หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กำลังมีผลต่อการพัฒนาทั่วโลก

โดยคุณ : น่าคิด เมื่อวันที่ : 11/06/2007 00:40:54

เชิญอ่านครับ

จะเรียกว่าข่าวดี หรือ ข่าวร้าย

 





ความคิดเห็นที่ 1


คนไทยตกยุคสังคมไอที หากไม่รีบพัฒนาอีก 15 ปีเวียดนามแซงแน่

นักเศรษฐศาสตร์ระดับโลกเผยรายงานการพัฒนาไอซีทีของไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ของโลก แจงโครงสร้างพื้นฐานและภาคประชาชนยังไม่พร้อมกับสังคมไอที ด้าน ผอ.ซอฟต์แวร์ปาร์ค แนะต้องเปลี่ยนทัศนคติให้ผู้นำหันมาใส่ใจไอซีทีมากขึ้น พร้อมเร่งรัดพัฒนาคน ดึงเทคโนโลยีและบุคลากรต่างชาติช่วย หากไทยไม่เร่งพัฒนาอีก 15 ปีรับรอง โดน "เวียด" แซงแน่
      
       บ.ไมโครซอฟต์ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) จัดงานประชุมนวัตกรรมสำหรับประเทศไทย (Innovation Forum Thailand 2007) ขึ้นเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. ณ โรงแรมคอนราด กรุงเทพฯ มีนักวิชาการและนักธุรกิจร่วมงานราว 100 คน
      
       นางเจนนิเฟอร์ แบลงกี (Jennifer Blanke) นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส และหัวหน้าโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถทั่วโลก เวทีการประชุมเศรษฐกิจโลก (World Economic Forum: WEF) กล่าวว่า จากรายงาน สังคมยุคใหม่ที่มีศักยภาพแข่งขันในเวทีโลกได้จะต้องเป็นสังคมที่มีนวัตกรรมและความชำนาญเป็นตัวขับเคลื่อน ซึ่งเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จะมีความเกี่ยวพันกับการพัฒนาประเทศมาก โดยการสำรวจ 122 ประเทศทั่วโลก ประเทศที่มีศักยภาพทางไอซีทีมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ เดนมาร์ก สวีเดน สิงคโปร์ ฟินแลนด์ และสวิตเซอร์แลนด์ ส่วนไทยอยู่ในอันดับที่ 37 ตามหลังประเทศร่วมภูมิภาคอย่างฮ่องกง ไต้หวัน จีน ญี่ปุ่น และมาเลเซีย
      
       อย่างไรก็ดี นางแบลงกี เผยว่า ประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีจุดแข็งด้านไอซีทีพอสมควร โดยมีนโยบายภาครัฐที่ดีเป็นอันดับที่ 10 ของ 122 ประเทศ ภาคธุรกิจมีความพร้อมด้านไอซีทีสูง และประเทศไทยมีอันดับความแข็งแรงด้านนวัตกรรมที่ดีพอใช้ในอันดับที่ 33 จากทั้งหมด แต่ยังมีจุดอ่อนคือ ผู้ใช้งานรายบุคคลที่ยังเข้าไม่ถึงเทคโนโลยีไอซีทีนัก และโครงสร้างพื้นฐานยังไม่เข็มแข็งเพียงพอ เช่น กฎหมาย และการตลาด
      
       ด้าน ดร.รอม หิรัญพฤกษ์ ผอ.เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์ปาร์ก) และรอง ผอ.ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (ทีเอ็มซี) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เผยว่า ประเทศไทยยังต้องเร่งรัดการพัฒนาไอซีทีมาก เพราะปัจจุบันเรายังขาดความพร้อมหลายอย่าง เช่น กฎหมายที่ล่าช้า แต่จุดที่ต้องเร่งแก้ไขเป็นอันดับแรกคือการเปลี่ยนทัศนคติของผู้นำประเทศและสังคมให้เห็นความสำคัญของไอซีทีมากขึ้น ซึ่งหากปรับทัศนคติได้ก็จะเป็นจุดที่ชักนำให้เกิดความสำเร็จติดตามมา
      
       ดร.รอม กล่าวด้วยว่า สำหรับประเทศไทยจำเป็นต้องมีการพัฒนาวงการไอซีทีเช่นซอฟต์แวร์และผลิตกำลังคนมากขึ้น ควบคู่ไปกับการนำเข้านวัตกรรมไอซีทีใหม่ๆ ที่ยังไม่มีในประเทศมาใช้ก่อน เช่น การนำระบบอี-บุ๊คกิ้ง มาใช้กับการจองห้องพักและโต๊ะอาหารในภาคการบริการอย่างแพร่หลาย ซึ่งเป็นส่วนที่สร้างมูลค่าเพิ่มได้มหาศาลแม้จะต้องนำเข้าวิทยาการมาใช้ก่อนในเบื้องต้น แต่จากบทเรียนที่ผ่านมาก็เชื่อได้ว่าคนไทยจะสามารถเรียนรู้และพัฒนาเทคโนโลยีของตัวเองตามมาได้ โดยเป็นแนวการพัฒนาที่หลายประเทศใช้แล้ว ไม่เว้นแม้แต่ศรีลังกา กัมพูชา และลาว ซึ่งอีกกลไกหนึ่งคือการวางกลไกเพื่อดึงดูดผู้เชี่ยวชาญต่างชาติให้มาทำงานกับคนไทยมากขึ้นเช่นตัวอย่างของสิงคโปร์ เพื่อเป็นทางลัดการพัฒนาวงการไอซีทีไทย ซึ่งอาจเป็นการลงทุนสูงในระยะสั้นแต่ก็จะมีผลดีมหาศาลและยาวนานถึงลูกหลานในอนาคต
      
       ส่วนนายบ็อบ เฮย์วาร์ด (Bob Hayward) ที่ปรึกษาผู้จัดการ บ.สตราท ?อีเทค บางกอก (Strat ?etech Bangkok) และอดีตรองประธานอาวุโสและผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัย บ.การ์ทเนอร์ เอเชีย-แปซิกฟิกแอนด์เจแปน (Gartner Asia Pacific & Japan) กล่าวว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องเริ่มการพัฒนาไอซีทีของประเทศโดยเร็ว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้กับประเทศได้ เพราะที่ผ่านมาการพัฒนาด้านนี้ของไทยยังล่าช้าเกินไป หากเปรียบเทียบกับเวียดนามซึ่งเป็นเพื่อนบ้านไทยแล้ว แม้แต่ค่าบริการและการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเวียดนามก็ยังดีกว่าประเทศไทย โดยหากไม่มีการเร่งรัดพัฒนา อีกไม่เกิน 15 ปี เวียดนามก็จะแซงไทย

อ้างอิงจาก : ผู้จัดการออนไลน์

โดยคุณ น่าคิด เมื่อวันที่ 10/06/2007 12:57:55


ความคิดเห็นที่ 2



ล่าช้าสุดๆ ครับ

บ้านผม อยู่ที่ปราจีน
ปัจจุบันนี้ยังไม่มี ADSL เจ้าไหนเข้าถึงเลย
มันมาสุดแค่ อ.เมือง -*-

โดยคุณ Zepia เมื่อวันที่ 10/06/2007 23:11:19


ความคิดเห็นที่ 3


กําใหญ่

 

โดยคุณ laserxboy เมื่อวันที่ 11/06/2007 00:40:54