สวัสดีทุกๆท่านในบอรด์ครับผมมีความคิดจะทำเว็บไซต์ที่รวบรวมเกี่ยวกับเรื่องราวสงครามต่างๆและอาวุธยุทโธปกรณ์ในพากย์ภาษาไทย เพราะเนื่องจากในไทยเรายังไม่ค่อยมีเว็บพวกนี้อยู่เลย แต่ทำไปทำมาก็ชักจะยาวขึ้นเรื่อยๆ(คงเพราะเล่นจะเสนออาวุธตั้งแต่สากเบือยันเรือรบยามาโต้) นี่เป็นส่วนหนึ่งที่ผมได้ทำและแปลจากเว็บต่างประเทศมาอีกที
http://www.achtungpanzer.com/pz11.htm
หากท่านใดพบข้อผิดพลาดช่วยกันแก้ไขให้หน่อยนะครับเพราะผมแปลภาษาจากดิสชินารี่อย่างเดียว
Pzkpfw I (Sd. Kfz. 101)
Pzkpfw I ย่อมาจาก(Panzerkampfwagen I) เป็นรถถังเบาติดปืนกลแท่นคู่ของกองทัพนาซีเยอรมันแพนเซอร์1ถูกใช้อย่างกว้างขวางหลังจากการโฆษณาชวนเชื่อและซ้อมรบมาเป็นอย่างดี ถูกใช้งานครั้งแรกในสงครามกลางเมืองสเปน และยังถูกใช้งานในสงครามโลกครั้งที่2 ตั้งแต่สมรภูมิโปแลนด์,ยุโรปตะวันตก,แอฟริกาไปจนถึงรัสเซีย โดยในการรบที่โปแลนด์แพนเซอร์1เป็นรถถังหลักของกองทัพบกเยอรมัน ซึ่งในขณะนั้นมีแพนเซอร์1อยู่ 1445คัน(50%ของแพนเซอร์1ที่ผลิตตลอดสงคราม)
จากนั้นบทบาทก็ลดน้อยลงเนื่องจากมันถูกทำลายได้ง่ายด้วย ปืนใหญ่ต่อสู้รถถัง โดยเฉพาะจากรถถังของข้าศึกแต่ก็ได้มีการอัฟเกรดเป็นรุ่นใหม่ขึ้นคือรุ่น Ausf F. ซึ่งเสริมเกราะให้หนาขึ้นและ อาศัยความเร็วสูงสุด 40 ก.ม/ชั่วโมงเผ่นหลบกระสุน
นายพล ไฮนซ์ กูเดเรี่ยน
ในปี ค.ศ.1931 พลตรี ออสวาล ลุซ(Oswald Lutz) ได้ทำการก่อตั้ง "Inspector of Motor Transport"หรือ"ผู้ตรวจสอบยานยนต์เคลื่อนที่"ในกองทัพเยอรมัน (Reichswehr) ตามคำสั่งของนายพล ไฮนซ์ กูเดเรี่ยน (Heinz Guderian) ผู้ริเริ่มการพัฒนาหน่วยยานเกราะของเยอรมันอย่างจริงจัง และสอนยุทธวิธีการใช้รถถังเบาให้กับพลรถถังในหน่วยแพนเซอร์(ทหารยานเกราะของเยอรมัน) ในปี ค.ศ.1932 รถถังเบาที่ต้องการต้องมีคุณสมบัติคือรถถังที่มีน้ำหนักเบาเพียง 5 ตัน โดยเริ่มมีบริษัทเข้าร่วมในโครงการจัดหานี้คือ ไรน์เมทอร์ (Rheinmetall),กรุปป์(Krupp), เฮนเซ็น(Henschel), เอ็มเอเอ็น(MAN)และบริษัทผลิตรถหรูราคาแพงที่เรารู้จักกันดีคือ เดมเลอร์เบนซ์(Daimler Benz)นักออกแบบอาศัยประสบการณ์จากการทำงานในบริษัทของสวีเดนชื่อว่า แลนด์เวิกส์ (Landsverk Company)ภายใต้การให้ความร่วมมือกันแบบลับสุดยอด
ทหารเยอรมันแสดงการรบโดยมีแพนเซอร์1สนับสนุนที่ นูเรมเบิรก์(Nuremberg) ปีค.ศ.1934
ในปี ค.ศ. 1933 Heereswaffenamt ได้มีคำสั่งให้ทำการสร้าง Kleintraktor (รถแทร็กเตอร์)ที่มีำน้ำหนักระหว่าง 4 ถึง 7ตัน ภายใต้โครงการ ชื่อ La.S (Landwirtschaftlicher Schlepper / LaS - รถแทร็กเตอร์เพื่อการเพาะปลูก) เพื่อหลบเลื่ยงสนธิสัญญาแวร์ซายส์(Treaty of Versailles) โดยมีบริษัทตามที่ได้กล่าวไปแล้วส่งรถต้นแบบเข้าร่วม แต่มีเพียงรถแทร็กเตอร์?ของบริษัทกรุปป์(Krupp)เท่านั้นที่ผ่านการคัดเลือก
แพนเซอร์1 เปิดช่องทั้งหมดระหว่างการซ้อมรบ(คลิกที่รูปเพื่อขยาย)
การออกแบบนั้นใช้พื้นฐานบางส่วนจากโครงรถ(chassis)ของ รถเกราะเบา(tankette)ที่ผลิตในอังกฤษ แบบคาร์เด็น ลอยซ์ มาร์ค โฟร์ี่(Carden Loyd Mk.IV) สองคันที่แอบซื้อแบบลับๆมาจากรัสเซียในปี ค.ศ.1932 ช่วงท้ายทศวรรษ1920และต้นทศวรรษ1930 เยอรมันได้ส่งคนเข้าไปอยู่ในบริษัทผลิดรถถังของรัสเซียที่ คามา(Kama)ใกล้กับ คาซาน(Kazan)ในสหภาพโซเวียต(USSR)รัสเซียได้ซื้อรถแบบ Carden Loyd Mk.IVทั้ง2คัน จากสหราชอาณาจักรอังกฤษ(Great Britain) ในปีค.ศ.1929 เพื่อนำมาเป็นต้นแบบศึกษาสรัางรถเกราะเบาแบบ ที27(T-27)ของตนเอง
แพนเซอร์1 Ausf A.ในปีค.ศ.1940
บริษัทกรุปป์ได้ออกแบบและดัดแปลง จนในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ.1933 ก็ได้โครงรถ LaS ออกมาห้าแบบ และทำการทดสอบที่ คัมเมอร์ดอฟ(Kummersdorf) จนได้โครงรถและช่วงล่างที่ไม่มีปัญหาแน่นอนจากหนึ่งในห้า ส่วนช่วงบน และ ป้อมปืนออกแบบโดย เดมเลอร์ เบนซ์ หลังจากการทดสอบไปนานพอสมควร ในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ.1934ก็ได้รถต้นแบบที่ได้ทำการแก้ไขปรับปรุงชื่อ LKA 1 (LaS) หรือรู้จักกันดีในชื่อว่า PzKpfw I Ausf A ก่อนหน้าที่จะำทำการผลิตทุกคนรู้จัก Ausf A กันในชื่อว่า MG Panzerwagen(รถถังติดปืนกล)หรือVersuchkraftfahrzeug 617 แต่เมื่อทำการผลิตออกมา 15 คันในเดือน เมษายน ค.ศ.1934 ทุกคนก็รู้จักกันในชื่อ PzKpfw I Ausf A โดยรถถังทั้ง 15คัน นายพล ไฮนซ์ กูเดเรี่ยน เป็นผู้อธิบายให้แก่ อดอฟ ฮิตเลอร์(Adolf Hitler)ฟังด้วยตัวท่านเอง
แพนเซอร์1 Ausf A.
Panzerkampfwagen I ถูกผลิตออกมาสองรุ่นหลักคือ Ausf A (1934) และ Ausf B (1935)โดยทั้งสองรุ่นมีส่วนแตกต่างกันอยู่ที่เครื่องยนต์ที่ใช้ Ausf A ถูกผลิตในเดือนกรกฏาคม ปีค.ศ.1934 ถึง เดือนมิถุนายน ปีค.ศ.1935 ส่วนAusf B ถูกผลิตในเดือนสิงหาคม ปีค.ศ.1935 ถึง เดือนมิถุนายน ปีค.ศ.1937ทั้งสองรุ่นผลิต โดยบริษัท เฮนเซน(Henschel), เอ็มเอเอ็น(MAN), กรุปป์และกรูสัน(Krupp-Gruson) และ เด็มเลอร์ เบนซ์(Daimler-Benz) Ausf A ใช้เครื่องยนต์เสียงดังและร้อนง่าย 57แรงม้า(hp)ของบริษัท กรุปป์ ส่วนAusf Bใช้เครื่องยนต์ 100แรงม้าของ เมบัช(Maybach) และได้แก้ไขปรับปรุงป้อมปืนให้ดีกว่าในรุ่น Aด้วย
แพนเซอร์1 Ausf B.
ภาพโฆษณาชวนเชื่อของเยอรมันแสดงพลังของรถถังแพนเซอร์1 ขณะทะลายกำแพง
ทั้งสองรุ่นใ้ช้พลประจำรถสองนายคือ พลขับ(driver) และผู้บังคับการรถถัง/พลปืน(commander/gunner) อาวุธหลักคือปืนกลขนาดกลางแบบ MG13 Dreyse สองกระบอกใช้กระสุน 7.92 ม.ม โดยมีอัตรายิง 650นัด/นาทีในปีค.ศ.1938-36 Panzer I Ausf A ได้ทำการติดตั้งเครื่องยนต์ใหม่ คือเครื่องยนต์ดีเซลแบบ M601 ของกรุปป์ แต่ทำให้แรงม้าลดลงเหลือเพียง 45 แรงม้า ความคิดในการใช้เครื่องยนต์ดีเซลจึงเป็นอันถูกยกเลิกไป
รถถังส่งออก Krupp's L.K.A.1 (Leichte Kampfwagen Ausland) |
ในปีค.ศ.1935 บริษัทกรุปป์เริ่มงานทำการออกแบบรถถังเบาแบบ L.K.A.1(Leichte Kampfwagen Ausland)ซึ่งสร้างตามที่Waffenamt แนะนำ ในปีค.ศ.1936 กรุปป์ก็ออกแบบได้สำเร็จ หลังจากสร้างแพนเซอร์หนึ่งไปสองรุ่นแล้ว ในชื่อ L.K.A.1 - M.G.-Kampfwagen (ปืนกลรุ่น M.G. K.A. / L-10)และ L.K.A.2 - 2 cm Kampfwagen(ปืนขนาด 2 cm แบบ K.A. / L-20) ในรุ่น L.K.A.2 นี้กรุ๊ปได้ติดเกราะให้หนาขึ้น ซึ่งเป็นพื้นฐานสู่การสร้างต้นแบบของรถถังขนาดกลาง(m.K.A.) จนกระทั่งในปี ค.ศ.1940 m.K.A. (ตอนแรกใช้ปืนขนาด 4.5cm K.A.v. / M-10)ถูกเปลี่ยนมาใช้ปืนขนาด45mm แบบ KwK L/50 gun แต่โครงการนี้ก็ไม่ได้ถูกผลิตออกมา
รถถังส่งออก Krupp's L.K.A.2 (Leichte Kampfwagen Ausland) |
ในปีค.ศ.1935-36 กรุปป์ ก็ได้สร้างรถถังเบาต้นแบบ Leichte Kampfwagen B (L.K.B.) เพื่อประเทศบัลแกเรีย(Bulgaria)ซึ่งต่อมาถูกดัดแปลงเป็น Panzerkampfwagen I Ausf B ใช้เครื่องยนต์ของกรุปป์ แบบ เอ็ม311 วี8 แก๊สโซลีน (Krupp's M 311 V-8 gasoline engine) เวอร์ชั่นดัดแปลงทั้ง3แบบคือ L.K.B. 1, 2 และ 3 ใช้อาวุธคือปืนใหญ่อัตโนมัติขนาด2ซ.ม(20ม.ม) 2cm (20mm) automatic cannon แต่โครงการนี้ก็ไม่ได้ถูกผลิตออกมา
PzKpfw 1 ของจีนคณะชาติ(ก๊กมินตั๋ง)
ทั้งAusf A และ Ausf B ถูกนำไปใช้ฝึกสอนการใช้ป้อมปืน(PzKpfw I Ausf A ohne Aufbau)และการซ่อมบำรุง(PzKpfw I Ausf B ohne Aufbau) ในปีค.ศ.1934 รถถังตัวอย่างของ PzKpfw I Ausf A ถูกเสนอขายให้แก่ ฮังการี (Hungary) ในปีค.ศ.1942มีความเป็นไปได้ที่ฮังการีจะซื้อไว้จำนวนหนึ่งเพื่อใช้ฝึก ประเทศที่ซื้อไปใช้มากกว่าเพื่อนคือ ประเทศจีน ของเจียงไค-เช็คแห่งรัฐบาลจีนคณะชาติ(ก๊กมินตั๋ง=Chiang Kai-shek's National Government China) โดยซื้อไปทั้งสิ้น15คันในช่วงท้ายปี ค.ศ.1936(จีนใช้อาวุธของเยอรมันเช่นหมวกเหล็กทรงฟริตซ์) ยังมีรายงานอีกว่า ฟินแลนด์(Finland)เองก็ซื้อแต่ในจำนวนน้อย และอาจจะเป็นไปได้ที่ โครเอเชีย(Croatian)ก็ซื้อเช่นกัน
Pzkpfw 1 ของหน่วย SS
Pzkpfw 1 ในสงครามกลางเมืองสเปน
แพนเซอร์1 ถูกใช้ครั้งแรกในช่วงสงครามกลางเมืองในสเปน(Spanish Civil War 1936-38) รถถังชุดแรก 32คัน และรถถังบัญชาการแบบ Kleiner Panzer Befehlswagen I อีกหนึ่งคัน มาถึงสเปนในเดือน ตุลาคม ปี ค.ศ.1936 การลำเลียงถูกนำมาเรื่อยๆจนมีรถถังรวมทั้งหมด 106คัน(เป็นแพนเซอร์ 1Ausf Aและ B 102คันและ Kleiner Panzer Befehlswagen I อีก 4คัน ถูกใช้ในกองพลอาสาสมัครของเยอรมันหรือ "คอนดอร์ลีเยียน" (Condor Legion) ซึ่งบัญชาการโดย พลตรี ริทเทิล วอน โทมัส(Major Ritter von Thoma's) แห่งหน่วย Panzer Abteilung 88 หรือรู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Abteilung Drohne และนายพลฟรังโก (General Franco's)แห่งฝ่ายชาตินิยมสเปน(Nationalists) ในหน่วย Pz.Abt.88 ประกอบไปด้วย 3 กองร้อย(3 companies) ซึ่งมีฐานอยู่ที่ประเทศคิวบา(Cuba)ใกล้กับ โทลีโด(Toledo) เยอรมันได้ฝึกฝนให้กับพลรถถังของสเปน ต่อมาได้มีหน้าที่กลับมาสอนพลรถถังและใช้รถถังแพนเซอร์ 1 ในประเทศของตัวเอง ยกตัวอย่างเช่นการต่อสู้เพื่อแย่งชิง กรุงมาดริด (e.g. assault on Madrid) ซึ่งได้พิสูจน์ว่าแพ้ราบคาบเพราะแพนเซอร์1 มีอาวุธแค่ปืนกลไม่สามารถยิงทำลายรถถังแบบ ที-26(T-26) และ บีที-5(BT-5)ที่โซเวียต ส่งมาให้ฝ่ายสาธารณรัฐ(Republicans)
PzKpfw I Ausf B ติดปืน20ม.มของเบอร์ด้า
แพนเซอร์1 ยังถูกฝ่ายสาธารณรัฐยึดมาใช้ด้วย โดยได้ทำการติดปืนขนาด 25 ม.ม รุ่น1934 ของบริษัท ฮอชคิท ประเทศฝรั่งเศส(French Hotchkiss 25mm Model 1934) หรือ ปืนต่อสู้รถถังแบบ 1937(1937 anti-tank guns)บนป้อมปืนที่ดัดแปลงแล้ว แทนปืนกลแท่นคู่ เอ็มจี13
แพนเซอร์1 ติดปตอ.เบอร์ด้าขนาด 20ม.ม.
PzKpfw I Ausf. A ถูกติดปืนขนาด 20 ม.ม ต่อสู้อากาศยาน แบบ แอล/65 เบอร์ด้า รุ่น 1935 (20mm Flak L/65 Breda Model 1935) ส่วน PzKpfw I Ausf B ติดตั้งปืนขนาด 20 ม.ม เบอร์ด้า รุ่น1935 ต่อสู้อากาศยานขนาดเบา ของอิตาลี(Italian 20mm Breda Modello (model) 1935 light anti-aircraft gun) ตามคำสั่งเพิ่มประสิทธิภาพในการรบ
Panzerkampfwagen I Ausf A ในสเปนด้านหลังเป็นรถเกราะเบาแบบ Carro Veloce 33/35ของอิตาลี ใช้โดยสเปน
แพนเซอร์1 ถูกใช้ในฝ่ายชาตินิยมถึง 2กองพันรถถัง (Agrupacion de Carros) ประกอบด้วยกองพันรถถังที่1และ2(1st and 2nd Tank Battalion) กองบัญชาการสูงสุดของเยอรมัน(German High Command)ใช้สมรภูมิกลางเมืองในสเปนครั้งนี้เพื่อทดสอบอาวุธใหม่ และยุทธวิธีสายฟ้าแลบ(Blitzkrieg)ไปในตัว ทำให้ได้ทราบว่าแพนเซอร์หนึ่งจะสามารถป้องกันการยิงจากปืนยาวและอาวุธเบาได้ อาวุธปืนกลแท่นคู่สามารถสนับสนุนทหารราบได้เป็นอย่างดี
แพนเซอร์1 Ausf. C
ตั้งแต่ช่วงท้ายปีค.ศ.1938 เป็นต้นมาแพนเซอร์1 ยังไม่เคยแสดงประสิทธิภาพในฐานะรถถังให้เห็นเลย ได้มีการดำเนินการที่จะสร้างแพนเซอร์1รุ่นใหม่ที่ทำหน้าที่เป็นรถถังลาดตะเวนความเ็ร็วสูงและรถถังเบาสนับสนุนทหารราบ จึงมีการสร้างรุ่นAusf C.และAusf F.ขึ้นมาพวกเขาทำสำเร็จแต่ทำออกมาจำนวนน้อย Ausf C.(VK 601)พัฒนาต่อจากAusf B.ถูกสร้างมาเป็นรถถังลาดตะเวนเบา ผลิตโดยคารล์-มัฟฟีร์(Krauss-Maffei) และ เดมเลอร์เบนซ์(Daimler-Benz)ในช่วงท้ายปีค.ศ. 1942ถึงต้นปีค.ศ.1943 เป็นจำนวน 40(46)คัน Ausf D.(VK 602) ทำการเพิ่มเกราะและแก้ไขจาก Ausf C. แต่ก็เป็นเพียงรถทดสอบเท่านั้นไม่ได้นำไปใช้ในการรบจริง
Ausf F.(VK 1801)เป็นรถถังทหารราบจู่โจมหุ้มเกราะหนัก(Heavily armored infantry assault tank) ผลิตโดยเจ้าเดียวกับAusf C.(ไม่ใช่โทนาฟนะ)ตั้งแต่เดือนเมษายน ปีค.ศ.1942 ถึง เดือนมกราคม ปีค.ศ.1943 ออกมาเพียง30คัน ในเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.1942 รถถัง5คันถูกใช้กองร้อย พีแซด.เอบีที.แซด.บี.วี.66(1st Company of Pz.Abt.z.b.V.66) ระหว่างการบุกยึดเกาะครีต(Crete) ในยุทธการที่มีชื่อว่าเฮอร์คิวลิส(Operation Herkules) และต่อมาถูกใช้ใกล้เมืองเลนินการด์(Leningrad) ในรัสเซียกองร้อย พีแซด.เอบีที.แซด.บี.วี.66 ถูกนำไปช่วยกรมรถถังที่29(29th Panzer Regiment)ซึ่งสังกัดอยู่ในกองพลยานเกราะที่12(12th Panzer Division) ต่อมาในเดือนกรกฏาคม ปีค.ศ.1943 ได้มีการส่งรถถังมาเพิ่มอีกแต่เป็นจำนวนน้อย ในช่วงเดือนพฤษภาคม ปีค.ศ.1943นั้นรถถัังทั้ง5คัน ถูกส่งเข้าประจำการในกองร้อยพอยร์เซ่นที่2(2nd Polizei Panzer Company) จากเวียนนา(Vienna)ในแนวรบด้านตะวันออก(Eastern Front)รถถังทั้งหมดถูกทำลายเมื่อ เดือนสิงหาคม ปีค.ศ.1944
แพนเซอร์1 Ausf F.ในแนวรบด้านตะวันออก
ในเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1943 Ausf C.2คัน และ Ausf F.8คัน เข้าประจำการในกองร้อยยานเกราะที่1 (1st Panzer Regiment)ซึ่งสังกัดในกองพลยานเกราะที่1(1st Panzer Division) ซึ่งพบเห็นปฏิบัติการใน รัสเซีย,ยูโกสลาเวีย และกรีซ พอสิ้นปีแพนเซอร์1 Ausf C.ก็ถูกย้ายอีก โดยไปอยู่ในสังกัดของ หน่วยยานเกราะแอล ที่8(LVIII Panzer Corps)เมื่อการรบที่นอร์มันดี(Normandy) ในปีค.ศ. 1944 จบลงแพนเซอร์1ก็ถูกทำลายหมด Ausf C/D/Fไม่เคยถูกทำการผลิตเต็มจำนวนเลย
ปัจจุบันมี PzKpfw I Ausf F ของกองพลยานเกราะที่1(1st Panzer Division)ซึ่งถูกรัสเซียยึดในปี ค.ศ.1943 1คัน ท่านสามารถไปเยี่ยมชมได้ที่พิพิธภัณฑ์กองทัพคูบินก้า(Museum of Armored Forces in Kubinka)ใกล้กับกรุงมอสโคว์ ส่วนอีกคันหนึ่งถูกเก็บที่ไว้ป้อมคาเลแม็กแดนใน กรุงเบลเกรด,เซอร์เบีย(Kalemagdan Fortress in Belgrade, Serbia )
แพนเซอร์1 Ausf F.มีชื่อเล่นว่า"เสือเล็ก"(Little Tiger)
Munitionsschlepper auf Panzerkampfwagen I Ausf.A (Sd.Kfz.111)
เป็นรถลากขนกระสุนและสัมภาระหุ้มเกราะ(Munitionsschlepper) ซึ่งคอยเติมกระสุนให้กับแพนเซอร์1ทำให้รถถังในแนวหน้าไม่ขาดกระสุน โดยนำแพนเซอร์1มา เปลี่ยนตัวถังเป็นเหล็กรูปทรงเหมือนกล่องและถอดป้อมปืนออกทำให้ไม่มีอาวุธ พบเห็นครั้งในการรุกรานโปแลนด์ในเดือนกันยายน ปีค.ศ.1939 ซึ่งขณะนั้นมีอยู่51คัน รถถังที่เหลือยังถูกใช้งานหลังปีค.ศ.1943ด้วย
ข้อมูลจำเพาะ
เกราะหนา | 14ม.ม. |
พลประจำรถ | 2 นาย |
เครื่องยนต์ | กรุปป์ เอ็ม 305 Boxer 4สูบ 57แรงม้า |
ความจุถังน้ำมัน | 144 ลิตร |
ความสูง | 1.4 เมตร |
ความยาว | 4.02 เมตร |
ระยะทำการ | ถนน 95กิโลเมตร ทางบรุขรุ 50กิโลเมตร |
ความเร็ว | 37 กิโลเมตร/ชั่วโมง |
น้ำหนัก | 5000กิโลกรัม |
ความกว้าง | 2.06 เมตร |
ในปีค.ศ.1939ถึง ค.ศ.1940 แพนเซอร์1ทั้งรุ่นAและฺBจำนวน100คันถูกเปลี่ยนเป็นรุ่น Ladungsleger I (Ladungsleger สำหรับเรียก Ausf A ส่วนรุ่น B เรียก zerstorerpanzer)ใช้ขว้างบรรทุกดินระเบิดน้ำหนัก 50ก.ก. ออกแบบมาสำหรับทหารช่างโดยเฉพาะเพื่อใช้เปิดทาง โดยสามารถตั้งเวลาการระเบิดได้ Ladungsleger Iได้ถูกพบเห็นในการรุกสายฟ้าแลบ(Blitzkrieg)ในแนวรบด้านตะวันตก(ใช้ในกองพลยานเกราะที่7 =7th Panzer Division)และในการรุกรานรัสเีซีย
ลาดังสะลีเกอร์ แห่งกองพลยานเกราะที่ 7
นี่คือหนึ่งในสุดยอดรถอีกแบบหนึ่งที่ดัดแปลงจากโครงรถของแพนเซอร์1 Ausf A.(Sd.Kfz.101) โดยติดตั้งปืนแฟก 38(Flak 38 L/112.5)ขนาด 20ม.ม. ซึ่งFlakpanzer 1ได้ดัดแปลงมาจากรถขนกระสุนขนาดเบาแบบMunitionsschlepper I Ausf A (Sd.Kfz.111) อีกทีหนึ่ง ตัวปืนอยู่บนที่ตั้งของป้อมปืนปกติของแพนเซอร์1 เริ่มตันผลิตออกมา 24คันในปีค.ศ.1941 โดยอัลเคท (Alkett)ที่กรุงเบอร์ลิน(Berlin) Flakpanzer1 เข้าประจำในหน่วยต่อสู้อากาศยานที่614(614th Flak Abteilung) ซึ่งสุดท้ายถูกทำลายลงที่เมืองสตาลินการด์(Stalingrad)ในเดือนมกราคม ปีค.ศ.1943 แพนเซอร์1ยังถูกนำไปติดตั้งปืนกลขนาด15ม.ม. เอ็มจี151/15 (15mm MG 151/15) ซึ่งก็ถูกรัสเซียยึดในแนวรบด้านตะวันออก(Eastern Front)ในปีค.ศ.1943 เช่นเดียวกัน
อัตราส่วนของ Flakpanzer1
ขณะเตรียมการยิงเครื่องบินรัสเซียในแนวรบตะวันออก
ทำการยิงสนับสนุนภาคพื้นดิน
แท่นยิง Flak 38
Flammenwerfer auf Panzerkampfwagen I Ausf.A
Pzkpfw 1 รุ่นพ่นไฟ
ระหว่างการรบในแอฟริกาแพนเซอร์1 จำนวนน้อยได้อยู่ในสังกัดของกองพลน้อยแอฟริกา(Africa Korps)ในกองพลเบาที่5 (5th Light Division)ในการรบที่โทบรุ๊ค(Tobruk)ปี ค.ศ.1941 ได้มีการนำปืนพ่นไฟของทหารราบมาติดตั้งเป็นอาวุธหลักของแพนเซอร์1จึงได้ชื่อว่า เฟรมเมนเวอร์เฟอร์(Flammenwerfer auf Panzerkampfwagen I Ausf A)
Kleiner Panzer Befehlswagen I (Sd.Kfz.265)
เป็นยานเกราะบัญชาการขนาดเล็กที่สร้างโดยบริษัท กรุปป์ในปี ค.ศ.1935โดยใช้ตัวถังของรถถังแพนเซอร์1 รุ่นบี (แพนเซอร์1 รุ่นเอ ถูกดัดแปลงเพียง6คัน)ส่วนประกอบอื่นๆตั้งแต่ปี ค.ศ.1935-37ทำโดยบริษัทเดมเลอร์เบนซ์ รวมแล้วผลิตออกมา190คัน ในรุ่นที่สองใช้ตัวรถของแพนเซอร์1 รุ่นบี บรรทุกวิทยุสองตัวคือ Fu2และFu6 ปฏิบัติการด้วยพลประจำรถ 3 นาย ทั้งสองแบบถูกใช้ในการรุกรานโปแลนด์ในปี ค.ศ.1939 หลังจากสมรภูมิครั้งนี้ได้ถูกเพิ่มเกราะป้องกันให้หนาขึ้น รถถังที่เหลืออยู่ถูกใช้งานจนกระทั่งในปีค.ศ.1941-42 จึงถูกรถบัญชาการรบแบบอื่นรับหน้าที่นี้ไปแทน นอกจากนี้ยังถูกใช้ควบคุมรถกู้กับระเบิดMinenraeum-Wagen BI/BII (Sd.Kfz.300) ซึ่งบังคับด้วยวิทยุ มีรถถังแบบนี้จำนวนน้อยถูกใ่ช้ในฮังการีด้วย ปัจจุบันท่านสามารถไปชมรถถังคันนี้ตัวจริงได้ที่พิพิืธภัณฑ์รถถังโบวิงตัน ที่ประเทศอังกฤษ
ประตูทางเข้าของรถ
Kleiner Panzer Befehlswagen I Ausf A.
Kleiner Panzer Befehlswagen I Ausf B.
รุ่นบีในแนวหน้า
ภาพวาดในการบุกรัสเซีย(สังเกตรถเกราะแบบ บีเอ10ด้านซ้าย)
ด้านข้าง
ไฮนซ์ ฮีทเล๊อะ
นำหน้าขบวนแพนเซอร์1
รุ่นปฐมพยาบาล(สังเกตจะไม่ติดอาวุธ)
เป็นรถเกราะสำหรับปฐมพยาบาลดัดแปลงมาจากรถบัญชาการ Kleiner Panzer Befehlswagen I ถูกใช้ครั้งแรกในการรุกรานฝรั่งเศส ในปีค.ศ.1940
เป็นการนำตัวถังรถถังแพนเซอร์1 รุ่นบี มาติดตั้งปืนใหญ่ขนาด47ม.ม.ของเชคโกฯ แบบแพก(ที) 36 (Pak(t) 36 L/43.4)ชื่อเชกโกฯคือ สโกดา วีแซด36 (Skoda 47mm A-5 P.U.V vz.36 gun)ทำการยิงโดยใช้พลประจำปืน 3นาย ซึ่งจะอยู่หลังโล่ของป้อมปืนป้องกันกระสุนปืนเล็กจากทหารราบข้าศึก โดยปืนมีข้อจำกัดยกขึ้นได้สูงสุด 15 องศาและขนกระสุนไปได้86นัด จริงๆแล้วแพนเซอร์จาเกอร์1คันนี้ จะต้องติดปืนใหญ่ต่อสู้รถถังแบบ แพก38 (Pak 38) ขนาด50ม.ม. แต่ยังไม่พร้อมสำหรับการผลิตเลยต้องเอาปืนของสโกดามาใส่ไปก่อน
ภาพมุมต่างๆกับอัตราส่วนของPanzerjager I
จากเดือนมีนาคม ปีค.ศ.1940-เดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ.1941 แพนเซอร์1 202คันถูกนำไปดัดแปลงเป็นแพนเซอร์จาเกอร์1โดยบริษํท เดมเลอร์-เบนซ์(Daimler-Benz),สโกดา(Skoda) และ อัลเคท(Alkett) รถถัง132คันถูกผลิตออกมา3ซีรีย์คือ(40, 50 และ 42) ตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคมปีค.ศ. 1940 โดยอัลเคท ต่อมาก็สโกดาผลิตออกมา70คันในเดือนกุมภาพันธ์ ปีค.ศ.1940 เวอร์ชั่นที่สองของสโกดานี้มีชื่อเสียงจากโล่ป้องกัน
ปืนต่อสู้รถถังขนาด37ม.ม. Pak35/36
มีรถจำนวนน้อยที่ติดปืนต่อสู้รถถัง แพก35/36 37mm (Pak 35/36 L/45) ขนาด37ม.ม.โดยใช้โล่แบบเดียวกับที่ติดอยู่กับปืนแพกอยู่แล้ว ซึ่งต่อมาพิสูจน์แล้วว่าไม่ค่อยประสบความสำเร็จเพราะอานุภาพการทำลายของปืนอ่อนเกินไป
ขณะเตรียมต่อสู้รถถัง(ซ้าย)กับปืนใหญ๋แพก 47ม.ม(ขวา)
รถถังที่เหลืออยู่ถูกใช้ในช่วงท้ายปีค.ศ.1943ด้วยซึ่งพบเห็นในสมรภูมิยุโรปตะวันตก,ในแอฟริกาเหนือและในรัสเซีย สังกัดอยู่ในหน่วยแพนเซอร์จาเกอร์(Panzerjager Abteilungs) ในการรบแห่งฝรั่งเศสปีค.ศ.1940สังกัดอยู่ในหน่ยวที่521st, 605th, 616th, 643rd และ 670th มีรายงานหลังปีค.ศ.1940ได้มีการนำปืนแพก38ขนาด50ม.ม.มาติดตั้งด้วยแต่ก็ไม่ได้รับการยืนยัน นับว่าแพนเซอร์จาเกอร์1เป็นรถติดปืนต่อสู้รถถังอัตราจรคันแรกๆของสงครามครั้งนี้
ปืนใหญ่ต่อสู้รถถังขนาด50ม.ม. Pak 38
เป็นการนำตัวรถของแพนเซอร์รุ่นบี(อีกละ)มาติดตั้งปืนสนับสนุบทหารราบขนาดหนัก(ปืนครก)แบบ ซิก33 ขนาด150ม.ม. (sIG 33 L/11.4 heavy infantry gun mortar)ทำการยิงโดยใช้พลปืนห้านาย และใช้พลขับ3นาย สตูมแพนเซอร์สามารถขนกระสุนระเบิดแรงสูงไปได้เพียง3ลูกเท่านั้น จึงต้องมีรถกึ่งสายพานค่อยบรรทุกกระสุนตามมาด้วย โดยพลยิงจะอยู่ในโล่ปืนรูปทรงกล่องทำจากแผ่นโลหะป้องกันกระสุนได้ทั้งสามด้านหนาประมาณ10ม.ม.
ซึ่งเป็นป้อมแบบเปิดด้านบนและด้านหลัง รถจำนวน38คันถูกผลิตในมกราคมและกุมภาพันธ์ในปีค.ศ.1940 โดยอัลเคทที่กรุงเบอร์ลิน
ปืนใหญ่ซิก 33 ขนาด150ม.ม.
Sturmpanzer I กับพลประจำรถ
รถคันนี้ถูกสร้างมาบนแนวคิดที่จะมีรถที่สามารถให้การสนับสนุนทหารราบด้วยอำนาจการยิงทำลายสูง
สตูมแพนเซอร์1ถูกใช้ตั้งแต่แนวรบในยุโรปตะวันตก,บอลข่าน และรัสเซียในกองร้่อยซิกที่701-706(701-706 sIG(Sf) Kompanien)เป็นจำนวนกองร้อยละ6คัน และยังถูกส่งไปช่วยในกองพลยานเกราะ สุดท้ายถูกใช้ในช่วงท้ายปีค.ศ.1943ในกองร้อยที่704สังกัดกองพลยานเกราะที่5(704 Company of 5th Panzer Division)สตูมแพนเซอร์1นับเป็นรถสนับสนุนทหารราบอัตราจรรุ่นแรกๆในสงครามครั้งนี้
อัตราส่วนของ Sturmpanzer I
มุมต่างๆของ Sturmpanzer I
รถขนส่งทหารราบเพื่อให้ทหารราบสามารถตามขบวนยานเกราะของเยอรมันทัน ตามการทำเทคนิคสงครามสายฟ้าแลบของเยอรมัน
Brueckenleger auf Panzerkampfwagen I Ausf.A
รถทอดสะพานเหล็กทำให้กองทัพยานเกราะของเยอรมันรุกข้ามแม่น้ำได้อย่างรวดเร็ว
รุ่น | Ausfuhrung A | Ausfuhrung B |
น้ำหนัก | 5300ก.ก | 5900ก.ก |
พลขับ | 2 นาย | 2 นาย |
เครื่องยนต์ | กรุปป์ เอ็ม305 4สูบ 57แรงม้า | เมบัช เอ็นแอล38ทีอาร์ 6สูบ 100แรงม้า |
ความเร็ว | 37ก.ม/ชั่วโมง | 40ก.ม/ชั่วโมง |
ระยะทำการ | พื้นถนน: 145ก.ม / พื้นขรุขระ: 100ก.ม | พื้นถนน: 170ก.ม/ พื้นขรุขระ: 115ก.ม |
ความจุน้ำมัน | 144 ลิตร | 146 ลิตร |
ความยาว | 4.02 เมตร | 4.42 เมตร |
ความกว้าง | 2.06 เมตร | 2.06 เมตร |
ความสูง | 1.72 เมตร | 1.72 เมตร |
อาวุธ | ปืนกลเอ็มจี13 7.92ม.ม 2กระบอก | ปืนกลเอ็มจี13 7.92ม.ม 2กระบอก |
ความจุกระสุน | 2250 นัด | 2250 นัด |
เกราะ(ม.ม./มุม): | ด้านหน้าป้อมปืน: 13/10 ด้านหน้าบนตัวรถ: 13/22 ด้านหน้าล่างตัวรถ: 13/27 ด้านข้างป้อมปืน: 13/22 ด้านข้างบนตัวรถ: 13/22 ด้านข้างล่างตัวรถ: 13/0 ด้านหลังป้อมปืน: 13/22 ด้านหลังบนตัวรถ: 13/17 ด้านหลังล่างตัวรถ: 13/15 ด้านบนป้อมปืน / ล่าง: 8/82 ด้านบนตัวรถ / ล่าง: 6/82 ด้านล่างตัวรถ / ล่าง: 6/90 กันกระสุน: 13/นัด |
ด้านหน้าป้อมปืน: 13/10 ด้านหน้าบนตัวรถ: 13/22 ด้านหน้าล่างตัวรถ: 13/27 ด้านข้างป้อมปืน: 13/22 ด้านข้างบนตัวรถ: 13/22 ด้านข้างล่างตัวรถ: 13/0 ด้านหลังป้อมปืน: 13/22 ด้านหลังบนตัวรถ: 13/0 ด้านหลังล่างตัวรถ: 13/19 ด้านบนป้อมปืน / ล่าง: 8/82 ด้านบนตัวรถ / ล่าง: 6/83 ด้านล่างตัวรถ / ล่าง: 6/90 กันกระสุน: 13/นัด |
รุ่น |
ปีที่ผลิต |
จำนวนที่ผลิต |
Ausf A | 1934-1936 |
|
Ausf B | 1935-1937 |
|
Ausf C (VK 601) | 1942-1943 |
|
Ausf D (VK 602) | 1942-1943 |
|
Ausf F (VK 1801) | 1942-1943 |
|
| |
Ausf A (กรกฏาคม1934 - มิถุนายน1936) |
|
Ausf B |
|
Ausf A/B |
|
Ausf C (nA) |
|
Ausf D (nA verst) |
|
Ausf F (nA verst) |
|
ภาพพิมพ์เขียว(คลิ๊กที่รูปเพื่อขยาย)
บรรณาณุกรม
http://bronia.boinaslava.net/index.php?p=tech&p2=pz1
http://www.achtungpanzer.com/pz11.htm
http://www.lonesentry.com/german_antitank/pics/xgerman_antitank8_20mm_flak38.jpg
http://en.wikipedia.org/wiki/Image:BredaPanzerI.jpg
http://www.sspanzer.net/armyweapon/qqq/qqq.htm