ไม่มีความเห็น
ขอบคุณสำหรับข่าวดีๆครับ...........แต่อย่าหาว่าผมปากไม่ดีหรือคิดมากไปน่ะครับ
คืออยากขอความกรุณาให้หน่วยราชการต่างๆหรือบุคคลที่มีอำนาจที่มีหน้าที่เกี่ยวกับปัญหาภาคใต้ กรุณาอย่าให้ข่าวประเภท มีฮ.ส่งลงไปกี่ลำ , ทหารกี่กองร้อย ,ส่งทหารไปวันไหน ,จะจัดชุดคุ้มครองครู 3 คน ต่อโรงเรียน , จะออกเดินเท้ากี่โมง กลับกี่โมง, จะติดกล้องวงจรปิดกี่ตัวตรงสี่แยก หรือแม้กระทั้งข่าวแบบข้างบน ที่ว่ามีมารถกวาดเรือใบกี่คัน ส่งไปให้ที่ไหนใช้ ...........ไม่ต้องบอกได้ไหมครับพวกรายละเอียดต่างๆ
ทราบครับว่ามีหน้าที่แถลงผลงาน แต่น่าจะบอกแค่มีงบประมาณมาเพื่อการพัฒนาอะไร ใช้ทำอะไรก็พอครับ
ด้วยความเป็นห่วงครับ ....ผมเห็นนายทหารนายตำรวจหลายนายออกมาให้ข่าวแบบข้างบนบ่อยมากทางทีวีและสื่อต่างๆ ไม่ทราบว่า "กลัวว่าโจรมันจะไม่รู้หรือครับ ถึงชอบบอกจำนวน เวลาและ วัน "
จากสถานการณ์การก่อความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากฝีมือกลุ่มโจรร้ายโดยการเข่นฆ่าเจ้าหน้าที่ ประชาชนผู้บริสุทธิ์ แล้วโปรย ตะปูเรือใบ เพื่อขัดขวางการไล่ล่าจากเจ้าหน้าที่ ทำให้ยากต่อการติดตามจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ
ที่ผ่านมา การเก็บตะปูเรือใบเป็นไปด้วยความยากลำบากและเสียเวลามาก ต้องใช้ทหารกวาดใส่บุ้งกี๋นำไปทิ้ง หรือบางครั้งก็ต้องเดินเก็บกันด้วยมือทีละชิ้น สองชิ้นจนกว่าจะหมด !!
จนกระทั่ง พล.ท.ไกรศิริ บุรณศิริ เจ้ากรมการทหารช่าง จ.ราชบุรี ผู้ซึ่งคลุกคลีอยู่กับสถานการณ์ภาคใต้อยู่ตลอดเวลา เกิดแนวคิดที่จะประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่อใช้กวาดตะปูเรือใบขึ้นมา โดยเน้นวัสดุที่หาง่าย และราคาถูก จึงสั่งการให้กรมการทหารช่างที่ 21 ไปคิดค้นและเริ่มดำเนินการเมื่อเดือนมีนาคม 2549 จนกระทั่งประสบความสำเร็จได้ ชุดอุปกรณ์เครื่องกวาดตะปูเรือใบ ขึ้นมา
เครื่องกวาดตะปูเรือใบนี้ ใช้หลักการง่าย ๆ คือใช้อำนาจแม่เหล็กจากชิ้นส่วนในฮาร์ดดิสก์ของคอมพิวเตอร์เก่า ๆ มาประกอบติดกับแผงใบเหล็กแล้วประกอบเป็นโครงติดหน้ารถ แล้วใช้มอเตอร์ควบคุมการขึ้น-ลงของใบกวาด ยามที่ไม่ใช้งานก็สามารถพับเก็บขึ้นได้
ชุดอุปกรณ์ดังกล่าว ได้ ถูกประกอบเข้ากับรถยนต์บรรทุกเล็ก ทั้งสิ้น 20 ชุด ได้แก่ รถยนต์บรรทุกเล็ก TOYOTA รุ่น VIGO รถยนต์บรรทุกเล็ก CHEVROLET รุ่น COLO RADO และรถยนต์บรรทุกเล็ก ISUZU รุ่น D-MAX ใช้งบประมาณดำเนินการในราคาชุดละ 12,750 บาท แล้วนำไปให้กองบัญชาการช่วยรบที่ 4 (ส่วนแยก) จ.ปัตตานี ทดลองใช้ตั้งแต่ปีที่ผ่านมา
ในส่วนของการดำเนินการปรับปรุงรถยนต์บรรทุกเทท้าย 5 ตัน M 817 ซึ่งสามารถบรรทุกกำลังพลได้ 15 นาย ให้เป็นรถตรวจการณ์ มีเกราะ ป้องกันอันตราย ประกอบชุดเครื่องกวาดตะปูเรือใบ เพื่อส่งไปปฏิบัติภารกิจใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้น 15 คัน กรมทหารช่างที่ 21 ได้ดำเนินการปรับปรุงรถยนต์บรรทุกดังกล่าวเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2549 เพื่อวัตถุประสงค์สำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพ และขีดความสามารถในการใช้งาน โดยดำเนินการปรับปรุงและติดตั้งชุดอุปกรณ์เครื่องกวาดตะปูเรือใบ, ปรับปรุงเสริมเกราะป้องกันบริเวณห้องพลขับ, ติดตั้งเครื่องมือรื้อถอนเครื่องกีดขวางประจำรถ และปรับปรุงกระบะบรรทุก โดยมีงบประมาณ ในการดำเนินการ ราคาคันละ 58,000 บาท ซึ่ง กรมทหารช่างที่ 21 ได้ดำเนินการ ปรับปรุงแล้วเสร็จ ทดสอบการ ใช้งาน และได้นำส่งมอบให้กับ กองบัญชาการช่วยรบที่ 4 (ส่วนแยก) จ.ปัตตานี แล้วเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2549
ขณะนี้ หน่วยกองบัญชา การช่วยรบที่ 4 (ส่วนแยก) ได้รับรถยนต์บรรทุกเทท้าย 5 ตัน M 817 ปรับปรุงเป็นรถตรวจการณ์ประกอบชุดเครื่องกวาดตะปูเรือใบไปแล้วเป็นจำนวนทั้งสิ้น
12 คัน และได้ดำเนินการแจกจ่าย ไปยังหน่วยปฏิบัติงานในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างทั่วถึง
จากการติดตามและการรายงานผลพบว่าเป็นที่น่าพอใจระดับหนึ่ง ปัจจุบันกรมการทหารช่างกำลังพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยเฉพาะพื้นที่ผิวถนนที่เป็น ลูกรัง พื้นผิวขรุขระ การพัฒนาชุด แม่เหล็กเป็นแบบชิ้นเดียว เพื่อป้องกันการกระแทกของวัสดุที่อยู่บนผิวถนน โดยเป็นแม่เหล็กถาวรชนิดแรงสูง ซึ่งสามารถสั่งทำจากผู้ผลิตแม่เหล็กได้ ทำให้ง่ายต่อการผลิต และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ ยังพยายาม พัฒนาต้นแบบเพื่อให้ติดตั้งกับ ยานพาหนะได้หลายประเภท อาทิ รถดับเพลิง รถกู้ภัย รวม ทั้งยานพาหนะของประชาชน ทั่วไปด้วย
พล.ท.ไกรศิริ บุรณศิริ เจ้าของนวัตกรรมชิ้นนี้ กล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ชุดอุปกรณ์กวาดตะปูเรือใบ ถือเป็นประ โยชน์ในการแก้ปัญหาเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้ก่อความไม่สงบใช้ยุทธวิธียับยั้งและชะลอการไล่ติดตามของเจ้าหน้าที่หลังก่อเหตุ แล้วไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์ หากหน่วยงานของรัฐหรือเอกชนรายใดจะนำแนวทางนี้ไปปรับปรุงหรือผลิตใช้เพื่อนำมาแก้ปัญหา โดยสามารถติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ กรมการทหารช่างที่ 21 ค่ายภาณุรังษี จ.ราชบุรี
หวังว่าสิ่งประดิษฐ์ และการปรับปรุงยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จะเป็นวิถีทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความยากลำบากในการปฏิบัติงานของภาครัฐ ลดการสูญเสียที่เกิดขึ้นกับเจ้าหน้าที่ รวมทั้งประชาชนผู้บริสุทธิ์ ขณะเดียวกัน ก็จะช่วยสร้างความมั่นใจให้เกิดขึ้นต่อประชาชนในพื้นที่ เพื่อความร่วมมือร่วมใจกันแก้ปัญหาอย่างสุขุมรอบคอบ ทีละขั้นทีละตอน ด้วยความเข้าใจ ด้วยความรัก ด้วยความสมานฉันท์จนกว่าปัญหา ต่าง ๆ จะยุติลง
เพื่อให้สันติสุขบังเกิด ขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อีกครั้ง.
ทีมวาไรตี้
น่าเห็นใจงบไม่ค่อยมีค่อยๆทำกันไปสู้ๆ