คือ ตอนนี้ผมเรียนเรื่องเศรษศาสตร์อยู่ อยากทราบว่า....
1.เราใช้งบประมาณแผ่นดินกี่เปอร์เซ็น ไปซื้ออาวุธมาซ่อมบำรุงให้รั้วของชาติเรา
2.จากข้อ1 แล้วถ้าเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านล่ะ? เค้าใช้งบมากกว่า หรือน้อยกว่าเราเสียเท่าไร
แน่นอนว่า เวียดนาม อาจไม่เจริญเท่าไทย มาเลยก็อาจสูสี
แต่ไม่แน่ว่า อีกหลายสิบปีต่อมา เค้าอาจเป็นต่อเราทั้งด้านการเงิน และด้านการทหาร
เท่าที่ผมรู้ เราไม่ใช่พวกสปาต้า ในหนังเรื่อง300 ที่ยืนหยัดต่อสู้กับคนนับแสนได้ด้วยคนเพียง300คนนะครับ
ฉะนั้น ด้วยเพิ่งศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ อยากทราบว่า กองทัพ สามารถเดินบนเส้นเดียวกันกับการเงินได้ไหม(เหมือนอย่างที่อเมริกาทำ มีเครื่องบินที่แทบสุดยอดที่สุดในโลก ในขณะที่ตลาดหุ้น และรายได้เข้าประเทศก็แทบมากที่สุดในโลก)
งบประมาณทางทหารของเราน้อยกว่าเพื่อนบ้านมากครับ คือประมาณ 1% กว่า ๆ ของ GDP แต่มาเลเซียประมาณ 2% สิงคโปร์ยิ่งเยอะกว่านี้ ซ้ำร้ายสิงคโปร์ยังมี GDP ใหญ่กว่าเรามากด้วย ที่น่าเจ็บแสบสำหรับเรามากที่สุดคืองบประมาณทางทหารของสิงคโปร์ 25% หมดไปกับการวิจัยและพัฒนาอาวุธใช้เอง แล้วก็ทำขายประเทศอื่น
ถ้าเราคิดจะร่ำรวยจากการทหาร ก็ต้องทำแบบสิงคโปร์ครับ
ถ้าทำไม่ได้ ก็ต้องพัฒนาเศรษฐกิจให้ดีกว่านี้ เพื่อจะได้มีเงินมาซื้ออาวุธ
แต่ถ้าเศรษฐกิจแย่ล่ะ???
เศรษฐกิจ การเมือง ความมั่นคง ปากท้องประชาชน แยกกันไม่ออก
ชาติใด กองทัพอ่อนแอเกินไปขณะที่เศรษฐกิจทรัพยากรดี (เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านหรือคู่อริ) จะตกเป็นเหยื่อง่ายๆ เช่น คูเวต
ชาติใด ที่เน้นแต่กองทัพเข้มแข็งแต่ไม่แบ่งงบมาพัฒนาประเทศก็จะไม่มีใครคบค้าด้วย ประชาชนก็ลำบาก เช่น เกาหลีเหนือ พม่า
ผู้นำชาติต้องทำให้สามสี่อย่างข้างต้นเข้มแข็งไปด้วยกัน จริงๆมันก็เป็นอย่างงี้มาทุกยุคทุกสมัยล่ะครับ
คิดอย่างงี้ ถ้าสิงคโปร์จะมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาเลก็คงไม่แปลก เพราะเค้าต้องมีหลักประกันที่จะรักษาความมั่นคั่งของเค้าไว้ ขณะเดียวกัน ถ้ามาเลมัวแต่ซื้อซูซื้อรถถังโดยไม่ต่อสู้ด้านเศรษฐกิจ ในที่สุด มาเลก็คงไม่สามารถซื้อหายุทธปัจจัยใหม่ๆมายันกับสิงคโปร์ได้ ยิ่งถ้าเป็นชาติประชาธิปไตย เสียของคนในชาติยิ่งมีน้ำหนัก ชาติจะเข้มแข็งได้ก็จากประชาชน ใช่จากผู้นำทางทหาร..
เอ่อ ประเทศสารขัณฑ์ หลังจากเย็นนี้จะเป็นไงน้อ ไม่อยากจะเซด..
เศรษฐสาสตร์และงบประมาณทางทหารนั้น เดินไปด้วยกันได้ครับ และได้หลายทฤษฎี เช่น
1. การหาจุดดุลยภาพในการกระจายงบประมาณทางทหารและงบประมาณรวมทั้งหมด และ/หรือ
2. การดำเนินการทางระบบอุตสาหกรรมทางทหารเพื่อนำมาเลี้ยงตัวเอง (สหรัฐแยกวิธีนี้ออกมาจาก สถาบันทางทหาร ไปให้เอกชนเพื่อความคล่องตัวกว่า แต่ทหารของสหรัฐจะได้รับของที่ดีกว่า ถูกกว่า จนมีความได้เปรียบด้านการใช้อาวุธมากกว่าประเทศลูกค้า ทำให้สหรัฐสามารถขายการบริการ ด้าการให้ที่ปรึกษาเพิ่มเติมได้)
จาก 1 และ 2 จะทำให้กองทัพและปากท้องประชาชน เดินไปด้วยกันได้ ถึงจะไม่สมบูรณ์แต่ก็สามารถช่วยแก้ปัญหาได้ระดับหนึ่งครับ