หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ความสุขของพระมหากษัตริย์

โดยคุณ : Skyman เมื่อวันที่ : 21/06/2007 12:20:49

>> >ความสุขของพระมหากษัตริย์
> >
> >หนึ่งปีที่ผ่านมา......
> >
> >เราใส่เสื้อเหลือง
> >
> >เราใส่สายรัดข้อมือสีเหลือง
> >
> > คนนับแสนไปนั่งรอเป็นชั่วโมงๆ
> >หน้าพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อจะได้เห็นพระพักตร์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเพียงไม่กี่นาที
> >
> > วันนั้น
> >ในขณะที่ทั้งโลกเริ่มเสื่อมศรัทธาในระบบการปกครองโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
> >เราได้แสดงให้โลกได้เห็นว่ามีประเทศเล็กๆ
> >ประเทศหนึ่งที่คนทั้งชาติยังซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี
> >และพระมหากษัตริย์อันทรงเป็นที่รักยิ่งของคนไทย
> >
> >.....สิบสองปีที่ผ่านมา......
> >
> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรหนักด้วยโรคหัวใจเพราะทรงงานหนักเกินไป
> >
> > ในขณะเดียวกัน สมเด็จพระราชชนนีก็ทรงพระประชวรหนักอยู่ ณ
> >โรงพยาบาลศิริราชเช่นกัน
> >
> >เรายังจำรูปในหนังสือพิมพ์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมพระราชชนนีไม่กี่วันหลังจากการผ่าตัดใหญ่ถวาย
> >พระหัตถ์ข้างหนึ่งกุมอยู่ที่พระอุระ
> >และในพระหัตถ์อีกข้างหนึ่งทรงถือม้วนแผนที่กรุงเทพฯ เพราะน้ำกำลังท่วมกรุงอยู่
> >
> >ยังจำกันได้ไหม?
> >
> >..... 34 ปีที่ผ่านมา.....
> >
> > วันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ.2516
> >เป็นครั้งแรกในรัชกาลที่เกิดวิกฤติด้านการเมืองรุนแรงที่สุด
> >
> > วันนั้น นิสิตนักศึกษาและประชาชนนับหมื่นนับแสนเดินขบวนประท้วงรัฐบาล
> >เหตุการณ์ร้ายแรงยิ่งขึ้น ตำรวจทหารยิงประชาชน
> >ในขณะที่นิสิตนักศึกษาก็เผาสถานที่ราชการ เกิดกลียุคทุกหย่อมหญ้า
> >คนไทยฆ่าคนไทยด้วยกันเอง
> >
> > คืนนั้น สถานีโทรทัศน์ทุกช่องถ่ายทอดสดจากพระราชวังสวนจิตรลดา
> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสกันคนไทยทุกคนว่า
> >?คนไทยจะฆ่าคนไทยด้วยกันไม่ได้ ทุกอย่างต้องสงบโดยฉับพลัน?
> >
> >และทุกอย่างก็สงบโดยฉับพลัน
> >
> >หลังจากนั้นไม่นาน มีฝรั่งคนหนึ่งมาถามผมว่า ?เป็นไปได้อย่างไร ที่คนๆ
> >เดียวจะมีอำนาจเหนือคนทั้งประเทศได้อย่างนั้น??
> >
> > ผมไม่ได้ตอบ แต่ตอนนั้นใจผมคิดถึงประโยคที่ มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมชฯ
> >ได้ให้สัมภาษณ์กับสถานีโทรทัศน์ BBC ว่า พระองค์ทรงเป็น 'SOUL OF THE NATION'
> >หรือ ?จิตวิญญาณของคนไทยทั้งชาติ?
> >
> >ยังจำกันได้ไหม?
> >
> > แล้ววันนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่?
> >
> >เราสร้างค่านิยมผิดๆ ว่าคนที่ประสบความสำเร็จคือคนที่มีเงินมากที่สุด
> >
> >เราโกงทุกครั้งที่มีโอกาส
> >
> >เราเรียกร้องประชาธิปไตยโดยคิดถึงแต่ ?สิทธิ? แต่ลืมคำว่า ?หน้าที่?
> >
> >เรากำลังฆ่ากันเองทุกวันในภาคใต้
> >
> >เราสร้าง ?กฎหมู่? ให้เหนือ ?กฎหมาย?
> >
> >เราเดินขบวนประท้วงในทุกอย่างที่เราไม่เห็นด้วย
> >
> >เราก้าวร้าวต่อกัน เราแตกแยกกัน
> >

> >และทั้งโลกกำลังจับตามองเราอยู่
> >
> >เราเคยหยุดคิดกันบ้างไหมว่า
> >พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา
> >จะทรงเสียพระทัยเพียงใด?
> >
> >
> > 80 ชันษาของพระองค์ท่าน หากเปรียบกับคนธรรมดาก็สมควรที่จะได้พักเต็มที่
> >ได้รับการดูแลและระมัดระวังเป็นพิเศษ ไม่สมควรที่จะตรากตรำทำงานหนัก
> >หรือกระทบกระเทือนใจแต่อย่างใด
> >
> > แต่กลับเป็นว่า ในปีที่ครบ 80
> >ชันษาของพระองค์ท่านยังต้องทรงงานอยู่ตลอดเวลา ทั้งๆ
> >ที่ทรงต้องอยู่ภายใต้การถวายการดูแลของคณะแพทย์
> >
> >พระองค์ต้องรับทุกข์ของคนไทยทั้งชาติ
> >
> >ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้
> >ไม่ใช่จะประทับอยู่ในพระราชวังใหญ่โตสวยงาม แห่ล้อมด้วยข้าราชบริพาร
> >
> > หากแต่ความสุขของพระมหากษัตริย์พระองค์นี้คือ
> >เมื่อประชาชนของพระองค์ท่านรักสามัคคีกัน รู้จักความพอเพียง
> >และมีสติ-เพียงเท่านี้เอง
> >

> >
> >แล้ววันนี้เรากำลังทำอะไรกันอยู่?
> >
> >
> >หรือนี่คือการแสดงความกตเวทีต่อพระมหากษัตริย์ของเรา?


ตอนนี้บ้านเมืองเราร้อนเป็นไฟ แม้แต่ในบอร์ดก็ร้อน ผมได้ข้อความนี้มาจาก fw เมลล์ ซึ่งปกติผมจะลบโดยไม่คิดจะอ่าน แต่เชื่อว่าหลังจากทุกท่านได้อ่านข้อความนี้ คงจะฉุกคิดอะไรขึ้นมาได้บ้างครับ

ขอบคุณครับ





ความคิดเห็นที่ 1


พระบรมราโชวาท แสงแห่งพระบารมี..แก้วิกฤตชาติ


เนื่องในวโรกาสการจัดงานเฉลิมฉลองการครองราชย์ 60 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเดือนมิถุนายนนี้

"มติชน" ขออัญเชิญพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อคณะบุคคลต่างๆ ซึ่งหลายต่อหลายครั้ง ได้มีการนำพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสเหล่านี้ มาปรับใช้เพื่อช่วยในการแก้วิกฤตการณ์ในช่วงต่างๆ ของประเทศชาติ ส่งผลให้ประชาชนชาวไทยของพระองค์ได้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือในช่วงเหตุการณ์ ซึ่งเป็นที่จดจำของสังคมได้ดีตลอดช่วง 30 กว่าปีที่ผ่านมา คือ

1.วันมหาวิปโยค 14 ตุลาคม 2516

ในช่วงเวลาของการชุมนุมนั้น นายสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์ เลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ได้ติดต่อกับเลขาธิการพระราชวัง เพื่อขอเข้าเฝ้าฯ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตัวแทนนักศึกษาเข้าเฝ้าฯ ในเย็นวันที่ 13 ตุลาคม 2516

พ.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร (ยศในขณะนั้น) ได้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านต่อผู้ชุมนุม ในเวลา 04.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ความว่า...

"คนที่เป็นผู้ใหญ่นั้นเขามีประสบการณ์ ส่วนคนหนุ่มสาวมีพลังแรงทั้งร่างกายและทั้งความคิด ถ้าหากมาปรองดองสมัครสมานกัน ทำงานอย่างพร้อมเพรียงไม่ผิดใจแคลงใจกัน การบ้านการเมืองก็จะดำเนินไปได้ด้วยดี"

"นิสิตนักศึกษาก็เป็นผู้ที่ผ่านการทดสอบเลือกเฟ้นมาเป็นที่แน่นอนแล้วว่า มีทั้งสติและปัญญาพร้อมมูล จึงควรจะได้รู้ถึงความคิดผิดชอบชั่วดีทุกอย่าง"

"เมื่อนิสิตนักศึกษาได้ดำเนินการมาตรงเป้าหมาย และได้รับผลตามสมควรแล้ว ก็ขอให้กลับคืนสู่สภาพปกติ เพื่อยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดแก่ประชาชนทั่วไป"

ฝูงชนเริ่มสลายตัวหลังรับฟังพระบรมราโชวาท แต่กลับมีการสลายการชุมนุมด้วยกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหาร จนมีผู้ชุมนุมเสียชีวิตจำนวนมาก

สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น แต่ด้วยพระบารมี จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ยอมลาออกจากตำแหน่ง ในเวลา 17.20 น. เหตุการณ์จึงคลี่คลายลง

และในเวลา 19.15 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสทางวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ขอให้ทุกฝ่ายระงับความรุนแรง และทรงมีกระแสพระราชดำรัสว่า วันที่ 14 ตุลาคม เป็นวันมหาวิปโยค





มีพระบรทมราโชวาทแก่คณะประธานศาลฎีกาและศาลปกครองสูงสุด



2.เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี 2534

ผ่านยุคเผด็จการทหารไปหลายปี แต่รัฐบาลทหารก็กลับมาอีกครั้ง ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534

คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ พร้อมจัดเลือกตั้งใหม่วันที่ 22 มีนาคม 2535

เหตุการณ์คล้ายจะดำเนินไปโดยสงบ แต่กลับไม่เป็นเช่นนั้น เมื่อหลังการเลือกตั้ง พล.อ.สุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น กลับคำรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ด้วยวลีที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ"

จนเกิดความไม่พอใจ กลายเป็นชนวนเหตุให้มีการชุมนุมประท้วง นำไปสู่เหตุการณ์ "พฤษภาทมิฬ" มีการใช้กำลังทหารสลายการชุมนุมอย่างรุนแรงในช่วงวันที่ 17-20 พฤษภาคม 2535

กระทั่งในเย็นวันที่ 20 พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ พล.อ.สุจินดา และ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำผู้ชุมนุม เข้าเฝ้าฯ โดยมีการถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ และสถานีวิทยุกระจายเสียง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสความตอนหนึ่งว่า...

"..ถ้าหากว่าเผชิญหน้ากันแบบนี้ต่อไป เมืองไทยมีแต่ล่มจมลงไป แล้วก็จะทำให้ประเทศไทยที่เราสร้างเสริมขึ้นมาอย่างดีเป็นเวลานาน จะกลายเป็นประเทศที่ไม่มีความหมาย หรือมีความหมายในทางลบเป็นอย่างมาก ซึ่งก็เริ่มปรากฏผลแล้ว"

"ฉะนั้น จะต้องแก้ไขโดยดูว่ามีข้อขัดแย้งอย่างไร แล้วก็พยายามที่จะแก้ไขตามลำดับ เพราะว่าปัญหาที่มีอยู่ทุกวันนี้ สองสามวันนี้มันเปลี่ยนไป"

"ปัญหาไม่ใช่เรื่องของเรียกว่าการเมือง หรือเรียกว่าของการดำรงตำแหน่ง เป็นปัญหาของการสึกหรอของประเทศชาติ ฉะนั้น จะต้องช่วยกันแก้ไข.."

และว่า

"..ฉะนั้นก็ขอให้โดยเฉพาะสองท่าน คือพลเอกสุจินดาและพลตรีจำลองช่วยกันคิด คือหันหน้าเข้าหากัน ไม่ใช่เผชิญหน้ากัน เพราะว่าเป็นประเทศของเรา ไม่ใช่ประเทศของหนึ่งคนสองคน เป็นประเทศของทุกคน เข้าหากันไม่เผชิญหน้ากันแก้ไขปัญหา เพราะปัญหามีอยู่ ที่เวลาเกิดจะใช้คำว่า บ้าเลือด เวลาคนมีการปฏิบัติรุนแรงมันลืมตัว ลงท้ายเขาไม่รู้ว่าตีกันเพราะอะไร แล้วก็จะแก้ปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าจะต้องเอาชนะ แล้วก็ใครจะชนะ ไม่มีทาง"

"อันตรายทั้งนั้น มีแต่แพ้ คือต่างคนต่างแพ้ ผู้ที่เผชิญหน้าก็แพ้ แล้วที่แพ้ที่สุดก็คือประเทศชาติ ประชาชนจะเป็นประชาชนทั้งประเทศ"




(ภาพบน) เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

(ภาพล่าง) กลุ่มผู้ชุมนุมคัดค้านระบอบทักษิณ ปี 2549



ภายหลังจากกราบบังคมทูลลาแล้ว พล.อ.สุจินดา พล.ต.จำลอง นายสัญญา ธรรมศักดิ์ ประธานองคมนตรีในขณะนั้น และ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ องคมนตรีในขณะนั้น ได้หารือถึงทางออกร่วมกัน

หลังการหารือ พล.อ.สุจินดาและ พล.ต.จำลองได้แถลงร่วมกันทางโทรทัศน์

พล.อ.สุจินดาแถลงว่า จะปล่อยตัว พล.ต.จำลอง และออกกฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ชุมนุม และจะให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยเร็ว ส่วน พล.ต.จำลองแถลงว่า ขอให้ผู้ที่ก่อความวุ่นวายยุติการกระทำ

แม้ พล.อ.สุจินดาจะลาออกหลังจากนั้นอีก 2 วัน แต่การชุมนุมและความรุนแรงต่างๆ ก็ได้ยุติในคืนวันที่ 20 พฤษภาคม 2535

3.วิกฤตชุมนุมต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" ปี 2549

เริ่มจากการชุมนุมขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดยนายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ดำเนินรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ จนแผ่ขยายจนเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เกิดการชุมนุมใหญ่อย่างต่อเนื่อง แต่ก็เป็นไปโดยสงบตลอด

กระทั่งวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ต.ท.ทักษิณประกาศยุบสภา และกำหนดวันเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน ซึ่งถูกอดีตพรรคร่วมฝ่ายค้าน "บอยคอต" ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้ง ส่งผลให้เกิดข่าวการจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กให้ลงรับสมัครเลือกตั้ง เพื่อให้ผู้สมัครจากพรรคใหญ่ไม่ต้องเข้าเงื่อนไขการได้มาซึ่งคะแนนร้อยละ 20

รัฐบาลทักษิณชนะการเลือกตั้ง แต่ถูก "ร้องเรียน" ถึงการเลือกตั้งที่ไม่บริสุทธิ์ยุติธรรมเป็นกระบุงโกย

ทั้งหมดนี้ส่งผลเกิดความขัดแย้งทางความคิดในสังคมอย่างรุนแรง กลายเป็นสองฝ่ายที่มีความเห็นที่แตกต่างกัน

จนเมื่อวันที่ 25 เมษายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุด นำตุลาการศาลปกครองสูงสุด เฝ้าฯ และพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นายชาญชัย ลิขิตจิตถะ ประธานศาลฎีกา นำผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ เพื่อถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่

นำพาซึ่ง "แสงสว่าง" ในการปลดล็อคทุกๆ อย่างในทางการเมือง

พระบรมราโชวาทแก่คณะของศาลปกครองสูงสุด ใจความตอนหนึ่งว่า

"..บ้านเมืองไม่สามารถที่จะรอดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่ถูกต้อง ก็ขอให้ท่านไปศึกษาว่าเกี่ยวข้องหรือไม่ ท่านเกี่ยวข้องหรือไม่ แต่ถ้าท่านไม่เกี่ยวข้องท่านลาออกดีกว่า ท่านผู้ที่ได้รับหน้าที่ ท่านเป็นผู้ที่มีความรู้ เป็นผู้ที่ต้องทำให้บ้านเมืองดำเนินไปได้"

"หรือมิฉะนั้นต้องไปปรึกษากับผู้พิพากษาที่จะเข้ามาคือผู้พิพากษาศาลฎีกา ท่านก็เกี่ยวข้องเหมือนกัน ก็ปรึกษากัน 4 คน ปรึกษากับผู้พิพากษาศาลฎีกาที่จะเข้ามาใหม่ ปรึกษากับท่านก็เป็นจำนวนหลายคนที่มีความรู้ ที่มีความซื่อสัตย์สุจริต ภักดีในหน้าที่ ที่จะทำให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป.."

พระบรมราโชวาทแก่คณะของประธานศาลฎีกา ใจความตอนหนึ่งว่า

"..เดี๋ยวนี้เป็นเวลาที่วิกฤตที่สุดในโลก ฉะนั้นท่านมีหน้าที่ที่จะปฏิบัติ ปรึกษากับผู้ที่มีความรู้ เพื่อที่เขาเรียกกู้ชาติ เดี๋ยวนี้เอะอะอะไรก็กู้ชาติ กู้ชาติ กู้ชาติ เดี๋ยวนี้ยังไม่ได้จมทำไมต้องกู้ชาติ แต่ว่าป้องกันไม่ให้จมลงไป แล้วเราจะต้องกู้ชาติ แต่ถ้าจมแล้วเรากู้ชาติไม่ได้ จมไปแล้ว"

"ฉะนั้น ต้องพิจารณาดูดีๆ ว่าเราจะทำอะไร ถ้าทำได้ ปรึกษาหารือกันได้จริงๆ ประชาชนทั้งประเทศ และประชาชนทั่วโลกจะอนุโมทนา แล้วจะเห็นว่าผู้พิพากษาศาลฎีกาในเมืองไทย ยังมีเรียกว่ามีน้ำยา"

"เราเป็นคนที่มีความรู้และตั้งใจที่จะกู้ชาติจริงๆ ถ้าถึงเวลา ก็ขอบใจท่านที่ตั้งอกตั้งใจที่จะทำหน้าที่ แล้วก็ทำหน้าที่ที่ดี บ้านเมืองก็รอดพ้นไม่ต้องกู้.."

หลังจากวันนั้น ประธานทั้ง 3 ศาลคือ ศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลปกครอง ได้ประชุมร่วมกันในวันที่ 28 เมษายน และมีมติว่าจะเร่งพิจารณาคดีต่างๆ และตีความกฎหมายไปในทิศทางเดียวกัน

จนวันที่ 8 พฤษภาคม ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเพิกถอนการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้น อดีตพรรคร่วมฝ่ายค้านต่างประกาศกลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งครั้งต่อไป

และมีกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ลาออก 1 คน ทำให้ กกต.เหลือเพียง 3 คน

นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพระบรมราโชวาทและพระบารมีแห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ช่วยวิกฤตการณ์ของชาติ และยังมีพระบรมราโชวาทอีกหลายเรื่อง หลายครั้ง ที่ช่วยกระตุ้นเตือนคนไทย ให้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่และดำเนินชีวิตของตนเองไปในทางที่ถูกที่ควร ทำให้ได้รับประโยชน์สุขในชีวิต

.....มติชนรายวัน


โดยคุณ Skyman เมื่อวันที่ 20/06/2007 23:05:05


ความคิดเห็นที่ 2


ผมว่าเอาการเมืองไปให้พ้นๆบอร์ดนี้จะดีกว่านะ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไม่ควรดึงท่านมาโยงกับเรื่องการเมืองใดๆ ท่านอยู่สูงกว่านั้นมากนัก
ปล่อยให้การเมืองเป็นไปตามกลไกของมัน  เพราะทุกวันนี้เราตกอยู่ใต้อิทธิพลของสื่อ  คนจะเป็นคนดีคนเลวก็ล้วนแต่สื่อจัดให้
อยู่ที่ว่าสื่อรับผลประโยชน์จากใคร  สังเกตดูหลังปฏิวัติ ก็มีคนของสื่อที่เชียร์ปฏิวัติ ได้รับสัมปทาน และ ไปนั่งเป็นบอร์ดในรัฐวิสาหกิจมากมาย
จำได้มั๊ย..เมื่อปีที่แล้ว  การเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล ถูกเรียกจากสื่อว่า"พลังประชาชน"  แต่ปัจจุบัน กลับถูกเรียกว่า"คลื่นใต้น้ำ" ทั้งๆที่วิธีการก็แบบเดียวกัน คือ ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาล  แล้วทุกๆม๊อบก็มีการรับเงินทั้งนั้น เพราะช่วงมาม๊อบ ไม่ได้ทำมาหากิน แต่ก่อนหน้านี้ไม่เคยพูดถึง
ส่วนใครโกงไม่โกงให้ศาลเป็นผู้ตัดสินดีกว่านะ ไม่ใช่เป็นการตัดสินจากคณะตุลาการที่ตั้งมาแบบเฉพาะกิจ
ผมยังมีความเชื่อในสถาบันศาลอย่างเต็มเปี่ยม
ดังนั้น  แค่มีการกล่าวหาก็พิพากษาโดยความคิดตนเอง  บ้านเมืองถึงวุ่นอยู่อย่างนี้ 
โดยคุณ Kfpz เมื่อวันที่ 21/06/2007 12:20:49