พม่าได้บรรลุข้อตกลงกับรัสเซียในการลงทุนพัฒนาศูนย์วิจัยนิวเคลียร์และเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อใช้เป็นแหล่งพลังงานในทางสันติ ซึ่งทั้งนี้รัสเซียยังมีโครงการสำรวจแหล่งพลังอื่นๆเช่นก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในพม่าด้วย
ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลว่าพยายามจะดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ณ ที่ใดแต่ถ้าการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกของพม่าสำเร็จก็จะเป็นการแก่ปัญหาการขาดแคลนพลังงานของพม่าได้เป็นอย่างดี(ทุกวันนี้ตามเมืองใหญ่ๆของพม่าไฟฟ้าจะดับเป็นพักๆ) และยิ่งเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันแนบแน่นระหว่างพม่ากับรัสเซียขึ้นไปอีก โดยทั้งหมดจะอยู่ภายใต้การควบคุมของ IAEA
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนิวเคลียร์ของพม่า
ปี1997-1998 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวปากีสถาน2คนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาโครงการอาวุธนิวเคลียร์ลี้ภัยเข้าไปในพม่า ปัจจุบันไม่ทราบข้อมูล
ปี 2001-2003 พม่ามีโครงการที่จะจัดหาเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ขนาดเล็กจากรัสเซียเพื่อใช้ในการวิจัยแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากขาดงบประมาณ
รัสเซียได้สร้างพันธมิตรทางด้านพลังงานกับอิหร่านในเรื่องนิวเคลียร์แล้ว ต่อมาก็เป็นพม่าอีกประเทศครับ
...เฮ่อออ....ผู้ใหญ่ของเรา จะรู้สึกอะไรบ้างไหมหนอ....(แนวรบด้านตะวันตก กำลังคุกรุ่นขึ้นอีกครั้ง แต่คราวนี้คงน่ากลัวพิลึก)...
พระเจ้าช่วยกล้วยเข้าเม่า!(เขียนแบบนี้เป่าหว่า) กำลังจะมีนิวเคลียร์ขนาดกระจิ๊ดริดมาอยู่ข้างบ้านเราหรือเนี่ย อย่างนี้ต้อง! ...........นั่งดูเขาเฉยๆต่อไป.....
ประเทศไทย ย่ำอยู่กับที่มาน้านนานแล้วครับ ที่สนง.ปรมาณูเพื่อสันติ เราผลิตไอโซโทปสำหรับใช้ในวงการแพทย์และอุตสาหกรรมมานานแล้ว แต่ก็เท่านั้น ใครจะออกมาเดินหน้าทีก็ถูกพวกโงออกมาวิจารณ์ต่างๆนานาที ไม่ทราบปัจจุบันคืบหน้าไปแค่ไหน สำหรับพม่าก็แปลกนะครับ ยิ่งเจอทรัพยากรธรรมชาติเยอะ แทนที่จะเอาไปใช้ผลิตไฟฟ้าซะหน่อย กลับขายสัมปทานเอามาพัฒนานิวเคลียร์ซะงั้น รายได้ใหม่ๆที่เพิ่มมาเยอะแยะก็ซื้ออาวุธหมด ยังงี้ไม่ต้องคิดเห็นเป็นอื่นใดเลย
เซ็งดิ่ครับ ใต้ก็มี ตะวันตกก็มา ภายในก็อย่างที่ทราบ เฮ่อ.. ใครก็ได้ เอาปลย.ให้ผมสักกระบอกดิ้..
รัสเซียเอาใจอีกราย ตกลงสร้างเตานิวเคลียร์ให้พม่า |
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 17 พฤษภาคม 2550 00:19 น. |
|
สหรัฐตำหนิข้อตกลงระหว่างรัสเซียกับพม่าเกี่ยวกับการสร้างศูนย์นิวเคลียร์ |
นายทอม เคซีย์ รองโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวถึงการทำข้อตกลงดังกล่าวว่า เป็นความคิดที่ผิดที่จะสร้างศูนย์นิวเคลียร์ในพม่า เนื่องจากพม่าเองยังไม่มีกลไกที่พร้อมจะรับมือหากเกิดปัญหาต่างๆ ตามมา เช่นเรื่องความปลอดภัย การทำลายสิ่งแวดล้อม หรือการนำนิวเคลียร์ไปใช้ในทางที่ผิด ถ้อยแถลงดังกล่าวมีขึ้น หลังจากที่รัสเซียได้ประกาศเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ว่าได้ทำข้อตกลงจะสร้างศูนย์นิวเคลียร์ในพม่า แต่ยังไม่ได้กำหนด เวลาและสถานที่ ในขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างพม่ากับสหรัฐและยุโรปนั้น พม่ายังคงถูกลงโทษทางเศรษฐกิจเพื่อตอบโต้ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลและกดดันให้ปล่อยตัวนางอองซานซูจี [ 2007-05-17 : 11:11:29 ] |
เพิ่งเจออีกข่าว ประมาณว่ารัฐบาลทหารพม่าจะพิจารณาปิดองค์กรอิสระสาธารณประโยชน์ และสมาคมทั้งหลาย.. นี่มันเข้าขั้นตาขวาง น้ำลายยืดย้อยแล้วนะนี่ เวรกรรมๆ ใครว่างๆรบกวนแปลให้เพื่อนๆได้ครับ.. ข่าวจากตะวันออกกลาง ไม่น่าจะบิดเบี้ยวเท่าไหร่
Myanmar shuts down volunteer groups
Myanmar's military government is shutting down dozens of local associations and voluntary groups as it moves to tighten its grip on power.
The authorities are refusing to renew their registrations, even though they have been around for years.
The Free Funeral Service Society, which caters to
The only organization of its kind in the commercial capital,
.....ผมกลัวว่าในอนาคตจะเป็น ปฏิกิริยา ลูกโซ๋ ในแถบนี้ล่ะสิครับ หรือไม่ก็ในภูมิภาคนี้ไม่ต่างจากทางภูมิภาคคาบสมุทรเกาหลี จาก พม่า ไป เวียดนาม เวียดนามไปอินโด อินโดฯ ไปมาเลฯ ไม่ต้องไปขอใครให้ยุ่งยาก ที่กล่าวๆมาก็ นิยมรัสเซียมาก่อน คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะขอให้ช่วยพัฒนา เมื่อมี จะนำไปใช้ในทางสันติ คงไม่มีทางเป็นไปได้เพราะที่กล่าวๆมาใช้พลังงานไม่ได้มากมาย ยิ่งพม่า เป็น มิตรกับ จีน แล้ว หรือ ปากีสถาน หรือ เกาหลีเหนือ การพัฒนาขีปนาวุธติดหัวรบ คงไม่ใช่เรื่องยาก ยิ่งพม่าเป็นพวกหวาดกลัว เสริมกำลังเป็นว่าเล่นอย่างที่ผ่านๆมา คงไม่ดีในอนาคตเป็นแน่แท้
...ถ้ามีขีปนาวุธติดหัวรบพิสัยต่างๆเกิดขึ้นแถบบ้านเรา ผมว่าคงไม่สามารถนิ่งนอนใจได้หรอกครับ ภัยคุกคามต่างจากเครื่องบินมากอยู่ ระบบป้องกันทางอากาศชั้นดีมีสิทธิ มาก่อนเครื่องบินอ่ะครับ ไม่ก็เครื่องบินที่ดีพอเข้าไปทำลาย ฐานยิงในประเทศได้ ถ้าเกิดเห็นแล้วว่า เป็นภัยคุกคามที่ไม่น่าวางใจ เราคงไม่ต่างจากไต้หวัน เกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่นหรอกครับ
รายงานพิเศษ : จับตาโรงงานนิวเคลียร์พม่า |
แทบไม่น่าเชื่อว่าประเทศเล็ก ๆ และยากจนอย่างพม่า จะมีความใฝ่ฝันอยากมีศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในประเทศ ฝันของพม่าจะเป็นจริงได้หรือไม่ ติดตามได้จากรายงานพิเศษวันนี้ ?พม่า? ประเทศปิดและถูกโดดเดี่ยวจากโลกภายนอกมาโดยตลอด นับตั้งแต่รัฐบาลทหารพม่ายึดอำนาจปกครองประเทศในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา วันนี้กำลังจะเปลี่ยนโฉมหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง โดยพม่าได้หันไปจับมือกับรัสเซีย ทำข้อตกลงให้รัสเซียเข้ามาสร้างศูนย์วิจัยนิวเคลียร์ในประเทศ โดยสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งชาติของรัสเซีย ?รอสอะตอม? จะดำเนินโครงการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบใช้น้ำมวลเบา ขนาด 10 เมกะวัตต์ในพม่า เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศ โดยโครงการดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของสำนักงานพลังงานปรมาณูสากล หรือ IAEA ตามระเบียบปฏิบัติที่ทั้งรัสเซียและพม่าต่างก็เป็นสมาชิกอยู่ คำถามที่เกิดขึ้นขณะนี้ก็คือ เหตุใดรัสเซียจึงมักให้ความสนใจโครงการนิวเคลียร์ เฉพาะในประเทศที่เป็นศัตรูกับสหรัฐ ไม่ว่าจะเป็นอิหร่าน ซึ่งรัสเซียก็ได้เข้าไปสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่นั่นมาแล้วเช่นกัน และทำให้สหรัฐไม่พอใจอย่างยิ่ง เนื่องจากวิตกกังวลว่า โรงงานไฟฟ้าเหล่านั้น คือฉากบังหน้าในการผลิตอาวุธนิวเคลียร์ ขณะที่พม่าเอง ก็เป็นประเทศที่สหรัฐ ระบุว่า มีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างกว้างขวาง และแน่นนอนความเคลื่อนไหวของรัสเซียในพม่าคราวนี้ ทำให้สหรัฐนั่งไม่ติด และออกโรงประณามเรื่องนี้ทันที โดยระบุว่าเป็นโครงการที่สิ้นคิดอย่างยิ่ง เนื่องจากพม่าไม่มีศักยภาพ กฎเกณฑ์ กฎระเบียบ หรือแม้กระทั่งกฎหมายที่ดีพอ ที่จะดำเนินโครงการนิวเคลียร์ได้อย่างปลอดภัย ดังนั้น โอกาสจะเกิดอุบัติเหตุหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรือแม้กระทั่งดัดแปลงโครงการดังกล่าวไปสู่วัตถุประสงค์ในทางไม่ดี จึงมีสูงมาก การตัดสินใจของรัสเซียครั้งนี้ ยังมีขึ้นขณะที่สัมพันธภาพระหว่างรัสเซียกับสหรัฐ กำลังเสื่อมทรามอย่างยิ่ง โดยเฉพาะโครงการของสหรัฐในการติดตั้งระบบป้องกันขีปนาวุธในยุโรปตะวันออก ซึ่งประชิดพรมแดนรัสเซีย ท่าทีของรัสเซียคราวนี้ จึงเป็นเสมือนการส่งสัญญาณอะไรบางอย่าง ไปยังสหรัฐ ขณะที่น่าสนใจว่า พม่าเองก็เพิ่งรื้อฟื้นสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับเกาหลีเหนือ ประเทศที่สหรัฐกำลังพยายามยุติโครงการนิวเคลียร์เช่นกัน โครงการวิจัยนิวเคลียร์ของพม่าจะไปถึงฝั่งฝันและรัสเซีย จะมีจุดประสงค์อะไรแอบแฝงในโครงการพัฒนานิวเคลียร์ในประเทศเล็ก ๆ แต่ไม่ธรรมดาอย่างพม่าหรือไม่ ประเทศเพื่อนบ้านของพม่าต้องจับตาอย่างใกล้ชิด
|
....รู้สึกว่าบรรยากาศรั้วบ้านด้านทิศตะวันตก มันเริ่มทะแม่ง ๆ อึมครึมไงไม่รู้....รือเราจะเป็นคาบสมุทรเกาหลี แห่งที่ 2.....
ถ้าอยากให้ บริษัทนี้ได้ชื่อว่า ไทยเจริญจำกัด ก็ขอให้ตัดการเมืองกับคอรัปชั่นส์ ออกไป แล้วก็ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ถูกต้องนะครับ
ผมมองในแง่การพัฒนาประเทศ ส่วนหนึ่งผมมองคล้ายๆ กับคุณMstn ครับ เรื่องการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า บ้านเรามีแนวคิดนานแล้วแต่ถูกต่อต้านตลอด รอบบ้านเรานอกจากพม่าที่จะให้รัสเซียช่วยแล้ว สหรัฐเองก็จะสนับสนุนการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียตนามด้วย เรื่องอาวุธนิวเคลียร์ผมมองว่าพม่าคงทราบดี เขาก็มีปัญหากับสหรัฐอยู่แล้ว ถ้าเขาจะทำจริงก็คงใช้ขู่สหรัฐมากกว่า (เหมือนเกาหลีเหนือกับอิหร่าน) แต่ถ้าเขาจะทำ เขาก็มีความเสี่ยงสูงมากที่สหรัฐจะใช้เป็นข้ออ้างในการบุกได้ มองในแง่กลับกันถ้าบ้านเราจะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ประเทศเพื่อนบ้านจะมองเราว่าเรากำลังผลิตอาวุธนิวเคลียร์หรือไม่ แล้วกรณีโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของเวียตนามที่สหรัฐจะเข้าไปลงทุนล่ะ? ไม่มีใครมองว่าเวียตนามกำลังมีแผนสร้างอาวุธนิวเคลียร์โดยที่สหรัฐให้การสนับสนุนเลยหรือ ? ผมมองว่าส่วนหนึ่งมันเป็นการบลั๊ฟกันทางการเมืองระหว่างประเทศมากกว่า
ญี่ปุ่นรีบแจ้นขอเอี่ยวโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เวียดนาม
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 22 มีนาคม 2550 00:50 น. |
กรุงเทพฯ-- เจ้าหน้าที่ระดับสูงของญี่ปุ่นและเวียดนามเปิดการประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการพลังงานในกรุงฮานอยในสัปดาห์นี้ โดยญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจที่จะมีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดเวียดนามในโครงการโรงงานไฟฟ้าพลังงานปรมาณูและโรงงานไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลงชนิดอื่นๆ ด้วย
การประชุมหารือระหว่างสองฝ่ายมีขึ้นในขณะที่สหรัฐฯ และเวียดนาม ได้ร่วมกันประกาศแผนความร่วมมือที่จะลดระดับความแรงของเชื้อเพลิงยูเรเนียมที่ใช้ในเตาปฏิกรณ์ในเวียดนาม ให้เป็นแบบเสริมกำลังอย่างอ่อน (low-enriched uranium) โดยสหรัฐฯ จะให้ความช่วยเหลือเวียดนามในการก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรกของประเทศ
เจ้าหน้าที่เวียดนามที่รับผิดชอบเรื่องนี้เปิดเผยกับสำนักข่าวเอเอฟพีในสิงคโปร์เมื่อวันพุธ (21 มี.ค.) ว่า โรงไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรกมีกำหนดจะเริ่มผลิตกระแสไฟฟ้าได้ในปี 2563 หรือ อีก 12 ปีข้างหน้า โดยจะมีกำลังติดตั้งในชั้นต้นราว 2,000 เมกะวัตต์
นายต๋าวันเฮือง (Ta Van Huong) อธิบดีกรมพลังงานและปิโตรเลียม กระทรวงอุตสาหกรรมเวียดนามได้ยืนยันในแผนความร่วมมือระหว่างเวียดนามกับสหรัฐฯ เกี่ยวกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกด้วย
เขากล่าวว่า เวียดนามมีแผนจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรกในปี 2558 นี้ และจะมีการพัฒนาขั้นที่ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ผลิตไฟได้ถึง 4,000 เมกะวัตต์ในปี 2568 คิดเป็นประมาณ 4.7% ของความต้องการทั้งหมด
ตามรายงานของสำนักข่าววีเอ็นเอ (VNA) นาย โคโซ ยามาโมโต (Kozo Yamamoto) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรม (METI) ญี่ปุ่น ได้ระบุว่าญี่ปุ่นพร้อมที่จะถ่ายทอดประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านพลังงานนิวเคลียร์สู่เวียดนาม
นายหว่างจุงหาย (Hoang Trung Hai) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเวียดนามกล่าวว่า เวียดนามต้องการประสบการณ์และความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการฝึกอบรมบุคลากร รวมทั้งการส่งเสริมพลังงานชีวภาพที่สะอาด
นายหายได้เรียกร้องให้ฝ่ายญี่ปุ่นพิจารณาให้ความช่วยเหลือการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ด้านพลังงานนิวเคลียร์แก่เวียดนามด้วย เพื่อสนับสนุนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 แห่งในอนาคต
อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจ ในการพัฒนาพลังงานนิวเคลียร์ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซ รวมทั้งการใช้พลังงานจากถ่านหินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทั้งสองฝ่ายมีกำหนดจะออกคำแถลงร่วมกันในเรื่องนี้ ในเวลาข้างหน้า
ยังไม่มีการเปิดเผยเกี่ยวกับตัวเลขการลงทุนก่อสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ในเวียดนาม
เจ้าหน้าที่สองฝ่ายได้เจรจาเกี่ยวกับความร่วมมือด้านนิวเคลียร์ ระหว่างที่ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช เดินทางไปร่วมการประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือ เอเปก ในกรุงฮานอย เดือน พ.ย.ปีที่แล้ว
เวียดนาม-สหรัฐฯ ยังยกเรื่องนี้ขึ้นเจรจา ระหว่างการเยือนสหรัฐฯ ของนายฝ่ามยาเคียม (Pham Gia Khiem) รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.การต่างประเทศเวียดนามเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งได้พบหารือกับนางคอนโดลีซซ่า ไรว์ รมว.การต่างประเทศ สหรัฐฯ
เจ้าหน้าที่หน่วยงานสหรัฐฯ ได้เตรียมพร้อมที่จะเดินทางเข้าเวียดนาม เพื่อช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ของประเทศนี้ เคลื่อนย้ายธาตุยูเรเนียมเสริมพลัง (high-enriched uranium) ส่งคืนให้แก่รัสเซีย เพื่อนำไปย่อยสลาย ในโครงการลดพลังงานนิวเคลียร์ในประเทศนั้น
เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญที่ห้องทดลองปรมาณูแห่งชาติโอ๊คริดจ์ (Oak Ridge National Laboratory-- ORNL) ได้ยืนยันเมื่อวันพุธเกี่ยวกับแผนการดังกล่าว
ตามรายงานของสื่อในสหรัฐฯ เรื่องนี้มีการเตรียมพร้อมก่อนที่องค์การบริหารความปลอดภัยด้านนิวเคลียร์ (National Nuclear Security Administration) จะประกาศในสัปดาห์นี้เกี่ยวกับแผนการ เปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ที่เตาปฏิกรณ์เมืองดาลัท (Dalat) ใน จ.เลิมด่ง (Lam Dong)
เวียดนามได้ตกลงที่จะเปลี่ยนเชื้อเพลิงยูเรเนียมให้เป็นแบบแรงอ่อนในเตาปฏิกรณ์ดังกล่าว รวมทั้งศูนย์วิจัยกัมมันตรังสีทั้ง 3 แห่งในประเทศด้วย
นายลาร์รี ซาตโกเวียค (Larry Satkowiak) ผู้อำนวยการฝ่ายโครงการการไม่แพร่ขยายกิจกรรมนิวเคลียร์ (nonproliferation programs) ของ ORNL ได้ยืนยันว่าหน่วยงานของเขาเตรียมพร้อมที่จะเดินทางไปยังเมืองดาลัท
เขากล่าวว่ายูเรเนียมเสริมแรงในเวียดนามในปัจจุบัน ยังไม่ได้ถูกนำไปใช้ที่เตาปฏิกรณ์ และ ยังไม่ได้นำเข้าแปรสภาพให้เป็นเชื้อเพลิงแต่อย่างไร จึงยิ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวมาก และจะเป็นอันตรายมากหากตกไปถึงมือของฝ่ายที่จะต้องการนำไปผลิตเป็นอาวุธ.
---------------------------------------------------------
สหรัฐฯ.. อดีตศัตรูช่วยเวียดนามทำโรงไฟฟ้าปรมาณู
โดย ผู้จัดการออนไลน์ | 20 มีนาคม 2550 22:10 น. |
กรุงเทพฯ? สถานการณ์กลับตาลปัด อดีตศัตรูตัวที่ใหญ่ที่สุดคือ สหรัฐฯ กลับจะช่วยเวียดนามสร้างโรงไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรก ทำเอาอีกหลายประเทศที่จ้องตะครุบโครงการแบบตาเป็นมันต้องผิดหวังตามๆ กัน
โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งแรกมีกำหนดเริ่มผลิตไฟฟ้าในปี 2558 หรืออีกประมาณ 8 ปีข้างหน้า
เวียดนามได้ตกลงหันไปใช้ธาตุยูเรเนียมพลังต่ำ (low-enriched uranium) ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของประเทศ เพื่อแลกกับการที่สหรัฐฯ จะช่วยสร้างโรงงานไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรก นอกจากนั้นเวียดนามยังได้ตกลงที่จะส่งยูเรเนียมเข้มข้น (enriched uranium) ที่ได้จากสหภาพโซเวียตเดิม คืนไปให้แก่สหพันธรัฐรัสเซียอีกด้วย
ยูเรเนียมเสริมพลังที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ ใช้อยู่ที่เตาปฏิกรณ์เมืองดาลัท (Dalat) จ.เลิมด่ง (Lam Dong) จะถูกส่งคืนไปให้รัสเซีย และจะดัดแปลงเตาปฏิกรณ์ไปใช้ยูเรเนียมเสริมพลังต่ำแทนทั้งหมด รวมทั้งในศูนย์วิจัยกัมมันตรังสีอีก 2 แห่งด้วย
เรื่องพลังงานนิวเคลียร์เป็นหัวข้อสำคัญ ที่มีการหารือระหว่างนายฝ่ามยาเคียม (Pham Gia Khiem) รองนายกรัฐมนตรี-รัฐมนตรีต่างประเทศเวียดนาม กับนางคอนโดลีซซ่า ไรซ์ (Condoleezza Rice) ระหว่างที่ฝ่ายเวียดนามไปเยือนสหรัฐฯ สัปดาห์ที่แล้ว
ตามรายงานของสำนักข่าวเอเอฟพี ซึ่งอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวทางการทูตนั้น สหรัฐฯ วิตกว่าอุปกรณ์นิวเคลียร์ในเวียดนามจะตกไปสู่มือของฝ่ายตรงข้าม
"สหรัฐฯ ไม่อยากจะเห็นเกาหลีเหนือแห่งที่ 2 ในเอเชียแปซิฟิก" เอเอฟพีอ้างคำกล่าวของนักการทูตในฮานอย ที่ไม่ประสงค์จะให้เอ่ยชื่อ
สหรัฐฯ ได้ให้พันธสัญญาที่จะช่วยเหลือเวียดนามก่อสร้างโรงงานไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์แห่งแรก อันเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากประเทศนี้มีความต้องการพลังงานไฟฟ้าอย่างยิ่ง และ ความต้องการนับวันสูงขึ้นเรื่อยๆ
สำนักข่าวเวียดนาม (VNA) ได้รายงานเช่นเดียวกันว่า หน่วยงานด้านนิวเคลียร์ของเวียดนามกับสหรัฐฯ ได้ร่วมกันลงนามในความตกลง ไม่แพร่กระจาย (non-proliferation contract) นิวเคลียร์ฉบับหนึ่งในสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งฝ่ายเวียดนามจะส่งยูเรเนียมเสริมกำลังที่มีอยู่คืนให้แก่รัสเซีย
สัญญาอีกอฉบับหนึ่งเป็นความร่วมมือเกี่ยวกับการสร้างความปลอดภัยที่เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ดาลัท ที่อดีตสหภาพโซเวียตสร้างให้เมื่อกว่า 20 ปีก่อน
เวียดนามมีแผนที่จะสร้างโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์จำนวน 2 แห่งในระยะ 10 ปีข้างหน้า โดยแห่งแรกจะเริ่มก่อสร้างในปี 2558 และ จะเริ่มผลิตไฟฟ้าได้ตั้งแต่ปี 2563 ทั้งนี้เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศมีอัตราขยายตัวเฉลี่ยถึง 8% ในช่วงหลายปีมานี้ ทำให้ความต้องการพลังงานมีสูงขึ้น
เจ้าหน้าที่ของทาสงการเวียดนามเปิดเผยก่อนหน้านี้ว่า โรงงานไฟฟ้าปรมาณูแห่งแรกอาจจะตั้งอยู่ในภาคกลางของประเทศ มีหลายฝ่ายสนใจจะจัดหาหรือให้การสนับสนุนเตาปฏิกรณ์และระบบต่างๆ รวมทั้งสหรัฐฯ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เกาหลี แคนาดา และประเทศจีนด้วย
คำแถลงของสหรัฐฯ ฉบับหนึ่งที่ออกเมื่อวันอังคาร (20 มี.ค.) ระบุว่า กระทรวงพลังงานสหรัฐฯ กับ กระทมรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ได้เซ็นสัญญา "เพื่อสร้างเสริมความมั่นคงปลอดภัยที่เตาปฏิกรณ์เพื่อการวิจัยในดาลัทกับสถานีวิจัยรังสีอีก 3 แห่งในเวียดนาม เพื่อปกป้องอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ มิให้ตกไปสู่มือของผู้ที่อาจจะนำไปใช้ในทางที่อันตราย"
องค์การบริหารความปลอดภัยนิวเคลียร์สหรัฐฯ USNNSA (US National Nuclear Security Administration) จะปฏิบัติงานร่วมกับเวียดนาม เพื่อส่งคืน "ส่งเชื้อเพลิงที่ไปจากรัสเซีย และเริ่มแปลงเตาปฏิกรณ์ที่รัสเซียให้ไป จากแบบยูเรเนียมเสริมพลังแรง ไปเป็นยูเรเนียมเสริมพลังต่ำ
ตามรายงานของเอเอฟพีสหรัฐฯ กับเวียดนามได้ตกลงกันในหลักการเกี่ยวกับเรื่องนี้ ในช่วงที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายจอร์จ ดับเบิ้ลยู บุช ไปเยือนเวียดนามในเดือน พ.ย.ปีที่แล้ว.
------------------------------------------------------
เวียตนามเองก็มีสถานีวิจัยนิวเคลียร์ทีสหภาพโซเวียตเดิมเคยสร้างเมื่อ20ปีที่แล้วและใช้แร่ยูเรเนียมความเข้มข้นสูงเป็นเชื้อเพลิง สหรัฐเป็นกังวลว่าถ้ามีการเสริมสมรรถนะอาจจะใช้ผลิตอาวุธได้ ก็เลยเสนอให้ความช่วยเหลือในการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โดยใช้ยูเรเนียมเสริมพลังต่ำแทน และยูเรเนียมเข้มข้นสูงก็ให้ส่งกลับไปรัสเซีย ...เรียกว่าได้ทั้งเงิน ได้ทั้งชื่อ
...แล้วไทยล่ะ...ว่าไง พวก โง (NGO) ทั้งหลาย.....
...โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อ่ะ ลดภาวะโลกร้อนได้ด้วยเป็นมิตรต่อธรรมชาติ ประโยชน์มหาศาล...