจ (business class) ทำได้ 9.1%
พื้นที่เป้าอันดับ 1 เตรียมเพิ่มจุดบินและความถี่ "สายเหนือ" กลุ่มประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน ยังมีช่องให้เพิ่มปี 2550/51 ได้อีก 15 จุดบิน 185 เที่ยว/สัปดาห์ และปี 2554/55 จะเพิ่มได้ถึง 17 จุดบิน 225 เที่ยว/สัปดาห์ 2 เมืองเป้าหมายใหม่ คือเซ็นได และซับโปโร ญี่ปุ่น
อันดับ 2 "สายตะวันออกกลาง" เป็นพื้นที่ที่สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association : IATA) พยากรณ์ว่า จะมีปริมาณจราจรทางอากาศเติบโตสูงที่สุดในปัจจุบันและอนาคต การบินไทยจึงวางแผนเข้าไปชิงผู้โดยสารภายใน 5 ปีนี้ ปี 2554/55 จะเพิ่มเที่ยวบินรวม 12 เที่ยว/สัปดาห์ จากปัจจุบัน 22 เป็น 34เที่ยว/สัปดาห์ มีเส้นทางหลัก 7 เมือง ได้แก่ การาจี ละฮอร์ มัสกัต ดูไบ คูเวต เชนไน อิสลามาบัด
อันดับ 3 "สายอินโดจีน" เป็นพื้นที่ศักยภาพที่มีอนาคตแต่การบินไทยทำตลาดค่อนข้างจะคงที่ อย่างไรก็ตามในแผนวิสาหกิจก็ยังจำเป็น ในปี 2554/55 ต้องเพิ่มความถี่อีก 6 เที่ยว/สัปดาห์ จาก 58 เป็น 64 เที่ยว/สัปดาห์ เป้าหมาย 2 เมือง เมืองละ 3 เที่ยว/สัปดาห์ คือโฮจิมินห์ พนมเปญ
"สายใต้" กลุ่มสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย การบินไทยยอมรับว่าการแข่งขันค่อนข้างหิน เนื่องจากมีคู่แข่งเป็นกลุ่มสายการบินต้นทุนต่ำ (low cost airlines) ทั้งแอร์เอเชีย เจ็ตสตาร์เอเชีย ไทเกอร์แอร์ ขณะนี้การบินไทยบินอยู่ 6 จุด 80 เที่ยว/สัปดาห์ ทำอัตราการบรรทุกผู้โดยสารเฉลี่ยได้ประมาณปีละ 71% ตลอด 5 ปีนี้เส้นทางสายนี้จะทำได้เพียงการรักษาจุดบินและคงความถี่ไว้เท่าเดิม เพราะที่นั่งยังเหลือ แต่อย่างไรก็ต้องบินเพื่อป้องกันโลว์คอสต์ชิงส่วนแบ่งตลาดไป
หวังใช้ A380 บี้ตลาดยุโรป 3 เมือง
สำหรับเส้นทางบินข้ามทวีป "สายยุโรป" จะสร้างความฮือฮาหลังจากรับฝูงบินแอร์บัส A380-800 ลำแรกก็จะนำไปใช้บินสายนี้ทันทีในลอนดอน แฟรงก์เฟิร์ต ปารีส โดยการเพิ่มเที่ยวบินกลางคืนให้มีความจุเพิ่มขนาดพิเศษมากกว่า 550 ที่นั่ง/เที่ยว ส่วนจุดบินอื่นอีก 63 เมือง 14 ประเทศ โดยรวมจะเพิ่มเที่ยวบินอีก 17 เที่ยว/ สัปดาห์ ซึ่งจะมีทั้งหมด 97 เที่ยว/สัปดาห์ จุดบินใหม่ที่การบินไทยเล็งไว้ก็มีแมนเชสเตอร์ และเบอร์ลิน
"สายออสเตรเลียและนิวซีแลนด์" จะขยับไม่มากในเส้นทางกรุงเทพฯ-บริสเบน บินตรง 5 เที่ยว/สัปดาห์ กรุงเทพฯ-เพิร์ท ต้องผ่านภูเก็ต รวม 5 เที่ยว/สัปดาห์ "สายอเมริกาเหนือ" ฐานบินหลักอยู่ที่ 2 เมือง ลอสแองเจลิส และนิวยอร์ก เมืองละ 5 เที่ยว/สัปดาห์ แต่จะอาศัยการเจรจาทำการขายที่นั่งร่วม (code share) กับพันธมิตรกลุ่มการบินสตาร์ อัลไลแอนซ์ เพื่อเพิ่มจุดบินหลักของการบินไทยเข้าไปยังจุดย่อย 9 เมือง ชิคาโก ซานฟรานซิสโก นิวยอร์ก ดัลลาส วอชิงตัน แอตแลนตา ไมอามี เดนเวอร์ ซีแอตเติล
คุม 3 ตัวแปรไม่อยู่ กำไรสุทธิหดทันที
อย่างไรก็ตามยังมีสิ่งน่าสนใจซึ่งจะเป็นตัวแปรต่อผลการดำเนินงานตามแผนวิสาหกิจ 5 ปี 2550/51-2554/55 ที่การบินไทยระบุจะกระทบกับประมาณการกำไรสุทธิรวม 5 ปีทันที หากเกิด "การเปลี่ยนแปลง 3 ส่วน" คือ
ส่วนแรก "การเปลี่ยนแปลงรายได้" ถ้าอัตราการบรรทุกผู้โดยสาร การเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเพิ่มหรือลดทุก 1% จะมีผลต่อกำไรสุทธิ 8,515 ล้านบาท ถ้ารายได้ผู้โดยสารต่อหน่วย (yield) เปลี่ยนเพิ่มหรือลดทุก 1% ก็มีผลต่อกำไรสุทธิ 7,066 ล้านบาท
ส่วนที่สอง "การเปลี่ยนแปลงโบนัสพนักงาน" กำหนดสมมติฐานจ่ายไว้เท่ากับ 1 เดือน ถ้าปีใดจ่ายเพิ่มหรือลดลงจะกระทบกำไรสุทธิ 6,388 ล้านบาท
ส่วนที่สาม "การเปลี่ยนแปลงเงินปันผล" ในการประมาณการกระแสเงินสดกำหนดอัตราจ่ายเงินปันผลไว้ที่ 25% ของกำไรสุทธิ ถ้าการจ่ายปันผลเพิ่มขึ้น 5% ของกำไรสุทธิ เงินสดรวม 5 ปี จะลดลง 2,830 ล้านบาท
ในการก้าวขึ้นสู่ทศวรรษที่ 5 ของ "การบินไทย" ซึ่งวางตำแหน่งจะก้าวเป็น สายการบินชั้นนำเอเชียภายใน 3 ปีนี้ แผนวิสาหกิจ 5 ปี ฉบับฝันไกลจะดึงรายได้ 1.2 ล้านล้านบาท ได้หรือไม่ ต้องรอพิสูจน์กันต่อไป
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
22/06/2007 12:47:37
ความคิดเห็นที่ 5
ขายฝูงบินเก่า8ลำ2.6พันล.ลุกเป็นไฟ บินไทยใส่พานให้โบรกเกอร์มอนต์โรส
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ปีที่ 31 ฉบับที่ 3901
ฝุ่นตลบ "การบินไทย" ซุ่มขายเครื่องเก่า 8 ลำ แอร์บัส A300-600 และ โบอิ้ง 747-300 แบบพิลึก "MONTROSE" ขาใหญ่วงการโบรกเกอร์ค้าเครื่องทำท่ากวาดรวดเจ้าเดียว ถกกันแหลก "ทีโออาร์-ราคาซื้อ" ต่ำกว่าท้องตลาดหรือไม่ และเหตุใดการบินไทยยอมเข้าเนื้อ รวมทั้งฝูงบินได้เงินแค่ 2,650 ล้านบาท กระทุ้งทุกฝ่ายตรวจสอบปมหลัก "เครื่องยนต์" ในเครื่องบินมูลค่ามโหฬาร
แหล่งข่าวระดับสูงจากวงการค้าเครื่องบินนานาชาติเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ทยอยเปิดประมูลขายเครื่องบินออกจากฝูง 8 ลำ เฉลี่ยเบื้องต้นจะมีมูลค่ารวมประมาณ 2,650 ล้านบาท ขณะนี้บริษัทผู้เข้าร่วมประมูลพากันตั้งข้อสังเกตเมื่อกลุ่ม มอนต์โรส (MONTROSE) มีแนวโน้มจะเป็นบริษัทตัวแทนการจัดซื้อเพียงรายเดียวที่จะได้สิทธิทั้งหมดไป
ประกอบด้วยแอร์บัส A300-600 จำนวน 6 ลำ เมื่อเมษายน 2550 ทยอยขายไป 2 ลำ ยังคงเหลือที่จะต้องขายอีก 4 ลำ ระหว่างนี้เตรียมขายโบอิ้ง B747-300 อีก 2 ลำ มีบริษัทโบรกเกอร์สากลที่ทำธุรกิจรับซื้อเครื่องบินเสนอชื่อเข้าร่วมประมูล 4 บริษัท
บริษัทผู้เข้าประมูลทุกรายพุ่งเป้าจับตาการทำงานคณะกรรมการประมูลขายเครื่องบินการบินไทยที่มีนายธรรมศักดิ์ ชุติวงศ์ กรรมการ ผู้จัดการฝ่ายช่าง (DT) เป็นประธาน ว่าได้จัดทำ ทีโออาร์และปฏิบัติตามกติกาต่อลูกค้าอย่างเท่าเทียมหรือไม่
ประการสำคัญที่สุดราคาที่ตกลงซื้อขายรักษาผลประโยชน์สูงสุดของการบินไทยหรือไม่ เนื่องจากมูลค่าที่จะซื้อจะขายกันไม่ชัดเจน แอร์บัส A300-600 ลอตแรก 2 ลำ ขายไปในราคาประมาณ 325 ล้านบาท/ลำ (9.3 ล้านเหรียญสหรัฐ) และหากยังคงขายราคานี้การบินไทยจะได้เงินรวมประมาณ 1,950 ล้านบาท แต่ราคาที่เป็นตัวแปรหลักคือมูลค่าของเครื่องยนต์ในเครื่องบินแต่ละลำ
ส่วนโบอิ้ง B747-300 เปิดให้บริษัทที่สนใจเสนอชื่อมาเกือบเดือนแล้ว ปรากฏว่าเลื่อนเปิดซองประมูลไปถึง 3 ครั้ง แต่มีแนวโน้มว่าคณะทำงานขายเครื่องบินจะรวบรัดภายในสัปดาห์สุดท้ายเดือนพฤษภาคมนี้ และเป็นไปได้สูงที่กลุ่ม MONTROSE จะได้ฝูงบิน 2 ลำนี้ไป มูลค่ารวม 700 ล้านบาท (20 ล้านเหรียญสหรัฐ) ราคาเฉลี่ยประมาณ 350 ล้านบาท/ลำ (10 ล้านเหรียญสหรัฐ) แต่มีข้อถกเถียงกันกว้างขวางในกลุ่มผู้ค้าเครื่องบินว่า ขายต่ำกว่ามูลค่าจริงใน book value ของตลาดควรจะได้ไม่ต่ำกว่า 420 ล้านบาท/ลำ (12 ล้านเหรียญสหรัฐ)
"เป็นที่รู้กันในวงการค้าเครื่องบินว่ากลุ่ม MONTROSE เป็นโบรกเกอร์รับซื้อและขายเครื่องบินแก่สายการบินต่างๆ ในเมืองไทยมีนายนาฏศิลป์เป็นตัวกลาง ตามประวัติเคยขายเครื่องบินโบอิ้ง B747-400 ให้ภูเก็ต แอร์ไลน์ส ของนายวิกรม อัยศิริ ซึ่งปัจจุบันหยุดดำเนินการชั่วคราวเกือบ 2 ปี ส่วนตัวแทนต่างชาติชื่อ Mr.Raymon"
"หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าวิธีดำเนินการเปิดประมูลของคณะทำงานการบินไทยเองผิดปกติด้วยหรือไม่ เพราะหลายครั้ง MONTROSE เหมือนจะรู้ราคาที่บริษัทคู่แข่งเสนอเข้าไป ส่วนขั้นตอนระหว่างยื่นประมูลคณะทำงานก็ไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรฐานสากลเท่าใดนัก นั่นคือให้ข้อมูลเรื่อง tecnicial information ไม่ชัดเจน และแทบจะไม่เปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้าไปตรวจสอบสเป็กทางเทคนิค หรือการใช้งานเครื่องบินเลยแม้แต่น้อย ให้เวลากระชั้นมาก บริษัทอื่นยกเว้น MONTROSE จะได้รับข้อมูลล่วงหน้าเพียง 2-3 วันเท่านั้น ทั้งที่ถือเป็นแกนหลักที่จะชิงความได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างผู้ยื่นประมูล"
รายงานข่าวยืนยันว่า การซื้อเครื่องบินเก่าราคาจะสูงหรือต่ำไม่ได้อยู่ที่อายุการใช้งานเครื่องบิน แต่อยู่ที่เครื่องยนต์ซึ่งติดตั้งอยู่ในเครื่องบิน แต่ละเครื่องมีมูลค่ามหาศาล เช่น โบอิ้ง B747-300 ที่การบินไทยนำมาขายใช้เครื่องบิน GECF6-80 มูลค่าในตลาดโลกขณะนี้สูงถึง 70-105 ล้านบาท-เครื่อง (2-3 ล้านเหรียญสหรัฐ)
ตัวแปรสำคัญหากไม่ได้อยู่ในวงการบินจะไม่เข้าใจก็คือเครื่องยนต์ที่ขายพร้อมกับเครื่องบินแต่ละลำนั้น ก่อนขายสายการบินได้ระดับการซ่อมบำรุงอยู่ที่ A, B, C , D check ถ้าได้รับการปรับปรุงมาดีแต่ขายถูกก็เท่ากับสายการบินผู้ขายขาดทุน บริษัทผู้ประมูลได้ไปจะกำไรเพราะสามารถแยกชิ้นส่วนนำอะไหล่ไปขายรายได้จะดีกว่า และ/หรือในอดีตประวัติศาสตร์ในลักษณะเช่นนี้เคยเกิดขึ้นในการบินไทยมาแล้วครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้การบินไทยยังมีความพยายามเร่งทยอยขายเครื่องบินเก่าทั้ง 8 ลำ ออกจากฝูงบินให้เร็วที่สุด ทั้งที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังไม่มีมติอนุมัติให้จัดซื้อเครื่องบินเข้ามาทดแทนอีก 8 ลำ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการ (บอร์ด) การบินไทยมีมติเมื่อเดือนมีนาคม 2550 ขอซื้อแอร์บัส A330-600 ทั้งหมด
สำหรับผลลัพธ์ทางธุรกิจที่จะตามมานอกเหนือจากการถกเถียงกันเรื่องราคาขายเครื่องเก่าไม่ชัดเจนอาจส่งผลทำให้การบินไทยได้เงินน้อยลงและ/หรือได้เปิดประมูลตามหลักปฏิบัติในมาตรฐานสากลหรือไม่แล้ว หากการขายเครื่องออกไปยังทำให้ที่นั่งเที่ยวบินที่จะให้บริการผู้โดยสารลดลง
และหากภายในปี 2551 ไม่มีเครื่องบินฝูงใหม่เข้ามาทดแทน ประสิทธิภาพการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับสายการบินนานาชาติ และการเพิ่มรายได้จากการขายตั๋วโดยสารมีแนวโน้มจะไม่ได้ตามเป้า 2.5 แสนล้านบาทได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้พลอากาศเอกชลิต พุกผาสุข ประธานบอร์ดการบินไทยยืนยันว่าหากจัดซื้อเครื่องใหม่ 8 ลำล่าช้ารัฐบาลชุดนี้ต้องรับผิดชอบผลที่จะตามมากับอุตสาหกรรมการบินของไทย
หน้า 36
โดยคุณ
Skyman เมื่อวันที่
22/06/2007 12:48:49
ความคิดเห็นที่ 6
ดีแล้วละครับที่ไม่ซื้อในเวลานี้ รอให้รัฐบาลใหม่เข้ามารับผิดชอบดีกว่า ขืนซื้อไปตอนนี้ก็หาว่าอยากได้ค่าคอมมิชชั่นอีก เข้ามากอบโกย อะไรประมาณนั้น เวลาไม่ซื้อหาว่าขัดขวางความเจริญอีก ว่ากันไปนั่น ผมว่าน่าจะรอกันไปปีหน้าก็คงจะไม่เสียหายอะไรครับ ส่วนการเช่าก็ไม่เสียหายอะไรครับ เพราะสมัยนี้เขาก็นิยมใช้การเช่าครับ ไม่ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมหรือค่าบำรุงรักษา เพราะส่วนมากถ้าใช้วิธีการเช่าพวกพาหนะ จะเป็นแบบนี้ครับ
โดยคุณ nova เมื่อวันที่
22/06/2007 14:32:46
ความคิดเห็นที่ 7
ไม่กระทบ A 380 หรอกครับ เพราะนั่นอยู่ในขั้นตอนเตรียมการส่งมอบแล้ว ( อาจจะช้าไปบ้าง 2-3 ปี ) แต่ไอ้ข่าว A 330 ที่ว่าจะซื้อเพิ่มในราคาสิทธิพิเศษแล้วดันเปลี่ยนมาเป็นการเช่าแทน ก็เพิ่งจะได้ยินข่าวจากเว็บนี้วันนี้แหละ สงสัยอยู่เหมือนกัน ไม่รู้ว่า ฯพณฯ ท่านคิดออกมาได้อย่างไร
แต่ถ้ามองโลกในแง่ดี ท่านอาจจะมองข้ามช็อตเพื่อรอซื้อเครื่องใหม่อย่าง A 350 ก็ได้
โดยคุณ
scikob เมื่อวันที่
22/06/2007 17:00:24
ความคิดเห็นที่ 8
บอกไม่เห็นเกี่ยว เห็นเกี่ยวขาดผึงไปแล้วอะ
ดูไงมันก็การเมือง
โดยคุณ แรคคูน เมื่อวันที่
24/06/2007 02:55:19
ความคิดเห็นที่ 9
การบินไทยเชื่อเช่าเครื่องบินแทนจัดซื้อได้ประโยชน์สูงสุด |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ |
20 มิถุนายน 2550 20:13 น. |
|
ผู้บริหารการบินไทย เชื่อ การเช่าเครื่องบิน 8 ลำ ตามมติคณะรัฐมนตรีจะส่งผลดีมากกว่าวิธีการจัดซื้อ และเป็นแนวทางที่เกิดประโยชน์สูงสุดกับการบินไทย พร้อมยืนยันเครื่องบินแอร์บัส เอ 330 ไม่ใช่เครื่องบินที่กำลังตกรุ่น โดยบริษัทแอร์บัสเปิดเผยข้อมูลว่าเป็นเครื่องบินที่มียอดคำสั่งซื้อกว่า 200 ลำในขณะนี้
เรืออากาศโท อภินันท์ สุมนะเศรณี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรีวานนิ้ เป็นการอนุมัติการจัดหาเครื่องบิน 8 ลำ ตามการเสนอของกระทรวงคมนาคมและการบินไทย โดยเลือกวิธีการเช่า ซึ่งในทางเทคนิคเรียกว่า ?โอเปอเรชั่น ลิสซ์? เป็นอีกแนวทางหนึ่งนอกเหนือจากแนวทางการจัดซื้อ หรือ ?ไฟแนนเชียล ลิสซ์? เพื่อเพิ่มฝูงบินใหม่ให้กับการบินไทย เพื่อทดแทนฝูงบินที่กำลังจะปลดระวาง 48 ลำ ภายใน 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี โดยวิธี โอเปอเรชั่น ลิสซ์ การบินไทยก็เคยนำมาดำเนินการจัดหาเครื่องบินแล้ว 12 ลำ เรืออากาศโท อภินันท์ กล่าวว่า การบินไทย เห็นว่า แนวทางในการจัดหาเครื่องบินโดยการเช่าจะส่งผลดีต่อการบินไทยมากกว่าวิธีการจัดซื้อ ซึ่งในเบื้องต้น การบินไทยไม่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมากในการจัดหาเครื่องบินใหม่ และจะต้องใช้เงินสูงขึ้น หากต้องมีการจัดซื้อมาทดแทน ทั้ง 48 ลำ นอกจากนี้ แนวทางการเช่าผ่านบริษัทตัวแทนจะช่วยให้การบินไทย ไม่ต้องบันทึกเครื่องบินที่เช่าใหม่ เป็นสินทรัพย์ จึงไม่เป็นภาระการคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี และแนวทางดังกล่าวยังยืดหยุ่น โดยการบินไทยสามารถตัดสินใจได้ ภายหลังสัญญาเช่า 10 ปีข้างหน้าว่า จะเช่าเครื่องบินต่อ หรือจะจัดซื้อเครื่องบินแบบใหม่ (New Generation ) ในอนาคต สำหรับแนวทางการจัดหาเครื่องบินโดยการเช่านั้น กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย กล่าวว่า ในเบื้องต้น น่าจะมีอายุเวลาการเช่า 10 ปี โดยหลังจากนี้ เมื่อใกล้เวลาส่งมอบเครื่องบิน การบินไทยจะมีการเปิดประกวดราคาแบบเปิดกว้าง เพื่อให้บริษัทตัวแทนที่สนใจเข้ามาเสนอเงื่อนไขและการบินไทยจะพิจารณารายที่ให้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งกระบวนการทั้งหมดจะเริ่มต้นปี 2551 ก่อนมีการส่งมอบเครื่องบินใหม่ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน และต้นทุนในการดำเนินการจะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ?กระบวนการในการจัดเช่าเครื่องบินครั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการจัดซื้อ เปรียบเทียบต้นทุน ในชั่วโมงการบินสำหรับเครื่องบินแต่ละลำที่จัดหา การเช่าจะมีต้นทุนสูงกว่าการจัดซื้อเพียงเล็กน้อยเท่า? เรืออากาศโท อภินันท์ กล่าว ทั้งนี้ เรืออากาศโท อภินันท์ ยืนยันว่า แนวทางดังกล่าวจะไม่กระทบกับการเจรจาระหว่างการบินไทย กับแอร์บัสที่ดำเนินการไปแล้ว โดยเฉพาะในเรื่องราคาจัดหาเครื่องบินที่ทำกับแอร์บัสไว้ เนื่องจากบริษัทตัวแทนจะเข้าไปรับช่วงจ่ายเงินซื้อเครื่องบินจากแอร์บัสทั้งก้อน ก่อนที่จะนำเครื่องบินมาให้การบินไทยเช่าตามสัญญา ซึ่งปัจจุบันบริษัทตัวแทนประเภทนี้มีอยู่มาก ที่มีความพร้อมทางด้านเงินทุน ส่วนประเด็น ที่มีการระบุว่า เครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 330-300 เป็นเครื่องบินที่กำลังตกรุ่นนั้น ก็ไม่เป็นความจริง โดยแอร์บัส ได้เปิดเผยข้อมูลล่าสุด ว่า เป็นเครื่องบินที่มีคำสั่งซื้อ 226 ลำ ทั่วโลก ซึ่งในจำนวนดังกล่าวเป็นของการบินไทย 8 ลำ ขณะที่การเจรจาจัดซื้อเครื่องบินในพิสัยไกล แอร์บัส เอ 380 รวม 6 ลำ ที่มีการส่งมอบล่าช้า จะไม่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเครื่องบินแอร์บัส เอ 330 ในครั้งนี้ โดยการส่งมอบที่ล่าช้าของเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ทำให้การบินไทยได้ค่าปรับจากแอร์บัส สามารถลดต้นทุนการจัดหาเครื่องบินใหม่ได้ถึง 6,000 ล้านบาท ของวงเงินการจัดซื้อกว่า 30,000 ล้านบาท
| |
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
24/06/2007 07:09:26
ความคิดเห็นที่ 10
PARIS 2007: Thai firms A330 order
Thai Airways International has placed an order for eight Airbus A330-300s for delivery from next year, firming up plans which it disclosed earlier this year.
In February the Star Alliance carrier agreed to order eight more A330-300s at discounted prices in part as compensation for delays in the delivery of six Airbus A380s on order.
The airline said it would use the aircraft to replace six Airbus A300s and a pair of Boeing 747s.
During the Paris air show Airbus announced the firm order from Thai for the eight aircraft and deliveries are due to begin in 2008.
Thai already operates a dozen A330s powered by Pratt & Whitney PW4000s. No engine selection for the new aircraft has been disclosed.
In a related development, Thailand?s cabinet yesterday directed the national carrier to lease the eight aircraft rather than purchase them outright.
The carrier is expected as a result to seek out sale and lease-back agreements on the newly ordered twinjets.
Thai Airways president Apinan Sumanaseni says: ?Thai is pleased to announce it has ordered eight more A330-300s, which will replace older aircraft in our fleet, as utilising this Airbus type has always proved profitable and efficient for the company.
"This order is in addition to our withstanding order of six A380-800 aircraft.
?The A330-300 was deemed most suitable towards operating the company?s regional routes in Asia, especially due to our continued increase in flight frequency and expanded route network.?
Last month the carrier said it was drawing up a new 10-year business plan that should include proposals for the replacement of dozens of older aircraft in its fleet. The plan will be presented to its board for consideration in August.
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
24/06/2007 07:13:33
ความคิดเห็นที่ 11
A350 and 787 set to vie for Thai A300 replacement deal
Two widebodies likely to go head-to-head to succeed flag carrier's ageing Airbus fleet
Thai Airways International is drawing up a new business plan that should include proposals for the replacement of dozens of older aircraft in its fleet.
At a recent board meeting directors tasked management with drawing up a 10-year corporate plan covering the 2008-2017 period. The plan will be presented to the board in August.
Airline executives say fleet renewal will make up a key part of the plan and several dozen new aircraft may be ordered to replace older aircraft. Types to be considered are not being identified, although it is expected that the carrier will primarily look to acquire aircraft in the Airbus A350 and Boeing 787 categories, in part to replace its 20 Airbus A300-600s.
Senior airline executives said last year that they had already been evaluating the two types, although studies covered the longer-range variants on offer which would not necessarily be intended as A300 replacements.
Thai could also look at replacements in the years ahead for some of its older Boeing 777s and 737-400s as well as older Airbus A330s.
Earlier this year Thai agreed to order eight more A330-300s at discounted prices in part as compensation for delays in the delivery of six Airbus A380s on order. It said at the time that delivery of the A330s would take place between 2008 and 2010, although it has yet to firm up the order.
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
24/06/2007 07:16:14
ความคิดเห็นที่ 12
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
24/06/2007 07:22:31
ความคิดเห็นที่ 13
ตามข่าวลงใน manager.co.th กับ flightglobal.com พอ สรุปได้ว่า
1.เครื่องบินแบบ แอร์บัส เอ 330-300 เป็นที่จะเช่าเป็นลำใหม่กับที่เจรจากับแอร์บัสก่อนหน้านี้โดยจะมีบริษัทตัวแทนจะเข้าไปรับช่วงจ่ายเงินซื้อเครื่องบินจากแอร์บัสทั้งก้อน ก่อนที่จะนำเครื่องบินมาให้การบินไทยเช่าตามสัญญา
2. เปรียบเทียบต้นทุน ในชั่วโมงการบินสำหรับเครื่องบินแต่ละลำที่จัดหา การเช่าจะมีต้นทุนสูงกว่าการจัดซื้อเพียงเล็กน้อย
3. แนวทางการเช่าผ่านบริษัทตัวแทนจะช่วยให้การบินไทย ไม่ต้องบันทึกเครื่องบินที่เช่าใหม่ เป็นสินทรัพย์ จึงไม่เป็นภาระการคำนวณค่าเสื่อมราคาทางบัญชี และแนวทางดังกล่าวยังยืดหยุ่น โดยการบินไทยสามารถตัดสินใจได้ ภายหลังสัญญาเช่า 10 ปีข้างหน้าว่า จะเช่าเครื่องบินต่อ หรือจะจัดซื้อเครื่องบินแบบใหม่ (New Generation ) ในอนาคต
4. การบินไทยมีแผนซื้อฝูงบินใหม่ (อาจมากถึง48 ลำ) เพื่อทดแทนฝูงบินที่กำลังจะปลดระวาง 48 ลำ ภายใน 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากมีอายุการใช้งานมากกว่า 20 ปี
5. ฝูงบินใหม่ น่าจะเป็น A350 หรือ 787 เพื่อทดแทน A300 และ อาจรวมถึง 777, A330,737 ซึ่งหมายความว่า ฝูงบินใหม่ อาจทดแทนเครื่องบินถึง 4แบบ
6 ราคาของ A350 หรือ 787 ไม่น่าจะแพงเกินไปเพราะยอดขายในตอนนี้ 643ลำสำหรับ787 และ 154ลำสำหรับ A350 ทั้งที่เครื่องบินต้นแบบยังไม่บิน กว่าการบินไทยจะซื้อฝูงบินใหม่ก็อีก8-10ปีข้างหน้า ถึงตอนนั้น A350 และ 787 คงมียอดขายมากกว่านี้และราคาไม่น่าจะแพงเกินไป
โดยคุณ Knightwing เมื่อวันที่
24/06/2007 08:23:06
ความคิดเห็นที่ 14
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ คุณ Knightwing
โดยคุณ Trinity เมื่อวันที่
24/06/2007 16:01:55