รบพิเศษ VS
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เกลือจิ้มเกลือ
ภารกิจที่เด่นๆอีกงานหนึ่งคือ การปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ที่เป็นที่เลื่องลือไปทั่ววงการรบพิเศษ ของนานาชาติ เป็นกรณีศึกษา ที่สำคัญในงานสงครามกองโจร และการปราบปรามการก่อความไม่สงบ จากวันที่ ๗ ส.ค. ๒๕๐๘ ที่ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยถือว่า วันเสียงปืนแตก โดยเรียกชื่อ กำลังติดอาวุธ ของตน ว่า ? กองทัพปลดแอกประชาชนแห่งประเทศไทย ? โดยรวมกินระยะเวลาการต่อสู้ครั้งนี้นานถึง ๑๘ ปี หลังจากเหตุการณ์ วันนั้น ๔ เดือน รัฐบาลได้จัดตั้ง พตท.๑ กองบัญชาการผสมพลเรือนทหารตำรวจ ที่ อ.มุกดาหาร จ.นครพนม โดยมี
พล.ต. บุญ รังคะตัง ผู้อำนวยการ
พ.อ. เทียนชัย ศริสัมพันธ์ ผู้อำนวยการฝ่ายทหาร
พ.ต.ท. เริงณรงค์ ทวีโภค ผู้อำนวยการฝ่ายตำรวจ
นาย วิเชียร เวชสวรรค์ ผู้อำนวยการฝ่ายพลเรือน
ในส่วนนี้ มีกำลังทั้งตำรวจ พลเรือน ทหารทุกเหล่าทัพ มากมาย ซึ่งแต่ละส่วนก็มีบทบาทในการปฏิบัติที่สำคัญทั้งสิ่ง แต่ ในส่วนกำลังทหารพลร่ม ประกอบด้วย
๑. กองร้อยรบพิเศษ ตอนนั้น ใช้ชื่อว่า หน่วยจู่โจม ชื่อย่อว่า ? นจ. พตท. ๑ ?จัดจาก กองรบพิเศษ ( พลร่ม ) ซึ่งแปรสภาพมาจาก กองพันทหารพลร่ม
๒. กองร้อยทหารราบผสม ชื่อย่อ ว่า ? ร้อย ร.ผสม .พตท. ๑ ? ที่จัดมาจาก กองพันส่งทางอากาศที่ ๑ ซึ่งปัจจุบัน คือ กองพันทหารราบที่ ๓ กรมทหารราบที่ ๓๑ รอ.
ยุทธการชูชีพ
ในครั้งนั้น มีการปฏิบัติภารกิจมากมาย นายทหารผู้ใหญ่หลายท่านก็เคยผ่านงานในช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น ร้อยโท ฉลองชัย แย้มสระโส , ร้อยเอก เจอ โพธิ์ศรีนาค , ร้อยโทอุดม เกษพรหม , พันตรี ชาญยุทธ นุชนารถ นอกจานี้ในภารกิจนี้ยัง มีการ กระโดดร่มลงเพื่อเข้าปฏิบัติการ รบ หลายครั้ง
เมื่อ ๑๘ ธ.ค. ๒๕๑๐ บ. ซี๑๒๓ ได้นำ กำลังไปกระโดดร่มลงที่ บ้านเทา กิ่ง อ.สังคม จ.หนองคาย เพื่อ เข้าตี โดยมีกำลัง จำนวนทั้งสิ้น ๔๕ นาย ซึ่งผู้ที่ปฏิบัติการในครั้งนั้น จะได้รับการประดับดาวสีทองที่ปีกร่มเพื่อ แสดงถึงการผ่านการกระโดดร่มลงในสมรภูมิ หรือที่ ฝรั่งเรียกว่า Combat Jump
นอกจากนี้ยุทธการ ที่ น่ารับการยกย่องอีกยุทธการหนึ่งคือ ยุทธการชูชีพ ในพื้นที่กองทัพภาคที่ ๒ โดยสถานการณ์โดยสรุปคือ มีกำลังของเจ้าหน้าที่ถูกล้อมอยู่ในฐานที่มั่นในบริเวณพื้นที่ รอยต่อ จว. พิษณุโลก , เพชบูรณ์ , และเลย ก่อนที่จะจัดกำลังเฉพาะกิจนั้น ทภ. ๒ ได้ส่งเครื่องบินกองทัพอากาศขณะนั้น ใช้ ที ๒๘ เข้าโจมตีที่มั่นโดยรอบ แต่ไม่เป็นผล ผู้ก่อการร้ายแม้วแดง ยังคงล้อมเจ้าหน้าที่ไว้ได้ ดังนั้น ทภ. ๒ ส่วนหน้า จึงได้ร้องขอ กองทัพบกขอกำลังเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขสถานการณ์ โดย ทบ.สั่งการให้ ใช้กำลังพลจาก กองรบพิเศษ ( พลร่ม ) ศูนย์สงครามพิเศษ จำนวน ๑๐๔ นาย เข้าร่วมกับ หน่วยจู่โจมเฉพาะกิจ ของ ทัพภาค ๒ ๒๙ นาย และ ทหารจาก ทัพภาค ๒ อีก ๑๓๐ นาย ตำรวจภูธร เขต ๔ ๑๓๕ นาย รวมกันจัดตั้งเป็น ? หน่วยเฉพาะกิจชูชีพ ?
๑๐ ธ.ค. ๒๕๑๓ กำลังของ กองรบพิเศษ ได้เคลื่อนย้าย ด้วย บ. ซี ๑๒๓ จากไปยังพิษณุโลก
๑๔ ธ.ค. ๒๕๑๑ กำลังพล ทั้งหมดของ หน่วยเฉพาะกิจ ได้เคลื่อนย้าย ด้วยอากาศยาน ปีกหมุน ( เฮลิคอปเตอร์ ) จากสนามบิน อ. หล่มสัก ไปส่งลงที่ บ้าน แม้วป่าหวาย อยู่ห่างจากภูขี้เถ้าประมาณ ๔ กม. ซึ่งภูขี้เถ้านี้ เป็นที่ ซึ่งกำลังของตำรวจถูกผู้ก่อการร้ายล้อมอยู่ นับจากนั้น หน่วยเฉพาะกิจได้ตีฝ่าวงล้อมเข้าไปยังฐานและพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ สามารถช่วยเหลือเจ้าหน้าที่และทำการกวาดล้าง ผู้ก่อการร้ายในพื้นที่ได้สำเร็จ รวมระยะเวลาในการปฏิบัติการทั้งสิ้น ๖๙ วัน กำลังพลท่านหนึ่งที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการครั้งนี้กล่าวว่า พวกเรา เรียกปฏิบัติการนี้ว่า ? การรบ ๒ ปี เพราะ เริ่ม ใน เดือน ธ.ค. ๑๑ จบ ในเดือน ธ.ค. ๑๒ และสิ่งที่ ต้องจดจำและระลึกถึงคือ ขณะที่ประชาชนส่วนใหญ่ กำลังมีความสุข สนุกสนาน สุขสำราญ ในวันขึ้นปีใหม่ แต่หน่วยรบเฉพาะกิจ ต้องตกอยู่ในห้วงทุกทรมาน ความยากลำบากแสนสาหัส โดยเฉพาะ ผู้บาดเจ็บ พ่อ แม่ ลูก เมียญาติพี่น้องผู้เสียชีวิต ว่าเขาเหล่านั้นมีความรู้สึกอย่างไร ...? สิ่งเหล่านี้เป็นความรู้สึกที่อยู่คู่กับความภาคภูมิใจเงียบๆของพวกเขา
มีอีกไหมครับ ท่าน Dboy ข้อมูลดีๆ อย่างนี้ ผมสนับสนันให้เผยแพร่ให้คนรุ่นหลังๆ ทราบครับ
ปล. รักษาสุขภาพด้วยน่ะครับ