อ่านไว้เป็นความรู้ นะครับ
มี อะไรผิด ก็ ขอโทด ด้วย นะ ครับ
เปง เรื่อง ของ สงครามโลกครั้งที่2
นะคับ
ความคิดเห็นที่ 1
"การยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดี (Normandy) ทางฝั่งทะเลด้านตะวันตกเฉียงเหนือของ ฝรั่งเศส" เป็นอีกเหตุการณ์หนึ่งที่ประวัติศาสตร์ได้จารึกไว้ว่า เป็นการวางแผนทางยุทธวิธี ที่สามารถย่นระยะเวลาการทำสงครามที่กำลังยืดเยื้อระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและฝ่ายอักษะ ให้สิ้นสุดได้เร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยฝ่ายสัมพันธมิตร (Allied Forces) มีสหรัฐ ฯ อังกฤษ (รวมเครือจักรภพ) ฝรั่งเศส และรัสเซีย เป็นแกนนำ ส่วนฝ่ายอักษะมี เยอรมัน อิตาลี และญี่ปุ่น เป็นแกนนำ
การรบในครั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ได้ให้แนวคิดทางยุทธศาสตร์ในด้านการยกพลขึ้นบกแก่ เหล่าทหารในยุคปัจจุบันเป็นอย่างดี เนื่องจากมีรายละเอียดของการรบ ตลอดจนแผนการ และยุทธวิธีของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่สามารถเอาชนะฝ่ายเยอรมันได้อย่างรวดเร็ว จึงรวบรวม มานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบในบางส่วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 16:42:15
ความคิดเห็นที่ 2
ความเป็นมาของสงคราม
มหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ เริ่มขึ้นในทวีปยุโรปก่อน โดย ฮิตเลอร์ (Hitler) จอมเผด็จการ เยอรมันได้ประกาศสงครามกับโปแลนด์ (Poland) และสั่งเคลื่อนพลมหาศาลบุกโปแลนด์ อย่างสายฟ้าแลบ เมื่อรุ่งอรุณของวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๒ จนกระทั่งขอบเขตของ สงครามขยายออกไปทั่วยุโรปครอบคลุม นอร์เวย์ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เบลเยียม
ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส รวมทั้งแอฟริกา แล้วลุกลามมายังทวีปเอเชีย เมื่อญี่ปุ่นเริ่มบุกไทย และโจมตีอ่าวเพิร์ล (Pearl Harbor) ฐานทัพเรือของสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม
พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นผลให้สงครามโลกครั้งที่ ๒ ยืดเยื้อต่อมา และสิ้นสุดลงในปี พ.ศ.๒๔๘๘ โดยเยอรมันและญี่ปุ่นยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุด
การยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่หาดนอร์มังดี (Normandy) ซึ่งเป็นแนวชายฝั่ง ทะเลด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศฝรั่งเศสนั้น ได้เริ่มขึ้นในตอนเช้าตรู่ของ
วันอังคารที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๗ ขณะที่การรบในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ได้งวดลงมาก แล้ว อิทธิพลของเยอรมันเริ่มน้อยลง แม้แต่ในทวีปแอฟริกา ที่มั่นของเยอรมัน ยังคงเหลืออยู่ เพียงแห่งเดียว คือ ในยุโรปเท่านั้น การทำลายอิทธิพลของเยอรมันในขณะนั้นให้จนมุมเช่นใช่เรื่องง่ายเลย
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 16:43:28
ความคิดเห็นที่ 3
ทำไมจึงต้องมีการยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีแห่งนี้ มีสาเหตุที่น่าพิจารณา คือ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 16:45:27
ความคิดเห็นที่ 4
๑. ก่อนหน้านี้ประมาณ ๒ ปี เมื่อรัสเซียได้ร้องขอให้สหายศึกของตน อันได้แก่นายก รัฐมนตรีของอังกฤษ วินสตัน เชอร์ชิลล์ (Winston Churchill) และประธานาธิบดีรุสเวลต์ [Franklin Delano Roosevelt (๑๘๘๒ - ๑๙๔๕) ประธานาธิบดีคนที่ ๓๒ ของสหรัฐ ฯ] เปิดแนวรบที่ ๒ ขึ้นที่ทวีปยุโรปได้แล้ว เพื่อช่วยลดความกดดันแนวรบระหว่าง รัสเซียกับ ฝ่ายอักษะให้น้อยลง แต่ฝ่ายสัมพันธมิตรก็ไม่อาจเปิดแนวรบที่ ๒ ตามที่รัสเซีย ร้องขอใน ขณะนั้นได้ เพราะทั้ง สหรัฐ ฯ และอังกฤษยังไม่มีความพร้อม คือยังมีกำลังรบไม่มากพอที่จะ เป็นเครื่องประกันชัยชนะในบั้นปลายของการรบอย่างแน่นอนได้ ดังนั้นฝ่ายสัมพันธมิตรจึง หาทางออกด้วยการเปิดแนวรบที่ ๓ ขึ้น นั่นคือ การยกพลขึ้นบกในแอฟริกา-เหนือ และใน อิตาลีเสียก่อน
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 16:46:45
ความคิดเห็นที่ 5
๒. เมื่อมีการประชุมที่คาซาบลังกา ในวันที่ ๑๔-๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๔๘๖ นายพล มาร์แชล และเสนาธิการอื่น ๆ ของสหรัฐ ฯ เห็นว่าควรข้ามช่องแคบอังกฤษ เพื่อเข้าโจมตี
ฝรั่งเศส ณ ที่ใดที่หนึ่งที่เหมาะสม ซึ่งในที่สุดก็ตัดสินใจเลือกหาดนอร์มังดี โดยให้เหตุผล ว่าถ้าการส่งกำลังบำรุงลำบากนักจนไม่สามารถดำเนินการได้ ก็สามารถเปลี่ยนแผนไปยึด แหลมบริตานี ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของฝรั่งเศสได้แทน แต่เสนาธิการฝ่ายอังกฤษไม่ เห็นด้วย และเสนอให้เลื่อนเวลาการยกพลขึ้นบกที่นอร์มังดีออกไปก่อน โดยให้เหตุผลว่าควร ทำให้กำลังทหารเยอรมันมีความอ่อนแอลงให้ได้มากกว่านี้ และยืนยันว่าหนทางที่ดีที่สุดที่จะ บรรลุเป้าหมาย และช่วยเหลือรัสเซียได้คือ ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ขอบทวีปต่อไป โดย โจมตีและยึดคืนส่วนของพื้นที่ของประเทศที่ตกเป็นของเยอรมัน ตามขอบทวีป และรอจน กระทั่งฝ่ายสัมพันธมิตรมีกำลังเข้มแข็งพอ เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าหากเปิดแนวรบ สงครามในยุโรปแล้วจะต้องได้ชัยชนะในที่สุด ในการนี้อังกฤษจึงได้พยายามดำเนินยุทธวิธี ต่างๆที่จะทำให้เยอรมันต้องถอนทหารที่ประจำอยู่ออกจากแนวรบที่ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการ แล้วเอาไปป้องกันแนวรบแห่งอื่นแทน โดยทำเช่นนี้เรื่อยไป ทั้งนี้เพื่อลดการสูญเสียในด้าน ยุทโธปกรณ์ และกำลังทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรให้ได้มากที่สุด
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:07:06
ความคิดเห็นที่ 6
๓. หลังการประชุมที่คาซาบลังกาในเดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๖ พลโท เซอร์ เฟรดเดอริค มอร์แกน ของกองทัพบกอังกฤษ ได้จัดตั้งคณะนายทหารฝ่าย เสนาธิการร่วม พร้อมกับได้จัดตั้งหน่วยงานซึ่งมีชื่อย่อว่า หน่วยคอสแซก (Cossac) มีหน้าที่ทำการสำรวจ หาดที่เหมาะสมในการยกพลขึ้นบกตั้งแต่ชายฝั่งของนอร์เวย์ลงมาจนถึง โปรตุเกส โดยจุดที่ ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษก็คือ หาดในช่องแคบอังกฤษ เพราะมีระยะทางสั้น และเรือ ที่ใช้ในการลำเลียงสัมภาระสามารถแล่นกลับไปมาระหว่างฝั่งอังกฤษ เก็บแผนใหญ่โดยใช้ เวลาน้อยกว่าที่อื่น
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:08:07
ความคิดเห็นที่ 7
อยาก อ่าน ต่อ เหรอ ป่าว คับ ถ้า อยาก อ่าน ต่อ
ก็ ช่วย ส่งเสียง หน่อย
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:13:19
ความคิดเห็นที่ 8
อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์หลักที่จะทำการยกพลขึ้นบกที่หาดนอร์มังดีนั้นก็เพื่อทำลาย กำแพงด้านแอตแลนติกของเยอรมันให้หมดไป ปฏิบัติการดังกล่าวจึงเป็นสงครามเชิงรุก เพื่อยึดดินแดนของฝรั่งเศสคืนจากการยึดครองของเยอรมัน พร้อมคืนอิสรภาพให้ชาว ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง และเพื่อปูทางสำหรับการบุกเข้ากรุงปารีสตลอดไปจนถึงกรุงเบอร์ลิน ของเยอรมันในที่สุด
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:20:07
ความคิดเห็นที่ 9
การเตรียมการก่อนการยกพลขึ้นบกของฝ่ายสัมพันธมิตร
การยกพลขึ้นบกตามแผนการบุกภาคตะวันตกเฉียงใต้ของยุโรปในครั้งนี้มีชื่อตามรหัสลับ ว่า แผนยุทธการโอเวอร์ลอร์ด (Overlord Operation) มีนายพล ไอเซนฮาวร์ (General Dwight David Eisenhower) ของสหรัฐ ฯ เป็น ผบ. ทหารสูงสุดของฝ่ายสัมพันธมิตร (เนื่องจากสหรัฐ ฯ ส่งกองทหารเข้าร่วมรบในคราวนี้มากที่สุด) พร้อมนายทหารระดับ ผู้บัญชาการรบที่สำคัญ ในแต่ละเหล่าทัพ ที่เป็นนายทหารอังกฤษทั้งหมดดังนี้ คือ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:25:20
ความคิดเห็นที่ 10
๑.ผู้บัญชาการกองทัพเรือ พลเรือเอก เซอร์ เบอร์แทรมแรมเซย์ (Admiral Sir Bertram Ramsay)
๒. ผู้บัญชาการกองทัพบก (กองทัพภาคพื้นดิน) พลเอก เซอร์ เบอร์นาร์ด มอนต์โกเมอรี (General Sir Bernard Montgomery)
๓. ผู้บัญชาการกองทัพอากาศ พลอากาศเอก เซอร์ แทรฟฟอร์ด เลห์ มัล-ลอรี (Air Chief Marshal Sir Trafford Leigh-Mallory)
๔. พลโท โอมาร์ เอ็น แบรดลีย์ (Lieutenant General Omar N Bradley) เป็นผู้บัญชาการรบในสนาม
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:31:29
ความคิดเห็นที่ 11
การยกพลขึ้นบกบุกยุโรปในครั้งนี้ ต้องใช้เวลาในการวางแผนร่วม ๒ ปีเศษ ต้องถกกันใน รายละเอียดอย่างถี่ยิบ ตั้งแต่จำนวนกระสุนปืนที่ต้องใช้ต่อทหาร ๑ คน ความจำเป็นในการใช้ เรือว่าควรเป็นกี่ลำ ลำละกี่คน เรือที่ใช้ในครั้งนี้จึงมีแบบต่าง ๆ ถึง ๖๐ แบบ จำนวนกว่า ๔,๐๐๐ ลำ ตั้งแต่เรือระบายพล เรือคุ้มกันแบบต่าง ๆ ตลอดจนเรือแบบอื่น ๆ ที่สามารถป้อน ความต้องการทุกชนิดให้แก่กำลังฝ่ายบกที่จะบุกขึ้นฝั่ง ทหารอเมริกันและทหารในจักรวรรดิ อังกฤษ รวมกันไม่ต่ำกว่า ๒,๐๐๐,๐๐๐ คน พร้อมด้วยพัสดุสงครามนานาชนิดที่มีน้ำหนักรวม กันไม่น้อยกว่า ๑๖,๐๐๐,๐๐๐ ตัน ได้ถูกนำมาใช้ในการรบครั้งนี้
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:33:51
ความคิดเห็นที่ 12
นายพล ไอเซนฮาวร์ ได้รับมอบภารกิจ เป็นนโยบายอย่างกว้าง ๆ ว่า "ให้นำกำลังทหาร เข้าไปในภาคพื้นยุโรป แล้วร่วมกับกำลังชาติอื่น ๆ โดยให้ปฏิบัติการรุกเข้าไปให้ถึงใจกลาง ประเทศเยอรมันนีให้ได้ แล้วให้ทำลายกำลังทหารฝ่ายอักษะให้หมด ตลอดจนให้มุ่งรักษา พื้นที่ที่จะอำนวยความสะดวกให้กับการปฏิบัติการภาคพื้นดินและทางอากาศ เพื่อที่จะดำเนิน การต่อข้าศึกได้ต่อไป"
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:35:29
ความคิดเห็นที่ 13
ความสำคัญยิ่งของนโยบายนี้ก็คือ ให้สงครามยุติลงโดยเร็วนั่นเอง ส่วนการวางแผน โอเวอร์ลอร์ดนั้น นับว่ามีปัญหายุ่งยากมากที่สุดในประวัติศาสตร์สงคราม กล่าวคือปัญหา ความต้องการทางยุทธศาสตร์ และปัญหาด้านการส่งกำลังบำรุง โดยสิ่งที่ฝ่ายเสนาธิการ บก. สูงสุด ของฝ่ายสัมพันธมิตรต้องพิจารณาในขั้นแรกคือ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:37:36
ความคิดเห็นที่ 14
ตำบลที่ที่จะทำการยกพลขึ้นบก และ เวลาที่เหมาะสม ขั้นต่อไปคือ การจัดหาเสบียง อาวุธยุทโธปกรณ์ และกำลังพล แล้วขนส่งไป ยังที่ที่ต้องการเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย รายละเอียดของแผนการอื่น ๆ ก็ใช้ประมวลลับทั้งสิ้น เช่น เนปจูน สำหรับการยึดหัวหาด จุดที่เข้ายึดก็มีชื่อเป็นประมวลลับ ตามลำดับจากทิศ ตะวันตกไปทางตะวันออก จำนวน ๕ หาด ได้แก่ อูทา (Utah) โอมาฮา (Omaha) โกลด์ (Gold) ยูโน (Juno) และสอร์ด (Sword) โดยกำหนดให้สหรัฐ ฯ เข้ายึดหาดอูทา และ โอมาฮา ให้อังกฤษ (รวมแคนาดาและออสเตรเลีย) เข้ายึดหาดโกลด์และยูโน ส่วนหน่วย คอมมานโดฝรั่งเศส และอังกฤษ เข้ายึดหาดสอร์ด
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:38:05
ความคิดเห็นที่ 15
ก่อนการบุก มีเครื่องบินทิ้งระเบิดอังกฤษ ๑,๐๐๐ ลำ เครื่องบินทิ้งระเบิดสหรัฐ ฯ ๑,๔๐๐ ลำ ผลัดกันโจมตีทิ้งระเบิดเป็นระลอก จากนั้นทหารหน่วยแรกจะต้องบุกยึดหัวหาด ที่เหยียดยาวไปประมาณ ๖๐ ไมล์ และลึกเข้าไปถึงประมาณ ๑๐ ไมล์ ให้ได้ ส่วนการบุกใน ครั้งนี้ใช้
เครื่องบินประจัญบาน จำนวน ๕,๐๔๙ เครื่อง
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนัก จำนวน ๓,๔๖๗ เครื่อง
เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดเบา/กลาง จำนวน ๑,๖๔๕ เครื่อง
เครื่องบินลำเลียง จำนวน ๒,๓๑๖ เครื่อง
เครื่องร่อน จำนวน ๒,๕๙๑ เครื่อง
เครื่องบินประเภทอื่น ๆ กว่า ๑,๐๐๐ เครื่อง
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:41:04
ความคิดเห็นที่ 16
นี้ ใคร เอ๋ย ?
ตอบได้ จะ โพส ต่อ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:44:19
ความคิดเห็นที่ 17
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
17/06/2007 17:45:01
ความคิดเห็นที่ 18
Zhuge_Liange เขียนว่า "การรบในครั้งนี้ ผู้เขียนเห็นว่า ได้ให้แนวคิดทางยุทธศาสตร์ในด้านการยกพลขึ้นบกแก่ เหล่าทหารในยุคปัจจุบันเป็นอย่างดี เนื่องจากมีรายละเอียดของการรบ ตลอดจนแผนการ และยุทธวิธีของฝ่ายสัมพันธมิตร ที่สามารถเอาชนะฝ่ายเยอรมันได้อย่างรวดเร็ว จึงรวบรวม มานำเสนอให้ผู้อ่านได้รับทราบในบางส่วนของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น "
รวบรวมมาเองใช่ไหมครับ ถ้าใช่ก็ขอบคุณมาก ถ้าไม่ช่วยแจ้งแหล่งที่มาด้วยครับ
โดยคุณ yoyo เมื่อวันที่
17/06/2007 23:18:18
ความคิดเห็นที่ 19
เออ ผมจำไม่ได้ แล้ว อ่ะ โทดที
เอามาจาก เวป ครับ แล้ว copy ลงใน คอม อ่ะ
แล้วผมก็นั่ง อ่าน เลยเอา มาฟาก ให้เปงความรู้
นะครับ มี อะไรผิด ก็โทด ด้วยนะ คราบๆ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:24:17
ความคิดเห็นที่ 20
แม้ว่าในขณะนั้น ฮิตเลอร์จะได้มีการจัดเตรียมแนวป้องกันตลอดแนวฝั่งทะเลของฝรั่งเศส ไว้อย่างแข็งแรงที่สุดแล้ว แต่ก็ยังพลาด เนื่องจากประมาณสถานการณ์ไว้ต่ำ โดยไม่คิดว่า ฝ่ายสัมพันธมิตรจะสามารถสร้างเสริมกำลังรบได้มากอย่างน่าพิศวง อีกทั้งยังสามารถ เตรียมการบุกขึ้นบกได้อย่างแนบเนียน โดยไม่มีข่าวหรือรายงานเล็ดลอดไปถึงฝ่ายเยอรมัน เลย นอกจากนั้นการฝึกซ้อมอย่างหนักของฝ่ายสัมพันธมิตร ก็ทำให้ทหารสามารถบุกข้าม เครื่องกีดขวางต่าง ๆ ที่เยอรมันตั้งคอยท่าไว้ได้สำเร็จ
ความไม่สบายใจของฝ่ายสัมพันธมิตรในตอนนั้น คือ กลัวแผนการจะรั่วไหล เนื่องจาก เป็นการชุมนุมพลครั้งใหญ่จึงไม่ต้องการให้เยอรมันรู้ และจำเป็นต้องมีการพรางตาข้าศึกอีก ดังนั้นจึงทำให้ทหารระดับนายพลทั้งหลายเป็นกังวลไปหมด เพราะทหารจำนวนเป็นแสนๆๆ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:37:46
ความคิดเห็นที่ 21
กับเรืออีก ๕,๐๐๐ กว่าลำ เครื่องบินร่วมหมื่นเครื่อง ที่ต้องมาชุมนุมกันอย่างคึกคักเพื่อ เตรียมการยกพลขึ้นบก ทั้งนี้ยังไม่นับรวมเครื่องสัมภาระทั้งหลายอีกมากมายจะปกปิดไม่ให้
้ฝ่ายเยอรมันล่วงรู้แผนการลับนี้ได้อย่างไร แต่ด้วยความพยายามอย่างเต็มที่สัมพันธมิตร ก็สามารถซ่อนเร้นความลับจนพ้นจากสายตาของฝ่ายเยอรมันไว้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ขณะเดียว กันฝ่ายเยอรมัน ก็กำลังใคร่อยากรู้เหมือนกันว่าฝ่ายสัมพันธมิตรจะบุกเมื่อไหร่และ ที่ไหน ซึ่งก็มีเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ว่า เยอรมันไม่รู้เรื่องการยกพลขึ้นบกครั้งนี้เลยแม้แต่น้อย แม้้ ข่าว
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:39:01
ความคิดเห็นที่ 22
ที่ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องเลื่อนกำหนดการยกพลขึ้นบก จากวันที่ ๕ มิถุนายน มาเป็นวัน รุ่งขึ้น สาเหตุเนื่องมาจากอากาศในช่องแคบอังกฤษแปรปรวนมากจนทำให้เกิดคลื่นและ ลมจัด ตามปกติดินฟ้าอากาศบริเวณช่องแคบอังกฤษนั้น ใคร ๆ รู้กันว่า "เลวร้าย" ที่สุด ในโลก จึงเป็นเหตุให้ฝ่ายอำนวยการรบมีคำสั่งให้กองเรือชุดแรกซึ่งแล่นออกจากเมืองท่า พลีมัธไปแล้วต้องเดินทางกลับทันที ส่วนฝ่ายเยอรมันนั้นไม่ทราบความเคลื่อนไหวของฝ่าย สัมพันธมิตรแม้แต่น้อย ทั้ง ๆ ที่จำต้องเลื่อนกำหนดการออกไป
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:40:56
ความคิดเห็นที่ 23
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความโชคดีของฝ่ายสัมพันธมิตร ด้วย ที่ลักษณะอากาศและทัศนวิสัยในบริเวณดังกล่าวไม่ดี จึงทำให้ฝ่ายเยอรมันประมาท อนุญาตให้ทหารประจำปืนต่อสู้อากาศยานลาพักผ่อนไป ซึ่งก็นับเป็นผลดีต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ที่กำลังป้องกันของฝ่ายตรงข้ามไม่ได้เข้มแข็งเท่าที่ควรจะเป็น
หลังจากที่ได้มีการฝึกซ้อมการยกพลขึ้นบกในประเทศอังกฤษแล้วหลายครั้ง พร้อมทั้งมี การวางอุบายลวง โดยการ "บุกขึ้นบกชนิดปลอม" ในบริเวณช่องแคบอังกฤษมาแล้วหลายหน ก่อนที่จะถึงวัน ดี-เดย์ (D-
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:43:43
ความคิดเห็นที่ 24
Day) ทำให้ทางกองบัญชาการสูงสุดของเยอรมันคาดเดาอย่าง ผิด ๆ ว่า การยกพลของฝ่ายสัมพันธมิตรคงจะต้องมีขึ้นในบริเวณมณฑล ปา-เดอ-คา-แลส์ (Pas de Calais) มากกว่า ซึ่งก็นับว่าฝ่ายสัมพันธมิตรประสบผลสำเร็จในการลวงข้าศึกให้ หลงกล จนไม่ทราบว่าจะทำการ ยกพลขึ้นบกที่จุดใดกันแน่ อย่างไรก็ตาม ความสำเร็จของ แผน "โอเวอร์ลอร์ด" จะบรรลุหรือไม่นั้น นอกจากจะขึ้นอยู่กับเรื่องดินฟ้าอากาศที่อยู่นอก เหนือการควบคุมแล้ว ยังมีสิ่งที่ฝ่ายสัมพันธมิตรต้องการที่สุดอีก ๓ ประการ เพื่อให้เป็นไป ตามแผน
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:44:57
ความคิดเห็นที่ 25
ประการที่ ๑ ในคืนก่อนวันยกพลขึ้นบกต้องมีแสงจันทร์ เพื่อการปฏิบัติงานของพลร่มทหาร ราบ จำนวน ๑๗,๐๐๐ คน ที่จะรวมกำลังกันและรุกไปยังเป้าหมายให้ได้ โดยที่ภารกิจนี้จะ ต้องกระทำให้เสร็จสิ้น ก่อนดวงอาทิตย์
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:45:31
ความคิดเห็นที่ 26
ประการที่ ๒ ในช่วงยกพลขึ้นบก สภาพทะเลต้องเรียบและอยู่ในช่วงน้ำลง เพื่อให้การยก พลขึ้นบกสะดวก และสามารถเห็นเครื่องกีดขวางที่วางอยู่ใต้น้ำ เพื่อจะได้ทำการระเบิด ทำลายได้ ส่วนในช่วงที่เรือเกยหาดครั้งแรกควรเป็นช่วงเวลาที่น้ำขึ้น เพื่อประโยชน์ในการ ขนถ่ายคนและสิ่งของ แล้วถอยกลับไปได้โดยไม่ติดแห้ง
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:46:25
ความคิดเห็นที่ 27
ประการที่ ๓ สภาพอากาศควรชัดเจน แจ่มใส เพื่อให้ฝูงบินปฏิบัติการ สามารถสนับสนุน การยกพลขึ้นบกได้อย่างเต็มที่
ดังนั้นเมื่อใกล้กำหนดของเช้าตรู่วันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๘๗ ตามวันเวลาที่ นายพล ไอเซนฮาวร์ ได้เลือกแล้วนั้น พลร่มทหารราบทั้ง ๑๗,๐๐๐ คนจะต้องเตรียมตัวโดยกระจาย กันอยู่ในสนามบินประเทศอังกฤษ ราว ๒๐๐ สนาม เพื่อรอเตรียมรับคำสั่งให้ออกเดินทาง จากท่าเรือ บริเวณช่องแคบอังกฤษ ส่วนทหารประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ คน รวมทั้งทหารหน่วย จู่โจมยกพลขึ้นบกอีก ๓,๕๐๐ คน จะต้องมีความพร้อม โดยอัดกันอยู่ในเรือ ทั้งนี้กำลังทหาร ฝ่ายสัมพันธมิตรที่พร้อมในขณะนั้นมีดังนี้ คือ
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:46:58
ความคิดเห็นที่ 28
-ทหารราบ จำนวน ๕ กองพล
- ทหารราบ (หน่วยสนับสนุน) จำนวน ๒ กองพล
- ทหารอากาศ จำนวน ๒ กองพล
- ทหาร จำนวน ๒๐ กองพล เข้ายึดพื้นที่
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:52:08
ความคิดเห็นที่ 29
ในขณะที่ก่อนวันยกพลขึ้นบก ๑ วันนั้น ฝ่ายอักษะ (เยอรมัน) ซึ่งทำหน้าที่เฝ้าระวังหาด นอร์มังดี มีกำลังทหารราบอยู่เพียง ๓ กองพลเท่านั้น
การเตรียมการของฝ่ายอักษะ (เยอรมัน)
จากการเปิดเผยของกองเสนาธิการ กองบัญชาการกองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรทราบว่าเยอรมัน เตรียมกำลังและอาวุธไว้ดังนี้
- กำลังทหารราบ จำนวน ๕ กองพล
- กำลังรถเกราะไม่ต่ำกว่า ๑ กองพล
- กองบินประจัญบาน ที่ ๒๖
- รถเกราะกำลังสำรองอีกไม่ต่ำกว่า ๒ กองพล
- นอกจากทหารเยอรมันแล้ว ยังมี "ทหารอาสาสมัคร" (ชาวโปแลนด์ เชโกสโลวะเกีย
รัสเซีย ผู้ซึ่งเยอรมันไม่ค่อยจะไว้ใจเท่าใดนัก)
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:52:46
ความคิดเห็นที่ 30
[ใครมีสาระดีๆก้อช่วยกันมั่งก็ได้นะครับ]
วันนี้เนื่อยและ พอก่อน วันหลังจะมาโพสอีก
โดยคุณ Zhuge_Liange เมื่อวันที่
18/06/2007 10:54:32