เมื่อนานมาแล้ว...สมัยน้าชาติเกือบได้ของสวีเดนมาเชยชม
แต่ยุค พศ.พอเพียงอย่างนี้....ทร.จะเลือกใคร...หรือยังอยากได้ของสวีเดนอยู่ ( เยอรมันก็ไม่เลวนะ...ผมเชีร์ยเต็มที่เลย )
ภาพแรก....นั้นเป็น GOTLAND ของสวีเดนครับ......
ส่วนอันที่โพสต์ภาพหลังเนี่ย.. 209 ของเยอรมัน....แต่ 209 มันมีหลายเวอร์ชั่นเหลือเกิน...เอาแค่เวอร์ชั่นนี้ก่อนก็แล้วกัน
ชอบเหมือนกันเลยครับคุณเด็กทะเล ทั้งอาร์เมอร์ และ อู-214
ยุคนี้ พ.ศ. นี้ ด. ดีเซลไฟฟ้าของรัสเซียถือว่าคุณภาพดีที่สุดชาติหนึ่ง ราคาถูกกว่าของชาติตะวันตก ประสิทธิภาพสูงกว่าหรือเท่ากัน ความคงทนและเชื่อถือได้ของเครื่องยนต์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ไม่ทราบ แต่น่าจะอยู่ในขั้นดี เพราะถ้า ด. ห่วย มันคงดำแล้วไม่โพล่ สรุปว่า เหลือแต่ทัศนคติของเราที่มีต่อระบบอาวุธจากรัสเซียเท่านั้น
ถ้ายังไม่มั่นใจในรัสเซีย ก็เหลือแต่เรือ สเปน เยอรมัน และสวีเดนนี่แหละครับ ที่สเปคน่าจะโดนใจ ท.ร.
ขออย่าให้ ด. เรามาจากจีนเป็นพอ โอเคครับสำหรับเรือผิวน้ำ แต่เรือดำน้ำเนี่ย ขอแบบที่มันชัวร์ (มากๆๆๆๆ) ดีกว่าครับ
โครงการ 4 ลำ คงแบ่งไว้อ่าวไทย 2 อันดามัน 2 ผลัดเปลี่ยนกันออกทะเลครั้งละ 1 ลำ พอดี ๆ ครับ
ว่าแต่จะเอาเงินเอางบมาจากไหนกันเนี่ย ?
แหม..ชอบเหมือนกันเลยนะครับ พี่เสือใหญ่ แล้วชอบเพลง ผีกาก้า เหมือนผมด้วยหรือเปล่าครับ ฮิ ฮิ
ใช้ชื่อชั้นมัจฉานุ ใหม่อีกครั้งด้วย ถ้าฝันเป็นจริงเมื่อไร อยากให้ยิงฮาร์พูน หรือ Exoxet mm.40 ได้ด้วย หรือถ้าเป็นของรัสเซียก็ดีครับ ขนาดไอ้กันยังเกรงๆเลย
จีนนั้นคงต้องใช้เวลาอีกสักพักครับที่จะมี Technology เรือดำน้ำสูงพอที่จะสร้างเพื่อส่งออกได้ แต่จากประสบการณ์ในการต่อเรือชั้นต่างของจีนในอดีตมาจนถึงเรือชั้นหยวน ที่กำลังพัฒนาอยู่นี้อนาคตของเรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าจีนยุคใหม่ที่มีสมรรถนะสูงก็อาจจะใกล้เป็นความจริงครับ
ผมขอแปลกมั่ง ผมเชียร์Gotland Classนะครับเหตุผลนะเหรอ สวยดี แล้วเทคโนโลยีก็ไม่ด้อยไปกว่ารัสเซียเลย
วันที่ xx เดือน มิ.ย. 2475
ตามที่กองทัพเรือ ได้กำหนดสเปค เรือดำน้ำตามแผนพัฒนา 9 ปี (ที่เป็นหมัีนไปแ้ล้ว) ทางกองทัพเรือแฟนคลับ จึงได้ทำการสรุปสเปค เรือ มาเพื่อให้ิิพิจารณา
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา และอนุมัติ
โปรดฟังอีกครั้งหนึ่ง...
juldas
ทะเลไทยก็มีโลมาหลายสายพันธุ์ในเอ่อ มีทั้งสองฝั่งด้วยแหละ
ลำข้างล่างเนี่ยะ ยังพอมีลุ้นมั้ย..
คุณ juldas หรือท่านใดพอมีข้อมูลราคาของ ด. ในตารางข้างบนบ้าง รบกวนช่วยโพสด้วยนะครับ ขอบคุณครับ
ความลึกของอ่าวไทยเฉลี่ย 45 เมตร ลึกสุด 80 เมตร ด. ดีเซลไฟฟ้าขนาดสองพันตันปฏิบัติการได้แน่นอน เราไม่ต้องย้อนไปดูบันทึกการปฏิบัติของ ด.ในอ่าวไทยถึงสมัยสงครามโลกหรอกครับ เอาแค่ พ.ศ. นี้ ปัจจุบันนี้ก็ได้ ก็เวลาฝึกร่วมกับท.ร. เมกันไหง เรือเราก็ได้ฝึกค้นหา ด. ของเมกันในอ่าวไทยด้วย ทำกันเป็นประจำ แล้วขนาด ด. เล็กสุดของเมกันมันเท่าไหร่ มันยังเอาเข้ามาดำพุดดำว่ายอยู่ในอ่าวไทยได้เลย ฉะนั้น ผมว่าไม่ต้องเป็นห่วงหรอกครับว่า ด. ดีเซลไฟฟ้าเล็ก ๆ ขนาดไม่เกินสองพันตันจะไม่สามารถปฏิบัติการในอ่าวไทยได้ สบายมากครับ
เท่าที่ทราบ การตรวจจับ ด. ด้วยโซน่าร์สารพัดแบบทั้งแบบประจำที่และลากท้าย รวมถึงทุ่น (โซโนบุย) ด้วย ต่างก็ให้เปอร์เซ็นต์ความสำเร็จในการตรวจจับค่อนข้างต่ำจากหลายปัจจัย หลายท่านเคยโพสอธิบายให้ทราบกันไปแล้ว ส่วนการถูกพบเห็นโดย บ. ก็อาจเป็นได้ถ้า ด. นั้นดำอยู่ใกล้ผิวน้ำ ด. จึงถือเป็นระบบอาวุธที่ ท.ร. ไทยสมควรจะมีไว้ประจำการเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเอาไว้เฝ้าตรวจ ป้องปราม และทำลาย โดยการหลบหลีก ซ่อนพลาง และตุ้ยด้วยหมัดน๊อคมหาประลัยอย่าง ต. ขนาด 21" ขึ้นไป หรืออาวุธปล่อยนำวิถี
ส่วนการถูกตรวจจับโดยระบบวัดความเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็กโลกที่เป็นหางยาว ๆ อยู่ด้านท้าย บ. เอส-2, พี-2, พี-3, แอตแลนติส ฯลฯ อันนี้ผมไม่รู้ว่าประสิทธิภาพมันจะเป็นอย่างไร หากท่านใดพอมีวิชาความรู้ในเรื่องนี้รบกวนขยายให้ฟ้งด้วยครับ ขอบคุณครับ...
ราคา ด. เท่าที่ ค้นหาดู จะได้ประมาณนี้ครับ...เรือใหม่ อยู่ระหว่าง 500 ล้านเหรียญต่อลำ
ส่วน Dolphin ยัง งง..และสับสน...เท่าที่ค้นมาได้ อิสราเอล สั่งซื้อ ด. ชั้น Dolphin ใหม่ จาก เยอรมัน มูลค่าลำละกว่า 700 ล้านเหรียญ...เลยเป็น..ว่า Dolphin ที่ อิสราเอล เสนอขายให้ ทร. เมื่อก่อน เป็นเรือเก่าของ อิสราเอล รึเปล่าครับ...ลืมไปแล้ว...
และ ถ้าอย่างนั้น A-19 Gotland ที่ สวีเดน เสนอขายให้ ทร. ไทย ก็เป็น เรือเก่าของ สวีเดน เช่นเดียวกันรึเปล่า...
และเท่าที่ลองค้นหาดู เรือชั้น Gotland ทร.สหรัฐ ได้ขอเช่าทดสอบประสิทธิภาพ จากสวีเดน เป็นเวลา 1 ปี โดยที่รู้สึกจะเน้นเป็นพิเศษ คือ ระบบ AIP (Air Indepedence Proplusion) (ดำน้ำแบบไม่ต้องโผล่มารับอากาศในระยะเวลานาน) ที่ภาษาอังกฤษ งู ๆ ปลา ๆ ของผม เหมือนกับว่า เป็นระบบที่น่าจะมีประสิทธิภาพมาก จน สหรัฐ ต้องขอเช่ามาศึกษา...คราวนี้ เลยไม่แน่ใจว่า ระบบ AIP ในเรือชั้นอื่น ๆ แม้จะเป็นรุ่นใหม่แบบ TYPE 214 หรือ Scorpene ว่าจะมีประสิทธิภาพเพียงพอแล้วหรือยังครับ...
ต้องขอข้อมูล จากผู้รู้เพิ่มเติมให้ด้วยครับ...
อืม ของอาตี๋ตามที่ท่านนีโมบอก ก็มีทางเป็นไปได้ แต่ถ้าซื้อมาจริงๆ แล้วปัญหาจะตามมาเยอะหรือไม่ อันนี้เป็นที่น่าติดตามชมกันต่อไป อย่างที่ผมเคยบอกไปหลายๆครั้ง ว่าตอนนี้ใครๆมักมองว่าของจีนเป็นเกรด C แต่เท่าที่ดูก็มีการพัฒนาปรับปรุงขึ้น คิดว่าภายภาคหน้า อาจจะเป็นสินค้าคุณภาพก็ได้ ครับ แต่ตอนนี้ขอรับไว้พิจารณาก่อน(ทำไงได้ประเทศเราไม่รวย)
เหมือนของเกาหลี เมื่อก่อนโดนดูถูกแทบตายเดี๋ยวนี้เป็นไง Samsung เป็นเกรด A ไปแล้ว ทั้ง TV,มือถือ
แต่อานุภาพ เรือดำน้ำของอาตี๋ก็ใช่ย่อยไม่ใช่หรือครับ เคยทำเอาพญาอินทรีเต้นเร่าๆ มาหนนึงแล้ว ที่เอาเรือไปโผล่ไกล้ๆเย้ย เรือบรรทุกเครื่องบินคิตตี้ฮอล์ก
ของ อาตี๋ ผมว่าสำหรับเรือ ด. แล้ว...ถึงอยากได้ ก็ไม่น่าจะได้น่ะครับ....เพราะทางจีน เอง ยังอยู่ระหว่างพัฒนา โดยเฉพาะ ระบบ AIP ยังไม่มีข้อมูลว่า ประสบความสำเร็จหรือยังครับ...และรู้สึกว่า สำหรับกองเรือจีน เอง ก็ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปี กว่าจะได้ประจำการครบ ตามจำนวน....
ถ้าให้เดา....ในเงื่อนไขที่ยังไม่มีงบสำหรับเรือใหม่ ซิง ๆ....แต่พอจะมีงบให้บ้าง....ผมว่า น้อง โลมา จาก อิสราเอล หรือ น้อง Gotland จาก สวีเดน ด.เก่า นำมาปรับปรุงใหม่...น่าจะเป็นตัวเลือกในลำดับต้น ก่อนล่ะครับ...โดย น้อง Gotland น่าจะเป็นคนนำ...เพราะ สิงคโปร์ ก็มี ด.จาก สวีเดน ประจำการอยู่กว่า 6 ลำ (ปัจจุบัน 4 อนาคตอีก 2 แต่รู้สึกว่าจะนำมาประจำการทดแทนของเดิม เลยน่าจะมี 4 เท่าเดิม)
เรื่องการต่อเรือผิวน้ำจากจีน...แล้วมาติดระบบอาวุธตะวันตกเนี่ย..ในภาวะที่ได้งบประมาณเพียงน้อยนิดเนี่ย..ก็เหมาะสมพอยอมรับได้นะ....แต่เรื่องเรือดำน้ำเนี่ย...มันควรจะต้องคำนิงถึง...ความปลอดภัยความเชื่อถือได้ของตัวเรือ , อุปกรณ์ และ..เทคโนโลยีของประเทศที่เราจะซื้อให้มากๆนะครับ.......ถ้าเอาแต่ของถูกอย่างเดียว ...มันจะไม่คุ้มกับชีวิตของกำลังพลเรานะครับ....