หน้าแรก    ตั้งกระทู้ใหม่   ตอบคำถาม    เข้าสู่ระบบ      


ขอถามเรื่อง Stuka และ Luftwaff

โดยคุณ : Yuri Alexandrovish Orlov เมื่อวันที่ : 04/06/2007 21:40:20

สงสัยจากหนังสือของท่านพล.อ.ต ปรีชา ศรีวาลัยน่ะครับ

1. สตูก้า(Stuka) ของเยอรมัน ถือว่า เป็นเครื่องบินดำทิ้งระเบิดที่บรรทุกได้หนักที่สุดในสงครามโลกครั้งที่สองหรือไม่ครับ เพราะเห็นว่าบรรทุกได้ตั้ง1,800กิโลกรัมหรือ3,980กว่าปอนด์ ในขณะที่เครื่องดาวน์เทรสและเฮลไดรฟ์เวอร์ของอเมริกา และ ฮอร์กเกอร์ ของอังกฤษ บรรทุกได้2,200ปอนด์ หรือ1,000กว่าปอนด์

2. สตูก้า มีแบบแผนการออกแบบมาจากเครื่องบินแบบใดครับ ในหนังสือกองพันเดนนรกที่แปลโดยคุณสรศักดิ์ สุบงกช ได้แทรกทิปไว้ว่า สตูก้าออกแบบมาจากเฮลไดรฟ์เวอร์ของอเมริกา แต่พอไปเปิดเว็ปดูก็บอกว่า เฮลไดรฟ์เวอร์ออกแบบหลังสตูก้า และอเมริกาไม่เคยส่งเฮลไดร์เวอร์ออกรบในยุโรปเลย แต่ในหนังสือของท่านปรีชาบอกว่า มันออกแบบมาจากเครื่องบินดำทิ้งระเบิดแบบ เคอร์ติส ที่เยอรมันซื้อมาจากอเมริกา2ลำก่อนสงครามโลก

3. นอกจากติดปืน20มม. 2กระบอกเพื่อโจมตีภาคพื้นดินและติดปืน37มม.2กระบอกเพื่อปราบรถถังแล้ว เยอรมันยังมีการดัดแปลงสตูก้าเป็นรุ่นต่างๆอีกหรือไม่ครับ

4. ลุฟต์วาฟ หรือกองทัพอากาศเยอรมันมีแผนที่จะสร้างเครื่องบินทิ้งระเบิดหนัก4เครื่องยนต์หรือไม่ครับ เพราะนอกจาก ไฮน์เกล 177 แบบ2เครื่องยนต์ ก็ไม่มีเครื่องบินใดๆของเยอรมันที่บรรทุกได้หนักปานนี้เลย

5. เยอรมันเคยผลิตเครื่องบินขับไล่รุ่นใดๆที่มีอานุภาพสูงกว่า Me 109 และ Fw 190 (ไม่ใช่ผู้หมวดFW-190ของบอร์ดเรานะ) หรือไม่ครับ

 

ขอความกรุณาด้วยครับ





ความคิดเห็นที่ 1


4. มี จุงเกอร์ จู 390  บินทิ้งระเบิดขนาด 6 เครื่องยนต์  อีกรุ่นใช้ลาดตระเวณทางทะเลแบบ   FW 200 คอนดอร์ ใช้ยิงจรวดแบบ  Hs 293  พวกนี้ใหญ่กว่า HE-111 JU 88 มากมายครับ

 

โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 29/05/2007 21:30:26


ความคิดเห็นที่ 2


คุณ Yuri Alexandrovish Orlov ครับ

รอหน่อยนะครับ ผมแจ้งพี่โต ไปแล้ว (สรศักดิ์ สุบงกช)ว่ามีคนอ้างถึง หนังสือกองพันเดนนรก เกี่ยวกับเรื่องนี้  คิดว่าเดี๋ยวพี่โต คงมาตอบในรายละเอียดครับ

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 29/05/2007 21:24:53


ความคิดเห็นที่ 3


5.ตอบ รุ่นที่ดีกว่าก็เครื่องเจ็ตเครื่องแรกของโลกไงครับMe262ที่ท่านฮิตเลอร์สั่งทำเป็นเครื่องโจมตีทิ้งระเบิด(ทั้งๆที่ทำเป็นเครื่องขับไล่จะดีกว่าแต่บทบาทเครื่องทิ้งระเบิดก็ได้ผลไม่ใช่น้อย)ส่วนแบบอื่นก็น่าจะเป็นเครื่องเจ็ตอีกเหมือนกับเช่นMe163โคเม็ทกับHs162ซาลามานเดอร์ ส่วนบ.ใบพัดแบบขับไล่น่าจะเป็นฟอคเค่ วูลฟ ทา 152ติดปืน30มม.ครับ

โดยคุณ tan02 เมื่อวันที่ 29/05/2007 20:14:01


ความคิดเห็นที่ 4


ผมว่ามันน่าจะได้แรงบันดาลใจจาก SB2U Vindicator มากกว่าเจ้าเฮลฯ นะครับ

ส่วนเรื่องบอม์บเบอร์ขนาดหนักของเจอร์รี่ มีอยู่สองรุ่นเด่น ๆ ครับ ตัวแรก JU-290 Sea Eagle อีกตัวก็ FW-200 Condor

รูป JU-290


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 29/05/2007 22:01:14


ความคิดเห็นที่ 5


รูป FW-200 ครับ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 29/05/2007 22:02:18


ความคิดเห็นที่ 6


FW-200 อีกรูปครับ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 29/05/2007 22:03:04


ความคิดเห็นที่ 7


สเปคคร่าว ๆ พอสังเขป เทียบกับ B-17 Frying Fortress ของเมกันเค้า

?

?

JUNKER JU-290B-2

Long-Range Transport and Reconnaissance Bomber

?

เครื่องยนต์ BMW 801 E สูบดาว 4 เครื่อง ๆ ละ 1,970 แรงม้า

น้ำหนักตัวรวมบรรทุกสูงสุด 50,500 ก.ก. (ภารกิจบอม์บเบอร์ เปร์โหลดระเบิด 3,000 ก.ก. หรือ 3 จรวดนำวิถี Hs 293, 294 หรือ FX-1400 Fritz)

ความเร็วสูงสุด 273 ก.ม. / ช.ม.

พิสัยบินไกลสุด 8,000 ก.ม.

ปืนใหญ่อากาศ MG 151 ขนาด 20 ม.ม. x 4 กระบอก

ปืนกลอากาศ MG 131 ขนาด 13 ม.ม. x 4 กระบอก

?

FW-200C-3 / U4

Long-Range Reconnaissance Bomber

?

เครื่องยนต์ BMW/BRAMO 323R สูบดาว 4 เครื่อง ๆ ละ 1200 แรงม้า

น้ำหนักตัวรวมบรรทุกสูงสุด 22,700 ก.ก. (ภารกิจบอม์บเบอร์ เปร์โหลดระเบิด 3,000 ก.ก. หรือ ภารกิจลำเลียง บรรทุกทหารพร้อมอาวุธได้ 30 นาย)

ความเร็วสูงสุด 360 ก.ม. / ช.ม.

พิสัยบินไกลสุด 4,440 ก.ม.

ปืนใหญ่อากาศ MG 151 ขนาด 20 ม.ม.

ปืนกลอากาศ MG 131 ขนาด 13 ม.ม. x 4 กระบอก

?

B-17 G Flying Fortress

Long-Range Medium Bomber / Reconnaissance

?

เครื่องยนต์ Wright R-1820-97 สูบดาว 4 เครื่อง ๆ ละ 1200 แรงม้า

น้ำหนักตัวรวมบรรทุกสูงสุด 29,710 ก.ก. (ภารกิจบอม์บเบอร์ เปร์โหลดระเบิด 7,983 ก.ก.)

ความเร็วสูงสุด 462 ก.ม. / ช.ม.

พิสัยบินไกลสุด 3,219 ก.ม.

ปืนกลอากาศขนาด 12.7 ม.ม. x 13 กระบอก


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/05/2007 18:34:34


ความคิดเห็นที่ 8


สังเกตุดูซิครับว่า ระหว่างบอม์บเบอร์เยอรมันกับอเมริกัน มีอะไรที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนบ้าง ?

?

คำตอบแรกคือจำนวนปืนที่ลุงแซมจะพกติดตัวไปสำหรับป้องกันตนเอง จะมีมากกว่าของเจอร์รี่มากครับ เนื่องจากในระยะแรก ๆ ของการเข้าบอม์บแผ่นดินเยอรมัน บี-17 มีภารกิจหลักที่จะต้องบินฝ่าบรรดาฝูงอินเตอร์เซ็ปของเยอรมันเข้าไปทิ้งระเบิดเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ลึกเข้าไปในแผ่นดินเยอรมันกลางวันแสก ๆ โดยไม่มีฝูงเอสคอร์ท แบบว่าไปตัวคนเดียวก็ต้องพกปืนให้เป๋าตุงไว้ก่อนนั่นแหละครับ (อังกฤษรับภารกิจกลางคืน ใช้แลงคาสเตอร์ และ ฮาลิแฟกซ์ เป็นหลัก) จนกระทั่งมัสแตง P-51 ปรากฎตัวขึ้นนั่นแหละครับ ทีนี้ละ เยอรมันราบเป็นแถบ ๆ

?

ต่อมาก็เรื่องของพิสัยบินครับ ภารกิจหลักของ บี-17 ในยุโรปคือ บินขึ้นจากอังกฤษไปบอม์บเยอรมัน จึงไม่จำเป็นต้องมีพิสัยบินไกล ๆ มากนัก เก็บ payload ส่วนของน้ำมันไว้โหลดระเบิดแทนเยอะ ๆ ดีกว่า

?

เมื่อเทียบกับของเยอรมันแล้ว ทั้ง JU-290 และ FW-200 ต่างก็มีภารกิจต่างไปจาก บี-17 โดยสิ้นเชิง คือ เยอรมันตั้งใจจะใช้เจ้าเครื่องบินสองแบบนี้สำหรับถล่มคอนวอยของเมกันในมหาสมุทรแอตแลนติก รวมถึงการรข้ามแอตแลนติกไปถล่มเมืองชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกของเมกาด้วย โดยจะใช้ฝรั่งเศสและนอร์เวย์เป็นฐานปฏิบัติการ จึงต้อง payload น้ำมันเยอะ ๆ สำหรับบินไกล ๆ เหลือไว้สำหรับบรรทุกระเบิดนิดเดียว (3 ตัน ของน้องจูกับพี่เอฟดับบลิว เทียบกับเกือบ 8 ตันป้อมบินแยงกี้)

?

?

สุดท้ายเกือบลืมครับ รูป Vought SB2U Vindicator ? Scout & Dive Bomber เห็นไม่เต็มลำนะแต่สีสวยได้ใจครับ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/05/2007 18:36:09


ความคิดเห็นที่ 9


เนื่องจากมีพี่โต มีปัญหาทางเทคนิคเล็กน้อย สมัครสมาชิก TFC แล้วโพสไม่ได้ รบกวนท่าน เว็บมาสเตอร์ช่วยด้วยครับ

จึงฝากข้อความมาให้ผมโพสให้แทนครับ

ตอบผู้ข้องใจกรณีเครื่องบินทิ้งระเบิดสองที่นั่ง"ชตูกา"ของเยอรมัน ว่ามันมีแผนแบบมาจากไหน  ผมได้ค้นแล้วจากหนังสือชื่อ"Blood Tears and Folly" รหัสหนังสือ ISBN  0-06-101135-5 เขียนโดยเลน ดีตัน(Len Deighton) พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์(Harper)

เนื้อความเกี่ยวกับชตูกาและเฮลไดเวอร์ในหน้า 36มีดังนี้

              "การบินดำทิ้งระเบิดคือหัวใจในการสนับสนุนการรบของกองบินทหารบก  แต่ไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟ่อะ)  ร้อยโทแฮรี่  บราวน์แห่งฝูงบินที่ 84 แห่งกองทัพอากาศอังกฤษคือผู้คิดค้นยุทธวิธีนี้ขึ้นเมื่อปี 1917  หลังจากนั้นกองทัพอากาศอังกฤษก็นำไปทดสอบก่อนจะละทิ้งเทคนิคนี้ในที่สุด  ปรากฎห้วงเวลาที่ถูกนำยุทธวิธีนี้กลับมาใช้อีกตั้งแต่ปี 1928 เมื่อนักบินนาวิกโยธินสหรัฐฯได้ทิ้งระเบิดจากเครื่องบินโอซี-1(OC-1) สร้างโดยบริษัทเคอร์ติส(เป็นแบบที่ดัดแปลงมาจากเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งแบบ F8C-1) ลงเป้าหมายในนิคารากัว  เคอร์ติสตั้งชื่อเวอร์ชั่นที่ 2 ของเครื่องบินแบบนี้ว่า"เฮลไดฟ์เวอร์"(Helldiver)  และใช้ชื่อเดียวกันกับเครื่องบินรุ่นต่อมา...

               ข้อความตอนต่อมาในหน้า 37 มีว่า"เอิร์นสต์  อูเด็ตมักจะเป็นผู้ริเริ่มเสมอ พบว่าเทคนิคดำทิ้งระเบิดนั้นใช้ได้ จึงนำเครื่องบินฟ็อคเค่อะวูล์ฟ เอฟวี 56(ชตอสเซอร์)แบบปีกสูงชั้นเดียวมาติดตะขอเกี่ยวระเบิดและระเบิดเทียมสร้างจากคอนกรีตเพื่อสาธิตในสนามบินเมืองเบรเมน  นักบินอังกฤษผู้หนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนั้น

                     "ในปี 1936 ผมได้ไปเยือนกรุงเบอร์ลินระหว่างการแข่งโอลิมปิก และได้เข้าสัมผัสกับนายทหารจากกองทัพอากาศเยอรมัน เอิร์นสต์ อูเด็ตผู้สนับสนุนการดำทิ้งระเบิด ขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะวิศวกรรมแห่งทบวงอากาศยานแห่งเยอรมัน  ในช่วงต้นทศวรรษ 1930 เขาได้ไปชมการสาธิตการทิ้งระเบิดของกองทัพเรือโดยเครื่องบิน"เฮลไดฟ์เวอร์"ของเคอร์ติส ที่คลิฟแลนด์ โอไฮโอ และประท้บใจมากจนลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ออกแบบเครื่องบินแบบเดียวกันในวันที่ 27 กันยายน ปี 1933 เครื่องบินยุงเคอร์ ยู 87"ชตูกา" คือผลจากการออกแบบนั้น  เครื่องบินต้นแบบเริ่มบินครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 1935 โดยมีอูเด็ตผู้ภาคภูมิใจเป็นสักขีพยาน"

 

                   หวังว่าคงให้ความกระจ่างแก่ท่านที่สนใจได้  และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

                                               สรศักดิ์  สุบงกช

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 30/05/2007 07:44:18


ความคิดเห็นที่ 10


เมื่อความจริงถูกเปิดเผยซะแล้ว ผมก็ขอสนับสนุนพี่โตด้วยรูป OC-1 ครับ...อิอิ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/05/2007 18:15:30


ความคิดเห็นที่ 11


สวัสดีครับ พี่เสือใหญ่

พี่โต โทรมาบอกว่าตัวหนังสือเล็ก ช่วยทำให้ใหญ่หน่อย จัดให้ครับ

ตอบผู้ข้องใจกรณีเครื่องบินทิ้งระเบิดสองที่นั่ง"ชตูกา"ของเยอรมัน ว่ามันมีแผนแบบมาจากไหน  ผมได้ค้นแล้วจากหนังสือชื่อ"Blood Tears and Folly" รหัสหนังสือ ISBN  0-06-101135-5 เขียนโดยเลน ดีตัน(Len Deighton) พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ฮาร์เปอร์(Harper)

เนื้อความเกี่ยวกับชตูกาและเฮลไดเวอร์ในหน้า 36มีดังนี้

              "การบินดำทิ้งระเบิดคือหัวใจในการสนับสนุนการรบของกองบินทหารบก  แต่ไม่ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดยกองทัพอากาศเยอรมัน(ลุฟท์วัฟเฟ่อะ)  ร้อยโทแฮรี่  บราวน์แห่งฝูงบินที่ 84 แห่งกองทัพอากาศอังกฤษคือผู้คิดค้นยุทธวิธีนี้ขึ้นเมื่อปี 1917  หลังจากนั้นกองทัพอากาศอังกฤษก็นำไปทดสอบก่อนจะละทิ้งเทคนิคนี้ในที่สุด  ปรากฎห้วงเวลาที่ถูกนำยุทธวิธีนี้กลับมาใช้อีกตั้งแต่ปี 1928 เมื่อนักบินนาวิกโยธินสหรัฐฯได้ทิ้งระเบิดจากเครื่องบินโอซี-1(OC-1) สร้างโดยบริษัทเคอร์ติส(เป็นแบบที่ดัดแปลงมาจากเครื่องบินขับไล่สองที่นั่งแบบ F8C-1) ลงเป้าหมายในนิคารากัว  เคอร์ติสตั้งชื่อเวอร์ชั่นที่ 2 ของเครื่องบินแบบนี้ว่า"เฮลไดฟ์เวอร์"(Helldiver)  และใช้ชื่อเดียวกันกับเครื่องบินรุ่นต่อมา...

               ข้อความตอนต่อมาในหน้า 37 มีว่า"เอิร์นสต์  อูเด็ตมักจะเป็นผู้ริเริ่มเสมอ พบว่าเทคนิคดำทิ้งระเบิดนั้นใช้ได้ จึงนำเครื่องบินฟ็อคเค่อะวูล์ฟ เอฟวี 56(ชตอสเซอร์)แบบปีกสูงชั้นเดียวมาติดตะขอเกี่ยวระเบิดและระเบิดเทียมสร้างจากคอนกรีตเพื่อสาธิตในสนามบินเมืองเบรเมน  นักบินอังกฤษผู้หนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ตอนนั้น

                     "ในปี 1936 ผมได้ไปเยือนกรุงเบอร์ลินระหว่างการแข่งโอลิมปิก และได้เข้าสัมผัสกับนายทหารจากกองทัพอากาศเยอรมัน เอิร์นสต์ อูเด็ตผู้สนับสนุนการดำทิ้งระเบิด ขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะวิศวกรรมแห่งทบวงอากาศยานแห่งเยอรมัน  ในช่วงต้นทศวรรษ 1930 เขาได้ไปชมการสาธิตการทิ้งระเบิดของกองทัพเรือโดยเครื่องบิน"เฮลไดฟ์เวอร์"ของเคอร์ติส ที่คลิฟแลนด์ โอไฮโอ และประท้บใจมากจนลงนามในสัญญาว่าจ้างให้ออกแบบเครื่องบินแบบเดียวกันในวันที่ 27 กันยายน ปี 1933 เครื่องบินยุงเคอร์ ยู 87"ชตูกา" คือผลจากการออกแบบนั้น  เครื่องบินต้นแบบเริ่มบินครั้งแรกในฤดูใบไม้ผลิปี 1935 โดยมีอูเด็ตผู้ภาคภูมิใจเป็นสักขีพยาน"

 

                   หวังว่าคงให้ความกระจ่างแก่ท่านที่สนใจได้  และขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

 

                                               สรศักดิ์  สุบงกช

 

โดยคุณ โต้ง เมื่อวันที่ 30/05/2007 10:21:07


ความคิดเห็นที่ 12


เครื่องคนละรุ่น คนละสมัยแต่ชื่อเดียวกันสินะ

ขอบคุณคุณสรศักดิ์ สุบงกช และทุกท่านที่มาให้ความกระจ่างครับ

โดยคุณ Yuri Alexandrovish Orlov เมื่อวันที่ 30/05/2007 10:39:11


ความคิดเห็นที่ 13


....เสริม ท่านเสือใหญ่ แล้วกันครับ สำหรับเครื่องแบบ จู 390 นิวยอร์ค บอมเบอร์

..ใช้เครื่องยนต์ของBMW801ERadialmotore in Zweierreihe 18 สูบ กำลัง 1970 แรงม้า จำนวน 6 ครื่องยนต์  น้ำหนักรวม 75500 กิโลกรัม

...สามารถบินได้ไกลสุดที่ 9700 กิโลเมตร ที่ความสูง 6200 เมตร ที่ความเร็วสูงสุด 505 กิโล/ช.ม. และความเร็วเดินทางที่  430 กิโล/ช.ม. ติดปืน 13 ม.ม. กับ 20 ม.ม. ส่วนการบรรทุกอาวุธ จะใช้บรรทุก จรวดแบบ วี1 วี2และ ระเบิดนิวเคลียร์


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 30/05/2007 12:23:21


ความคิดเห็นที่ 14


แผนแบบ


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 30/05/2007 12:24:16


ความคิดเห็นที่ 15


1.


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 30/05/2007 12:25:09


ความคิดเห็นที่ 16


2.


โดยคุณ MIG31 เมื่อวันที่ 30/05/2007 12:25:57


ความคิดเห็นที่ 17


หวัดดีด้วยครับคุณโต้ง เมื่อไหร่จะเจอกันละครับ...

ขอบคุณคุณ MIG31?สำหรับรูปภาพข้อมูลของน้องจู390?ครับ ( อ่านว่าจู หรือ เจยู เอ่ย ? ) ใหญ่เบิ้มจริง ๆ ไม่เคยเห็นมาก่อนเลยครับ เหมือนกับเอา Ju-290 ขยายปีกขยายลำตัวแล้วเพิ่มเครื่องยนต์เข้าไปอีก 2 ให้นึกถึงโปรเจ็ค Heavy Bomber ของญี่ปุ่น Nakajima G-10N Fugaku?จริง ๆ?ครับ นี่ถ้าเจ้าสองตัวนี้เสร็จออกมาปฏิบัติการได้ ตอนจบของสงครามโลกครั้งที่ 2 อาจเปลี่ยนไปก็ได้นะครับ

รูป G-10 N Fugaku ครับ


โดยคุณ เสือใหญ่ เมื่อวันที่ 30/05/2007 18:37:05


ความคิดเห็นที่ 18


Ju ย่อมาจาก Junkers น่าจะอ่านว่า "ยุนเคอร์" หรือ "ยุงเค่อะ" ครับ

ญี่ปุ่นยังมี บ.ทิ้งระเบิดขนาดใหญ่4เครื่องยนตร์ แบบหนึ่งที่พัฒนาในช่วงสงครามคือ Nakajima G8N Renzan ครับ ซึ่งเครื่องต้นแบบสามารถผลิตออกมาได้จำนวนหนึ่งแต่ก็ไม่ทันได้ใช้งานจริงครับ

http://www.warbirdsresourcegroup.org/IJARG/nakajimag8n.html

http://www.combinedfleet.com/ijna/g8n1.gif

โดยคุณ AAG_th1 เมื่อวันที่ 30/05/2007 13:15:30


ความคิดเห็นที่ 19


สำหรับ Ju-87 นี่แบกได้หนักที่สุดเท่าที่โลกเคยรู้จักแล้วครับคือ 1,800 กก. (รุ่น D) แต่ผมไม่ทราบว่าโซเวียตจะทำได้มากกว่านี้หรือเปล่าเพราะพี่หมีเล่นทำออกมาแต่ละอันใหญ่ๆ แบบหลุดโลกทั้งนั้น

Ju-87 ทำออกมาหลายแบบเหมือนกันครับดังนี้

A - รุ่นแรก บรรทุกได้ 500 กิโลแต่ต้องถอดปืนท้ายและมีพิสัยสั้นแค่ 800 กิโลเมตร

B - บรรทุกได้มากขึ้นหน่อยเป็น 1,000 กก. แต่ก็ต้องถอดปืนเหมือนเดิม

C - ใช้ประจำการเรือบรรทุกเครื่องบินกราฟ เซปเปอลินของเยอรมัน (เรือลำนี้สร้างไม่เสร็จเพราะเฮอร์มัน เกอริงเตะถ่วงเอาไว้เพราะไม่อยากเห็นทัพเรือมีเครื่องบินใช้ น่าเตะจริงๆ) ดัดแปลงมาจากรุ่น B

D - โด่งดังที่สุด แบกน้ำหนักได้ 1,800 กก. แต่พิสัยสั้นหน่อยแค่พันกว่า (1,165) กิโลเมตรเอง

D-5 - ขยายปีกเป็น 15 เมตร เพิ่มอำนาจการยิงด้วยการถอดเอา MG17 ออกไปเอา MG151/20 มาแทน

E - ใช้บนเรือ ดัดแปลงมาจากรุ่น D แต่ไม่ได้สร้าง

K - ส่งออก

H - เครื่องฝึก 

สำหรับเครื่องนิวยอร์กบอมเบอร์ Ju 390 นี่ว่ากันว่าเคยบินไปไกลเกือบถึงนิวยอร์กมาแล้ว แต่เถียงกันไม่เลิกว่าได้บินจริงหรือเปล่า และเชื่อว่ามีการทดสอบติดตั้งสมาร์ตบอมบ์รุ่นแรกๆ 'Fritz X' (ใช้ได้ผลด้วยการถล่มเรือวอร์สไปท์ของอังกฤษจนเสียหายและจมเรือโรมาของอิตาลี) สำหรับโจมตีเรือด้วย แต่เครื่องบินทิ้งระเบิดขนาดหนักไม่ค่อยจะมีใครเหลียวแลกันครับและเกิดปัญหาบ่อยมากทั้งที่วางโปรเจ็กต์บอมบ์อเมริกา (Amerika Bomber) ตั้งนานก่อนประเทศนี้จะเข้าร่วมรบ หลักฐานอะไรๆ เลยไม่ค่อยจะมี

บ. ขับไล่ที่ดีกว่า BF109 และ FW190 นี่ก็ไม่ค่อยมีครับเพราะเน้นการพัฒนาสองรุ่นนี้ให้ดีขึ้นมากกว่า แต่ก็มี Ta-152 (ติด NOS แบบรถแข่งเลย) บินได้เร็วเกือบเท่าเครื่องเจ็ต แต่ปัญหาเดิมก็เล่นงานอีกคือมันมาช้าไปและมีจำนวนน้อยเกินกว่าจะทำอะไรได้ ลองคิดดูสิครับว่าหากเยอรมนีสามารถนำเทคโนโลยีที่มีในปี 1945 มาใช้งานในปี 1935 ล่ะครับจะเกิดอะไรขึ้น

 

โดยคุณ Praetorians เมื่อวันที่ 31/05/2007 10:00:09


ความคิดเห็นที่ 20


เครื่องบินดำทิ้งระเบิดสตูก้า

ชื่อเต็มๆของมันคือ สตูก้าอัมฟลุกซอย

โดยคุณ Aceน้อย เมื่อวันที่ 03/06/2007 17:42:24


ความคิดเห็นที่ 21


ผมชอบเสียงเจ้า ชตูก้า เป็นที่สุด ฟังกี่ครั้ง ก็บาดจิต...ยิ่งตอนมันดำดิ่งลงมา....ท้องใส้ปั่นป่วน....

โดยคุณ GIJod เมื่อวันที่ 04/06/2007 21:40:20