ครับที่ตกนั้นในสมัยสงครามโลกครั้งที่2 ครับ
P-40E ของกองบินเสือบิน ครับ
ตกเพราะขณะเข้ากราดยิงสนามบินเชียงใหม่ และสถานีรถไฟเชียงใหม่ แต่ถูก ปตอ.ที่ซ่อนตัวอยู่บนต้นยาง ตามเส้นทางตลอดแนวต้นยางจาก จ.เชียงใหม่ ถึง จ.ลำพูน จึงเป็นเหตุให้มีเครื่องบิน P-40E ถูกยิงตกสองเครื่อง ที่สารภี และที่หน้าศาลากลาง จ.ลำพูน (ปัจจุบัน) ซึ่งเครื่องหลังนี้กำลังดำลงยิง สะพานดำรถไฟตรงนั้น (ตรงแถวนั้นเป็นสนามบินของกองทัพอากาศด้วยครับ ส่วนหนึ่งเราขนเอา HAWK II และ HAWK III มาซ่อนไว้ )
แนะนำว่า ถ้าอยู่เชียงใหม่ หรือถ้าสนใจการรบทางอากาศในอดีตของไทย ไปหาหนังสือนี้นะครับ
"เชียงใหม่กับภัยทางอากาศ"
หนังสือพ็อกเกตบุ๊ค ของอาจารย์ บุญเสริม สาตราภัย เป็นเรื่องราวและรูปภาพเกี่ยวข้องกับการบินของเมืองเชียงใหม่ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๒๔๖๖ เมื่อครั้งแรกมีสนามบินเชียงใหม่ จนถึงปัจจุบัน เป็นหนังสือที่อาจารย์ บุญเสริม สาตราภัย ได้เขียนด้วยภาษาที่เข้าใจง่ายจากประสบการณ์ของท่านประกอบภาพถ่ายที่ตัวท่านถ่ายเก็บไว้เองในฐานะของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นคนเก่าคนแก่ของเชียงใหม่และภาพถ่ายมรดกตกทอดของคุณพ่อท่านที่เป็นนายไปรษณีย์คนแรกของเชียงใหม่ รวมกว่า ๑๐๐ รูป ซึ่งล้วนแล้วแต่หาชมได้ยาก ในราคาเพียงเล่มละ ๑๕๐.- บาท ขอบอกได้คำเดียวสำหรับคนชอบเครื่องบินไทยทั้งหลายว่าหากไม่มีหนังสือเล่มนี้เก็บไว้ในห้องสมุดส่วนตัวที่บ้านหละก็ ไม่ใช่คนรักเครื่องบินไทยตัวจริงครับ
ในเล่มมีภาพสนามบินเชียงใหม่ในช่วงก่อนสงครามโลกและหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งเป็นความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับสนามบินนานาชาติในปัจจุบันที่กำลังอยู่ในแผนของการปรับปรุงสนามบินให้เป็นจุดศูนย์กลางการบินระหว่างประเทศทางภาคเหนือ นอกจากนี้ยังมีภาพเครื่องบินโดยสารแบบต่างๆของไทยในอดีตที่เคยใช้ โดยเฉพาะเครื่อง นอร์แมน ของบริษัทเดินอากาศ ที่หาดูที่ไหนไม่ได้มาก่อน ที่สำคัญคือภาพประวัติศาสตร์สมัยที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ เสด็จทอดพระเนตรการบินของฝูงบินขับไล่ฮันเตอร์ แห่งกองทัพอากาศอังกฤษที่มีตั้งฐานปฏิบัติการอยู่ที่เชียงใหม่ภายหลังจากที่สนามบินเชียงใหม่ปรับปรุงเป็นพื้นคอนกรีตหลังปีพุทธศักราช ๒๕๐๔
หนังสือเล่มนี้พิมพ์ออกมาครั้งแรกในเดือนมิถุนายน ๒๕๔๖ หากไม่สามารถหาซื้อได้ที่ร้านหนังสือใหญ่ทั่วประเทศ หละก็ ผมขอแนะนำว่าโทรสอบถามที่ สำนักพิมพ์สายธาร(ในเครือวิญญูชน) หมายเลข ๐๒ ๙๙๖ ๙๔๗๑ - ๓ ได้เลยครับผม แล้วพบกันใหม่ฉบับหน้าสวัสดีครับ
รองไปที่สถานีตำรวจ ลำพูน หรือ สารภี (ผมไม่แน่ใจ) ที่นั่นมีชิ้นส่วนเครื่องบินถูกทำเป็นอะไรสักอย่างอยู่ครับ จำไม่ได้แน่ น่าจะเป็นที่เคาะบอกเวลายาม นอกจาก P-40E ที่ถูกยิงตกแล้ว ยังมี HAWK III ของไทย เครื่องบินขับไล่ของญี่ปุ่น และ P-38 ตกในแม่น้ำลำคลอง ป่าเขาอีกมากมายครับ
ส่วน P-40E ที่เห็นซากอีกเครื่องอยู่ที่ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยครับ มาจากแม่ฮ่องสอน ครับ
หนังสือที่ว่า ถ้าอยู่เชียงใหม่ ที่สุริวงค์บุ๊คฯยังเห็นมีวางอยู่นะครับ
สำหรับท่านผู้เขียน เพิ่งจัดนิทรรศการภาพถ่ายเมืองเชียงใหม่ไป ผมก็ไม่มีเวลาไปดู เพิ่งนึกได้ตอนพี่รัชต์แนะนำหนังสือนี่แหละ